SlideShare a Scribd company logo
1 of 45
Download to read offline
โดย คณะทำงำนทีมผู้นำรุ่นใหม่ด้ำนกำรจัดกำรควำมรู้ 
SPORT & LAW 
เอกสารประกอบการสัมมนา 
ตำมโครงกำรพัฒนำบุคลำกรด้ำนกฎหมำย 
และกำรให้ควำมเห็นทำงกฎหมำย เรื่อง “กีฬำกับกฎหมำย” 
22-25 สิงหำคม 2557
กีฬานั้นได้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมของมนุษยชาติอย่างแท้จริง กีฬาถือเป็นส่วนสาคัญในกิจกรรมทางสังคมของผู้คน ไม่ว่าจะเป็น การเล่นกีฬาเพื่อความเพลิดเพลิน หรือการเล่นเพื่อแข่งขันใน ระดับสมัครเล่น หรือเป็นการเล่นเพื่อเป็นอาชีพ นโยบายด้านกีฬา ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติต่างเห็นพ้องกันถึง ความสาคัญของกีฬาไม่ว่าในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เดิมนั้น กีฬาถือเป็นส่วนสาคัญของการพัฒนาทรัพยากรด้านบุคคลและ เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งระดับ ท้องถิ่น ระดับประเทศไปจนถึงระดับนานาชาติ ปัจ จุบัน กีฬา กาลังทวีความสาคัญด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันกีฬา ในรายการสาคัญจานวนมากที่มีการถ่ายทอดการแข่งขันผ่านทาง โทรทัศน์ เงินรางวัลและค่าตอบแทนผู้เล่น การโฆษณาสินค้าผ่าน รายการแข่งขัน ฯลฯ เหล่านี้ มีมูลค่ามหาศาลในทางเศรษฐกิจ 
ในปัจจุบัน กิจการด้านกีฬาได้ปรากฏปัญ หาข้อพิพาทที่มิได้มี เพียงแต่ข้อพิพาทในการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังปรากฏปัญ หาข้อ พิพาทในเรื่องอื่นๆ อีกจานวนมาก เช่น ปัญ หาการบริการจัดการ องค์กรด้านกีฬา ปัญ หาด้านความโปร่งใส ปัญ หาด้านสัญญาของ นักกีฬา ปัญ หาการประกอบอาชีพของนักกีฬา ปัญ หาการใช้สาร กระตุ้นในนักกีฬา หรือปัญ หาเกี่ยวกับสิทธิ์การถ่ายทอดสดการ แข่งขันกีฬา เป็นต้น แต่เนื่องจากกิจการด้านกีฬาเป็นเรื่องที่มี ความซับซ้อน หลากหลาย และมีลักษณะเฉพาะที่ค่อนข้างจะ แตกต่างไปจากกิจการอื่นๆ ที่รัฐเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ปัจ จุบัน กิจการกีฬามีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นการแข่งขันเพื่อ อาชีพที่มีลักษณะเป็นธุรกิจมากขึ้นในหลายชนิดกีฬา ปัญ หาที่ 
สารบัญ 
1. บทนา 2 
2. ตัวอย่างประเด็นปัญ หาที่เกิดขึ้น 
เกี่ยวกับการกีฬา 5 
2. องค์กรกีฬา (Sport Governing 
Body) 11 
3. การแข่งขันกีฬา 22 
5. กฎหมายเกี่ยวกับกีฬา 
ในประเทศไทย 25 
6. การกีฬาในทวีปยุโรป 30 
7. รายชื่อสมาพันธ์กีฬานานาชาติ 36 
8. รายชื่อสมาคมกีฬาในประเทศไทย 39 
9. บรรณานุกรม 44 
บทนำ 
Office of the Council of State 2
เกี่ยวกับความเหมาะสมของบทบาทของรัฐที่มีอานาจ หน้าที่่เกี่ยวกับกีฬาในระดับต่างๆ เริ่มปรากฏตัวมาก ขึ้น 
จุดเริ่มต้นของกีฬา - พื้นฐานของกิจกรรม ด้านกีฬาเป็นกิจกรรมเพื่อความรื่นเริงบันเทิงของ มนุษย์ คาว่า “sport” มาจากภาษาฝรั่งเศษ sporten แปลว่า to divert หรือ to turn และภาษาลาติน des- porto แปลว่า to carry away ความหมายโดยรวมก็ คือการเปลี่ยนทิศทางหรือการหันเหความสนใจของ คนเพื่อความรื่นเริง ในสมัยกลางในอังกฤษคานี้ หมายถึงการล่าสัตว์เท่านั้น จากนั้นกีฬาแข่งม้าก็เป็น ที่รู้จักในสมัยศตวรรษที่ 16 แต่ว่าวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์การกีฬาเริ่มในกีฬา Greek Olympics จัดขึ้นเมื่อปี 686 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตามกีฬา ชกมวยมีบันทึกไว้โดยชาวเอธิโอเปียเมื่อ 4000 ปี ก่อนคริสตกาล และกีฬาที่ใช้ลูกบอลในการเล่น คาด ว่ามีการเล่นเมื่อ 1400 ปีก่อนคริสตกาล ในเม็กซิโก ในตอนเริ่มต้น กีฬาเป็นเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา การ เอาชนะศัตรูหรือปฏิปัก ษ์ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ ตาม ธรรมชาติหรือเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการปลูก พืชหรือเลี้ยงสัตว์ ดังที่ได้กล่าวรากศัพย์มาจากการ หันเห อาจจะเนื่องจากความวิตกกังวล เป็นการ พักผ่อน และสร้างความสนุกสนาน ระบายออกทาง อารมณ์ กีฬาเป็นการป้องกันตนเอง จากความกลัว วิ่ง กระโดด หรือว่ายน้า เตรียมพร้อมเพื่อการต่อสู้ กีฬาบางอย่างเป็นการต่อสู้เพื่อชนเผ่า สอนให้คนมี ความอดทนและกล้าหาญ 
ความพึงพอใจที่มาจากการรับรู้ถึงคุณค่าของ ตนเองในการเอาชนะผู้อื่นผ่านเกมส์การแข่งขันถือ เป็นอาหารหรือคุณค่าทางอารมณ์อย่างหนึ่งของ มนุษย์ ด้วยเหตุดังกล่าว กลุ่มสังคมของมนุษย์จึงมี การพัฒนากิจกรรมเกมส์กีฬารูปแบบต่างๆ ที่ต้อง อาศัยทักษะด้านต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทักษะ 
ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ทักษะการคิด การตัดสินใจ ฯลฯ เพื่อการประชันแข่งขันกันในระหว่าง คนในกลุ่มสังคม เพื่อให้การแข่งขันในเกมส์กีฬามี ความเป็นธรรมและให้ผู้แข่งขันอยู่ภายใต้กฎการ แข่งขันอันเดียวกันในการดาเนินกิจกรรมดังกล่าว จาเป็นต้องมีการพัฒนากฎ กติกาการแข่งขัน การตัดสิน การฝึกซ้อม และการบริหารจัดการอื่นๆ ที่ จาเป็นเพื่อประโยชน์ต่อการแข่งขันดังกล่าว กลุ่มสังคม ของผู้เล่นกีฬาดังกล่าวอาจจะเป็นกลุ่มเล็ก และอาจ รวมตัวใหญ่ขึ้นไปถึงระดับระเทศ และบางสังคมกีฬาก็ อาจเป็นสังคมกีฬาที่เป็นรวมตัวของกลุ่มคนที่มาจาก ทั่วโลกก็ได้ สิ่งเหล่านี้เองจึงเป็นพื้นฐานของการเกิดขึ้น ของสโมสร (clubs) สมาคมกีฬา (association) และ สมาพันธ์กีฬานานาชาติ(federation) กฎ กติกา หรือ ข้อปฏิบัติอื่น ที่กลุ่มสังคมกีฬากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกาหนด ขึ้นผูกพันต่อสมาชิกของกลุ่มได้เป็นเรื่องของสัญญา ประชาคมโดยแท้ โดยสังคมมีเป้าหมายร่วมกันคือให้ การแข่งขันมีความบริสุทธิ์และเป็นธรรมภายใต้กติกา อันเดียวกัน ความยินยอมตนในการผูกพันดังกล่าวจะ ยกเลิกเสียเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่สมาชิกใน สังคมกีฬาใดผู้ใดยกเลิกความยินยอมที่จะผูกพันและ ตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กติกาของสังคม กีฬานั้นอีกต่อไป ผลก็คือ ผู้นั้นก็ต้องออกจากสังคมนั้น ไปหรือกลุ่มสังคมกีฬานั้นพร้อมใจกันไม่คบหาสมาคม กับบุคคลนั้นอีกต่อไป ความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม สังคมกีฬาดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์พื้นฐานที่ จาเป็นต้องทาความเข้าใจในเบื้องต้น 
แนวคิดและบทบาทของกีฬากับมนุษยชาติได้เริ่ม ก่อตั้งเป็นกิจกรรมที่สาคัญอย่างหนึ่งของโลกคือกีฬา โอลิมปิก โอลิมปิกที่เป็นที่จักกันในสมัยใหม่นี้ เป็นการ ริเริ่มของ Baron Pierre de Coubertin โดยใช้เวลา ประมาณ 7 ปี เพื่อหาเสียงสนับสนุนในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา และในที่สุดองค์กรจัดตั้ง 
3 Office of the Council of State
International Athletic Congress ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1894 ได้ลงมิติเห็นชองจัดตั้ง The International Olympic Committee (IOC) (คณะกรรมการโอลิมปิก สากล) การแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกจัดขึ้นที่ กรุงเอเธนส์ในปี ค.ศ. 1896 นับจากนั้นเป็นต้นมา การ แข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้มีการจัดต่อเนื่องกันมาทุกๆ สี่ปี ยกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง ที่มี การว่างเว้นไป ธรรมนูญโอลิมปิก หรือ Olympic Charter นั้น ได้ระบุถึงแนวคิดสาคัญของโอลิมปิก (Olympism) คือ แนวคิดที่มีต่อชีวิต กีฬาเป็นการผสาน สมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ แนวคิด Olympism เป็นการผสมผสานระหว่างกีฬาและวัฒนธรรมเพื่อสร้าง หนทางไปสู่การมีชิวิตที่มีความสุขที่พบได้จากการใช้ ความพยาม ค่านิยม และหลักการทางจริยธรรมพื้นฐาน ของโลก เป้าหมายของ Olympism คือการใช้กีฬาเป็น เครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ และส่งเสริมให้เกิดความ สงบสุขในสังคม ขบวนการขับเคลื่อนโอลิมปิก (Olympic Movement) มีเป้าหมายในการเสริมสร้าง ความสงบสุขและโลกที่ดีขึ้นโดยการให้การศึกษาแก่ เยาวชนผ่านการฝึกฝนกีฬา โดยปราศจากการเลือก ปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุใดที่กาหนดไว้ในจิตวิญญาณของ โอลิมปิก (Olympic Spirit) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิด ความเข้าใจ มิตรภาพ ความเป็นปึกแผ่น และการ แข่งขันที่ยุติธรรม (Fundamental Principles of Olympism, Olympic Charter) 
นโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรประเทศต่างๆ ในโลก โดยส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่ากีฬาเป็น เครื่องมือที่สาคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากร บุคคล โดยเฉพาะในระดับเยาวชน ให้เป็นผู้มีร่างกายที่ แข็งแรง การบริหารอารมณ์ที่ดี รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และ จะกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศต่อไป กิจกรรมด้านกีฬาอาจเป็นกิจกรรมสันทนาการของภาค สังคม การใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อการดาเนินกิจกรรม 
ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สมเหตุผล แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกด้าน หนึ่ง เกมส์การแข่งขันกีฬานั้น บางชนิดกีฬาเป็นการ แข่งขันที่ผู้คนให้ความสนในการรับชมในฐานะที่เป็นการ รับชมเพื่อความบันเทิง ความต้องการของคนกลุ่ม ดังกล่าวเป็นแรงผลักดันที่ทาให้เกิดการพัฒนาการแข่งขัน เพื่อสนองต่อความต้องการของตลาด การแข่งขันกีฬา บางชนิดดังกล่าวจึงเริ่มเป็นการดาเนินกิจกรรมเพื่อการ พาณิชย์ กลุ่มคนที่อยู่ในอุตสหกรรมการกีฬา ได้แก่ องค์กรกีฬา สมาคม นักกีฬา สปอนเซอร์ และผู้บริโภคคือ ประชาชน ถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักภาคการกีฬาในส่วน ดังกล่าว 
ทีมงานการจัดการด้านความรู้ (KM) สานักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เห็นถึงความสาคัญในการ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการด้านกีฬาให้แก่ บุคลากรด้านกฎหมายของสานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา จึงได้มีการจัดการสัมมนาในหัวข้อ “Sport & Law” และจัดทาเอกสารประกอบการสัมมนา ฉบับนี้ โดยมุ่งที่จะนาเสนอถึงภาพรวมทั่วไปเกี่ยวกับ กิจการด้านกีฬาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกีฬา องค์กร และฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและในระดับ นานาชาติ สภาพปัญ หาที่เกิดขึ้น และตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนาได้มองเห็นถึงภาพรวมและ ความสัมพันธ์ของกิจการกีฬาระหว่างองค์กรกีฬาใน ประเทศและองค์กรกีฬาในต่างประเทศ และนาเสนอถึง ประเด็นปัญ หาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการด้านกีฬา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เห็นถึงสภาพปัญ หาอื่นที่ เกี่ยวพันกับการกีฬา โดยความรู้ความเข้าใจดังกล่าวจะ เป็นพื้นฐานที่ดีในการทาความเข้าใจและการวิพากษ์ นโยบายด้านการกีฬาของประเทศได้ 
Office of the Council of State 4
ปัญหาตาแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศไทย 
ตาแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะหมดวาระลงในวันที่ 16 มิถุนายน 2556 ในการ จัดการเลือกตั้งนายกสมาคมคนใหม่แทนตาแหน่งที่ หมดวาระไปนั้น ได้เกิดข้อขัดแย้งขึ้นเนื่องจาก สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ แจ้งต่อสมาชิก (สโมสรฟุตบอล) ว่าได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับวาระการดารงตาแหน่งของนายก สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จากเดิมที่กาหนดไว้ 2 ปี เป็น 4 ปี และเปลี่ยนจานวนสมาชิกที่มีสิทธิออก เสียงจาก 184 เสียง เหลือเพียง 72 เสียง โดยให้ เหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมนูญฟีฟ่าใหม่ มีการเลื่อนการเลือกตั้งนากยสมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศฯ ออกไปจากกาหนดเดิม และมีการเรียก ประชุมเพื่อขอให้มีการรับรองธรรมนูญฟีฟ่าฉบับใหม่ ดังกล่าว จากจุดดังกล่าว ได้เปิดปัญ หาข้อขัดแย้งขึ้น เป็นสองฝ่าย ระหว่างสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ ไทยฯ และกลุ่มสมาชิกบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย โดย ฝ่ายสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เห็นว่ามีความ จาเป็นจะต้องให้การรับรองธรรมนูญฟีฟ่าฉบับใหม่ และจัดการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ ไทยฯ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ข้อบังคับใหม่ เพื่อป้องกัน มิให้ฟีฟ่าลงโทษสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า การเลื่อนการเลือกตั้งนายก สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทาไม่ได้ เพราะขัด 
กับกฎหมายประเทศไทย ประกอบกับวาระการดารง ตาแหน่งของนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เดิม กาหนดไว้ให้มีวาระ 2 ปี โดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2528 และมีการอ้างว่าข้อบังคับว่าด้วย การเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ นั้น ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องการการเปลี่ยนแปลง ข้อบังคับของสมาคมจะต้องกระทาโดยที่ประชุมใหญ่และ ต้องนาข้อบังคับนั้นไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการเลือกตั้ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ครั้งนี้จะต้องใช้ กฎหมายและข้อบังคับภายในของประเทศไทย ปัญ หา ดังกล่าวเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งและ วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่าง กฎหมายในประเทศ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และฟีฟ่า 
นายวรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย 
ตัวอย่ำงประเด็นปัญหำที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกำรกีฬำ 
2 
5 Office of the Council of State
ปัญหาสัญชาติของ ชาริล แชปปุยส์ 
ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก นัดที่ 2 กลุ่ม บี ระหว่างทีชาติไทยกับทีมชาติ เลบานอน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 สหพันธ์ ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ได้ทาหนังสือแจ้งมาถึง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ว่า นักเตะทีมชาติ ไทย ชาริล ชัปปุยส์ ลูกครึ่งไทย-สวิส ขาดคุณสมบัติ ในการเล่นทีมชาติไทย เนื่องจากเคยเป็นเตะเยาวชน ของสวิสเซอร์แลนด์ ทาให้การแข่งขันในวันดังกล่าว ชาริล ชัปปุยส์ ไม่สามารถลงเล่นได้ 
บัวขาว ป. ประมุข 
ชื่อ บัวขาว ป. ประมุข เป็นชื่อนักมวยไทยที่เป็น ที่รู้จักและมีชื่อเสียงในแวดวงกีฬามวยไทย ทั้งใน และต่างประเทศ บัวขาวสร้างชื่อจากการเป็นแชมป์ มวยในรายการ K-1 สองสมัย และแชมป์ THAI FIGHT 2011 บัวขาว ถือเป็นนักมวยที่มีรายได้สูง คนหนึ่ง ต่อมาในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 บัวขาว ได้ประกาศแยกทางกับค่ายมวย ป. ประมุข 
ต้นสังกัด ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ เรื่องผลประโยชน์ โดยขอตั้งค่ายมวยใหม่โดยใช้ชื่อว่า “ค่ายบัญชาเมฆ” ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเริ่มรายการ THAI FIGHT 2012 ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวยนั้น นักมวยไม่สามารถขึ้นชกในรายการใดได้หากไม่ได้รับ อนุญาตจากค่ายมวยต้นสังกัด THAI FIGHT ได้ประกาศ ถอดชื่อบัวขาวออกจากรายการ แต่บัวขาวได้ขึ้นชกใน รายการ THAI FIGHT 2012 ที่พัทยา หลังจาก บัวขาว ตัดสินใจขึ้นชกดังกล่าวทั้งๆ ที่โดนอ็อบแยกต์จากค่าย ป.ประมุข และทางสานักงานคณะกรรมการกีฬามวยได้ ออกคาสั่งห้ามขึ้นชก ปัญ หาดังกล่าวเป็นตัวจุดชนวนให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องหารือเพื่อหาทางออก เนื่องจาก ส่งผลกระทบกับวงการมวยและ พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 อย่างเลี่ยงไม่ได้ มีการฟ้องร้องกันระหว่าง THAI FIGHT ค่าย ป.ประมุข, กกท. บัวขาว และผู้ที่ เกี่ยวข้อง 
ปัญหาในสมาคมกีฬายิงปืนแห่งประเทศไทย 
ในช่วงเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา สมาคมกีฬายิงปืน ประสบปัญ หาที่เป็นที่สนใจของสื่อและประชาชน 2 เรื่อง คือ เรื่องแรก เป็นปัญ หาการเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬายิง 
Office of the Council of State 6
ปืนแห่งประเทศไทย จุดเริ่มต้นมาจากการกีฬาแห่ง ประเทศไทยไม่รับรองผลการเลือกตั้ง กรณีนายอธิปรัฐ กาญจนสุวรรณ และคณะกรรมการบริหาร ได้รับเสียง โหวตให้เป็นนายกสมาคมฯ คนใหม่ ต่อจากนายปองพล อดิเรกสาร เมื่อปี 2554 แต่ กกท.พิจารณาแล้วว่าผิดมี การทาผิดขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2528 อยู่หลายมาตรา 
อธิปรัฐ กาญจนสุวรรณ กับตาแหน่งนายกสมาคมยิง ปืนที่ยังมีปัญ หา 
