SlideShare a Scribd company logo
1 of 68
Download to read offline
มโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา
นายพรเทพ สหชัยรุงเรือง
วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาปรัชญา ภาควิชาปรัชญา
คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ปการศึกษา 2545
ISBN 974-17-1865-9
ลิขสิทธิ์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
THE CONCEPT OF TIME TRAVEL
Mr. Pornthep Sahachairungrueng
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Degree of Master of Arts in Philosophy
Department of Philosophy
Faculty of Arts
Chulalongkorn University
Academic Year 2002
ISBN 974-17-1865-9
หัวขอวิทยานิพนธ มโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา
โดย นายพรเทพ สหชัยรุงเรือง
สาขาวิชา ปรัชญา
อาจารยที่ปรึกษา ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ
คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อนุมัติใหนับวิทยานิพนธฉบับนี้เปน
สวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต
………………………………………….. คณบดีคณะอักษรศาสตร
(ผูชวยศาสตราจารย ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ
…………………………………………… ประธานกรรมการ
(รองศาสตราจารย ดร.สมภาร พรมทา)
…………………………………………... อาจารยที่ปรึกษา
(ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ)
……………………………………………กรรมการ
(รองศาสตราจารย ดร.มารค ตามไท)
4
พรเทพ สหชัยรุงเรือง : มโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา. (THE CONCEPT OF TIME
TRAVEL) อ.ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ. 68 หนา. ISBN 974-17-1865-9.
“การเดินทางขามเวลา” ในวิทยานิพนธนี้หมายถึงการเดินทางกลับไปสูอดีต ซึ่งเปนปญหา
ที่สามารถศึกษาไดหลายแนวทาง แตผูเขียนศึกษาในแงของความเปนไปไดทางตรรกะเทานั้น
วัตถุประสงคของวิทยานิพนธคือเพื่อศึกษามโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา วิเคราะหปฏิทรรศน
ตางๆ ของการเดินทางขามเวลาที่ถกเถียงกันอยูในปรัชญา และประเมินความเปนไปไดของการ
เดินทางขามเวลา
ผูเขียนจะเริ่มตนการศึกษาดวยปญหาเชิงปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา ซึ่งแบงเปน
สองรูปแบบหลัก ไดแก ปฏิทรรศนคุณปูและปฏิทรรศนความรู ปฏิทรรศนคุณปูไดแสดงวาการเดิน
ทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่ขัดแยงในตัวเอง เชน การฆาปูกอนการใหกําเนิดพอของตัวเอง
ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดทางตรรกะ ลูอิสปฏิเสธการสอนัยนี้ดวยการชี้ใหเห็นวา
สถานการณเหลานั้นจะถูกขัดขวางดวยความบังเอิญ แตผูเขียนเห็นดวยกับขอเสนอของฮอรวิชที่
วาความบังเอิญซึ่งทําใหการพยายามฆาปูตองลมเหลวอยางตอเนื่องนั้นเปนเหตุผลเชิงประจักษที่
ทําใหอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่ไมนาจะเปนไปได ดังนั้น การเดิน
ทางขามเวลาจึงไมนาจะเกิดขึ้นไดในโลกที่เปนอยู
สวนปฏิทรรศนความรูไดแสดงวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่แปลก
ประหลาด อันไดแก การเปนพอแมตัวเองของนักเดินทางขามเวลา การเกิดวัตถุทางกายภาพจาก
ความวางเปลา และการไดความรูโดยปราศจากกระบวนการแกปญหา แตผูเขียนแสดงใหเห็นวา
ปฏิทรรศนนี้ไมไดมีนัยไปสูความขัดแยงในตัวเอง ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมใชสิ่งที่เปนไป
ไมไดทางตรรกะ แตดวยแนวเหตุผลของฮอรวิช จากสิ่งที่เรารูวาจริงในโลกของเรา เรามีเหตุผลเชิง
ประจักษที่จะอนุมานไดเชนกันวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู
ทายที่สุด ผูเขียนจะพิจารณาขอเสนอของดอทยชและล็อควูด ที่ใชการตีความการมีหลาย
จักรวาลของกลศาสตรควอนตัมเพื่อแกปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา แมวาจะสามารถเลี่ยง
ปญหาเชิงปฏิทรรศนได แตผูเขียนชี้ใหเห็นวา จากปญหาเกี่ยวกับจักรวาลคูขนานที่มีเปนอนันตใน
การตีความเชนนั้น แนวคิดดังกลาวจึงเปนสิ่งที่เปนไปไมไดในทางญาณวิทยา
ภาควิชา.....ปรัชญา..... ลายมือชื่อนิสิต..................................................................
สาขาวิชา....ปรัชญา..... ลายมือชื่ออาจารยที่ปรึกษา................................................
ปการศึกษา....2545.....
5
# # 4380153922: MAJOR PHILOSOPHY
KEYWORD: TIME TRAVEL / TIME / PARADOX / COINCIDENCE / PARALLEL UNIVERSES
PORNTHEP SAHACHAIRUNGRUENG: THE CONCEPT OF TIME TRAVEL.
THESIS ADVISOR: ASST. PROF. SIRIPHEN PIRIYACHITTAKORNKIT, PH.D.
68 pp. ISBN 974-17-1865-9.
In this thesis, “time travel” means travelling backward to the past, which is a
problem studied in many approaches. But I study only the problem of logical possibility.
The purposes of the thesis are to study the concept of time travel; analyze the paradoxes
of time travel discussed in philosophy; and evaluate the possibility of time travel.
Firstly, I study the paradoxical problems of time travel, which have two main
forms: Grandfather paradox and Knowledge paradox. Grandfather paradox showed that
time travel entails self-contradictory situations, such as killing grandfather before
begetting one’s own father—hence it is itself logically impossible. Lewis rejected this
entailment by indicating that these situations will be foiled by coincidences. But I agree
with Horwich’s proposal that the coincidences that make killing-grandfather attempts
continuously fail provide empirical reason to infer that time travel entails the improbable
situations. Hence time travel is unlikely to occur in the actual world.
Knowledge paradox demonstrated that time travel entails bizarre situations,--
self-parenting of time traveller, creation ex-nihilo of physical objects and deriving
knowledge without problem-solving process. But I show that this paradox does not imply
any self-contradiction—hence time travel is not logically impossible. But according to
Horwich’s reasoning we also have empirical reasons, from what known to be true in our
world, to infer that time travel is improbable in the actual world.
Secondly, I consider the proposition of Deutsch and Lockwood on using many-
universe interpretation of quantum mechanics to dissolve the paradoxes of time travel.
Though it could avoid the paradoxical problems I point out that this idea is, due to the
problem of infinite parallel universes in such interpretation, epistemologically impossible.
Department.…..Philosophy…. Student’s signature.………………………………….
Field of study.…Philosophy… Advisor’s signature.………………………………….
Academic year.….2002……..
6
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธนี้เริ่มตนขึ้นไดจากการชี้แนะและสนับสนุนของ อ.พงษชาย เอี่ยวพานทอง ใน
ฐานะอาจารยที่ปรึกษาทานแรก ผูเขียนขอขอบคุณอาจารยไว ณ ที่นี้เปนอยางสูง รวมถึงอาจารย
ทุกๆ ทานในภาควิชาปรัชญาที่ไดอบรมสั่งสอนวิธีการทางปรัชญามากวา 2 ป ซึ่งถือเปนสมมติฐาน
หนึ่งของความสําเร็จในการทํางานชิ้นนี้
สําหรับความสําเร็จขั้นสุดทาย ผูเขียนตองขอขอบพระคุณ อ.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ ซึ่งได
กรุณารับเปนอาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ หากไมมีขอแนะนํา การตรวจสอบ และความเมตตา
เอาใจใสจากอาจารยแลว สิ่งที่ทํามาทั้งหมดคงไมสามารถสมบูรณดังที่เปนอยูไดเลย และขอ
ขอบคุณ อ.มารค ตามไท และ อ.สมภาร พรมทา ในฐานะกรรมการสอบวิทยานิพนธที่ไดใหขอคิด
เห็นและชี้ใหเห็นขอบกพรองบางประการที่ชวยทําใหเนื้อหาของวิทยานิพนธนี้ไดรับการปรับแกให
ถูกตองมากยิ่งขึ้น แตแนนอนวาขอบกพรองใดๆ ที่อาจยังคงมีอยูนั้นยอมถือเปนความรับผิดชอบ
ของผูเขียนทั้งหมด
นอกจากนี้ ผูเขียนขอขอบคุณ อ.สิริเพ็ญ อ.สมภาร พี่พุฒวิทย บุนนาค คุณพงศศิริ ศรี
วรรธนะ และคุณเอกวิน ขุนบุญจันทร สําหรับหนังสือและเอกสารตางๆ ที่เปนประโยชนอยางยิ่งใน
การทําวิทยานิพนธนี้ และโดยเฉพาะอยางยิ่งคุณธเนศ ไอยรานภารักษ ที่ไดใหความชวยเหลือเปน
อยางดีในการคนหาบทความตางๆ จากตางประเทศ รวมถึงขอขอบคุณพี่นวชัย เกียรติกอเกื้อ เปน
พิเศษที่ไดออกคาใชจายสวนหนึ่งสําหรับหนังสือที่ใชในการคนควาซึ่งไดสูญหายไปกับกาลเวลา
และที่สําคัญที่สุด ขอขอบพระคุณพอและแมของผูเขียนที่ไดสนับสนุนการเรียนครั้งนี้ปน
อยางดีมาโดยตลอด หากไมมีทานทั้งสองแลว ผูเขียนคงไมไดรับโอกาสทางการศึกษาที่ดีอยางที่
เปนมาจนถึงทุกวันนี้
พรเทพ สหชัยรุงเรือง
สารบัญ
หนา
บทคัดยอภาษาไทย................................................................................................................ง
บทคัดยอภาษาอังกฤษ..........................................................................................................จ
กิตติกรรมประกาศ............................................................................................................... 6
สารบัญ.............................................................................................................................. 7
บทที่ 1 บทนํา...................................................................................................................... 1
ที่มาและความสําคัญของปญหา............................................................................... 1
วัตถุประสงค........................................................................................................... 9
ขอตกลงเบื้องตน................................................................................................... 10
ขอบเขตของการวิเคราะหปญหา............................................................................. 10
ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ ..................................................................................... 12
บทที่ 2 ปฏิทรรศนคุณปู...................................................................................................... 13
ทางออกของลูอิส................................................................................................... 13
ขอพิจารณาของฮอรวิช .......................................................................................... 15
เจตจํานงเสรีกับ autonomy principle..................................................................... 18
บทที่ 3 ปฏิทรรศนความรู.................................................................................................... 21
รูปแบบของปฏิทรรศนความรู.................................................................................. 21
ปญหาการใหกําเนิดตัวเอง ..................................................................................... 23
ปญหาการมีบางสิ่งจากความวางเปลา.................................................................... 25
ปญหาการไดมาของความรู.................................................................................... 29
บทที่ 4 ความบังเอิญในการเดินทางขามเวลา....................................................................... 32
ความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได............................................................................. 33
ความบังเอิญที่เปนไปได......................................................................................... 37
8
สารบัญ (ตอ)
หนา
บทที่ 5 การเดินทางขามเวลากับแนวคิดจักรวาลคูขนาน........................................................ 45
ปญหาจากแนวคิดเรื่องเวลา................................................................................... 46
ปญหาจากความเปนอนันต.................................................................................... 49
บทที่ 6 บทสรุป.................................................................................................................. 52
รายการอางอิง................................................................................................................... 56
ประวัติผูเขียนวิทยานิพนธ.................................................................................................. 60
บทที่ 1
บทนํา
ที่มาและความสําคัญของปญหา
ความเขาใจเชิงสามัญสํานึกประการหนึ่งที่เรามีตอมิติของเวลา (temporal dimension)
ซึ่งกอใหเกิดความแตกตางอยางเดนชัดจากมิติของพื้นที่ (spatial dimension) นั้นก็คือ ความไม
สมมาตร (asymmetry) ของอดีต ปจจุบัน และอนาคต กลาวคือ เราสามารถเคลื่อนที่ไปทาง ซาย-
ขวา หนา-หลัง และ ขึ้น-ลง ไดอยางอิสระในมิติของพื้นที่ แตเราไมสามารถเคลื่อนที่ไปขางหนา
หรือยอนกลับไปในกาลเวลาเชนเดียวกับที่เราทําไดในมิติของพื้นที่ เราเหมือนกับเปนนักโทษซึ่งถูก
จองจําใหอยูกับชวงเวลาเพียงขณะหนึ่งที่เรียกวา “ปจจุบัน” ซึ่งคอยๆ ถอยหางจากไปเปน “อดีต”
โดยมีชวงเวลาที่เปน “อนาคต” ไดเขามาแทนที่อยางไมขาดสายราวกับเปน “กระแสแหงกาลเวลา”
(passage of time) ที่คอยกํากับการดําเนินไปของสรรพสิ่งใหเปนไปในทิศทางแบบเดิมและเปน
จังหวะที่สม่ําเสมอตลอดไป
แตความเขาใจที่เกิดจากสามัญสํานึกยอมเปนสิ่งที่อาจจะผิดได ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ
(Theory of Relativity) ของไอนสไตน (Albert Einstein, 1879-1955) เวลาไมใชสิ่งสัมบูรณที่จะ
สามารถวัดไดอยางเปนอิสระจากสภาพแวดลอม โดยเวลาจะเดินชาลงในกรอบการอางอิง (frame
of reference) ที่มีการเคลื่อนที่ (โดยเปรียบเทียบกับกรอบการอางอิงที่หยุดนิ่งหรือที่มีการเคลื่อนที่
ชากวา)1
ตัวอยางเชน หากเราเดินทางออกไปในอวกาศและกลับมายังโลกดวยจรวดที่มีความเร็ว
เขาใกลความเร็วของแสง เราจะพบวาเวลาบนโลกอาจไดผานไปแลวหลายสิบปในขณะที่เรากลับ
ใชเวลาในการเดินทางเพียงไมกี่ปเทานั้น ดังนั้น ในแงนี้เวลาจึงไมใชสิ่งที่จําเปนตองดําเนินไปดวย
“จังหวะที่สม่ําเสมอตลอดไป” อยางที่สามัญสํานึกบอกกับเรา และในความหมายหนึ่ง เราสามารถ
เดินทางไปสูอนาคตไดดวยวิธีการดังกลาวนี้ (อยางนอยก็เปนความเปนไปไดในทางทฤษฎี) แตคํา
ถามที่นาสนใจมากกวาก็คือ เราจะสามารถปรับเปลี่ยน “ทิศทางของเวลา” ในลักษณะที่ทําใหเรา
กลับไปอยูในอดีตที่ผานไปแลวไดหรือไม
1
ปรากฏการณนี้เรียกวา time dilation effect ซึ่งเปนไปตาม Special Theory of Relativity (1905)
และจาก General Theory of Relativity (1915) ในบริเวณที่มีสนามแรงโนมถวงสูงกวา เวลาก็จะเดินชากวาเชน
กัน สําหรับนัยยะตางๆ จากทฤษฎีสัมพัทธภาพ โปรดดู Davies (1995; 2001), Einstein (1961), Gott (2002),
Ray (1991)
2
ทวาคําถามเชน “การเดินทางขามเวลาเปนไปไดหรือไม” คงไมสามารถหาคําตอบไดโดย
งาย แตทั้งนี้ไมใชเพียงเพราะวาสิ่งนี้ไมเคยเกิดขึ้นมากอน หากแตที่ตอบไดยากนั้นกลับเปนเพราะ
ความไมชัดเจนของตัวคําถามเอง กลาวคือ เราหมายถึงอะไรสําหรับ “การเดินทางขามเวลา” และ
เรากําลังถามถึงความเปนไปไดในความหมายระดับใด นั่นคือ เปนไปไดในทางตรรกะ (logically
possible) หรือเปนไปไดในทางฟสิกส (physically possible) หรือเปนไปไดในทางเทคโนโลยี
(technologically possible) ในวิทยานิพนธนี้ ผูเขียนจะพิจารณาที่ความเปนไปไดในระดับแรก
เปนสําคัญ นั่นคือ สิ่งที่เรียกวาการเดินทางขามเวลานั้นเปนไปไดในทางตรรกะหรือไม
แนนอนวา ความหมายของสิ่งที่เราเรียกวาการเดินทางขามเวลา “ยอมเกี่ยวพันกับความ
