SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
เรื่อง ประเพณีไทยทั้ง 4 ภาค จัดทำโดย 1.นายธนารักษ์  สุแดงน้อย เลขที่ 6 3. นางสาว กมลชนาถ ทวีศักดิ์ เลขที่ 19
แม่ครู ชมัยพร  โคตรโยธา โรงเรียนฝางวิทยายน
เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคมเช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
ความหมายของประเพณี โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ
ความเป็นมาของประเพณี ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่างๆ ฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้น มนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าจะช่วยได้พอภัยนั้นผ่านพ้นไปแล้ว มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆด้วยการทำพิธีบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ตามความเชื่อ ความรู้ของตน เมื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม หรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกัน สืบต่อๆกันจนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆ
ประเพณีและวัฒนธรรม เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน คือ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มีขึ้น แล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธีการต่างๆว่าโดยเนื้อหาของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น ความรู้สึก ความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จนเกิดความเคยชิน เรียกว่า นิสัยสังคมหรือประเพณี
ประเภทของประเพณี 1.  จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม   หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว จะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น เช่น ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญู จารีตประเพณีของแต่ละสังคมนั้นย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีค่านิยมที่ยึดถือต่างกัน การนำเอาจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นแล้วตัดสินว่าดีหรือเลวกว่าของตนย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อของแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป ประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น  3 ประเภท ได้แก่
  2.  ขนบประเพณี   หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น สถาบันโรงเรียน มีโรงเรียน มีผู้สอน มีผู้เรียน มีระเบียบการรับสมัคร การเข้าเรียน การสอบไล่ เป็นต้น ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต หรือประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
3.  ธรรมเนียมประเพณี  หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี หรือมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น ฯลฯ ธรรมเนียมประเพณีเป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญแต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ
สำหรับความสำคัญของประเพณี คือ จะช่วยให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ โดยได้แบ่งการเกิดขึ้นของประเพณีไว้เป็น  4  กลุ่มคือ เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ประเพณีที่เกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ ประเพณีในเทศกาลสำคัญ และประเพณีทางศาสนา   ในประเทศไทยมีความแตกต่างของประเพณีไปตามแต่ละท้องถิ่น โดยสอดคล้องไปกับ บริบทของชุมชนนั้น ๆ เช่น ความแตกต่างกันในเรื่องอาชีพก็ทำให้มีประเพณี ปฏิบัติที่แตกต่างกันด้วย นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่ตั้งของชุมชน เช่น อยู่ใกล้กับแม่น้ำ อยู่บนป่าเขาลำเนาไพร ความสำคัญของประเพณี
ประเพณีทางภาคเหนือ
ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน   การแข่งเรือของจังหวัดน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบต่อกันมานาน ลักษณะของเรือแข่ง ลำเรือจะใช้ท่อนซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือชะล่า แต่รูปร่างเพรียวเบา หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค หรืองูใหญ่ชูคอเป็นสง่า อ้าปากโง้ง หางเรือทำเป็นหางพญานาคงอนสูง ตลอดลำเรือสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี ติดพู่ห้อยตรงหัวเรือและท้ายเรือ ตรงคอต่อหัวเรือปักธงประจำคณะ
ประเพณีแหล่ส่างลอง   ( แห่ลูกแก้ว )   แหล่ เป็นภาษาไทยใหญ่ว่าหมายถึง แห่ ส่างลอง หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทยใหญ่และชาวไทยผู้นับถือพุทธศาสนาในเขตอำเภอแม่สอด มักจะบวชเณรลูกหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียนระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายนของทุกๆ ปี เนื่องจากว่างจากการทำงานและลูกหลานไม่ได้ไปโรงเรียน ทั้งต้องการให้ลูกหลานมีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงปิดเทอม การจัดงานบวชลูกแก้ว ( แหล่ส่างลอง ) นั้น ถือว่าผู้ที่บวชลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง ๗ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นจะได้บุญ ๔ กัลป์ และถ้าได้บวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญ ๑๖ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นภิกษุจะได้บุญ ๘ กัลป์ จึงมักจะมีผู้ที่มีฐานะดีหลายคนนิยมหาเด็กผู้ชายมาบวช โดยจะไปทาบทามจากผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนและถือเป็นการสร้างบุญกุศลร่วมกัน
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำเป็นประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอภินิหารของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งคนหาปลาสองสามีภรรยาทอดแหได้ที่วังเกาะระสารในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักในเขตตัวเมืองเพชรบูรณ์ จึงนำไปไว้ที่วัดไตรภูมิ เมื่อถึงเทศกาลสารทพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปและชาวบ้านจะพบมาเล่นน้ำที่บริเวณที่ค้นพบเดิม ดังนั้นในเทศกาลทำบุญสารทหลังจากทำบุญเสร็จแล้วจะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงริ้วขบวนเรือไปสรงน้ำที่วังเกาะระสาร แต่ปัจจุบันนำมาทำพิธีที่ท่าน้ำของวัดโบสถ์ชนะมารในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ จัดขึ้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