แต่กรมการปกครอง กลับรับจดทะเบียนสมาคมฯ ให้กับ นายอธิปรัฐ จึงทาให้สมาคมฯ ฟ้องร้องกรมการปกครอง ในฐานะนายทะเบียนต่อศาลปกครองในคดีที่เกี่ยวกับ การเพิกถอนการจดทะเบียนข้อบังคับของสมาคมฯ และ อีกปัญ หาหนึ่งคือ ปัญ หาระหว่างสมาคมฯ กับ นักกีฬา ทีมชาติ เนื่องจากสมาคมฯ ได้ตัดสิทธิ์และไม่รับรอง สมาชิกภาพของนักกีฬาสองคน คือ นายจักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม และ นายโอภาส เรืองปัญ ญาวุฒิ เป็นผลให้นักกีฬาทั้งสองไม่มีสิทธิ์ไปคัดเลือกเพื่อเป็น นักกีฬาทีมชาติ โดยทั้งสองคนได้ยื่นฟ้องสมาคมต่อศาล ปกครองเพิกถอนคาสั่งของสมาคมฯ ขอให้ศาลมีคาสั่ง คุ้มครองชั่วคราว และศาลปกครองได้มีคาสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวให้นักกีฬาทั้งสองคนสามารถเข้าร่วมคัดเลือกใน ทีมชาติได้ ซึ่งขณะนี้คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของศาล 
ปัญหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 
ปัญหาการถ่ายทอดสอดฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่าง มาก สาเหตุของปัญ หาย้อนกลับไปประมาณสองปีที่ผ่าน มา เกิดปัญ หาว่าบริษัทแกรมมี่ฯ ในฐานะผู้ได้รับสิขสิทธิ์ การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในการถ่ายทอดมีการใช้อุปกรณ์รับชมเฉพาะ เป็นผลให้ ผู้รับชมกับผู้ให้บริการทีวีบอกรับสมาชิกบางรายไม่ ถ่ายทอดสดผ่านช่องเหล่านั้นได้ กสทช. ในฐานะ หน่วยงานที่มีหน้าที่กากับดูแลกิจการโทรทัศน์จึงกาหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อแก้ปัญ หาเหล่านี้ คือ กฎ must carry (ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่ กิจการโทรทัศนท์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป) กฎ must have (ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการ โทรทัศน์สาคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555) และ กฎ non-exclusive list (ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ ภาพรายการแข่งขันกีฬาที่สาคัญ พ.ศ. 2556) โดยเป็น กฎที่กาหนดเกี่ยวกับการแพร่ภาพรายการที่มี ความสาคัญบังคับแก่ผู้ให้บริการทีวี ซึ่งรายการ “การ แข่งขันฟุตบอลโลก” เป็นรายการที่ถูกกาหนดให้เป็น 
7 Office of the Council of State
รายการโทรทัศน์ที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ ภายใต้การให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (free TV) เท่านั้น 
อย่างไรก็ตาม บริษัท อาร์เอสฯ ในฐานะผู้ได้รับ สิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกจากฟีฟ่า เห็นว่า บริษัทฯ ได้ประมูลลิขสิทธิ์มาได้ก่อนที่จะมีการ ออกกฎ must have กฎนี้จึงไม่เป็นธรรม และไม่ควรมี ผลย้อนหลัง จึงได้ฟ้องศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครอง มิได้ใช้กฎดังกล่าวกับการถ่ายทอดสดในครั้งนี้ ศาล ปกครองสูงสุดตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นให้อาร์เอสเป็น ฝ่ายชนะ และกฎ must have ใช้กับการแข่งขันฟุตบอล โลกครั้งนี้ไม่ได้ ทาให้ไม่สามารถถ่ายทอดสดฟุตบอล โลกทางฟรีทีวีได้ครบทุกนัดเหมือนอย่างเคย แต่ท้ายที่สุด ปัญ หาการรับชมการถ่ายทอดสดจบลง ด้วยที่ประชุม กสทช. มีมติเห็นชอบ การดาเนินการให้ มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 ทุกคู่ ( 64 นัด) ผ่านฟรีทีวีทุกช่อง โดยชดเชยค่าเสียโอกาสการ ถ่ายทอดสด ให้บริษัท อาร์ เอส ฯ เจ้าของลิขสิทธิ์การ ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014 โดยจ่ายจากเงิน กองทุน กทปส. 
ปัญหาของการใช้สารกระตุ้นของ แลนซ์ อาร์มสตรอง 
เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2556 แลนซ์ อาร์มสตรอง นักกีฬาปั่น จักรยานชาวสหรัฐฯ อดีตเจ้าของแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ 7 สมัย ตกเป็นข่าวอื้อฉาวเมื่อ The U.S. Anti-Doping Agency (USADA) องค์กรต่อต้านการใช้สาร กระตุ้นของนักกีฬาในสหรัฐอเมริกา ได้แถลงถึงหลักฐาน การใช้สารกระตุ้นจากตัวอย่างเลือดของ แลนซ์ อาร์มสตรอง และให้ทางเลือกแก่อาร์มสตรองว่าเขาจะยอมรับผิดและรับ การลงโทษตามข้อกล่าวหาหรือจะต่อสู้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ ของตนโดยใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการตามที่กฎหมาย สหรัฐกาหนด แต่เขาปฏิเสธที่จะต่อสู้ โดยให้สัมภาษณ์ว่า กระบวนการอนุญาโตตุลาการมีความลาเอียง ดังจะเห็นได้ จากจานวนคดีอนุญาโตตุลาการที่ USADA นามาฟ้อง นักกีฬาทั้งหลายรวม 60 คดีนั้น มีเพียง 2 คดีที่นักกีฬาพ้น ความรับผิด จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้สหพันธ์ จักรยานนานาชาติ (UCI) ประกาศริบแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ 7 สมัย และสั่งลงโทษแบนตลอดชีวิต นอกจากนี้ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (OIC) ออกคาสั่งยึด เหรียญ ทองแดงการแข่งขันจักรยาน ประเภทไทม์-ไทรอัน ในกีฬา โอลิมปิกเกมส์ 2000 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียอีก ด้วย 
ปัญหำกำรย้ำยทีมของผู้เล่นในลีกฟุตบอลในยุโรป 
ในวงการฟุตบอลแล้ว Jean-Marc Bosman คือ ผู้ประกาศอิสรภาพให้แก่นักฟุตบอลอาชีพอย่างเป็นทางการ ความมั่งคั่งของนักฟุตบอลฝีเท้าดีในปัจ จุบันนี้ คือผลพวง จากการต่อสู้ของเขานั่นเอง.ย้อนกลับไปในเดือนมิถุนายน ปี 1990 ชนวนความบาดหมางระหว่าง Bosman กับต้น สังกัดเริ่มปะทุขึ้น โดย FC Liege ต้นสังกัด (สโมสรลีกใน เบลเยี่ยม) ได้ลดค่าเหนื่อยของ Bosman ลงถึง 60% Bosman ต้องการย้ายทีมไปยังทีมที่สนใจในตัวเขาอย่าง Dunkerque (ทีมในฝรั่งเศส) แต่ว่า FC Liege กลับเรียก 
Office of the Council of State 8 
แลนซ์ อำร์มสตรอง อดีตแชมป์จักรยำนทำงไกลตูร์ เดอ ฟรองซ์ 7 สมัย
ค่าตัวจากในการขายอย่างเกินความเป็นจริง ทาให้ Dunkerque เลิกล้มความสนใจไป และ Bosman ก็แทบ ที่จะไม่ได้ลงเล่นให้กับ FC Liege เลย ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกันเขาได้ฟ้อง FC Liege และสมาคมฟุตบอล เบลเยียม (Belgian Football Association) ต่อศาล และ ต่อมาถึงเดือนพฤศจิกายน ศาลเบลเยียมตัดสินให้เขา ย้ายทีมได้อย่างอิสระ สมาคมฟุตบอลเบลเยียมได้ยื่น อุทรณ์ เดือนพฤษภาคม ปี 1991 ศาลอุทรณ์เบลเยียม ได้ตัดสินว่า การย้ายทีมอย่างอิสระของ Bosman ถูกต้อง 
Jean-Marc Bosman ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อระบบ ตลาดนักเตะในยุโรป 
เดือนมิถุนายน ปี 1995 Jean-Marc Bosman เรียกร้องค่าเสียหายจากยูฟ่าเป็นเงิน 1 ล้านเหรียญ สหรัฐ ณ ศาลยุโรป (EU-tribunal) ประเทศลักเซมเบิร์ก ฟีฟ่าและยูฟ่าออกแถลงการณ์คัดค้านการกระทาของ Bosman และในที่สุด European Court of Justice ได้ ตัดสินในคดีเลขที่ Case C-415/93 ว่า กฎเกณฑ์ เกี่ยวกับการย้ายทีมของนักเตะนั้นกระทบกระเทือนต่อ เสรีภาพของการย้ายถิ่นของแรงงานและเสรีภาพในการ 
สมาคมที่ European Economic Community Treaty รับรองไว้ เมื่อสัญญาระหว่างนักเตะกับสโมสรสิ้นสุดลง Bosman และนักเตะคนอื่นๆ ย่อมมีสิทธิ์จะย้ายไปทีมใด ก็ได้ในระหว่างสโมสรในยุโรป ผลของคาพิพากษา ดังกล่าวสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงนกติกา การย้ายทีมของผู้เล่นในยุโรปที่เป็นผลอยู่ในปัจ จุบัน โดย กฎการย้ายทีมดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Bosman Rule” 
ปัญหากฎ UEFA Home-Grown Player Rules 
ภายใต้หลักการตามสนธิสัญญาลิสบอนและ คาแนะนาของคณะกรรมาธิการยุโรปว่าด้วยการกีฬาที่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มนุษย์มีเสรีภาพในการโยกย้าย ถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพสามารถโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการ ประกอบอาชีพระหว่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่มีถิ่นฐานอยู่นอกกลุ่มประเทศ สหภาพยุโรปที่ย้ายมาเล่นในการแข่งขันระดับต่าง ๆ ใน กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เช่น การย้ายจากประเทศอื่น ในกลุ่มสหภาพยุโรปมาสู่การแข่งขันระดับต่างๆใน ประเทศอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดในการสนับสนุนให้ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพมีเสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐาน ย่อมถือเป็นการสนับสนุนแนวความคิดของการรวมกลุ่ม สหภาพยุโรปเพื่อก่อให้เกิดตลาดเดียว (European Common Market) อีกประการหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี การ ให้เสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐานของนักกีฬาฟุตบอล จากต่างชาติที่มีทักษะดี อาจก่อให้เกิดผลกระทบและ ปัญ หาต่อการพัฒนานักกีฬาฟุตบอลท้องถิ่นหรือผู้เล่น ท้องถิ่นหลายประการ ได้แก่ ประการแรก ปัญ หาการ แย่งงานของนักเตะท้องถิ่น ประการที่สอง ปัญ หาความ ไม่เป็นธรรมในการแข่งขันกล่าวคือ ทีมหรือสโมสรขนาด กลางหรือขนาดเล็กจะมีความเสียเปรียบในการการซื้อ 
9 Office of the Council of State
นักเตะฝีเท้าดีเพื่อเสริมทีม จึงมักเกิดปัญ หาการผูกขาด แชมป์อยู่กับทีมใหญ่อยู่ไม่กี่ทีม ทีมขนาดกลางและ ขนาดเล็กขาดโอกาสในการปรับปรุงทีม และประการ สุดท้าย นโยบายการย้ายถิ่นอย่างเสรีก่อให้เกิดปัญ หา ความไม่สมดุลในเรื่องการพัฒนา กล่าวคือ การเปิด โอกาสให้มีการจ้างแรงงานนักกีฬาฟุตบอลต่างชาติที่มี ทักษะสูงมาทาการแข่งขันในการแข่งขันระดับต่างๆ ย่อมทาให้การพัฒนาศักยภาพการกีฬาเยาวชนท้องถิ่น เป็นไปโดยล่าช้าเพราะนักกีฬาท้องถิ่นย่อมได้รับความ สนใจน้อยจากสโมสรกีฬาฟุตบอลที่มีชื่อเสียง ด้วยเหตุ ดังกล่าว ยูฟ่าจึงได้ออกหลักเกณฑ์ UEFA Home- Grown Player Rules กาหนดให้สโมสรฟุตบอลที่เข้า ร่วมการแข่งขันแชมเปี้ยนส์ลีก (UEFA Champions League) และยูฟ่ายูโรป้าลีก (UEFA Europa League) จากัดจานวนขั้นต่าของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ ชาวต่างชาติ (Limit on the amount of foreign foot- ball players) เพื่อให้นักกีฬาฟุตบอลอาชีพต่างชาติมี สัดส่วนไม่เกินตามที่สมาคมฟุตบอลยุโรปกาหนดไว้ นอกจากนี้ สมาคมฟุตบอลยุโรปยังได้กาหนดอัตราส่วน ของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่ได้รับการพัฒนาจากสโมสร ท้องถิ่นให้ประกอบด้วยผู้เล่นที่เป็นนักกีฬาฟุตบอล อาชีพท้องถิ่นขั้นต่า โดยผู้เล่นดังกล่าวต้องได้รับการ ฝึกฝนในประเทศ (home-grown players) กฎของยูฟ่า ดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในหลักการที่ อาจขัดแย้งสิทธิในการโยกย้ายแรงงานและข้อห้าม เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติเป็นอย่างมาก 
จากตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับการกีฬาที่ได้ ยกตัวอย่างมาให้เห็นนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยของปัญ หา ที่เกิดขึ้นจริงทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นถึงสภาพปัญ หาของการ บริหารจัดการกิจการกีฬา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ องค์กรกีฬา ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกีฬา สมาคม 
กีฬาทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ปัญ หาการระงับข้อ พิพาทในกิจการกีฬา หรือปัญ หาอื่นๆ ที่เกี่ยวกันกับ กิจการกีฬา เช่น ปัญ หาการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา หรือปัญ หาเกี่ยวกับนโยบายที่อาจขัดหรือแย้งกับหลักการ ของกฎหมายในประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ในการทาความเข้าใจสภาพปัญ หา ในเบื้องต้น จาเป็นจะต้องทาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและ โครงสร้างขององค์กรกีฬา ทั้งองค์กรกีฬาในประเทศ และ องค์กรกีฬาในระดับนานาชาติ รวมถึงบทบาท อานาจ หน้าที่ และความสัมพันธ์ขององค์กรกีฬาดังกล่าว ซึ่งจะได้ นาเสนอในบทถัดไป 
Office of the Council of State 10
โครงสร้างขององค์กรกิจการกีฬาเป็นโครงสร้างที่ เป็นความร่วมมือในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ เพื่อ ประโยชน์ในการควบคุมกติกา มาตรฐาน และการ แข่งขัน เมื่อพิจารณาโครงสร้างขององค์กรบริหารการ กีฬาแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างและความสัมพันธ์ใน แนวดิ่งที่เหมือนหรือคล้ายกัน โดยแต่ละองค์กรมี ความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างแบบพิรามิด โดยมีความ ผูกพันในลักษณะของความยินยอมในการปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ขององค์กรจากระดับบนลงถึงระดับล่าง ดังต่อไปนี้ 
3.1 โครงสร้ำงและควำมสัมพันธ์ขององค์กรบริหำร กำรกีฬำ 
3.1.1 สมำพันธ์กีฬำนำนำชำติ (International Sports Federations) 
สมาพันธ์กีฬานานาชาติ (International Sports Federations) นั้น ทั้งหมดเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดย เป็นองค์กรที่ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ (non- governmental governing body) ทาหน้าที่ในการ กากับดูและการบริหารกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งนั้น โดยทั่วไป มีหน้าที่ในการกาหนดกติกา ในการ สนับสนุนการแข่งขันหรือการจัดการแข่งขันในระดับ ต่างๆ และประสานงานด้านกีฬาในระหว่างสมาชิก สมาชิก (members) ของสมาพันกีฬานานาชาติได้แก่ สมาคมกีฬาในระดับประเทศ (National Association) ที่อยู่ในประเทศต่างทั่วโลก ซึ่งสมาชิกเหล่านี้มีหน้าที่ 
ผูกพันตามกฎบัตรหรือกฎระเบียบที่สมาพันธ์กีฬา นานาชาติกาหนดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สมาพันธ์กรีฑา นานาชาติ (International Association of Athletics Federations (IAAF)) สมาพันธ์แบดมินตันนานาชาติ (Badminton World Federation (BWF)) สมาพันธ์ บาสเก็ตบอลนานาชาติ (International Basketball Federation (FIBA)) หรือสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (International Federation of Association Football (FIFA)) เป็นต้น (โปรดดูรายชื่อสมาพันธ์กีฬานานาชาติ หน้า 36) 
3.1.2 สมำพันธ์กีฬำนำนำชำติในเขตพื้นที่ (Regional Federations) 
การจัดองค์กรขององค์กรบริหารการกีฬาบางชนิด 
11 Office of the Council of State 
องค์กรบริหำรกำรกีฬำ (Sport Governing Body) 
3
มีการจัดตั้งสมาพันธ์กีฬานานาชาติในระดับพื้นที่ โดยมี หน้าที่คล้ายกันกับสมาพันธ์กีฬานานาชาติ เพียงแต่มี อานาจ และขอบเขตเฉพาะเขตพื้นที่หรือประเทศที่ กาหนดเท่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น ในกีฬาฟุตบอล มีสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ทาหน้าที่เป็น สมาพันธ์กีฬานานาชาติ ได้รับรองการจัดตั้งสมาพันธ์ กีฬานานาชาติในระดับเขตพื้นที่โดยใช้เขตทวีป โดย องค์กรเหล่านี้จะทาหน้าที่ในการดูและจัดการแข่งขัน ฟุตบอลในกฎระเบียบและการแข่งขันของ FIFA ในเขต พื้นที่ ประกอบไปด้วย 
 สมาพันธ์ฟุตบอลยุโรป (Union of European Football Associations (UEFA)) 
 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (Asian Football Confederation (AFC)) 
 สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Confederation of African Football (CAF)) 
 สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (South American Football Confederation (CONMEBOL)) 
 สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (Oceania Football Confederation (OFC)) 
 สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และ แคริบเบียน (Confederation of North, Central American and Caribbean Association Football (CONCACAF)) 
3.1.3 สมำคมกีฬำในประเทศ (National Association) 
ในระดับประเทศ ในกีฬาชนิดหนึ่งจะมีการจัดตั้ง องค์กรบริหารการกีฬาที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแลใน เกี่ยวกับกฎ กติกา และการจัดการแข่งขันในระดับต่างๆ และการบริหารจัดการของกีฬาชนิดนั้นๆ โดยทั่วไป สมาคมกีฬาดังกล่าวมักจะเข้าไปเป็นสมาชิกในสมาพันธ์ กีฬานานาชาติ เพื่อประโยชน์ในกิจการกีฬาในระดับที่ สูงขึ้นไปในระดับนานาชาติ ยกตัวอย่างเช่น สมาคม ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้า ไปเป็นสมาชิกของ AFC และ FIFA โดยกิจกรรมและ การแข่งขันของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เป็น 
Office of the Council of State 12
กิจกรรมและการแข่งขันที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของ FIFA เป็นต้น 
3.1.4 สโมสรกีฬำและนักกีฬำ (Clubs & Players) 
นักกีฬาและสโมสรกีฬา (กีฬาชนิดที่ต้องเล่นเป็นทีม มักจะมีการรวมตัวกันเป็นสโมสรกีฬา) ที่จะเข้าร่วมใน การแข่งขันในระดับต่างๆ ที่สมาคมกีฬาหรือองค์กรอื่นที่ สมาคมกีฬารับรองจัดการแข่งขัน จะต้องเป็นสมาชิกของ สมาคมกีฬานั้นๆ และนักกีฬาและสโมสรกีฬา มีความ ผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สมาคมกีฬานั้นๆ กาหนดด้วย ยกตัวอย่างเช่น สมาคมฟุตบอลที่มีอยู่เกือบ ทั่วประเทศเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ ไทยฯ หรือนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นที่ต้องการลง แข่งขันในระดับโอลิมปิก จะต้องเป็นสมาชิกของสมาคม มวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ เป็นต้น 
