SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
ส่งเมื่อ 22/6/2013 โดย ธนกรม ภางาม 5510539006
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับรู้ความเสี่ยงของภัยพิบัติสึนามิกับแนวทางในการปรับตัวเพื่อป้องกันบรรเทาผลกระทบ
Public participation in Tsunami risk awareness to qualify preventive and
mitigable plan
คำนำ
ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่มนุษย์ในอดีตไม่สามารถหยั่งรู้ล่วงหน้าได้ ทาให้มนุษย์เกิดการหวาดกลัว และคิดว่าปรากฏการณ์
ต่างๆเหล่านี้เป็น การกระทาที่เกิดจากสิ่งที่มองไม่เห็น ทั้ง แผ่นดินไหว น้าท่วม สึนามิ ไต้ฝุ่น เป็นต้น ถูกผู้นาทางจิตวิญญาณ
ในอดีตนามาสร้างเรื่องราวให้เกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือธรรมชาติ และชักจูงชุมชนให้คล้อยตามว่า ตนสามารถที่จะติดต่อกับพระเจ้า
ที่ทาให้เกิดปรากฎการณ์และสามารถนาพลังของสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านั้น มาป้องกันภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ต่อเมื่อมนุษย์มีการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ จึงทราบว่าความสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่
แต่ละคนมีการรับรู้ที่ไม่เท่ากันและสามารถที่จะป้องกันหรือบรรเทาได้ จึงทาให้เกิดการพัฒนาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ
ขึ้นมา
ควำมสำคัญและที่มำของปัญหำ
เนื่องด้วยวันที่ 27 ธันวาคม 2547 บ้านเขาหลัก หาดป่าตอง และบริเวณชายหาดด้านตะวันตก ของจังหวัดภูเก็ต
เกิดคลื่นสึนามิ อันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ บริเวณ ใกล้กับเกาะสุมาตราและมีคนตายกว่าแสนคน
(Suppasri et. al.,2011), วันที่ 11 มีนาคม 2555 ได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอนชู
ประเทศญี่ปุ่นทาให้คนเสียชีวิตหลายหมื่นคน(Chini et al., 2013) ช่วงปลายปี 2554 เกิดวิกฤตน้าท่วมหนักในประเทศ
ไทยตามแนวบริเวณที่ราบลุ่มใกล้แม่น้าเจ้าพระยา ทาให้สูญเสียหลายหมื่นล้านบาทหรือการเกิดปรากฎการณ์พายุทอร์นาโด
ถล่ม มลรัฐโอคลาโฮม่า ในช่วงเดือน พฤษภาคม 2556 ที่ทาให้เมืองทั้งเมืองพังพินาศ เหล่านี้ล้วนทาให้เกิดการสูญเสียชีวิต
และทรัพย์สินเป็นจานวนมาก ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและต้องใช้เวลานานและเงินลงทุนจานวนมากในการฟื้นฟู
สภาพแวดล้อมกว่าจะกลับคืนดังเดิม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว
และสึนามิ เนื่องจากอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนซุนดา(Sunda) (Palasri et. al.2010) หรือการเกิดภาวะน้าท่วมหนักและการ
ถูกไต้ฝุ่นพัดผ่าน เพราะอยู่ในเขตมรสุม ดังนั้นการประเมินความเสี่ยงเพื่อวางมาตรการในการป้องกันและบรรเทาผลจากภัย
พิบัติจึงจาเป็นเพื่อลดความสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น
การที่เราเข้าใจระดับความเปราะบางและความสามารถในการปรับตัวของแต่ละชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนา
มิ จะทาให้เราสามารถนามาพิจารณาร่วมกับกระบวนวิธีการศึกษาพื้นฐาน เพื่อการคาดคะเนการเกิดภัยพิบัติ การประเมิน
งานด้านภัยพิบัติ ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ เพื่อนาไปสู่การกาหนดรูปแบบ วิธีการและองค์ประกอบที่สาคัญในการป้องกันและ
บรรเทาภัยพิบัติและการวางแผนผังเมืองที่สามารถที่สามารถใช้ประโยชน์จากแผนผังเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง(Alca´ntara-
Ayala,2002)
คำถำมกำรวิจัย
อยากทราบความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเสี่ยงว่ามีผลต่อแนวทางในการปรับตัวของชุมชนที่มีความเสี่ยงอย่างไร
วัตถุประสงค์กำรวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อระดับความไวต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง
3. เพื่อศึกษาระดับของความเปราะบางที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความ
เสี่ยง
4. เพื่อศึกษาความสามารถในการรับมือภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง
ขอบเขตกำรวิจัย
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรวบรวมข้อมูลของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและความไวต่อการรับรู้
รวมถึงระดับของความเปราะบางที่มีการตัดสินใจปรับตัวเพื่อรับมือต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง
2.การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
3. การลงพื้นที่ที่เคยเกิดภัยพิบัติสึนามิเพื่อประเมินพื้นที่จริงร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง
ขอบเขตด้านประชากร
กลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกของอ่าวไทยที่มีโอกาสเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่มีวิถีชีวิตใกล้เคียงกับชุมชนบ้าน
น้าเค็มที่เป็นหมู่บ้านชาวประมง อันได้แก่ชุมชนปากน้าประแสร์ จังหวัดระยอง และชุมชนเขาหลักที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว อัน
ได้แก่ ชุมชนบ้านเพ จังหวัดระยอง
นิยำมศัพท์
ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง เหตุการณ์หรือสภาวะที่ไม่เป็นปกติของสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดารงอยู่ของ
ชุมชน ทาความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อมนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขนาดชุมชนเล็กหรือใหญ่ เป็นตัวกาหนด
ความรุนแรงและผลกระทบของภัยพิบัติ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้กระทาให้เกิดขึ้น
ภัยพิบัติอาจเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน มีผลกระทบในระยะสั้นๆ หรืออาจเกิดสะสมมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
แล้วจึงมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องยาวนานก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบและลักษณะของความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นๆประเภทของ
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
ภัยอันตราย (Hazard) หมายถึงเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมของมนุษย์หรือสิ่งอื่นใด ที่
สามารถสร้างความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน หรือความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อม
ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ (Risk) หมายถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายหรือคาดว่าจะมีความเสียหายทั้งในชีวิต การ
บาดเจ็บ สูญเสียทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ หรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น
ผลกระทบมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ หรือมนุษย์ และสภาวะที่มีความเปราะบาง
การลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ (Mitigation) หมายถึงองค์ประกอบของกรอบความคิดที่พิจารณาว่าจะลดความเปราะบาง
และความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่มีต่อปัจเจกบุคคล กลุ่ม ชุมชน และสังคมทั้งหมดลงได้ การหลีกเลี่ยงโดยการป้องกัน กาหนด
ขอบเขตโดยการบรรเทา และการเตรียมพร้อมต่อผลกระทบที่จะเกิดจากภัยพิบัติ ภายใต้การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management) หมายถึงการดาเนินการ ต่างๆ ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัง
เหตุการณ์ภัยพิบัติ เพื่อควบคุมภัยพิบัติ และเพื่อจัดหากรอบให้ความช่วยเหลือบุคคล และ/หรือชุมชนที่อยู่ในอันตราย ให้
หลีกเลี่ยง ลด และฟื้นตัวจากผลกระทบจากภัยพิบัติ
ทบทวนวรรณกรรม
1. แนวคิด ความเปราะบาง และความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
ความเปราะบางมีหลายนิยาม โดย ดร.วิเชียร เกิดสุข นิยามความเปราะบาง ว่า ความเปราะบาง หมายถึง การที่
ระบบไม่สามารถรับมือในการที่จะ แก้ไขผลกระทบในเชิงลบและความเสียหายอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงหรือความ
แปรปรวนของสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เป็นผลจาก ความรุนแรงของผลกระทบ และความสัมฤทธิ์ผลของความรับมือ ขณะที่ ดร.