ประเพณียี่เปง คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาไทย โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย งานประเพณีจะมีสามวันคือ ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป  ( การจุดผางปะตี๊บ )  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   จัดขึ้นที่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเพณีทางภาคอีสาน
ประเพณีบุญบั้งไฟ   ( บุญเดือนหก )   ชาวจังหวัดในภาคอีสานร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวภาคอีสานจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล   จัดทำขึ้นทุกจังหวัดแถวภาคอีสาน แต่ที่ยี่ใหญ่ที่สุดคือจังหวัดยโสธร
งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว   งานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ . ศ .  ๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง   ( ผ้าไหม )  และของที่ระลึกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีผูกเสี่ยว ก็เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเทศกาลไหม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า  " เสี่ยว "  เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกัน
ประเพณีไหลเรือไฟ   ความเชื่อของการไหลเรือไฟ สืบเนื่องมาจากการบูชารอยพระพุทธบาท การสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา มีความเชื่อว่า ในครั้งที่พญานาคทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในภพของนาค ก่อนเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อเป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นประเพณีไหลเรือไฟเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทนั่นเอง   จัดขึ้นที่จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 7-15  ตุลาคม
ประเพณีการละเล่นผีตาโขน   การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน  " บุญหลวง "  ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
ประเพณีทางภาคกลาง
ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ   จัดขึ้นทุกปีที่จังหวัดชนบุรีวัน ขึ้น  14   ค่ำ เดือน  11   ก่อนออกพรรษา  1   วัน
ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง   การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีการถวายน้ำผึ้งแก่ภิกษุและสามเณร ของชาวรามัญที่วัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ มีช้างและลิงคอยอุปัฏฐากโดยการนำเอาอ้อยและน้ำผึ้งคอยถวาย ต่อมาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อยมาบริโภคเป็นยาได้
ประเพณีการแข่งเรือ   การแข่งเรือ นับเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติการมาเป็นเวลายาวนาน โดยถือกำหนดในวันที่มีการแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำเป็นสำคัญ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี แต่เดิมจัดขึ้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง หน้าตัวเมือง แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปจัดบริเวณหน้าวัดโสธรวรวิหาร เรือที่เข้าแข่งมีหลายประเภท ตั้งแต่เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์  ฯลฯ จัดขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปี
ประเพณีสู่ขวัญข้าว   ประเพณีสู่ขวัญข้าว  ( ทั่วไป )  บุญสู่ขวัญข้าว   ( หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด )  เรียกขวัญข้าว  ( หมู่บ้านท่าด่าน )  กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป จัดขึ้นที่จังหวัด นครนายกวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓
ประเพณีทางภาคใต้
ประเพณีลากพระ   ( ชักพระ )   ช่วงเวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน   จัดขึ้นแถวภาคใต้เช่น จังหวัดตรัง  สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี  ระนอง
ประเพณีขึ้นถ้ำวัดถ้ำเขาขุนกระทิง   ประเพณีขึ้นถ้ำเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาแต่อดีต นิยมจัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรด้วยมีความเชื่อว่าการทำนาหรือ กิจกรรมการเกษตรที่ประสบความสำเร็จได้เกิดจากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย การขึ้นถ้ำจึงเป็นพิธีกรรมใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมักเป็นพระพุทธรูปของวัดเพื่อแสดงความกตัญญูและเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้แก่ชีวิต   ช่วงเวลา ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๕จัดขึ้นที่จังหวัดชุมแพ
ประเพณีแห่นก   ช่วงเวลา จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง หรือจัดเพื่อเป็นการแสดงคารวะ แสดงความจงรักภักดีแก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือโอกาสต้อนรับแขกเมือง หรือจัดขึ้นเพื่อการประกวดเป็นครั้งคราวเป็นประเพณีพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งได้กระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์
ประเพณีลอยเรือ   ช่วงเวลา ๑๓ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้   จังหวัดกระบี่
  www.google.com   http :// www . nanlongboat . com / hist_boat . php http :// www . prapayneethai . com / th / tradition / north / view . asp?id = 0257 http :// www . ku . ac . th / e - magazine / october45 / know / petch . html   http :// www . moohin . com / trips / chiangmai / yeepang /   http :// www . openbase . in . th / node / 7414   http :// travel . sanook . com / trip / trip_10043 . php http :// www . tripandtrek . com / artnculture / pheetakhon / pheetakhon47001 . php   http :// www . moohin . com / 059/059k002 . shtml   http :// www . baanmaha . com / community / thread23912 . html http :// www . baanmaha . com / community / thread23883 . html เอก สาร อ้าง อิง
http :// personal . swu . ac . th / students / sc511010667 / cp / central_1 . html http :// www . tonkeian . com / index . php?lay = show&ac = article&Id = 127464&Ntype = 28 http :// horaake . blogspot . com / 2009/10 / blog - post . html http :// www . prapayneethai . com / th / tradition / south / view . asp?id = 0671
 