3.2 โครงสร้ำงและองค์กรบริหำรกำรกีฬำในประเทศ ไทย 
3.2.1 กำรกีฬำแห่งประเทศไทย (กกท.) 
นับตั้งแต่กิจกรรมกีฬาสากลได้แพร่หลายในประเทศ ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา กีฬาสากลในประเทศไทยได้รับ การส่งเสริมและเป็นที่สนใจของประชาชนอย่าง กว้างขวางควบคู่กับกีฬาพื้นบ้านหรือกีฬาประเพณีมา โดยตลอด ในการดาเนินการกีฬาในสมัยนั้น มีกระทรวง ธรรมการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันเป็น หน่วยงานที่ได้รับมอบเป็นผู้ดาเนินการเพื่อเป็นแนว ทางการสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาตลอดจนการรับ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วยเหลือการกีฬาใน ประเทศ กิจการกีฬาในประเทศไทยได้ขยายตัวอย่าง กว้างขวาง กีฬาชนิดต่างๆ ได้รับความนิยมจาก ประชาชนอย่างแพร่หลาย การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา 
ระหว่างประเทศใน ขณะนั้น เป็นการ ดาเนินงานของ สมาคมกีฬา ยังไม่มี หน่วยงานกีฬาของรัฐ ให้การสนับสนุน บุคคลในวงการกีฬา ของไทยในสมัยนั้น ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สนใจในกีฬาและเป็น ผู้ก่อตั้งสมาคมกีฬาต่างๆ และคณะกรรมการโอลิมปิก แห่งประเทศไทยได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศ ไทยควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการกีฬาของประเทศใน ภาครัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อทาหน้าที่ด้านนโยบาย ของประเทศ ตลอดจนดูแลและประสานงานส่งเสริมกีฬา ระดับประชาชน ให้ประชาชนได้เล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง และมีโอกาสคัดเลือกนักกีฬาที่มีศักยภาพไปแข่งขันกับ ต่างประเทศ และต่อมาในปี 2507 มีการตราพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2507 (ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้ง องค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496) องค์การส่งเสริมกีฬา แห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดสานักนายกรัฐมนตรี บริหารงานโดย คณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง มีผู้อานวยการ อ.ส.ก.ท.ซึ่ง คณะกรรมการแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อดาเนินกิจการ ของ อ.ส.ก.ท. มีหน้าที่สาคัญในการส่งเสริมกีฬา ช่วยเหลือ แนะนา และร่วมมือในการจัดและดาเนินการ กีฬาสมัครเล่น สารวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่ สาหรับกีฬาสมัครเล่น และติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือ สมาคมกีฬาสมัครเล่น ทั้งในและนอกราชอาณาจักร เป็น ต้น (http://www.sat.or.th) 
ต่อมามีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพื่อจัดตั้ง “กำรกีฬำแห่ง 
13 Office of the Council of State
ประเทศไทย” (กกท.) แทน ”องค์การส่งเสริมกีฬา แห่งประเทศไทย” และให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีอานาจหน้าที่ในการส่งเสริมการกีฬาและควบคุม การดาเนินกิจการกีฬาได้กว้างขวางและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คาสัญคือ ส่งเสริมกีฬา ทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ ประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา ศึกษา วิเคราะห์และ จัดทาโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการ ส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล จัด ช่วยเหลือ แนะนา และร่วมมือในการจัดและดาเนินการกีฬา สารวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สาหรับการกีฬา ติดต่อ ร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและ นอกราชอาณาจักร สอดส่องและควบคุมการดาเนิน กิจการทางการกีฬา ฯลฯ นอกจากนี้ ยังกาหนดให้มี “คณะกรรมกำรกีฬำประจำจังหวัด” โดยมีหน้าที่ ในการส่งเสริมกีฬาในจังหวัด เสนอแนะโครงการ ส่งเสริมการกีฬาในจังหวัดต่อ กกท. และร่วมมือกับ กกท. ในการดาเนินการจัดแข่งขันกีฬา 
ปัจจุบัน กกท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกากับ ดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 
3.2.2 คณะกรรมกำรโอลิมปิกแห่งประเทศ ไทยในพระบรมรำชูปถัมภ์ 
ในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาหนึ่งชุดมีชื่อเรียกว่า "คณะกรรมการต้อนรับ ระหว่างประเทศฝ่ายกีฬา" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาว ต่างประเทศที่มาพานัก อยู่ในประเทศไทยหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีโอกาสเล่นและแข่งขัน กีฬา โดยรวบรวมรายได้ จากการเก็บค่าผ่านประตู ส่งบารุงสภากาชาดไทยและบารุงการกุศล สาธารณประโยชน์ด้านการกีฬาต่อมาที่ประชุมเห็น ว่าน่าจะมีองค์กรโอลิมปิกมาดาเนินการแทน คณะกรรมการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจริญ 
สัมพันธไมตรีด้านการกีฬากับนานาประเทศ จึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2491 พร้อมทั้งมีหนังสือถึง คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ เมืองโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 เพื่อ ขอให้ดาเนินการรับรอง คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ ให้การรับรองคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 
(http://olympicthai.or.th) 
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ มีภารกิจ และบทบาทระดับชาติในการร่วมรณรงค์เพื่อเสริมสร้าง สันติและบทบาทของสตรีกับกีฬา สนับสนุนและ ช่วยเหลือการรณรงค์ เพื่อส่งเสริม จรรยาบรรณการกีฬา การต่อต้านการใช้สาร ต้องห้าม และการส่ง นักกีฬาในประเทศเข้า แข่งขันกีฬาในระดับ นานาชาติ สมาชิกของ คณะกรรมการโอลิมปิก แห่งประเทศไทยฯ มี 2 ประเภท คือ สมาชิกสามัญ คือ สมาคมกีฬาแห่งประเทศ ไทยที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬานานาชาติ หรือ ผู้แทน ซึ่งจะต้องเป็นชนิดกีฬาที่มีในการแข่งขันกีฬา โอลิมปิกเกมส์ หรือกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ นักกีฬา ผู้ทรงคุณวุฒิ ฯลฯ และสมาชิกสมทบ คือ สมาคมกีฬา แห่งประเทศไทยที่สหพันธ์กีฬานานาชาติให้การรับรอง แต่เป็นสมาคมกีฬาที่ไม่มีอยู่ในรายการการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก หรือเอเชี่ยนเกมส์ สามารถขอเข้าเป็นสมาชิก สมทบได้แต่ไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงใด ๆ (ธรรมนูญ ข้อบังคับคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2546) 
Office of the Council of State 14
3.2.3 สมำคมกีฬำ 
สมาคมกีฬาในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไปจะจัดตั้ง ในรูปแบบของ “สมาคม” ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการ ควบคุมดูแลกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง ชนิดกีฬา การก่อตั้งสมาคมกีฬานั้น นอกจากการ ดาเนินตามกระบวนการจัดตั้งตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์แล้ว มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ยังกาหนดให้ สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือ การส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. ก่อนการดาเนินการจัดตั้ง 
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 78 บัญญัติความหมายของสมาคมไว้ว่าการก่อตั้งสมาคม เพื่อกระทาการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและ มิใช่เป็นการหากาไรหรือรายได้มาแบ่งปัน กันต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ข้อบังคับสมาคมเป็นแนวทางปฏิบัติของ คณะกรรมการและสมาชิกของสมาคม และรายการใน ข้อบังคับสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการต่อไปนี้ คือ ชื่อสมาคม วัตถุประสงค์ของสมาคม ที่ตั้งสานักงาน ใหญ่ วิธีบอกรับสมาชิกและขาดสมาชิกภาพ อัตราค่า บารุง ข้อกาหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม (รายละเอียดเกี่ยวกับจานวน การตั้ง วาระการดารง ตาแหน่ง การพ้นจากตาแหน่ง และการประชุม) ข้อกาหนดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและบัญชีและ ข้อกาหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ของสมาคม (มาตรา 79 ป.พ.พ.) ข้อบังคับของสมาคมต้องมีการจด ทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สานักงานใหญ่ ตั้งขึ้น (รวมถึงการแก้ไขข้อบังคับสมาคมด้วย) 
สมาคมกีฬาต่างๆ ในประเทศไทยมีทั้งที่เป็น สมาคมกีฬาในชนิดกีฬาที่มีการจัดตั้งองค์กรบริหาร 
การกีฬาในระดับนานาชาติ (สมาพันธ์กีฬานานาชาติ) ในกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิก เช่น สมาคมวอลเลย์บอล แห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) ลอนเทนนิสสมาคมแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมไตรกีฬา แห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมมวยสากลสมัครเล่น แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สม.สท.) สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ฟ.ท.) ฯลฯ ซึ่งสมาคมเหล่านี้เป็นสมาชิกใน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการขับเคลื่อน โอลิมปิก (Olympic Movement) ด้วย และมีสมาคมกีฬา ในชนิดกีฬาที่ไม่มีการแข่งขันในโอลิมปิก แต่อาจเป็น สมาชิกของสมาพันธ์กีฬานานาชาติและร่วมกิจกรรมการ แข่งขันในระดับต่างๆ ที่มีการจัดการแข่งขัน เช่น สมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย (สบท.) สมาคมตะกร้อ แห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่ง ประเทศไทย ฯลฯ (โปรดดูรายชื่อสมาคมกีฬาในประเทศ ไทยหน้า 39) 
3.2.4 ตัวอย่ำงกรณีศึกษำ 
กีฬามวยสากล 
ในระดับสากลของกีฬามวยอาชีพนั้นมีอยู่หลาย สถาบันที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแล ในจานวนนี้มีทั้งที่เป็น สถาบันหลักอันเป็นที่คุ้นหูกันในหมู่คนทั่วไป ได้แก่ สมาคมมวยโลก (W.B.A. (World Boxing Association)) องค์การมวยโลก (W.B.O. (World boxing organization)) สหพันธ์มวยนานาชาติ (I.B.F. (International Boxing Federation)) และสภามวยโลก (W.B.C. (World Boxing Council)) และสถาบันย่อย อื่นๆ ซึ่งอาจไม่ได้รับการยอมรับเท่ากับสี่สถาบันหลัก ข้างต้น เช่น IBO IBA หรือ PABA ทั้งนี้ แต่ละสถาบันมี การออกกฎและข้อบังคับของตัวเอง โดยเนื้อหาของกฎ หรือข้อบังคับดังกล่าวมีทั้งการกาหนดในเรื่องเชิง 
15 Office of the Council of State
นั้น เช่น เจ้าพนักงานของสังเวียนในระดับสากล (International Ring Officials) เช่นกรรมการหรือผู้ ตัดสิน หรือโปรโมเตอร์มวย เป็นต้น 
ในด้านกีฬามวยสากลสมัครเล่น สาหรับระดับ นานาชาตินั้นก็มีสหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ (International Boxing Association (AIBA)) ซึ่ง AIBA ปัจ จุบันได้มีความพยายามในการจัดการชกมวยระดับ อาชีพด้วย) ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นสมาคมภายใต้ กฎหมายของประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยมีวัตถุประสงค์ หลายประการรวมทั้งการพัฒนาและเผยแพร่กีฬามวย ทุกรูปแบบและเพื่อกากับดูแลกีฬามวยให้สอดคล้องกับ ข้อบังคับของ AIBA หรือกฎต่างๆ ของ AIBA ทั้งนี้ ปัจ จุบันมีสหพันธ์ระดับชาติที่เข้าร่วมกับ AIBA ทั้งสิ้น 196 สหพันธ์ (จากจานวนทั้งสิ้น 205 ที่ได้รับการยอมรับ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ) ซึ่งประเทศไทย โดยสมาคมกีฬามวยแห่งประเทศไทย (Thailand Boxing Association) ก็ได้เข้าเป็นสมาชิกของ AIBA ด้วย 
สาหรับกีฬามวยในประเทศไทย คณะกรรมการกีฬา มวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นคณะกรรมการในการกีฬาแห่งประเทศไทย มีบทบาทอย่างมากในการควบคุมและกากับดูแลกีฬา 
Office of the Council of State 16 
โครงสร้างของสถาบัน และเรื่องเกี่ยวกับการแข่งขัน เช่น กรณีของสมาคมมวยโลก (W.B.A.) ในข้อบังคับ ภายใน (By-laws) ได้กาหนดชื่อและลักษณะขององค์กร วัตถุประสงค์ของสถาบัน คุณสมบัติของสมาชิก หรือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิก สาหรับกฎ (Rules) จะ เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ของการแข่งขัน เช่น การเป็น แชมป์ของสถาบัน การ Purse Bids (การประมูลเพื่อ จัดการแข่งขัน) กติกาที่ใช้ในการแข่งขัน รวมทั้งไกด์ ไลน์เกี่ยวกับการแพทย์และความปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้ สมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามกติกาของสถาบันอาจจะถูก ลงโทษตามกฎหรือข้อบังคับโดยกรณีของสมาคมมวย โลก ประชุมหรือผู้อานวยการของสถาบันมีอานาจที่จะ สั่งระงับชั่วคราว ปรับ หรือขับไล่ หรือใช้มาตรการ แซงชั่นใดๆ ตามที่จาเป็นได้ สาหรับในเรื่องของสมาชิก สมาชิกของ W.B.A. แบ่งได้เป็นสองประเภทหลัก คือ ประเภทที่สามารถลงคะแนนเสียงได้ (Voting members) และประเภทที่ไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้ (Non-voting members) โดยสมาชิกประเภทแรกก็เช่น สมาพันธ์มวยสากลระดับชาติหรือองค์กรมวยอื่นๆ ซึ่งมี อานาจในการจัดการ ควบคุม และกากับดูแลกีฬามวย สากลอาชีพภายในประเทศ รัฐ จังหวัด หรือภูมิภาค หรือสมาชิกในระดับทวีป เป็นต้น สาหรับประเภทที่สอง
ปรับปรุงด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ สมาพันธ์ยังเป็น ผู้ทาการตีความและบังคับใช้กฎกติกาของสหพันธ์อีกด้วย สหพันธ์รถแข่งนานาชาติประกอบด้วยหลายหน่วยงาน ภายในและคณะกรรมการหลายชุดซึ่งรับผิดชอบในแต่ละ ด้านที่แตกต่างกันออกไป เช่น คณะกรรมการในด้านกีฬา หรือคณะกรรมการในด้านจริยธรรม เป็นต้น ทั้งนี้ FIA ได้ ทาการออกกฎกติกาเพื่อควบคุมกีฬายานยนต์เอาไว้โดย เนื้อหามีตั้งแต่การสมัครเข้าร่วมแข่งขันตลอดจนข้อแนะนา เกี่ยวกับความปลอดภัย กฎกติกาเหล่านี้ได้แบ่งออกตาม ประเภทของการแข่งขันซึ่งมีอยู่หลายประเภท เช่น การ แข่งขันรถสูตรหนึ่ง (FIA Formula One World Championship) หรือ การแข่งขันแรลลี่ระดับโลก (FIA World Rally Championship) เป็นต้น 
สาหรับจานวนสมาชิกของ FIA ก็มีเป็นจานวนมากโดย แบ่งเป็นสมาชิกประเภทลงคะแนนเสียงได้และที่ไม่สามารถ ลงคะแนนเสียงได้ ทั้งนี้ สาหรับกรณีของประเทศไทย ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมป์ (Thailand Royal Automobile Association of Thailand) ก็เป็นสมาชิกของ FIA อยู่ด้วย 
ในด้านการแข่งขันกีฬายานยนต์ในประเทศไทย มีราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม 
17 Office of the Council of State 
มวยในประเทศ โดยมีอานาจในการออกข้อบังคับ ต่างๆ เกี่ยวกับกีฬามวยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ มาตรฐานและสวัสดิการค่ายมวย ระเบียบและกติกา สาหรับการแข่งขันกีฬามวย รวมไปถึงความปลอดภัย สาหรับนักมวย เป็นต้น ซึ่งการฝ่าฝืนข้อกาหนด ต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ก็จะมีโทษ สาหรับในด้าน ของนักกีฬาแล้วหากจะขึ้นชกก็จะต้องดาเนินการให้ ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้เช่นกัน โดยจะต้องขึ้น ทะเบียนเป็นนักกีฬามวยและมีบัตรประจาตัวนักมวย นอกจากนี้ ยังต้องสังกัดค่ายมวยอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ค่ายมวยจึงมีความสาคัญมากและกฎหมายนี้ก็ได้ กาหนดมาตรฐานของค่ายมวยรวมทั้งหน้าที่ของค่าย มวยไม่ว่าจะเป็นการขึ้นทะเบียนค่ายมวยและการจัด ให้มีสวัสดิการต่างๆ ตามที่คณะกรรมการกีฬามวย กาหนดเอาไว้เช่นกัน สาหรับการมาตรฐานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องในการแข่งขันมวยที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสังเวียนมวย ผู้ตัดสิน ผู้จัดแข่งขันกีฬา มวย ก็มีการกาหนดควบคุมไว้โดยพระราชบัญญัตินี้ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในประเทศไทยก็มีสมาคมกีฬามวย อาชีพแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน โดยนายกของ สมาคมจะเป็นกรรมการในคณะกรรมการกีฬามวย ด้วย 
กีฬาแข่งรถ 
ในระดับนานาชาตินั้นเป็นสมาพันธ์รถยนต์ นานาชาติ (ภาษาฝรั่งเศส Fédération Internationale de l'Automobile (FIA) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า International Automobile Federation) ที่เป็นผู้ ควบคุมดูแล สมาพันธ์นี้เป็นองค์กรไม่แสวงหากาไร และมีวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น การสนับสนุน ประโยชน์ของสมาชิกในเรื่องที่เกี่ยวกับนานาชาติ เกี่ยวกับกีฬายานยนต์และการท่องเที่ยว รวมไปถึง การสนับสนุน การพัฒนากีฬายานยนต์ และการ
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law
Sport & law