ไมลงรอยกันระหวางเวลากับเวลาอยางไมอาจหลีกเลี่ยงได” (Lewis, 1976: 145) กลาวคือ นักเดิน
ทางออกเดินทางและไปถึงจุดหมายปลายทาง ณ เวลาหนึ่ง แตถาเขาเปนนักเดินทางขามเวลาจริง
เวลา ณ จุดหมายที่เขาไปถึงยอมตองไมเทากับเวลาที่เขาใชในการเดินทาง สมมติวานักเดินทางใช
เวลาเดินทางทั้งหมดหนึ่งชั่วโมง เวลา ณ จุดหมายที่เขาไปถึงยอมตองตางไปจากเวลาหนึ่งชั่วโมง
ที่เขาใชในขณะเดินทาง โดยเวลาที่ไปถึง “จะเปนเวลาหลังจากนั้น ถาเขาไดเดินทางไปสูอนาคต
หรือเปนเวลากอนหนานั้น ถาเขาไดเดินทางไปสูอดีต และถาเขาไดเดินทางไปสูอดีตที่ไกลมากขึ้น
นั่นยอมเปนเวลากอนการออกเดินทางของเขาดวยซ้ํา” (Lewis, 1976: 145)
อยางไรก็ตาม ความคิดฝนเกี่ยวกับการเดินทางทองไปในกาลเวลาเชนนี้เปนจินตนาการ
ที่ปรากฎอยูในนิยายวิทยาศาสตรมานานมากกวาศตวรรษแลว (โปรดดู Nahin, 1999) นิยายเรื่อง
The Time Machine ของ เอช จี เวลส (H.G. Wells, 1866-1946) ที่ตีพิมพครั้งแรกในป 1895 นา
จะถือไดวาเปนงานเขียนชิ้นแรกที่พยายามอธิบายความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาอยาง
จริงจัง ในแงที่ไดแฝงความคิดเชิงอภิปรัชญาบางอยางเกี่ยวกับความมีอยูของเวลาไวเปนสมมติ
ฐานเบื้องหลังของการที่เราจะสามารถเดินทางไปมาในมิติของเวลาไดอยางอิสระ ดังที่เขาเขียนไว
วา “ไมมีความแตกตางระหวางเวลาและมิติใดๆ ในมิติทั้งสามของพื้นที่ เวนแตเพียงจิตสํานึกของ
เราเคลื่อนที่ไปตามเวลาเทานั้น” (Wells, cited in Richmond, 2001: 305) ดังนั้น เมื่อชวงเวลา
อดีต ปจจุบัน และอนาคต เปนสิ่งซึ่งมีฐานะความมีอยูเชิงภววิทยาที่ไมแตกตางกัน (ontologically
identical)2
ในแงนี้จึงยอมไมใชสิ่งที่ไรสาระ (ในเชิงอภิปรัชญา) อยางสิ้นเชิง ที่เราจะสามารถเดิน
ทางขามเวลาไปสูอนาคตหรือกลับไปในอดีตได แตในขณะที่เวลสทําใหเวลากลายเปนมิติที่สี่ของ
2
หรือก็คือแนวคิด four-dimensionalism และมีขอสังเกตที่นาสนใจวาเรื่องราวการเดินทางขามเวลาไม
มีปรากฏเลยจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 สวนหนึ่งอธิบายไดจากการครอบงําของแนวคิด presentism ที่เชื่อ
วาปจจุบันเทานั้นที่มีอยูจริง การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดเพราะไมมีจุดหมายใดที่จะไป (Bigelow, 1996:
35-36) แตโปรดดู Keller and Nelson (2001) สําหรับความเขากันไดของ presentism กับการเดินทางขามเวลา
3
พื้นที่ (a fourth spatial dimension) ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (ซึ่งเปนจุดเริ่มตนที่ทําใหการเดินทางขาม
เวลากลายเปนประเด็นปญหาที่มีการถกเถียงกันอยางจริงจังในทางวิชาการจนถึงปจจุบัน ดังที่จะ
ไดกลาวตอไป) กลับรวมเอาพื้นที่และเวลาเขาไวเปนสิ่งเดียวกัน (Richmond, 2001: 305)
โดยหลักการแลว ทฤษฎีสัมพัทธภาพไดรวมอวกาศสามมิติ (three-dimensional space)
กับมิติของเวลาเขาเปนเนื้อเดียวกันในลักษณะที่เรียกวาเปนกาลอวกาศสี่มิติ (four-dimensional
space-time) ที่ประกอบขึ้นจากตําแหนงทั้งหลายในกาลอวกาศ (space-time points) ที่แตละ
ตําแหนงเปนตัวแทนของเหตุการณเฉพาะเหตุการณหนึ่งซึ่งไดเกิดขึ้นภายในที่แหงหนึ่ง ณ ชวงเวลา
หนึ่งเทานั้น และดังนั้น ภาพโดยรวมของสรรพสิ่งที่ดําเนินไปในกาลอวกาศสี่มิตินี้ (ซึ่งรวมถึงชีวิต
ของเราแตละคนดวย) จึงถูกนําเสนอเปนเสมือนเสนทางที่วางทอดยาวอยูภายในกาลอวกาศสี่มิติที่
เรียกวา world lines โดยมี proper time เปนเวลาที่วัดจากกรอบการอางอิงของแตละ world line
ความเขาใจเกี่ยวกับกาลอวกาศสี่มิติ world lines และ proper time เหลานี้เองที่เปนมโนทัศนซึ่ง
ชวยใหเราเขาใจไดวารูปแบบหนึ่งของการเดินทางขามเวลากลับไปสูอดีตนั้นเปนไปไดอยางไร
ในบทความ “It Ain’t Necessarily So” พัทนัม (Putnam, 1962) ไดเสนอวา ไมมีมโนทัศน
ใดที่จะเปนไปไมไดอยางจําเปนโดยสิ้นเชิง (อาจยกเวนก็เพียงแตบรรดามโนทัศนอยางเชน “คนโสด
คือคนที่แตงงาน” ซึ่งเปนสิ่งที่เปนไปไมไดอยางจําเปนโดยนิยาม) มโนทัศนหนึ่งยอมจะเปนไปได
ในลักษณะที่สัมพัทธกับองคความรูที่เรามี (relative to a body of knowledge) ในกรณีของมโน
ทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา (the concept of time travel) ก็เชนกัน ความเขาใจใน world lines
และกาลอวกาศสี่มิติ จะสามารถทําใหเรายอมรับในความเปนไปไดเชิงมโนทัศน (conceptual
possibility) ของการเดินทางขามเวลาได แมวารูปแบบที่พัทนัมนําเสนอไวในลักษณะที่เปน world
line รูปตัว N บนแผนภูมิของกาลอวกาศสี่มิติ (space-time diagram) ซึ่งแสดงถึงการยอนกลับไป
ในเวลานั้น จะไดรับการวิจารณวาเปนไปไมไดในเชิงญาณวิทยา (โปรดดู Sorensen, 1987:
Weingard 1973; 1979) เนื่องจากไมมีแนวคิดหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตรใดที่จะมาสนับสนุนได
วาการหักกลับอยางกะทันหันของ world line ที่เปนรูปตัว N เชนนี้จะสามารถเปนไปได แตเราก็ยัง
คงมีรูปแบบของการเดินทางขามเวลาที่เปนไปไดในอีกลักษณะหนึ่งที่ตางออกไป อีกทั้งยังไดรับ
การรับรองจากทฤษฎีที่สําคัญทางฟสิกสอยางทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of
Relativity)
ในป 1949 เคิรท โกเดล (Kurt Gödel, 1906-1978) ไดแสดงใหเห็นวาทิศทางของเวลา
(direction of time) ไมไดชี้มุงไปสูอนาคตอยางจําเปนเสมอไป โกเดลคนพบวาหากจักรวาลโดย
รวมกําลังหมุนรอบตัวเองอยู เราสามารถมีโครงสรางกาลอวกาศ (space-time structure) แบบ
หนึ่ง ซึ่งสอดคลองกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ที่มีลักษณะซึ่งเรียกกันวา closed time-like curves
4
(CTC) และโดยความมีอยูของ CTC เชนนี้ เราจะสามารถออกเดินทางตรงออกไปในอวกาศและ
วนกลับมายังโลกที่ซึ่งเราจะพบวาเปนชวงเวลาในอดีตกอนที่เราจะออกเดินทางตั้งแตทีแรกนั้น ใน
การเดินทางผาน CTC แบบของโกเดลนี้ world line ของนักเดินทางจะเปนเสนที่โคงกลับไปสูอดีต
(และอาจจะตัดกับเสนของตัวเองไดในกรณีที่เขาไดกลับไปพบกับตัวเองในอดีต) โดย proper time
ของนักเดินทางจะยังคงมีทิศทางที่ดําเนินไปขางหนาเชนเดิม (เขายังคงแกขึ้นทุกขณะ) นั่นคือ เวลา
ยังคงชี้ไปสูอนาคตในกรอบการอางอิงของนักเดินทาง (the local future) แตจุดหมายที่เขาไปถึง
นั้นกลับเปนชวงเวลาที่เปนอดีตของโลก (the global past) เราอาจจินตนาการเปรียบเทียบไดกับ
การลากเสนผานไปบนวัตถุทรงกระบอก (ซึ่งเปนตัวแทนของกาลอวกาศสี่มิติ) ซึ่งวางนอนอยู หาก
เราลากเสนตรงจากจุดใดๆ ก็ตามขึ้นไปตามแนวตั้ง ก็ยอมเปนไปไดเสมอที่เราจะลากเสนตรงนั้น
ใหออมไปพบกับจุดเริ่มตน โดยที่ไมจําเปนตองยอนหรือเปลี่ยนทิศทางของการลากเสนแตประการ
ใด ดังที่โกเดลไดกลาวไววา
... โดยการเดินทางแบบไปกลับดวยยานจรวดในวิถีโคงที่กวางอยางเพียงพอ มีความเปนไป
ไดในโลกเหลานี้3
ที่จะเดินทางไปสูอาณาเขตใดๆ ก็ตามของอดีต ปจจุบัน และอนาคต และ
กลับไปอีกครั้งหนึ่ง เชนเดียวกับที่มีความเปนไปไดในโลกอื่นๆ ที่จะเดินทางไปยังสวนตางๆ ที่
หางไกลในอวกาศ (Gödel, 1949: 560)
การเดินทางขามเวลาในลักษณะที่บรรยายมานี้อาจจะแตกตางไปจากสิ่งที่เราคิดกันอยู
พอสมควร คนสวนมากมักเขาใจการเดินทางกลับไปสูอดีตตามแบบที่เวลสไดจินตนาการไว กลาว
คือ นักเดินทางใชยานเวลา (time machine) เพื่อเดินทางยอนกลับไปในเวลา (back to the past)
ในลักษณะที่ทําใหสภาพแวดลอมภายนอกยานดําเนินยอนกลับ ซึ่งในแงนี้ดูราวกับวาอดีตไดยอน
กลับมาหานักเดินทางขามเวลาเอง (คลายกับรูปแบบที่พัทนัมเสนอไว) ทวาโดยอาศัยความเปนไป
ไดของการมี CTC เชนแบบของโกเดลนี้ การเดินทางขามเวลาไมไดจําเปนตองใชยานเวลาที่มีคุณ
สมบัติพิเศษอยางที่เวลสบรรยายไว หากแตตองการความมีอยูที่แสนจะแปลกประหลาดของโครง
สรางกาลอวกาศมากกวา (Deutsch, 1997: 296) ในแงนี้ เราอาจไมสามารทําใหตัวเองยอนกลับ
ไปในกาลเวลา หรือทําใหชวงเวลาในอดีตยอนกลับมาหาเราได แตดวย CTC เราจะสามารถ (ใน
ทางทฤษฎี) เดินทางมุงหนาเพื่อเขาไปสูอดีตได (forward to the past)4
3
หมายถึงจักรวาลที่มวลโดยรวมทั้งหมดกําลังหมุนรอบตัวเอง ดังที่โกเดลเสนอไวในฐานะที่เปนการแก
สมการแบบหนึ่ง (a solution) ของ field equation ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
4
โปรดดู Ray (1991) สําหรับการแยกวิเคราะหปญหาในรูปแบบ back to the past กับ forward to
the past และดู Dummett (1986) สําหรับการวิเคราะหปญหาในกรณีของ back to the past โดยเฉพาะ
5
อยางไรก็ตาม ความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลากอใหเกิดปญหาทางตรรกะหลาย
ประการตามมา (ดังที่จะกลาวในสวนถัดไป) ซึ่งทําใหเราอาจสงสัยไดวาการเดินทางขามเวลานั้น
จะเปนมโนทัศนที่ขัดแยงในตัวเอง (self-contradictory concept) หรือไม บางลงความเห็นวาหาก
ความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาเปนผลมาจากการมีอยูของ CTC และ CTC นี้เปนผลมา
จากทฤษฎีสัมพัทธภาพดังตัวอยางหนึ่งที่โกเดลไดแสดงไวจริง นั่นก็อาจเปนเหตุผลที่ยอนกลับไป
แสดงวาตัวทฤษฎีสัมพัทธภาพตางหากที่เปนปญหา (Smith, 1986: 49) ในแงนี้ ปญหาทางตรรกะ
ที่เกี่ยวพันกับการเดินทางขามเวลาจึงเปนสิ่งที่สรางความกังวลใหแกนักฟสิกสอยูมากพอสมควร
และนี่อาจเปนแรงจูงใจที่สําคัญประการหนึ่งที่ทําใหนักฟสิกสอยางเชน สตีเฟน ฮอวกิ้ง (Stephen
Hawking) ไดสรางหลักการบางอยางขึ้นมาเพื่อแกปญหา ดังที่เขากลาวไววา “อะไรจะเกิดขึ้นหาก
คุณฆาพอแมของคุณเองกอนที่คุณจะเกิด อาจเปนไดที่เราจะสามารถเลี่ยงปฏิทรรศน (paradox)
เชนนี้ดวยการปรับเปลี่ยนมโนทัศนเกี่ยวกับเจตจํานงเสรี แตนี่จะไมใชสิ่งที่จําเปนเลย หากสิ่งที่
ขาพเจาเรียกวา chronology protection conjecture นั้นถูกตอง นั่นก็คือ กฎในฟสิกสจะปองกัน
ไมใหเกิด closed timelike curves” (Hawking, 1992: 604) แตกระนั้น จนถึงปจจุบันก็ยังไมเปน
ที่สรุปไดวากฎตางๆ ทางฟสิกสจะปองกันการเกิดขึ้นของ CTCs ไดจริงหรือไม ในทางกลับกัน
ทฤษฎีฟสิกสเทาที่เรามีและเขาใจกันอยูในตอนนี้ก็ไมไดขัดแยงกับความเปนไปไดที่กาลอวกาศของ
เราอาจจะมี CTCs ที่ใชสําหรับการเดินทางขามเวลาได (โปรดดู Davies, 2001) อยางไรก็ตาม
การวิเคราะหทางปรัชญาก็อาจทําใหนักฟสิกสตัดขอกังวลเชนนี้ไปได หากสามารถแสดงใหเห็นวา
การเดินทางขามเวลานั้นเปนมโนทัศนที่ไมไดมีความขัดแยงในตัวเองแตประการใด
โดยทั่วไป ขอโตแยงตอความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาจะเปนรูปแบบ
ของการอางเหตุผลทางออม (indirect argument) หรือที่เรียกวา reductio ad absurdum โดยเริ่ม
จากการสมมติใหการเดินทางขามเวลาเปนไปไดกอน จากนั้นจึงพิจารณานัยที่ตามมา หากเกิด
ความขัดแยงในตัวเองขึ้น นั่นก็จะเปนเหตุผลที่ยอนกลับไปแสดงวาขอสมมติที่ใหการเดินทางขาม
เวลาเปนไปไดตั้งแตตนนั้นเปนสิ่งที่ไมถูกตอง ตัวอยางเชน หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได
เวลา ณ จุดหมายปลายทางที่ไปถึงยอมจะตองแตกตางไปจากเวลาที่ใชในการเดินทาง เราจะ
สามารถเดินทางขามชวงเวลาหนึ่ง โดยใชเวลาที่แตกตางออกไปจากชวงเวลาที่เราไดกาวขามไป
ดังเชนที่วิลเลียมสชี้ใหเห็นวานี่จะเปนความขัดแยงในตัวเองอยางชัดเจนในการกลาววา “หานาที
จากขณะนี้ ... ขาพเจาอาจอยูที่หนึ่งรอยปจากขณะนี้” (Williams, 1951: 463)
อยางไรก็ตาม ขอโตแยงนี้ไมสมเหตุสมผล (invalid) เนื่องจากเราสามารถเขาใจไดวาชวง
เวลาที่แตกตางกันเปนการนับเวลาที่ขึ้นอยูกับกรอบการอางอิง (frame of reference) ที่ตางกัน ดัง
ที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพไดแสดงใหเห็นแลววาเวลาในแตละกรอบการอางอิงไมจําเปนตองสอดคลอง
6
กันเสมอไป เวลาที่นักเดินทางใชในการเดินทางขามเวลาเปน proper time ที่วัดจากกรอบการอาง
อิงของนักเดินทางเอง ในขณะที่เวลาที่นักเดินทางกาวขามไปเปนเวลาที่ขึ้นอยูกับกรอบการอางอิง
ของโลก (earth time) ดังนั้น จึงไมใชสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองที่นักเดินทางจะใช proper time เพียงหา
นาที เพื่อกาวขามเวลาบนโลกไปรอยป และไมเพียงแตเราอาจจะสามารถกาวขามเวลาบนโลกใน
ทิศทางที่ไปสูอนาคตอีกรอยปขางหนาไดเทานั้น ความเปนไปไดของการมี closed time-like
curves ดังตัวอยางหนึ่งของโกเดล ยังเปนเหตุผลสนับสนุนความเปนไปไดที่จุดหมายในการเดิน
ทางขามเวลาจะเปนชวงเวลาในอดีตไดดวยเชนกัน
นอกจากนี้ ความเขาใจในเรื่อง proper time ยังทําใหเราแกปญหาเกี่ยวกับอัตลักษณสวน
บุคคล (personal identity) ของนักเดินทางขามเวลาได โดยทั่วไป ยอมเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทาง
ตรรกะที่คนๆ เดียวกันจะสามารถอยูคนละสถานที่ในเวลาเดียวกันได แตการเดินทางขามเวลาที่
ทําใหนักเดินทางกลับไปพบกับตัวเองในอดีตก็ไมไดละเมิดหลักขอนี้แตอยางใด เราสามารถเขาใจ
เสนทางของนักเดินทางขามเวลาที่ลากผานกาลอวกาศสี่มิติ (four-dimensional space-time) ใน
ลักษณะที่เปน world line ที่วกกลับมาตัดกับตัวเอง และโดยที่ proper time ยังคงเพิ่มขึ้นตาม
ความยาวของ world line ดังนั้น จึงไมไดเปนการขัดแยงในตัวเองที่นักเดินทางอาจมีอยูพรอมกับ
ตัวเองในอดีต (ณ จุดที่ world line ตัดกัน) ตามเวลาของโลก เพราะทั้งสองยังคงถูกระบุอยู ณ
proper time ที่ตางกันเสมอ และในอีกแงหนึ่ง ขอความอยางเชน “คนผูหนึ่งไดตายกอนที่เขาจะ
เกิด” หรือ “ผลเปนสิ่งที่เกิดขึ้นกอนสาเหตุ” จึงไมใชสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองอยางจําเปนเสมอไป หาก
ขอความดังกลาวบงถึงเพียงเวลาบนโลกเทานั้น ทวาการเดินทางขามเวลาก็ยังคงทําให “คนผูหนึ่ง”
ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลาจะยังคงตองตายหลังจากที่เขาไดเกิดมาตาม proper time ของตัวเอง
เชนเดียวกับที่ผลยอมตองมาหลังสาเหตุตาม proper time ของสิ่งนั้นเองเชนกัน
ขอโตแยงทางตรรกะแบบสุดทายที่จะกลาวในที่นี้คือ ปญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอดีต
(changing the past) บางคนอาจเขาใจวาความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาจะนําไปสูการ
เปลี่ยนแปลงอดีต ซึ่งเปนสิ่งที่ขัดแยงในตัวเอง ทั้งนี้เพราะอดีตเปนสิ่งที่ไดเกิดขึ้นแลว ไมสามารถ
เปลี่ยนแปลงได ดังที่ฮอสเปอรสไดกลาวไววา
...คุณไมสามารถกลับไปในเวลาไดถาหากนี่หมายถึงการไปอยูในยุคสมัยที่ไดผานไปเรียบ
รอยแลว คุณไมสามารถกลับไปสูอียิปตโบราณและชวยชาวอียิปตสรางปรามิดได เพราะปรา
มิดเหลานี้ไดถูกสรางเรียบรอยแลวในขณะที่ไมมีคุณ นั่นก็คือ คุณไมไดอยูที่นั่น คุณยังไมเกิด
... สิ่งที่เกิดไปแลวก็ไดเกิดขึ้นไปแลว คุณไมสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได คุณไมสามารถทํา
สิ่งที่เกิดขึ้นแลวใหไมเกิดได นี่เปนความเปนไปไมไดทางตรรกะเปนอยางนอยที่สุด เพราะ
7
เกี่ยวพันกับความขัดแยงตางๆ นั่นคือ คุณเคยอยูที่นั่นและคุณไมเคยอยูที่นั่น คุณไดชวยสราง
ปรามิดและคุณไมไดชวยสราง (Hospers, 1988: 136)
ถึงแมจะเปนความจริงที่วา การเปลี่ยนแปลงอดีตเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ5
แตขอ
อางเหตุผลขางตนก็ไมสมเหตุสมผลเสียทีเดียว โดยความผิดพลาดอยางหนึ่งมาจากความเขาใจวา
การเดินทางขามเวลาสามารถทําใหนักเดินทางกลับไปอยูในอดีตอีกครั้งหนึ่งได ดังที่สมิท (Smith,
1997: 364-366, 1998: 156) เรียกวาเปน “ความผิดพลาดเกี่ยวกับเวลารอบที่สอง” (the second-
time-around fallacy) เพราะหากนักเดินทางจะเดินทางกลับไปในอดีตจริง เขาก็ไดอยูในอดีตนั้น
ตั้งแตตน ซึ่งหมายความวา อดีตที่เกิดขึ้นมายอมไดรวมเอาการมีอยูของนักเดินทางนั้นเขาไวเปน
สวนหนึ่งของประวัติศาสตรดวยแลว หากนักเดินทางขามเวลาไดกลับไปในยุคอียิปตโบราณจริง
เขาก็ไดอยูที่นั่นมาแลวตลอด และหากเขาไดชวยสรางปรามิดในตอนที่ไดกลับไป เขาก็ไดชวยสราง
ปรามิดเหลานั้นตั้งแตทีแรกที่ชาวอียิปตไดสรางขึ้นมา ในกรณีนี้ การเดินทางขามเวลาไมไดทําให
อดีตเกิดการเปลี่ยนแปลง แตควรเขาใจเสียใหมวา การเดินทางขามเวลาสามารถมีอิทธิพลตออดีต
(influencing the past) ได (โปรดดู Horwich, 1975: 435-437; 1987: 116) ซึ่งนี่ไมใชสิ่งที่ขัดแยง
ในตัวเองแตอยางใด ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงมิใชสิ่งเปนไปไมไดทางตรรกะ
นอกจากปญหาทางตรรกะที่กลาวมา6
การเดินทางขามเวลายังทําใหเกิดสถานการณบาง
อยางที่นักปรัชญาเรียกวาเปนปฏิทรรศน (paradox) ของการเดินทางขามเวลา ซึ่งอาจแบงไดเปน
สองรูปแบบหลัก โดยรูปแบบแรกนั้น สวนมากรูจักกันในชื่อ “ปฏิทรรศนคุณปู” (Grandfather