อัมมารและคณะให้ความหมายว่า ความเปราะบาง (vulnerability) เป็นสถานการณ์ที่บุคคลไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง
ได้ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ เนื่องจากไม่ได้เตรียมการจัดการหรือไม่สามารถเตรียมการจัดการกับความเสี่ยงไว้อย่างเพียงพอ
การประเมินความเปราะบางไม่สามารถที่จะอธิบายในมุมมองด้านเดียวได้(Neale et. al., 2009)และ
(Chhotray และFew, 2012) ผลของการเกิดภัยพิบัติมีผลกระทบต่อบุคคลแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน เช่น คนไร้บ้านในโตเกียว
สามารถอดทนต่อการไม่มีที่อยู่อาศัยและการจากัดในเรื่องที่อยู่ เพราะพวกเขาได้พัฒนาความคาดหวังว่าตนเองจะต้องเจอกับ
ปัญหารายได้ต่าและไม่มีที่อยู่อาศัยจากเศรษฐกิจตกต่าอยู่แล้ว(Takahashi, 1998) ในขณะที่ Hinkel, 2011 ได้
ศึกษาในเรื่องตัวชี้วัดความเปราะบางและความสามารถในการเยียวยา พบว่าเกิดความสับสนว่าสิ่งไหนที่นามาเป็นตัวชี้วัด
ความเปราะบางได้และชนิดของปัญหาเชิงนโยบายที่จะใช้ในการให้ความหมายของตัวชี้วัด โดยได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ทาให้เกิด
ความสับสนอันได้แก่ การให้ความหมายของอุปสรรค การให้ความหมายของความเปราะบางของบุคคล ชุมชน ภูมิภาค การ
ยกระดับความตระหนักถึง การจัดสรรกองทุนเยียวยา การติดตามผลของมาตรการเยียวยา และการจัดการวิจัยเชิง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งทาให้ความเปราะบางเป็นสิ่งที่ไม่สามารถชี้วัดได้ เพราะปัจจัยที่มีผลต่อความเปราะบางของแต่ละบุคคลมี
กรอบการวิเคราะห์จาก 3 ทาง อันได้แก่ ความไวต่อการรับรู้ความสูญเสีย การแสดงออก และประสบการณ์ในอดีต (Luers,
2005) งานศึกษากรณีของเขาหลัก จ.พังงา อธิบายถึงการศึกษาภาคสนาม ตัวชี้วัด 13 ตัวแปรที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อ
จาแนกและเข้าใจแรงขับเคลื่อนของความเปราะบางและกรอบแนวคิดของสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่อการท่องเที่ยวในวงกว้าง
จากการที่ความเปราะบาง เป็นภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง อันเนื่องมาจากการที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อ
รับมือภัยพิบัติมาก่อน เช่น ผลกระทบที่มีย่อมเกิดขึ้นต่อ ตัวบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้ง กายภาพและจิตใจ เช่นการได้รับความ
เจ็บปวดทางร่างกายจากการถูกคลื่นสึนามิซัดและได้รับความเจ็บปวดทางจิตใจจากการสูญเสียญาติพี่น้อง เป็นต้น
สังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลนั้นถือครองอยู่(Chini et al., 2013) เช่นการสูญเสียรถยนต์และบ้าน ไปกับ
การถูกคลื่นสึนามิซัดหายไป เป็นต้น การสูญเสียโครงสร้างพื้นฐานของระบบสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า ฟูกิชิมะ ที่เกิดการ
เสียหายและเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ต้องมีการดาเนินการเพื่อกาจัดและแก้ไข เป็นต้น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
เช่น โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวในเมือง ฟูกิชิมะ ที่ต้องกู้เงินมาลงทุนในการก่อสร้างใหม่ เป็นต้น ความสูญเสีย
ทางสังคมเช่น การพลัดพรากของคนในครอบครัว ที่ได้เสียชีวิตไปทาให้ขาดคนเลี้ยงดูบุตรหลาน เป็นต้น ความสูญเสียทางด้าน
สิ่งแวดล้อม เช่นระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากป่าชายเลนบริเวณบ้านน้าเค็มและบ้านเขาหลัก จ.พังงา ถูกทาลาย
หรือการที่มีสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมาจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ของ ฟุกุชิมพะ ทาให้ตรวจ
พบสารกัมมันตรังสีตกค้างอยู่ในสัตว์ทะเลบริเวณ จ. ฟูกุชิมะ ในปริมาณที่สูงกว่าค่ามาตรฐานปกติ อย่างมาก เป็นต้น เหล่านี้
ล้วนเป็นผลกระทบจากภัยพิบัติโดยที่ไม่ได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติ หรือ กรณีศึกษาภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่พบในประเทศ
จีน พบว่า เหตุที่ทาให้เกิดความเสียหายมาจากโครงสร้างขาดความแข็งแรงและการขาดประสิทธิภาพในการอพยพหลบภัยของ
ประชาชน (Ma, X. & Ohno, R. ,2011) หรือ ในกรณีของจังหวัด ฟุกุชิมะ มีการเตรียมการรับมือไว้แล้ว แต่ประเมิน
ไว้ที่ แผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ แต่มีการเกิดจริงที่ระดับ 9 ริกเตอร์เป็นต้น
ขนาดและความรุนแรงจากภัยพิบัติ เป็นการพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ (กรมทรัพยากรธรณี.
ม.ป.ป. ) ในส่วนของขนาดของภัยพิบัติได้แก่บริเวณพื้นที่ทีได้รับผลกระทบ เช่น ขนาดของเนื้อที่ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และ
ความหนาแน่นของชุมชน เป็นต้น ประเภทของภัยพิบัติ เช่น สึนามิที่จะมีผลกระทบในเขตใกล้ชายฝั่ง พายุไซโคลน ไต้ฝุ่น
ทอร์นาโด ที่จะมีผลต่อบริเวณที่พายุพัดผ่าน แผ่นดินไหวที่จะมีผลกระทบทั้งจากตัวแผ่นดินไหวเองและสึนามิ ในบริเวณที่
ได้รับอิทธิพลของแผ่นดินไหว เป็นต้น ในส่วนของความรุนแรงจากภัยพิบัติ จะพิจารณาจากการปลดปล่อยพลังงานของการ
เกิดภัยพิบัตินั้นๆ ที่สามารถวัดได้เป็นตัวเลขด้วยหน่วยต่างๆ เช่น แผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ พายุไต้ฝุ่นความเร็วลมใกล้
ศูนย์กลาง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือคลื่นสึนามิ ความสูง 20 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเป็นต้น และพิจารณาจากความถี่
ของการเกิดภัยพิบัตินั้นๆ เช่น การเกิด อาฟเตอร์ช็อค จานวน 200 ครั้งตามมา หรือ ปีนี้มีพายุไต้ฝุ่นเข้า 30 ลูก เป็นต้น
โดยขนาดและความรุนแรงจากภัยพิบัติจะเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
ในการพิจารณาผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติไม่สามารถที่จะวัดผลจากการประเมินด้วยความเปราะบางอย่างเดียวได้
ต้องมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติร่วมด้วยเพราะความรุนแรงและความถี่ของโอกาสที่จะเกิดจะเป็นผลรวมของความเสี่ยงในการ
เกิดภัยพิบัติ ให้ความหมายของความเสี่ยงคือ เหตุการณ์ที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเกิดขึ้นได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม อาจมีแนวทางที่กาหนดความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ขึ้นล่วงหน้าได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งความเสี่ยงเป็นเรื่อง
ของการพิจารณาเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (ดร. อัมมารและคณะ,2007) ต่างจากอีกความหมายของความเสี่ยง
หมายถึง โอกาส หรือความน่าจะเป็นที่ระบบจะได้รับผลกระทบ อันเป็นผลรวมของความถี่หรือความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้น ร่วมกับผลที่เกิดตามมา ทั้งนี้ความเสี่ยงที่มีการประเมินไว้ในเหตุการณ์หนึ่งอาจไม่ได้มีผลกระทบกับทุกคน อาจเป็นสิ่ง
ที่มีผลต่อบางคนเท่านั้น(ดร.วิเชียร เกิดสุข,2012) นอกจากนี้ความเสี่ยงยังไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เกิดผลกระทบทางด้านลบ
เท่านั้น ยังอาจหมายถึงผลด้านบวกได้เช่นการถูกล็อตเตอรี่ก็ได้(ดร. อัมมารและคณะ,2007)
ทั้งนี้ระดับของความเปราะบางสามารถอธิบายความสัมพันธ์โดยใช้ความสัมพันธ์ของ 3 ปัจจัย คือ ความสัมพันธ์
แบบที่ 1 คือความเปราะบาง เป็นอัตราส่วนของ ความเสี่ยงต่อความสามารถในการรับมือภัยพิบัติ ความสัมพันธ์แบบที่
2 คือ ความเปราะบางเป็นอัตราส่วนระหว่าง ผลคูณของการเปิดเผยและความไวต่อการรับรู้ ต่อ ความสามารถในการรับมือภัย
พิบัติ(United Nation ISDR ,2004 )
ความสัมพันธ์แบบที่ 1 Vulnerability =
ความสัมพันธ์แบบที่ 2 Vulnerability =
ดังนั้นผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติจึงเป็นการพิจารณาปัจจัยประกอบกันระหว่างความเปราะบางและความเสี่ยง
จากภัยพิบัติ เช่น การศึกษานี้ จะเป็นการประเมินความเปราะบางต่อชุมชนในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านเพและชุมชนปากน้าประ
แสร์ ที่จะได้รับกรณีเกิดภัยพิบัติสึนามิ เป็นต้น เพื่อการวางมาตรการในการบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิที่จะเกิดขึ้น
ทั้งในพื้นที่เดิมและพื้นที่อื่นในอนาคตต่อไป
กรอบแนวคิดในกำรศึกษำ
มีกรอบแนวคิดในการศึกษาดังต่อไปนี้
Risk
Coping Capacity
(Exposure x Sensitivity)
Coping Capacity
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก่อนความเสี่ยง(คาดการณ์)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังความเสี่ยง(ผลจากภัยพิบัติ)
