SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน จัดทำโดย 1.ด.ช. ทักษิณ อนุจร 	       เลขที่ 7 2.ด.ช. อภิสิทธิ์ จินะ  	       เลขที่ 20 3.ด.ญ. อมรรัตน์ ยอดบุญเรือง เลขที่ 31 4.ด.ญ. อริสา หลวงบุญมี       เลขที่ 33
เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  ที่อำนวยความสะดวกในปัจจุบันอย่างเช่น โทรทัศน์  คอมพิวเตอร์โทรศัพท์  ตู้เย็น ฯลฯ  เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงนี้  ต่างก็มีอุปกรณ์เป็นอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น..?? วงจรไฟฟ้าในปัจจุบัน หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลไปตามส่วนต่าง ๆ ของวงจรที่เป็นตัวนำ.......... การต่อวงจรไฟฟ้าในปัจจุบัน หมายถึง การต่อความต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ 1.1 การต่อความต้านทานแบบอันดับ หรือแบบอนุกรม..................... เป็นการต่อความต้านทานเรียงกันไปตามลำดับ โดยที่ปลายสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่หนึ่งต่อกับต้นสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่สอง และอีกปลายหนึ่งของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตัวที่สองต่อกับต้นสายของ ความต้านทาน หรืออุปกรณ์ตัวที่สามเรียงต่อกันไปอย่างนี้จนครบวงจร
คุณสมบัติของวงจรแบบอันดับหรืออนุกรม 1. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน2. แรงดันกระแสไฟฟ้าของวงจรทั้งหมดเท่ากัน แรงดันกระแสไฟฟ้าตกคร่อมของแต่ละความต้านทานรวมกัน
1.2 การต่อความต้านทานแบบขนาน......... การต่อความต้านทานแบบขนาน เป็นการต่อสายของความต้านทานแต่ละตัวไว้ที่เดียวกัน และปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อร่วมกันไว้ที่เดียวกัน คุณสมบัติของการต่อวงจรแบบขนาน1. ความต้านทานแต่ละตัวได้รับแรงดันกระแสไฟฟ้าเท่ากัน2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้านทานนั้น ๆ คือ ถ้ามีความต้านทานมาก....กระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อย ถ้ามีความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มาก3. ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่แยกไหลผ่านแต่ละความต้าน เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าของวงจร 4. ความต่างศักย์ไฟฟ้าบนความต้านทานแต่ละเส้น จะมีค่าเท่ากัน และเท่ากับความต่างศักย์ไฟฟ้ารวมทั้งวงจร
1.3 การต่อความต้านทานแบบผสม  .........เป็นการต่อความต้านทานที่มีทั้ง 2 แบบในวงจรเดียวกัน วงจรไฟฟ้าภายในบ้านนิยมแบบขนาน เนื่องจากถ้ามีอุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวใดตัวหนึ่งขาด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหลือก็จะใช้งานได้
1.4 แผนผังการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน ......การต่อไฟฟ้าในบ้านเริ่มต้นจากสายไฟฟ้าใหญ่ลงมาที่มาตรไฟฟ้าจากมาตรไฟฟ้าต่อเข้าคัตเอาท์และฟิวส์ สายที่ต่อจากฟิวส์เป็นสายประธาน ซึ่งสามารถต่อแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้
อุปกรณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของไฟฟ้า เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell)......เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กระแสไฟฟ้าตรง ผู้ที่คิดค้นได้คนแรกคือ เคานต์อาเลสซันโดรยูเซปเปอันโตนีโออานัสตาซีโอวอลตา นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี โดยใช้แผ่นสังกะสี และแผ่นทองแดงจุ่มลงในสารละลายของกรดกำมะถันอย่างเจือจาง มีแผ่นทองแดงเป็นขั้วบวกแผ่นสังกะสีเป็นขั้วลบ เรียกว่า เซลล์วอลเทอิก ...เมื่อต่อเซลล์กับวงจรภายนอก  ก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากแผ่นทองแดงไปยังแผ่นสังกะสี....... ขณะที่เซลล์วอลเทอิกจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟแผ่นสังกะสี  จะค่อย ๆ กร่อนไปทีละน้อยซึ่งจะเป็นผลทำให้กำลังในการจ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงด้วย และเมื่อใช้ไปจนกระทั่งแผ่นสังกะสีกร่อนมากก็ต้องเปลี่ยนสังกะสีใหม่ จึงจะทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ต่อไปเท่าเดิม .ข้อเสียของเซลล์แบบนี้คือ ผู้ใช้จะต้องคอยเปลี่ยนแผ่นสังกะสีทุกครั้งที่เซลล์จ่ายกระแสไฟฟ้าลดลงแต่อย่างไรก็ตามเซลล์วอลเทอิกนี้ ..ถือว่าเป็นต้นแบบของการประดิษฐ์เซลล์แห้ง (Dry Cell) หรือถ่านไฟฉายในปัจจุบัน ทั้งเซลล์เปียกและเซลล์แห้งนี้เรียกว่า เซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell) ข้อดีของเซลล์ปฐมภูมินี้ คือเมื่อสร้างเสร็จสามารถนำไปใช้ได้ทันที