paradox)7
ที่นักเดินทางขามเวลาเดินทางยอนกลับไปในอดีตเพื่อทําบางสิ่งที่จะสงผลใหเกิดความ
ขัดแยงกับความเปนจริงที่ไดเกิดขึ้นแลว ตัวอยางเชน การฆาปูของตัวเองกอนที่ปูจะใหกําเนิดพอ
5
และอันที่จริง นี่ก็เปนสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองไมนอยไปกวาการเปลี่ยนแปลงปจจุบันหรืออนาคต เพราะ
ทั้งอดีต ปจจุบัน และอนาคต ลวนเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเทานั้น การคิดจะเปลี่ยนแปลงใหเปนอยางอื่นจึงเปนสิ่ง
ที่เปนไปไมไดเชนกัน แตทั้งนี้ไมไดหมายความวาเราจะมีอิทธิพล (influence) ตอสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นไมได โปรดดู
การวิเคราะหความหมายของคําวา “changing the past” อยางละเอียดไดในงานของ Ni (1992)
6
สําหรับคําอธิบายแบบอื่นๆ ในการแกปญหาทางตรรกะเบื้องตนดังเชนที่กลาวไปแลวนั้น โปรดดูเพิ่ม
เติมไดใน Harrison (1995), Horwich (1975;1987), Lewis (1976) และ Smith (1998)
7
ชื่อเรียก “Grandfather paradox” ที่กลายเปนชื่อที่คุนเคยกันเปนอยางดีในขอถกเถียงเกี่ยวกับปญหา
การเดินทางขามเวลา (ทั้งในทางฟสิกสและปรัชญา) อาจจะสามารถสืบยอนกลับไปไดถึงจดหมายฉบับหนึ่งที่สง
ถึงบรรณาธิการของ Astounding Stories ในป 1933 ที่เขียนมาเสนอวา “Why pick on grandfather? It seems
that the only way to prove that time travel is impossible is to cite a case of killing one’s own
grandfather.” (cited in Nahin, 1999: 286)
8
ของเขา หรือการฆาตัวเองในอดีต (autofanticide) เปนตน8
ความสําเร็จของการกระทําเหลานี้จะ
เปนผล (effect) ทําใหนักเดินทางขามเวลาไมสามารถมีอยูได (กอนการเดินทางขามเวลา) ซึ่งเปน
การขัดแยงกับลําดับของสาเหตุ (cause) ตั้งแตตนที่นักเดินทางขามเวลาจะตองมีอยู (กอนการเดิน
ทางขามเวลา) จึงจะสามารถยอนเวลากลับไปเพื่อกระทําการดังกลาวนั้นได (หรือที่มักเขาใจกันใน
ลักษณะของ self-defeating causal chains นั่นเอง)
สวนปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลารูปแบบที่สองคือ ปฏิทรรศนความรู (Knowledge
paradox) ซึ่งเปนสถานการณที่การเดินทางขามเวลากอใหเกิดบางสิ่งขึ้นมาโดยไมมีสาเหตุหรือไม
สามารถอธิบายที่มาได ตัวอยางเชน หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได นักเดินทางจะสามารถ
กลับไปพบกับตัวเองในอดีตและใหขอมูลเกี่ยวกับวิธีการสรางยานเวลา (time machine) กับตัวเอง
ในอดีต ในกรณีเชนนี้ ความรูดังกลาวไมไดมาจากนักเดินทาง เพราะเขาเพียงแตจดจําความรูนั้น
ไดจากอดีตที่ผานมา และตัวเขาในอดีตก็ไดความรูนั้นมาจากการพูดคุยกับนักเดินทางขามเวลาซึ่ง
เปนตัวเขาเองในอนาคต เราจึงไมอาจอธิบายไดวาความรูที่วานี้เกิดขึ้นมาไดอยางไร หรือใครเปน
คนแรกที่ไดคิดขึ้น และหากไมมีคนคิดขึ้นมาแลว ก็ยอมไมนาจะเกิดการเดินทางขามเวลาไดตั้งแต
ทีแรกแลวเชนกัน
วิทยานิพนธนี้จะเปนการพยายามทําความเขาใจกับปญหาทางตรรกะจากปฏิทรรศนขาง
ตนที่กลาวมา โดยผูเขียนไดปกปองความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาจากปญหา
เชิงปฏิทรรศนตางๆ ที่เกิดขึ้นในการเดินทางขามเวลา อยางไรก็ตาม จากการวิเคราะหปญหาภาย
ในปฏิทรรศนเหลานี้จะทําใหเราสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไป
ได (improbable) ในโลกที่เปนอยู (the actual world)
ในบทที่ 2 ผูเขียนจะเสนอทางออกของลูอิส (Lewis, 1976) ตอปญหาจากปฏิทรรศนคุณปู
ซึ่งลูอิสไดชี้ใหเห็นวาปฏิทรรศนนี้ไมไดนําไปสูความขัดแยงในตัวเอง ความพยายามของนักเดินทาง
ขามเวลาที่จะทําสิ่งที่เปนไปไมไดเพียงแตจะทําใหเราสรุปไดวาความพยายามเหลานั้นจะลมเหลว
เสมอ แตจากขอเสนอของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) สิ่งที่มาปองกันความพยายามเหลานั้น
เปนความบังเอิญที่เรารูวาไมนาจะเกิดขึ้นได ดังนั้น เราจึงสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขาม
เวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได (improbable) ในความหมายที่วาเรามีเหตุผลที่ดีในเชิงประจักษที่
จะเชื่อวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกของเรา
8
นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงกรณีที่ไมเกี่ยวกับบุคคลเลยก็ไดเชนกัน ดังตัวอยางของการสงสัญญาณ
บางอยางยอนเวลากลับไปเพื่อทําลายเครื่องสงสัญญาณนั้นกอนที่จะไดมีการสงสัญญาณจริง แตในที่นี้ จะเปน
การพิจารณาในบริบทที่เกี่ยวของกับบุคคล ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลาเปนหลัก
9
ในบทที่ 3 เปนการพิจารณาปญหาในปฏิทรรศนความรู โดยผูเขียนจะแสดงใหเห็นวาการ
เดินทางขามเวลาไมใชแคเพียงอาจทําใหเกิดมีความรูขึ้นมาโดยไมมีผูใดคิดเทานั้น แตยังสามารถ
ทําใหเกิดสถานการณที่เกิดมีวัตถุทางกายภาพบางอยางโดยไมมีสาเหตุ รวมถึงการใหกําเนิดตัว
เองของนักเดินทางขามเวลาดวยเชนกัน แตไมวาสถานการณเหลานี้จะแปลกประหลาดหรือขัดกับ
สามัญสํานึกเพียงใดก็ตาม นั่นก็ไมไดทําใหการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมอาจจะเปนไปไดทาง
ตรรกะ อยางไรก็ตาม จากสิ่งที่เรารูวาเปนจริงในโลกของเรา เราก็อาจสามารถอนุมานได (เชน
เดียวกับฮอรวิช) วาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู
สวนในบทที่ 4 ผูเขียนจะตอบขอโตแยงของสมิท (Smith, 1997) ที่คัดคานแนวเหตุผล
ของฮอรวิช โดยจะชี้ใหเห็นขอบกพรองบางประการของคําคัดคานนี้ ซึ่งหากเรายอมรับแลว จะไม
สามารถแกปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาได และบทที่ 5 ผูเขียนไดพิจารณาขอ
เสนอของดอยทชและล็อควูด (Deutsch and Lockwood, 1994) ที่อาศัยการตีความการมีหลาย
จักรวาลของกลศาสตรควอนตัม (many-universe interpretation of quantum mechanics) มา
เปนทางออกสําหรับปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา ตามภาพความเขาใจนี้ นักเดินทางขาม
เวลาไมไดเดินทางกลับไปในอดีตของโลกที่ผานมาของเขา แตเปนโลกที่เปนไปไดที่มีอยูคูขนานกัน
ไปกับโลกของนักเดินทาง โดยผูเขียนไดแสดงใหเห็นวาแมการตีความเชนนี้จะสามารถเลี่ยงปญหา
เชิงปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาได แตก็ยังคงติดปญหาบางอยางจากการยอมรับความมี
อยูอยางเปนอนันตของโลกคูขนานที่เปนไปไดในการตีความนั้นเอง
ภาพรวมของปญหาที่นําเสนอจะสรุปในบทสุดทาย และผูเขียนไดอภิปรายเพิ่มเติมถึงขอ
จํากัดบางประการของสิ่งที่ไดเสนอไป ซึ่งเปนประเด็นเกี่ยวกับการอนุมาน (inference) ความไมมี
อยูของโครงสรางกาลอวกาศบางรูปแบบที่เปดโอกาสใหเกิดการเดินทางขามเวลาได โดยผูเขียน
เห็นวา แมเราจะสามารถเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู แตเราก็
ยังไมอาจบอกไดอยางชัดเจนวา โลกที่เปนอยูนี้ไมไดมีโครงสรางสําหรับการเดินทางขามเวลา สิ่ง
เหลานี้ยังคงเปนปญหาที่ตองไดรับการอธิบายจากการศึกษาทางฟสิกส
วัตถุประสงค
1. ศึกษามโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา
2. วิเคราะหปฏิทรรศนตางๆ ของการเดินทางขามเวลาที่ถกเถียงกันอยูในปรัชญา
3. ประเมินความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลา
10
ขอตกลงเบื้องตน
เปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไปวา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity)
ไดเปดโอกาสใหการเดินทางขามเวลาไปสูอนาคต (forward time travel) ในรูปแบบหนึ่งเปนไปได
(ดังที่กลาวไวขางตน) แตที่จริงนั่นก็เปนเพียงการทําใหกระบวนการตางๆ ในกรอบการอางอิงหนึ่ง
(frame of reference) ดําเนินไปชาลงเมื่อเทียบกับอีกกรอบการอางอิงหนึ่งเทานั้น ในแงนี้ สัตว
ประเภทที่จําศีล หรือการทําใหตื่นขึ้นหลักจากการแชแข็งเปนเวลานาน (หากทําไดในทางปฏิบัติ) ก็
จะเปนการเดินทางขามเวลาไปสูอนาคตในความหมายเดียวกันนี้ ดังนั้น ปรากฏการณเชนนี้จึงไม
มีปญหาทางตรรกะใดที่นาสนใจในทางปรัชญา (Mellor, 1998: 124)
ปญหาที่นาสนใจทางปรัชญาซึ่งจะไดวิเคราะหในวิทยานิพนธนี้ จึงอยูที่การเดินทางขาม
เวลาแบบที่ยอนกลับไปในอดีต (backward time travel) ดังที่โกเดลไดแสดงใหเห็นแลววาไมขัด
แยงกับทฤษฎีทางฟสิกสที่มีอยู ดังนั้นเพื่อความกระชับ หากมิไดมีการระบุเปนอยางอื่นแลว คําวา
“การเดินทางขามเวลา” ที่จะใชตอไปในวิทยานิพนธนี้ จะหมายถึงเฉพาะรูปแบบของการเดินทาง
ขามเวลาที่ทําใหผูเดินทางสามารถยอนกลับไปสูชวงเวลาในอดีตได ซึ่งนั่นยอมหมายความดวยวา
จะเปนการวิเคราะหในบริบทที่มีบุคคล (ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลา) เขามาเกี่ยวของเปนหลักดวย
เชนกัน ดังที่เปนหัวขอถกเถียงกันอยูในทางปรัชญา9
ขอบเขตของการวิเคราะหปญหา
ตามการแบงของฮอรวิช (Horwich, 1998) นับตั้งแตการคนพบของโกเดลเปนตนมา การ
ศึกษาปญหาการเดินทางขามเวลาแบงไดเปน 3 แนวทางหลัก แนวทางแรกเปนการคนหาโครง
สรางกาลอวกาศ (space-time structure) แบบอื่นๆ ที่กอใหเกิด CTCs ไดนอกเหนือจากแบบของ
โกเดล ทั้งนี้ก็เนื่องจากหลักฐานทางจักรวาลวิทยาในปจจุบันบงชี้วา จักรวาลโดยรวมไมนาจะกําลัง
หมุนรอบตัวเองอยู (แมวาแตละกาแล็คซี่จะหมุนอยูก็ตาม) ในลักษณะที่โกเดลไดเสนอไว (Davies,
2001: 36) ในแงนี้ จึงมีความพยายามที่จะหา CTCs รูปแบบอื่นที่สอดคลองกับสภาพของจักรวาล
9
ในคําอธิบายทางฟสิกส มักเลี่ยงปญหาที่เกี่ยวกับบุคคลโดยลดทอนเปน physical objects เชน การ
ใช thought experiment เกี่ยวกับการชนกันของ billiard balls หรือเปน light signal ที่สงยอนเวลากลับไป ดังที่
Novikov ไดใหความเห็นไววา “Obviously, a physicist (at least our contemporary physicist) is unable to
perform an exact calculation of the actions of a human being. This is the field for psychology and
sociology, not for physics.” (Novikov, 2001: 253)
11
ที่เปนจริงตามที่เราสามารถสังเกตได (โปรดดู Davies, 2001; Gott, 2002) โดยสวนนี้จะเปนงาน
วิจัยทางดานฟสิกสภาคทฤษฎี (theoretical physics) เปนหลัก (โปรดดู Earman, 1995)
แนวทางที่สองเปนการวิเคราะหประเด็นทางความหมาย (semantic issue) ของมโนทัศน
อื่นที่เกี่ยวของ (เชน เวลา สาเหตุ และการเดินทาง) วาจะยังคงเขาใจไดในแบบเดิมหรือไมในบริบท
ที่มีการเดินทางขามเวลาเขามาเกี่ยวของ กลาวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเดินทางขามเวลา (ถาเปนไป
ได) จะสงผลทําใหตองมีการปรับเปลี่ยนความหมาย (shift in the meanings) ของมโนทัศนอื่นๆ ที่
มีการถกเถียงกันอยูแลวในทางปรัชญาหรือไมอยางไร
สวนแนวทางสุดทายเปนขอถกเถียงเกี่ยวกับปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขาม
เวลาทั้งจากฟสิกสและปรัชญา รวมถึงนัยสําคัญของปฏิทรรศนดังกลาวตอการปดทิ้ง (preclude)
โครงสรางกาลอวกาศที่ทําใหเกิด CTCs สําหรับใชในการเดินทางขามเวลา กลาวคือ ปฏิทรรศน
ตางๆ จะทําใหเราตองสรุปวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไมไดหรือไม และนั่นจะเปนสิ่งบงชี้วารูป
แบบกาลอวกาศบางรูปแบบที่ทําใหเกิดการเดินทางขามเวลานั้นเปนสิ่งที่ไมไดมีอยูจริงดวยหรือไม
ดังที่ฮอรวิชเองไดชี้วา แมเราจะมีเหตุผลที่ทําใหเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกที่
เปนอยู แตกระนั้นก็ยังไมอาจใชเปนขอสรุปที่เด็ดขาดวาเราไมไดกําลังอยูในจักรวาลแบบที่โกเดล
ไดบรรยายไว (โปรดดู Horwich, 1987; 1995)
อยางไรก็ตาม เนื่องจากประเด็นเชิงความหมายตามแนวทางการศึกษาที่สองนั้น เปนสิ่งที่
ไมไดใหขอสรุปถึงความเปนไปได (หรือไมได) ทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาโดยตรง เพราะ
แมวามโนทัศนเกี่ยวกับเวลา ความเปนสาเหตุ รวมถึงมโนทัศนอื่นที่อาจเกี่ยวของที่เรามีอยูอาจจะ
ไมสามารถนําไปใชอธิบายปรากฏการณของการเดินทางขามเวลาได นั่นก็ยังไมใชขอพิสูจนวาการ
เดินทางขามเวลาโดยตัวเองนั้นเปนสิ่งที่เปนไปไมได ในทางกลับกัน หากทฤษฎีวิทยาศาสตรที่เปด
โอกาสใหเกิดการเดินทางขามเวลาสามารถพิสูจนไดวาเปนจริง เราก็อาจจําเปนตองปรับเปลี่ยน
ความเขาใจเชิงมโนทัศนของแนวคิดอื่นที่เกี่ยวของนั้นแทน (โปรดดู Horwich, 1995: 1998)10
ดวย
10
ตัวอยางเชนในงานของ Mellor (1998) ที่เสนอวา causal loops เปนเงื่อนไขจําเปนของการเดินทาง
ขามเวลา แตจากการวิเคราะหมโนทัศนความเปนสาเหตุดวยทฤษฎีความนาจะเปน ทําใหเห็นวา causal loops
จะใหเซตของความถี่ออกมาขัดแยงกันเอง ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดเพราะ causal loops เปน
มโนทัศนที่เปนไปไมได อยางไรก็ตาม ขออางเหตุผลนี้ก็ไดรับการวิจารณวา 1). ไมสมเหตุสมผล กลาวคือ แมจะ
ยอมรับการวิเคราะหตามแนวทางขางตน ก็ไมไดทําใหเกิดความขัดแยงในตัวเอง และ 2). เปนการใชมโนทัศน
ความเปนสาเหตุแบบ linear มาแยงความเปนสาเหตุแบบ loops ดังนั้นจึงเทากับ beg the question ตอปญหา
causal loops (และตอปญหาการเดินทางขามเวลา) ตั้งแตตน โปรดดูขอวิจารณเหลานี้ไดใน Berkovitz (2001)
และ Dowe (2001)
12
เหตุนี้ ผูเขียนจะไมวิเคราะหในรายละเอียดของมโนทัศนที่อาจเกี่ยวของเหลานี้โดยตรง แตอาจมี
การหยิบยกขึ้นมาอภิปรายบางเฉพาะกรณีที่จําเปนเทานั้น ดังนั้น ขอบเขตของปญหาหลักที่จะได
วิเคราะหในวิทยานิพนธจึงเปนการศึกษาในแนวทางที่สาม โดยเนนปญหาทางตรรกะในปฏิทรรศน
ของการเดินทางขามเวลาเปนหลัก เนื่องจากเห็นวาปญหานี้เปนประเด็นที่เกี่ยวโยงถึงความเปนไป
ไดของการเดินทางขามเวลาโดยตรง
ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ
1. เขาใจมโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลาที่เปนไปไดอยางสมเหตุสมผล
2. เปนแหลงอางอิงทางวิชาการสําหรับผูสนใจที่จะทําการศึกษาในขั้นตอไป
บทที่ 2
ปฏิทรรศนคุณปู
ในบทนี้ ผูเขียนจะแสดงใหเห็นวา ปญหาเชิงปฏิทรรศนที่สําคัญในการเดินทางขามเวลาที่
อยูในรูปแบบของปฏิทรรศนคุณปู (Grandfather paradox) นั้น ไมไดนําไปสูความขัดแยงในตัวเอง
อยางไรก็ตาม แมวาลูอิส (Lewis, 1976) ไดชี้วาความพยายามของนักเดินทางขามเวลาที่จะทําให
เกิดบางสิ่งที่เปนไปไมไดเพียงแตจะลมเหลวดวยความบังเอิญที่ธรรมดาสามัญบางอยางเสมอ แต
จากขอพิจารณาเพิ่มเติมของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) ความบังเอิญที่วานี้เปนสิ่งที่เรารูวา
ไมนาจะเปนไปได (improbable) ในโลกที่เปนอยู (the actual world) ดังนั้น การเดินทางขามเวลา
จึงไมนาจะเกิดขึ้นไดจริงในโลกของเรา ในสวนสุดทาย ผูเขียนจะวิเคราะหใหเห็นวาปญหาที่แท
จริงของปฏิทรรศนนี้ไมใชปญหาเกี่ยวกับเจตจํานงเสรี (free will) แตเปนปญหาจากหลักการที่เรียก
กันวา autonomy principle
ทางออกของลูอิส
ในบทความ “The Paradoxes of Time Travel” ลูอิส (Lewis, 1976) ไดวิเคราะหปญหา
จากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาในรูปแบบปฏิทรรศนคุณปู โดยชี้ใหเห็นวายังอาจมีขอโต
แยงที่เปนไปไดในการแสดงวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไมไดทางตรรกะ “เมื่อเราไมไดถามถึงสิ่ง
ที่นักเดินทางขามเวลาทํา (does) แตอะไรบางที่เขาสามารถทําได (could do)” (Lewis, 1976:
149) เพราะดูเหมือนวา หากนักเดินทางยังคงสามารถที่จะทําสิ่งตางๆ ตามที่เขาสามารถทําไดใน
เวลาปกติแลว เขาก็นาจะยังคงสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได (แมวาในความเปนจริงเขาจะไมไดทํา
ก็ตาม) ดังเชนเรื่องตอไปนี้
พิจารณาทิม (Tim) เขาเกลียดชังปูของเขา ความสําเร็จจากการคาอาวุธของปูไดสรางความ
มั่งคั่งแกครอบครัวอันเปนที่มาของคาใชในยานเวลาของทิม ทิมไมตองการทําสิ่งใดมากเทา
กับการฆาปู แตโชคไมดีที่สายไปแลวสําหรับเขา ปูนอนตายบนเตียงตัวเองในป 1957 ในขณะ
ที่ทิมยังเปนเด็กเล็กอยู แตเมื่อทิมไดสรางยานเวลาของเขาและเดินทางไปสูป 1920 ทันใด
นั้น เขาก็ตระหนักวาไมไดสายไปอีกแลวสําหรับเขา เขาซื้อปนไรเฟลหนึ่งกระบอก เขาใชเวลา
ฝกจัดการกับเปาหมายอยูนานหลายชั่วโมง เขาสะกดรอยตามปูเพื่อเรียนรูเสนทางที่เดินเปน
ประจําในแตละวันของการไปทํางานขายอาวุธ เขาเชาหองพักบนเสนทางนั้น และที่นั่นเองที่
เขาใชดักซุม จนวันหนึ่งของฤดูหนาวในป 1921 ปนไรเฟลถูกบรรจุกระสุน พรอมกับความ
เกลียดที่อัดแนนในใจเขา เมื่อปูเดินใกลเขามาและใกลเขามาอีก .... (Lewis, 1976: 149)
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง
มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ  สหขัยรุ่งเรือง

