SlideShare a Scribd company logo
1 of 58
Download to read offline
ชีวิตนักวิชาการในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเส็ตส์
ผศ. ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
1
กล่าวนำ
บทความในชุดชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์เขียนขึ้นเพื่อสะท้อนความคิด ประสบการณ์
ในฐานะนักวิชาการที่มาแลกเปลี่ยนทางวิชาการที่โครงการไทยศึกษา Thai Studies Program, Asia Center,
Harvard University ผู้เขียนได้ลาเพิ่มพูนความรู้ (Sabatical Leave) โดยการสนับสนุนของทุน Fulbright U.S.-
ASEAN Visiting Scholar Program (USAS) ระหว่างเดือนธันวาคม 2557- มีนาคม 2558 ให้ใช้เวลาทำวิจัย
และขบคิดบางส่วนของงานเขียนชิ้นนี้ ณ โครงการไทยศึกษา (Thai Studies Program) ศูนย์เอเชีย (Asia
Center) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยการรับรองของ ศ. ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Prof.
Michael Herzfeld) ผู้อำนวยการโครงการไทยศึกษา เป็นเวลาสี่เดือน
ผู้เขียนขอขอบคุณเจ้าหน้าที่และคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอขอบคุณ อธิการบดีและผู้
บริหาร โดยเฉพาะ ผศ. ดร. บุญชาล ทองประยูร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ตลอดจนคณาจารย์จาก
คณะรัฐศาสตร์ รศ. สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์ รศ. รุจิรา เตชางกูร รศ. อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี (คณบดี) ผศ. ดร. ทิพ
รัตน์ บุบผะศิริ อ. เสาวภา งามประมวญ และคงเป็นไปไม่ได้หากผู้เขียนไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วม
งาน โดยเฉพาะ ผศ. ดร. ปรัชญา ชุ่มนาเสียว ดร. นิพนธ์ โซะเฮง และ ดร. ผกาวดี สุพรรณจิตวนา ที่ช่วยดูแล
รายวิชาที่ผู้เขียนรับผิดชอบในระหว่างลา
ผู้เขียนขอขอบพระคุณ เลขานุการคณะ หัวหน้างานบุคคล ตลอดจนเจ้าหน้าที่คณะรัฐศาสตร์ทุกท่าน
ที่ได้สนับสนุนทุกครั้งที่ต้องการโดยไม่เหนื่อยหน่าย และให้ความรักตามฐานานุรูปในทุกโอกาส
ในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนขอขอบพระคุณ ศ. ดร. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
และ ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่ให้คำแนะนำ
ขอบคุณเพื่อนพี่น้องอีกหลายๆ คน ได้แก่ ผศ. ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ ดร. ณัฐพล ใจจริง รศ.ดร.
พวงทอง และ รศ. ดร. นิติ ภวัครพันธุ์ อาจารย์วิโรจน์ อาลี อาจารย์ตฤณ ไอยะรา อาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ
ในท้ายที่สุดขอขอบคุณ ผศ. ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ผศ. ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ผศ. ดร. อรัญญา
ศิริผล ผศ. ดร. อภิวัฒน์ รัตนะวราหะ ดร. ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น ผศ. ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร ที่ร่วมแลกเปลี่ยนพูด
คุยเรื่องต่างๆ ระหว่างพำนักในเมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเส็ทส์ และ ศ.ดร. ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ ผู้อำนวยการ
โครงการไทยศึกษา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คุณธาลิสา ลิกานนท์สกุล และคุณพรทิพย์ กาญจนนิยต แห่งมูลนิธิ
การศึกษาไทยอเมริกัน (ฟุลไบรท์)
บทความชุดนี้ปรากฏในบล็อกของผู้เขียนที่เขียนลงในประชาไท โดยหวังว่าจะได้สะท้อนความรู้สึก
นึกคิดของนักวิชาการชาวไทยคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสไปทำงานวิจัยในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปจากบ้านเกิด
เมืองนอน และแม้ว่าจะผ่านการศึกษาในระบบสหรัฐอเมริกามา ก็ยังเห็นความแปลกใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประสบการณ์ตรงในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและได้กล่าวถึงการใช้ชีวิตประจำวันระหว่างที่พำนักอยู่ในแมสซาจู
เส็ตส์ หากมีข้อความประการใดที่ทำให้ไม่สบายใจ ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง แต่ยังเป็นความรับผิดชอบของผู้
เขียนทุกประการ
ด้วยมิตรภาพ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
กรุงเทพฯ สิงหาคม 2558
2
(1)
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้า
รับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่
บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้ง
หลักทำงานได้เป็นเรื่องเป็นราว
ในช่วงแรกผมได้ความช่วยเหลือจากอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ สละที่นอนแสนนุ่มให้นับสิบวัน แถม
ด้วยอาหารรสชาติอร่อยอีก อาจารย์พิชญ์นับว่าเป็นยอดฝีมือด้านการทำกับข้าวจริงๆ (แผล่บๆ)
บ้านผมอยู่ใกล้สถานี Davis Square มาก โชคดีที่ อาจารย์พิชญ์ และอาจารย์อรัญญา ศิริผล จาก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาอยู่ก่อนผม การหาบ้านเลยเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ถึงที่สุดเราอาจช่วยกันเขียนคู่มือการ
ใช้ชีวิตที่นี่สำหรับนักศึกษาและนักวิชาการรุ่นถัดไปได้แน่ๆ อาจารย์อภิวัฒน์ รัตนะวราหะจากคณะ
สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์ก็เป็นผู้รอบรู้ที่ช่วยให้ผมตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น แถมยังเป็นพหูสูตรด้าน
ความเป็นมาของเมืองและการผังเมือง ผมเลยได้ความรู้มากมาย ต้องขอบคุณเพื่อนอาจารย์ทั้งสาม ณ ที่นี้ ด้วย
ครับ
การหาบ้านพักระยะสั้นสำหรับคนที่มาทำวิจัยเพียงสี่เดือนไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนใหญ่เจ้าบ้านมักจะขอให้
เช่าทั้งปี หรืออย่างน้อยหกเดือน ราคาก็ไม่ถูกเลยครับ ส่วนใหญ่เกิน 1600 เหรียญทั้งนั้น ยิ่งใกล้ ยิ่งดี ยิ่งแพง
นิสัยอย่างหนึ่งของผมก็คือไม่อยากแชร์ผนังบ้านแบบร่วมกับใครอีกก็เลยยุ่งยากขึ้น โชคดีที่ Craiglist
ซึ่งเป็นเว็บไซต์ประกาศเรื่องสารพันรวมทั้งเรื่องบ้านเช่า หารูมเมท ขายของ หาของ ฯลฯ ช่วยทำให้ผมได้ห้อง
ใต้หลังคาห้องนี้ ทั้งชั้นอยู่คนเดียวจึงเงียบเหงาหน่อย 
ย่านที่ผมอยู่มีร้านอาหาร ร้านกาแฟและใกล้มหาวิทยาลัยทัฟส์ (Tufts University) จึงน่าอยู่มากครับ
ติดอย่างเดียวว่าบ้านเก่ามาก พื้นบ้านก็เอียงกะเท่เร่ จนต้องหามุมทำงาน ผมเลือกมุมส่วนรับแขกตั้งโต๊ะทำงาน
ทิ้งส่วนครัวและห้องน้ำไว้โล่งๆ กับโต๊ะวางหนังสือ ส่วนห้องนอนเป็นห้องเล็กๆ ด้านหลัง ซึ่งมีข้อดีเพราะขนาด
พอดีที่จะเปิดเครื่องทำความร้อนเครื่องเดียวทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น (ประหยัดเงินได้นิดหน่อย)
วันนี้มีเวลา ผมก็ได้ฤกษ์ทำงานในวันเหมายัน (เห-มา-ยัน หรือ Winter solstice) ที่ห้วงกลางวันจะสั้น
กว่าปกติในรอบปี ผมเข้าไปยืมหนังสือจากชั้นหนังสือของหอสมุด (Widener Library) หรือหอกลางที่ฮาร์วาร์ด
และหอสมุดลามองต์ (Lamont Library)
ห้องสมุดไวด์เนอร์ยังมีส่วนที่เป็นห้องหนังสือของนาย Widener ที่เสียชีวิตไปกับเรือไททานิค แต่รัก
ฮาร์วาร์ดมาก ดังนั้นครอบครัวของเขาจึงบริจาคเงินก้อนใหญ่เพื่อรำลึกถึงเขา
 บรรยากาศที่นี่ต่างไปจากบ้านเราแน่ๆ ห้องสมุดที่นี่ไม่อนุญาตให้คนนอกเข้าใช้ เพราะถ้าปล่อยให้เข้า
ก็อาจจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะจนอาจรบกวนผู้ใช้ห้องสมุดแน่ๆ จึงมีระบบ scan บัตรอย่างเข้มงวดที่ประตู
หอสมุด 
ทุกวัน ผมเห็นนักท่องเที่ยวมาชมมหาวิทยาลัยและพยายามขอเข้าชมห้องสมุดเป็นระยะๆ ซึ่งได้แค่
ถ่ายที่บันไดเท่านั้น
หากจะเข้าไปหยิบหนังสือจากชั้นวางหนังสือ (stacks) เองก็ต้อง scan บัตรอีกครั้งหนึ่งที่ทางเข้า
ที่นี่มีชั้นใต้ดินเก็บหนังสืออย่างเป็นระเบียบและมีทางใต้ดินไปยังห้องสมุด Pusey Library ที่เก็บ
หนังสืออีกสามชั้นอีกด้วย 
หนังสือที่ผมใช้อยู่ใต้ดิน ฝั่ง Pusey จึงต้องลงลิฟต์ เดินไปอุโมงค์ใต้ดินสั้นๆ จนถึงชั้นวางหนังสือ 
3
ในบรรดาชั้นวางหนังสือเหล่านั้น มีระบบไฟอัตโนมัติคอยเปิดเมื่อมีคนเดินผ่าน และปิดเมื่อไม่มีการ
เคลื่อนไหว
ในส่วนเก็บวารสารมีตู้แบบรางเลื่อนไฟฟ้า ที่ช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ได้มากทีเดียว
ปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปหยิบหนังสือที่ชั้นครับ เพราะสามารถเรียก (request) หนังสือให้ไปไว้ที่
ชั้นตามหอสมุดต่างๆที่เราต้องการเข้าไปรับหนังสือได้ทั่ว campus เพียงแต่ผมอยากลองดูว่าการหาหนังสือที่นี่
จะยุ่งยากไหม ถ้าเทียบกับที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฮาวายอิที่ผมเคยเรียนก็ต่างกันพอสมควร เพราะที่ฮาวายอิเป็น
ชั้นเปิด ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าไปถึงชั้นหนังสือได้เลย แต่ก็เปลืองพื้นที่จัดเก็บกว่า ระบบที่นี่ช่วยประหยัด
เวลาของนักวิจัยและนักศึกษา แต่ก็ต้องใช้ระบบการค้นหาออนไลน์เพื่อเรียกหนังสือแล้วไปรับหนังสือ
นอกจากนี้ยังมีบริการ scan หนังสือเป็นบางบทให้ด้วย (scan ทั้งเล่มไม่ได้เพราะเหตุผลเรื่องลิขสิทธิ์
ครับ) 
สำหรับเอกสารที่เป็นบทความก็สามารถ load ได้จากที่บ้านก็ได้ โดยใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตผ่าน
browser ที่มีระบบ log in โดยใช้ id ของที่นี่
อันที่จริงผมไปเดินร้านหนังสือมือสองของที่นี่ ชื่อร้าน Raven Books ไปสองครั้งก็ตัวเบาเลย มีหนังสือ
ดีๆ มากมาย ผมซื้อเพราะคิดว่าต้องเอากลับไปใช้ที่เมืองไทยสำหรับการเรียนการสอนและวิจัยแน่ๆ ไม่่นับว่าวัน
ก่อนไปซื้อหนังสือลดราคาจาก MIT อีก (คงต้องไปเสียสตางค์อีกแน่ๆ) วันนี้ก็ออกไปร้านของมือสองข้างบ้านได้
หนังสือมาอีกสี่เล่ม อยู่นานๆ ไปคงไม่ต้องเดาว่าเงินจะหมดไปกับอะไร
ตอนนี้มีหนังสือพร้อมทำงานแล้วครับ
ป.ล. ขอเล่าอีกทีนะครับว่า ผมขออนุญาตชี้แจงเล็กน้อยนะครับว่าผมมาทำวิจัยที่ Harvard University
เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน และกลับมาปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ผมเตรียมการไปนานแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2556
(2013) เป็นการเตรียมการวิจัยที่ผมสนใจมาตลอดในหลายปีมานี้ (เดี๋ยวจะอธิบายในโอกาสหน้าครับ) แต่ผมได้
สมัครทุนฟุลไบรท์ที่ให้โอกาสนักวิชาการระดับ mid carreer ไปวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและสหรัฐในระยะเวลาสั้นๆ
จึงเป็นทุนที่เรียกว่า US-ASEAN visiting Scholar ประจำปี 2014 ซึ่งผมได้รับการตอบรับหลังจากการ
รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
เนื่องจากผมสอนหนังสือเป็นเวลา 8 ปีแล้ว จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการหาความรู้เพิ่มเติมจึงขอใช้
สิทธิ sabbatical leave เป็นเวลา 12 เดือน แล้วจะกลับมาทำงานที่รามคำแหงต่อครับ ทั้งนี้ผมยังอยู่ในระยะการ
ชดใช้ทุนรัฐบาลตามเงื่อนไขที่จบปริญญาเอกมาจาก University of Hawaii นะครับ
การลาครั้งนี้ได้รับอนุมัติตามขั้นตอนจากทางราชการจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงและคณะรัฐศาสตร์ 
และผมได้รับความสนับสนุนจากผู้บริหารรามคำแหงเป็นอย่างดีครับ
จึงเท่ากับว่าผมเดินทางไปทำวิจัยที่สหรัฐอเมริกาสี่เดือนเศษ (รวมเวลาเดินทาง) แล้วจะกลับมาตาม
สัญญานะครับ
ในโอกาสนี้ขอขอบคุณมูลนิธิการศึกษาไทยอเมริกัน Fulbright Thailand Tusef มาด้วยนะครับ ที่ให้
โอกาสผมไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ขอขอบคุณ อ. Michael Herzfeld แห่งโครงการ Thai Studies Program,
Harvard University ที่ให้การรับรองผมในฐานะ Thai Visiting Scholar คนแรกของโปรแกรม
4
(2)
ผมมาอยู่ที่นี่ได้สองเดือนกว่าแล้ว ขณะที่เพื่อนๆ มาอยู่ได้ราวครึ่งปี นาฬิกาและตารางชีวิตเราจึงต่าง
กันบ้างด้วยความผูกพัน ภาระที่แต่ละคนพึงมี
ผมมาที่นี่เพื่อเขียนงานเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบคณะกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริง โดย
อิงจากประสบการณ์ในอาเซียน รวมเกาหลีใต้ด้วย เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องความจริงและความยุติธรรมใน
ระยะเปลี่ยนผ่านที่ผมได้เข้าไปเกี่ยวข้องนับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา
โดยเฉพาะหลังกรณี 10 เมษายน 2553 ทำให้ผมไม่อาจนิ่งเฉยและได้เข้าร่วมกับเพื่อนนักวิชาการ
กลุ่มสันติประชาธรรมประณามการใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะการกำลังทหารที่ใช้ป้องกันประเทศมาเป็นเครื่อง
มือคุมฝูงชน มีการใช้อาวุธสงครามกับประชาชนที่ชุมนุมทางการเมือง ซึ่งนับแต่นั้น กองทัพถูกแยกออกจาก
"ประชาชน" แล้วก็ว่าได้
หลังจากนั้น ผมถูกทาบทามและแต่งตั้งให้ไปเป็นอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง คณะที่ 4
ของ ศ.ดร. คณิต ณ นคร ซึ่งต้องศึกษาความจริงกรณี บ่อนไก่ สีลม ซอยรางน้ำและการเผากรุงเทพ 32 จุด มี
คนตายกว่า 53 ศพ ซึ่งในระหว่างการทำงานมีขีดจำกัดมากมาย ผมเองมีความเห็นแตกต่างในการทำงาน ผม
จึงพยายามรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยหวังว่าจะเป็นฐานข้อมูลเรื่องความจริงและ
ความยุติธรรมในอนาคต ในที่สุดก็ได้รวบรวมลูกศิษย์ (และเพื่อนๆ ของพวกเขา ซึ่งบัดนี้เติบโตในหน้าที่การงาน
หลายแห่งแล้ว) พวกเขาเรียกตัวเองว่ากลุ่มมรสุมชายขอบเพื่อจัดนิทรรศการและแถลงข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่
มูลนิธิ 14 ตุลาคม 2516 โดยได้รับการสนับสนุนการจัดนิทรรศการบางส่วนจาก ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ค่า
ใช้จ่ายส่วนหนึ่งมาจากเบี้ยประชุมครั้งละ 1,200 บาทที่ผมได้จากอนุกรรมการฯ นั้นเอง และที่เหลือเป็นเงินส่วน
ตัวของผมที่ได้จากงานวิจัยต่างๆ (เพราะฉะนั้น ไม่ต้องสงสัยว่าใครจ้างนะครับ) เอกสารเผยแพร่ชุดนั้นสามารถ
download ได้จากลิงค์นี้ครับ http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/wp-content/uploads/2011/05/
เอกสารฉบับสมบูรณ์-small-file-size.pdf หรือจาก http://fringer.org/wp-content/writings/13-20May-
Facts.pdf)
 