More Related Content

What's hot

มคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
มคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬามคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
มคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
ไชยยา มะณี
 
Input process output
Input process outputInput process output
Input process output
Nuch Nalinee
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
Nattakorn Sunkdon
 
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpmการจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
Pongsatorn Sirisakorn
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติ
waraporny
 

What's hot (20)

มคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
มคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬามคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
มคอ.3 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
 
สูจิบัตรกีฬาสี วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปี 2557 ฉบับที่ 1
สูจิบัตรกีฬาสี วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปี 2557 ฉบับที่ 1สูจิบัตรกีฬาสี วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปี 2557 ฉบับที่ 1
สูจิบัตรกีฬาสี วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ประจำปี 2557 ฉบับที่ 1
 
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
Power point 1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
 
Input process output
Input process outputInput process output
Input process output
 
บทที่ 3 หลักสถิติ
บทที่ 3 หลักสถิติบทที่ 3 หลักสถิติ
บทที่ 3 หลักสถิติ
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
 
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
 
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpmการจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
 
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุหลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
หลักการยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุ
 
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
sufficient economy - cartoon
sufficient economy - cartoonsufficient economy - cartoon
sufficient economy - cartoon
 
โครงงานคำควบกล้ำ
โครงงานคำควบกล้ำโครงงานคำควบกล้ำ
โครงงานคำควบกล้ำ
 
กรณีศึกษา1 การบินไทย
กรณีศึกษา1 การบินไทยกรณีศึกษา1 การบินไทย
กรณีศึกษา1 การบินไทย
 
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่ายกายและสุขภาพ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่ายกายและสุขภาพบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่ายกายและสุขภาพ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่ายกายและสุขภาพ
 