More Related Content

What's hot

R実践 機械学習による異常検知 02
R実践 機械学習による異常検知 02R実践 機械学習による異常検知 02
R実践 機械学習による異常検知 02akira_11
 
Terjemahan shafwah attafsir
Terjemahan shafwah attafsirTerjemahan shafwah attafsir
Terjemahan shafwah attafsirazzahra93
 
1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...
1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...
1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...Ethio-Afric News en Views Media!!
 
قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18
قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18
قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18Dr Kashif Khan
 
トピックモデル
トピックモデルトピックモデル
トピックモデル貴之 八木
 
多目的遺伝的アルゴリズム
多目的遺伝的アルゴリズム多目的遺伝的アルゴリズム
多目的遺伝的アルゴリズムMatsuiRyo
 
[DL輪読会]Conditional Neural Processes
[DL輪読会]Conditional Neural Processes[DL輪読会]Conditional Neural Processes
[DL輪読会]Conditional Neural ProcessesDeep Learning JP
 
Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)
Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)
Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)Takuma Hatano
 
リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張
リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張
リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張Kei Nakagawa
 
第1回文献紹介勉強会20140826
第1回文献紹介勉強会20140826第1回文献紹介勉強会20140826
第1回文献紹介勉強会20140826Masakazu Sano
 
01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)
01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)
01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)EmCy PoEtri SagiEta AL-ghoffari
 
“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のこと
“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のこと“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のこと
“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のことHiroaki Kudo
 
最適腕識別と多重検定
最適腕識別と多重検定最適腕識別と多重検定
最適腕識別と多重検定Masa Kato
 
PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2
PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2
PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2Hiroyuki Kato
 
統計的学習の基礎_3章
統計的学習の基礎_3章統計的学習の基礎_3章
統計的学習の基礎_3章Shoichi Taguchi
 

What's hot (20)

R実践 機械学習による異常検知 02
R実践 機械学習による異常検知 02R実践 機械学習による異常検知 02
R実践 機械学習による異常検知 02
 
Terjemahan shafwah attafsir
Terjemahan shafwah attafsirTerjemahan shafwah attafsir
Terjemahan shafwah attafsir
 
Ppt ulumul quran
Ppt ulumul quranPpt ulumul quran
Ppt ulumul quran
 
1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...
1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...
1 SEMIRAMIS Legendary Mysterious Great Queen of Assyria A commentary edited b...
 
قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18
قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18
قرآنی نظر یہ ِ حیات ۔ہم نے قرآن کے ساتھ کیا سلوک کیا؟ باب 18
 
トピックモデル
トピックモデルトピックモデル
トピックモデル
 
wali Allah dan karamahnya wali setan dan tipu dayanya
wali Allah dan karamahnya wali setan dan tipu dayanyawali Allah dan karamahnya wali setan dan tipu dayanya
wali Allah dan karamahnya wali setan dan tipu dayanya
 
多目的遺伝的アルゴリズム
多目的遺伝的アルゴリズム多目的遺伝的アルゴリズム
多目的遺伝的アルゴリズム
 
[DL輪読会]Conditional Neural Processes
[DL輪読会]Conditional Neural Processes[DL輪読会]Conditional Neural Processes
[DL輪読会]Conditional Neural Processes
 
Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)
Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)
Rで野球のデータ解析がしたい (データが欲しい)
 
Takhrij Hadits
Takhrij HaditsTakhrij Hadits
Takhrij Hadits
 
リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張
リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張
リスクベースポートフォリオの高次モーメントへの拡張
 
第1回文献紹介勉強会20140826
第1回文献紹介勉強会20140826第1回文献紹介勉強会20140826
第1回文献紹介勉強会20140826
 
Prml 3 3.3
Prml 3 3.3Prml 3 3.3
Prml 3 3.3
 
Pengertian riya’ dan nifak
Pengertian riya’ dan nifakPengertian riya’ dan nifak
Pengertian riya’ dan nifak
 
01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)
01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)
01 desiana trisnawati (memahami pengertian al-qur'an dan bukti keotentikannya)
 
“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のこと
“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のこと“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のこと
“確率的最適化”を読む前に知っておくといいかもしれない関数解析のこと
 
最適腕識別と多重検定
最適腕識別と多重検定最適腕識別と多重検定
最適腕識別と多重検定
 
PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2
PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2
PRML上巻勉強会 at 東京大学 資料 第4章4.3.1 〜 4.5.2
 
統計的学習の基礎_3章
統計的学習の基礎_3章統計的学習の基礎_3章
統計的学習の基礎_3章
 

Viewers also liked

การพันพัดลม
การพันพัดลมการพันพัดลม
การพันพัดลมnsumato
 
อัจฉริยะนักวิทย์
อัจฉริยะนักวิทย์อัจฉริยะนักวิทย์
อัจฉริยะนักวิทย์nsumato
 
เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ
เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติเอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ
เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติnsumato
 
จักรใด ขับดันยุคไอที
จักรใด ขับดันยุคไอทีจักรใด ขับดันยุคไอที
จักรใด ขับดันยุคไอทีnsumato
 