ในขณะนั้นที่เห็นคือความยุ่งยากในการจัดการความจริงเบื้องต้น เพราะต้องการหาคำตอบว่าอะไรคือ
ความจริงจากมุมต่างๆ เพราะความจริงไม่ได้เป็นอิสระจากตัวมันเอง หากแต่มีอุดมการณ์ทางการเมือง อคติ
ทางการเมือง ความรัก ความเกลียด ผสมปนเปกันอยู่
 
ในแง่นี้ผมจึงเห็นว่าควรจะต้องรวบรวมเอกสารเบื้องต้น เพื่อหาลำดับเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น ตั้งแต่
เช้าจรดเย็นของวันที่เกิดการปะทะกับ ใครบาดเจ็บ เสียชีวิต พฤติการณ์แห่งความบาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้น
เพราะเหตุใด และในการเสียชีวิตนั้นระดับความรุนแรงของบาดแผลเป็นอย่างไร
สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมสามารถเขียนข้อสังเกตเบื้องต้นที่ได้เผยแพร่ใน blog นี้เอง (ดูบทความย้อนหลัง
"ข้อสังเกตเรื่องกายภาพของความขัดแย้ง และการยกระดับความรุนแรงในเหตุการณ์พฤษภาคม 2553"
ได้ที่ http://blogazine.in.th/blogs/pandit-chanrochanakit/post/4728)
หลังจากนั้น ผมก็ได้เข้าร่วมกับ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี
เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) เพื่อจัดทำรายงานร่วมกับเพื่อนพี่น้องนักวิชาการจากต่างสถาบันจนเป็นรายงานฉบับที่
หนากว่า 500 หน้า พร้อม คลิป vdo และมีข้อมูลเผยแพร่ดังนี้ http://www.pic2010.org 
ความคับข้องใจของผมก็คือ รายงานสุดท้ายของ คอป. และ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ (กสม.) เนื่องเพราะรายงานทุกฉบับที่ว่ามานั้น ถูกมองและถูกใช้แตกต่างกัน ส่งผลสะเทือนต่อความรับ
5
รู้ของสาธารณชนต่อกรณีดังกล่าวไม่น้อย และขยายผลมาถึงการชุมนุมต่อต้านร่าง พรบ. นิรโทษกรรม และ
ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้ง และถูกมวลมหาประชาชน กปปส. ที่ยกระดับจนถึงขั้น
ต่อต้านการเลือกตั้ง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 การปะทะกันประปราย มีผู้บาดเจ็บ ล้มตายไม่น้อย แม้กระทั่ง
หลังรัฐประหาร จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเกิดการปรองดอง
งานวิจัยของผมเริ่มจากการตั้งคำถามในสิ่งเหล่านี้มานานหลายปี จนกระทั่งได้เขียนโครงการสมัครทุน
US-ASEAN Visiting Scholar 2014 ก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยผมได้รับการตอบรับจาก
โครงการไทยศึกษา Asia Center แห่ง Harvard University ให้มาทำวิจัยเป็นเวลา 4 เดือน แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ
แต่ผมถือว่านี่เป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดเรื่องคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความ
จริงในระดับสากล และมองย้อนกลับมาในอาเซียน เพื่อทบทวนบทเรียนประกอบกัน
ถึงตอนนี้ขอพักเรื่องงานวิจัยก่อนนะครับ
เมื่อมาถึงใหม่ๆ ผมต้องรีบหาบ้านพักโดยเร็ว ค่าเช่าบ้านที่นี่สูงมาก เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ในสหรัฐ
แต่ผมมองถึงขีดจำกัดเรื่องเวลาที่มีไม่มาก ต้องรีบตั้งหลัก ปรับตัว ทำงานให้เร็วที่สุด ด้วยความช่วยเหลือของ
เพื่อนจึงได้บ้านที่ดี เดินทางสะดวก ปลอดภัย เหมาะสมกับการพักผ่อนและทำงาน หลังจากนั้นก็ต้องรีบไป
ประชุมที่วอชิงตัน ดีซี และได้พบกับเจ้าหน้าที่ของ US Department of State ด้วย เพราะพวกเขาต้องการเชื่อม
โยงกับนักวิชาการจาก ASEAN ในโครงการนี้นี่เอง
เผื่อบางคนสงสัย ผมได้พบกับเจ้าหน้าที่ยุทธศาสตร์ด้านเอเชียแปซิฟิค คุณคริสตี้ เคนนี่ อดีตเอ
กอัครรราชทูตประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตไทยและในงานเลี้ยงรับรองได้พบกับคุณ Daniel Russel ที่ได้
address งานวิจัยผมด้วยเล็กน้อยว่านักวิชาการ US ASEAN รุ่นสองนี่มีความหลากหลายมากตั้งแต่
transitional justice, wild life traficking, ELS, maritime law เป็นต้น แถมยังได้ไปงานเลี้ยงถวายพระพร เนื่อง
ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่สถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี จัดขึ้นด้วย การเดินทางครั้งนี้จึงไม่ได้หลบๆ
ซ่อนๆ แต่ประการใด
ในระหว่างนั้นเป็นช่วงเทศกาลตั้งแต่วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving day) วันคริสต์มาสที่หยุดยาว
เลยมาถึงหลังปีใหม่ มหาวิทยาลัยถึงได้เริ่มเปิดเทอมอีกครั้งหนึ่ง
ยังไม่ทันไรก็เข้าสู่ช่วงพายุหิมะ Juno ที่พัดเอาความหนาวเย็นในระดับ -18 องศาเซลเซียสมาเยือน
และยังแถมพายุหิมะขนาดย่อมที่ความสูงเกือบสองฟุตมาให้ผมชมระหว่างกำลังเขียนบทความนี้
ความหนาวเย็นยังไม่เท่าไหร่ แต่ปุยหิมะที่งดงาม ในยามที่มันเปียกชื้นและเริ่มละลาย จากหิมะ ตกมา
เป็นเกล็ดน้ำแข็งช่างทรมานใจสำหรับคนเมืองร้อนอย่างผม แม้สมัยเรียนจะเรียนที่สหรัฐฯ แต่ก็เป็นเมืองชาย
ขอบเขตร้อนอย่าง Honolulu เป็นชาวเกาะลั้ลลาสบายใจไม่มีอากาศเหน็บหนาวแบบนี้ ไม่นับเรื่องผดผื่นที่เกิด
อาการแพ้อากาศและต้องชโลมตัวด้วยโลชั่นรักษาอาการ
ผลของพายุหิมะ ทำให้ไปไหนไม่ได้หลายวัน ดีที่มีการแจ้งเตือนภัย และต้องย้ำด้วยว่าระบบการเตือน
ภัยที่นี่ดีมาก การพยากรณ์อากาศเรียกได้ว่าแม่นยำมาก ผลของการอุดอู้ในบ้านและต้องเปิดเครื่องทำความอุ่น
ต่อเนื่องทำให้ค่าไฟฟ้าของผมทะลุไปที่สองร้อยกว่าเหรียญ!
ในอีกด้านหนึ่ง การใช้ชีวิตที่นี่ต้องวางแผน เตรียมตัวล่วงหน้าพอสมควร ความวุ่นวายในการเดิน
ทางในพายุก็เป็นเรื่องใหญ่ เสื้อผ้าก็เรื่องใหญ่ อาหารการกินก็ต้องเตรียม
ชีวิตที่นี่ไม่ง่ายอย่างที่คิด โชคดีที่ผมชอบทำกับข้าวกินเอง รสชาติก็พอใช้ได้ และเพื่อนๆ เองก็ชอบทำ
โดยเฉพาะอาจารย์พิชญ์ ผมก็เลยสบายท้องไปหลายมื้อเลย
6
ผมมีเวลาเหลือไม่มาก จึงพยายามตุนหนังสือที่ต้องใช้เอาไว้ที่บ้าน แต่ก็ต้องไปทำงานที่ห้องสมุดบ้าง
เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ในวันที่อากาศดีจึงเหมาะกับการไปทำงานนอกบ้าน และถือโอกาสเดินชมเมืองบ้างตาม
ประสา
แต่งานที่คิดไว้ ก็เพิ่งจะเริ่มต้น
ไม่ทันไรก็จะต้องกลับ อนิจจา!
(3)
เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุ
หิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน
ครั้งแรกพายุหิมะยูโน (Juno) มาเมื่อเมื่อ 26-28 มกราคม แต่ส่งผลกระทบคือกองหิมะท่วมรถราที่จอด
ข้างถนนและท้องถนนของเมือง การจราจรเป็นอัมพาต แม้รถไฟใต้ดินก็ยังได้รับผลกระทบ
เมื่อวันอาทิตย์ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็มีพายุหิมะเข้ามาอีกลูกหนึ่ง คราวนี้หิมะตกหนากว่าสองฟุต ที่
ร้ายกว่านั่น ผมต้องลงมาโกยหิมะเองเป็นครั้งแรก เพราะเจ้าของบ้านพาลูกเมียและหมาหนีหนาวไป เขาเลย
ฝากบ้านไว้ และผมเองไม่รังเกียจอะไรที่จะลองโกยหิมะดู
การผ่านมาของพายุหิมะทำให้ต้องหยุดเรียนและกิจกรรมต่างๆ ปกติที่ผมไปทำงานช่วงสายถึงเย็นใน
ห้องสมุดก็ต้องยกเลิกโดยปริยาย ที่สำคัญค่าไฟฟ้านั้นคงไม่ลดลงไปมาก แม้จะพยายามประหยัดก็ตาม
พายุหิมะที่ตกมานั้นสวยงาม เป็นปุยนุ่น แต่เมื่อยามมันสะสมมากๆ เข้า มันคือภัยธรรมชาติ และ
จัดการยาก
ล่าสุดเมืองบอสตันประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับหิมะกองเบ้อเร่อ และนี่คือข้อเท็จจริงที่มาจาก
สื่อ
 
1. ปริมาณหิมะที่เมืองบอสตันขนย้ายขณะนี้เทียบเท่ากับปริมาตรของสนามฟุตบอล Gillette ถึง 72
สนาม
2. ปริมาณหิมะสะสมขณะนี้น่าจะราวๆ หกฟุต เกือบเท่าความสูงของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลคนดัง
ของที่นี่
3. เมืองบอสตันใช้เวลากว่า 112,881ชั่วโมงในการขนย้ายหิมะ นับถึงวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์
4. เมืองบอสตันใช้เครื่องกำจัดหิมะละลายได้ราว 350 ตันต่อชั่วโมง
5. เมืองใช้รถบรรทุกขนหิมะกว่า 6000 เที่ยว
6. ใช้เกลือ 57500 ตัน เพื่อป้องกันถนนลื่น หรือเทียบน้ำหนักเท่ากับช้าง 8200 ตัว
7. บริษัทซ่อมหลังคาถูกโทรตามกว่า 300 ครั้ง เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 
8. รถเก็บกวาดหิมะในเมืองวิ่งรวมกันกว่า 210,000 ไมล์ หรือ 52 เท่าของแม่น้ำอเมซอนที่ยาวราว
4,000 ไมล์
9. เด็กๆ หยุดเรียนมาแล้ว 9 วัน
(รายละเอียดเพิ่มเติม ดู http://abcnews.go.com/US/boston-snow-storm-facts-show-citys-dealing/
stor...)
 