บทความการใช้เทคโนโลยี Google apps ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
บทความการใช้เทคโนโลยี Google apps ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนบทความการใช้เทคโนโลยี Google apps ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
บทความการใช้เทคโนโลยี Google apps ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติ
 
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
 

Viewers also liked

Χρήστος Ταπούτος
Χρήστος ΤαπούτοςΧρήστος Ταπούτος
Χρήστος Ταπούτος
John the Revelator
 

Viewers also liked (9)

Χρήστος Ταπούτος
Χρήστος ΤαπούτοςΧρήστος Ταπούτος
Χρήστος Ταπούτος
 
DJ2.0 Social Media and Radio
DJ2.0 Social Media and RadioDJ2.0 Social Media and Radio
DJ2.0 Social Media and Radio
 
Wade Helliwell
Wade HelliwellWade Helliwell
Wade Helliwell
 
Amperor products for automotive industry 2014 0227
Amperor products for automotive industry 2014 0227Amperor products for automotive industry 2014 0227
Amperor products for automotive industry 2014 0227
 
Justin Gray
Justin GrayJustin Gray
Justin Gray
 
Amperor presentation
Amperor presentationAmperor presentation
Amperor presentation
 
NR Creative Group : NATHAN RICHIE
NR Creative Group : NATHAN RICHIENR Creative Group : NATHAN RICHIE
NR Creative Group : NATHAN RICHIE
 
Using Drupal for School or District Website
Using Drupal for School or District WebsiteUsing Drupal for School or District Website
Using Drupal for School or District Website
 
SAP - Transportation Module Study material
SAP - Transportation Module Study materialSAP - Transportation Module Study material
SAP - Transportation Module Study material
 