โลกใหม่
โลกใหม่โลกใหม่
โลกใหม่nsumato
 
อารยธรรมลี้ลับ
อารยธรรมลี้ลับอารยธรรมลี้ลับ
อารยธรรมลี้ลับnsumato
 
จักรวาลคู่ขนาน
จักรวาลคู่ขนานจักรวาลคู่ขนาน
จักรวาลคู่ขนานnsumato
 
นครกลางหาว
นครกลางหาว นครกลางหาว
นครกลางหาว nsumato
 
วิญญาณในอะตอม
วิญญาณในอะตอมวิญญาณในอะตอม
วิญญาณในอะตอมnsumato
 
ประวัติย่อของเอกภพ
ประวัติย่อของเอกภพประวัติย่อของเอกภพ
ประวัติย่อของเอกภพnsumato
 

Viewers also liked (10)

การพันพัดลม
การพันพัดลมการพันพัดลม
การพันพัดลม
 
อัจฉริยะนักวิทย์
อัจฉริยะนักวิทย์อัจฉริยะนักวิทย์
อัจฉริยะนักวิทย์
 
เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ
เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติเอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ
เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ
 
จักรใด ขับดันยุคไอที
จักรใด ขับดันยุคไอทีจักรใด ขับดันยุคไอที
จักรใด ขับดันยุคไอที
 
โลกใหม่
โลกใหม่โลกใหม่
โลกใหม่
 
อารยธรรมลี้ลับ
อารยธรรมลี้ลับอารยธรรมลี้ลับ
อารยธรรมลี้ลับ
 
จักรวาลคู่ขนาน
จักรวาลคู่ขนานจักรวาลคู่ขนาน
จักรวาลคู่ขนาน
 
นครกลางหาว
นครกลางหาว นครกลางหาว
นครกลางหาว
 
วิญญาณในอะตอม
วิญญาณในอะตอมวิญญาณในอะตอม
วิญญาณในอะตอม
 
ประวัติย่อของเอกภพ
ประวัติย่อของเอกภพประวัติย่อของเอกภพ
ประวัติย่อของเอกภพ
 

More from nsumato

โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)
โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)
โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)nsumato
 
PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)
PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)
PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)nsumato
 
Lpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_thLpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_thnsumato
 
P 424474
P 424474P 424474
P 424474nsumato
 
Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989nsumato
 
มิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาท
มิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาทมิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาท
มิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาทnsumato
 
Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989nsumato
 
Lpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_thLpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_thnsumato
 
Miti tee4 38
Miti tee4 38Miti tee4 38
Miti tee4 38nsumato
 
Chaiyapruek wit 113
Chaiyapruek wit 113Chaiyapruek wit 113
Chaiyapruek wit 113nsumato
 
Miti tee4 27
Miti tee4 27Miti tee4 27
Miti tee4 27nsumato
 
Miti tee4 25
Miti tee4 25Miti tee4 25
Miti tee4 25nsumato
 
013 japanese army air force aces 1937-1945
013   japanese army air force aces 1937-1945013   japanese army air force aces 1937-1945
013 japanese army air force aces 1937-1945nsumato
 
Model aircraft january 2017
Model aircraft   january 2017Model aircraft   january 2017
Model aircraft january 2017nsumato
 
Miti tee4 20
Miti tee4 20Miti tee4 20
Miti tee4 20nsumato
 
Miti tee4 11
Miti tee4 11Miti tee4 11
Miti tee4 11nsumato
 
Secretofthetime
SecretofthetimeSecretofthetime
Secretofthetimensumato
 
มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525) Miti tee4 22
มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525)  Miti tee4 22มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525)  Miti tee4 22
มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525) Miti tee4 22nsumato
 

More from nsumato (20)

Nova14
Nova14Nova14
Nova14
 
โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)
โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)
โนวา ฉบับที่ 12 (มีนาคม 2526)
 
PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)
PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)
PDF โนวา 1 (กพ. พ.ศ.2525)
 
Lpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_thLpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_th
 
P 424474
P 424474P 424474
P 424474
 
Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989
 
Nova01
Nova01Nova01
Nova01
 
มิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาท
มิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาทมิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาท
มิติที่ 4 ฉบับที่ 45 (พฤษภาคม 2527) ราคาปก 15 บาท
 
Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989Miti4extra4 1989
Miti4extra4 1989
 
Lpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_thLpr 2016 summary_th
Lpr 2016 summary_th
 
Miti tee4 38
Miti tee4 38Miti tee4 38
Miti tee4 38
 
Chaiyapruek wit 113
Chaiyapruek wit 113Chaiyapruek wit 113
Chaiyapruek wit 113
 
Miti tee4 27
Miti tee4 27Miti tee4 27
Miti tee4 27
 
Miti tee4 25
Miti tee4 25Miti tee4 25
Miti tee4 25
 
013 japanese army air force aces 1937-1945
013   japanese army air force aces 1937-1945013   japanese army air force aces 1937-1945
013 japanese army air force aces 1937-1945
 
Model aircraft january 2017
Model aircraft   january 2017Model aircraft   january 2017
Model aircraft january 2017
 
Miti tee4 20
Miti tee4 20Miti tee4 20
Miti tee4 20
 
Miti tee4 11
Miti tee4 11Miti tee4 11
Miti tee4 11
 
Secretofthetime
SecretofthetimeSecretofthetime
Secretofthetime
 
มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525) Miti tee4 22
มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525)  Miti tee4 22มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525)  Miti tee4 22
มิติที่ 4 ฉบับที่ 22 (มกราคม 2525) Miti tee4 22
 

มโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลา โดย พรเทพ สหขัยรุ่งเรือง

