Successfully reported this slideshow.
Your SlideShare is downloading. ×

ศีลเป็นเยี่ยมในโลก

Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
พระวิทยา ปรกฺกโม
น.ธ.ตรี

ผู้มีศีลย่อมประเสริฐที่สด๑
ุ
ศีล นั้นมาจากรากศัพท์ต่างๆ เช่น มาจากคาว่า สิระ ซึ่งแปลว่า ศีรษะ หร...
นอกจากนั้น “ศีล” ยังหมายถึงความสารวมระวังในการกระทาที่เป็นผลปรากฏออกไปทางกาย
ในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีวิต มิให้เบียดเบ...
๓. ปาริสุทธิศีล (มหาศีล)เป็นศีลสาหรับผู้ที่มุ่งสู่ความบริสุทธิ์ และความสงบสุขของชีวิต
เช่น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะเ...
Advertisement
Loading in …3
×

Check these out next

1 of 5 Ad

More Related Content

Slideshows for you (20)

Similar to ศีลเป็นเยี่ยมในโลก (20)

Advertisement

More from Kiat Chaloemkiat (17)

ศีลเป็นเยี่ยมในโลก

  1. 1. พระวิทยา ปรกฺกโม น.ธ.ตรี ผู้มีศีลย่อมประเสริฐที่สด๑ ุ ศีล นั้นมาจากรากศัพท์ต่างๆ เช่น มาจากคาว่า สิระ ซึ่งแปลว่า ศีรษะ หรือ ยอด เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดคนนั้น แท้ที่จริงหาใช่อยู่ที่การมีทรัพย์สิน อานาจ หรือความรู้ ความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่นไม่ หากแต่อยู่ที่ความบริสุทธิ์แห่งศีล อันเป็นที่ยกย่องของบัณฑิต ทั้งหลายว่า ผู้มีศีล ย่อมประเสริฐที่สุดในโลกและมาจากคาว่า สีละ ซึ่งแปลว่า ปกติ เพราะปกติของคนนั้นย่อมรักชีวิต ของตน และเห็นคุณค่าชีวิตของคนอื่น เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้ จึงควรยินดีในการรักษาศีล ไม่ปรารถนา จะเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การรักษาศีลจึงเป็นการนาไปสู่ความเป็นคนที่ปกติสมบูรณ์ ดังนั้น ศีล จึงเป็นคุณธรรมที่ทาให้เข้าถึงความเป็นยอดคน เป็นบุคคลผู้สมบูรณ์แบบ มีความ เป็นปกติ เป็นผู้ที่เย็นกายเย็นใจ และมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง ปลอดภัยอยู่เสมอดังพระบาลีที่ได้ยกขึ้นเป็น อุทเทศในเบื้องต้น ประมวลความแล้ว ศีล หมายรวมถึง ความประพฤติดี ทางกายและวาจา โดยมี เจตนางดเว้นจากความชั่วทางกาย ทางวาจา ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติธรรมทั้งปวง เพราะ ศีลเป็นเครื่องกาจัดกิเลสอย่างกลาง ที่เกิดขึ้นทางกายและวาจา เพราะถ้ากายวาจาสงบแล้ว การปฏิบัติ ธรรมก็จะสะดวก ประดุจการแต่งหน้าให้สวยงาม ต้องล้างหน้าให้สะอาดเสียก่อน  ฉะนั้น ที่ว่าเป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย หมายความว่าบุตร ธิดา ประชาชน พล โลกทั้ง มวล ล้ ว นมีแ ม่เ ป็ นผู้ให้กาเนิดทั้ง สิ้ น กัล ยาณะธรรม คือ ธรรมที่ง ดงาม ล้ว นมี “ศีล ” เป็ น พื้นฐานทั้งสิ้น ศีลเป็นประมุขของธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงจัดลาดับหลักคาสอนโดย จัด “ศีล” ไว้เป็นอันดับแรก สมาธิ เป็นอันดับสอง และปัญญา เป็นอันดับสาม ดังนั้น สาธุชนผู้หวัง ธรรมชั้นสูงขึ้นไป ควรชาระศีลให้บริสุทธิ์ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๖ ปรับปรุงจากบทเทศน์วันพระในพรรษา ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ณ วัดป่าโยธาประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๗ เดือนตุลาคม