Sport & law

  • 1. โดย คณะทำงำนทีมผู้นำรุ่นใหม่ด้ำนกำรจัดกำรควำมรู้ SPORT & LAW เอกสารประกอบการสัมมนา ตำมโครงกำรพัฒนำบุคลำกรด้ำนกฎหมำย และกำรให้ควำมเห็นทำงกฎหมำย เรื่อง “กีฬำกับกฎหมำย” 22-25 สิงหำคม 2557
  • 2. กีฬานั้นได้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมของมนุษยชาติอย่างแท้จริง กีฬาถือเป็นส่วนสาคัญในกิจกรรมทางสังคมของผู้คน ไม่ว่าจะเป็น การเล่นกีฬาเพื่อความเพลิดเพลิน หรือการเล่นเพื่อแข่งขันใน ระดับสมัครเล่น หรือเป็นการเล่นเพื่อเป็นอาชีพ นโยบายด้านกีฬา ทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติต่างเห็นพ้องกันถึง ความสาคัญของกีฬาไม่ว่าในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เดิมนั้น กีฬาถือเป็นส่วนสาคัญของการพัฒนาทรัพยากรด้านบุคคลและ เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งระดับ ท้องถิ่น ระดับประเทศไปจนถึงระดับนานาชาติ ปัจ จุบัน กีฬา กาลังทวีความสาคัญด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันกีฬา ในรายการสาคัญจานวนมากที่มีการถ่ายทอดการแข่งขันผ่านทาง โทรทัศน์ เงินรางวัลและค่าตอบแทนผู้เล่น การโฆษณาสินค้าผ่าน รายการแข่งขัน ฯลฯ เหล่านี้ มีมูลค่ามหาศาลในทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน กิจการด้านกีฬาได้ปรากฏปัญ หาข้อพิพาทที่มิได้มี เพียงแต่ข้อพิพาทในการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังปรากฏปัญ หาข้อ พิพาทในเรื่องอื่นๆ อีกจานวนมาก เช่น ปัญ หาการบริการจัดการ องค์กรด้านกีฬา ปัญ หาด้านความโปร่งใส ปัญ หาด้านสัญญาของ นักกีฬา ปัญ หาการประกอบอาชีพของนักกีฬา ปัญ หาการใช้สาร กระตุ้นในนักกีฬา หรือปัญ หาเกี่ยวกับสิทธิ์การถ่ายทอดสดการ แข่งขันกีฬา เป็นต้น แต่เนื่องจากกิจการด้านกีฬาเป็นเรื่องที่มี ความซับซ้อน หลากหลาย และมีลักษณะเฉพาะที่ค่อนข้างจะ แตกต่างไปจากกิจการอื่นๆ ที่รัฐเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ปัจ จุบัน กิจการกีฬามีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นการแข่งขันเพื่อ อาชีพที่มีลักษณะเป็นธุรกิจมากขึ้นในหลายชนิดกีฬา ปัญ หาที่ สารบัญ 1. บทนา 2 2. ตัวอย่างประเด็นปัญ หาที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับการกีฬา 5 2. องค์กรกีฬา (Sport Governing Body) 11 3. การแข่งขันกีฬา 22 5. กฎหมายเกี่ยวกับกีฬา ในประเทศไทย 25 6. การกีฬาในทวีปยุโรป 30 7. รายชื่อสมาพันธ์กีฬานานาชาติ 36 8. รายชื่อสมาคมกีฬาในประเทศไทย 39 9. บรรณานุกรม 44 บทนำ Office of the Council of State 2
  • 3. เกี่ยวกับความเหมาะสมของบทบาทของรัฐที่มีอานาจ หน้าที่่เกี่ยวกับกีฬาในระดับต่างๆ เริ่มปรากฏตัวมาก ขึ้น จุดเริ่มต้นของกีฬา - พื้นฐานของกิจกรรม ด้านกีฬาเป็นกิจกรรมเพื่อความรื่นเริงบันเทิงของ มนุษย์ คาว่า “sport” มาจากภาษาฝรั่งเศษ sporten แปลว่า to divert หรือ to turn และภาษาลาติน des- porto แปลว่า to carry away ความหมายโดยรวมก็ คือการเปลี่ยนทิศทางหรือการหันเหความสนใจของ คนเพื่อความรื่นเริง ในสมัยกลางในอังกฤษคานี้ หมายถึงการล่าสัตว์เท่านั้น จากนั้นกีฬาแข่งม้าก็เป็น ที่รู้จักในสมัยศตวรรษที่ 16 แต่ว่าวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์การกีฬาเริ่มในกีฬา Greek Olympics จัดขึ้นเมื่อปี 686 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตามกีฬา ชกมวยมีบันทึกไว้โดยชาวเอธิโอเปียเมื่อ 4000 ปี ก่อนคริสตกาล และกีฬาที่ใช้ลูกบอลในการเล่น คาด ว่ามีการเล่นเมื่อ 1400 ปีก่อนคริสตกาล ในเม็กซิโก ในตอนเริ่มต้น กีฬาเป็นเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา การ เอาชนะศัตรูหรือปฏิปัก ษ์ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ ตาม ธรรมชาติหรือเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการปลูก พืชหรือเลี้ยงสัตว์ ดังที่ได้กล่าวรากศัพย์มาจากการ หันเห อาจจะเนื่องจากความวิตกกังวล เป็นการ พักผ่อน และสร้างความสนุกสนาน ระบายออกทาง อารมณ์ กีฬาเป็นการป้องกันตนเอง จากความกลัว วิ่ง กระโดด หรือว่ายน้า เตรียมพร้อมเพื่อการต่อสู้ กีฬาบางอย่างเป็นการต่อสู้เพื่อชนเผ่า สอนให้คนมี ความอดทนและกล้าหาญ ความพึงพอใจที่มาจากการรับรู้ถึงคุณค่าของ ตนเองในการเอาชนะผู้อื่นผ่านเกมส์การแข่งขันถือ เป็นอาหารหรือคุณค่าทางอารมณ์อย่างหนึ่งของ มนุษย์ ด้วยเหตุดังกล่าว กลุ่มสังคมของมนุษย์จึงมี การพัฒนากิจกรรมเกมส์กีฬารูปแบบต่างๆ ที่ต้อง อาศัยทักษะด้านต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทักษะ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ทักษะการคิด การตัดสินใจ ฯลฯ เพื่อการประชันแข่งขันกันในระหว่าง คนในกลุ่มสังคม เพื่อให้การแข่งขันในเกมส์กีฬามี ความเป็นธรรมและให้ผู้แข่งขันอยู่ภายใต้กฎการ แข่งขันอันเดียวกันในการดาเนินกิจกรรมดังกล่าว จาเป็นต้องมีการพัฒนากฎ กติกาการแข่งขัน การตัดสิน การฝึกซ้อม และการบริหารจัดการอื่นๆ ที่ จาเป็นเพื่อประโยชน์ต่อการแข่งขันดังกล่าว กลุ่มสังคม ของผู้เล่นกีฬาดังกล่าวอาจจะเป็นกลุ่มเล็ก และอาจ รวมตัวใหญ่ขึ้นไปถึงระดับระเทศ และบางสังคมกีฬาก็ อาจเป็นสังคมกีฬาที่เป็นรวมตัวของกลุ่มคนที่มาจาก ทั่วโลกก็ได้ สิ่งเหล่านี้เองจึงเป็นพื้นฐานของการเกิดขึ้น ของสโมสร (clubs) สมาคมกีฬา (association) และ สมาพันธ์กีฬานานาชาติ(federation) กฎ กติกา หรือ ข้อปฏิบัติอื่น ที่กลุ่มสังคมกีฬากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกาหนด ขึ้นผูกพันต่อสมาชิกของกลุ่มได้เป็นเรื่องของสัญญา ประชาคมโดยแท้ โดยสังคมมีเป้าหมายร่วมกันคือให้ การแข่งขันมีความบริสุทธิ์และเป็นธรรมภายใต้กติกา อันเดียวกัน ความยินยอมตนในการผูกพันดังกล่าวจะ ยกเลิกเสียเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่สมาชิกใน สังคมกีฬาใดผู้ใดยกเลิกความยินยอมที่จะผูกพันและ ตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กติกาของสังคม กีฬานั้นอีกต่อไป ผลก็คือ ผู้นั้นก็ต้องออกจากสังคมนั้น ไปหรือกลุ่มสังคมกีฬานั้นพร้อมใจกันไม่คบหาสมาคม กับบุคคลนั้นอีกต่อไป ความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม สังคมกีฬาดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์พื้นฐานที่ จาเป็นต้องทาความเข้าใจในเบื้องต้น แนวคิดและบทบาทของกีฬากับมนุษยชาติได้เริ่ม ก่อตั้งเป็นกิจกรรมที่สาคัญอย่างหนึ่งของโลกคือกีฬา โอลิมปิก โอลิมปิกที่เป็นที่จักกันในสมัยใหม่นี้ เป็นการ ริเริ่มของ Baron Pierre de Coubertin โดยใช้เวลา ประมาณ 7 ปี เพื่อหาเสียงสนับสนุนในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา และในที่สุดองค์กรจัดตั้ง 3 Office of the Council of State
  • 4. International Athletic Congress ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1894 ได้ลงมิติเห็นชองจัดตั้ง The International Olympic Committee (IOC) (คณะกรรมการโอลิมปิก สากล) การแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกจัดขึ้นที่ กรุงเอเธนส์ในปี ค.ศ. 1896 นับจากนั้นเป็นต้นมา การ แข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้มีการจัดต่อเนื่องกันมาทุกๆ สี่ปี ยกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง ที่มี การว่างเว้นไป ธรรมนูญโอลิมปิก หรือ Olympic Charter นั้น ได้ระบุถึงแนวคิดสาคัญของโอลิมปิก (Olympism) คือ แนวคิดที่มีต่อชีวิต กีฬาเป็นการผสาน สมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ แนวคิด Olympism เป็นการผสมผสานระหว่างกีฬาและวัฒนธรรมเพื่อสร้าง หนทางไปสู่การมีชิวิตที่มีความสุขที่พบได้จากการใช้ ความพยาม ค่านิยม และหลักการทางจริยธรรมพื้นฐาน ของโลก เป้าหมายของ Olympism คือการใช้กีฬาเป็น เครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ และส่งเสริมให้เกิดความ สงบสุขในสังคม ขบวนการขับเคลื่อนโอลิมปิก (Olympic Movement) มีเป้าหมายในการเสริมสร้าง ความสงบสุขและโลกที่ดีขึ้นโดยการให้การศึกษาแก่ เยาวชนผ่านการฝึกฝนกีฬา โดยปราศจากการเลือก ปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุใดที่กาหนดไว้ในจิตวิญญาณของ โอลิมปิก (Olympic Spirit) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิด ความเข้าใจ มิตรภาพ ความเป็นปึกแผ่น และการ แข่งขันที่ยุติธรรม (Fundamental Principles of Olympism, Olympic Charter) นโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรประเทศต่างๆ ในโลก โดยส่วนใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่ากีฬาเป็น เครื่องมือที่สาคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากร บุคคล โดยเฉพาะในระดับเยาวชน ให้เป็นผู้มีร่างกายที่ แข็งแรง การบริหารอารมณ์ที่ดี รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และ จะกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศต่อไป กิจกรรมด้านกีฬาอาจเป็นกิจกรรมสันทนาการของภาค สังคม การใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อการดาเนินกิจกรรม ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สมเหตุผล แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกด้าน หนึ่ง เกมส์การแข่งขันกีฬานั้น บางชนิดกีฬาเป็นการ แข่งขันที่ผู้คนให้ความสนในการรับชมในฐานะที่เป็นการ รับชมเพื่อความบันเทิง ความต้องการของคนกลุ่ม ดังกล่าวเป็นแรงผลักดันที่ทาให้เกิดการพัฒนาการแข่งขัน เพื่อสนองต่อความต้องการของตลาด การแข่งขันกีฬา บางชนิดดังกล่าวจึงเริ่มเป็นการดาเนินกิจกรรมเพื่อการ พาณิชย์ กลุ่มคนที่อยู่ในอุตสหกรรมการกีฬา ได้แก่ องค์กรกีฬา สมาคม นักกีฬา สปอนเซอร์ และผู้บริโภคคือ ประชาชน ถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักภาคการกีฬาในส่วน ดังกล่าว ทีมงานการจัดการด้านความรู้ (KM) สานักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เห็นถึงความสาคัญในการ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการด้านกีฬาให้แก่ บุคลากรด้านกฎหมายของสานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา จึงได้มีการจัดการสัมมนาในหัวข้อ “Sport & Law” และจัดทาเอกสารประกอบการสัมมนา ฉบับนี้ โดยมุ่งที่จะนาเสนอถึงภาพรวมทั่วไปเกี่ยวกับ กิจการด้านกีฬาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกีฬา องค์กร และฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและในระดับ นานาชาติ สภาพปัญ หาที่เกิดขึ้น และตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนาได้มองเห็นถึงภาพรวมและ ความสัมพันธ์ของกิจการกีฬาระหว่างองค์กรกีฬาใน ประเทศและองค์กรกีฬาในต่างประเทศ และนาเสนอถึง ประเด็นปัญ หาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการด้านกีฬา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เห็นถึงสภาพปัญ หาอื่นที่ เกี่ยวพันกับการกีฬา โดยความรู้ความเข้าใจดังกล่าวจะ เป็นพื้นฐานที่ดีในการทาความเข้าใจและการวิพากษ์ นโยบายด้านการกีฬาของประเทศได้ Office of the Council of State 4
  • 5. ปัญหาตาแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศไทย ตาแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะหมดวาระลงในวันที่ 16 มิถุนายน 2556 ในการ จัดการเลือกตั้งนายกสมาคมคนใหม่แทนตาแหน่งที่ หมดวาระไปนั้น ได้เกิดข้อขัดแย้งขึ้นเนื่องจาก สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ แจ้งต่อสมาชิก (สโมสรฟุตบอล) ว่าได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับวาระการดารงตาแหน่งของนายก สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จากเดิมที่กาหนดไว้ 2 ปี เป็น 4 ปี และเปลี่ยนจานวนสมาชิกที่มีสิทธิออก เสียงจาก 184 เสียง เหลือเพียง 72 เสียง โดยให้ เหตุผลว่าเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมนูญฟีฟ่าใหม่ มีการเลื่อนการเลือกตั้งนากยสมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศฯ ออกไปจากกาหนดเดิม และมีการเรียก ประชุมเพื่อขอให้มีการรับรองธรรมนูญฟีฟ่าฉบับใหม่ ดังกล่าว จากจุดดังกล่าว ได้เปิดปัญ หาข้อขัดแย้งขึ้น เป็นสองฝ่าย ระหว่างสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ ไทยฯ และกลุ่มสมาชิกบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย โดย ฝ่ายสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เห็นว่ามีความ จาเป็นจะต้องให้การรับรองธรรมนูญฟีฟ่าฉบับใหม่ และจัดการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ ไทยฯ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ข้อบังคับใหม่ เพื่อป้องกัน มิให้ฟีฟ่าลงโทษสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า การเลื่อนการเลือกตั้งนายก สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทาไม่ได้ เพราะขัด กับกฎหมายประเทศไทย ประกอบกับวาระการดารง ตาแหน่งของนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เดิม กาหนดไว้ให้มีวาระ 2 ปี โดยพระราชบัญญัติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2528 และมีการอ้างว่าข้อบังคับว่าด้วย การเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ นั้น ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องการการเปลี่ยนแปลง ข้อบังคับของสมาคมจะต้องกระทาโดยที่ประชุมใหญ่และ ต้องนาข้อบังคับนั้นไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการเลือกตั้ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ครั้งนี้จะต้องใช้ กฎหมายและข้อบังคับภายในของประเทศไทย ปัญ หา ดังกล่าวเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งและ วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่าง กฎหมายในประเทศ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และฟีฟ่า นายวรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ตัวอย่ำงประเด็นปัญหำที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกำรกีฬำ 2 5 Office of the Council of State
  • 6. ปัญหาสัญชาติของ ชาริล แชปปุยส์ ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก นัดที่ 2 กลุ่ม บี ระหว่างทีชาติไทยกับทีมชาติ เลบานอน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 สหพันธ์ ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ได้ทาหนังสือแจ้งมาถึง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ว่า นักเตะทีมชาติ ไทย ชาริล ชัปปุยส์ ลูกครึ่งไทย-สวิส ขาดคุณสมบัติ ในการเล่นทีมชาติไทย เนื่องจากเคยเป็นเตะเยาวชน ของสวิสเซอร์แลนด์ ทาให้การแข่งขันในวันดังกล่าว ชาริล ชัปปุยส์ ไม่สามารถลงเล่นได้ บัวขาว ป. ประมุข ชื่อ บัวขาว ป. ประมุข เป็นชื่อนักมวยไทยที่เป็น ที่รู้จักและมีชื่อเสียงในแวดวงกีฬามวยไทย ทั้งใน และต่างประเทศ บัวขาวสร้างชื่อจากการเป็นแชมป์ มวยในรายการ K-1 สองสมัย และแชมป์ THAI FIGHT 2011 บัวขาว ถือเป็นนักมวยที่มีรายได้สูง คนหนึ่ง ต่อมาในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 บัวขาว ได้ประกาศแยกทางกับค่ายมวย ป. ประมุข ต้นสังกัด ด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ เรื่องผลประโยชน์ โดยขอตั้งค่ายมวยใหม่โดยใช้ชื่อว่า “ค่ายบัญชาเมฆ” ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเริ่มรายการ THAI FIGHT 2012 ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยกีฬามวยนั้น นักมวยไม่สามารถขึ้นชกในรายการใดได้หากไม่ได้รับ อนุญาตจากค่ายมวยต้นสังกัด THAI FIGHT ได้ประกาศ ถอดชื่อบัวขาวออกจากรายการ แต่บัวขาวได้ขึ้นชกใน รายการ THAI FIGHT 2012 ที่พัทยา หลังจาก บัวขาว ตัดสินใจขึ้นชกดังกล่าวทั้งๆ ที่โดนอ็อบแยกต์จากค่าย ป.ประมุข และทางสานักงานคณะกรรมการกีฬามวยได้ ออกคาสั่งห้ามขึ้นชก ปัญ หาดังกล่าวเป็นตัวจุดชนวนให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องหารือเพื่อหาทางออก เนื่องจาก ส่งผลกระทบกับวงการมวยและ พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 อย่างเลี่ยงไม่ได้ มีการฟ้องร้องกันระหว่าง THAI FIGHT ค่าย ป.ประมุข, กกท. บัวขาว และผู้ที่ เกี่ยวข้อง ปัญหาในสมาคมกีฬายิงปืนแห่งประเทศไทย ในช่วงเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา สมาคมกีฬายิงปืน ประสบปัญ หาที่เป็นที่สนใจของสื่อและประชาชน 2 เรื่อง คือ เรื่องแรก เป็นปัญ หาการเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬายิง Office of the Council of State 6
