SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
 
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  Psychology  มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก  2  คำ คือ  Phyche  แปลว่า วิญญาณ กับ  Logos  แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ การเรียนรู้   ( Learning)   ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 1.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์   ( โบเวอร์ และอัลการ์ด  1987,  อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน ,2532:285)  ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้ ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก  2  ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก  6  เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน  ( Reflex)  เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี  5  ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี  (2530)  กล่าวไว้ดังนี้ “…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า  ( stimulus)  มาเร้าอินทรีย์  ( organism)  ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ  ( sensation)  ด้วยประสาททั้ง  5  แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้  ( perception)  เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป  ( conception)  แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง  ( response)  อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…” การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า “ No one too old to learn”  หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี  4  ขั้นตอน คือ 1.  ความต้องการของผู้เรียน  ( Want)   คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ 2.  สิ่งเร้าที่น่าสนใจ  ( Stimulus)   ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3.  การตอบสนอง  ( Response)   เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล 4.  การได้รับรางวัล  ( Reward)   ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง  ( Professional)  ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้ ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ  3  ขั้นตอนด้วยกัน คือ  (1)  ประสบการณ์  (2)  ความเข้าใจ และ  (3)  ความนึกคิด 1.  ประสบการณ์  ( experiences)   ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2.  ความเข้าใจ  ( understanding)   หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ  ( concept)  ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ  ( percept)  และมีความทรงจำ  ( retain)  ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า “ความเข้าใจ” ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ  ( organize)  วิเคราะห์  ( analyze)  และสังเคราะห์  ( synthesis)  ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3.  ความนึกคิด  ( thinking)   ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง  Crow (1948)  ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ  ( organize)  ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ ดอลลาร์ด และมิลเลอร์   ( Dallard and Miller)  เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔  ประการ คือ ๑ .   แรงขับ  ( Drive)  เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล    เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป ๒ .   สิ่งเร้า  ( Stimulus)  เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ   ที่ครูนำมาใช้
๓ .   การตอบสนอง  ( Response)  เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น ๔ .   การเสริมแรง  ( Reinforcement)  เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
การนำความรู้ไปใช้ ๑ .   ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว ๒ .   พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ๓ .   ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน ๔ .   ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป ๕ .   พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน ๑ .    ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์  ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เช่น  วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน  เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้ ๒ .    ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน ๓ .    ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว  ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด  และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์  ( Skinner’s Operant Conditioning Theory)   B.F. Skinner  (1904 – 1990)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ  ( Operant Behavior)   สกินเนอร์ได้แบ่ง    พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒  แบบ  คือ ๑ .    Respondent Behavior  พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ   หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน   ( Reflex)   ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์     ความรู้สึกต่างๆ ๒ .    Operant Behavior  พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด  หรือเลือกที่จะแสดงออกมา   ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน  เช่น  กิน  นอน  พูด  เดิน  ทำงาน   ขับรถ  ฯลฯ .
การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์   เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า    จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ   Type R  นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง  ( Reinforcement)  ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร  ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ   คือ การเสริมแรง  หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ

More Related Content

What's hot

จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Natida Boonyadetwong
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้
จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้
จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้yuapawan
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2kungcomedu
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Aoun หมูอ้วน
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้honeylamon
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2hadesza
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Anny Hotelier
 

What's hot (12)

จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้
จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้
จิตวิทยาการเรียนรู้ของแท้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333
จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333
จิตวิทยาการเรียนรู้ 333333
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 

Similar to จิตวิทยาการเรียนรู้222222

จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3ป. ปิง
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3ป. ปิง
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ป. ปิง
 
จิตวิทยาการเรียนรู้1
จิตวิทยาการเรียนรู้1จิตวิทยาการเรียนรู้1
จิตวิทยาการเรียนรู้1ป. ปิง
 
จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231Anny Hotelier
 
จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231Anny Hotelier
 
จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231Anny Hotelier
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้yuapawan
 
งานดร.จิตวิทยา
งานดร.จิตวิทยางานดร.จิตวิทยา
งานดร.จิตวิทยาnan1799
 
งานซู
งานซูงานซู
งานซูmaymymay
 
งานซู
งานซูงานซู
งานซูmaymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้maymymay
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2poms0077
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ซิกส์ zaza
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้hadesza
 