การปรับปรุงแผนการ
จัดการความเสี่ยง
ที่มา ดัดแปลง จาก ดร.อัมมาร สยามวาลาและคณะ
กรอบความคิดเรื่องความเปราะบาง จะถือว่าผู้เดิมช่วยเหลือตนเองได้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติแล้วไม่สามารถ
ช่วยเหลือตนเองได้ เป็นผู้ที่มีความเปราะบาง แต่ถ้าเดิมเป็นผู้ที่ช่วยเหลือตนเองได้เมื่อได้รับภัยพิบัติแล้วยังช่วยเหลือตนเองได้
ถือว่าเป็นผู้มีความมั่นคง ส่วนผู้ที่เดิมไม่สามารถช่วยตัวเองได้เมื่อเจอภัยพิบัติแล้วไม่สามารถช่วยตนเองได้มากกว่าเดิม คือผู้
อ่อนแอทางสังคม
ดัดแปลงจาก ไมตรี ,2548 และ อัมมาร ,2549
กรอบความคิดในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ
ความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติต้องประเมินในระดับ บุคคล ชุมชน และสังคม โดยความเสี่ยงของภัยพิบัติประเมินได้ 2
ประเภท คือความเสี่ยงที่สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า และความเสี่ยงที่ไม่สามารถประเมินได้ล่วงหน้า
และการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติสึนามิ พิจารณาดังนี้
ความเสี่ยงที่สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า
ความเสี่ยง ลักษณะของความเปราะบาง
บุคคล ความขาดแคลนปัจจัย 4 ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และอาหาร
ชุมชน การขาดความช่วยเหลือ
สังคม การขาดกาลังใจ
ผู้มีความมั่นคง
ผู้ที่มีความเปราะบาง
ผู้อ่อนแอทางสังคม
ความเสี่ยงที่ไม่สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า
ความเสี่ยง ลักษณะของความเปราะบาง
บุคคล การได้รับบาดเจ็บจากการถูกคลื่นซัด
การพิการเนื่องจากการสูญเสียอวัยวะ
การเสียชีวิตจากการจมน้า
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
การเกิดความหวาดกลัวแบบฝังใจ
การสูญเสียทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
การเป็นหนี้สินจากการต้องกู้ยืมเงินมาผ่อนใช้หนี้ที่เกิดจากการทาลายของสึนามิ
ชุมชน การสูญเสียระบบนิเวศน์เดิม
การสูญเสียเอกลักษณ์ของชุมชนเช่น ชาวมอร์แกนต้องย้ายหมู่บ้านไปอยู่ในที่ๆสูงขึ้น
จากระดับน้าทะเล
การสูญเสียระบบสาธารณูปโภคหลักของชุมชนเช่น ท่าเรือ ถนน สะพานเป็นต้น
การสูญเสียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน
สังคม การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ที่ต้องกู้ยืมเงินมาฟื้นฟูความเสียหาย
การสูญเสียทางสังคม ที่หลายครอบครัวต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไป
การสูญเสีย สภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
การสูญเสียภาพลักษณ์ในเรื่องความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
เมื่อมีการประเมินความเสี่ยง แล้วจึงนามาประเมินผลเพื่อทาเป็นมาตรการในการป้องกันบรรเทาผลที่เกิดจากภัย
พิบัติสึนามิ
ความเสี่ยงที่ป้องกันได้
ความเสี่ยง มาตรการป้องกันความเสี่ยง มาตรการบรรเทาความเสี่ยง
บุคคล จัดตั้งองค์กรบริหารจัดการปัจจัย 4 เพื่อเหตุฉุกเฉิน จัดเตรียมปัจจัย 4 สารองไว้ยามฉุกเฉิน
ชุมชน จัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานบรรเทาสาธารณะภัย การให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
สังคม จัดตั้งหน่วยงานเพื่อควบคุมและดูแลการสื่อสารอย่างอย่าง
สร้างสรรค์ยามเกิดภัยพิบัติ
การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกาลังใจ
อย่างทันที
ความเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้
ความเสี่ยง มาตรการป้องกันความเสี่ยง มาตรการบรรเทาความเสี่ยง
บุคคล การทาประกันชีวิต
การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากสึนามิ
การสอนทักษะในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดสึนามิ
การสนับสนุนทางการเงิน
ชุมชน การสร้างแนวป้องกันคลื่นสึนามิ
การส่งเสริมความรู้ในการประยุกต์ธรรมชาติเพื่อป้องกันสึนามิ
การเสริมความแข็งแรงของสิ่งปลูกสร้างเดิม
การสร้างรายได้เพิ่มให้กับคนในพื้นที่
สังคม การสนับสนุนการระวังภัยจากภาครัฐ
การสนับสนุนการสร้างเครื่องมือป้องกันภัยในระดับมหภาค
การให้เงินเยียวยาผู้ประสบภัย
การสนับสนุนทุนในการฟื้นฟูพื้นที่จากภัย
พิบัติ
เมื่อได้มีการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติและสร้างมาตรการในการป้องกันและบรรเทาผลที่เกิดจากภัยพิบัติสึนามิ
แล้วจึงนามาทาเป็นแผนการจัดการภัยพิบัติสึนามิ โดยแผนจะต้องครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว และต้องคานึงถึง ใน
ระดับ บุคคล ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดความมั่นคง ในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน
วิธีกำรศึกษำ
การพิจารณาปัจจัยที่นามาใช้ในการศึกษานี้ จะมีหัวข้อหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ การรับรู้ ความไวต่อการรับรู้
ความสามารถในการจัดการความเสี่ยง ระดับความเปราะบางที่ทาให้เกิดการวางแผนรับมือภัยพิบัติ และมาตรการเพื่อ
ป้องกันบรรเทาภัยพิบัติ โดยจะเป็นการศึกษาประชากร ที่คาดว่าจะได้รับความเสี่ยงจากภัยพิบัติสึนามิ ได้แก่ชุมชนบ้านเพ
ชุมชนปากน้าประแสร์จังหวัดระยอง เพราะเป็นชุมชนที่มีอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการประมงเป็นหลักเช่นเดียวกับ บ้าน
น้าเค็ม และ บ้านเขาหลัก ที่เกิดภัยพิบัติสึนามิในภาคใต้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจะต้องเป็นกลุ่มคนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียถ้า
หากเกิดภัยพิบัติสึนามิ อันได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเรือประมง(ชุมชนปากน้าประแสร์) กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจโฮมสเตย์หรือ
โรงแรม(ชุมชนปากน้าประแสร์และชุมชนบ้านเพ) กลุ่มของผู้ที่มีที่อยู่อาศัยใกล้ทะเลไม่เกิน 200 เมตร กลุ่มของเจ้าหน้าที่
บรรเทาสาธารณภัย กลุ่มของปราชญ์ท้องถิ่น และกลุ่มของผู้มีความเปราะบางโดยธรรมชาติ เช่น สตรีมีครรภ์ และคนชราอายุ
เกิน 75 ปี เป็นต้น โดยจะมีการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ของการศึกษา คือ การค้นหาปัจจัยสาคัญและการประเมินระดับของ
ความเปราะบาง การคิดมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ การปรับปรุงมาตรการเพื่อป้องกันและ
บรรเทาผลที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ และการทบทวน ปัจจัยสาคัญและมาตรการเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติ
โดยขั้นตอนแรกจะเป็นประชุมกลุ่มย่อยของกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อสนทนาจากประสบการณ์ในอดีตเพื่อ
ค้นหาปัจจัยสาคัญและการประเมินระดับของความเปราะบางของชุมชนแต่ละชุมชน แห่งละ 1 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 2 จะเป็นประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดในการวางมาตรการและแผนการดาเนินการเพื่อป้องกันบรรเทา
ภัยพิบัติสึนามิ แห่งละ 1 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 3 การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อปรับปรุงการวางมาตรการและแผนการดาเนินการเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติสึนา
มิภายหลังจากการเข้าเยี่ยมชมพื้นที่จริงที่เกิดภัยพิบัติสึนามิแล้ว แห่งละ 1 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 4 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อทบทวนตรวจสอบ ปัจจัยสาคัญและการประเมินระดับของความเปราะบางของ
ชุมชนแต่ละชุมชน รวมถึงการประเมินมาตรการและแผนการดาเนินงานเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติสึนามิ แห่งละ 1 ครั้ง
ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ
1. สามารถนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความจาเป็นในการรับมือภัยพิบัติสึนามิใน
ระดับประเทศ
2. สามารถประเมินความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติของชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง
3. สามารถนาไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการของบประมาณเพื่อป้องกันความเสี่ยงภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มี
ความเสี่ยง
ระยะเวลำในกำรวิจัย
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
งบประมำณ
1.ค่าอานวยความสะดวกในการเข้าศึกษาวิจัย 50,000 บาท
2. ค่าจัดทาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับภัยพิบัติสึนามิ 50,000 บาท
3. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมกลุ่มย่อย 2 ชุมชน ครั้งละ 10,000 บาทชุมชนละ 4 ครั้ง เป็นเงิน รวม 80,000 บาท
ครั้งแรก การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อสนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีต เพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นของปัจจัยสาคัญที่มี
ต่อการรับรู้ความเสี่ยง ปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อระดับความไวต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิ และการประเมินระดับ
ความเปราะบางที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติสึนามิ
ครั้งที่ 2 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดในการวางมาตรการและแผนการดาเนินการเพื่อป้องกันบรรเทาภัย
พิบัติสึนามิ
ครั้งที่ 3 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดในการวางมาตรการและแผนการดาเนินงานเพื่อป้องกันบรรเทาภัย
พิบัติสึนามิภายหลังจากการเข้าเยี่ยมชมพื้นที่จริงที่เกิดภัยพิบัติสึนามิแล้ว
Jul Aug Sep Oct Nov Dec Jan Feb Mar Apr May Jun
1. ติดต่อประสานงานในการเข ้าพื้นที่
2 การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1
3.การประเมินปัจจัยสาคัญโดยผู ้เชี่ยวชาญ
4. ให ้ความรู ้เกี่ยวกับภัยพิบัติสึนามิ
5. การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2
6. การทัศนศึกษาพื้นที่จริง
7. การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 3
8. ให ้ความรู ้เกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติสึนามิ
9. การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 4
10. การประเมินปัจจัยสาคัญโดยผู ้เชี่ยวชาญครั้งที่ 2
11. การจัดทาเล่มรายงาน
12. การตรวจสอบเนื้อหาและการแก ้ไขเล่มรายงาน
13. จัดส่งเล่มรายงาน
2556 2557
หัวข ้อ
ครั้งที่ 4 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อทบทวนตรวจสอบ ปัจจัยสาคัญที่มีต่อการรับรู้ความเสี่ยง ปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อ
ระดับความไวต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิ และการประเมินระดับความเปราะบางที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับตัว
เพื่อรับมือภัยพิบัติสึนามิ รวมถึงการประเมินมาตรการและแผนการดาเนินงานเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติสึนามิ
4. ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในการประเมินปัจจัยที่ได้จากการสนทนากลุ่มย่อย 40,000 บาท
5. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทัศนศึกษา บริเวณ บ้านเขาหลัก และบ้านน้าเค็ม จ.พังงา 50,000 บาท
6. ค่าใช้จ่ายในการจ้างเจ้าหน้าที่ช่วยทาการวิจัย 30,000 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 300,000 บาท
References
Akin, M., Topal, T., & Kramer, S. (2013). A newly developed seismic microzonation model of Erbaa
(Tokat, Turkey) located on seismically active eastern segment of the North Anatolian Fault Zone (NAFZ). Nat
Hazards, 65, 1411–1442. DOI 10.1007/s11069-012-0420-1
Alca´ntara-Ayala, I. (2002). Geomorphology, natural hazards, vulnerability and prevention of natural
disasters in developing countries. Geomorphology, 47, 107–124
Alshehri, S.,Rezgui, Y., & Li, H. (2013). Public perception of the risk of disasters in a developing
economy: the case of Saudi Arabia. Nat Hazards, 65, 1813–1830. DOI 10.1007/s11069-012-0445-5
Chini, M., Piscini, A., Cinti, F., Amici, S., Nappi, R., & Martini, P. (2013). The 2011 Tohoku (Japan)
Tsunami Inundation and Liquefaction Investigated Through Optical, Thermal and SAR Data. IEEE Geoscience
and remote sensing letter, 10(2), 347-351.
Cui, P. & Zhu, X.(2011). Surge Generation in Reservoirs by Landslides Triggered by the Wenchuan
Earthquake. Earthquake and Tsunami, 5(5), 461-474.
Chen, N., Hu, G., Deng, M., Zhou, W., Yang, C., Han, D. & Deng, J.(2011). Impact of Earthquake on
Debris Flows – A Case Study on the Wenchuan Eartquake. Earthquake and Tsunami, 5(5), 493-508.
Erdik, M., Sesetyan, K., Demircioglu, M. B., Hancilar, U., & Zulfikaa, C.(2011). Rapid earthquake loss
assessment after damaging earthquakes. Soil Dynamics and Earthquake Engineering, 31, 247- 266.
United Nations ISDR (2004). Living with Risk A global review of disaster reduction initiatives.
Ho, B. & Kuang, S.(2012). Damage Evolution Spectra for Seismic Analysis of High-rise Building.
Earthquake and Tsunami, 6(3) 19 pages, DOI: 10.1142/S1793431112500212
Kang, M., Banerjee, S., Lee, F., & Xie, H.(2012). Dynamic Soil-pile-raft Interaction in Normally
Consolidated Soft Clay During Earthquakes. Earthquake and Tsunami, 6(3), 12 pages DOI:
10.1142/S1793431112500315.
Lin, P., Wu, Y., Bai, J. & Lin, Q.(2011). A Numerical Study of Dam-Break Flow and Sediment Transport
from a Quake Lake. Earthquake and Tsunami, 5(5), 401-428.
Lukkunaprasit, P., Ruangrassamee, A., Stitmannaithum, B., Chintanapakdee, C. & Thanasisathit,
N.(2010). Calibration of Tsunami Loading on a Damaged Building. Earthquake and Tsunami, 4(2), 105-114. DOI:
10.1142/S1793431110000753
Maung, T., Than, M., Soe, T. T. & Tint, S.(2009). Earthquake and Tsunami Hazard in Myanmar.
Earthquake and Tsunami, 3(2), 43-57.
Ma, X. & Ohno, R.(2011). Examination of Vulnerability of Various Residential Areas in China for
Earthquake Disaster Mitigation. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 35, 369 – 377.
Mwafy, A.(2012). Effect of Bidirectional Excitations on Seismic Response of RC Buildings. Earthquake
and Tsunami, 6(3) 20 pages, DOI: 10.1142/S1793431112500194
Nandasena, N., Tanaka, N. & Tanimoto, K.(2008). Tsunami Current Inundation of Ground with Coastal
Vegetation Effects; An Initial Step Towards a Natural Solution for Tsunami Amelioration. Earthquake and Tsunami,
2(2), 157-171.
Natawidjaja, D. & Triyoso, W.(2007). The Sumatran Fault Zone from Source to Hazard. Earthquake and
Tsunami, 1(1), 21-47.
Nimbalkar, S. & Shoudhury, D.(2008). Effect of body Waves and Soil Amplification on Seismic Earth
Pressure. Earthquake and Tsunami, 6(3), 33-52.
Palasri, C. & Ruangrassamee, A.,(2010). Probabilistic Seismic Map of Thailand. Earthquake and
Tsunami, 4(4), 369-386.
Suppasri, A., Imamura, F. & Koshimura, S.(2011). Tsunami Hazard and Casualty Estimation in a Coastal
Area that Neighbors The Indian Ocean and South China Sea. Earthquake and Tsunami, 6(2), (25 pages) DOI:
10.1142/S1793431112500108
Triatmamadja, R.and Nurhasanah, A.(2012). Tsunami Force on Buildings with Openings and Protection.
Earthquake and Tsunami, 6(4), 17 p. DOI: 10.1142/S1793431112500248
Wang, X., & Liu, P.,(2007). Numerical Simulations of the 2004 Indian Ocean Tsunami-Coastal Effects.
Earthquake and Tsunami, 1(3), 273-297.
Wijetunge, J., Wang, X. & Liu, P.(2008). Indian Ocean Tsunami on 26 December 2004 : Numerical
Modeling of Inundation in Three Cities on the South Coast of Sri Lanka. Earthquake and Tsunami, 2(2), 133-155
Zebardast, E. (2013). Constructing a social vulnerability index to earthquake hazards using a hybrid
factor analysis and analytic network Process (F’ ANP) model. Nat Hazards, 65, 1331-1359.
กรมทรัพยากรธรณี. ม.ป.ป. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว. ค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2556 จาก
http://www.dmr.go.th/main.php?filename=severity
วิเชียร เกิดสุข(2555). ความเปราะบางและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอีสาน. งาน
สัมมนา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม: การปรับตัวของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภุมิอากาศโลก.