วันก่อนคุยกับเพื่อนเก่าบางคนเธอคงอดเหน็บแนมผมไม่ได้ว่าเขาให้มาเรียนหนังสือทำวิจัย
7
แต่ผมยังจำคำอาจารย์ท่านหนึ่งที่บอกว่า บัณฑิต อย่ามาเรียนแต่หนังสือ เรียนเรื่องอื่นด้วยเรื่องหิมะ
จึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าติดอยู่หิมะแล้วไปไหนมาไหนไม่ได้ แต่มันหมายถึงเรียนรู้การใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่ง 
ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย?
(4)
ผมนั่งมองปุยหิมะที่พริ้วลงมาตามสายลมตาปริบๆ บางทีสายลมเกรี้ยวกราดพัดมันปลิวเป็นสาย
เลื้อยไหลตามถนนและหลืบบ้าน บางทีมันอ้อยอิ่ง ค่อยๆ พริ้วลงมา แต่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด 
นับเป็นครั้งที่สามแล้วที่มีพายุหิมะและสะเทือนบ้านเมืองถึงขั้นต้องหยุดเรียน หยุดการเดินรถไฟใต้ดิน
และห้ามจอดรถราบนถนน เมืองทั้งเมืองสงบเงียบ ประชาชนได้รับการเตือนให้อยู่ในอาคารที่พักอาศัย ขณะที่
เมืองกำลังสาละวนแก้ปัญหาการสะสมของหิมะที่พัดมาอย่างต่อเนื่อง ในวันเสาร์ 14 กุมภาพันธ์ตอนบ่ายสี่โมง
หิมะก็ล่องลอยลงมาอย่างหนาตา ถมชั้นของหิมะก่อนหน้านี้และหนาจนมองไม่เห็นอะไรนอกจากท้องฟ้าขาว
โพลน อุณหภูมิลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บางช่วงในกลางดึกลดลงเหลือ -19 ถึง  -20 องศาเซลเซียส ซึ่งผมไม่
อยากคิดเลยว่าหากออกไปข้างนอกจะเป็นอย่างไร เพราะมันมีสิ่งที่เรียกว่า wind chill effect เข้ามาประกอบ
ทำให้อุณหภูมิลดลงอีกราว 10 องศา จากที่-19 ก็เป็น รู้สึกจริงๆ ว่าอุณหภูมิ -29 เป็นต้น
หิมะสวยงามก็จริง โรแมนติคก็จริง แต่ไม่ใช่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ถ้ามันมากไป ถึงมากที่สุด
ที่มันกระทบมากคือการใช้ชีวิตปกติที่พวกเรา (นักวิชาการไทย) พยายามทำ เช่น อาจารย์พิชญ์กับอา
จารย์อรัญญาพยายามไปเรียนให้ได้มากที่สุดตามตาราง แต่ยามหิมะตกหนักแบบนี้ ทั้งนักศึกษาและผู้สอนต่างก็
ต้องวางตารางการสอนชดเชย
แม้ผมจะไม่มีตารางเรียน เพราะเป็นนักวิจัยอาคันตุกะที่มาระยะสั้น หากเข้าเรียนแล้วไม่อยู่ครบช่วง
นอกจากจะเสียมารยาทแล้ว ยังจะพาลทำงานที่ค้างคาอยู่ให้สำเร็จได้ยาก เพราะการเรียนที่นี่คือการเรียนจริงๆ
โดยเฉพาะการเรียนวิชาสัมมนาชั้นบัณฑิตศึกษา ที่อาจารย์ทั้งสองคนต่างตั้งใจเรียนจนผมอายทุกครั้ง
ส่วนผมเอง พยายามไปนั่งทำงานในหอสมุดที่ห้องอ่านหนังสือขนาดใหญ่ เพราะอากาศอบอุ่นและแสง
สว่างพอกับความต้องการ เก้าอี้และโต๊ะนั่งมีขนาดพอดีไม่ทรมาน แต่เหมือนฟ้าดินไม่ค่อยเป็นใจเท่าไหร่
การอุดอู้อยู่ในห้องทั้งวันนอกจากจะเปลืองไฟแล้ว ยังทำให้ผมต้องนั่งเก้าอี้ที่ทำให้ปวดหลังได้ ผมจึง
พยายามออกมาทำงานที่ห้องสมุดหรือห้องทำงานที่มหาวิทยาลัย นอกจากจะได้เจอเพื่อนแล้ว ยังสามารถเข้า
ร่วมกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย
หากเบื่อมากๆ ที่ฮาร์วาร์ดยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บของชั้นดีเอาไว้มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ที่
รวบรวมเอางานชิ้นเอกเอาไว้ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่มีฟอสซิลไดโนเสาร์ สัตว์ต่างๆ มากมาย
พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา  เป็นต้น แม้จะมีพิพิธภัณฑ์จำนวนหนึ่งที่ไม่เปิดให้เข้าชม เช่น พิพิธภัณฑ์ Zoology ที่
เข้าใจว่าสงวนให้นักศึกษา นักวิจัย แต่นี่สะท้อนหลักการสำคัญของการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกว่า
ทุกอย่างมีไว้เพื่อการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยเสรีภาพเป็นเนื้อนาบุญให้ความรู้นั้นงอกงาม
สิทธิพิเศษเล็กๆ น้อยที่ผมมีคือการเชิญแขกเข้าชมได้ฟรีหนึ่งคน ดังนั้น ผมมักจะหน้าบานเป็นพิเศษ
เมื่อมีเพื่อนมาเยี่ยม (ซึ่งไม่มาก) และได้พาพวกเขาไปดูสิ่งต่างๆ ที่ชุดสะสมของมหาวิทยาลัยที่เก็บรักษาและ
สะสมไว้อย่างดีเยี่ยม
ต้องอธิบายเพิ่มว่า ผมเองมาในช่วงท้ายของภาคการศึกษา Fall 2014 และเป็นช่วงวันหยุดคริสตมาส
หยุดปีใหม่ กว่าจะเปิดก็ค่อนเดือนมกราคม แถมเจอพายุหิมะแบบนี้ กิจกรรมการเรียนการสอนของ
มหาวิทยาลัยก็สะเทือนไปมาก
8
อาจารย์พิชญ์เปรยให้ผมได้ยินบ่อยๆ ว่า มหาวิทยาลัยเค้ามีไว้สอนหนังสือ (หมายถึงมีไว้เพื่อการเรียน
การสอนและแสวงหาความรู้) เพราะฉะนั้น ฮาร์วาร์ดไม่ได้ปิดพร่ำเพรื่อ และอาจารย์นักศึกษา (เท่าที่ได้เจอ) ก็
ไม่ได้ยินดีกับภัยธรรมชาติแบบนี้เท่าไหร่นัก 
นี่ไม่รวมถึงการใช้ชีวิตของพวกเราที่ต้องตุนอาหารการกินเผื่อเอาไว้หลายๆ วัน
ที่ต้องเตรียมไว้หลายวัน ไม่ได้กลัวอดอยากแต่อย่างใด แต่เป็นวิถีชีวิตปกติของเราที่กินเร็วๆ ง่ายๆ
เพื่อเอาเวลาไปทำงาน อ่านหนังสือ นั่งเรียน (เวิ่นเว้อนิดหน่อย) ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของพวกเราก็คือการไป
กินติ่มซำในตลาดเยาวราชของเมืองในวันเสาร์ที่เราจะได้กินของที่เราไม่ได้ปรุงเองบ้าง (ฮา) 
แต่การมีภัยภิบัติอย่างนี้ ทำให้ร้านรวงต้องปิดตามๆ กัน กระทั่งการขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์
รถไฟใต้ดินก็ต้องหยุด บางสายมีบริการ แต่ต้องจอดเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผู้โดยสารไปต่อรถบัสเป็นต้น
สภาพอย่างนี้จึงต้องเตรียมอาหารไว้เผื่อเหตุฉุกเฉินกว่านี้ และต้องย้ำอีกว่าเมืองบอสตันก็เคยเป็นเป้า
หมายการก่อการร้าย ดังที่เกิดกรณีการวางระเบิดระหว่างการแข่งขันบอสตันมาราธอนเมื่อเดือนเมษายน ปี
2013 เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นเรื่องตลกขบขันอะไรนัก
ในช่วงที่ผ่านมาพวกเราก็ได้พูดคุยกันเรื่องการจัดกิจกรรมวิชาการมาบ้าง เพิ่งมีโอกาสได้ประชุมพร้อม
หน้าพร้อมตากันเมื่อวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ว่าเราจะจัดกิจกรรมทางวิชาการกัน สำหรับโครงการไทยศึกษา
และผมเองจะเป็นผู้พูดคนแรกของภาคการศึกษานี้
นอกจากนี้ยังจะมี workshop แบบวงปิดเรื่องสื่อใหม่กับการปฏิวัติสังคมในเอเชีย ที่คิดกันเอาไว้ตั้งแต่
คริสตมาสปีก่อน 
ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ พายุหิมะก็กำลังตกอย่างต่อเนื่อง จะว่าไปก็คือตั้งแต่วันที่ 14
กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
แน่นอนครับ โรแมนติดมากๆ ในท่ามกลางหิมะ มองไปนอกหน้าต่างไม่มีอะไรเลย นอกจากปุยหิมะ
ขาวๆ 
โรแมนติคโคตรๆ
โชคดีที่เมื่อวานนี้ คือวันที่ 16 กุมภาพันธ์เป็นวันประธานาธิบดีที่ประกาศเป็นวันหยุดและมีการลด
ราคาสินค้าในหลายๆที่ ที่สำคัญคือหิมะหยุดตกให้คนออกไปสูดอากาศนอกบ้าน แม้แดดจะแรงมากๆ แต่
อุณหภูมิก็อยู่ที่ -9 ถึง -16 (นี่ยังไม่ได้บวกกับ wind chill effect อีกนะครับ) 
มาวันนี้เว้นว่างยามเช้า แต่สายบ่ายลงมา ถึงตอนนี้ยังตกอย่างต่อเนื่อง
หิมะมากขนาดไหน ผมเอารูปสถาบันเพื่อนบ้านมาให้ดูครับ จากข่าวก็คือ MIT ใช้วิธีเกรดหิมะเป็นกอง
จนได้ภูเขาสูงในแคมปัส ที่แม้ว่าตำรวจจะห้ามคนเข้าไปเล่น แต่ก็มีคนไปเล่นสกี และเลื่อนหิมะกันอย่างไม่กลัว
เกรง 
วัยอย่างผมนี้ก็ได้แต่มองครับ
(5)
เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์) หิมะยังโปรยเป็นสายลงมาไม่หยุดตั้งแต่ยามบ่าย นี่เป็นพายุหิมะระลอกที่สี่
เพียงแต่คราวนี้ไม่ยาวนานเหมือนครั้งก่อนๆ ในยามที่หิมะตกมาเป็นละอองเย็นๆ ยิ่งต้องระวัง เพราะหากสูด
9
เข้าไปมากๆ อาจมีอาการป่วยได้ พวกเราเอง รวมทั้งผมต่างก็มีอาการป่วยกันคนละเล็กคนละน้อย เพราะสภาพ
อากาศที่แปรปรวนอย่างนี้
สำหรับคนไกลบ้านที่อยู่คนเดียว สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดคือการล้มหมอนนอนเสื่อ เพราะ
นอกจากจะเป็นความทรมานสังขารและจิตใจแล้ว ยังอาจรบกวนเพื่อนฝูงอีกด้วย การไม่ล้มป่วยจึงเป็นสิ่งที่ดี
ที่สุด
แม้กระนั้น สังขารก็เป็นเรื่องไม่เที่ยงแท้จริงๆ เมื่อยามหนุ่มสาวนั่งทำงานไม่หลับไม่นอนได้เป็นวันๆ
เดี๋ยวนี้ชั่วโมงทำงานลดลง แต่พยายามทำงานให้ได้ตามเป้าหมายของตัวเองก็นับว่ายากแล้วจริงๆ
ในช่วงที่ผ่านมา ผมมีโอกาสทำงานค้างเก่าไว้เรื่องหนึ่ง คือเรื่องรัฐธรรมนูญ 2521 ที่เขียนค้างไว้นับสิบ
ปีแล้ว สาเหตุสำคัญคือไม่มีเวลานานพอที่จะอ่านเอกสารให้เห็นภาพรวม เพราะความเคยชินกับการทำงานที่
ต้องอ่านให้รอบด้านก่อน มาคราวนี้จึงมีเวลาทบทวนร่างที่เขียนเอาไว้และเขียนใกล้เสร็จแล้ว
เมื่อได้อ่านทบทวนการเขียนรัฐธรรมนูญในอดีตก็สะท้อนใจมากๆ เพราะฉบับ พ.ศ. 2521 ถูกระบุไว้
ชัดในกรอบธรรมนูญการปกครอง 2520 ว่าต้องให้เกิดการเลือกตั้งภายในปี 2521 ให้ได้ และหากเกิดข้อผิด
พลาดก็สามารถขยายเวลาออกไปได้เพียงไม่เกิน 120 วันเท่านั้น 
กำเนิดของรัฐธรรมนูญฉบับ 2521 แม้จะงอกจากอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ยังสู้แรงกดดันจากฝ่ายนิยม
ประชาธิปไตยไม่ได้ จึงต้องปรับความตึงให้เหลือลักษณะที่เรียกว่ากึ่งประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ
หรือ กึ่งอำมาตยาธิปไตย-กึ่งประชาธิปไตย ตามแต่สะดวกจะเรียก 
ที่เล่ามาก็เป็นงานหนึ่งที่ผมทำระหว่างอยู่ที่นี่
อีกส่วนหนึ่ง ก็คืองานที่ต้องพูดในการสัมมนาไทยศึกษาของฮาร์วาร์ด ผมจะพูดเรื่องความเป็นมาอย่าง
ย่อของคณะกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริงในเมืองไทย : วัฒนธรรมแห่งความคลุมเครือและละเลยไม่เอา
โทษ ช่วงบ่ายสี่โมง ในวันที่ 4 มีนาคมนี้
ส่วนอีกงานหนึ่ง ก็ตามภาพที่แนบมา คือเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการปกครองควบคุมในชีวิตประจำวัน
ของประเทศไทย: อดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของโครงการไทยศึกษาที่มหาวิทยาลัย
ฮาร์วาร์ด ในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม ทั้งวัน
เดือนหน้า วันแรกของเดือนเมษายน (บางคนเรียกว่าเมษาหน้าโง่ ที่เอาเรื่องแปลกๆ มาอำ กันเล่นๆ
โดยไม่ถือสาหาความ) เราก็จะมีเวทีเล็กๆ เพื่อคุยเรื่อง social media กับการเปลี่ยนแปลงสังคม ตอนนี้กำลัง
ติดต่อวิทยากรอยู่
บอกแล้วว่าไม่ได้มาตากหิมะเล่นๆ
มาทำงาน
ตารางกิจกรรมนะครับ
 
 
Forum on Human Rights and Everyday Governance in Thailand: Past, Present and Future
 
Friday, March 6, 2015; 9 a.m.-5 p.m.
K050, CGIS Knafel, 1737 Cambridge St., Cambridge
Sponsored by the Thai Studies Program, Harvard University Asia Center
10
 
8:45am: Arrival and registration
 
9:15am: Welcome and Introduction, Michael Herzfeld
 
9. 25am: Tyrell Haberkorn, (Australian National University)
                  Dangerous to the Nation: Seventy Years of Arbitrary Detention in Thailand 
 
9.50am: Yukti Mukdawijitra, (Thammasat University)
Selective Human Rights in Thai style: Social Conflicts, Cultural Politics and Legal Limits of
Human Rights in Thailand.
 
10. 15am: Q+A
 
10.35am: Tea and Coffee Break
 
11.00am: Pandit Chanrochanakit, (Ramkhamhaeng University)
                  Deformed Thai Politics: No Public Space for Pro-democratic Movements
 
11.25am: Benjamin Zawacki, (Visiting Fellow in the Human Rights Program at Harvard Law
School)
                  A Perfect Storm: Forecasting Human Rights in Thailand.
 
11. 50am: Q+A
 
12.10pm: Break for lunch
 
 
1.00pm: Video interview from Pitch Pongsawat, (Chulalongkorn University)
 
1. 10pm: Pinkaew Laungaramsri , (Chiang Mai University)
                  Mass Surveillance and the Militarization of Cyber Space in Post-coup Thailand. 
 
1.35pm: Duncan McCargo, (Leeds University )
                  Dispensing  Justice: The Work of Thai Police Investigators.
 
2.00pm: Q+A
 
11
2.20pm:  Graeme Bristol, (Centre for Architecture and Human Rights)
                  Economic, Social and Cultural Rights and Development Practice.
 
2.45pm: Michael Herzfeld, (Harvard University)
                  Pragmatic Social Justice and the Problem of the Right to Dignity
                 
3.10pm: Q+A
 
3.25pm: Tea and Coffee Break.
 
3.45pm Discussant: Gazmend Kapllani, (Emerson College)
 
4.00pm: Overview and General Discussion.
(6)
คืนนี้หิมะโปรยลงมาตั้งแต่เย็น เป็นการฉลองวันคล้ายวันเกิดที่ห่างบ้านไม่น้อยทีเดียว แต่ก็เป็นเรื่อง
ธรรมดา เพราะที่ผ่านมาก็เป็นแบบนี้ในหลายโอกาส
เพราะวันคล้ายวันเกิดไม่มีอะไรต้องฉลองนอกเสียจากทบทวนชีวิตตัวเองว่าผ่านอะไรมาบ้าง
 
ย้อนไปสองปีก่อนได้รับหิมะโปรยปรายมาในราวป่าที่เนเธอร์แลนด์ ปีนี้ก็ได้หิมะที่งดงามเยือกเย็นที่
บอสตัน
จวบจนวันนี้ก็ไม่มีท่าทีจะเข้าสู่ฤดูดอกไม้ผลิ แต่ใครจักฝืนฤดูกาลได้ เพราะในที่สุดฤดูใบไม้ผลิจักต้อง
มาถึง
ในสามวันที่ผ่านมา เป็นช่วงสปริงเบรค (Spring break) ที่บรรดานักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้หยุดพัก
ครึ่งเทอม หลังจากเรียนกันอย่างเอาเป็นเอาตายในช่วงต้นภาคเรียน
สปริงเบรคมีความหมายมาก เพราะสำหรับนักศึกษานี่คือช่วงพักที่จะได้ออกไปเรียนรู้ สำหรับบางคน
คือการปาร์ตี้ แต่คนจำนวนไม่น้อยก็เลือกจำศีล 
พวกเราก็มีโอกาสไปหาความรู้และความสุขเล็กๆ น้อยๆ ในเมืองวูสเตอร์ (Worcester) มีเมืองเล็กชื่อ
มอนสั้น (Monson) แต่พวกเราอยากเรียกว่าม่อนสัน เพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งมีนิวาสถานอันงดงามอยู่ริม
ทะเลสาบสวรรค์ (Paradise Lake) ของที่นี่ 
เพราะเจ้าของบ้านเป็นคนมีน้ำใจงามและกว้างขวาง จึงต้อนรับอย่างดี ตัวผมเองเคยมาพักที่นี่แล้วครั้ง
หนึ่ง แต่เป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง อากาศเริ่มหนาวเย็น แต่ก็ไม่เท่ายามนี้ เพราะน้ำในทะเลสาบยังเป็นน้ำแข็ง
อยู่ แม้จะละลายไปบ้าง แต่ยังคงเดินหรือเล่นสเก็ตได้สบายๆ นับว่าเปิดหูเปิดตาให้ได้เข้าใจความเปลี่ยนแปลง
ของดินฟ้าอากาศในยามหนาวได้อย่างถึงที่สุด เพราะตั้งแต่มาที่นี่เจอทั้งฝนหิมะ เกล็ดหิมะ ละอองหิมะ และพายุ
หิมะ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างฉับพลันหลายๆ ครั้งจนถึงลบ 18 องศาเซลเซียส
วิชาที่เรียนคือวิชาว่าด้วยโลกและดินฟ้าอากาศและเรียนทางตรงกันทีเดียว
12
หากจะมีประโยชน์อยู่บ้างก็ช่วยให้เข้าใจชีวิตคนที่นี่ว่าต้องเตรียมการมากน้อยอย่างไรในภาวะฉุกเฉิน
และในภาวะที่ธรรมชาติสร้างกรอบจำกัดให้มากมาย การวางแผนชีวิตจึงสำคัญมากๆ แต่กว่าจะถึงวันนี้ การ
ศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและการสร้างเครื่องมืออธิบายพยากรณ์อากาสล่วงหน้าได้นับเดือนๆ
หรือทั้งปี ไม่ใช่เรื่องเล่นขายของ เพราะอากาศที่นี่หมายถึงชีวิต 
เช่น เมื่อวาน (20 มีนาคม) จะมีหิมะตกลงในยามบ่าย หกโมงเย็นก็ตกโปรยลงมาเป็นสายไปเรื่อยๆ
ส่วนวันนี้ (21 มีนาคม) พยากรณ์ว่าหิมะจะหยุดตกราวเที่ยงกว่า บ่ายโมง ก็หยุดจริงๆ
สิ่งเหล่านี้สำคัญและจำเป็นจริงๆ ต่อการวางแผนชีวิตและอนาคต
 
เมื่อมาถึงเมืองวูสเตอร์ พวกเราตัดเข้าเมืองม่อนสันทางเมืองพาล์มเมอร์ เข้าถนนสายเล็กลงไม่นานก็
ถึงบ้านริมทะเลสาบ
นักวิชาการอย่างพวกเราไม่มีอะไรมากไปกว่าการค้นหาเรื่องราวท้องถิ่นและความเป็นไป
จุดหมายของพวกเราจึงอยู่ที่วิทยาลัยเม้าท์โฮลี่โยค (Mt. Holyyoke College)ซึ่งเป็นวิทยาลัยสตรีแห่ง
แรกของประเทศ มีเรือนกระจกที่ปลูกไม้ดอกงามอย่าง ทิวลิป แคคตัส และไม้เขตร้อนที่การรักษาดูแลอย่างดี
เพียงวูบแรกที่เข้าไปในเรือนกระจกก็ช่างประทับใจเพราะกลิ่นหอมจรุงของดอกไม้ชำแรกมาในโสตประสาท
ทันใด
มีแม้กระทั่งต้นกล้วยที่แตกช่อออกปลีให้เห็นในยามหิมะโปรยเป็นสายมาหลายสัปดาห์
 
จากนั้นวันรุ่งขึ้นก็ไปชมเมืองใกล้ๆ พวกเรายังได้แวะผ่าน University of Massachusetts Amhurst
และไปร้านหนังสือข้างแม่น้ำเล็กที่ชื่อ Book Mill ผมเองแบกหนังสือจนไหล่แอ่น เพราะเจอหนังสือถูกใจใช้ใน
งานวิจัยได้ด้วย เรายังไปชมวิทยาลัยสมิธ (Smith College) ที่มีเรือนกระจกและก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ที่
สำคัญเป็นวิทยาลัยหญิงล้วนในกลุ่ม seven sisters หรือวิทยาลัยเจ็ดแห่งที่เมืองนอร์ทแธมตัน และได้แวะซื้อ
หนังสือที่ร้าน Raven เมืองนี้มีชื่อเรื่องการให้ความสำคัญกับบทบาทสตรีและกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกัน 
บำเหน็จเล็กๆ น้อยของผมก็คือการได้กินข้าวซอยเนื้อหน้าวิทยาลัย รสชาติดั้งเดิมและกลมกล่อมที
เดียวครับ หายคิดถึงอาหารเหนือไปพักใหญ่
 