More Related Content

Similar to งานคอม3

คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมคำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมniralai
 
ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)
ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)
ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)ครู เอี้ยง
 
ครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิม
ครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิมครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิม
ครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิมครู เอี้ยง
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาAssaneeongsara
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาAssaneeongsara
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาAssaneeongsara
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาAssaneeongsara
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมniralai
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบKobwit Piriyawat
 
วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์Tongsamut vorasan
 
หนองลาดควาย๕๓
หนองลาดควาย๕๓หนองลาดควาย๕๓
หนองลาดควาย๕๓weskaew yodmongkol
 
Portfolio
PortfolioPortfolio
Portfoliotoon-01
 
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางkorakate
 
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)yana54
 
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน Padvee Academy
 
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครองบทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครองPitchayakarn Nitisahakul
 
ใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี
ใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี
ใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีDuangnapa Inyayot
 

Similar to งานคอม3 (20)

4ตาราง2.2.1
4ตาราง2.2.14ตาราง2.2.1
4ตาราง2.2.1
 
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมคำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
 
ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)
ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)
ครูเอี้ยงในวันนี้ (ยังทำงานไม่ต่างจากวันวาน)
 
ครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิม
ครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิมครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิม
ครูเอี้ยงปัจจุบันไม่ต่างจากวันวานยังคงทำงานเหมือนเดิม
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษา
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษา
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษา
 
หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษา
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
 
วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์
 
หนองลาดควาย๕๓
หนองลาดควาย๕๓หนองลาดควาย๕๓
หนองลาดควาย๕๓
 
Portfolio
PortfolioPortfolio
Portfolio
 
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
 
Dhammaratna fund(กองทุนธรรมรัตน์)
Dhammaratna fund(กองทุนธรรมรัตน์)Dhammaratna fund(กองทุนธรรมรัตน์)
Dhammaratna fund(กองทุนธรรมรัตน์)
 
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
 
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
 
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครองบทท   4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
บทท 4 โครงการการให_ความร__ผ__ปกครอง
 
ความรู้ทั่วไป+วิทยฐานะ+จรรยาบรรณ
ความรู้ทั่วไป+วิทยฐานะ+จรรยาบรรณความรู้ทั่วไป+วิทยฐานะ+จรรยาบรรณ
ความรู้ทั่วไป+วิทยฐานะ+จรรยาบรรณ
 
ใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี
ใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี
ใบงาน โครงงาน บุคคลที่น่าสนใจในท้องถิ่น กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี
 