อัมมาร สยามวาลา และคณะ (2549).การประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคม: การวัดภาวะความ
ยากไร้และความเปราะบางสังคม สู่แนวทางนาไปปฏิบัติได้ในประเทศไทย, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

More Related Content

Viewers also liked

Viewers also liked (9)

Śniadanie Daje Moc
Śniadanie Daje MocŚniadanie Daje Moc
Śniadanie Daje Moc
 
สไลด์ภาพน้องพลอย
สไลด์ภาพน้องพลอยสไลด์ภาพน้องพลอย
สไลด์ภาพน้องพลอย
 
Organizadores gráficos 1
Organizadores gráficos 1Organizadores gráficos 1
Organizadores gráficos 1
 
5to 3ra informática
5to 3ra informática 5to 3ra informática
5to 3ra informática
 
Maya - Lição 01
Maya - Lição 01Maya - Lição 01
Maya - Lição 01
 
RC
RCRC
RC
 
Introdução ao Processamento Paralelo (1)
Introdução ao Processamento Paralelo (1)Introdução ao Processamento Paralelo (1)
Introdução ao Processamento Paralelo (1)
 
внешнее строение рыб 1
внешнее строение рыб 1внешнее строение рыб 1
внешнее строение рыб 1
 
Dynamics 365 Field Service Enhancement
Dynamics 365 Field Service EnhancementDynamics 365 Field Service Enhancement
Dynamics 365 Field Service Enhancement
 

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับรู้ความเสี่ยงของภัยพิบัติสึนามิกับแนวทางในการปรับตัวเพื่อป้องกันบรรเทาผลกระทบ

  • 1. ส่งเมื่อ 22/6/2013 โดย ธนกรม ภางาม 5510539006 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับรู้ความเสี่ยงของภัยพิบัติสึนามิกับแนวทางในการปรับตัวเพื่อป้องกันบรรเทาผลกระทบ Public participation in Tsunami risk awareness to qualify preventive and mitigable plan คำนำ ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่มนุษย์ในอดีตไม่สามารถหยั่งรู้ล่วงหน้าได้ ทาให้มนุษย์เกิดการหวาดกลัว และคิดว่าปรากฏการณ์ ต่างๆเหล่านี้เป็น การกระทาที่เกิดจากสิ่งที่มองไม่เห็น ทั้ง แผ่นดินไหว น้าท่วม สึนามิ ไต้ฝุ่น เป็นต้น ถูกผู้นาทางจิตวิญญาณ ในอดีตนามาสร้างเรื่องราวให้เกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือธรรมชาติ และชักจูงชุมชนให้คล้อยตามว่า ตนสามารถที่จะติดต่อกับพระเจ้า ที่ทาให้เกิดปรากฎการณ์และสามารถนาพลังของสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านั้น มาป้องกันภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ต่อเมื่อมนุษย์มีการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ จึงทราบว่าความสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ แต่ละคนมีการรับรู้ที่ไม่เท่ากันและสามารถที่จะป้องกันหรือบรรเทาได้ จึงทาให้เกิดการพัฒนาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ ขึ้นมา ควำมสำคัญและที่มำของปัญหำ เนื่องด้วยวันที่ 27 ธันวาคม 2547 บ้านเขาหลัก หาดป่าตอง และบริเวณชายหาดด้านตะวันตก ของจังหวัดภูเก็ต เกิดคลื่นสึนามิ อันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ บริเวณ ใกล้กับเกาะสุมาตราและมีคนตายกว่าแสนคน (Suppasri et. al.,2011), วันที่ 11 มีนาคม 2555 ได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่นทาให้คนเสียชีวิตหลายหมื่นคน(Chini et al., 2013) ช่วงปลายปี 2554 เกิดวิกฤตน้าท่วมหนักในประเทศ ไทยตามแนวบริเวณที่ราบลุ่มใกล้แม่น้าเจ้าพระยา ทาให้สูญเสียหลายหมื่นล้านบาทหรือการเกิดปรากฎการณ์พายุทอร์นาโด ถล่ม มลรัฐโอคลาโฮม่า ในช่วงเดือน พฤษภาคม 2556 ที่ทาให้เมืองทั้งเมืองพังพินาศ เหล่านี้ล้วนทาให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจานวนมาก ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและต้องใช้เวลานานและเงินลงทุนจานวนมากในการฟื้นฟู สภาพแวดล้อมกว่าจะกลับคืนดังเดิม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว และสึนามิ เนื่องจากอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนซุนดา(Sunda) (Palasri et. al.2010) หรือการเกิดภาวะน้าท่วมหนักและการ ถูกไต้ฝุ่นพัดผ่าน เพราะอยู่ในเขตมรสุม ดังนั้นการประเมินความเสี่ยงเพื่อวางมาตรการในการป้องกันและบรรเทาผลจากภัย พิบัติจึงจาเป็นเพื่อลดความสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น การที่เราเข้าใจระดับความเปราะบางและความสามารถในการปรับตัวของแต่ละชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนา มิ จะทาให้เราสามารถนามาพิจารณาร่วมกับกระบวนวิธีการศึกษาพื้นฐาน เพื่อการคาดคะเนการเกิดภัยพิบัติ การประเมิน
  • 2. งานด้านภัยพิบัติ ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ เพื่อนาไปสู่การกาหนดรูปแบบ วิธีการและองค์ประกอบที่สาคัญในการป้องกันและ บรรเทาภัยพิบัติและการวางแผนผังเมืองที่สามารถที่สามารถใช้ประโยชน์จากแผนผังเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง(Alca´ntara- Ayala,2002) คำถำมกำรวิจัย อยากทราบความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเสี่ยงว่ามีผลต่อแนวทางในการปรับตัวของชุมชนที่มีความเสี่ยงอย่างไร วัตถุประสงค์กำรวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อระดับความไวต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง 3. เพื่อศึกษาระดับของความเปราะบางที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความ เสี่ยง 4. เพื่อศึกษาความสามารถในการรับมือภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง ขอบเขตกำรวิจัย ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรวบรวมข้อมูลของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและความไวต่อการรับรู้ รวมถึงระดับของความเปราะบางที่มีการตัดสินใจปรับตัวเพื่อรับมือต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง 2.การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3. การลงพื้นที่ที่เคยเกิดภัยพิบัติสึนามิเพื่อประเมินพื้นที่จริงร่วมกับกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกของอ่าวไทยที่มีโอกาสเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่มีวิถีชีวิตใกล้เคียงกับชุมชนบ้าน น้าเค็มที่เป็นหมู่บ้านชาวประมง อันได้แก่ชุมชนปากน้าประแสร์ จังหวัดระยอง และชุมชนเขาหลักที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว อัน ได้แก่ ชุมชนบ้านเพ จังหวัดระยอง
  • 3. นิยำมศัพท์ ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง เหตุการณ์หรือสภาวะที่ไม่เป็นปกติของสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดารงอยู่ของ ชุมชน ทาความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อมนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขนาดชุมชนเล็กหรือใหญ่ เป็นตัวกาหนด ความรุนแรงและผลกระทบของภัยพิบัติ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้กระทาให้เกิดขึ้น ภัยพิบัติอาจเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน มีผลกระทบในระยะสั้นๆ หรืออาจเกิดสะสมมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องยาวนานก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบและลักษณะของความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นๆประเภทของ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ภัยอันตราย (Hazard) หมายถึงเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมของมนุษย์หรือสิ่งอื่นใด ที่ สามารถสร้างความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน หรือความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ (Risk) หมายถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายหรือคาดว่าจะมีความเสียหายทั้งในชีวิต การ บาดเจ็บ สูญเสียทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ หรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น ผลกระทบมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ หรือมนุษย์ และสภาวะที่มีความเปราะบาง การลดความเสี่ยงของภัยพิบัติ (Mitigation) หมายถึงองค์ประกอบของกรอบความคิดที่พิจารณาว่าจะลดความเปราะบาง และความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่มีต่อปัจเจกบุคคล กลุ่ม ชุมชน และสังคมทั้งหมดลงได้ การหลีกเลี่ยงโดยการป้องกัน กาหนด ขอบเขตโดยการบรรเทา และการเตรียมพร้อมต่อผลกระทบที่จะเกิดจากภัยพิบัติ ภายใต้การพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management) หมายถึงการดาเนินการ ต่างๆ ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัง เหตุการณ์ภัยพิบัติ เพื่อควบคุมภัยพิบัติ และเพื่อจัดหากรอบให้ความช่วยเหลือบุคคล และ/หรือชุมชนที่อยู่ในอันตราย ให้ หลีกเลี่ยง ลด และฟื้นตัวจากผลกระทบจากภัยพิบัติ