ข้อคิดสำคัญจากการเยี่ยมชมวิทยาลัยแถวนี้ก็คือ คนที่นี่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับปริญญา
ตรีอย่างมาก โดยเฉพาะด้านศิลปศาสตร์ (Liberal arts) ที่จะเป็นฐานการคิดของนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในชั้นสูง
ขึ้นไป ว่ากันว่าวิทยาลัยขนาดเล็กเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น Mount Holyyoke, Amhurst College, Wesleyan,
Wellesley, Smith College หรือที่อื่นๆ เป็นที่ที่บรรดาผู้ดีมีสตางค์ของประเทศนี้ส่งลูกหลานมาเรียน พื้นฐาน
ภาษาและวิชาการจึงแน่น เพราะขนาดของวิทยาลัยไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่จะรองรับและฟูมฟักนักศึกษาให้เป็น
บัณฑิตที่มีความสามารถรอบด้าน
 
เรื่องนี้ทำเอาผมฝันไปไกล
เพราะความฝันของผมคือผมอยากเห็นวิทยาลัยขนาดเล็กแบบนี้ในเมืองไทย มีนักศึกษาสักสามสี่คณะ
ไม่เกินชั้นปีละ 150 คน รวมสี่ชั้นปีก็ราว 400-600 คน หากได้นักเรียนชั้นดี เราจะสามารถสร้างคนที่มีคุณภาพ
ได้แน่ๆ
13
แต่ความฝันมักสวนทางกับความจริง เมื่อคิดทบทวนว่า ในประเทศที่เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่
สัมพันธ์กับภาระงาน และผู้กำหนดนโยบายการศึกษาชั้นสูงไม่เข้าใจเป้าหมายของการอุดมศึกษา ครูบาอาจารย์
ก็ไม่ต่างไปจากพนักงานเอกสาร ที่ต้องผลิตและหลอกผู้ตรวจประกันคุณภาพทั้งหลายไปวันๆ
เผลอๆ อาจจะแย่กว่าคุณภาพชีวิตของครูประถมเสียด้วยซ้ำ (และก็น่าสนใจที่มีข้อมูลออกมาว่า
อาจารย์มหาวิทยาลัยเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน) 
พูดกันตามจริง ความหวังที่ว่าจะนำเอามหาวิทยาลัยไทยไปสู่ระดับโลกนั้นเป็นความฝันที่เลื่อนลอย
เอามากกว่า และคงไม่มีใครใส่ใจจริงๆ จังๆ ในเมื่อตำแหน่งผู้บริหารจนถึงครูอาจารย์ในการอุดมศึกษายัง
เป็นการไต่เต้าทางการเมืองแบบทื่อๆ และยิ่งเมื่อไร้การคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการ มหาวิทยาลัยชั้นสูงไม่มี
อะไรต่างไปจากสถาบันสร้าง หล่อหลอมและผลิตซ้ำอุดมการณ์ชุดหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถนำมาซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงไปสู่คุณภาพใหม่ได้เลย
ในโลกตะวันตกมหาวิทยาลัยไม่น้อยเกิดจากศาสนจักร เช่น เสื้อคลุมที่สวมใส่วันสำเร็จการศึกษาก็
เป็นเสื้อคลุมนักบวชนั่นเอง
ผมเองหวังว่าศาสนจักรไทย วัดไทย จะมีความก้าวหน้าพอที่จะเลิกสร้างถาวรวัตถุเกินความจำเป็น
แต่ควรหันมาลงทุนหรือสนับสนุนเงินทุนสร้างมหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาลมากกว่าจะสร้างเสนาสนะสถาน
ของตนให้โอ่อ่าแต่เพียงอย่างเดียว
นี่อาจจะยากยิ่งไปกว่าฝันลมๆ แล้งๆ ของผมเสียอีก
นี่สินะที่เรียกว่า "ฝันกลางฤดูหนาว"
(7)
ผมมักเอ่ยถึงเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วเสมอ ด้วยความรู้สึกสามัญธรรมดาเหมือนกับหลายๆ คนที่
เชื่อว่า วันเวลาแห่งความสุขช่างผ่านไปรวดเร็วเสมอ แต่วันเวลาแห่งความทุกข์กลับผ่านไปอย่างเชื่องช้า
ครั้งก่อนผมเอ่ยว่าฤดูใบไม้ผลิจักต้องมาถึง ก็มีมิตรสหายส่งปกหนังสือในชื่อนี้ของอดีตปัญญาชนท่าน
หนึ่งมาให้
มิตรสหายท่านนั้นคงคิดถึงหนังสือเล่มนั้นไม่มากก็น้อย แต่ขอบอกว่าตอนที่เขียนก็ไม่ได้คิดถึงเขา
เพราะในยามที่ผมเขียนเรื่องฤดูหนาวอันยาวนั้นมีที่มาจากการเดินทางทางจิตวิญญาณเมื่อปี 2556 ด้วยความ
รู้สึกว่าฤดูหนาวปีนั้นยาวนานเหลือเกิน ประกอบกับได้ยินชื่อหนังสือชุดกระท่อมน้อยในป่าใหญ่ตอนฤดูหนาวอัน
ยาวนาน ก็ประทับใจ เพราะผมยังจำความรู้สึกที่เปิดหน้าต่างบนห้องใต้หลังคาแล้วหิมะโปรยลงมาเป็นสาย แม้
ในยามปลายเดือนมีนาคมที่น่าจะเข้าฤดูใบไม้ผลิในยุโรปก็ตาม
ในปีนี้ฤดูหนาวของผมก็เป็นฤดูหนาวที่ยาวนานที่สุดในชีวิตก็ว่าได้ เพราะนับเนื่องตั้งแต่เดือน
พฤศจิกายนมาจนถึงบัดนี้ก็ไม่มีทีท่าว่าความหนาวจะเลือนจากไปง่ายๆ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็มีหิมะโปรยลงมา
เป็นสาย ราวกับจะสั่งลาความหนาวเย็นที่แผ่มานานหลายเดือน
แต่ในยุโรปที่ผ่านสายตาของผม เมื่ออากาศอบอุ่นเข้าฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้จะงอกโผล่พ้นดินมาและเบ่ง
บานให้เห็น
การบังคับฤดูกาลเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในขีดความสามารถอันจำกัดของมนุษย์ อย่างไรก็ยังต้องพ่าย
แพ้แก่ธรรมชาติ ระบอบการเมืองก็เช่นกัน
14
ผมจึงเห็นว่าในที่สุด ฤดูใบไม้ผลิจักต้องมาถึงในที่สุด
อีกเรื่องหนึ่งที่ฉุกคิดมาได้ระหว่างเขียนบทนำวิภาษาฉบับที่ 61 ก็คือ ตกลงแล้วผมเห็นว่าการ
รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 นั้น เป็นการยุติความรุนแรงที่มีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่ 
ขอขยายความในที่นี้เลยว่า ผมไม่เคยเห็นไปในทางที่ว่าการรัฐประหารจะแก้ปัญหาใดๆ ได้เลย
ประวัติศาสตร์ของไทยที่ผ่านมา หรือกระทั่งในหลายๆ มุมของโลกนั้น ชี้ให้เห็นว่าการเข้าสู่อำนาจของทหาร
ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเป็นกองกำลังติดอาวุธที่มีพลานุภาพมากที่สุดของทุกสังคม แต่การออกจากการเมืองของ
ทหารไม่ใช่เรื่อง่าย และไม่ได้จบแบบเทพนิยายให้เราเห็น
การเข้าสู่การเมืองของทหารด้วยการใช้กำลังควบคุมและพยายาม "ปฏิรูป" เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้ง
เล่า เช่น การปฏิรูปวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หรือการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 จบลงด้วยการปะทะกันอย่าง
รุนแรงในเดือนพฤษภาคม 2535 มาถึงการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ทำให้ระบอบการเมืองของไทย
เริ่มบิดผันผิดรูป (deform) มาอย่างต่อเนื่อง 
สรุปเบื้องต้นว่า การเข้าสู่การเมืองของทหารไม่ใช่เรื่องยาก เพราะสรรพกำลังและการสนับสนุน
ระเบียบสังคมจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมและคนชั้นกลางที่ฝักใฝ่ระเบียบอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทำให้การเข้าสู่การเมือง
ของทหารไม่ใช่เรื่องยาก ดังที่ผู้นำกองทัพถึงกับบอกว่า อย่ามาสู้กับทหารเลย สู้ยังไงก็ไม่ชนะ
อันที่จริงฝ่าย นปช. น่าจะเข้าใจได้ชัดเจนที่สุดว่าเงื่อนไขของความพ่ายแพ้ทางการเมืองของนปช.และ
พรรคเพื่อไทยก็คือการขาดฐานสนับสนุนจากคนชั้นกลางตลอดจนเครือข่ายอนุรักษ์นิยม
แต่ทหารมักจะลืมอีกด้านหนึ่งของเหรียญคือ การถอนตัวออกจากการเมืองอย่างไร ไม่เพียงให่้ตัวเองดู
สง่างาม แต่ยังหมายถึงการมีที่ทางในสังคมภายหลังจากลงจากอำนาจอีกด้วย
การถอนตัวออกจากการเมืองจึงเป็นปริศนาที่รอคอยคำตอบเมื่อเวลาคลี่คลายของมันมาถึง ถึงแม้จะ
พอเดาได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะต้องเดา เพราะทิศทาง แนวโน้มความเสื่อมทรามของการกำกับด้วยสรรพ
กำลังนั้นมักปรากฏออกมาในรูปของความล้มเหลวเชิงนโยบาย ความไม่สามารถผลิตนโยบายที่ดีกว่าออกมาได้
หรือกระทั่งความล้มเหลวในการกุม "หัวใจ" ของคนชั้นกลางและฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ที่สำคัญ การใช้กำลังอาวุธกับประชาชนของตัวเองไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะทำให้ทหารสามารถควบคุม
กำกับการเมืองไทยแต่ฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป แม้จะใช้กำลังอย่างถึงที่สุด ก็สามารถทำได้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม
เท่านั้น
หากมองในแง่ร้าย ทหารสามารถกำกับความเคลื่อนไหวด้วยการเรียกคนไปปรับทัศนคติ ก็กระทำได้
ในระดับจุลภาค แต่ก็ต้องแลกกับภาพพจน์เผด็จการในสายตาของชุมชนอารยะประเทศ ที่สำคัญ ประเทศไทย
ไม่ใช่สามจังหวัดชายแดนใต้ หากจะยกระดับถึงขั้นนั้น จะส่งผลสะเทือนในระยะยาวอย่างไรบ้างก็คงจะเกินสติ
ปัญญาของผมในเวลานี้ 
15
(8)
ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เรามีการประชุมกลุ่มไทยศึกษาทุกวันพุธ โดยมีคนทั้งจากในฮาร์วาร์ดเอง
และจากมหาวิทยาลัยข้างเคียง เช่น MIT มาร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการของพวกเรา
ผมได้มีโอกาสนำเสนอรายงานวิจัยของผม เช่นเดียวกับนักวิชาการท่านอื่นๆ ที่นำเสนอรายงานบาง
ส่วนของตัวเองไปแล้ว เช่น ผศ. ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, ดร. อรัญญา ศิริผล และ ผศ. ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
ซึ่งต่างก็ทำวิจัยในเรื่องที่น่าสนใจมาก ผมจะขอเล่าเท่าที่จำรายละเอียดได้จากมุมมองของผมก็แล้วกันครับ ข้อ
ผิดพลาดประการใดจากความทรงจำและการตีความของผมก็ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผมและขออภัย
อาจารย์ทั้งสามท่านไว้ที่นี้
งานของอาจารย์พิชญ์เป็นการวิจัยเรื่องเมืองชายแดน พัฒนาต่อจากงานดุษฎีนิพนธ์ที่สนใจเมือง
ชายแดนทางเหนือ เช่น แม่สายและแม่สอด แต่คราวนี้อาจารย์พิชญ์ใจเด็ด ลงทุนลงแรงไปศึกษาเมืองชายทะเล
และสนใจเรื่อง sea borders ที่มีความน่าสนใจทั้งในแง่ของทรัพยากรทางทะเล และสิทธิเหนือน่านน้ำใน
มหาสมุทร รวมไปถึงชีวิตของคนที่ทำงานเป็นลูกเรือในเรือประมง เป็นคนงานคัดปลา แยกปลาและสัตว์ทะเล
อื่นๆ 
ความน่าสนใจนอกจากชีวิตของคนแล้วยังรวมไปถึงมูลค่าทางการค้าอีกมหาศาลด้วย
อันที่จริง หากรัฐบาลสนใจแก้ปัญหาเรื่องค้ามนุษย์จริงๆ จังๆ พอๆ กับภาคเอกชนที่ใกล้จะเดือดร้อน
จากมาตรการของสหภาพยุโรป ก็น่าจะใส่ใจงานวิจัยของอาจารย์พิชญ์มากขึ้นและสนับสนุนการวิจัยในด้านนี้ให้
มาก เพราะอาจารย์พิชญ์ตั้งข้อสังเกตุเรื่องการค้าแรงงานมนุษย์หรือแรงงานทาสน่าจะลดลงมากกว่าที่เราเข้าใจ
ปัญหาที่แท้จริงของแรงงานประมงน่าจะอยู่ที่พวกเขาไม่ได้พักผ่อนกลับบ้านในเวลาอันควร เพราะการจับปลา
ต้องอาศัยการขนส่งที่รวดเร็วเพื่อรักษามูลค่าของสินค้าจากทะเลเอาไว้ให้ได้มากที่สุด จึงต้องส่งเรือขนาดเล็ก
ออกไปหาปลา และใช้เรือบรรทุกปลาส่งกลับฝั่งเพื่อกระจายสินค้าก่อนจะเสื่อมสภาพลง
ผมฟังงานของอาจารย์พิชญ์ด้วยความเพลิดเพลินและมองเห็นการศึกษาเรื่องยุทธศาสตร์การค้า การ
ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งยังต้องรวมไปถึงการสร้างระบบรองรับไม่ว่าจะ
เป็นการดูแลคนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมประมง ซึี่งไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่เป็นพี่น้องจากประเทศเพื่อนบ้าน
มากขึ้นเรื่อยๆ ระบบการกำกับการเคลื่อนย้ายแรงงานจึงสำคัญพอๆ กับการรักษาตลาดสินค้ามูลค่ามหาศาลใน
ตลาดโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอนาคตของประเทศไทยมาก
ส่วนงานของอาจารย์อรัญญาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะเป็นงานศึกษาการค้าชายแดนไทยพม่าและอัต
ลักษณ์ เอกลักษณ์ของกลุ่มจีนคณะชาติที่อยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่ามานับหลายสิบปี จนพวกเขากลายเป็น
ส่วนหนึ่งของสังคมไทย 
คนกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มจีนยูนนานที่เคยเป็นพลพรรคของกองพล 93 ซึ่งถอยร่นมาจากตอนใต้ของจีน จน
มาอยู่ในเขตรอยต่อไทยพม่า และมีความผูกพันกับพรรคก๊กมินตั๋ง หรือ พรรค KMT มายาวนาน ในยามที่พรรค
KMT เรืองอำนาจก็มีการช่วยเหลือเกื้อกูลตามสมควร แต่รัฐไทยเองก็พยายามกำกับความเคลื่อนไหวของพวก
เขา และเคยแม้กระทั่ง “ใช้” พวกเขาสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาแล้ว
ในปัจจุบัน กลายเป็นว่ารัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เองพยายามเข้ามามีบทบาทในการผูกใจของลูกหลาน
จีนพลัดถิ่นเหล่านี้ผ่านหลักสูตรภาษาจีน ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าพรรค KMT ถอนร่นไปยังเกาะไต้หวัน การศึกษาภาษา
จีนตามแบบไต้หวันก็เป็นระบบหนึ่ง การศึกษาภาษาจีนในแผ่นดินใหญ่ก็เป็นอีกระบบหนึ่ง การแทรกซึมผ่าน
นโยบาย “เฉียวป้าน” จึงน่าสนใจมาก สำหรับคนที่สนใจเรื่องอิทธิพลจีนในอาเซียน
อาจารย์อรัญญาเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฟังด้วยความน่าสนใจและมีคนสนใจไต่ถาม
มากมาย
16
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์
ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์

More Related Content

Viewers also liked

Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...
Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...
Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...Association Executives of North Carolina
 
Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...
Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...
Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...David Lukac
 
Los proyectos educativos del siglo xix (1)
Los proyectos educativos del siglo xix (1)Los proyectos educativos del siglo xix (1)
Los proyectos educativos del siglo xix (1)Mafaldacv64
 
Quality Guru ....William Edward Deming
Quality Guru ....William Edward DemingQuality Guru ....William Edward Deming
Quality Guru ....William Edward Demingkrishna_theja
 
00 rural development curiculum 511
00 rural development curiculum 51100 rural development curiculum 511
00 rural development curiculum 511Mr.Allah Dad Khan
 
이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide
이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide  이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide
이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide 이용원 Lee Yong Won
 

Viewers also liked (8)

Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...
Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...
Changing the conversation around millennials AENC 2015 Annual Meeting, Jamie ...
 
Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...
Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...
Automatisation in development and testing - within budget [IronCamp prague 20...
 