จิตวิทยาการเรียนรู้G9 jk
จิตวิทยาการเรียนรู้G9 jkจิตวิทยาการเรียนรู้G9 jk
จิตวิทยาการเรียนรู้G9 jkyuapawan
 

Similar to จิตวิทยาการเรียนรู้222222 (20)

จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้1
จิตวิทยาการเรียนรู้1จิตวิทยาการเรียนรู้1
จิตวิทยาการเรียนรู้1
 
จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231
 
จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231
 
จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231จิตวิทยาการเรียนรู้231
จิตวิทยาการเรียนรู้231
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
งานดร.จิตวิทยา
งานดร.จิตวิทยางานดร.จิตวิทยา
งานดร.จิตวิทยา
 
งานซู
งานซูงานซู
งานซู
 
งานซู
งานซูงานซู
งานซู
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3จิตวิทยาการเรียนรู้3
จิตวิทยาการเรียนรู้3
 
จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2จิตวิทยาการเรียนรู้2
จิตวิทยาการเรียนรู้2
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้G9 jk
จิตวิทยาการเรียนรู้G9 jkจิตวิทยาการเรียนรู้G9 jk
จิตวิทยาการเรียนรู้G9 jk
 

More from tuphung

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้tuphung
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้tuphung
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้tuphung
 
งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์tuphung
 
งานดอกเตอ..
งานดอกเตอ..งานดอกเตอ..
งานดอกเตอ..tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไขจิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไขtuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้tuphung
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้tuphung
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการtuphung
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการtuphung
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการtuphung
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการtuphung
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการtuphung
 

More from tuphung (18)

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์
 
งานดอกเตอ..
งานดอกเตอ..งานดอกเตอ..
งานดอกเตอ..
 
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไขจิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
จิตวิทยาการเรียนรู้แก้ไข
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ
 
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการการสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ
 

จิตวิทยาการเรียนรู้222222

  • 1.  
  • 2. จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology  มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ การเรียนรู้  ( Learning)   ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
  • 3. จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
  • 4. 2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์  ( โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน ,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้ ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน ( Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
  • 5. การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้ “…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า ( stimulus) มาเร้าอินทรีย์ ( organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ ( sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ ( perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป ( conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง ( response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…” การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า “ No one too old to learn” หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
  • 6. ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ 1. ความต้องการของผู้เรียน ( Want)   คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ 2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ ( Stimulus)   ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
  • 7. 3. การตอบสนอง ( Response)   เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล 4. การได้รับรางวัล ( Reward)   ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง ( Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
  • 8. ลำดับขั้นของการเรียนรู้ ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ (3) ความนึกคิด 1. ประสบการณ์ ( experiences)   ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
  • 9. 2. ความเข้าใจ ( understanding)   หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ ( concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ ( percept) และมีความทรงจำ ( retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า “ความเข้าใจ” ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ ( organize) วิเคราะห์ ( analyze) และสังเคราะห์ ( synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
  • 10. 3. ความนึกคิด ( thinking)   ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ ( organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
  • 11. องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  ( Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔  ประการ คือ ๑ .  แรงขับ ( Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล    เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป ๒ .  สิ่งเร้า ( Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ   ที่ครูนำมาใช้
  • 12. ๓ .  การตอบสนอง ( Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น ๔ .  การเสริมแรง ( Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
  • 13. การนำความรู้ไปใช้ ๑ .  ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว ๒ .  พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ๓ .  ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน ๔ .  ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป ๕ .  พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
  • 14. การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน ๑ .   ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์  ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เช่น  วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน  เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้ ๒ .   ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน ๓ .   ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว  ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด  และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
  • 15. ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์  ( Skinner’s Operant Conditioning Theory)   B.F. Skinner  (1904 – 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ ( Operant Behavior)  สกินเนอร์ได้แบ่ง    พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒  แบบ  คือ ๑ .   Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ   หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน  ( Reflex)  ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์     ความรู้สึกต่างๆ ๒ .    Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด  หรือเลือกที่จะแสดงออกมา   ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน  เช่น  กิน  นอน  พูด  เดิน  ทำงาน   ขับรถ  ฯลฯ .
  • 16. การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์   เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า    จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ  Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง ( Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร  ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ   คือ การเสริมแรง  หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