  • 2. THE CONCEPT OF TIME TRAVEL Mr. Pornthep Sahachairungrueng A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts in Philosophy Department of Philosophy Faculty of Arts Chulalongkorn University Academic Year 2002 ISBN 974-17-1865-9
  • 3. หัวขอวิทยานิพนธ มโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา โดย นายพรเทพ สหชัยรุงเรือง สาขาวิชา ปรัชญา อาจารยที่ปรึกษา ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อนุมัติใหนับวิทยานิพนธฉบับนี้เปน สวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ………………………………………….. คณบดีคณะอักษรศาสตร (ผูชวยศาสตราจารย ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย) คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ …………………………………………… ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย ดร.สมภาร พรมทา) …………………………………………... อาจารยที่ปรึกษา (ผูชวยศาสตราจารย ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ) ……………………………………………กรรมการ (รองศาสตราจารย ดร.มารค ตามไท)
  • 4. 4 พรเทพ สหชัยรุงเรือง : มโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา. (THE CONCEPT OF TIME TRAVEL) อ.ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ. 68 หนา. ISBN 974-17-1865-9. “การเดินทางขามเวลา” ในวิทยานิพนธนี้หมายถึงการเดินทางกลับไปสูอดีต ซึ่งเปนปญหา ที่สามารถศึกษาไดหลายแนวทาง แตผูเขียนศึกษาในแงของความเปนไปไดทางตรรกะเทานั้น วัตถุประสงคของวิทยานิพนธคือเพื่อศึกษามโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา วิเคราะหปฏิทรรศน ตางๆ ของการเดินทางขามเวลาที่ถกเถียงกันอยูในปรัชญา และประเมินความเปนไปไดของการ เดินทางขามเวลา ผูเขียนจะเริ่มตนการศึกษาดวยปญหาเชิงปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา ซึ่งแบงเปน สองรูปแบบหลัก ไดแก ปฏิทรรศนคุณปูและปฏิทรรศนความรู ปฏิทรรศนคุณปูไดแสดงวาการเดิน ทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่ขัดแยงในตัวเอง เชน การฆาปูกอนการใหกําเนิดพอของตัวเอง ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดทางตรรกะ ลูอิสปฏิเสธการสอนัยนี้ดวยการชี้ใหเห็นวา สถานการณเหลานั้นจะถูกขัดขวางดวยความบังเอิญ แตผูเขียนเห็นดวยกับขอเสนอของฮอรวิชที่ วาความบังเอิญซึ่งทําใหการพยายามฆาปูตองลมเหลวอยางตอเนื่องนั้นเปนเหตุผลเชิงประจักษที่ ทําใหอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่ไมนาจะเปนไปได ดังนั้น การเดิน ทางขามเวลาจึงไมนาจะเกิดขึ้นไดในโลกที่เปนอยู สวนปฏิทรรศนความรูไดแสดงวาการเดินทางขามเวลามีนัยไปสูสถานการณที่แปลก ประหลาด อันไดแก การเปนพอแมตัวเองของนักเดินทางขามเวลา การเกิดวัตถุทางกายภาพจาก ความวางเปลา และการไดความรูโดยปราศจากกระบวนการแกปญหา แตผูเขียนแสดงใหเห็นวา ปฏิทรรศนนี้ไมไดมีนัยไปสูความขัดแยงในตัวเอง ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงไมใชสิ่งที่เปนไป ไมไดทางตรรกะ แตดวยแนวเหตุผลของฮอรวิช จากสิ่งที่เรารูวาจริงในโลกของเรา เรามีเหตุผลเชิง ประจักษที่จะอนุมานไดเชนกันวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู ทายที่สุด ผูเขียนจะพิจารณาขอเสนอของดอทยชและล็อควูด ที่ใชการตีความการมีหลาย จักรวาลของกลศาสตรควอนตัมเพื่อแกปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา แมวาจะสามารถเลี่ยง ปญหาเชิงปฏิทรรศนได แตผูเขียนชี้ใหเห็นวา จากปญหาเกี่ยวกับจักรวาลคูขนานที่มีเปนอนันตใน การตีความเชนนั้น แนวคิดดังกลาวจึงเปนสิ่งที่เปนไปไมไดในทางญาณวิทยา ภาควิชา.....ปรัชญา..... ลายมือชื่อนิสิต.................................................................. สาขาวิชา....ปรัชญา..... ลายมือชื่ออาจารยที่ปรึกษา................................................ ปการศึกษา....2545.....
  • 5. 5 # # 4380153922: MAJOR PHILOSOPHY KEYWORD: TIME TRAVEL / TIME / PARADOX / COINCIDENCE / PARALLEL UNIVERSES PORNTHEP SAHACHAIRUNGRUENG: THE CONCEPT OF TIME TRAVEL. THESIS ADVISOR: ASST. PROF. SIRIPHEN PIRIYACHITTAKORNKIT, PH.D. 68 pp. ISBN 974-17-1865-9. In this thesis, “time travel” means travelling backward to the past, which is a problem studied in many approaches. But I study only the problem of logical possibility. The purposes of the thesis are to study the concept of time travel; analyze the paradoxes of time travel discussed in philosophy; and evaluate the possibility of time travel. Firstly, I study the paradoxical problems of time travel, which have two main forms: Grandfather paradox and Knowledge paradox. Grandfather paradox showed that time travel entails self-contradictory situations, such as killing grandfather before begetting one’s own father—hence it is itself logically impossible. Lewis rejected this entailment by indicating that these situations will be foiled by coincidences. But I agree with Horwich’s proposal that the coincidences that make killing-grandfather attempts continuously fail provide empirical reason to infer that time travel entails the improbable situations. Hence time travel is unlikely to occur in the actual world. Knowledge paradox demonstrated that time travel entails bizarre situations,-- self-parenting of time traveller, creation ex-nihilo of physical objects and deriving knowledge without problem-solving process. But I show that this paradox does not imply any self-contradiction—hence time travel is not logically impossible. But according to Horwich’s reasoning we also have empirical reasons, from what known to be true in our world, to infer that time travel is improbable in the actual world. Secondly, I consider the proposition of Deutsch and Lockwood on using many- universe interpretation of quantum mechanics to dissolve the paradoxes of time travel. Though it could avoid the paradoxical problems I point out that this idea is, due to the problem of infinite parallel universes in such interpretation, epistemologically impossible. Department.…..Philosophy…. Student’s signature.…………………………………. Field of study.…Philosophy… Advisor’s signature.…………………………………. Academic year.….2002……..
  • 6. 6 กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธนี้เริ่มตนขึ้นไดจากการชี้แนะและสนับสนุนของ อ.พงษชาย เอี่ยวพานทอง ใน ฐานะอาจารยที่ปรึกษาทานแรก ผูเขียนขอขอบคุณอาจารยไว ณ ที่นี้เปนอยางสูง รวมถึงอาจารย ทุกๆ ทานในภาควิชาปรัชญาที่ไดอบรมสั่งสอนวิธีการทางปรัชญามากวา 2 ป ซึ่งถือเปนสมมติฐาน หนึ่งของความสําเร็จในการทํางานชิ้นนี้ สําหรับความสําเร็จขั้นสุดทาย ผูเขียนตองขอขอบพระคุณ อ.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ ซึ่งได กรุณารับเปนอาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ หากไมมีขอแนะนํา การตรวจสอบ และความเมตตา เอาใจใสจากอาจารยแลว สิ่งที่ทํามาทั้งหมดคงไมสามารถสมบูรณดังที่เปนอยูไดเลย และขอ ขอบคุณ อ.มารค ตามไท และ อ.สมภาร พรมทา ในฐานะกรรมการสอบวิทยานิพนธที่ไดใหขอคิด เห็นและชี้ใหเห็นขอบกพรองบางประการที่ชวยทําใหเนื้อหาของวิทยานิพนธนี้ไดรับการปรับแกให ถูกตองมากยิ่งขึ้น แตแนนอนวาขอบกพรองใดๆ ที่อาจยังคงมีอยูนั้นยอมถือเปนความรับผิดชอบ ของผูเขียนทั้งหมด นอกจากนี้ ผูเขียนขอขอบคุณ อ.สิริเพ็ญ อ.สมภาร พี่พุฒวิทย บุนนาค คุณพงศศิริ ศรี วรรธนะ และคุณเอกวิน ขุนบุญจันทร สําหรับหนังสือและเอกสารตางๆ ที่เปนประโยชนอยางยิ่งใน การทําวิทยานิพนธนี้ และโดยเฉพาะอยางยิ่งคุณธเนศ ไอยรานภารักษ ที่ไดใหความชวยเหลือเปน อยางดีในการคนหาบทความตางๆ จากตางประเทศ รวมถึงขอขอบคุณพี่นวชัย เกียรติกอเกื้อ เปน พิเศษที่ไดออกคาใชจายสวนหนึ่งสําหรับหนังสือที่ใชในการคนควาซึ่งไดสูญหายไปกับกาลเวลา และที่สําคัญที่สุด ขอขอบพระคุณพอและแมของผูเขียนที่ไดสนับสนุนการเรียนครั้งนี้ปน อยางดีมาโดยตลอด หากไมมีทานทั้งสองแลว ผูเขียนคงไมไดรับโอกาสทางการศึกษาที่ดีอยางที่ เปนมาจนถึงทุกวันนี้ พรเทพ สหชัยรุงเรือง
  • 7. สารบัญ หนา บทคัดยอภาษาไทย................................................................................................................ง บทคัดยอภาษาอังกฤษ..........................................................................................................จ กิตติกรรมประกาศ............................................................................................................... 6 สารบัญ.............................................................................................................................. 7 บทที่ 1 บทนํา...................................................................................................................... 1 ที่มาและความสําคัญของปญหา............................................................................... 1 วัตถุประสงค........................................................................................................... 9 ขอตกลงเบื้องตน................................................................................................... 10 ขอบเขตของการวิเคราะหปญหา............................................................................. 10 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ ..................................................................................... 12 บทที่ 2 ปฏิทรรศนคุณปู...................................................................................................... 13 ทางออกของลูอิส................................................................................................... 13 ขอพิจารณาของฮอรวิช .......................................................................................... 15 เจตจํานงเสรีกับ autonomy principle..................................................................... 18 บทที่ 3 ปฏิทรรศนความรู.................................................................................................... 21 รูปแบบของปฏิทรรศนความรู.................................................................................. 21 ปญหาการใหกําเนิดตัวเอง ..................................................................................... 23 ปญหาการมีบางสิ่งจากความวางเปลา.................................................................... 25 ปญหาการไดมาของความรู.................................................................................... 29 บทที่ 4 ความบังเอิญในการเดินทางขามเวลา....................................................................... 32 ความบังเอิญที่ไมนาจะเปนไปได............................................................................. 33 ความบังเอิญที่เปนไปได......................................................................................... 37
  • 8. 8 สารบัญ (ตอ) หนา บทที่ 5 การเดินทางขามเวลากับแนวคิดจักรวาลคูขนาน........................................................ 45 ปญหาจากแนวคิดเรื่องเวลา................................................................................... 46 ปญหาจากความเปนอนันต.................................................................................... 49 บทที่ 6 บทสรุป.................................................................................................................. 52 รายการอางอิง................................................................................................................... 56 ประวัติผูเขียนวิทยานิพนธ.................................................................................................. 60
  • 9. บทที่ 1 บทนํา ที่มาและความสําคัญของปญหา ความเขาใจเชิงสามัญสํานึกประการหนึ่งที่เรามีตอมิติของเวลา (temporal dimension) ซึ่งกอใหเกิดความแตกตางอยางเดนชัดจากมิติของพื้นที่ (spatial dimension) นั้นก็คือ ความไม สมมาตร (asymmetry) ของอดีต ปจจุบัน และอนาคต กลาวคือ เราสามารถเคลื่อนที่ไปทาง ซาย- ขวา หนา-หลัง และ ขึ้น-ลง ไดอยางอิสระในมิติของพื้นที่ แตเราไมสามารถเคลื่อนที่ไปขางหนา หรือยอนกลับไปในกาลเวลาเชนเดียวกับที่เราทําไดในมิติของพื้นที่ เราเหมือนกับเปนนักโทษซึ่งถูก จองจําใหอยูกับชวงเวลาเพียงขณะหนึ่งที่เรียกวา “ปจจุบัน” ซึ่งคอยๆ ถอยหางจากไปเปน “อดีต” โดยมีชวงเวลาที่เปน “อนาคต” ไดเขามาแทนที่อยางไมขาดสายราวกับเปน “กระแสแหงกาลเวลา” (passage of time) ที่คอยกํากับการดําเนินไปของสรรพสิ่งใหเปนไปในทิศทางแบบเดิมและเปน จังหวะที่สม่ําเสมอตลอดไป แตความเขาใจที่เกิดจากสามัญสํานึกยอมเปนสิ่งที่อาจจะผิดได ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ของไอนสไตน (Albert Einstein, 1879-1955) เวลาไมใชสิ่งสัมบูรณที่จะ สามารถวัดไดอยางเปนอิสระจากสภาพแวดลอม โดยเวลาจะเดินชาลงในกรอบการอางอิง (frame of reference) ที่มีการเคลื่อนที่ (โดยเปรียบเทียบกับกรอบการอางอิงที่หยุดนิ่งหรือที่มีการเคลื่อนที่ ชากวา)1 ตัวอยางเชน หากเราเดินทางออกไปในอวกาศและกลับมายังโลกดวยจรวดที่มีความเร็ว เขาใกลความเร็วของแสง เราจะพบวาเวลาบนโลกอาจไดผานไปแลวหลายสิบปในขณะที่เรากลับ ใชเวลาในการเดินทางเพียงไมกี่ปเทานั้น ดังนั้น ในแงนี้เวลาจึงไมใชสิ่งที่จําเปนตองดําเนินไปดวย “จังหวะที่สม่ําเสมอตลอดไป” อยางที่สามัญสํานึกบอกกับเรา และในความหมายหนึ่ง เราสามารถ เดินทางไปสูอนาคตไดดวยวิธีการดังกลาวนี้ (อยางนอยก็เปนความเปนไปไดในทางทฤษฎี) แตคํา ถามที่นาสนใจมากกวาก็คือ เราจะสามารถปรับเปลี่ยน “ทิศทางของเวลา” ในลักษณะที่ทําใหเรา กลับไปอยูในอดีตที่ผานไปแลวไดหรือไม 1 ปรากฏการณนี้เรียกวา time dilation effect ซึ่งเปนไปตาม Special Theory of Relativity (1905) และจาก General Theory of Relativity (1915) ในบริเวณที่มีสนามแรงโนมถวงสูงกวา เวลาก็จะเดินชากวาเชน กัน สําหรับนัยยะตางๆ จากทฤษฎีสัมพัทธภาพ โปรดดู Davies (1995; 2001), Einstein (1961), Gott (2002), Ray (1991)