  • 4. ทบทวนวรรณกรรม 1. แนวคิด ความเปราะบาง และความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ความเปราะบางมีหลายนิยาม โดย ดร.วิเชียร เกิดสุข นิยามความเปราะบาง ว่า ความเปราะบาง หมายถึง การที่ ระบบไม่สามารถรับมือในการที่จะ แก้ไขผลกระทบในเชิงลบและความเสียหายอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงหรือความ แปรปรวนของสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เป็นผลจาก ความรุนแรงของผลกระทบ และความสัมฤทธิ์ผลของความรับมือ ขณะที่ ดร. อัมมารและคณะให้ความหมายว่า ความเปราะบาง (vulnerability) เป็นสถานการณ์ที่บุคคลไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง ได้ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ เนื่องจากไม่ได้เตรียมการจัดการหรือไม่สามารถเตรียมการจัดการกับความเสี่ยงไว้อย่างเพียงพอ การประเมินความเปราะบางไม่สามารถที่จะอธิบายในมุมมองด้านเดียวได้(Neale et. al., 2009)และ (Chhotray และFew, 2012) ผลของการเกิดภัยพิบัติมีผลกระทบต่อบุคคลแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน เช่น คนไร้บ้านในโตเกียว สามารถอดทนต่อการไม่มีที่อยู่อาศัยและการจากัดในเรื่องที่อยู่ เพราะพวกเขาได้พัฒนาความคาดหวังว่าตนเองจะต้องเจอกับ ปัญหารายได้ต่าและไม่มีที่อยู่อาศัยจากเศรษฐกิจตกต่าอยู่แล้ว(Takahashi, 1998) ในขณะที่ Hinkel, 2011 ได้ ศึกษาในเรื่องตัวชี้วัดความเปราะบางและความสามารถในการเยียวยา พบว่าเกิดความสับสนว่าสิ่งไหนที่นามาเป็นตัวชี้วัด ความเปราะบางได้และชนิดของปัญหาเชิงนโยบายที่จะใช้ในการให้ความหมายของตัวชี้วัด โดยได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ทาให้เกิด ความสับสนอันได้แก่ การให้ความหมายของอุปสรรค การให้ความหมายของความเปราะบางของบุคคล ชุมชน ภูมิภาค การ ยกระดับความตระหนักถึง การจัดสรรกองทุนเยียวยา การติดตามผลของมาตรการเยียวยา และการจัดการวิจัยเชิง วิทยาศาสตร์ ซึ่งทาให้ความเปราะบางเป็นสิ่งที่ไม่สามารถชี้วัดได้ เพราะปัจจัยที่มีผลต่อความเปราะบางของแต่ละบุคคลมี กรอบการวิเคราะห์จาก 3 ทาง อันได้แก่ ความไวต่อการรับรู้ความสูญเสีย การแสดงออก และประสบการณ์ในอดีต (Luers, 2005) งานศึกษากรณีของเขาหลัก จ.พังงา อธิบายถึงการศึกษาภาคสนาม ตัวชี้วัด 13 ตัวแปรที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อ จาแนกและเข้าใจแรงขับเคลื่อนของความเปราะบางและกรอบแนวคิดของสิ่งที่มีอิทธิพลมากต่อการท่องเที่ยวในวงกว้าง จากการที่ความเปราะบาง เป็นภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง อันเนื่องมาจากการที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อ รับมือภัยพิบัติมาก่อน เช่น ผลกระทบที่มีย่อมเกิดขึ้นต่อ ตัวบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้ง กายภาพและจิตใจ เช่นการได้รับความ เจ็บปวดทางร่างกายจากการถูกคลื่นสึนามิซัดและได้รับความเจ็บปวดทางจิตใจจากการสูญเสียญาติพี่น้อง เป็นต้น สังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่บุคคลนั้นถือครองอยู่(Chini et al., 2013) เช่นการสูญเสียรถยนต์และบ้าน ไปกับ การถูกคลื่นสึนามิซัดหายไป เป็นต้น การสูญเสียโครงสร้างพื้นฐานของระบบสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า ฟูกิชิมะ ที่เกิดการ เสียหายและเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ต้องมีการดาเนินการเพื่อกาจัดและแก้ไข เป็นต้น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
  • 5. เช่น โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยวในเมือง ฟูกิชิมะ ที่ต้องกู้เงินมาลงทุนในการก่อสร้างใหม่ เป็นต้น ความสูญเสีย ทางสังคมเช่น การพลัดพรากของคนในครอบครัว ที่ได้เสียชีวิตไปทาให้ขาดคนเลี้ยงดูบุตรหลาน เป็นต้น ความสูญเสียทางด้าน สิ่งแวดล้อม เช่นระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากป่าชายเลนบริเวณบ้านน้าเค็มและบ้านเขาหลัก จ.พังงา ถูกทาลาย หรือการที่มีสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมาจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ของ ฟุกุชิมพะ ทาให้ตรวจ พบสารกัมมันตรังสีตกค้างอยู่ในสัตว์ทะเลบริเวณ จ. ฟูกุชิมะ ในปริมาณที่สูงกว่าค่ามาตรฐานปกติ อย่างมาก เป็นต้น เหล่านี้ ล้วนเป็นผลกระทบจากภัยพิบัติโดยที่ไม่ได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติ หรือ กรณีศึกษาภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่พบในประเทศ จีน พบว่า เหตุที่ทาให้เกิดความเสียหายมาจากโครงสร้างขาดความแข็งแรงและการขาดประสิทธิภาพในการอพยพหลบภัยของ ประชาชน (Ma, X. & Ohno, R. ,2011) หรือ ในกรณีของจังหวัด ฟุกุชิมะ มีการเตรียมการรับมือไว้แล้ว แต่ประเมิน ไว้ที่ แผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ แต่มีการเกิดจริงที่ระดับ 9 ริกเตอร์เป็นต้น ขนาดและความรุนแรงจากภัยพิบัติ เป็นการพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ (กรมทรัพยากรธรณี. ม.ป.ป. ) ในส่วนของขนาดของภัยพิบัติได้แก่บริเวณพื้นที่ทีได้รับผลกระทบ เช่น ขนาดของเนื้อที่ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และ ความหนาแน่นของชุมชน เป็นต้น ประเภทของภัยพิบัติ เช่น สึนามิที่จะมีผลกระทบในเขตใกล้ชายฝั่ง พายุไซโคลน ไต้ฝุ่น ทอร์นาโด ที่จะมีผลต่อบริเวณที่พายุพัดผ่าน แผ่นดินไหวที่จะมีผลกระทบทั้งจากตัวแผ่นดินไหวเองและสึนามิ ในบริเวณที่ ได้รับอิทธิพลของแผ่นดินไหว เป็นต้น ในส่วนของความรุนแรงจากภัยพิบัติ จะพิจารณาจากการปลดปล่อยพลังงานของการ เกิดภัยพิบัตินั้นๆ ที่สามารถวัดได้เป็นตัวเลขด้วยหน่วยต่างๆ เช่น แผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ พายุไต้ฝุ่นความเร็วลมใกล้ ศูนย์กลาง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือคลื่นสึนามิ ความสูง 20 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเป็นต้น และพิจารณาจากความถี่ ของการเกิดภัยพิบัตินั้นๆ เช่น การเกิด อาฟเตอร์ช็อค จานวน 200 ครั้งตามมา หรือ ปีนี้มีพายุไต้ฝุ่นเข้า 30 ลูก เป็นต้น โดยขนาดและความรุนแรงจากภัยพิบัติจะเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ในการพิจารณาผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติไม่สามารถที่จะวัดผลจากการประเมินด้วยความเปราะบางอย่างเดียวได้ ต้องมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติร่วมด้วยเพราะความรุนแรงและความถี่ของโอกาสที่จะเกิดจะเป็นผลรวมของความเสี่ยงในการ เกิดภัยพิบัติ ให้ความหมายของความเสี่ยงคือ เหตุการณ์ที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเกิดขึ้นได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม อาจมีแนวทางที่กาหนดความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ขึ้นล่วงหน้าได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งความเสี่ยงเป็นเรื่อง ของการพิจารณาเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (ดร. อัมมารและคณะ,2007) ต่างจากอีกความหมายของความเสี่ยง หมายถึง โอกาส หรือความน่าจะเป็นที่ระบบจะได้รับผลกระทบ อันเป็นผลรวมของความถี่หรือความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น ร่วมกับผลที่เกิดตามมา ทั้งนี้ความเสี่ยงที่มีการประเมินไว้ในเหตุการณ์หนึ่งอาจไม่ได้มีผลกระทบกับทุกคน อาจเป็นสิ่ง ที่มีผลต่อบางคนเท่านั้น(ดร.วิเชียร เกิดสุข,2012) นอกจากนี้ความเสี่ยงยังไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เกิดผลกระทบทางด้านลบ เท่านั้น ยังอาจหมายถึงผลด้านบวกได้เช่นการถูกล็อตเตอรี่ก็ได้(ดร. อัมมารและคณะ,2007)
  • 6. ทั้งนี้ระดับของความเปราะบางสามารถอธิบายความสัมพันธ์โดยใช้ความสัมพันธ์ของ 3 ปัจจัย คือ ความสัมพันธ์ แบบที่ 1 คือความเปราะบาง เป็นอัตราส่วนของ ความเสี่ยงต่อความสามารถในการรับมือภัยพิบัติ ความสัมพันธ์แบบที่ 2 คือ ความเปราะบางเป็นอัตราส่วนระหว่าง ผลคูณของการเปิดเผยและความไวต่อการรับรู้ ต่อ ความสามารถในการรับมือภัย พิบัติ(United Nation ISDR ,2004 ) ความสัมพันธ์แบบที่ 1 Vulnerability = ความสัมพันธ์แบบที่ 2 Vulnerability = ดังนั้นผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติจึงเป็นการพิจารณาปัจจัยประกอบกันระหว่างความเปราะบางและความเสี่ยง จากภัยพิบัติ เช่น การศึกษานี้ จะเป็นการประเมินความเปราะบางต่อชุมชนในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านเพและชุมชนปากน้าประ แสร์ ที่จะได้รับกรณีเกิดภัยพิบัติสึนามิ เป็นต้น เพื่อการวางมาตรการในการบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิที่จะเกิดขึ้น ทั้งในพื้นที่เดิมและพื้นที่อื่นในอนาคตต่อไป กรอบแนวคิดในกำรศึกษำ มีกรอบแนวคิดในการศึกษาดังต่อไปนี้ Risk Coping Capacity (Exposure x Sensitivity) Coping Capacity ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก่อนความเสี่ยง(คาดการณ์) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังความเสี่ยง(ผลจากภัยพิบัติ) การปรับปรุงแผนการ จัดการความเสี่ยง