CWE Breckland Farm
CWE Breckland FarmCWE Breckland Farm
CWE Breckland Farm
 
Los proyectos educativos del siglo xix (1)
Los proyectos educativos del siglo xix (1)Los proyectos educativos del siglo xix (1)
Los proyectos educativos del siglo xix (1)
 
CV CEO
CV CEOCV CEO
CV CEO
 
Quality Guru ....William Edward Deming
Quality Guru ....William Edward DemingQuality Guru ....William Edward Deming
Quality Guru ....William Edward Deming
 
00 rural development curiculum 511
00 rural development curiculum 51100 rural development curiculum 511
00 rural development curiculum 511
 
이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide
이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide  이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide
이용원의 일일슬라이드 J.mp 1day1 slide
 

More from Pandit Chan

เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้าเนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้าPandit Chan
 
Interviewed file
Interviewed fileInterviewed file
Interviewed filePandit Chan
 
Thai Military and Public enterprise After 1991 Coup
Thai Military and Public enterprise After 1991 CoupThai Military and Public enterprise After 1991 Coup
Thai Military and Public enterprise After 1991 CoupPandit Chan
 
Visual politics2014
Visual politics2014Visual politics2014
Visual politics2014Pandit Chan
 
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520Pandit Chan
 
รวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนาน
รวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนานรวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนาน
รวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนานPandit Chan
 
Deforming Thai Politics
Deforming Thai PoliticsDeforming Thai Politics
Deforming Thai PoliticsPandit Chan
 

More from Pandit Chan (9)

เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้าเนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
เนื้อในรับธรรมนูญ 160 หน้า
 
Interviewed35
Interviewed35Interviewed35
Interviewed35
 
518 archive
518 archive518 archive
518 archive
 
Interviewed file
Interviewed fileInterviewed file
Interviewed file
 
Thai Military and Public enterprise After 1991 Coup
Thai Military and Public enterprise After 1991 CoupThai Military and Public enterprise After 1991 Coup
Thai Military and Public enterprise After 1991 Coup
 
Visual politics2014
Visual politics2014Visual politics2014
Visual politics2014
 
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
 
รวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนาน
รวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนานรวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนาน
รวมบทนำชุดยุโรป: ฤดูหนาวที่ยาวนาน
 
Deforming Thai Politics
Deforming Thai PoliticsDeforming Thai Politics
Deforming Thai Politics
 

ชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์

  • 1. ชีวิตนักวิชาการในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเส็ตส์ ผศ. ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1
  • 2. กล่าวนำ บทความในชุดชีวิตนักวิชาการในเคมบริดจ์ แมสซาจูเส็ตส์เขียนขึ้นเพื่อสะท้อนความคิด ประสบการณ์ ในฐานะนักวิชาการที่มาแลกเปลี่ยนทางวิชาการที่โครงการไทยศึกษา Thai Studies Program, Asia Center, Harvard University ผู้เขียนได้ลาเพิ่มพูนความรู้ (Sabatical Leave) โดยการสนับสนุนของทุน Fulbright U.S.- ASEAN Visiting Scholar Program (USAS) ระหว่างเดือนธันวาคม 2557- มีนาคม 2558 ให้ใช้เวลาทำวิจัย และขบคิดบางส่วนของงานเขียนชิ้นนี้ ณ โครงการไทยศึกษา (Thai Studies Program) ศูนย์เอเชีย (Asia Center) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยการรับรองของ ศ. ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Prof. Michael Herzfeld) ผู้อำนวยการโครงการไทยศึกษา เป็นเวลาสี่เดือน ผู้เขียนขอขอบคุณเจ้าหน้าที่และคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอขอบคุณ อธิการบดีและผู้ บริหาร โดยเฉพาะ ผศ. ดร. บุญชาล ทองประยูร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ตลอดจนคณาจารย์จาก คณะรัฐศาสตร์ รศ. สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์ รศ. รุจิรา เตชางกูร รศ. อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี (คณบดี) ผศ. ดร. ทิพ รัตน์ บุบผะศิริ อ. เสาวภา งามประมวญ และคงเป็นไปไม่ได้หากผู้เขียนไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วม งาน โดยเฉพาะ ผศ. ดร. ปรัชญา ชุ่มนาเสียว ดร. นิพนธ์ โซะเฮง และ ดร. ผกาวดี สุพรรณจิตวนา ที่ช่วยดูแล รายวิชาที่ผู้เขียนรับผิดชอบในระหว่างลา ผู้เขียนขอขอบพระคุณ เลขานุการคณะ หัวหน้างานบุคคล ตลอดจนเจ้าหน้าที่คณะรัฐศาสตร์ทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนทุกครั้งที่ต้องการโดยไม่เหนื่อยหน่าย และให้ความรักตามฐานานุรูปในทุกโอกาส ในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนขอขอบพระคุณ ศ. ดร. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร และ ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่ให้คำแนะนำ ขอบคุณเพื่อนพี่น้องอีกหลายๆ คน ได้แก่ ผศ. ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ ดร. ณัฐพล ใจจริง รศ.ดร. พวงทอง และ รศ. ดร. นิติ ภวัครพันธุ์ อาจารย์วิโรจน์ อาลี อาจารย์ตฤณ ไอยะรา อาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ในท้ายที่สุดขอขอบคุณ ผศ. ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ผศ. ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ผศ. ดร. อรัญญา ศิริผล ผศ. ดร. อภิวัฒน์ รัตนะวราหะ ดร. ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น ผศ. ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร ที่ร่วมแลกเปลี่ยนพูด คุยเรื่องต่างๆ ระหว่างพำนักในเมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเส็ทส์ และ ศ.ดร. ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ ผู้อำนวยการ โครงการไทยศึกษา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คุณธาลิสา ลิกานนท์สกุล และคุณพรทิพย์ กาญจนนิยต แห่งมูลนิธิ การศึกษาไทยอเมริกัน (ฟุลไบรท์) บทความชุดนี้ปรากฏในบล็อกของผู้เขียนที่เขียนลงในประชาไท โดยหวังว่าจะได้สะท้อนความรู้สึก นึกคิดของนักวิชาการชาวไทยคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสไปทำงานวิจัยในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปจากบ้านเกิด เมืองนอน และแม้ว่าจะผ่านการศึกษาในระบบสหรัฐอเมริกามา ก็ยังเห็นความแปลกใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์ตรงในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและได้กล่าวถึงการใช้ชีวิตประจำวันระหว่างที่พำนักอยู่ในแมสซาจู เส็ตส์ หากมีข้อความประการใดที่ทำให้ไม่สบายใจ ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง แต่ยังเป็นความรับผิดชอบของผู้ เขียนทุกประการ ด้วยมิตรภาพ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ กรุงเทพฯ สิงหาคม 2558 2
  • 3. (1) หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้า รับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่ บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้ง หลักทำงานได้เป็นเรื่องเป็นราว ในช่วงแรกผมได้ความช่วยเหลือจากอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ สละที่นอนแสนนุ่มให้นับสิบวัน แถม ด้วยอาหารรสชาติอร่อยอีก อาจารย์พิชญ์นับว่าเป็นยอดฝีมือด้านการทำกับข้าวจริงๆ (แผล่บๆ) บ้านผมอยู่ใกล้สถานี Davis Square มาก โชคดีที่ อาจารย์พิชญ์ และอาจารย์อรัญญา ศิริผล จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาอยู่ก่อนผม การหาบ้านเลยเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ถึงที่สุดเราอาจช่วยกันเขียนคู่มือการ ใช้ชีวิตที่นี่สำหรับนักศึกษาและนักวิชาการรุ่นถัดไปได้แน่ๆ อาจารย์อภิวัฒน์ รัตนะวราหะจากคณะ สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์ก็เป็นผู้รอบรู้ที่ช่วยให้ผมตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น แถมยังเป็นพหูสูตรด้าน ความเป็นมาของเมืองและการผังเมือง ผมเลยได้ความรู้มากมาย ต้องขอบคุณเพื่อนอาจารย์ทั้งสาม ณ ที่นี้ ด้วย ครับ การหาบ้านพักระยะสั้นสำหรับคนที่มาทำวิจัยเพียงสี่เดือนไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนใหญ่เจ้าบ้านมักจะขอให้ เช่าทั้งปี หรืออย่างน้อยหกเดือน ราคาก็ไม่ถูกเลยครับ ส่วนใหญ่เกิน 1600 เหรียญทั้งนั้น ยิ่งใกล้ ยิ่งดี ยิ่งแพง นิสัยอย่างหนึ่งของผมก็คือไม่อยากแชร์ผนังบ้านแบบร่วมกับใครอีกก็เลยยุ่งยากขึ้น โชคดีที่ Craiglist ซึ่งเป็นเว็บไซต์ประกาศเรื่องสารพันรวมทั้งเรื่องบ้านเช่า หารูมเมท ขายของ หาของ ฯลฯ ช่วยทำให้ผมได้ห้อง ใต้หลังคาห้องนี้ ทั้งชั้นอยู่คนเดียวจึงเงียบเหงาหน่อย  ย่านที่ผมอยู่มีร้านอาหาร ร้านกาแฟและใกล้มหาวิทยาลัยทัฟส์ (Tufts University) จึงน่าอยู่มากครับ ติดอย่างเดียวว่าบ้านเก่ามาก พื้นบ้านก็เอียงกะเท่เร่ จนต้องหามุมทำงาน ผมเลือกมุมส่วนรับแขกตั้งโต๊ะทำงาน ทิ้งส่วนครัวและห้องน้ำไว้โล่งๆ กับโต๊ะวางหนังสือ ส่วนห้องนอนเป็นห้องเล็กๆ ด้านหลัง ซึ่งมีข้อดีเพราะขนาด พอดีที่จะเปิดเครื่องทำความร้อนเครื่องเดียวทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น (ประหยัดเงินได้นิดหน่อย) วันนี้มีเวลา ผมก็ได้ฤกษ์ทำงานในวันเหมายัน (เห-มา-ยัน หรือ Winter solstice) ที่ห้วงกลางวันจะสั้น กว่าปกติในรอบปี ผมเข้าไปยืมหนังสือจากชั้นหนังสือของหอสมุด (Widener Library) หรือหอกลางที่ฮาร์วาร์ด และหอสมุดลามองต์ (Lamont Library) ห้องสมุดไวด์เนอร์ยังมีส่วนที่เป็นห้องหนังสือของนาย Widener ที่เสียชีวิตไปกับเรือไททานิค แต่รัก ฮาร์วาร์ดมาก ดังนั้นครอบครัวของเขาจึงบริจาคเงินก้อนใหญ่เพื่อรำลึกถึงเขา  บรรยากาศที่นี่ต่างไปจากบ้านเราแน่ๆ ห้องสมุดที่นี่ไม่อนุญาตให้คนนอกเข้าใช้ เพราะถ้าปล่อยให้เข้า ก็อาจจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะจนอาจรบกวนผู้ใช้ห้องสมุดแน่ๆ จึงมีระบบ scan บัตรอย่างเข้มงวดที่ประตู หอสมุด  ทุกวัน ผมเห็นนักท่องเที่ยวมาชมมหาวิทยาลัยและพยายามขอเข้าชมห้องสมุดเป็นระยะๆ ซึ่งได้แค่ ถ่ายที่บันไดเท่านั้น หากจะเข้าไปหยิบหนังสือจากชั้นวางหนังสือ (stacks) เองก็ต้อง scan บัตรอีกครั้งหนึ่งที่ทางเข้า ที่นี่มีชั้นใต้ดินเก็บหนังสืออย่างเป็นระเบียบและมีทางใต้ดินไปยังห้องสมุด Pusey Library ที่เก็บ หนังสืออีกสามชั้นอีกด้วย  หนังสือที่ผมใช้อยู่ใต้ดิน ฝั่ง Pusey จึงต้องลงลิฟต์ เดินไปอุโมงค์ใต้ดินสั้นๆ จนถึงชั้นวางหนังสือ  3
  • 4. ในบรรดาชั้นวางหนังสือเหล่านั้น มีระบบไฟอัตโนมัติคอยเปิดเมื่อมีคนเดินผ่าน และปิดเมื่อไม่มีการ เคลื่อนไหว ในส่วนเก็บวารสารมีตู้แบบรางเลื่อนไฟฟ้า ที่ช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ได้มากทีเดียว ปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปหยิบหนังสือที่ชั้นครับ เพราะสามารถเรียก (request) หนังสือให้ไปไว้ที่ ชั้นตามหอสมุดต่างๆที่เราต้องการเข้าไปรับหนังสือได้ทั่ว campus เพียงแต่ผมอยากลองดูว่าการหาหนังสือที่นี่ จะยุ่งยากไหม ถ้าเทียบกับที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฮาวายอิที่ผมเคยเรียนก็ต่างกันพอสมควร เพราะที่ฮาวายอิเป็น ชั้นเปิด ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าไปถึงชั้นหนังสือได้เลย แต่ก็เปลืองพื้นที่จัดเก็บกว่า ระบบที่นี่ช่วยประหยัด เวลาของนักวิจัยและนักศึกษา แต่ก็ต้องใช้ระบบการค้นหาออนไลน์เพื่อเรียกหนังสือแล้วไปรับหนังสือ นอกจากนี้ยังมีบริการ scan หนังสือเป็นบางบทให้ด้วย (scan ทั้งเล่มไม่ได้เพราะเหตุผลเรื่องลิขสิทธิ์ ครับ)  สำหรับเอกสารที่เป็นบทความก็สามารถ load ได้จากที่บ้านก็ได้ โดยใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตผ่าน browser ที่มีระบบ log in โดยใช้ id ของที่นี่ อันที่จริงผมไปเดินร้านหนังสือมือสองของที่นี่ ชื่อร้าน Raven Books ไปสองครั้งก็ตัวเบาเลย มีหนังสือ ดีๆ มากมาย ผมซื้อเพราะคิดว่าต้องเอากลับไปใช้ที่เมืองไทยสำหรับการเรียนการสอนและวิจัยแน่ๆ ไม่่นับว่าวัน ก่อนไปซื้อหนังสือลดราคาจาก MIT อีก (คงต้องไปเสียสตางค์อีกแน่ๆ) วันนี้ก็ออกไปร้านของมือสองข้างบ้านได้ หนังสือมาอีกสี่เล่ม อยู่นานๆ ไปคงไม่ต้องเดาว่าเงินจะหมดไปกับอะไร ตอนนี้มีหนังสือพร้อมทำงานแล้วครับ ป.ล. ขอเล่าอีกทีนะครับว่า ผมขออนุญาตชี้แจงเล็กน้อยนะครับว่าผมมาทำวิจัยที่ Harvard University เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน และกลับมาปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ผมเตรียมการไปนานแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 (2013) เป็นการเตรียมการวิจัยที่ผมสนใจมาตลอดในหลายปีมานี้ (เดี๋ยวจะอธิบายในโอกาสหน้าครับ) แต่ผมได้ สมัครทุนฟุลไบรท์ที่ให้โอกาสนักวิชาการระดับ mid carreer ไปวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและสหรัฐในระยะเวลาสั้นๆ จึงเป็นทุนที่เรียกว่า US-ASEAN visiting Scholar ประจำปี 2014 ซึ่งผมได้รับการตอบรับหลังจากการ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เนื่องจากผมสอนหนังสือเป็นเวลา 8 ปีแล้ว จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการหาความรู้เพิ่มเติมจึงขอใช้ สิทธิ sabbatical leave เป็นเวลา 12 เดือน แล้วจะกลับมาทำงานที่รามคำแหงต่อครับ ทั้งนี้ผมยังอยู่ในระยะการ ชดใช้ทุนรัฐบาลตามเงื่อนไขที่จบปริญญาเอกมาจาก University of Hawaii นะครับ การลาครั้งนี้ได้รับอนุมัติตามขั้นตอนจากทางราชการจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงและคณะรัฐศาสตร์  และผมได้รับความสนับสนุนจากผู้บริหารรามคำแหงเป็นอย่างดีครับ จึงเท่ากับว่าผมเดินทางไปทำวิจัยที่สหรัฐอเมริกาสี่เดือนเศษ (รวมเวลาเดินทาง) แล้วจะกลับมาตาม สัญญานะครับ ในโอกาสนี้ขอขอบคุณมูลนิธิการศึกษาไทยอเมริกัน Fulbright Thailand Tusef มาด้วยนะครับ ที่ให้ โอกาสผมไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ขอขอบคุณ อ. Michael Herzfeld แห่งโครงการ Thai Studies Program, Harvard University ที่ให้การรับรองผมในฐานะ Thai Visiting Scholar คนแรกของโปรแกรม 4
  • 5. (2) ผมมาอยู่ที่นี่ได้สองเดือนกว่าแล้ว ขณะที่เพื่อนๆ มาอยู่ได้ราวครึ่งปี นาฬิกาและตารางชีวิตเราจึงต่าง กันบ้างด้วยความผูกพัน ภาระที่แต่ละคนพึงมี ผมมาที่นี่เพื่อเขียนงานเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบคณะกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริง โดย อิงจากประสบการณ์ในอาเซียน รวมเกาหลีใต้ด้วย เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องความจริงและความยุติธรรมใน ระยะเปลี่ยนผ่านที่ผมได้เข้าไปเกี่ยวข้องนับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา โดยเฉพาะหลังกรณี 10 เมษายน 2553 ทำให้ผมไม่อาจนิ่งเฉยและได้เข้าร่วมกับเพื่อนนักวิชาการ กลุ่มสันติประชาธรรมประณามการใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะการกำลังทหารที่ใช้ป้องกันประเทศมาเป็นเครื่อง มือคุมฝูงชน มีการใช้อาวุธสงครามกับประชาชนที่ชุมนุมทางการเมือง ซึ่งนับแต่นั้น กองทัพถูกแยกออกจาก "ประชาชน" แล้วก็ว่าได้ หลังจากนั้น ผมถูกทาบทามและแต่งตั้งให้ไปเป็นอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง คณะที่ 4 ของ ศ.ดร. คณิต ณ นคร ซึ่งต้องศึกษาความจริงกรณี บ่อนไก่ สีลม ซอยรางน้ำและการเผากรุงเทพ 32 จุด มี คนตายกว่า 53 ศพ ซึ่งในระหว่างการทำงานมีขีดจำกัดมากมาย ผมเองมีความเห็นแตกต่างในการทำงาน ผม จึงพยายามรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยหวังว่าจะเป็นฐานข้อมูลเรื่องความจริงและ ความยุติธรรมในอนาคต ในที่สุดก็ได้รวบรวมลูกศิษย์ (และเพื่อนๆ ของพวกเขา ซึ่งบัดนี้เติบโตในหน้าที่การงาน หลายแห่งแล้ว) พวกเขาเรียกตัวเองว่ากลุ่มมรสุมชายขอบเพื่อจัดนิทรรศการและแถลงข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ มูลนิธิ 14 ตุลาคม 2516 โดยได้รับการสนับสนุนการจัดนิทรรศการบางส่วนจาก ศ. ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ค่า ใช้จ่ายส่วนหนึ่งมาจากเบี้ยประชุมครั้งละ 1,200 บาทที่ผมได้จากอนุกรรมการฯ นั้นเอง และที่เหลือเป็นเงินส่วน ตัวของผมที่ได้จากงานวิจัยต่างๆ (เพราะฉะนั้น ไม่ต้องสงสัยว่าใครจ้างนะครับ) เอกสารเผยแพร่ชุดนั้นสามารถ download ได้จากลิงค์นี้ครับ http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/wp-content/uploads/2011/05/ เอกสารฉบับสมบูรณ์-small-file-size.pdf หรือจาก http://fringer.org/wp-content/writings/13-20May- Facts.pdf)   ในขณะนั้นที่เห็นคือความยุ่งยากในการจัดการความจริงเบื้องต้น เพราะต้องการหาคำตอบว่าอะไรคือ ความจริงจากมุมต่างๆ เพราะความจริงไม่ได้เป็นอิสระจากตัวมันเอง หากแต่มีอุดมการณ์ทางการเมือง อคติ ทางการเมือง ความรัก ความเกลียด ผสมปนเปกันอยู่   ในแง่นี้ผมจึงเห็นว่าควรจะต้องรวบรวมเอกสารเบื้องต้น เพื่อหาลำดับเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น ตั้งแต่ เช้าจรดเย็นของวันที่เกิดการปะทะกับ ใครบาดเจ็บ เสียชีวิต พฤติการณ์แห่งความบาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้น เพราะเหตุใด และในการเสียชีวิตนั้นระดับความรุนแรงของบาดแผลเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมสามารถเขียนข้อสังเกตเบื้องต้นที่ได้เผยแพร่ใน blog นี้เอง (ดูบทความย้อนหลัง "ข้อสังเกตเรื่องกายภาพของความขัดแย้ง และการยกระดับความรุนแรงในเหตุการณ์พฤษภาคม 2553" ได้ที่ http://blogazine.in.th/blogs/pandit-chanrochanakit/post/4728) หลังจากนั้น ผมก็ได้เข้าร่วมกับ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) เพื่อจัดทำรายงานร่วมกับเพื่อนพี่น้องนักวิชาการจากต่างสถาบันจนเป็นรายงานฉบับที่ หนากว่า 500 หน้า พร้อม คลิป vdo และมีข้อมูลเผยแพร่ดังนี้ http://www.pic2010.org  ความคับข้องใจของผมก็คือ รายงานสุดท้ายของ คอป. และ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ (กสม.) เนื่องเพราะรายงานทุกฉบับที่ว่ามานั้น ถูกมองและถูกใช้แตกต่างกัน ส่งผลสะเทือนต่อความรับ 5