  2. 2. นอกจากนั้น “ศีล” ยังหมายถึงความสารวมระวังในการกระทาที่เป็นผลปรากฏออกไปทางกาย ในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีวิต มิให้เบียดเบียนกระทบกระทั่งผู้อื่นให้เกิดความเดือดร้อน หรือไม่ให้ เกิดความผิดพลาดในทางกาย ส่วนวาจา คือ การพูดติดต่อประสานงานซึ่งกันและกัน ถ้าขาดความ ระมัดระวังแล้ว ก็อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ จนทาให้กลายเป็นพูดเท็จ พูดส่อเสียด เป็นต้น แม้จิตใจ ก็จดจ่อระมัดระวังด้วยไม่ให้เกิดความโลภ คือ อยากได้ของผู้อื่นโดยทางมิชอบ ความไม่พยาบาทปอง ร้ายผู้อื่น และไม่เห็นผิดจากคลองธรรม การทาเช่นนี้ชื่อว่า สารวมกาย และใจ อันจะทาให้สามารถ ห้ามตนจากการทาบาป คือ ความชั่วทั้งปวงได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้จะได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีศีลประจาใจ นั้นเอง”  การรักษาศีล นั้น มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑. เพื่อป้องกันชีวิตของเรา ในภพชาติปัจจุบันนี้ ไม่ให้พบความทุกข์ ความเดือดร้อนและ ความเสื่อมเสีย อันเนื่องมาจากการเบียดเบียนผู้อื่น ๒. เพื่อป้องกันชีวิตของเรา ในภพชาติต่อไป ไม่ให้พบกับความทุกข์ ความเดือดร้อนและความ เสื่อมเสีย อันเนื่องมาจากการเบียดเบียนผู้อื่น ๓. เพื่อให้เกิดความสุข ความดีงาม ในการดาเนินชีวิต ๔. เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีแก่ครอบครัวของตนและสังคม ๕. เพื่อนาไปสู่คุณธรรมที่สูงขึ้นไป อันได้แก่ สมาธิ และปัญญา อันจะทาให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ ศีล กล่าวโดยสรุปมี ๓ ประเภท คือ  ๑. ศีล ๕ (เบญจศีล, จุลศีล, นิจศีล)เป็นศีลพื้นฐานอันสาคัญยิ่ง เพราะการจะรักษาความ เป็นปกติของมนุษย์เอาไว้นั้น จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย ด้วยเหตุที่มนุษย์มิได้ดารงชีวิตอยู่อย่าง โดดเดี่ยวเพียงลาพัง หากแต่อยู่ร่วมกันเป็นสังคม มนุษย์จึงมีข้อตกลงระหว่างกัน ในการที่จะใช้ชีวิต ร่วมกันอย่างสันติสุขซึ่งข้อตกลงดังกล่าวนั้นก็คือ “ศีล ๕” นั้นเอง ๒. ศีล ๘ (อุโบสถศีล, มัชฌิมศีล)เป็นศีลที่รักษาในวันอุโบสถ (วันธรรมะสะวะนะ) หรือใน โอกาสพิเศษตามที่ต้องการ เพื่อเป็นการยกระดับจิตใจให้ประณีตยิ่งขึ้น เพราะว่า วิถีชีวิตของมนุษย์นั้น เปลี่ยนแปลงไปตามวิทยาการที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีความรู้อัน หลากหลายมากมายเหล่านั้น ล้วนเป็นไปเพื่อ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ ของมนุษย์ ให้สะดวกสบาย ยิ่งขึ้นแต่ก็ไม่ได้ทาให้จิตใจของมนุษย์สูงขึ้น การยกระดับจิตใจ นั้นต้องยกให้เป็นเรื่องของศีลโดยเฉพาะศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล ซึ่งเป็นที่ รู้กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพจริงในการยกใจให้สูงขึ้น การรักษาศีล ๘ จึงยังคง ทันสมัยและใช้ได้ผลเสมอ
  3. 3. ๓. ปาริสุทธิศีล (มหาศีล)เป็นศีลสาหรับผู้ที่มุ่งสู่ความบริสุทธิ์ และความสงบสุขของชีวิต เช่น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นการเกื้อกูลต่อการทาภูมิจิตให้สูงยิ่งขึ้นไป มี ๔ ประการ คือ ๓.๑ ปาฏิโมกขสังวรศีลคือ การสารวมในพระปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ที่พระพุทธ องค์ทรงบัญญัติไว้ ศีลข้อนี้สาเร็จได้ด้วยศรัทธา ๓.