งานคอม3

  • 1. เรื่อง ประเพณีไทยทั้ง 4 ภาค จัดทำโดย 1.นายธนารักษ์ สุแดงน้อย เลขที่ 6 3. นางสาว กมลชนาถ ทวีศักดิ์ เลขที่ 19
  • 2. แม่ครู ชมัยพร โคตรโยธา โรงเรียนฝางวิทยายน
  • 3. เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคมเช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
  • 4. ความหมายของประเพณี โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ
  • 5. ความเป็นมาของประเพณี ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่างๆ ฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้น มนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าจะช่วยได้พอภัยนั้นผ่านพ้นไปแล้ว มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆด้วยการทำพิธีบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ตามความเชื่อ ความรู้ของตน เมื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม หรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกัน สืบต่อๆกันจนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆ
  • 6. ประเพณีและวัฒนธรรม เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน คือ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มีขึ้น แล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธีการต่างๆว่าโดยเนื้อหาของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น ความรู้สึก ความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จนเกิดความเคยชิน เรียกว่า นิสัยสังคมหรือประเพณี
  • 7. ประเภทของประเพณี 1. จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว จะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น เช่น ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญู จารีตประเพณีของแต่ละสังคมนั้นย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีค่านิยมที่ยึดถือต่างกัน การนำเอาจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นแล้วตัดสินว่าดีหรือเลวกว่าของตนย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อของแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป ประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
  • 8. 2. ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น สถาบันโรงเรียน มีโรงเรียน มีผู้สอน มีผู้เรียน มีระเบียบการรับสมัคร การเข้าเรียน การสอบไล่ เป็นต้น ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต หรือประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
  • 9. 3. ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี หรือมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น ฯลฯ ธรรมเนียมประเพณีเป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญแต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ
  • 10. สำหรับความสำคัญของประเพณี คือ จะช่วยให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ โดยได้แบ่งการเกิดขึ้นของประเพณีไว้เป็น 4 กลุ่มคือ เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ประเพณีที่เกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ ประเพณีในเทศกาลสำคัญ และประเพณีทางศาสนา ในประเทศไทยมีความแตกต่างของประเพณีไปตามแต่ละท้องถิ่น โดยสอดคล้องไปกับ บริบทของชุมชนนั้น ๆ เช่น ความแตกต่างกันในเรื่องอาชีพก็ทำให้มีประเพณี ปฏิบัติที่แตกต่างกันด้วย นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่ตั้งของชุมชน เช่น อยู่ใกล้กับแม่น้ำ อยู่บนป่าเขาลำเนาไพร ความสำคัญของประเพณี
  • 12. ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน การแข่งเรือของจังหวัดน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบต่อกันมานาน ลักษณะของเรือแข่ง ลำเรือจะใช้ท่อนซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือชะล่า แต่รูปร่างเพรียวเบา หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค หรืองูใหญ่ชูคอเป็นสง่า อ้าปากโง้ง หางเรือทำเป็นหางพญานาคงอนสูง ตลอดลำเรือสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี ติดพู่ห้อยตรงหัวเรือและท้ายเรือ ตรงคอต่อหัวเรือปักธงประจำคณะ
  • 13. ประเพณีแหล่ส่างลอง ( แห่ลูกแก้ว ) แหล่ เป็นภาษาไทยใหญ่ว่าหมายถึง แห่ ส่างลอง หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทยใหญ่และชาวไทยผู้นับถือพุทธศาสนาในเขตอำเภอแม่สอด มักจะบวชเณรลูกหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียนระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายนของทุกๆ ปี เนื่องจากว่างจากการทำงานและลูกหลานไม่ได้ไปโรงเรียน ทั้งต้องการให้ลูกหลานมีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงปิดเทอม การจัดงานบวชลูกแก้ว ( แหล่ส่างลอง ) นั้น ถือว่าผู้ที่บวชลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง ๗ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นจะได้บุญ ๔ กัลป์ และถ้าได้บวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญ ๑๖ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นภิกษุจะได้บุญ ๘ กัลป์ จึงมักจะมีผู้ที่มีฐานะดีหลายคนนิยมหาเด็กผู้ชายมาบวช โดยจะไปทาบทามจากผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนและถือเป็นการสร้างบุญกุศลร่วมกัน
  • 14. ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำเป็นประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอภินิหารของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งคนหาปลาสองสามีภรรยาทอดแหได้ที่วังเกาะระสารในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักในเขตตัวเมืองเพชรบูรณ์ จึงนำไปไว้ที่วัดไตรภูมิ เมื่อถึงเทศกาลสารทพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปและชาวบ้านจะพบมาเล่นน้ำที่บริเวณที่ค้นพบเดิม ดังนั้นในเทศกาลทำบุญสารทหลังจากทำบุญเสร็จแล้วจะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงริ้วขบวนเรือไปสรงน้ำที่วังเกาะระสาร แต่ปัจจุบันนำมาทำพิธีที่ท่าน้ำของวัดโบสถ์ชนะมารในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ จัดขึ้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