  • 10. 2 ทวาคําถามเชน “การเดินทางขามเวลาเปนไปไดหรือไม” คงไมสามารถหาคําตอบไดโดย งาย แตทั้งนี้ไมใชเพียงเพราะวาสิ่งนี้ไมเคยเกิดขึ้นมากอน หากแตที่ตอบไดยากนั้นกลับเปนเพราะ ความไมชัดเจนของตัวคําถามเอง กลาวคือ เราหมายถึงอะไรสําหรับ “การเดินทางขามเวลา” และ เรากําลังถามถึงความเปนไปไดในความหมายระดับใด นั่นคือ เปนไปไดในทางตรรกะ (logically possible) หรือเปนไปไดในทางฟสิกส (physically possible) หรือเปนไปไดในทางเทคโนโลยี (technologically possible) ในวิทยานิพนธนี้ ผูเขียนจะพิจารณาที่ความเปนไปไดในระดับแรก เปนสําคัญ นั่นคือ สิ่งที่เรียกวาการเดินทางขามเวลานั้นเปนไปไดในทางตรรกะหรือไม แนนอนวา ความหมายของสิ่งที่เราเรียกวาการเดินทางขามเวลา “ยอมเกี่ยวพันกับความ ไมลงรอยกันระหวางเวลากับเวลาอยางไมอาจหลีกเลี่ยงได” (Lewis, 1976: 145) กลาวคือ นักเดิน ทางออกเดินทางและไปถึงจุดหมายปลายทาง ณ เวลาหนึ่ง แตถาเขาเปนนักเดินทางขามเวลาจริง เวลา ณ จุดหมายที่เขาไปถึงยอมตองไมเทากับเวลาที่เขาใชในการเดินทาง สมมติวานักเดินทางใช เวลาเดินทางทั้งหมดหนึ่งชั่วโมง เวลา ณ จุดหมายที่เขาไปถึงยอมตองตางไปจากเวลาหนึ่งชั่วโมง ที่เขาใชในขณะเดินทาง โดยเวลาที่ไปถึง “จะเปนเวลาหลังจากนั้น ถาเขาไดเดินทางไปสูอนาคต หรือเปนเวลากอนหนานั้น ถาเขาไดเดินทางไปสูอดีต และถาเขาไดเดินทางไปสูอดีตที่ไกลมากขึ้น นั่นยอมเปนเวลากอนการออกเดินทางของเขาดวยซ้ํา” (Lewis, 1976: 145) อยางไรก็ตาม ความคิดฝนเกี่ยวกับการเดินทางทองไปในกาลเวลาเชนนี้เปนจินตนาการ ที่ปรากฎอยูในนิยายวิทยาศาสตรมานานมากกวาศตวรรษแลว (โปรดดู Nahin, 1999) นิยายเรื่อง The Time Machine ของ เอช จี เวลส (H.G. Wells, 1866-1946) ที่ตีพิมพครั้งแรกในป 1895 นา จะถือไดวาเปนงานเขียนชิ้นแรกที่พยายามอธิบายความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาอยาง จริงจัง ในแงที่ไดแฝงความคิดเชิงอภิปรัชญาบางอยางเกี่ยวกับความมีอยูของเวลาไวเปนสมมติ ฐานเบื้องหลังของการที่เราจะสามารถเดินทางไปมาในมิติของเวลาไดอยางอิสระ ดังที่เขาเขียนไว วา “ไมมีความแตกตางระหวางเวลาและมิติใดๆ ในมิติทั้งสามของพื้นที่ เวนแตเพียงจิตสํานึกของ เราเคลื่อนที่ไปตามเวลาเทานั้น” (Wells, cited in Richmond, 2001: 305) ดังนั้น เมื่อชวงเวลา อดีต ปจจุบัน และอนาคต เปนสิ่งซึ่งมีฐานะความมีอยูเชิงภววิทยาที่ไมแตกตางกัน (ontologically identical)2 ในแงนี้จึงยอมไมใชสิ่งที่ไรสาระ (ในเชิงอภิปรัชญา) อยางสิ้นเชิง ที่เราจะสามารถเดิน ทางขามเวลาไปสูอนาคตหรือกลับไปในอดีตได แตในขณะที่เวลสทําใหเวลากลายเปนมิติที่สี่ของ 2 หรือก็คือแนวคิด four-dimensionalism และมีขอสังเกตที่นาสนใจวาเรื่องราวการเดินทางขามเวลาไม มีปรากฏเลยจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 สวนหนึ่งอธิบายไดจากการครอบงําของแนวคิด presentism ที่เชื่อ วาปจจุบันเทานั้นที่มีอยูจริง การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดเพราะไมมีจุดหมายใดที่จะไป (Bigelow, 1996: 35-36) แตโปรดดู Keller and Nelson (2001) สําหรับความเขากันไดของ presentism กับการเดินทางขามเวลา
  • 11. 3 พื้นที่ (a fourth spatial dimension) ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (ซึ่งเปนจุดเริ่มตนที่ทําใหการเดินทางขาม เวลากลายเปนประเด็นปญหาที่มีการถกเถียงกันอยางจริงจังในทางวิชาการจนถึงปจจุบัน ดังที่จะ ไดกลาวตอไป) กลับรวมเอาพื้นที่และเวลาเขาไวเปนสิ่งเดียวกัน (Richmond, 2001: 305) โดยหลักการแลว ทฤษฎีสัมพัทธภาพไดรวมอวกาศสามมิติ (three-dimensional space) กับมิติของเวลาเขาเปนเนื้อเดียวกันในลักษณะที่เรียกวาเปนกาลอวกาศสี่มิติ (four-dimensional space-time) ที่ประกอบขึ้นจากตําแหนงทั้งหลายในกาลอวกาศ (space-time points) ที่แตละ ตําแหนงเปนตัวแทนของเหตุการณเฉพาะเหตุการณหนึ่งซึ่งไดเกิดขึ้นภายในที่แหงหนึ่ง ณ ชวงเวลา หนึ่งเทานั้น และดังนั้น ภาพโดยรวมของสรรพสิ่งที่ดําเนินไปในกาลอวกาศสี่มิตินี้ (ซึ่งรวมถึงชีวิต ของเราแตละคนดวย) จึงถูกนําเสนอเปนเสมือนเสนทางที่วางทอดยาวอยูภายในกาลอวกาศสี่มิติที่ เรียกวา world lines โดยมี proper time เปนเวลาที่วัดจากกรอบการอางอิงของแตละ world line ความเขาใจเกี่ยวกับกาลอวกาศสี่มิติ world lines และ proper time เหลานี้เองที่เปนมโนทัศนซึ่ง ชวยใหเราเขาใจไดวารูปแบบหนึ่งของการเดินทางขามเวลากลับไปสูอดีตนั้นเปนไปไดอยางไร ในบทความ “It Ain’t Necessarily So” พัทนัม (Putnam, 1962) ไดเสนอวา ไมมีมโนทัศน ใดที่จะเปนไปไมไดอยางจําเปนโดยสิ้นเชิง (อาจยกเวนก็เพียงแตบรรดามโนทัศนอยางเชน “คนโสด คือคนที่แตงงาน” ซึ่งเปนสิ่งที่เปนไปไมไดอยางจําเปนโดยนิยาม) มโนทัศนหนึ่งยอมจะเปนไปได ในลักษณะที่สัมพัทธกับองคความรูที่เรามี (relative to a body of knowledge) ในกรณีของมโน ทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา (the concept of time travel) ก็เชนกัน ความเขาใจใน world lines และกาลอวกาศสี่มิติ จะสามารถทําใหเรายอมรับในความเปนไปไดเชิงมโนทัศน (conceptual possibility) ของการเดินทางขามเวลาได แมวารูปแบบที่พัทนัมนําเสนอไวในลักษณะที่เปน world line รูปตัว N บนแผนภูมิของกาลอวกาศสี่มิติ (space-time diagram) ซึ่งแสดงถึงการยอนกลับไป ในเวลานั้น จะไดรับการวิจารณวาเปนไปไมไดในเชิงญาณวิทยา (โปรดดู Sorensen, 1987: Weingard 1973; 1979) เนื่องจากไมมีแนวคิดหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตรใดที่จะมาสนับสนุนได วาการหักกลับอยางกะทันหันของ world line ที่เปนรูปตัว N เชนนี้จะสามารถเปนไปได แตเราก็ยัง คงมีรูปแบบของการเดินทางขามเวลาที่เปนไปไดในอีกลักษณะหนึ่งที่ตางออกไป อีกทั้งยังไดรับ การรับรองจากทฤษฎีที่สําคัญทางฟสิกสอยางทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) ในป 1949 เคิรท โกเดล (Kurt Gödel, 1906-1978) ไดแสดงใหเห็นวาทิศทางของเวลา (direction of time) ไมไดชี้มุงไปสูอนาคตอยางจําเปนเสมอไป โกเดลคนพบวาหากจักรวาลโดย รวมกําลังหมุนรอบตัวเองอยู เราสามารถมีโครงสรางกาลอวกาศ (space-time structure) แบบ หนึ่ง ซึ่งสอดคลองกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ที่มีลักษณะซึ่งเรียกกันวา closed time-like curves
  • 12. 4 (CTC) และโดยความมีอยูของ CTC เชนนี้ เราจะสามารถออกเดินทางตรงออกไปในอวกาศและ วนกลับมายังโลกที่ซึ่งเราจะพบวาเปนชวงเวลาในอดีตกอนที่เราจะออกเดินทางตั้งแตทีแรกนั้น ใน การเดินทางผาน CTC แบบของโกเดลนี้ world line ของนักเดินทางจะเปนเสนที่โคงกลับไปสูอดีต (และอาจจะตัดกับเสนของตัวเองไดในกรณีที่เขาไดกลับไปพบกับตัวเองในอดีต) โดย proper time ของนักเดินทางจะยังคงมีทิศทางที่ดําเนินไปขางหนาเชนเดิม (เขายังคงแกขึ้นทุกขณะ) นั่นคือ เวลา ยังคงชี้ไปสูอนาคตในกรอบการอางอิงของนักเดินทาง (the local future) แตจุดหมายที่เขาไปถึง นั้นกลับเปนชวงเวลาที่เปนอดีตของโลก (the global past) เราอาจจินตนาการเปรียบเทียบไดกับ การลากเสนผานไปบนวัตถุทรงกระบอก (ซึ่งเปนตัวแทนของกาลอวกาศสี่มิติ) ซึ่งวางนอนอยู หาก เราลากเสนตรงจากจุดใดๆ ก็ตามขึ้นไปตามแนวตั้ง ก็ยอมเปนไปไดเสมอที่เราจะลากเสนตรงนั้น ใหออมไปพบกับจุดเริ่มตน โดยที่ไมจําเปนตองยอนหรือเปลี่ยนทิศทางของการลากเสนแตประการ ใด ดังที่โกเดลไดกลาวไววา ... โดยการเดินทางแบบไปกลับดวยยานจรวดในวิถีโคงที่กวางอยางเพียงพอ มีความเปนไป ไดในโลกเหลานี้3 ที่จะเดินทางไปสูอาณาเขตใดๆ ก็ตามของอดีต ปจจุบัน และอนาคต และ กลับไปอีกครั้งหนึ่ง เชนเดียวกับที่มีความเปนไปไดในโลกอื่นๆ ที่จะเดินทางไปยังสวนตางๆ ที่ หางไกลในอวกาศ (Gödel, 1949: 560) การเดินทางขามเวลาในลักษณะที่บรรยายมานี้อาจจะแตกตางไปจากสิ่งที่เราคิดกันอยู พอสมควร คนสวนมากมักเขาใจการเดินทางกลับไปสูอดีตตามแบบที่เวลสไดจินตนาการไว กลาว คือ นักเดินทางใชยานเวลา (time machine) เพื่อเดินทางยอนกลับไปในเวลา (back to the past) ในลักษณะที่ทําใหสภาพแวดลอมภายนอกยานดําเนินยอนกลับ ซึ่งในแงนี้ดูราวกับวาอดีตไดยอน กลับมาหานักเดินทางขามเวลาเอง (คลายกับรูปแบบที่พัทนัมเสนอไว) ทวาโดยอาศัยความเปนไป ไดของการมี CTC เชนแบบของโกเดลนี้ การเดินทางขามเวลาไมไดจําเปนตองใชยานเวลาที่มีคุณ สมบัติพิเศษอยางที่เวลสบรรยายไว หากแตตองการความมีอยูที่แสนจะแปลกประหลาดของโครง สรางกาลอวกาศมากกวา (Deutsch, 1997: 296) ในแงนี้ เราอาจไมสามารทําใหตัวเองยอนกลับ ไปในกาลเวลา หรือทําใหชวงเวลาในอดีตยอนกลับมาหาเราได แตดวย CTC เราจะสามารถ (ใน ทางทฤษฎี) เดินทางมุงหนาเพื่อเขาไปสูอดีตได (forward to the past)4 3 หมายถึงจักรวาลที่มวลโดยรวมทั้งหมดกําลังหมุนรอบตัวเอง ดังที่โกเดลเสนอไวในฐานะที่เปนการแก สมการแบบหนึ่ง (a solution) ของ field equation ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป 4 โปรดดู Ray (1991) สําหรับการแยกวิเคราะหปญหาในรูปแบบ back to the past กับ forward to the past และดู Dummett (1986) สําหรับการวิเคราะหปญหาในกรณีของ back to the past โดยเฉพาะ
  • 13. 5 อยางไรก็ตาม ความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลากอใหเกิดปญหาทางตรรกะหลาย ประการตามมา (ดังที่จะกลาวในสวนถัดไป) ซึ่งทําใหเราอาจสงสัยไดวาการเดินทางขามเวลานั้น จะเปนมโนทัศนที่ขัดแยงในตัวเอง (self-contradictory concept) หรือไม บางลงความเห็นวาหาก ความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาเปนผลมาจากการมีอยูของ CTC และ CTC นี้เปนผลมา จากทฤษฎีสัมพัทธภาพดังตัวอยางหนึ่งที่โกเดลไดแสดงไวจริง นั่นก็อาจเปนเหตุผลที่ยอนกลับไป แสดงวาตัวทฤษฎีสัมพัทธภาพตางหากที่เปนปญหา (Smith, 1986: 49) ในแงนี้ ปญหาทางตรรกะ ที่เกี่ยวพันกับการเดินทางขามเวลาจึงเปนสิ่งที่สรางความกังวลใหแกนักฟสิกสอยูมากพอสมควร และนี่อาจเปนแรงจูงใจที่สําคัญประการหนึ่งที่ทําใหนักฟสิกสอยางเชน สตีเฟน ฮอวกิ้ง (Stephen Hawking) ไดสรางหลักการบางอยางขึ้นมาเพื่อแกปญหา ดังที่เขากลาวไววา “อะไรจะเกิดขึ้นหาก คุณฆาพอแมของคุณเองกอนที่คุณจะเกิด อาจเปนไดที่เราจะสามารถเลี่ยงปฏิทรรศน (paradox) เชนนี้ดวยการปรับเปลี่ยนมโนทัศนเกี่ยวกับเจตจํานงเสรี แตนี่จะไมใชสิ่งที่จําเปนเลย หากสิ่งที่ ขาพเจาเรียกวา chronology protection conjecture นั้นถูกตอง นั่นก็คือ กฎในฟสิกสจะปองกัน ไมใหเกิด closed timelike curves” (Hawking, 1992: 604) แตกระนั้น จนถึงปจจุบันก็ยังไมเปน ที่สรุปไดวากฎตางๆ ทางฟสิกสจะปองกันการเกิดขึ้นของ CTCs ไดจริงหรือไม ในทางกลับกัน ทฤษฎีฟสิกสเทาที่เรามีและเขาใจกันอยูในตอนนี้ก็ไมไดขัดแยงกับความเปนไปไดที่กาลอวกาศของ เราอาจจะมี CTCs ที่ใชสําหรับการเดินทางขามเวลาได (โปรดดู Davies, 2001) อยางไรก็ตาม การวิเคราะหทางปรัชญาก็อาจทําใหนักฟสิกสตัดขอกังวลเชนนี้ไปได หากสามารถแสดงใหเห็นวา การเดินทางขามเวลานั้นเปนมโนทัศนที่ไมไดมีความขัดแยงในตัวเองแตประการใด โดยทั่วไป ขอโตแยงตอความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาจะเปนรูปแบบ ของการอางเหตุผลทางออม (indirect argument) หรือที่เรียกวา reductio ad absurdum โดยเริ่ม จากการสมมติใหการเดินทางขามเวลาเปนไปไดกอน จากนั้นจึงพิจารณานัยที่ตามมา หากเกิด ความขัดแยงในตัวเองขึ้น นั่นก็จะเปนเหตุผลที่ยอนกลับไปแสดงวาขอสมมติที่ใหการเดินทางขาม เวลาเปนไปไดตั้งแตตนนั้นเปนสิ่งที่ไมถูกตอง ตัวอยางเชน หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได เวลา ณ จุดหมายปลายทางที่ไปถึงยอมจะตองแตกตางไปจากเวลาที่ใชในการเดินทาง เราจะ สามารถเดินทางขามชวงเวลาหนึ่ง โดยใชเวลาที่แตกตางออกไปจากชวงเวลาที่เราไดกาวขามไป ดังเชนที่วิลเลียมสชี้ใหเห็นวานี่จะเปนความขัดแยงในตัวเองอยางชัดเจนในการกลาววา “หานาที จากขณะนี้ ... ขาพเจาอาจอยูที่หนึ่งรอยปจากขณะนี้” (Williams, 1951: 463) อยางไรก็ตาม ขอโตแยงนี้ไมสมเหตุสมผล (invalid) เนื่องจากเราสามารถเขาใจไดวาชวง เวลาที่แตกตางกันเปนการนับเวลาที่ขึ้นอยูกับกรอบการอางอิง (frame of reference) ที่ตางกัน ดัง ที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพไดแสดงใหเห็นแลววาเวลาในแตละกรอบการอางอิงไมจําเปนตองสอดคลอง
  • 14. 6 กันเสมอไป เวลาที่นักเดินทางใชในการเดินทางขามเวลาเปน proper time ที่วัดจากกรอบการอาง อิงของนักเดินทางเอง ในขณะที่เวลาที่นักเดินทางกาวขามไปเปนเวลาที่ขึ้นอยูกับกรอบการอางอิง ของโลก (earth time) ดังนั้น จึงไมใชสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองที่นักเดินทางจะใช proper time เพียงหา นาที เพื่อกาวขามเวลาบนโลกไปรอยป และไมเพียงแตเราอาจจะสามารถกาวขามเวลาบนโลกใน ทิศทางที่ไปสูอนาคตอีกรอยปขางหนาไดเทานั้น ความเปนไปไดของการมี closed time-like curves ดังตัวอยางหนึ่งของโกเดล ยังเปนเหตุผลสนับสนุนความเปนไปไดที่จุดหมายในการเดิน ทางขามเวลาจะเปนชวงเวลาในอดีตไดดวยเชนกัน นอกจากนี้ ความเขาใจในเรื่อง proper time ยังทําใหเราแกปญหาเกี่ยวกับอัตลักษณสวน บุคคล (personal identity) ของนักเดินทางขามเวลาได โดยทั่วไป ยอมเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทาง ตรรกะที่คนๆ เดียวกันจะสามารถอยูคนละสถานที่ในเวลาเดียวกันได แตการเดินทางขามเวลาที่ ทําใหนักเดินทางกลับไปพบกับตัวเองในอดีตก็ไมไดละเมิดหลักขอนี้แตอยางใด เราสามารถเขาใจ เสนทางของนักเดินทางขามเวลาที่ลากผานกาลอวกาศสี่มิติ (four-dimensional space-time) ใน ลักษณะที่เปน world line ที่วกกลับมาตัดกับตัวเอง และโดยที่ proper time ยังคงเพิ่มขึ้นตาม ความยาวของ world line ดังนั้น จึงไมไดเปนการขัดแยงในตัวเองที่นักเดินทางอาจมีอยูพรอมกับ ตัวเองในอดีต (ณ จุดที่ world line ตัดกัน) ตามเวลาของโลก เพราะทั้งสองยังคงถูกระบุอยู ณ proper time ที่ตางกันเสมอ และในอีกแงหนึ่ง ขอความอยางเชน “คนผูหนึ่งไดตายกอนที่เขาจะ เกิด” หรือ “ผลเปนสิ่งที่เกิดขึ้นกอนสาเหตุ” จึงไมใชสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองอยางจําเปนเสมอไป หาก ขอความดังกลาวบงถึงเพียงเวลาบนโลกเทานั้น ทวาการเดินทางขามเวลาก็ยังคงทําให “คนผูหนึ่ง” ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลาจะยังคงตองตายหลังจากที่เขาไดเกิดมาตาม proper time ของตัวเอง เชนเดียวกับที่ผลยอมตองมาหลังสาเหตุตาม proper time ของสิ่งนั้นเองเชนกัน ขอโตแยงทางตรรกะแบบสุดทายที่จะกลาวในที่นี้คือ ปญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอดีต (changing the past) บางคนอาจเขาใจวาความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลาจะนําไปสูการ เปลี่ยนแปลงอดีต ซึ่งเปนสิ่งที่ขัดแยงในตัวเอง ทั้งนี้เพราะอดีตเปนสิ่งที่ไดเกิดขึ้นแลว ไมสามารถ เปลี่ยนแปลงได ดังที่ฮอสเปอรสไดกลาวไววา ...คุณไมสามารถกลับไปในเวลาไดถาหากนี่หมายถึงการไปอยูในยุคสมัยที่ไดผานไปเรียบ รอยแลว คุณไมสามารถกลับไปสูอียิปตโบราณและชวยชาวอียิปตสรางปรามิดได เพราะปรา มิดเหลานี้ไดถูกสรางเรียบรอยแลวในขณะที่ไมมีคุณ นั่นก็คือ คุณไมไดอยูที่นั่น คุณยังไมเกิด ... สิ่งที่เกิดไปแลวก็ไดเกิดขึ้นไปแลว คุณไมสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได คุณไมสามารถทํา สิ่งที่เกิดขึ้นแลวใหไมเกิดได นี่เปนความเปนไปไมไดทางตรรกะเปนอยางนอยที่สุด เพราะ