  • 6. รู้ของสาธารณชนต่อกรณีดังกล่าวไม่น้อย และขยายผลมาถึงการชุมนุมต่อต้านร่าง พรบ. นิรโทษกรรม และ ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้ง และถูกมวลมหาประชาชน กปปส. ที่ยกระดับจนถึงขั้น ต่อต้านการเลือกตั้ง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 การปะทะกันประปราย มีผู้บาดเจ็บ ล้มตายไม่น้อย แม้กระทั่ง หลังรัฐประหาร จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเกิดการปรองดอง งานวิจัยของผมเริ่มจากการตั้งคำถามในสิ่งเหล่านี้มานานหลายปี จนกระทั่งได้เขียนโครงการสมัครทุน US-ASEAN Visiting Scholar 2014 ก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยผมได้รับการตอบรับจาก โครงการไทยศึกษา Asia Center แห่ง Harvard University ให้มาทำวิจัยเป็นเวลา 4 เดือน แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ แต่ผมถือว่านี่เป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดเรื่องคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความ จริงในระดับสากล และมองย้อนกลับมาในอาเซียน เพื่อทบทวนบทเรียนประกอบกัน ถึงตอนนี้ขอพักเรื่องงานวิจัยก่อนนะครับ เมื่อมาถึงใหม่ๆ ผมต้องรีบหาบ้านพักโดยเร็ว ค่าเช่าบ้านที่นี่สูงมาก เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ในสหรัฐ แต่ผมมองถึงขีดจำกัดเรื่องเวลาที่มีไม่มาก ต้องรีบตั้งหลัก ปรับตัว ทำงานให้เร็วที่สุด ด้วยความช่วยเหลือของ เพื่อนจึงได้บ้านที่ดี เดินทางสะดวก ปลอดภัย เหมาะสมกับการพักผ่อนและทำงาน หลังจากนั้นก็ต้องรีบไป ประชุมที่วอชิงตัน ดีซี และได้พบกับเจ้าหน้าที่ของ US Department of State ด้วย เพราะพวกเขาต้องการเชื่อม โยงกับนักวิชาการจาก ASEAN ในโครงการนี้นี่เอง เผื่อบางคนสงสัย ผมได้พบกับเจ้าหน้าที่ยุทธศาสตร์ด้านเอเชียแปซิฟิค คุณคริสตี้ เคนนี่ อดีตเอ กอัครรราชทูตประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตไทยและในงานเลี้ยงรับรองได้พบกับคุณ Daniel Russel ที่ได้ address งานวิจัยผมด้วยเล็กน้อยว่านักวิชาการ US ASEAN รุ่นสองนี่มีความหลากหลายมากตั้งแต่ transitional justice, wild life traficking, ELS, maritime law เป็นต้น แถมยังได้ไปงานเลี้ยงถวายพระพร เนื่อง ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาที่สถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี จัดขึ้นด้วย การเดินทางครั้งนี้จึงไม่ได้หลบๆ ซ่อนๆ แต่ประการใด ในระหว่างนั้นเป็นช่วงเทศกาลตั้งแต่วันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving day) วันคริสต์มาสที่หยุดยาว เลยมาถึงหลังปีใหม่ มหาวิทยาลัยถึงได้เริ่มเปิดเทอมอีกครั้งหนึ่ง ยังไม่ทันไรก็เข้าสู่ช่วงพายุหิมะ Juno ที่พัดเอาความหนาวเย็นในระดับ -18 องศาเซลเซียสมาเยือน และยังแถมพายุหิมะขนาดย่อมที่ความสูงเกือบสองฟุตมาให้ผมชมระหว่างกำลังเขียนบทความนี้ ความหนาวเย็นยังไม่เท่าไหร่ แต่ปุยหิมะที่งดงาม ในยามที่มันเปียกชื้นและเริ่มละลาย จากหิมะ ตกมา เป็นเกล็ดน้ำแข็งช่างทรมานใจสำหรับคนเมืองร้อนอย่างผม แม้สมัยเรียนจะเรียนที่สหรัฐฯ แต่ก็เป็นเมืองชาย ขอบเขตร้อนอย่าง Honolulu เป็นชาวเกาะลั้ลลาสบายใจไม่มีอากาศเหน็บหนาวแบบนี้ ไม่นับเรื่องผดผื่นที่เกิด อาการแพ้อากาศและต้องชโลมตัวด้วยโลชั่นรักษาอาการ ผลของพายุหิมะ ทำให้ไปไหนไม่ได้หลายวัน ดีที่มีการแจ้งเตือนภัย และต้องย้ำด้วยว่าระบบการเตือน ภัยที่นี่ดีมาก การพยากรณ์อากาศเรียกได้ว่าแม่นยำมาก ผลของการอุดอู้ในบ้านและต้องเปิดเครื่องทำความอุ่น ต่อเนื่องทำให้ค่าไฟฟ้าของผมทะลุไปที่สองร้อยกว่าเหรียญ! ในอีกด้านหนึ่ง การใช้ชีวิตที่นี่ต้องวางแผน เตรียมตัวล่วงหน้าพอสมควร ความวุ่นวายในการเดิน ทางในพายุก็เป็นเรื่องใหญ่ เสื้อผ้าก็เรื่องใหญ่ อาหารการกินก็ต้องเตรียม ชีวิตที่นี่ไม่ง่ายอย่างที่คิด โชคดีที่ผมชอบทำกับข้าวกินเอง รสชาติก็พอใช้ได้ และเพื่อนๆ เองก็ชอบทำ โดยเฉพาะอาจารย์พิชญ์ ผมก็เลยสบายท้องไปหลายมื้อเลย 6
  • 7. ผมมีเวลาเหลือไม่มาก จึงพยายามตุนหนังสือที่ต้องใช้เอาไว้ที่บ้าน แต่ก็ต้องไปทำงานที่ห้องสมุดบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ในวันที่อากาศดีจึงเหมาะกับการไปทำงานนอกบ้าน และถือโอกาสเดินชมเมืองบ้างตาม ประสา แต่งานที่คิดไว้ ก็เพิ่งจะเริ่มต้น ไม่ทันไรก็จะต้องกลับ อนิจจา! (3) เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุ หิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน ครั้งแรกพายุหิมะยูโน (Juno) มาเมื่อเมื่อ 26-28 มกราคม แต่ส่งผลกระทบคือกองหิมะท่วมรถราที่จอด ข้างถนนและท้องถนนของเมือง การจราจรเป็นอัมพาต แม้รถไฟใต้ดินก็ยังได้รับผลกระทบ เมื่อวันอาทิตย์ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็มีพายุหิมะเข้ามาอีกลูกหนึ่ง คราวนี้หิมะตกหนากว่าสองฟุต ที่ ร้ายกว่านั่น ผมต้องลงมาโกยหิมะเองเป็นครั้งแรก เพราะเจ้าของบ้านพาลูกเมียและหมาหนีหนาวไป เขาเลย ฝากบ้านไว้ และผมเองไม่รังเกียจอะไรที่จะลองโกยหิมะดู การผ่านมาของพายุหิมะทำให้ต้องหยุดเรียนและกิจกรรมต่างๆ ปกติที่ผมไปทำงานช่วงสายถึงเย็นใน ห้องสมุดก็ต้องยกเลิกโดยปริยาย ที่สำคัญค่าไฟฟ้านั้นคงไม่ลดลงไปมาก แม้จะพยายามประหยัดก็ตาม พายุหิมะที่ตกมานั้นสวยงาม เป็นปุยนุ่น แต่เมื่อยามมันสะสมมากๆ เข้า มันคือภัยธรรมชาติ และ จัดการยาก ล่าสุดเมืองบอสตันประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับหิมะกองเบ้อเร่อ และนี่คือข้อเท็จจริงที่มาจาก สื่อ   1. ปริมาณหิมะที่เมืองบอสตันขนย้ายขณะนี้เทียบเท่ากับปริมาตรของสนามฟุตบอล Gillette ถึง 72 สนาม 2. ปริมาณหิมะสะสมขณะนี้น่าจะราวๆ หกฟุต เกือบเท่าความสูงของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลคนดัง ของที่นี่ 3. เมืองบอสตันใช้เวลากว่า 112,881ชั่วโมงในการขนย้ายหิมะ นับถึงวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 4. เมืองบอสตันใช้เครื่องกำจัดหิมะละลายได้ราว 350 ตันต่อชั่วโมง 5. เมืองใช้รถบรรทุกขนหิมะกว่า 6000 เที่ยว 6. ใช้เกลือ 57500 ตัน เพื่อป้องกันถนนลื่น หรือเทียบน้ำหนักเท่ากับช้าง 8200 ตัว 7. บริษัทซ่อมหลังคาถูกโทรตามกว่า 300 ครั้ง เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา  8. รถเก็บกวาดหิมะในเมืองวิ่งรวมกันกว่า 210,000 ไมล์ หรือ 52 เท่าของแม่น้ำอเมซอนที่ยาวราว 4,000 ไมล์ 9. เด็กๆ หยุดเรียนมาแล้ว 9 วัน (รายละเอียดเพิ่มเติม ดู http://abcnews.go.com/US/boston-snow-storm-facts-show-citys-dealing/ stor...)   วันก่อนคุยกับเพื่อนเก่าบางคนเธอคงอดเหน็บแนมผมไม่ได้ว่าเขาให้มาเรียนหนังสือทำวิจัย 7
  • 8. แต่ผมยังจำคำอาจารย์ท่านหนึ่งที่บอกว่า บัณฑิต อย่ามาเรียนแต่หนังสือ เรียนเรื่องอื่นด้วยเรื่องหิมะ จึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าติดอยู่หิมะแล้วไปไหนมาไหนไม่ได้ แต่มันหมายถึงเรียนรู้การใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่ง  ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย? (4) ผมนั่งมองปุยหิมะที่พริ้วลงมาตามสายลมตาปริบๆ บางทีสายลมเกรี้ยวกราดพัดมันปลิวเป็นสาย เลื้อยไหลตามถนนและหลืบบ้าน บางทีมันอ้อยอิ่ง ค่อยๆ พริ้วลงมา แต่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด  นับเป็นครั้งที่สามแล้วที่มีพายุหิมะและสะเทือนบ้านเมืองถึงขั้นต้องหยุดเรียน หยุดการเดินรถไฟใต้ดิน และห้ามจอดรถราบนถนน เมืองทั้งเมืองสงบเงียบ ประชาชนได้รับการเตือนให้อยู่ในอาคารที่พักอาศัย ขณะที่ เมืองกำลังสาละวนแก้ปัญหาการสะสมของหิมะที่พัดมาอย่างต่อเนื่อง ในวันเสาร์ 14 กุมภาพันธ์ตอนบ่ายสี่โมง หิมะก็ล่องลอยลงมาอย่างหนาตา ถมชั้นของหิมะก่อนหน้านี้และหนาจนมองไม่เห็นอะไรนอกจากท้องฟ้าขาว โพลน อุณหภูมิลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บางช่วงในกลางดึกลดลงเหลือ -19 ถึง  -20 องศาเซลเซียส ซึ่งผมไม่ อยากคิดเลยว่าหากออกไปข้างนอกจะเป็นอย่างไร เพราะมันมีสิ่งที่เรียกว่า wind chill effect เข้ามาประกอบ ทำให้อุณหภูมิลดลงอีกราว 10 องศา จากที่-19 ก็เป็น รู้สึกจริงๆ ว่าอุณหภูมิ -29 เป็นต้น หิมะสวยงามก็จริง โรแมนติคก็จริง แต่ไม่ใช่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ถ้ามันมากไป ถึงมากที่สุด ที่มันกระทบมากคือการใช้ชีวิตปกติที่พวกเรา (นักวิชาการไทย) พยายามทำ เช่น อาจารย์พิชญ์กับอา จารย์อรัญญาพยายามไปเรียนให้ได้มากที่สุดตามตาราง แต่ยามหิมะตกหนักแบบนี้ ทั้งนักศึกษาและผู้สอนต่างก็ ต้องวางตารางการสอนชดเชย แม้ผมจะไม่มีตารางเรียน เพราะเป็นนักวิจัยอาคันตุกะที่มาระยะสั้น หากเข้าเรียนแล้วไม่อยู่ครบช่วง นอกจากจะเสียมารยาทแล้ว ยังจะพาลทำงานที่ค้างคาอยู่ให้สำเร็จได้ยาก เพราะการเรียนที่นี่คือการเรียนจริงๆ โดยเฉพาะการเรียนวิชาสัมมนาชั้นบัณฑิตศึกษา ที่อาจารย์ทั้งสองคนต่างตั้งใจเรียนจนผมอายทุกครั้ง ส่วนผมเอง พยายามไปนั่งทำงานในหอสมุดที่ห้องอ่านหนังสือขนาดใหญ่ เพราะอากาศอบอุ่นและแสง สว่างพอกับความต้องการ เก้าอี้และโต๊ะนั่งมีขนาดพอดีไม่ทรมาน แต่เหมือนฟ้าดินไม่ค่อยเป็นใจเท่าไหร่ การอุดอู้อยู่ในห้องทั้งวันนอกจากจะเปลืองไฟแล้ว ยังทำให้ผมต้องนั่งเก้าอี้ที่ทำให้ปวดหลังได้ ผมจึง พยายามออกมาทำงานที่ห้องสมุดหรือห้องทำงานที่มหาวิทยาลัย นอกจากจะได้เจอเพื่อนแล้ว ยังสามารถเข้า ร่วมกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย หากเบื่อมากๆ ที่ฮาร์วาร์ดยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บของชั้นดีเอาไว้มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ที่ รวบรวมเอางานชิ้นเอกเอาไว้ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่มีฟอสซิลไดโนเสาร์ สัตว์ต่างๆ มากมาย พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา  เป็นต้น แม้จะมีพิพิธภัณฑ์จำนวนหนึ่งที่ไม่เปิดให้เข้าชม เช่น พิพิธภัณฑ์ Zoology ที่ เข้าใจว่าสงวนให้นักศึกษา นักวิจัย แต่นี่สะท้อนหลักการสำคัญของการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกว่า ทุกอย่างมีไว้เพื่อการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยเสรีภาพเป็นเนื้อนาบุญให้ความรู้นั้นงอกงาม สิทธิพิเศษเล็กๆ น้อยที่ผมมีคือการเชิญแขกเข้าชมได้ฟรีหนึ่งคน ดังนั้น ผมมักจะหน้าบานเป็นพิเศษ เมื่อมีเพื่อนมาเยี่ยม (ซึ่งไม่มาก) และได้พาพวกเขาไปดูสิ่งต่างๆ ที่ชุดสะสมของมหาวิทยาลัยที่เก็บรักษาและ สะสมไว้อย่างดีเยี่ยม ต้องอธิบายเพิ่มว่า ผมเองมาในช่วงท้ายของภาคการศึกษา Fall 2014 และเป็นช่วงวันหยุดคริสตมาส หยุดปีใหม่ กว่าจะเปิดก็ค่อนเดือนมกราคม แถมเจอพายุหิมะแบบนี้ กิจกรรมการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยก็สะเทือนไปมาก 8
  • 9. อาจารย์พิชญ์เปรยให้ผมได้ยินบ่อยๆ ว่า มหาวิทยาลัยเค้ามีไว้สอนหนังสือ (หมายถึงมีไว้เพื่อการเรียน การสอนและแสวงหาความรู้) เพราะฉะนั้น ฮาร์วาร์ดไม่ได้ปิดพร่ำเพรื่อ และอาจารย์นักศึกษา (เท่าที่ได้เจอ) ก็ ไม่ได้ยินดีกับภัยธรรมชาติแบบนี้เท่าไหร่นัก  นี่ไม่รวมถึงการใช้ชีวิตของพวกเราที่ต้องตุนอาหารการกินเผื่อเอาไว้หลายๆ วัน ที่ต้องเตรียมไว้หลายวัน ไม่ได้กลัวอดอยากแต่อย่างใด แต่เป็นวิถีชีวิตปกติของเราที่กินเร็วๆ ง่ายๆ เพื่อเอาเวลาไปทำงาน อ่านหนังสือ นั่งเรียน (เวิ่นเว้อนิดหน่อย) ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของพวกเราก็คือการไป กินติ่มซำในตลาดเยาวราชของเมืองในวันเสาร์ที่เราจะได้กินของที่เราไม่ได้ปรุงเองบ้าง (ฮา)  แต่การมีภัยภิบัติอย่างนี้ ทำให้ร้านรวงต้องปิดตามๆ กัน กระทั่งการขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์ รถไฟใต้ดินก็ต้องหยุด บางสายมีบริการ แต่ต้องจอดเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผู้โดยสารไปต่อรถบัสเป็นต้น สภาพอย่างนี้จึงต้องเตรียมอาหารไว้เผื่อเหตุฉุกเฉินกว่านี้ และต้องย้ำอีกว่าเมืองบอสตันก็เคยเป็นเป้า หมายการก่อการร้าย ดังที่เกิดกรณีการวางระเบิดระหว่างการแข่งขันบอสตันมาราธอนเมื่อเดือนเมษายน ปี 2013 เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นเรื่องตลกขบขันอะไรนัก ในช่วงที่ผ่านมาพวกเราก็ได้พูดคุยกันเรื่องการจัดกิจกรรมวิชาการมาบ้าง เพิ่งมีโอกาสได้ประชุมพร้อม หน้าพร้อมตากันเมื่อวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ว่าเราจะจัดกิจกรรมทางวิชาการกัน สำหรับโครงการไทยศึกษา และผมเองจะเป็นผู้พูดคนแรกของภาคการศึกษานี้ นอกจากนี้ยังจะมี workshop แบบวงปิดเรื่องสื่อใหม่กับการปฏิวัติสังคมในเอเชีย ที่คิดกันเอาไว้ตั้งแต่ คริสตมาสปีก่อน  ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ พายุหิมะก็กำลังตกอย่างต่อเนื่อง จะว่าไปก็คือตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แน่นอนครับ โรแมนติดมากๆ ในท่ามกลางหิมะ มองไปนอกหน้าต่างไม่มีอะไรเลย นอกจากปุยหิมะ ขาวๆ  โรแมนติคโคตรๆ โชคดีที่เมื่อวานนี้ คือวันที่ 16 กุมภาพันธ์เป็นวันประธานาธิบดีที่ประกาศเป็นวันหยุดและมีการลด ราคาสินค้าในหลายๆที่ ที่สำคัญคือหิมะหยุดตกให้คนออกไปสูดอากาศนอกบ้าน แม้แดดจะแรงมากๆ แต่ อุณหภูมิก็อยู่ที่ -9 ถึง -16 (นี่ยังไม่ได้บวกกับ wind chill effect อีกนะครับ)  มาวันนี้เว้นว่างยามเช้า แต่สายบ่ายลงมา ถึงตอนนี้ยังตกอย่างต่อเนื่อง หิมะมากขนาดไหน ผมเอารูปสถาบันเพื่อนบ้านมาให้ดูครับ จากข่าวก็คือ MIT ใช้วิธีเกรดหิมะเป็นกอง จนได้ภูเขาสูงในแคมปัส ที่แม้ว่าตำรวจจะห้ามคนเข้าไปเล่น แต่ก็มีคนไปเล่นสกี และเลื่อนหิมะกันอย่างไม่กลัว เกรง  วัยอย่างผมนี้ก็ได้แต่มองครับ (5) เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์) หิมะยังโปรยเป็นสายลงมาไม่หยุดตั้งแต่ยามบ่าย นี่เป็นพายุหิมะระลอกที่สี่ เพียงแต่คราวนี้ไม่ยาวนานเหมือนครั้งก่อนๆ ในยามที่หิมะตกมาเป็นละอองเย็นๆ ยิ่งต้องระวัง เพราะหากสูด 9
  • 10. เข้าไปมากๆ อาจมีอาการป่วยได้ พวกเราเอง รวมทั้งผมต่างก็มีอาการป่วยกันคนละเล็กคนละน้อย เพราะสภาพ อากาศที่แปรปรวนอย่างนี้ สำหรับคนไกลบ้านที่อยู่คนเดียว สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดคือการล้มหมอนนอนเสื่อ เพราะ นอกจากจะเป็นความทรมานสังขารและจิตใจแล้ว ยังอาจรบกวนเพื่อนฝูงอีกด้วย การไม่ล้มป่วยจึงเป็นสิ่งที่ดี ที่สุด แม้กระนั้น สังขารก็เป็นเรื่องไม่เที่ยงแท้จริงๆ เมื่อยามหนุ่มสาวนั่งทำงานไม่หลับไม่นอนได้เป็นวันๆ เดี๋ยวนี้ชั่วโมงทำงานลดลง แต่พยายามทำงานให้ได้ตามเป้าหมายของตัวเองก็นับว่ายากแล้วจริงๆ ในช่วงที่ผ่านมา ผมมีโอกาสทำงานค้างเก่าไว้เรื่องหนึ่ง คือเรื่องรัฐธรรมนูญ 2521 ที่เขียนค้างไว้นับสิบ ปีแล้ว สาเหตุสำคัญคือไม่มีเวลานานพอที่จะอ่านเอกสารให้เห็นภาพรวม เพราะความเคยชินกับการทำงานที่ ต้องอ่านให้รอบด้านก่อน มาคราวนี้จึงมีเวลาทบทวนร่างที่เขียนเอาไว้และเขียนใกล้เสร็จแล้ว เมื่อได้อ่านทบทวนการเขียนรัฐธรรมนูญในอดีตก็สะท้อนใจมากๆ เพราะฉบับ พ.ศ. 2521 ถูกระบุไว้ ชัดในกรอบธรรมนูญการปกครอง 2520 ว่าต้องให้เกิดการเลือกตั้งภายในปี 2521 ให้ได้ และหากเกิดข้อผิด พลาดก็สามารถขยายเวลาออกไปได้เพียงไม่เกิน 120 วันเท่านั้น  กำเนิดของรัฐธรรมนูญฉบับ 2521 แม้จะงอกจากอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ยังสู้แรงกดดันจากฝ่ายนิยม ประชาธิปไตยไม่ได้ จึงต้องปรับความตึงให้เหลือลักษณะที่เรียกว่ากึ่งประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือ กึ่งอำมาตยาธิปไตย-กึ่งประชาธิปไตย ตามแต่สะดวกจะเรียก  ที่เล่ามาก็เป็นงานหนึ่งที่ผมทำระหว่างอยู่ที่นี่ อีกส่วนหนึ่ง ก็คืองานที่ต้องพูดในการสัมมนาไทยศึกษาของฮาร์วาร์ด ผมจะพูดเรื่องความเป็นมาอย่าง ย่อของคณะกรรมการตรวจสอบค้นหาความจริงในเมืองไทย : วัฒนธรรมแห่งความคลุมเครือและละเลยไม่เอา โทษ ช่วงบ่ายสี่โมง ในวันที่ 4 มีนาคมนี้ ส่วนอีกงานหนึ่ง ก็ตามภาพที่แนบมา คือเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการปกครองควบคุมในชีวิตประจำวัน ของประเทศไทย: อดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของโครงการไทยศึกษาที่มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ในวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม ทั้งวัน เดือนหน้า วันแรกของเดือนเมษายน (บางคนเรียกว่าเมษาหน้าโง่ ที่เอาเรื่องแปลกๆ มาอำ กันเล่นๆ โดยไม่ถือสาหาความ) เราก็จะมีเวทีเล็กๆ เพื่อคุยเรื่อง social media กับการเปลี่ยนแปลงสังคม ตอนนี้กำลัง ติดต่อวิทยากรอยู่ บอกแล้วว่าไม่ได้มาตากหิมะเล่นๆ มาทำงาน ตารางกิจกรรมนะครับ     Forum on Human Rights and Everyday Governance in Thailand: Past, Present and Future   Friday, March 6, 2015; 9 a.m.-5 p.m. K050, CGIS Knafel, 1737 Cambridge St., Cambridge Sponsored by the Thai Studies Program, Harvard University Asia Center 10
  • 11.   8:45am: Arrival and registration   9:15am: Welcome and Introduction, Michael Herzfeld   9. 25am: Tyrell Haberkorn, (Australian National University)                   Dangerous to the Nation: Seventy Years of Arbitrary Detention in Thailand    9.50am: Yukti Mukdawijitra, (Thammasat University) Selective Human Rights in Thai style: Social Conflicts, Cultural Politics and Legal Limits of Human Rights in Thailand.   10. 15am: Q+A   10.35am: Tea and Coffee Break   11.00am: Pandit Chanrochanakit, (Ramkhamhaeng University)                   Deformed Thai Politics: No Public Space for Pro-democratic Movements   11.25am: Benjamin Zawacki, (Visiting Fellow in the Human Rights Program at Harvard Law School)                   A Perfect Storm: Forecasting Human Rights in Thailand.   11. 50am: Q+A   12.10pm: Break for lunch     1.00pm: Video interview from Pitch Pongsawat, (Chulalongkorn University)   1. 10pm: Pinkaew Laungaramsri , (Chiang Mai University)                   Mass Surveillance and the Militarization of Cyber Space in Post-coup Thailand.    1.35pm: Duncan McCargo, (Leeds University )                   Dispensing  Justice: The Work of Thai Police Investigators.   2.00pm: Q+A   11