เซลล์ทุติยภูมิ (Secondary Cell)       เป็นเซลล์ไฟฟ้าสร้างขึ้นแล้วต้องนำไปประจุไฟเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ และเมื่อใช้ไฟหมดแล้วก็สามารถนำไปประจุไฟใช้ได้อีก  โดยไม่ต้องเปลี่ยนส่วนประกอบภายใน และเพื่อให้มีกระแสไฟฟ้ามากจะต้องใช้เซลล ์หลายแผ่นต่อกันแบบขนานแต่ถ้าต้องการให้แรงดันกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นก็ต้องใช้เซลล์หลาย ๆแผ่น.แบบอนุกรม เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สตอเรจเซลล์ หรือ สตอเรจแบตเตอรี่(Storage Battery)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง  อาศัยหลักการที่ตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก  จะเกิดแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้าขึ้นในลวดตัวนำนั้น โครงสร้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง  มีดังนี้ก. ส่วนที่อยู่กับที่ ประกอบด้วย.... โครงและขั้วแม่เหล็ก ส่วนนี้สร้างสนามแม่เหล็กหรือ เส้นแรงแม่เหล็กและส่วนที่รับกระแสไฟออก ข. ส่วนที่เคลื่อนที่ หรือส่วนที่หมุนเรียกว่า อาร์มาเจอร์ (Armature) .ประกอบด้วย 1. แกนเพลา 2. แกนเหล็ก 3. คอมมิวเตเตอร์
 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีโครงสร้างเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แต่ที่อาร์มาเจอร์ มีวงแหวนแทนคอมมิวเตเตอร์ (Commutature) หลักการทำงานของ การเกิดมีขั้นตอนโครงสร้าง 9 ขั้นตอน
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแสง เกิดจากการที่แสงผ่านกระแสไฟฟ้า จากพลังงานสารกึ่งตัวนำ เพราะว่าเมื่อสารกึ่งตัวนำได้รับแสง อิเล็กตรอนภายในสารหลุดออกมา และเคลื่อนที่ได้ แหล่งกำเนิดไฟฟ้านี้ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเรียกว่า โฟโตเซลล์ (Photo Cell) ใช้ในเครื่องวัดแสงของกล้องถ่ายรูป การปิดเปิดประตูลิฟต์และระบบนิรภัย เป็นต้น
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานความร้อน กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากพลังงานความร้อนโดยการนำโลหะ 2 ชนิดมายึดติดกันแล้วให้ความร้อนจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในแท่งโลหะทั้งสอง เช่น ใช้ทองคำขาวกับคอนสแตนตันยึดปลายข้างหนึ่งให้ติดกัน ...และปลายอีกด้านหนึ่งของโลหะทั้งสองต่อเข้ากับเครื่องวัดไฟฟ้า กัลวานอร์มิเตอร์ เมื่อใช้ความร้อนเผาปลายของโลหะที่ยึดติดกันนั้น พลังงานความร้อนจะทำให้เกิดพลังงาน ไฟฟ้าขึ้น เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องวัดไฟฟ้า
งานนำเสนอ1

More Related Content

Similar to งานนำเสนอ1

ดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้า
ดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้าดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้า
ดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้าNang Ka Nangnarak
 
งานไฟฟ้า
งานไฟฟ้างานไฟฟ้า
งานไฟฟ้าNatdanai Kumpao
 
อุปกรณ์ไฟ[1]..
อุปกรณ์ไฟ[1]..อุปกรณ์ไฟ[1]..
อุปกรณ์ไฟ[1]..fghfhtruru
 
งานไฟฟ้า
งานไฟฟ้างานไฟฟ้า
งานไฟฟ้าNatdanai Kumpao
 

Similar to งานนำเสนอ1 (8)

งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4
 
งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3
 
งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3
 
งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3
 
ดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้า
ดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้าดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้า
ดงมะไฟพิทยาคม วงจรไฟฟ้า
 
งานไฟฟ้า
งานไฟฟ้างานไฟฟ้า
งานไฟฟ้า
 
อุปกรณ์ไฟ[1]..
อุปกรณ์ไฟ[1]..อุปกรณ์ไฟ[1]..
อุปกรณ์ไฟ[1]..
 
งานไฟฟ้า
งานไฟฟ้างานไฟฟ้า
งานไฟฟ้า
 

งานนำเสนอ1