  • 7. ปืนแห่งประเทศไทย จุดเริ่มต้นมาจากการกีฬาแห่ง ประเทศไทยไม่รับรองผลการเลือกตั้ง กรณีนายอธิปรัฐ กาญจนสุวรรณ และคณะกรรมการบริหาร ได้รับเสียง โหวตให้เป็นนายกสมาคมฯ คนใหม่ ต่อจากนายปองพล อดิเรกสาร เมื่อปี 2554 แต่ กกท.พิจารณาแล้วว่าผิดมี การทาผิดขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2528 อยู่หลายมาตรา อธิปรัฐ กาญจนสุวรรณ กับตาแหน่งนายกสมาคมยิง ปืนที่ยังมีปัญ หา แต่กรมการปกครอง กลับรับจดทะเบียนสมาคมฯ ให้กับ นายอธิปรัฐ จึงทาให้สมาคมฯ ฟ้องร้องกรมการปกครอง ในฐานะนายทะเบียนต่อศาลปกครองในคดีที่เกี่ยวกับ การเพิกถอนการจดทะเบียนข้อบังคับของสมาคมฯ และ อีกปัญ หาหนึ่งคือ ปัญ หาระหว่างสมาคมฯ กับ นักกีฬา ทีมชาติ เนื่องจากสมาคมฯ ได้ตัดสิทธิ์และไม่รับรอง สมาชิกภาพของนักกีฬาสองคน คือ นายจักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม และ นายโอภาส เรืองปัญ ญาวุฒิ เป็นผลให้นักกีฬาทั้งสองไม่มีสิทธิ์ไปคัดเลือกเพื่อเป็น นักกีฬาทีมชาติ โดยทั้งสองคนได้ยื่นฟ้องสมาคมต่อศาล ปกครองเพิกถอนคาสั่งของสมาคมฯ ขอให้ศาลมีคาสั่ง คุ้มครองชั่วคราว และศาลปกครองได้มีคาสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวให้นักกีฬาทั้งสองคนสามารถเข้าร่วมคัดเลือกใน ทีมชาติได้ ซึ่งขณะนี้คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของศาล ปัญหาลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ปัญหาการถ่ายทอดสอดฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่าง มาก สาเหตุของปัญ หาย้อนกลับไปประมาณสองปีที่ผ่าน มา เกิดปัญ หาว่าบริษัทแกรมมี่ฯ ในฐานะผู้ได้รับสิขสิทธิ์ การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในการถ่ายทอดมีการใช้อุปกรณ์รับชมเฉพาะ เป็นผลให้ ผู้รับชมกับผู้ให้บริการทีวีบอกรับสมาชิกบางรายไม่ ถ่ายทอดสดผ่านช่องเหล่านั้นได้ กสทช. ในฐานะ หน่วยงานที่มีหน้าที่กากับดูแลกิจการโทรทัศน์จึงกาหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อแก้ปัญ หาเหล่านี้ คือ กฎ must carry (ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่ กิจการโทรทัศนท์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป) กฎ must have (ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการ โทรทัศน์สาคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555) และ กฎ non-exclusive list (ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ ภาพรายการแข่งขันกีฬาที่สาคัญ พ.ศ. 2556) โดยเป็น กฎที่กาหนดเกี่ยวกับการแพร่ภาพรายการที่มี ความสาคัญบังคับแก่ผู้ให้บริการทีวี ซึ่งรายการ “การ แข่งขันฟุตบอลโลก” เป็นรายการที่ถูกกาหนดให้เป็น 7 Office of the Council of State
  • 8. รายการโทรทัศน์ที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ ภายใต้การให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (free TV) เท่านั้น อย่างไรก็ตาม บริษัท อาร์เอสฯ ในฐานะผู้ได้รับ สิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกจากฟีฟ่า เห็นว่า บริษัทฯ ได้ประมูลลิขสิทธิ์มาได้ก่อนที่จะมีการ ออกกฎ must have กฎนี้จึงไม่เป็นธรรม และไม่ควรมี ผลย้อนหลัง จึงได้ฟ้องศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครอง มิได้ใช้กฎดังกล่าวกับการถ่ายทอดสดในครั้งนี้ ศาล ปกครองสูงสุดตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นให้อาร์เอสเป็น ฝ่ายชนะ และกฎ must have ใช้กับการแข่งขันฟุตบอล โลกครั้งนี้ไม่ได้ ทาให้ไม่สามารถถ่ายทอดสดฟุตบอล โลกทางฟรีทีวีได้ครบทุกนัดเหมือนอย่างเคย แต่ท้ายที่สุด ปัญ หาการรับชมการถ่ายทอดสดจบลง ด้วยที่ประชุม กสทช. มีมติเห็นชอบ การดาเนินการให้ มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 ทุกคู่ ( 64 นัด) ผ่านฟรีทีวีทุกช่อง โดยชดเชยค่าเสียโอกาสการ ถ่ายทอดสด ให้บริษัท อาร์ เอส ฯ เจ้าของลิขสิทธิ์การ ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014 โดยจ่ายจากเงิน กองทุน กทปส. ปัญหาของการใช้สารกระตุ้นของ แลนซ์ อาร์มสตรอง เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2556 แลนซ์ อาร์มสตรอง นักกีฬาปั่น จักรยานชาวสหรัฐฯ อดีตเจ้าของแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ 7 สมัย ตกเป็นข่าวอื้อฉาวเมื่อ The U.S. Anti-Doping Agency (USADA) องค์กรต่อต้านการใช้สาร กระตุ้นของนักกีฬาในสหรัฐอเมริกา ได้แถลงถึงหลักฐาน การใช้สารกระตุ้นจากตัวอย่างเลือดของ แลนซ์ อาร์มสตรอง และให้ทางเลือกแก่อาร์มสตรองว่าเขาจะยอมรับผิดและรับ การลงโทษตามข้อกล่าวหาหรือจะต่อสู้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ ของตนโดยใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการตามที่กฎหมาย สหรัฐกาหนด แต่เขาปฏิเสธที่จะต่อสู้ โดยให้สัมภาษณ์ว่า กระบวนการอนุญาโตตุลาการมีความลาเอียง ดังจะเห็นได้ จากจานวนคดีอนุญาโตตุลาการที่ USADA นามาฟ้อง นักกีฬาทั้งหลายรวม 60 คดีนั้น มีเพียง 2 คดีที่นักกีฬาพ้น ความรับผิด จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้สหพันธ์ จักรยานนานาชาติ (UCI) ประกาศริบแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ 7 สมัย และสั่งลงโทษแบนตลอดชีวิต นอกจากนี้ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (OIC) ออกคาสั่งยึด เหรียญ ทองแดงการแข่งขันจักรยาน ประเภทไทม์-ไทรอัน ในกีฬา โอลิมปิกเกมส์ 2000 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียอีก ด้วย ปัญหำกำรย้ำยทีมของผู้เล่นในลีกฟุตบอลในยุโรป ในวงการฟุตบอลแล้ว Jean-Marc Bosman คือ ผู้ประกาศอิสรภาพให้แก่นักฟุตบอลอาชีพอย่างเป็นทางการ ความมั่งคั่งของนักฟุตบอลฝีเท้าดีในปัจ จุบันนี้ คือผลพวง จากการต่อสู้ของเขานั่นเอง.ย้อนกลับไปในเดือนมิถุนายน ปี 1990 ชนวนความบาดหมางระหว่าง Bosman กับต้น สังกัดเริ่มปะทุขึ้น โดย FC Liege ต้นสังกัด (สโมสรลีกใน เบลเยี่ยม) ได้ลดค่าเหนื่อยของ Bosman ลงถึง 60% Bosman ต้องการย้ายทีมไปยังทีมที่สนใจในตัวเขาอย่าง Dunkerque (ทีมในฝรั่งเศส) แต่ว่า FC Liege กลับเรียก Office of the Council of State 8 แลนซ์ อำร์มสตรอง อดีตแชมป์จักรยำนทำงไกลตูร์ เดอ ฟรองซ์ 7 สมัย
  • 9. ค่าตัวจากในการขายอย่างเกินความเป็นจริง ทาให้ Dunkerque เลิกล้มความสนใจไป และ Bosman ก็แทบ ที่จะไม่ได้ลงเล่นให้กับ FC Liege เลย ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกันเขาได้ฟ้อง FC Liege และสมาคมฟุตบอล เบลเยียม (Belgian Football Association) ต่อศาล และ ต่อมาถึงเดือนพฤศจิกายน ศาลเบลเยียมตัดสินให้เขา ย้ายทีมได้อย่างอิสระ สมาคมฟุตบอลเบลเยียมได้ยื่น อุทรณ์ เดือนพฤษภาคม ปี 1991 ศาลอุทรณ์เบลเยียม ได้ตัดสินว่า การย้ายทีมอย่างอิสระของ Bosman ถูกต้อง Jean-Marc Bosman ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อระบบ ตลาดนักเตะในยุโรป เดือนมิถุนายน ปี 1995 Jean-Marc Bosman เรียกร้องค่าเสียหายจากยูฟ่าเป็นเงิน 1 ล้านเหรียญ สหรัฐ ณ ศาลยุโรป (EU-tribunal) ประเทศลักเซมเบิร์ก ฟีฟ่าและยูฟ่าออกแถลงการณ์คัดค้านการกระทาของ Bosman และในที่สุด European Court of Justice ได้ ตัดสินในคดีเลขที่ Case C-415/93 ว่า กฎเกณฑ์ เกี่ยวกับการย้ายทีมของนักเตะนั้นกระทบกระเทือนต่อ เสรีภาพของการย้ายถิ่นของแรงงานและเสรีภาพในการ สมาคมที่ European Economic Community Treaty รับรองไว้ เมื่อสัญญาระหว่างนักเตะกับสโมสรสิ้นสุดลง Bosman และนักเตะคนอื่นๆ ย่อมมีสิทธิ์จะย้ายไปทีมใด ก็ได้ในระหว่างสโมสรในยุโรป ผลของคาพิพากษา ดังกล่าวสร้างผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงนกติกา การย้ายทีมของผู้เล่นในยุโรปที่เป็นผลอยู่ในปัจ จุบัน โดย กฎการย้ายทีมดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Bosman Rule” ปัญหากฎ UEFA Home-Grown Player Rules ภายใต้หลักการตามสนธิสัญญาลิสบอนและ คาแนะนาของคณะกรรมาธิการยุโรปว่าด้วยการกีฬาที่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มนุษย์มีเสรีภาพในการโยกย้าย ถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพสามารถโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการ ประกอบอาชีพระหว่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่มีถิ่นฐานอยู่นอกกลุ่มประเทศ สหภาพยุโรปที่ย้ายมาเล่นในการแข่งขันระดับต่าง ๆ ใน กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เช่น การย้ายจากประเทศอื่น ในกลุ่มสหภาพยุโรปมาสู่การแข่งขันระดับต่างๆใน ประเทศอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดในการสนับสนุนให้ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพมีเสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐาน ย่อมถือเป็นการสนับสนุนแนวความคิดของการรวมกลุ่ม สหภาพยุโรปเพื่อก่อให้เกิดตลาดเดียว (European Common Market) อีกประการหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี การ ให้เสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐานของนักกีฬาฟุตบอล จากต่างชาติที่มีทักษะดี อาจก่อให้เกิดผลกระทบและ ปัญ หาต่อการพัฒนานักกีฬาฟุตบอลท้องถิ่นหรือผู้เล่น ท้องถิ่นหลายประการ ได้แก่ ประการแรก ปัญ หาการ แย่งงานของนักเตะท้องถิ่น ประการที่สอง ปัญ หาความ ไม่เป็นธรรมในการแข่งขันกล่าวคือ ทีมหรือสโมสรขนาด กลางหรือขนาดเล็กจะมีความเสียเปรียบในการการซื้อ 9 Office of the Council of State
  • 10. นักเตะฝีเท้าดีเพื่อเสริมทีม จึงมักเกิดปัญ หาการผูกขาด แชมป์อยู่กับทีมใหญ่อยู่ไม่กี่ทีม ทีมขนาดกลางและ ขนาดเล็กขาดโอกาสในการปรับปรุงทีม และประการ สุดท้าย นโยบายการย้ายถิ่นอย่างเสรีก่อให้เกิดปัญ หา ความไม่สมดุลในเรื่องการพัฒนา กล่าวคือ การเปิด โอกาสให้มีการจ้างแรงงานนักกีฬาฟุตบอลต่างชาติที่มี ทักษะสูงมาทาการแข่งขันในการแข่งขันระดับต่างๆ ย่อมทาให้การพัฒนาศักยภาพการกีฬาเยาวชนท้องถิ่น เป็นไปโดยล่าช้าเพราะนักกีฬาท้องถิ่นย่อมได้รับความ สนใจน้อยจากสโมสรกีฬาฟุตบอลที่มีชื่อเสียง ด้วยเหตุ ดังกล่าว ยูฟ่าจึงได้ออกหลักเกณฑ์ UEFA Home- Grown Player Rules กาหนดให้สโมสรฟุตบอลที่เข้า ร่วมการแข่งขันแชมเปี้ยนส์ลีก (UEFA Champions League) และยูฟ่ายูโรป้าลีก (UEFA Europa League) จากัดจานวนขั้นต่าของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ ชาวต่างชาติ (Limit on the amount of foreign foot- ball players) เพื่อให้นักกีฬาฟุตบอลอาชีพต่างชาติมี สัดส่วนไม่เกินตามที่สมาคมฟุตบอลยุโรปกาหนดไว้ นอกจากนี้ สมาคมฟุตบอลยุโรปยังได้กาหนดอัตราส่วน ของนักกีฬาฟุตบอลอาชีพที่ได้รับการพัฒนาจากสโมสร ท้องถิ่นให้ประกอบด้วยผู้เล่นที่เป็นนักกีฬาฟุตบอล อาชีพท้องถิ่นขั้นต่า โดยผู้เล่นดังกล่าวต้องได้รับการ ฝึกฝนในประเทศ (home-grown players) กฎของยูฟ่า ดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในหลักการที่ อาจขัดแย้งสิทธิในการโยกย้ายแรงงานและข้อห้าม เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติเป็นอย่างมาก จากตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับการกีฬาที่ได้ ยกตัวอย่างมาให้เห็นนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยของปัญ หา ที่เกิดขึ้นจริงทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นถึงสภาพปัญ หาของการ บริหารจัดการกิจการกีฬา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ องค์กรกีฬา ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกีฬา สมาคม กีฬาทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ปัญ หาการระงับข้อ พิพาทในกิจการกีฬา หรือปัญ หาอื่นๆ ที่เกี่ยวกันกับ กิจการกีฬา เช่น ปัญ หาการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา หรือปัญ หาเกี่ยวกับนโยบายที่อาจขัดหรือแย้งกับหลักการ ของกฎหมายในประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ในการทาความเข้าใจสภาพปัญ หา ในเบื้องต้น จาเป็นจะต้องทาความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและ โครงสร้างขององค์กรกีฬา ทั้งองค์กรกีฬาในประเทศ และ องค์กรกีฬาในระดับนานาชาติ รวมถึงบทบาท อานาจ หน้าที่ และความสัมพันธ์ขององค์กรกีฬาดังกล่าว ซึ่งจะได้ นาเสนอในบทถัดไป Office of the Council of State 10
  • 11. โครงสร้างขององค์กรกิจการกีฬาเป็นโครงสร้างที่ เป็นความร่วมมือในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ เพื่อ ประโยชน์ในการควบคุมกติกา มาตรฐาน และการ แข่งขัน เมื่อพิจารณาโครงสร้างขององค์กรบริหารการ กีฬาแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างและความสัมพันธ์ใน แนวดิ่งที่เหมือนหรือคล้ายกัน โดยแต่ละองค์กรมี ความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างแบบพิรามิด โดยมีความ ผูกพันในลักษณะของความยินยอมในการปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ขององค์กรจากระดับบนลงถึงระดับล่าง ดังต่อไปนี้ 3.1 โครงสร้ำงและควำมสัมพันธ์ขององค์กรบริหำร กำรกีฬำ 3.1.1 สมำพันธ์กีฬำนำนำชำติ (International Sports Federations) สมาพันธ์กีฬานานาชาติ (International Sports Federations) นั้น ทั้งหมดเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดย เป็นองค์กรที่ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ (non- governmental governing body) ทาหน้าที่ในการ กากับดูและการบริหารกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งนั้น โดยทั่วไป มีหน้าที่ในการกาหนดกติกา ในการ สนับสนุนการแข่งขันหรือการจัดการแข่งขันในระดับ ต่างๆ และประสานงานด้านกีฬาในระหว่างสมาชิก สมาชิก (members) ของสมาพันกีฬานานาชาติได้แก่ สมาคมกีฬาในระดับประเทศ (National Association) ที่อยู่ในประเทศต่างทั่วโลก ซึ่งสมาชิกเหล่านี้มีหน้าที่ ผูกพันตามกฎบัตรหรือกฎระเบียบที่สมาพันธ์กีฬา นานาชาติกาหนดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สมาพันธ์กรีฑา นานาชาติ (International Association of Athletics Federations (IAAF)) สมาพันธ์แบดมินตันนานาชาติ (Badminton World Federation (BWF)) สมาพันธ์ บาสเก็ตบอลนานาชาติ (International Basketball Federation (FIBA)) หรือสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (International Federation of Association Football (FIFA)) เป็นต้น (โปรดดูรายชื่อสมาพันธ์กีฬานานาชาติ หน้า 36) 3.1.2 สมำพันธ์กีฬำนำนำชำติในเขตพื้นที่ (Regional Federations) การจัดองค์กรขององค์กรบริหารการกีฬาบางชนิด 11 Office of the Council of State องค์กรบริหำรกำรกีฬำ (Sport Governing Body) 3
  • 12. มีการจัดตั้งสมาพันธ์กีฬานานาชาติในระดับพื้นที่ โดยมี หน้าที่คล้ายกันกับสมาพันธ์กีฬานานาชาติ เพียงแต่มี อานาจ และขอบเขตเฉพาะเขตพื้นที่หรือประเทศที่ กาหนดเท่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น ในกีฬาฟุตบอล มีสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ทาหน้าที่เป็น สมาพันธ์กีฬานานาชาติ ได้รับรองการจัดตั้งสมาพันธ์ กีฬานานาชาติในระดับเขตพื้นที่โดยใช้เขตทวีป โดย องค์กรเหล่านี้จะทาหน้าที่ในการดูและจัดการแข่งขัน ฟุตบอลในกฎระเบียบและการแข่งขันของ FIFA ในเขต พื้นที่ ประกอบไปด้วย  สมาพันธ์ฟุตบอลยุโรป (Union of European Football Associations (UEFA))  สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (Asian Football Confederation (AFC))  สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Confederation of African Football (CAF))  สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (South American Football Confederation (CONMEBOL))  สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (Oceania Football Confederation (OFC))  สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และ แคริบเบียน (Confederation of North, Central American and Caribbean Association Football (CONCACAF)) 3.1.3 สมำคมกีฬำในประเทศ (National Association) ในระดับประเทศ ในกีฬาชนิดหนึ่งจะมีการจัดตั้ง องค์กรบริหารการกีฬาที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแลใน เกี่ยวกับกฎ กติกา และการจัดการแข่งขันในระดับต่างๆ และการบริหารจัดการของกีฬาชนิดนั้นๆ โดยทั่วไป สมาคมกีฬาดังกล่าวมักจะเข้าไปเป็นสมาชิกในสมาพันธ์ กีฬานานาชาติ เพื่อประโยชน์ในกิจการกีฬาในระดับที่ สูงขึ้นไปในระดับนานาชาติ ยกตัวอย่างเช่น สมาคม ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้า ไปเป็นสมาชิกของ AFC และ FIFA โดยกิจกรรมและ การแข่งขันของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เป็น Office of the Council of State 12