๒ อินทรียสังวรศีล คือ การสารวมในอินทรีย์ ๖ อันประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กล่าวคือ ไม่ให้ยินดียินร้ายในการเห็นรูป ฟังเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส การถูกต้องสัมผัส หรือใน การรับรู้อารมณ์ต่างๆ ด้วยใจ หมายความว่า สารวมระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงา ศีลข้อนี้สาเร็จได้ ด้วยสติ ๓.๓ อาชีวปาริสุทธิศีลคือ การเลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบธรรม บริสุทธิ์ ไม่หลอกลวง ผู้อื่น ศีลข้อนี้สาเร็จได้ด้วยวิริยะ ๓.๔ ปั จ จั ย นิ สิ ต ศี ล คื อ การพิ จ ารณาปั จ จั ย ๔ อั น ได้ แ ก่ อาหาร ที่ อ ยู่ อ าศั ย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ก่อนที่จะบริโภคเพื่อใช้สอยปัจจัย ๔ ด้วยการพิจารณาให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่าอย่างแท้จริง ศีลข้อนี้สาเร็จได้ด้วยปัญญา ปาริสุ ทธิศีล ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็ นคุณ ธรรมที่จะช่วยประคับ ประคองชีวิ ต ของบรรพชิต และ อุบาสก-อุบาสิกา ให้มีความหมดจดผ่องใสและร่มเย็นเป็นสุขในทุกเวลา การรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั้น  ท่านทั้งหลาย คงคิดว่า เป็นไปได้หรือ ที่ปุถุชนคนธรรมดา จะสามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ ในเมื่อเรายังต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อลวงใจ หรือตกอยู่ในภาวะขัดสนหรือ แม้แต่อยู่ ในที่ลับตาปราศจาก การรู้เห็นของผู้คน เป็นไปได้หรือที่มนุษย์ปุถุชนจะหักห้ามใจไม่ล่วงละเมิดศีลได้ คาตอบ คือ เป็นไปได้ เพราะการรักษาศีลนั้นสามารถทาได้อย่างสะดวก สบาย ง่ายดาย หาก ว่ามี หิริและโอตตัปปะ เป็นธรรมประจาใจ หิริ คือ ความละอายใจต่อการทาชั่ว สิ่งใดก็ตามหากเป็นความชั่วเลวทรามมันจะไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทา ด้วยความที่รังเกียจเห็นเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทา เพราะเรามีความละลายใจแล้ว โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เมื่อรู้ว่าการทาความชั่วจะมีผลร้ายตามมา เป็นความเดือดร้อน เป็นความลาบากและเป็นความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หิริและโอตตัปปะ เป็นคุณธรรมที่ทาให้เกลียดกลัวความชั่วเช่นนี้ ผู้มี หิริ โอตตัปปะ ประจา ใจ ย่อมมีศีลบริสุทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนอย่างไร จะต่อหน้าหรือลับหลังใคร ก็จะไม่ยอมให้ความชั่ว ใดๆ มาแปดเปื้อนจิตใจตนได้เลย ผลจากการรักษาศีลดีแล้ว หากเปรียบกับแก้วสาระพัดนึก ซึ่งสามารถบันดาลความสุขสม ปรารถนาให้เราได้ทุกประการ แก้วสารพัดนึกดวงนั้น ก็คือ การรักษาศีลนั้นเอง การรักษาศีล เป็น การชาระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็นใจที่มีพลัง ยิ่งบริสุทธิ์มากก็ยิ่งมีพลังมาก เป็นพลังที่จะนาชีวิตให้ รุ่ ง เรืองให้ป ระสบผล คือ ความส าเร็จสมดั ง ความปรารถนา อย่ า งชนิ ดที่ว่ า อุ ป สรรคใดๆก็มิอาจ
  4. 4. ขัดขวางได้เลย และด้วยอานิสงค์แห่งการรักษาศีล จะได้ประโยชน์ ๓ ประการคือ เป็นผู้ได้ มนุษย สมบัติ ๑ ทิพยสมบัติ ๑ และนิพพานสมบัติ ๑ จึงทาให้ ศีล เป็นดั่งแก้วสารพัดนึก ที่สามารถ บันดาลความสมปรารถนาได้ในทุกระดับ ทุกประการ และจะคอยติดตามหล่อเลี้ยงรักษาศีลไปตราบนาน เท่านาน จวบจนวันเข้าสู่นิพพาน ดังพระบาลีสรุปศีลว่า สีเลนะ สุคะติง ยันติ บุคคลเข้าถึงสุคติได้ ด้วยศีล สีเลนะ โภคะสัมปะทา ได้บริโภคทรัพย์สมบัติ ก็ด้วยศีล สีเลนะ นิพพุติง ยันติ บรรลุพระนิพพาน ก็ด้วยศีล นั้นเอง  ถ้าเราไม่รักษาศีลแล้วจะเกิดโทษอย่างไร ? ในขณะที่อานิสงส์แห่งการรักษาศีล พรั่งพร้อมไปด้วยความดีมากมายทานองเดียวกันโทษ ทัณฑ์แห่งการผิดศีล ก็ส่งผลทาลายล้างทุกอย่างได้มากมายเช่นกัน และในโลกนี้คงไม่มีใครกล้าผิดศีล หากได้รู้ซึ้งถึงความหายนะที่จะตามมา เพราะผู้ที่ทุศีลนั้นย่อมมิใช่เพียงแต่เบียดเบียนรังแกผู้อื่นเท่านั้น หากแต่ยังได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ทาร้ายตนเองอย่างรุนแรงที่สุดด้วยเช่น ระเบิดนิวเคลียร์ ที่มีแสนยานุภาพ ทาลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างให้วอดวายในชั่วพริบตา เป็นต้น จิตใจของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อผิดศีล ความผิดปกติย่อมจะเกิดขึ้นทันที ใจที่เคยใสสะอาดจะเศร้าหมองขุ่นมัว ยิ่งผิดศีลมากเท่าใด ใจจะยิ่ง เสื่อมคุณภาพลงไปมากเท่านั้น ทุกข์ภัยทั้งหลายก็จะเข้ามาในชีวิต และติดตามล้างผลาญอย่างไม่ยอม เลิกรา ไม่ว่าชาตินี้ หรือชาติหน้า หรือชาติไหนๆ ก็ตาม ในปัจจุบันชาตินี้ ผู้ทุศีลย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ ไม่มีผู้ใดซึ่งเป็นบัณฑิตจะคบค้า สมาคมด้วย เข้าถึงความเสื่อมแห่งชื่อเสียง เกียรติยศและเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงทางแห่ง ความเสื่อมทราม คือ มีทุคติเป็นที่หมายอย่างแน่นอน นี้คือโทษของการผิดศีล ล้วนน่ากลัวทั้งสิ้น สรุปความแล้ว ศีลมีคุณมากต่อโลกมนุษย์ ศีล คือ มนุษยธรรมอันมีอยู่ตลอดกาล เพื่อให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การรักษาศีล นามาซึ่งความสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามทุกประการ เป็นความดีงามที่ ยั่งยืน และ เผื่อแผ่กว้างขวาง สร้างสันติให้กับโลกได้ นอกจากนี้ ศีล ยังช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิต ทั้งปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งปัญหา ส่วนตัวและส่วนรวม จนอาจกล่าวได้ว่า “ไม่มีปัญหาใดๆ ในโลก ที่ศีลไม่อาจแก้ไขได้” แต่ ก็ เ ป็ นที่ น่า เสี ย ดายอย่ า งยิ่ ง ที่ แ ม้ มนุ ษย์ ทั้ง หลายจะรู้ ว่ า ศี ล นั้น มีคุ ณ ค่ า ต่ า งคนต่ า ง ปรารถนาที่ จะคบหากับ ผู้ ที่รั กษาศี ล แต่ มนุ ษย์ กลั บ ละเลยที่ จะรัก ษาศีล ของตนเอง จึง เป็ นเหตุ ใ ห้ เดือดร้อน วุ่นวาย ไม่เคยจางหายไปจากโลกนี้เลย ทั้งๆที่การรักษาศีลนั้น สามารถทาได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องลงทุนลงแรง ไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ใดๆ ขอเพียงแต่มีใจที่ดีงาม เท่านั้น เพราะการรักษาศีล เป็นการทาบุญด้วยใจ อาศัยใจที่เข้มแข็ง อดทน มั่นคงในความปรารถนาดี ต่อตนเองและผู้อื่น ใจที่ใสสะอาดมั่นคงเช่นนี้จึงสามารถเป็นฐานที่ตั้ง แห่งความดีงามทั้งหลายได้ ผู้ที่
  5. 5. รักษาศีลจึงได้บุญได้อานิสงส์ อย่างมหาศาล เพราะผู้ที่รักษาศีล จะเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือ อย่างบริสุทธิ์ใจจากบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้มีความสุขทั้งกายและใจ และเป็นความสุขอันกว้างใหญ่ ให้ ความสงบร่มเย็นแก่สังคมอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายที่ได้มาฟังธรรมในวันนี้จง อย่าปล่อย ให้วันเวลาอันมีค่า ล่วงผ่านไปอีกเลย เพราะไม่มีสิ่งใดจะน่าเสียดายยิ่งไปกว่า วันเวลาที่ไม่ได้รักษาศีล อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะศีล เป็นที่ตั้งแห่งความดีงามนั้นเองมีนัยดังได้อรรถาธิบายมา

×