  • 12. 2.20pm:  Graeme Bristol, (Centre for Architecture and Human Rights)                   Economic, Social and Cultural Rights and Development Practice.   2.45pm: Michael Herzfeld, (Harvard University)                   Pragmatic Social Justice and the Problem of the Right to Dignity                   3.10pm: Q+A   3.25pm: Tea and Coffee Break.   3.45pm Discussant: Gazmend Kapllani, (Emerson College)   4.00pm: Overview and General Discussion. (6) คืนนี้หิมะโปรยลงมาตั้งแต่เย็น เป็นการฉลองวันคล้ายวันเกิดที่ห่างบ้านไม่น้อยทีเดียว แต่ก็เป็นเรื่อง ธรรมดา เพราะที่ผ่านมาก็เป็นแบบนี้ในหลายโอกาส เพราะวันคล้ายวันเกิดไม่มีอะไรต้องฉลองนอกเสียจากทบทวนชีวิตตัวเองว่าผ่านอะไรมาบ้าง   ย้อนไปสองปีก่อนได้รับหิมะโปรยปรายมาในราวป่าที่เนเธอร์แลนด์ ปีนี้ก็ได้หิมะที่งดงามเยือกเย็นที่ บอสตัน จวบจนวันนี้ก็ไม่มีท่าทีจะเข้าสู่ฤดูดอกไม้ผลิ แต่ใครจักฝืนฤดูกาลได้ เพราะในที่สุดฤดูใบไม้ผลิจักต้อง มาถึง ในสามวันที่ผ่านมา เป็นช่วงสปริงเบรค (Spring break) ที่บรรดานักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้หยุดพัก ครึ่งเทอม หลังจากเรียนกันอย่างเอาเป็นเอาตายในช่วงต้นภาคเรียน สปริงเบรคมีความหมายมาก เพราะสำหรับนักศึกษานี่คือช่วงพักที่จะได้ออกไปเรียนรู้ สำหรับบางคน คือการปาร์ตี้ แต่คนจำนวนไม่น้อยก็เลือกจำศีล  พวกเราก็มีโอกาสไปหาความรู้และความสุขเล็กๆ น้อยๆ ในเมืองวูสเตอร์ (Worcester) มีเมืองเล็กชื่อ มอนสั้น (Monson) แต่พวกเราอยากเรียกว่าม่อนสัน เพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งมีนิวาสถานอันงดงามอยู่ริม ทะเลสาบสวรรค์ (Paradise Lake) ของที่นี่  เพราะเจ้าของบ้านเป็นคนมีน้ำใจงามและกว้างขวาง จึงต้อนรับอย่างดี ตัวผมเองเคยมาพักที่นี่แล้วครั้ง หนึ่ง แต่เป็นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง อากาศเริ่มหนาวเย็น แต่ก็ไม่เท่ายามนี้ เพราะน้ำในทะเลสาบยังเป็นน้ำแข็ง อยู่ แม้จะละลายไปบ้าง แต่ยังคงเดินหรือเล่นสเก็ตได้สบายๆ นับว่าเปิดหูเปิดตาให้ได้เข้าใจความเปลี่ยนแปลง ของดินฟ้าอากาศในยามหนาวได้อย่างถึงที่สุด เพราะตั้งแต่มาที่นี่เจอทั้งฝนหิมะ เกล็ดหิมะ ละอองหิมะ และพายุ หิมะ ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างฉับพลันหลายๆ ครั้งจนถึงลบ 18 องศาเซลเซียส วิชาที่เรียนคือวิชาว่าด้วยโลกและดินฟ้าอากาศและเรียนทางตรงกันทีเดียว 12
  • 13. หากจะมีประโยชน์อยู่บ้างก็ช่วยให้เข้าใจชีวิตคนที่นี่ว่าต้องเตรียมการมากน้อยอย่างไรในภาวะฉุกเฉิน และในภาวะที่ธรรมชาติสร้างกรอบจำกัดให้มากมาย การวางแผนชีวิตจึงสำคัญมากๆ แต่กว่าจะถึงวันนี้ การ ศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและการสร้างเครื่องมืออธิบายพยากรณ์อากาสล่วงหน้าได้นับเดือนๆ หรือทั้งปี ไม่ใช่เรื่องเล่นขายของ เพราะอากาศที่นี่หมายถึงชีวิต  เช่น เมื่อวาน (20 มีนาคม) จะมีหิมะตกลงในยามบ่าย หกโมงเย็นก็ตกโปรยลงมาเป็นสายไปเรื่อยๆ ส่วนวันนี้ (21 มีนาคม) พยากรณ์ว่าหิมะจะหยุดตกราวเที่ยงกว่า บ่ายโมง ก็หยุดจริงๆ สิ่งเหล่านี้สำคัญและจำเป็นจริงๆ ต่อการวางแผนชีวิตและอนาคต   เมื่อมาถึงเมืองวูสเตอร์ พวกเราตัดเข้าเมืองม่อนสันทางเมืองพาล์มเมอร์ เข้าถนนสายเล็กลงไม่นานก็ ถึงบ้านริมทะเลสาบ นักวิชาการอย่างพวกเราไม่มีอะไรมากไปกว่าการค้นหาเรื่องราวท้องถิ่นและความเป็นไป จุดหมายของพวกเราจึงอยู่ที่วิทยาลัยเม้าท์โฮลี่โยค (Mt. Holyyoke College)ซึ่งเป็นวิทยาลัยสตรีแห่ง แรกของประเทศ มีเรือนกระจกที่ปลูกไม้ดอกงามอย่าง ทิวลิป แคคตัส และไม้เขตร้อนที่การรักษาดูแลอย่างดี เพียงวูบแรกที่เข้าไปในเรือนกระจกก็ช่างประทับใจเพราะกลิ่นหอมจรุงของดอกไม้ชำแรกมาในโสตประสาท ทันใด มีแม้กระทั่งต้นกล้วยที่แตกช่อออกปลีให้เห็นในยามหิมะโปรยเป็นสายมาหลายสัปดาห์   จากนั้นวันรุ่งขึ้นก็ไปชมเมืองใกล้ๆ พวกเรายังได้แวะผ่าน University of Massachusetts Amhurst และไปร้านหนังสือข้างแม่น้ำเล็กที่ชื่อ Book Mill ผมเองแบกหนังสือจนไหล่แอ่น เพราะเจอหนังสือถูกใจใช้ใน งานวิจัยได้ด้วย เรายังไปชมวิทยาลัยสมิธ (Smith College) ที่มีเรือนกระจกและก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ ที่ สำคัญเป็นวิทยาลัยหญิงล้วนในกลุ่ม seven sisters หรือวิทยาลัยเจ็ดแห่งที่เมืองนอร์ทแธมตัน และได้แวะซื้อ หนังสือที่ร้าน Raven เมืองนี้มีชื่อเรื่องการให้ความสำคัญกับบทบาทสตรีและกลุ่มคนที่รักเพศเดียวกัน  บำเหน็จเล็กๆ น้อยของผมก็คือการได้กินข้าวซอยเนื้อหน้าวิทยาลัย รสชาติดั้งเดิมและกลมกล่อมที เดียวครับ หายคิดถึงอาหารเหนือไปพักใหญ่   ข้อคิดสำคัญจากการเยี่ยมชมวิทยาลัยแถวนี้ก็คือ คนที่นี่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับปริญญา ตรีอย่างมาก โดยเฉพาะด้านศิลปศาสตร์ (Liberal arts) ที่จะเป็นฐานการคิดของนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในชั้นสูง ขึ้นไป ว่ากันว่าวิทยาลัยขนาดเล็กเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น Mount Holyyoke, Amhurst College, Wesleyan, Wellesley, Smith College หรือที่อื่นๆ เป็นที่ที่บรรดาผู้ดีมีสตางค์ของประเทศนี้ส่งลูกหลานมาเรียน พื้นฐาน ภาษาและวิชาการจึงแน่น เพราะขนาดของวิทยาลัยไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่จะรองรับและฟูมฟักนักศึกษาให้เป็น บัณฑิตที่มีความสามารถรอบด้าน   เรื่องนี้ทำเอาผมฝันไปไกล เพราะความฝันของผมคือผมอยากเห็นวิทยาลัยขนาดเล็กแบบนี้ในเมืองไทย มีนักศึกษาสักสามสี่คณะ ไม่เกินชั้นปีละ 150 คน รวมสี่ชั้นปีก็ราว 400-600 คน หากได้นักเรียนชั้นดี เราจะสามารถสร้างคนที่มีคุณภาพ ได้แน่ๆ 13
  • 14. แต่ความฝันมักสวนทางกับความจริง เมื่อคิดทบทวนว่า ในประเทศที่เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ สัมพันธ์กับภาระงาน และผู้กำหนดนโยบายการศึกษาชั้นสูงไม่เข้าใจเป้าหมายของการอุดมศึกษา ครูบาอาจารย์ ก็ไม่ต่างไปจากพนักงานเอกสาร ที่ต้องผลิตและหลอกผู้ตรวจประกันคุณภาพทั้งหลายไปวันๆ เผลอๆ อาจจะแย่กว่าคุณภาพชีวิตของครูประถมเสียด้วยซ้ำ (และก็น่าสนใจที่มีข้อมูลออกมาว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม ทั้งๆ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน)  พูดกันตามจริง ความหวังที่ว่าจะนำเอามหาวิทยาลัยไทยไปสู่ระดับโลกนั้นเป็นความฝันที่เลื่อนลอย เอามากกว่า และคงไม่มีใครใส่ใจจริงๆ จังๆ ในเมื่อตำแหน่งผู้บริหารจนถึงครูอาจารย์ในการอุดมศึกษายัง เป็นการไต่เต้าทางการเมืองแบบทื่อๆ และยิ่งเมื่อไร้การคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการ มหาวิทยาลัยชั้นสูงไม่มี อะไรต่างไปจากสถาบันสร้าง หล่อหลอมและผลิตซ้ำอุดมการณ์ชุดหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถนำมาซึ่งการ เปลี่ยนแปลงไปสู่คุณภาพใหม่ได้เลย ในโลกตะวันตกมหาวิทยาลัยไม่น้อยเกิดจากศาสนจักร เช่น เสื้อคลุมที่สวมใส่วันสำเร็จการศึกษาก็ เป็นเสื้อคลุมนักบวชนั่นเอง ผมเองหวังว่าศาสนจักรไทย วัดไทย จะมีความก้าวหน้าพอที่จะเลิกสร้างถาวรวัตถุเกินความจำเป็น แต่ควรหันมาลงทุนหรือสนับสนุนเงินทุนสร้างมหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาลมากกว่าจะสร้างเสนาสนะสถาน ของตนให้โอ่อ่าแต่เพียงอย่างเดียว นี่อาจจะยากยิ่งไปกว่าฝันลมๆ แล้งๆ ของผมเสียอีก นี่สินะที่เรียกว่า "ฝันกลางฤดูหนาว" (7) ผมมักเอ่ยถึงเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วเสมอ ด้วยความรู้สึกสามัญธรรมดาเหมือนกับหลายๆ คนที่ เชื่อว่า วันเวลาแห่งความสุขช่างผ่านไปรวดเร็วเสมอ แต่วันเวลาแห่งความทุกข์กลับผ่านไปอย่างเชื่องช้า ครั้งก่อนผมเอ่ยว่าฤดูใบไม้ผลิจักต้องมาถึง ก็มีมิตรสหายส่งปกหนังสือในชื่อนี้ของอดีตปัญญาชนท่าน หนึ่งมาให้ มิตรสหายท่านนั้นคงคิดถึงหนังสือเล่มนั้นไม่มากก็น้อย แต่ขอบอกว่าตอนที่เขียนก็ไม่ได้คิดถึงเขา เพราะในยามที่ผมเขียนเรื่องฤดูหนาวอันยาวนั้นมีที่มาจากการเดินทางทางจิตวิญญาณเมื่อปี 2556 ด้วยความ รู้สึกว่าฤดูหนาวปีนั้นยาวนานเหลือเกิน ประกอบกับได้ยินชื่อหนังสือชุดกระท่อมน้อยในป่าใหญ่ตอนฤดูหนาวอัน ยาวนาน ก็ประทับใจ เพราะผมยังจำความรู้สึกที่เปิดหน้าต่างบนห้องใต้หลังคาแล้วหิมะโปรยลงมาเป็นสาย แม้ ในยามปลายเดือนมีนาคมที่น่าจะเข้าฤดูใบไม้ผลิในยุโรปก็ตาม ในปีนี้ฤดูหนาวของผมก็เป็นฤดูหนาวที่ยาวนานที่สุดในชีวิตก็ว่าได้ เพราะนับเนื่องตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนมาจนถึงบัดนี้ก็ไม่มีทีท่าว่าความหนาวจะเลือนจากไปง่ายๆ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็มีหิมะโปรยลงมา เป็นสาย ราวกับจะสั่งลาความหนาวเย็นที่แผ่มานานหลายเดือน แต่ในยุโรปที่ผ่านสายตาของผม เมื่ออากาศอบอุ่นเข้าฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้จะงอกโผล่พ้นดินมาและเบ่ง บานให้เห็น การบังคับฤดูกาลเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในขีดความสามารถอันจำกัดของมนุษย์ อย่างไรก็ยังต้องพ่าย แพ้แก่ธรรมชาติ ระบอบการเมืองก็เช่นกัน 14
  • 15. ผมจึงเห็นว่าในที่สุด ฤดูใบไม้ผลิจักต้องมาถึงในที่สุด อีกเรื่องหนึ่งที่ฉุกคิดมาได้ระหว่างเขียนบทนำวิภาษาฉบับที่ 61 ก็คือ ตกลงแล้วผมเห็นว่าการ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 นั้น เป็นการยุติความรุนแรงที่มีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่  ขอขยายความในที่นี้เลยว่า ผมไม่เคยเห็นไปในทางที่ว่าการรัฐประหารจะแก้ปัญหาใดๆ ได้เลย ประวัติศาสตร์ของไทยที่ผ่านมา หรือกระทั่งในหลายๆ มุมของโลกนั้น ชี้ให้เห็นว่าการเข้าสู่อำนาจของทหาร ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเป็นกองกำลังติดอาวุธที่มีพลานุภาพมากที่สุดของทุกสังคม แต่การออกจากการเมืองของ ทหารไม่ใช่เรื่อง่าย และไม่ได้จบแบบเทพนิยายให้เราเห็น การเข้าสู่การเมืองของทหารด้วยการใช้กำลังควบคุมและพยายาม "ปฏิรูป" เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้ง เล่า เช่น การปฏิรูปวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หรือการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 จบลงด้วยการปะทะกันอย่าง รุนแรงในเดือนพฤษภาคม 2535 มาถึงการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ทำให้ระบอบการเมืองของไทย เริ่มบิดผันผิดรูป (deform) มาอย่างต่อเนื่อง  สรุปเบื้องต้นว่า การเข้าสู่การเมืองของทหารไม่ใช่เรื่องยาก เพราะสรรพกำลังและการสนับสนุน ระเบียบสังคมจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมและคนชั้นกลางที่ฝักใฝ่ระเบียบอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทำให้การเข้าสู่การเมือง ของทหารไม่ใช่เรื่องยาก ดังที่ผู้นำกองทัพถึงกับบอกว่า อย่ามาสู้กับทหารเลย สู้ยังไงก็ไม่ชนะ อันที่จริงฝ่าย นปช. น่าจะเข้าใจได้ชัดเจนที่สุดว่าเงื่อนไขของความพ่ายแพ้ทางการเมืองของนปช.และ พรรคเพื่อไทยก็คือการขาดฐานสนับสนุนจากคนชั้นกลางตลอดจนเครือข่ายอนุรักษ์นิยม แต่ทหารมักจะลืมอีกด้านหนึ่งของเหรียญคือ การถอนตัวออกจากการเมืองอย่างไร ไม่เพียงให่้ตัวเองดู สง่างาม แต่ยังหมายถึงการมีที่ทางในสังคมภายหลังจากลงจากอำนาจอีกด้วย การถอนตัวออกจากการเมืองจึงเป็นปริศนาที่รอคอยคำตอบเมื่อเวลาคลี่คลายของมันมาถึง ถึงแม้จะ พอเดาได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะต้องเดา เพราะทิศทาง แนวโน้มความเสื่อมทรามของการกำกับด้วยสรรพ กำลังนั้นมักปรากฏออกมาในรูปของความล้มเหลวเชิงนโยบาย ความไม่สามารถผลิตนโยบายที่ดีกว่าออกมาได้ หรือกระทั่งความล้มเหลวในการกุม "หัวใจ" ของคนชั้นกลางและฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่สำคัญ การใช้กำลังอาวุธกับประชาชนของตัวเองไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะทำให้ทหารสามารถควบคุม กำกับการเมืองไทยแต่ฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป แม้จะใช้กำลังอย่างถึงที่สุด ก็สามารถทำได้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม เท่านั้น หากมองในแง่ร้าย ทหารสามารถกำกับความเคลื่อนไหวด้วยการเรียกคนไปปรับทัศนคติ ก็กระทำได้ ในระดับจุลภาค แต่ก็ต้องแลกกับภาพพจน์เผด็จการในสายตาของชุมชนอารยะประเทศ ที่สำคัญ ประเทศไทย ไม่ใช่สามจังหวัดชายแดนใต้ หากจะยกระดับถึงขั้นนั้น จะส่งผลสะเทือนในระยะยาวอย่างไรบ้างก็คงจะเกินสติ ปัญญาของผมในเวลานี้  15
  • 16. (8) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เรามีการประชุมกลุ่มไทยศึกษาทุกวันพุธ โดยมีคนทั้งจากในฮาร์วาร์ดเอง และจากมหาวิทยาลัยข้างเคียง เช่น MIT มาร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการของพวกเรา ผมได้มีโอกาสนำเสนอรายงานวิจัยของผม เช่นเดียวกับนักวิชาการท่านอื่นๆ ที่นำเสนอรายงานบาง ส่วนของตัวเองไปแล้ว เช่น ผศ. ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, ดร. อรัญญา ศิริผล และ ผศ. ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ซึ่งต่างก็ทำวิจัยในเรื่องที่น่าสนใจมาก ผมจะขอเล่าเท่าที่จำรายละเอียดได้จากมุมมองของผมก็แล้วกันครับ ข้อ ผิดพลาดประการใดจากความทรงจำและการตีความของผมก็ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผมและขออภัย อาจารย์ทั้งสามท่านไว้ที่นี้ งานของอาจารย์พิชญ์เป็นการวิจัยเรื่องเมืองชายแดน พัฒนาต่อจากงานดุษฎีนิพนธ์ที่สนใจเมือง ชายแดนทางเหนือ เช่น แม่สายและแม่สอด แต่คราวนี้อาจารย์พิชญ์ใจเด็ด ลงทุนลงแรงไปศึกษาเมืองชายทะเล และสนใจเรื่อง sea borders ที่มีความน่าสนใจทั้งในแง่ของทรัพยากรทางทะเล และสิทธิเหนือน่านน้ำใน มหาสมุทร รวมไปถึงชีวิตของคนที่ทำงานเป็นลูกเรือในเรือประมง เป็นคนงานคัดปลา แยกปลาและสัตว์ทะเล อื่นๆ  ความน่าสนใจนอกจากชีวิตของคนแล้วยังรวมไปถึงมูลค่าทางการค้าอีกมหาศาลด้วย อันที่จริง หากรัฐบาลสนใจแก้ปัญหาเรื่องค้ามนุษย์จริงๆ จังๆ พอๆ กับภาคเอกชนที่ใกล้จะเดือดร้อน จากมาตรการของสหภาพยุโรป ก็น่าจะใส่ใจงานวิจัยของอาจารย์พิชญ์มากขึ้นและสนับสนุนการวิจัยในด้านนี้ให้ มาก เพราะอาจารย์พิชญ์ตั้งข้อสังเกตุเรื่องการค้าแรงงานมนุษย์หรือแรงงานทาสน่าจะลดลงมากกว่าที่เราเข้าใจ ปัญหาที่แท้จริงของแรงงานประมงน่าจะอยู่ที่พวกเขาไม่ได้พักผ่อนกลับบ้านในเวลาอันควร เพราะการจับปลา ต้องอาศัยการขนส่งที่รวดเร็วเพื่อรักษามูลค่าของสินค้าจากทะเลเอาไว้ให้ได้มากที่สุด จึงต้องส่งเรือขนาดเล็ก ออกไปหาปลา และใช้เรือบรรทุกปลาส่งกลับฝั่งเพื่อกระจายสินค้าก่อนจะเสื่อมสภาพลง ผมฟังงานของอาจารย์พิชญ์ด้วยความเพลิดเพลินและมองเห็นการศึกษาเรื่องยุทธศาสตร์การค้า การ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งยังต้องรวมไปถึงการสร้างระบบรองรับไม่ว่าจะ เป็นการดูแลคนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมประมง ซึี่งไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่เป็นพี่น้องจากประเทศเพื่อนบ้าน มากขึ้นเรื่อยๆ ระบบการกำกับการเคลื่อนย้ายแรงงานจึงสำคัญพอๆ กับการรักษาตลาดสินค้ามูลค่ามหาศาลใน ตลาดโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายอนาคตของประเทศไทยมาก ส่วนงานของอาจารย์อรัญญาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะเป็นงานศึกษาการค้าชายแดนไทยพม่าและอัต ลักษณ์ เอกลักษณ์ของกลุ่มจีนคณะชาติที่อยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่ามานับหลายสิบปี จนพวกเขากลายเป็น ส่วนหนึ่งของสังคมไทย  คนกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มจีนยูนนานที่เคยเป็นพลพรรคของกองพล 93 ซึ่งถอยร่นมาจากตอนใต้ของจีน จน มาอยู่ในเขตรอยต่อไทยพม่า และมีความผูกพันกับพรรคก๊กมินตั๋ง หรือ พรรค KMT มายาวนาน ในยามที่พรรค KMT เรืองอำนาจก็มีการช่วยเหลือเกื้อกูลตามสมควร แต่รัฐไทยเองก็พยายามกำกับความเคลื่อนไหวของพวก เขา และเคยแม้กระทั่ง “ใช้” พวกเขาสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาแล้ว ในปัจจุบัน กลายเป็นว่ารัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เองพยายามเข้ามามีบทบาทในการผูกใจของลูกหลาน จีนพลัดถิ่นเหล่านี้ผ่านหลักสูตรภาษาจีน ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าพรรค KMT ถอนร่นไปยังเกาะไต้หวัน การศึกษาภาษา จีนตามแบบไต้หวันก็เป็นระบบหนึ่ง การศึกษาภาษาจีนในแผ่นดินใหญ่ก็เป็นอีกระบบหนึ่ง การแทรกซึมผ่าน นโยบาย “เฉียวป้าน” จึงน่าสนใจมาก สำหรับคนที่สนใจเรื่องอิทธิพลจีนในอาเซียน อาจารย์อรัญญาเล่าเรื่องเหล่านี้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฟังด้วยความน่าสนใจและมีคนสนใจไต่ถาม มากมาย 16