  • 15. 7 เกี่ยวพันกับความขัดแยงตางๆ นั่นคือ คุณเคยอยูที่นั่นและคุณไมเคยอยูที่นั่น คุณไดชวยสราง ปรามิดและคุณไมไดชวยสราง (Hospers, 1988: 136) ถึงแมจะเปนความจริงที่วา การเปลี่ยนแปลงอดีตเปนสิ่งที่เปนไปไมไดทางตรรกะ5 แตขอ อางเหตุผลขางตนก็ไมสมเหตุสมผลเสียทีเดียว โดยความผิดพลาดอยางหนึ่งมาจากความเขาใจวา การเดินทางขามเวลาสามารถทําใหนักเดินทางกลับไปอยูในอดีตอีกครั้งหนึ่งได ดังที่สมิท (Smith, 1997: 364-366, 1998: 156) เรียกวาเปน “ความผิดพลาดเกี่ยวกับเวลารอบที่สอง” (the second- time-around fallacy) เพราะหากนักเดินทางจะเดินทางกลับไปในอดีตจริง เขาก็ไดอยูในอดีตนั้น ตั้งแตตน ซึ่งหมายความวา อดีตที่เกิดขึ้นมายอมไดรวมเอาการมีอยูของนักเดินทางนั้นเขาไวเปน สวนหนึ่งของประวัติศาสตรดวยแลว หากนักเดินทางขามเวลาไดกลับไปในยุคอียิปตโบราณจริง เขาก็ไดอยูที่นั่นมาแลวตลอด และหากเขาไดชวยสรางปรามิดในตอนที่ไดกลับไป เขาก็ไดชวยสราง ปรามิดเหลานั้นตั้งแตทีแรกที่ชาวอียิปตไดสรางขึ้นมา ในกรณีนี้ การเดินทางขามเวลาไมไดทําให อดีตเกิดการเปลี่ยนแปลง แตควรเขาใจเสียใหมวา การเดินทางขามเวลาสามารถมีอิทธิพลตออดีต (influencing the past) ได (โปรดดู Horwich, 1975: 435-437; 1987: 116) ซึ่งนี่ไมใชสิ่งที่ขัดแยง ในตัวเองแตอยางใด ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงมิใชสิ่งเปนไปไมไดทางตรรกะ นอกจากปญหาทางตรรกะที่กลาวมา6 การเดินทางขามเวลายังทําใหเกิดสถานการณบาง อยางที่นักปรัชญาเรียกวาเปนปฏิทรรศน (paradox) ของการเดินทางขามเวลา ซึ่งอาจแบงไดเปน สองรูปแบบหลัก โดยรูปแบบแรกนั้น สวนมากรูจักกันในชื่อ “ปฏิทรรศนคุณปู” (Grandfather paradox)7 ที่นักเดินทางขามเวลาเดินทางยอนกลับไปในอดีตเพื่อทําบางสิ่งที่จะสงผลใหเกิดความ ขัดแยงกับความเปนจริงที่ไดเกิดขึ้นแลว ตัวอยางเชน การฆาปูของตัวเองกอนที่ปูจะใหกําเนิดพอ 5 และอันที่จริง นี่ก็เปนสิ่งที่ขัดแยงในตัวเองไมนอยไปกวาการเปลี่ยนแปลงปจจุบันหรืออนาคต เพราะ ทั้งอดีต ปจจุบัน และอนาคต ลวนเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเทานั้น การคิดจะเปลี่ยนแปลงใหเปนอยางอื่นจึงเปนสิ่ง ที่เปนไปไมไดเชนกัน แตทั้งนี้ไมไดหมายความวาเราจะมีอิทธิพล (influence) ตอสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นไมได โปรดดู การวิเคราะหความหมายของคําวา “changing the past” อยางละเอียดไดในงานของ Ni (1992) 6 สําหรับคําอธิบายแบบอื่นๆ ในการแกปญหาทางตรรกะเบื้องตนดังเชนที่กลาวไปแลวนั้น โปรดดูเพิ่ม เติมไดใน Harrison (1995), Horwich (1975;1987), Lewis (1976) และ Smith (1998) 7 ชื่อเรียก “Grandfather paradox” ที่กลายเปนชื่อที่คุนเคยกันเปนอยางดีในขอถกเถียงเกี่ยวกับปญหา การเดินทางขามเวลา (ทั้งในทางฟสิกสและปรัชญา) อาจจะสามารถสืบยอนกลับไปไดถึงจดหมายฉบับหนึ่งที่สง ถึงบรรณาธิการของ Astounding Stories ในป 1933 ที่เขียนมาเสนอวา “Why pick on grandfather? It seems that the only way to prove that time travel is impossible is to cite a case of killing one’s own grandfather.” (cited in Nahin, 1999: 286)
  • 16. 8 ของเขา หรือการฆาตัวเองในอดีต (autofanticide) เปนตน8 ความสําเร็จของการกระทําเหลานี้จะ เปนผล (effect) ทําใหนักเดินทางขามเวลาไมสามารถมีอยูได (กอนการเดินทางขามเวลา) ซึ่งเปน การขัดแยงกับลําดับของสาเหตุ (cause) ตั้งแตตนที่นักเดินทางขามเวลาจะตองมีอยู (กอนการเดิน ทางขามเวลา) จึงจะสามารถยอนเวลากลับไปเพื่อกระทําการดังกลาวนั้นได (หรือที่มักเขาใจกันใน ลักษณะของ self-defeating causal chains นั่นเอง) สวนปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลารูปแบบที่สองคือ ปฏิทรรศนความรู (Knowledge paradox) ซึ่งเปนสถานการณที่การเดินทางขามเวลากอใหเกิดบางสิ่งขึ้นมาโดยไมมีสาเหตุหรือไม สามารถอธิบายที่มาได ตัวอยางเชน หากการเดินทางขามเวลาเปนไปได นักเดินทางจะสามารถ กลับไปพบกับตัวเองในอดีตและใหขอมูลเกี่ยวกับวิธีการสรางยานเวลา (time machine) กับตัวเอง ในอดีต ในกรณีเชนนี้ ความรูดังกลาวไมไดมาจากนักเดินทาง เพราะเขาเพียงแตจดจําความรูนั้น ไดจากอดีตที่ผานมา และตัวเขาในอดีตก็ไดความรูนั้นมาจากการพูดคุยกับนักเดินทางขามเวลาซึ่ง เปนตัวเขาเองในอนาคต เราจึงไมอาจอธิบายไดวาความรูที่วานี้เกิดขึ้นมาไดอยางไร หรือใครเปน คนแรกที่ไดคิดขึ้น และหากไมมีคนคิดขึ้นมาแลว ก็ยอมไมนาจะเกิดการเดินทางขามเวลาไดตั้งแต ทีแรกแลวเชนกัน วิทยานิพนธนี้จะเปนการพยายามทําความเขาใจกับปญหาทางตรรกะจากปฏิทรรศนขาง ตนที่กลาวมา โดยผูเขียนไดปกปองความเปนไปไดทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาจากปญหา เชิงปฏิทรรศนตางๆ ที่เกิดขึ้นในการเดินทางขามเวลา อยางไรก็ตาม จากการวิเคราะหปญหาภาย ในปฏิทรรศนเหลานี้จะทําใหเราสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไป ได (improbable) ในโลกที่เปนอยู (the actual world) ในบทที่ 2 ผูเขียนจะเสนอทางออกของลูอิส (Lewis, 1976) ตอปญหาจากปฏิทรรศนคุณปู ซึ่งลูอิสไดชี้ใหเห็นวาปฏิทรรศนนี้ไมไดนําไปสูความขัดแยงในตัวเอง ความพยายามของนักเดินทาง ขามเวลาที่จะทําสิ่งที่เปนไปไมไดเพียงแตจะทําใหเราสรุปไดวาความพยายามเหลานั้นจะลมเหลว เสมอ แตจากขอเสนอของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) สิ่งที่มาปองกันความพยายามเหลานั้น เปนความบังเอิญที่เรารูวาไมนาจะเกิดขึ้นได ดังนั้น เราจึงสามารถอนุมานไดวาการเดินทางขาม เวลาเปนสิ่งที่ไมนาจะเปนไปได (improbable) ในความหมายที่วาเรามีเหตุผลที่ดีในเชิงประจักษที่ จะเชื่อวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกของเรา 8 นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงกรณีที่ไมเกี่ยวกับบุคคลเลยก็ไดเชนกัน ดังตัวอยางของการสงสัญญาณ บางอยางยอนเวลากลับไปเพื่อทําลายเครื่องสงสัญญาณนั้นกอนที่จะไดมีการสงสัญญาณจริง แตในที่นี้ จะเปน การพิจารณาในบริบทที่เกี่ยวของกับบุคคล ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลาเปนหลัก
  • 17. 9 ในบทที่ 3 เปนการพิจารณาปญหาในปฏิทรรศนความรู โดยผูเขียนจะแสดงใหเห็นวาการ เดินทางขามเวลาไมใชแคเพียงอาจทําใหเกิดมีความรูขึ้นมาโดยไมมีผูใดคิดเทานั้น แตยังสามารถ ทําใหเกิดสถานการณที่เกิดมีวัตถุทางกายภาพบางอยางโดยไมมีสาเหตุ รวมถึงการใหกําเนิดตัว เองของนักเดินทางขามเวลาดวยเชนกัน แตไมวาสถานการณเหลานี้จะแปลกประหลาดหรือขัดกับ สามัญสํานึกเพียงใดก็ตาม นั่นก็ไมไดทําใหการเดินทางขามเวลาเปนสิ่งที่ไมอาจจะเปนไปไดทาง ตรรกะ อยางไรก็ตาม จากสิ่งที่เรารูวาเปนจริงในโลกของเรา เราก็อาจสามารถอนุมานได (เชน เดียวกับฮอรวิช) วาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู สวนในบทที่ 4 ผูเขียนจะตอบขอโตแยงของสมิท (Smith, 1997) ที่คัดคานแนวเหตุผล ของฮอรวิช โดยจะชี้ใหเห็นขอบกพรองบางประการของคําคัดคานนี้ ซึ่งหากเรายอมรับแลว จะไม สามารถแกปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาได และบทที่ 5 ผูเขียนไดพิจารณาขอ เสนอของดอยทชและล็อควูด (Deutsch and Lockwood, 1994) ที่อาศัยการตีความการมีหลาย จักรวาลของกลศาสตรควอนตัม (many-universe interpretation of quantum mechanics) มา เปนทางออกสําหรับปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลา ตามภาพความเขาใจนี้ นักเดินทางขาม เวลาไมไดเดินทางกลับไปในอดีตของโลกที่ผานมาของเขา แตเปนโลกที่เปนไปไดที่มีอยูคูขนานกัน ไปกับโลกของนักเดินทาง โดยผูเขียนไดแสดงใหเห็นวาแมการตีความเชนนี้จะสามารถเลี่ยงปญหา เชิงปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาได แตก็ยังคงติดปญหาบางอยางจากการยอมรับความมี อยูอยางเปนอนันตของโลกคูขนานที่เปนไปไดในการตีความนั้นเอง ภาพรวมของปญหาที่นําเสนอจะสรุปในบทสุดทาย และผูเขียนไดอภิปรายเพิ่มเติมถึงขอ จํากัดบางประการของสิ่งที่ไดเสนอไป ซึ่งเปนประเด็นเกี่ยวกับการอนุมาน (inference) ความไมมี อยูของโครงสรางกาลอวกาศบางรูปแบบที่เปดโอกาสใหเกิดการเดินทางขามเวลาได โดยผูเขียน เห็นวา แมเราจะสามารถเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาไมนาจะเปนไปไดในโลกที่เปนอยู แตเราก็ ยังไมอาจบอกไดอยางชัดเจนวา โลกที่เปนอยูนี้ไมไดมีโครงสรางสําหรับการเดินทางขามเวลา สิ่ง เหลานี้ยังคงเปนปญหาที่ตองไดรับการอธิบายจากการศึกษาทางฟสิกส วัตถุประสงค 1. ศึกษามโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลา 2. วิเคราะหปฏิทรรศนตางๆ ของการเดินทางขามเวลาที่ถกเถียงกันอยูในปรัชญา 3. ประเมินความเปนไปไดของการเดินทางขามเวลา
  • 18. 10 ขอตกลงเบื้องตน เปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไปวา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity) ไดเปดโอกาสใหการเดินทางขามเวลาไปสูอนาคต (forward time travel) ในรูปแบบหนึ่งเปนไปได (ดังที่กลาวไวขางตน) แตที่จริงนั่นก็เปนเพียงการทําใหกระบวนการตางๆ ในกรอบการอางอิงหนึ่ง (frame of reference) ดําเนินไปชาลงเมื่อเทียบกับอีกกรอบการอางอิงหนึ่งเทานั้น ในแงนี้ สัตว ประเภทที่จําศีล หรือการทําใหตื่นขึ้นหลักจากการแชแข็งเปนเวลานาน (หากทําไดในทางปฏิบัติ) ก็ จะเปนการเดินทางขามเวลาไปสูอนาคตในความหมายเดียวกันนี้ ดังนั้น ปรากฏการณเชนนี้จึงไม มีปญหาทางตรรกะใดที่นาสนใจในทางปรัชญา (Mellor, 1998: 124) ปญหาที่นาสนใจทางปรัชญาซึ่งจะไดวิเคราะหในวิทยานิพนธนี้ จึงอยูที่การเดินทางขาม เวลาแบบที่ยอนกลับไปในอดีต (backward time travel) ดังที่โกเดลไดแสดงใหเห็นแลววาไมขัด แยงกับทฤษฎีทางฟสิกสที่มีอยู ดังนั้นเพื่อความกระชับ หากมิไดมีการระบุเปนอยางอื่นแลว คําวา “การเดินทางขามเวลา” ที่จะใชตอไปในวิทยานิพนธนี้ จะหมายถึงเฉพาะรูปแบบของการเดินทาง ขามเวลาที่ทําใหผูเดินทางสามารถยอนกลับไปสูชวงเวลาในอดีตได ซึ่งนั่นยอมหมายความดวยวา จะเปนการวิเคราะหในบริบทที่มีบุคคล (ซึ่งก็คือนักเดินทางขามเวลา) เขามาเกี่ยวของเปนหลักดวย เชนกัน ดังที่เปนหัวขอถกเถียงกันอยูในทางปรัชญา9 ขอบเขตของการวิเคราะหปญหา ตามการแบงของฮอรวิช (Horwich, 1998) นับตั้งแตการคนพบของโกเดลเปนตนมา การ ศึกษาปญหาการเดินทางขามเวลาแบงไดเปน 3 แนวทางหลัก แนวทางแรกเปนการคนหาโครง สรางกาลอวกาศ (space-time structure) แบบอื่นๆ ที่กอใหเกิด CTCs ไดนอกเหนือจากแบบของ โกเดล ทั้งนี้ก็เนื่องจากหลักฐานทางจักรวาลวิทยาในปจจุบันบงชี้วา จักรวาลโดยรวมไมนาจะกําลัง หมุนรอบตัวเองอยู (แมวาแตละกาแล็คซี่จะหมุนอยูก็ตาม) ในลักษณะที่โกเดลไดเสนอไว (Davies, 2001: 36) ในแงนี้ จึงมีความพยายามที่จะหา CTCs รูปแบบอื่นที่สอดคลองกับสภาพของจักรวาล 9 ในคําอธิบายทางฟสิกส มักเลี่ยงปญหาที่เกี่ยวกับบุคคลโดยลดทอนเปน physical objects เชน การ ใช thought experiment เกี่ยวกับการชนกันของ billiard balls หรือเปน light signal ที่สงยอนเวลากลับไป ดังที่ Novikov ไดใหความเห็นไววา “Obviously, a physicist (at least our contemporary physicist) is unable to perform an exact calculation of the actions of a human being. This is the field for psychology and sociology, not for physics.” (Novikov, 2001: 253)
  • 19. 11 ที่เปนจริงตามที่เราสามารถสังเกตได (โปรดดู Davies, 2001; Gott, 2002) โดยสวนนี้จะเปนงาน วิจัยทางดานฟสิกสภาคทฤษฎี (theoretical physics) เปนหลัก (โปรดดู Earman, 1995) แนวทางที่สองเปนการวิเคราะหประเด็นทางความหมาย (semantic issue) ของมโนทัศน อื่นที่เกี่ยวของ (เชน เวลา สาเหตุ และการเดินทาง) วาจะยังคงเขาใจไดในแบบเดิมหรือไมในบริบท ที่มีการเดินทางขามเวลาเขามาเกี่ยวของ กลาวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเดินทางขามเวลา (ถาเปนไป ได) จะสงผลทําใหตองมีการปรับเปลี่ยนความหมาย (shift in the meanings) ของมโนทัศนอื่นๆ ที่ มีการถกเถียงกันอยูแลวในทางปรัชญาหรือไมอยางไร สวนแนวทางสุดทายเปนขอถกเถียงเกี่ยวกับปญหาจากปฏิทรรศนของการเดินทางขาม เวลาทั้งจากฟสิกสและปรัชญา รวมถึงนัยสําคัญของปฏิทรรศนดังกลาวตอการปดทิ้ง (preclude) โครงสรางกาลอวกาศที่ทําใหเกิด CTCs สําหรับใชในการเดินทางขามเวลา กลาวคือ ปฏิทรรศน ตางๆ จะทําใหเราตองสรุปวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไมไดหรือไม และนั่นจะเปนสิ่งบงชี้วารูป แบบกาลอวกาศบางรูปแบบที่ทําใหเกิดการเดินทางขามเวลานั้นเปนสิ่งที่ไมไดมีอยูจริงดวยหรือไม ดังที่ฮอรวิชเองไดชี้วา แมเราจะมีเหตุผลที่ทําใหเชื่อไดวาการเดินทางขามเวลาจะไมเกิดขึ้นในโลกที่ เปนอยู แตกระนั้นก็ยังไมอาจใชเปนขอสรุปที่เด็ดขาดวาเราไมไดกําลังอยูในจักรวาลแบบที่โกเดล ไดบรรยายไว (โปรดดู Horwich, 1987; 1995) อยางไรก็ตาม เนื่องจากประเด็นเชิงความหมายตามแนวทางการศึกษาที่สองนั้น เปนสิ่งที่ ไมไดใหขอสรุปถึงความเปนไปได (หรือไมได) ทางตรรกะของการเดินทางขามเวลาโดยตรง เพราะ แมวามโนทัศนเกี่ยวกับเวลา ความเปนสาเหตุ รวมถึงมโนทัศนอื่นที่อาจเกี่ยวของที่เรามีอยูอาจจะ ไมสามารถนําไปใชอธิบายปรากฏการณของการเดินทางขามเวลาได นั่นก็ยังไมใชขอพิสูจนวาการ เดินทางขามเวลาโดยตัวเองนั้นเปนสิ่งที่เปนไปไมได ในทางกลับกัน หากทฤษฎีวิทยาศาสตรที่เปด โอกาสใหเกิดการเดินทางขามเวลาสามารถพิสูจนไดวาเปนจริง เราก็อาจจําเปนตองปรับเปลี่ยน ความเขาใจเชิงมโนทัศนของแนวคิดอื่นที่เกี่ยวของนั้นแทน (โปรดดู Horwich, 1995: 1998)10 ดวย 10 ตัวอยางเชนในงานของ Mellor (1998) ที่เสนอวา causal loops เปนเงื่อนไขจําเปนของการเดินทาง ขามเวลา แตจากการวิเคราะหมโนทัศนความเปนสาเหตุดวยทฤษฎีความนาจะเปน ทําใหเห็นวา causal loops จะใหเซตของความถี่ออกมาขัดแยงกันเอง ดังนั้น การเดินทางขามเวลาจึงเปนไปไมไดเพราะ causal loops เปน มโนทัศนที่เปนไปไมได อยางไรก็ตาม ขออางเหตุผลนี้ก็ไดรับการวิจารณวา 1). ไมสมเหตุสมผล กลาวคือ แมจะ ยอมรับการวิเคราะหตามแนวทางขางตน ก็ไมไดทําใหเกิดความขัดแยงในตัวเอง และ 2). เปนการใชมโนทัศน ความเปนสาเหตุแบบ linear มาแยงความเปนสาเหตุแบบ loops ดังนั้นจึงเทากับ beg the question ตอปญหา causal loops (และตอปญหาการเดินทางขามเวลา) ตั้งแตตน โปรดดูขอวิจารณเหลานี้ไดใน Berkovitz (2001) และ Dowe (2001)
  • 20. 12 เหตุนี้ ผูเขียนจะไมวิเคราะหในรายละเอียดของมโนทัศนที่อาจเกี่ยวของเหลานี้โดยตรง แตอาจมี การหยิบยกขึ้นมาอภิปรายบางเฉพาะกรณีที่จําเปนเทานั้น ดังนั้น ขอบเขตของปญหาหลักที่จะได วิเคราะหในวิทยานิพนธจึงเปนการศึกษาในแนวทางที่สาม โดยเนนปญหาทางตรรกะในปฏิทรรศน ของการเดินทางขามเวลาเปนหลัก เนื่องจากเห็นวาปญหานี้เปนประเด็นที่เกี่ยวโยงถึงความเปนไป ไดของการเดินทางขามเวลาโดยตรง ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 1. เขาใจมโนทัศนเรื่องการเดินทางขามเวลาที่เปนไปไดอยางสมเหตุสมผล 2. เปนแหลงอางอิงทางวิชาการสําหรับผูสนใจที่จะทําการศึกษาในขั้นตอไป
  • 21. บทที่ 2 ปฏิทรรศนคุณปู ในบทนี้ ผูเขียนจะแสดงใหเห็นวา ปญหาเชิงปฏิทรรศนที่สําคัญในการเดินทางขามเวลาที่ อยูในรูปแบบของปฏิทรรศนคุณปู (Grandfather paradox) นั้น ไมไดนําไปสูความขัดแยงในตัวเอง อยางไรก็ตาม แมวาลูอิส (Lewis, 1976) ไดชี้วาความพยายามของนักเดินทางขามเวลาที่จะทําให เกิดบางสิ่งที่เปนไปไมไดเพียงแตจะลมเหลวดวยความบังเอิญที่ธรรมดาสามัญบางอยางเสมอ แต จากขอพิจารณาเพิ่มเติมของฮอรวิช (Horwich, 1987; 1995) ความบังเอิญที่วานี้เปนสิ่งที่เรารูวา ไมนาจะเปนไปได (improbable) ในโลกที่เปนอยู (the actual world) ดังนั้น การเดินทางขามเวลา จึงไมนาจะเกิดขึ้นไดจริงในโลกของเรา ในสวนสุดทาย ผูเขียนจะวิเคราะหใหเห็นวาปญหาที่แท จริงของปฏิทรรศนนี้ไมใชปญหาเกี่ยวกับเจตจํานงเสรี (free will) แตเปนปญหาจากหลักการที่เรียก กันวา autonomy principle ทางออกของลูอิส ในบทความ “The Paradoxes of Time Travel” ลูอิส (Lewis, 1976) ไดวิเคราะหปญหา จากปฏิทรรศนของการเดินทางขามเวลาในรูปแบบปฏิทรรศนคุณปู โดยชี้ใหเห็นวายังอาจมีขอโต แยงที่เปนไปไดในการแสดงวาการเดินทางขามเวลาเปนไปไมไดทางตรรกะ “เมื่อเราไมไดถามถึงสิ่ง ที่นักเดินทางขามเวลาทํา (does) แตอะไรบางที่เขาสามารถทําได (could do)” (Lewis, 1976: 149) เพราะดูเหมือนวา หากนักเดินทางยังคงสามารถที่จะทําสิ่งตางๆ ตามที่เขาสามารถทําไดใน เวลาปกติแลว เขาก็นาจะยังคงสามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได (แมวาในความเปนจริงเขาจะไมไดทํา ก็ตาม) ดังเชนเรื่องตอไปนี้ พิจารณาทิม (Tim) เขาเกลียดชังปูของเขา ความสําเร็จจากการคาอาวุธของปูไดสรางความ มั่งคั่งแกครอบครัวอันเปนที่มาของคาใชในยานเวลาของทิม ทิมไมตองการทําสิ่งใดมากเทา กับการฆาปู แตโชคไมดีที่สายไปแลวสําหรับเขา ปูนอนตายบนเตียงตัวเองในป 1957 ในขณะ ที่ทิมยังเปนเด็กเล็กอยู แตเมื่อทิมไดสรางยานเวลาของเขาและเดินทางไปสูป 1920 ทันใด นั้น เขาก็ตระหนักวาไมไดสายไปอีกแลวสําหรับเขา เขาซื้อปนไรเฟลหนึ่งกระบอก เขาใชเวลา ฝกจัดการกับเปาหมายอยูนานหลายชั่วโมง เขาสะกดรอยตามปูเพื่อเรียนรูเสนทางที่เดินเปน ประจําในแตละวันของการไปทํางานขายอาวุธ เขาเชาหองพักบนเสนทางนั้น และที่นั่นเองที่ เขาใชดักซุม จนวันหนึ่งของฤดูหนาวในป 1921 ปนไรเฟลถูกบรรจุกระสุน พรอมกับความ เกลียดที่อัดแนนในใจเขา เมื่อปูเดินใกลเขามาและใกลเขามาอีก .... (Lewis, 1976: 149)