  • 13. กิจกรรมและการแข่งขันที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของ FIFA เป็นต้น 3.1.4 สโมสรกีฬำและนักกีฬำ (Clubs & Players) นักกีฬาและสโมสรกีฬา (กีฬาชนิดที่ต้องเล่นเป็นทีม มักจะมีการรวมตัวกันเป็นสโมสรกีฬา) ที่จะเข้าร่วมใน การแข่งขันในระดับต่างๆ ที่สมาคมกีฬาหรือองค์กรอื่นที่ สมาคมกีฬารับรองจัดการแข่งขัน จะต้องเป็นสมาชิกของ สมาคมกีฬานั้นๆ และนักกีฬาและสโมสรกีฬา มีความ ผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สมาคมกีฬานั้นๆ กาหนดด้วย ยกตัวอย่างเช่น สมาคมฟุตบอลที่มีอยู่เกือบ ทั่วประเทศเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ ไทยฯ หรือนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นที่ต้องการลง แข่งขันในระดับโอลิมปิก จะต้องเป็นสมาชิกของสมาคม มวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ เป็นต้น 3.2 โครงสร้ำงและองค์กรบริหำรกำรกีฬำในประเทศ ไทย 3.2.1 กำรกีฬำแห่งประเทศไทย (กกท.) นับตั้งแต่กิจกรรมกีฬาสากลได้แพร่หลายในประเทศ ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา กีฬาสากลในประเทศไทยได้รับ การส่งเสริมและเป็นที่สนใจของประชาชนอย่าง กว้างขวางควบคู่กับกีฬาพื้นบ้านหรือกีฬาประเพณีมา โดยตลอด ในการดาเนินการกีฬาในสมัยนั้น มีกระทรวง ธรรมการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันเป็น หน่วยงานที่ได้รับมอบเป็นผู้ดาเนินการเพื่อเป็นแนว ทางการสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาตลอดจนการรับ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วยเหลือการกีฬาใน ประเทศ กิจการกีฬาในประเทศไทยได้ขยายตัวอย่าง กว้างขวาง กีฬาชนิดต่างๆ ได้รับความนิยมจาก ประชาชนอย่างแพร่หลาย การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ระหว่างประเทศใน ขณะนั้น เป็นการ ดาเนินงานของ สมาคมกีฬา ยังไม่มี หน่วยงานกีฬาของรัฐ ให้การสนับสนุน บุคคลในวงการกีฬา ของไทยในสมัยนั้น ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สนใจในกีฬาและเป็น ผู้ก่อตั้งสมาคมกีฬาต่างๆ และคณะกรรมการโอลิมปิก แห่งประเทศไทยได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศ ไทยควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการกีฬาของประเทศใน ภาครัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อทาหน้าที่ด้านนโยบาย ของประเทศ ตลอดจนดูแลและประสานงานส่งเสริมกีฬา ระดับประชาชน ให้ประชาชนได้เล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง และมีโอกาสคัดเลือกนักกีฬาที่มีศักยภาพไปแข่งขันกับ ต่างประเทศ และต่อมาในปี 2507 มีการตราพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2507 (ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้ง องค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496) องค์การส่งเสริมกีฬา แห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดสานักนายกรัฐมนตรี บริหารงานโดย คณะกรรมการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่ง คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง มีผู้อานวยการ อ.ส.ก.ท.ซึ่ง คณะกรรมการแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อดาเนินกิจการ ของ อ.ส.ก.ท. มีหน้าที่สาคัญในการส่งเสริมกีฬา ช่วยเหลือ แนะนา และร่วมมือในการจัดและดาเนินการ กีฬาสมัครเล่น สารวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่ สาหรับกีฬาสมัครเล่น และติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือ สมาคมกีฬาสมัครเล่น ทั้งในและนอกราชอาณาจักร เป็น ต้น (http://www.sat.or.th) ต่อมามีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการกีฬาแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2528 เพื่อจัดตั้ง “กำรกีฬำแห่ง 13 Office of the Council of State
  • 14. ประเทศไทย” (กกท.) แทน ”องค์การส่งเสริมกีฬา แห่งประเทศไทย” และให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีอานาจหน้าที่ในการส่งเสริมการกีฬาและควบคุม การดาเนินกิจการกีฬาได้กว้างขวางและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คาสัญคือ ส่งเสริมกีฬา ทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ ประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา ศึกษา วิเคราะห์และ จัดทาโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการ ส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล จัด ช่วยเหลือ แนะนา และร่วมมือในการจัดและดาเนินการกีฬา สารวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สาหรับการกีฬา ติดต่อ ร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและ นอกราชอาณาจักร สอดส่องและควบคุมการดาเนิน กิจการทางการกีฬา ฯลฯ นอกจากนี้ ยังกาหนดให้มี “คณะกรรมกำรกีฬำประจำจังหวัด” โดยมีหน้าที่ ในการส่งเสริมกีฬาในจังหวัด เสนอแนะโครงการ ส่งเสริมการกีฬาในจังหวัดต่อ กกท. และร่วมมือกับ กกท. ในการดาเนินการจัดแข่งขันกีฬา ปัจจุบัน กกท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกากับ ดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 3.2.2 คณะกรรมกำรโอลิมปิกแห่งประเทศ ไทยในพระบรมรำชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาหนึ่งชุดมีชื่อเรียกว่า "คณะกรรมการต้อนรับ ระหว่างประเทศฝ่ายกีฬา" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาว ต่างประเทศที่มาพานัก อยู่ในประเทศไทยหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีโอกาสเล่นและแข่งขัน กีฬา โดยรวบรวมรายได้ จากการเก็บค่าผ่านประตู ส่งบารุงสภากาชาดไทยและบารุงการกุศล สาธารณประโยชน์ด้านการกีฬาต่อมาที่ประชุมเห็น ว่าน่าจะมีองค์กรโอลิมปิกมาดาเนินการแทน คณะกรรมการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจริญ สัมพันธไมตรีด้านการกีฬากับนานาประเทศ จึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2491 พร้อมทั้งมีหนังสือถึง คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ เมืองโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 เพื่อ ขอให้ดาเนินการรับรอง คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ ให้การรับรองคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 (http://olympicthai.or.th) คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ มีภารกิจ และบทบาทระดับชาติในการร่วมรณรงค์เพื่อเสริมสร้าง สันติและบทบาทของสตรีกับกีฬา สนับสนุนและ ช่วยเหลือการรณรงค์ เพื่อส่งเสริม จรรยาบรรณการกีฬา การต่อต้านการใช้สาร ต้องห้าม และการส่ง นักกีฬาในประเทศเข้า แข่งขันกีฬาในระดับ นานาชาติ สมาชิกของ คณะกรรมการโอลิมปิก แห่งประเทศไทยฯ มี 2 ประเภท คือ สมาชิกสามัญ คือ สมาคมกีฬาแห่งประเทศ ไทยที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬานานาชาติ หรือ ผู้แทน ซึ่งจะต้องเป็นชนิดกีฬาที่มีในการแข่งขันกีฬา โอลิมปิกเกมส์ หรือกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ นักกีฬา ผู้ทรงคุณวุฒิ ฯลฯ และสมาชิกสมทบ คือ สมาคมกีฬา แห่งประเทศไทยที่สหพันธ์กีฬานานาชาติให้การรับรอง แต่เป็นสมาคมกีฬาที่ไม่มีอยู่ในรายการการแข่งขันกีฬา โอลิมปิก หรือเอเชี่ยนเกมส์ สามารถขอเข้าเป็นสมาชิก สมทบได้แต่ไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงใด ๆ (ธรรมนูญ ข้อบังคับคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2546) Office of the Council of State 14
  • 15. 3.2.3 สมำคมกีฬำ สมาคมกีฬาในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไปจะจัดตั้ง ในรูปแบบของ “สมาคม” ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการ ควบคุมดูแลกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง ชนิดกีฬา การก่อตั้งสมาคมกีฬานั้น นอกจากการ ดาเนินตามกระบวนการจัดตั้งตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์แล้ว มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติ การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ยังกาหนดให้ สมาคมซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือ การส่งเสริมกีฬาโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตจาก กกท. ก่อนการดาเนินการจัดตั้ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 78 บัญญัติความหมายของสมาคมไว้ว่าการก่อตั้งสมาคม เพื่อกระทาการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและ มิใช่เป็นการหากาไรหรือรายได้มาแบ่งปัน กันต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ข้อบังคับสมาคมเป็นแนวทางปฏิบัติของ คณะกรรมการและสมาชิกของสมาคม และรายการใน ข้อบังคับสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการต่อไปนี้ คือ ชื่อสมาคม วัตถุประสงค์ของสมาคม ที่ตั้งสานักงาน ใหญ่ วิธีบอกรับสมาชิกและขาดสมาชิกภาพ อัตราค่า บารุง ข้อกาหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม (รายละเอียดเกี่ยวกับจานวน การตั้ง วาระการดารง ตาแหน่ง การพ้นจากตาแหน่ง และการประชุม) ข้อกาหนดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและบัญชีและ ข้อกาหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่ของสมาคม (มาตรา 79 ป.พ.พ.) ข้อบังคับของสมาคมต้องมีการจด ทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สานักงานใหญ่ ตั้งขึ้น (รวมถึงการแก้ไขข้อบังคับสมาคมด้วย) สมาคมกีฬาต่างๆ ในประเทศไทยมีทั้งที่เป็น สมาคมกีฬาในชนิดกีฬาที่มีการจัดตั้งองค์กรบริหาร การกีฬาในระดับนานาชาติ (สมาพันธ์กีฬานานาชาติ) ในกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิก เช่น สมาคมวอลเลย์บอล แห่งประเทศไทย (ส.ว.ท.) ลอนเทนนิสสมาคมแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมไตรกีฬา แห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมมวยสากลสมัครเล่น แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สม.สท.) สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ฟ.ท.) ฯลฯ ซึ่งสมาคมเหล่านี้เป็นสมาชิกใน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการขับเคลื่อน โอลิมปิก (Olympic Movement) ด้วย และมีสมาคมกีฬา ในชนิดกีฬาที่ไม่มีการแข่งขันในโอลิมปิก แต่อาจเป็น สมาชิกของสมาพันธ์กีฬานานาชาติและร่วมกิจกรรมการ แข่งขันในระดับต่างๆ ที่มีการจัดการแข่งขัน เช่น สมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย (สบท.) สมาคมตะกร้อ แห่งประเทศไทย (สตท.) สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่ง ประเทศไทย ฯลฯ (โปรดดูรายชื่อสมาคมกีฬาในประเทศ ไทยหน้า 39) 3.2.4 ตัวอย่ำงกรณีศึกษำ กีฬามวยสากล ในระดับสากลของกีฬามวยอาชีพนั้นมีอยู่หลาย สถาบันที่ทาหน้าที่ควบคุมดูแล ในจานวนนี้มีทั้งที่เป็น สถาบันหลักอันเป็นที่คุ้นหูกันในหมู่คนทั่วไป ได้แก่ สมาคมมวยโลก (W.B.A. (World Boxing Association)) องค์การมวยโลก (W.B.O. (World boxing organization)) สหพันธ์มวยนานาชาติ (I.B.F. (International Boxing Federation)) และสภามวยโลก (W.B.C. (World Boxing Council)) และสถาบันย่อย อื่นๆ ซึ่งอาจไม่ได้รับการยอมรับเท่ากับสี่สถาบันหลัก ข้างต้น เช่น IBO IBA หรือ PABA ทั้งนี้ แต่ละสถาบันมี การออกกฎและข้อบังคับของตัวเอง โดยเนื้อหาของกฎ หรือข้อบังคับดังกล่าวมีทั้งการกาหนดในเรื่องเชิง 15 Office of the Council of State
  • 16. นั้น เช่น เจ้าพนักงานของสังเวียนในระดับสากล (International Ring Officials) เช่นกรรมการหรือผู้ ตัดสิน หรือโปรโมเตอร์มวย เป็นต้น ในด้านกีฬามวยสากลสมัครเล่น สาหรับระดับ นานาชาตินั้นก็มีสหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ (International Boxing Association (AIBA)) ซึ่ง AIBA ปัจ จุบันได้มีความพยายามในการจัดการชกมวยระดับ อาชีพด้วย) ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นสมาคมภายใต้ กฎหมายของประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยมีวัตถุประสงค์ หลายประการรวมทั้งการพัฒนาและเผยแพร่กีฬามวย ทุกรูปแบบและเพื่อกากับดูแลกีฬามวยให้สอดคล้องกับ ข้อบังคับของ AIBA หรือกฎต่างๆ ของ AIBA ทั้งนี้ ปัจ จุบันมีสหพันธ์ระดับชาติที่เข้าร่วมกับ AIBA ทั้งสิ้น 196 สหพันธ์ (จากจานวนทั้งสิ้น 205 ที่ได้รับการยอมรับ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ) ซึ่งประเทศไทย โดยสมาคมกีฬามวยแห่งประเทศไทย (Thailand Boxing Association) ก็ได้เข้าเป็นสมาชิกของ AIBA ด้วย สาหรับกีฬามวยในประเทศไทย คณะกรรมการกีฬา มวยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นคณะกรรมการในการกีฬาแห่งประเทศไทย มีบทบาทอย่างมากในการควบคุมและกากับดูแลกีฬา Office of the Council of State 16 โครงสร้างของสถาบัน และเรื่องเกี่ยวกับการแข่งขัน เช่น กรณีของสมาคมมวยโลก (W.B.A.) ในข้อบังคับ ภายใน (By-laws) ได้กาหนดชื่อและลักษณะขององค์กร วัตถุประสงค์ของสถาบัน คุณสมบัติของสมาชิก หรือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิก สาหรับกฎ (Rules) จะ เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ของการแข่งขัน เช่น การเป็น แชมป์ของสถาบัน การ Purse Bids (การประมูลเพื่อ จัดการแข่งขัน) กติกาที่ใช้ในการแข่งขัน รวมทั้งไกด์ ไลน์เกี่ยวกับการแพทย์และความปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้ สมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามกติกาของสถาบันอาจจะถูก ลงโทษตามกฎหรือข้อบังคับโดยกรณีของสมาคมมวย โลก ประชุมหรือผู้อานวยการของสถาบันมีอานาจที่จะ สั่งระงับชั่วคราว ปรับ หรือขับไล่ หรือใช้มาตรการ แซงชั่นใดๆ ตามที่จาเป็นได้ สาหรับในเรื่องของสมาชิก สมาชิกของ W.B.A. แบ่งได้เป็นสองประเภทหลัก คือ ประเภทที่สามารถลงคะแนนเสียงได้ (Voting members) และประเภทที่ไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้ (Non-voting members) โดยสมาชิกประเภทแรกก็เช่น สมาพันธ์มวยสากลระดับชาติหรือองค์กรมวยอื่นๆ ซึ่งมี อานาจในการจัดการ ควบคุม และกากับดูแลกีฬามวย สากลอาชีพภายในประเทศ รัฐ จังหวัด หรือภูมิภาค หรือสมาชิกในระดับทวีป เป็นต้น สาหรับประเภทที่สอง
  • 17. ปรับปรุงด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ สมาพันธ์ยังเป็น ผู้ทาการตีความและบังคับใช้กฎกติกาของสหพันธ์อีกด้วย สหพันธ์รถแข่งนานาชาติประกอบด้วยหลายหน่วยงาน ภายในและคณะกรรมการหลายชุดซึ่งรับผิดชอบในแต่ละ ด้านที่แตกต่างกันออกไป เช่น คณะกรรมการในด้านกีฬา หรือคณะกรรมการในด้านจริยธรรม เป็นต้น ทั้งนี้ FIA ได้ ทาการออกกฎกติกาเพื่อควบคุมกีฬายานยนต์เอาไว้โดย เนื้อหามีตั้งแต่การสมัครเข้าร่วมแข่งขันตลอดจนข้อแนะนา เกี่ยวกับความปลอดภัย กฎกติกาเหล่านี้ได้แบ่งออกตาม ประเภทของการแข่งขันซึ่งมีอยู่หลายประเภท เช่น การ แข่งขันรถสูตรหนึ่ง (FIA Formula One World Championship) หรือ การแข่งขันแรลลี่ระดับโลก (FIA World Rally Championship) เป็นต้น สาหรับจานวนสมาชิกของ FIA ก็มีเป็นจานวนมากโดย แบ่งเป็นสมาชิกประเภทลงคะแนนเสียงได้และที่ไม่สามารถ ลงคะแนนเสียงได้ ทั้งนี้ สาหรับกรณีของประเทศไทย ราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมป์ (Thailand Royal Automobile Association of Thailand) ก็เป็นสมาชิกของ FIA อยู่ด้วย ในด้านการแข่งขันกีฬายานยนต์ในประเทศไทย มีราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม 17 Office of the Council of State มวยในประเทศ โดยมีอานาจในการออกข้อบังคับ ต่างๆ เกี่ยวกับกีฬามวยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ มาตรฐานและสวัสดิการค่ายมวย ระเบียบและกติกา สาหรับการแข่งขันกีฬามวย รวมไปถึงความปลอดภัย สาหรับนักมวย เป็นต้น ซึ่งการฝ่าฝืนข้อกาหนด ต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ก็จะมีโทษ สาหรับในด้าน ของนักกีฬาแล้วหากจะขึ้นชกก็จะต้องดาเนินการให้ ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้เช่นกัน โดยจะต้องขึ้น ทะเบียนเป็นนักกีฬามวยและมีบัตรประจาตัวนักมวย นอกจากนี้ ยังต้องสังกัดค่ายมวยอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ค่ายมวยจึงมีความสาคัญมากและกฎหมายนี้ก็ได้ กาหนดมาตรฐานของค่ายมวยรวมทั้งหน้าที่ของค่าย มวยไม่ว่าจะเป็นการขึ้นทะเบียนค่ายมวยและการจัด ให้มีสวัสดิการต่างๆ ตามที่คณะกรรมการกีฬามวย กาหนดเอาไว้เช่นกัน สาหรับการมาตรฐานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องในการแข่งขันมวยที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสังเวียนมวย ผู้ตัดสิน ผู้จัดแข่งขันกีฬา มวย ก็มีการกาหนดควบคุมไว้โดยพระราชบัญญัตินี้ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในประเทศไทยก็มีสมาคมกีฬามวย อาชีพแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน โดยนายกของ สมาคมจะเป็นกรรมการในคณะกรรมการกีฬามวย ด้วย กีฬาแข่งรถ ในระดับนานาชาตินั้นเป็นสมาพันธ์รถยนต์ นานาชาติ (ภาษาฝรั่งเศส Fédération Internationale de l'Automobile (FIA) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า International Automobile Federation) ที่เป็นผู้ ควบคุมดูแล สมาพันธ์นี้เป็นองค์กรไม่แสวงหากาไร และมีวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น การสนับสนุน ประโยชน์ของสมาชิกในเรื่องที่เกี่ยวกับนานาชาติ เกี่ยวกับกีฬายานยนต์และการท่องเที่ยว รวมไปถึง การสนับสนุน การพัฒนากีฬายานยนต์ และการ