  • 15. ประเพณียี่เปง คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาไทย โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย งานประเพณีจะมีสามวันคือ ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป ( การจุดผางปะตี๊บ ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จัดขึ้นที่ จังหวัดเชียงใหม่
  • 17. ประเพณีบุญบั้งไฟ ( บุญเดือนหก ) ชาวจังหวัดในภาคอีสานร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวภาคอีสานจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จัดทำขึ้นทุกจังหวัดแถวภาคอีสาน แต่ที่ยี่ใหญ่ที่สุดคือจังหวัดยโสธร
  • 18. งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว งานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ . ศ . ๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ( ผ้าไหม ) และของที่ระลึกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีผูกเสี่ยว ก็เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเทศกาลไหม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า " เสี่ยว " เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกัน
  • 19. ประเพณีไหลเรือไฟ ความเชื่อของการไหลเรือไฟ สืบเนื่องมาจากการบูชารอยพระพุทธบาท การสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคา มีความเชื่อว่า ในครั้งที่พญานาคทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในภพของนาค ก่อนเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อเป็นที่เคารพของเทวดา มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นประเพณีไหลเรือไฟเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทนั่นเอง จัดขึ้นที่จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 7-15 ตุลาคม
  • 20. ประเพณีการละเล่นผีตาโขน การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน " บุญหลวง " ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
  • 22. ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ จัดขึ้นทุกปีที่จังหวัดชนบุรีวัน ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา 1 วัน
  • 23. ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีการถวายน้ำผึ้งแก่ภิกษุและสามเณร ของชาวรามัญที่วัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ มีช้างและลิงคอยอุปัฏฐากโดยการนำเอาอ้อยและน้ำผึ้งคอยถวาย ต่อมาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อยมาบริโภคเป็นยาได้
  • 24. ประเพณีการแข่งเรือ การแข่งเรือ นับเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติการมาเป็นเวลายาวนาน โดยถือกำหนดในวันที่มีการแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำเป็นสำคัญ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี แต่เดิมจัดขึ้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง หน้าตัวเมือง แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปจัดบริเวณหน้าวัดโสธรวรวิหาร เรือที่เข้าแข่งมีหลายประเภท ตั้งแต่เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์ ฯลฯ จัดขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปี
  • 25. ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีสู่ขวัญข้าว ( ทั่วไป ) บุญสู่ขวัญข้าว ( หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด ) เรียกขวัญข้าว ( หมู่บ้านท่าด่าน ) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป จัดขึ้นที่จังหวัด นครนายกวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓
  • 27. ประเพณีลากพระ ( ชักพระ ) ช่วงเวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน จัดขึ้นแถวภาคใต้เช่น จังหวัดตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ระนอง
  • 28. ประเพณีขึ้นถ้ำวัดถ้ำเขาขุนกระทิง ประเพณีขึ้นถ้ำเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาแต่อดีต นิยมจัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรด้วยมีความเชื่อว่าการทำนาหรือ กิจกรรมการเกษตรที่ประสบความสำเร็จได้เกิดจากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย การขึ้นถ้ำจึงเป็นพิธีกรรมใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมักเป็นพระพุทธรูปของวัดเพื่อแสดงความกตัญญูและเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้แก่ชีวิต ช่วงเวลา ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๕จัดขึ้นที่จังหวัดชุมแพ
  • 29. ประเพณีแห่นก ช่วงเวลา จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง หรือจัดเพื่อเป็นการแสดงคารวะ แสดงความจงรักภักดีแก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือโอกาสต้อนรับแขกเมือง หรือจัดขึ้นเพื่อการประกวดเป็นครั้งคราวเป็นประเพณีพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งได้กระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์
  • 30. ประเพณีลอยเรือ ช่วงเวลา ๑๓ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้ จังหวัดกระบี่
  • 31. www.google.com http :// www . nanlongboat . com / hist_boat . php http :// www . prapayneethai . com / th / tradition / north / view . asp?id = 0257 http :// www . ku . ac . th / e - magazine / october45 / know / petch . html http :// www . moohin . com / trips / chiangmai / yeepang / http :// www . openbase . in . th / node / 7414 http :// travel . sanook . com / trip / trip_10043 . php http :// www . tripandtrek . com / artnculture / pheetakhon / pheetakhon47001 . php http :// www . moohin . com / 059/059k002 . shtml http :// www . baanmaha . com / community / thread23912 . html http :// www . baanmaha . com / community / thread23883 . html เอก สาร อ้าง อิง
  • 32. http :// personal . swu . ac . th / students / sc511010667 / cp / central_1 . html http :// www . tonkeian . com / index . php?lay = show&ac = article&Id = 127464&Ntype = 28 http :// horaake . blogspot . com / 2009/10 / blog - post . html http :// www . prapayneethai . com / th / tradition / south / view . asp?id = 0671
  • 33.