  • 7. ที่มา ดัดแปลง จาก ดร.อัมมาร สยามวาลาและคณะ กรอบความคิดเรื่องความเปราะบาง จะถือว่าผู้เดิมช่วยเหลือตนเองได้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติแล้วไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ เป็นผู้ที่มีความเปราะบาง แต่ถ้าเดิมเป็นผู้ที่ช่วยเหลือตนเองได้เมื่อได้รับภัยพิบัติแล้วยังช่วยเหลือตนเองได้ ถือว่าเป็นผู้มีความมั่นคง ส่วนผู้ที่เดิมไม่สามารถช่วยตัวเองได้เมื่อเจอภัยพิบัติแล้วไม่สามารถช่วยตนเองได้มากกว่าเดิม คือผู้ อ่อนแอทางสังคม ดัดแปลงจาก ไมตรี ,2548 และ อัมมาร ,2549 กรอบความคิดในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ ความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติต้องประเมินในระดับ บุคคล ชุมชน และสังคม โดยความเสี่ยงของภัยพิบัติประเมินได้ 2 ประเภท คือความเสี่ยงที่สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า และความเสี่ยงที่ไม่สามารถประเมินได้ล่วงหน้า และการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติสึนามิ พิจารณาดังนี้ ความเสี่ยงที่สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า ความเสี่ยง ลักษณะของความเปราะบาง บุคคล ความขาดแคลนปัจจัย 4 ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และอาหาร ชุมชน การขาดความช่วยเหลือ สังคม การขาดกาลังใจ ผู้มีความมั่นคง ผู้ที่มีความเปราะบาง ผู้อ่อนแอทางสังคม
  • 8. ความเสี่ยงที่ไม่สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า ความเสี่ยง ลักษณะของความเปราะบาง บุคคล การได้รับบาดเจ็บจากการถูกคลื่นซัด การพิการเนื่องจากการสูญเสียอวัยวะ การเสียชีวิตจากการจมน้า การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การเกิดความหวาดกลัวแบบฝังใจ การสูญเสียทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ การเป็นหนี้สินจากการต้องกู้ยืมเงินมาผ่อนใช้หนี้ที่เกิดจากการทาลายของสึนามิ ชุมชน การสูญเสียระบบนิเวศน์เดิม การสูญเสียเอกลักษณ์ของชุมชนเช่น ชาวมอร์แกนต้องย้ายหมู่บ้านไปอยู่ในที่ๆสูงขึ้น จากระดับน้าทะเล การสูญเสียระบบสาธารณูปโภคหลักของชุมชนเช่น ท่าเรือ ถนน สะพานเป็นต้น การสูญเสียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน สังคม การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ที่ต้องกู้ยืมเงินมาฟื้นฟูความเสียหาย การสูญเสียทางสังคม ที่หลายครอบครัวต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไป การสูญเสีย สภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพลดลง การสูญเสียภาพลักษณ์ในเรื่องความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ เมื่อมีการประเมินความเสี่ยง แล้วจึงนามาประเมินผลเพื่อทาเป็นมาตรการในการป้องกันบรรเทาผลที่เกิดจากภัย พิบัติสึนามิ ความเสี่ยงที่ป้องกันได้ ความเสี่ยง มาตรการป้องกันความเสี่ยง มาตรการบรรเทาความเสี่ยง บุคคล จัดตั้งองค์กรบริหารจัดการปัจจัย 4 เพื่อเหตุฉุกเฉิน จัดเตรียมปัจจัย 4 สารองไว้ยามฉุกเฉิน ชุมชน จัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานบรรเทาสาธารณะภัย การให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สังคม จัดตั้งหน่วยงานเพื่อควบคุมและดูแลการสื่อสารอย่างอย่าง สร้างสรรค์ยามเกิดภัยพิบัติ การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกาลังใจ อย่างทันที
  • 9. ความเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ ความเสี่ยง มาตรการป้องกันความเสี่ยง มาตรการบรรเทาความเสี่ยง บุคคล การทาประกันชีวิต การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากสึนามิ การสอนทักษะในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดสึนามิ การสนับสนุนทางการเงิน ชุมชน การสร้างแนวป้องกันคลื่นสึนามิ การส่งเสริมความรู้ในการประยุกต์ธรรมชาติเพื่อป้องกันสึนามิ การเสริมความแข็งแรงของสิ่งปลูกสร้างเดิม การสร้างรายได้เพิ่มให้กับคนในพื้นที่ สังคม การสนับสนุนการระวังภัยจากภาครัฐ การสนับสนุนการสร้างเครื่องมือป้องกันภัยในระดับมหภาค การให้เงินเยียวยาผู้ประสบภัย การสนับสนุนทุนในการฟื้นฟูพื้นที่จากภัย พิบัติ เมื่อได้มีการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติและสร้างมาตรการในการป้องกันและบรรเทาผลที่เกิดจากภัยพิบัติสึนามิ แล้วจึงนามาทาเป็นแผนการจัดการภัยพิบัติสึนามิ โดยแผนจะต้องครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว และต้องคานึงถึง ใน ระดับ บุคคล ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดความมั่นคง ในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน วิธีกำรศึกษำ การพิจารณาปัจจัยที่นามาใช้ในการศึกษานี้ จะมีหัวข้อหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ การรับรู้ ความไวต่อการรับรู้ ความสามารถในการจัดการความเสี่ยง ระดับความเปราะบางที่ทาให้เกิดการวางแผนรับมือภัยพิบัติ และมาตรการเพื่อ ป้องกันบรรเทาภัยพิบัติ โดยจะเป็นการศึกษาประชากร ที่คาดว่าจะได้รับความเสี่ยงจากภัยพิบัติสึนามิ ได้แก่ชุมชนบ้านเพ ชุมชนปากน้าประแสร์จังหวัดระยอง เพราะเป็นชุมชนที่มีอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการประมงเป็นหลักเช่นเดียวกับ บ้าน น้าเค็ม และ บ้านเขาหลัก ที่เกิดภัยพิบัติสึนามิในภาคใต้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจะต้องเป็นกลุ่มคนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียถ้า หากเกิดภัยพิบัติสึนามิ อันได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเรือประมง(ชุมชนปากน้าประแสร์) กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจโฮมสเตย์หรือ โรงแรม(ชุมชนปากน้าประแสร์และชุมชนบ้านเพ) กลุ่มของผู้ที่มีที่อยู่อาศัยใกล้ทะเลไม่เกิน 200 เมตร กลุ่มของเจ้าหน้าที่ บรรเทาสาธารณภัย กลุ่มของปราชญ์ท้องถิ่น และกลุ่มของผู้มีความเปราะบางโดยธรรมชาติ เช่น สตรีมีครรภ์ และคนชราอายุ เกิน 75 ปี เป็นต้น โดยจะมีการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ของการศึกษา คือ การค้นหาปัจจัยสาคัญและการประเมินระดับของ
  • 10. ความเปราะบาง การคิดมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ การปรับปรุงมาตรการเพื่อป้องกันและ บรรเทาผลที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ และการทบทวน ปัจจัยสาคัญและมาตรการเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติ โดยขั้นตอนแรกจะเป็นประชุมกลุ่มย่อยของกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อสนทนาจากประสบการณ์ในอดีตเพื่อ ค้นหาปัจจัยสาคัญและการประเมินระดับของความเปราะบางของชุมชนแต่ละชุมชน แห่งละ 1 ครั้ง ขั้นตอนที่ 2 จะเป็นประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดในการวางมาตรการและแผนการดาเนินการเพื่อป้องกันบรรเทา ภัยพิบัติสึนามิ แห่งละ 1 ครั้ง ขั้นตอนที่ 3 การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อปรับปรุงการวางมาตรการและแผนการดาเนินการเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติสึนา มิภายหลังจากการเข้าเยี่ยมชมพื้นที่จริงที่เกิดภัยพิบัติสึนามิแล้ว แห่งละ 1 ครั้ง ขั้นตอนที่ 4 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อทบทวนตรวจสอบ ปัจจัยสาคัญและการประเมินระดับของความเปราะบางของ ชุมชนแต่ละชุมชน รวมถึงการประเมินมาตรการและแผนการดาเนินงานเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติสึนามิ แห่งละ 1 ครั้ง ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ 1. สามารถนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความจาเป็นในการรับมือภัยพิบัติสึนามิใน ระดับประเทศ 2. สามารถประเมินความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติของชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มีความเสี่ยง 3. สามารถนาไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการของบประมาณเพื่อป้องกันความเสี่ยงภัยพิบัติสึนามิของชุมชนที่มี ความเสี่ยง
  • 11. ระยะเวลำในกำรวิจัย 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 งบประมำณ 1.ค่าอานวยความสะดวกในการเข้าศึกษาวิจัย 50,000 บาท 2. ค่าจัดทาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับภัยพิบัติสึนามิ 50,000 บาท 3. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมกลุ่มย่อย 2 ชุมชน ครั้งละ 10,000 บาทชุมชนละ 4 ครั้ง เป็นเงิน รวม 80,000 บาท ครั้งแรก การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อสนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีต เพื่อหาข้อสรุปเบื้องต้นของปัจจัยสาคัญที่มี ต่อการรับรู้ความเสี่ยง ปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อระดับความไวต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิ และการประเมินระดับ ความเปราะบางที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติสึนามิ ครั้งที่ 2 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดในการวางมาตรการและแผนการดาเนินการเพื่อป้องกันบรรเทาภัย พิบัติสึนามิ ครั้งที่ 3 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมความคิดในการวางมาตรการและแผนการดาเนินงานเพื่อป้องกันบรรเทาภัย พิบัติสึนามิภายหลังจากการเข้าเยี่ยมชมพื้นที่จริงที่เกิดภัยพิบัติสึนามิแล้ว Jul Aug Sep Oct Nov Dec Jan Feb Mar Apr May Jun 1. ติดต่อประสานงานในการเข ้าพื้นที่ 2 การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 3.การประเมินปัจจัยสาคัญโดยผู ้เชี่ยวชาญ 4. ให ้ความรู ้เกี่ยวกับภัยพิบัติสึนามิ 5. การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 6. การทัศนศึกษาพื้นที่จริง 7. การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 3 8. ให ้ความรู ้เกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติสึนามิ 9. การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 4 10. การประเมินปัจจัยสาคัญโดยผู ้เชี่ยวชาญครั้งที่ 2 11. การจัดทาเล่มรายงาน 12. การตรวจสอบเนื้อหาและการแก ้ไขเล่มรายงาน 13. จัดส่งเล่มรายงาน 2556 2557 หัวข ้อ
  • 12. ครั้งที่ 4 การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อทบทวนตรวจสอบ ปัจจัยสาคัญที่มีต่อการรับรู้ความเสี่ยง ปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อ ระดับความไวต่อการรับรู้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสึนามิ และการประเมินระดับความเปราะบางที่มีผลต่อการตัดสินใจปรับตัว เพื่อรับมือภัยพิบัติสึนามิ รวมถึงการประเมินมาตรการและแผนการดาเนินงานเพื่อป้องกันบรรเทาภัยพิบัติสึนามิ 4. ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในการประเมินปัจจัยที่ได้จากการสนทนากลุ่มย่อย 40,000 บาท 5. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทัศนศึกษา บริเวณ บ้านเขาหลัก และบ้านน้าเค็ม จ.พังงา 50,000 บาท 6. ค่าใช้จ่ายในการจ้างเจ้าหน้าที่ช่วยทาการวิจัย 30,000 บาท รวมค่าใช้จ่าย 300,000 บาท
  • 13. References Akin, M., Topal, T., & Kramer, S. (2013). A newly developed seismic microzonation model of Erbaa (Tokat, Turkey) located on seismically active eastern segment of the North Anatolian Fault Zone (NAFZ). Nat Hazards, 65, 1411–1442. DOI 10.1007/s11069-012-0420-1 Alca´ntara-Ayala, I. (2002). Geomorphology, natural hazards, vulnerability and prevention of natural disasters in developing countries. Geomorphology, 47, 107–124 Alshehri, S.,Rezgui, Y., & Li, H. (2013). Public perception of the risk of disasters in a developing economy: the case of Saudi Arabia. Nat Hazards, 65, 1813–1830. DOI 10.1007/s11069-012-0445-5 Chini, M., Piscini, A., Cinti, F., Amici, S., Nappi, R., & Martini, P. (2013). The 2011 Tohoku (Japan) Tsunami Inundation and Liquefaction Investigated Through Optical, Thermal and SAR Data. IEEE Geoscience and remote sensing letter, 10(2), 347-351. Cui, P. & Zhu, X.(2011). Surge Generation in Reservoirs by Landslides Triggered by the Wenchuan Earthquake. Earthquake and Tsunami, 5(5), 461-474. Chen, N., Hu, G., Deng, M., Zhou, W., Yang, C., Han, D. & Deng, J.(2011). Impact of Earthquake on Debris Flows – A Case Study on the Wenchuan Eartquake. Earthquake and Tsunami, 5(5), 493-508. Erdik, M., Sesetyan, K., Demircioglu, M. B., Hancilar, U., & Zulfikaa, C.(2011). Rapid earthquake loss assessment after damaging earthquakes. Soil Dynamics and Earthquake Engineering, 31, 247- 266. United Nations ISDR (2004). Living with Risk A global review of disaster reduction initiatives.
  • 14. Ho, B. & Kuang, S.(2012). Damage Evolution Spectra for Seismic Analysis of High-rise Building. Earthquake and Tsunami, 6(3) 19 pages, DOI: 10.1142/S1793431112500212 Kang, M., Banerjee, S., Lee, F., & Xie, H.(2012). Dynamic Soil-pile-raft Interaction in Normally Consolidated Soft Clay During Earthquakes. Earthquake and Tsunami, 6(3), 12 pages DOI: 10.1142/S1793431112500315. Lin, P., Wu, Y., Bai, J. & Lin, Q.(2011). A Numerical Study of Dam-Break Flow and Sediment Transport from a Quake Lake. Earthquake and Tsunami, 5(5), 401-428. Lukkunaprasit, P., Ruangrassamee, A., Stitmannaithum, B., Chintanapakdee, C. & Thanasisathit, N.(2010). Calibration of Tsunami Loading on a Damaged Building. Earthquake and Tsunami, 4(2), 105-114. DOI: 10.1142/S1793431110000753 Maung, T., Than, M., Soe, T. T. & Tint, S.(2009). Earthquake and Tsunami Hazard in Myanmar. Earthquake and Tsunami, 3(2), 43-57. Ma, X. & Ohno, R.(2011). Examination of Vulnerability of Various Residential Areas in China for Earthquake Disaster Mitigation. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 35, 369 – 377. Mwafy, A.(2012). Effect of Bidirectional Excitations on Seismic Response of RC Buildings. Earthquake and Tsunami, 6(3) 20 pages, DOI: 10.1142/S1793431112500194 Nandasena, N., Tanaka, N. & Tanimoto, K.(2008). Tsunami Current Inundation of Ground with Coastal Vegetation Effects; An Initial Step Towards a Natural Solution for Tsunami Amelioration. Earthquake and Tsunami, 2(2), 157-171. Natawidjaja, D. & Triyoso, W.(2007). The Sumatran Fault Zone from Source to Hazard. Earthquake and Tsunami, 1(1), 21-47. Nimbalkar, S. & Shoudhury, D.(2008). Effect of body Waves and Soil Amplification on Seismic Earth Pressure. Earthquake and Tsunami, 6(3), 33-52.
  • 15. Palasri, C. & Ruangrassamee, A.,(2010). Probabilistic Seismic Map of Thailand. Earthquake and Tsunami, 4(4), 369-386. Suppasri, A., Imamura, F. & Koshimura, S.(2011). Tsunami Hazard and Casualty Estimation in a Coastal Area that Neighbors The Indian Ocean and South China Sea. Earthquake and Tsunami, 6(2), (25 pages) DOI: 10.1142/S1793431112500108 Triatmamadja, R.and Nurhasanah, A.(2012). Tsunami Force on Buildings with Openings and Protection. Earthquake and Tsunami, 6(4), 17 p. DOI: 10.1142/S1793431112500248 Wang, X., & Liu, P.,(2007). Numerical Simulations of the 2004 Indian Ocean Tsunami-Coastal Effects. Earthquake and Tsunami, 1(3), 273-297. Wijetunge, J., Wang, X. & Liu, P.(2008). Indian Ocean Tsunami on 26 December 2004 : Numerical Modeling of Inundation in Three Cities on the South Coast of Sri Lanka. Earthquake and Tsunami, 2(2), 133-155 Zebardast, E. (2013). Constructing a social vulnerability index to earthquake hazards using a hybrid factor analysis and analytic network Process (F’ ANP) model. Nat Hazards, 65, 1331-1359. กรมทรัพยากรธรณี. ม.ป.ป. ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว. ค้นวันที่ 5 มิถุนายน 2556 จาก http://www.dmr.go.th/main.php?filename=severity วิเชียร เกิดสุข(2555). ความเปราะบางและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอีสาน. งาน สัมมนา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม: การปรับตัวของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภุมิอากาศโลก. อัมมาร สยามวาลา และคณะ (2549).การประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคม: การวัดภาวะความ ยากไร้และความเปราะบางสังคม สู่แนวทางนาไปปฏิบัติได้ในประเทศไทย, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.