SlideShare a Scribd company logo
1 of 24
Download to read offline
1กันยายน 2558 •
2
3 4
10
12 14
8
6
19 21
ไอทีเพื่อชีวิตใหม่ผู้ต้องขัง ด้วยน้ำ�พระทัย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ENZease เอนไซม์ดูโอ
เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผ้าฝ้าย
9 ภาคีเครือข่าย ร่วมลงนาม MOU พัฒนาระบบ
การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว
กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารประจำ�ปี ’57 และประมาณการปี ’58
สวทช. ก.วิทย์ฯ ติดอาวุธเกษตรกรไทย...
เพื่อการพัฒนาชนบท จ.สกลนคร
iTAP สวทช. ก.วิทย์ จับมือ กสอ. และสมาคมผู้ผลิต
เครื่องสำ�อางไทย สร้างความเข้มแข็ง SMEs
สวทช. ก.วิทย์ เปิดงาน “NSTDA Investors’ Day 2015” สวทช./ก.วิทย์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อน
ผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ 2558/2
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
บทสัมภาษณ์ Star
ภารกิจการก่อตั้งโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งแรก
ของประเทศไทย ดร.พนิต กิจสุบรรณ
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News
บทความ Article
งานมหกรรมรวมพล “เมกเกอร์”
นักสร้างสรรค์นวัตกรรมครั้งแรกในไทย
16
2 nstda • กันยายน 2558
ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนเคยผ่านมา ไม่มีใครอยากเป็นคน
ไม่ดี แต่บางครั้งการทำ�สิ่งผิดพลาดก็อาจนำ�มาซึ่งการถูกลงโทษ คือ การต้องติด
คุก สูญเสียอิสรภาพ คนที่ติดคุกยังมีโอกาสที่จะได้อิสรภาพกลับคืนมาอีกครั้งเมื่อ
รับโทษครบหรือมีเหตุให้ปล่อยตัว แต่หลังจากพ้นโทษแล้ว ชีวิตของคนที่เคยทำ�ผิด
พลาด จะสามารถมีอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวดังเช่นคนทั่วไป โดยเฉพาะ
การสมัครเข้าทำ�งานในสาขาวิชาชีพต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก
ด้วยน้ำ�พระทัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีพระราชดำ�ริให้ผู้ต้องขังมีทักษะความรู้ในการ
ใช้คอมพิวเตอร์สรรค์สร้างผลงานที่สร้างรายได้ในระหว่างถูกคุมขัง และเมื่อพ้น
โทษไปแล้วก็สามารถนำ�ความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพสุจริตได้ จึงก่อให้เกิดความ
ร่วมมือระหว่างโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กับกรมราชทัณฑ์ในการดำ�เนินการโครงการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง โดยจัดตั้งห้องเรียนคอมพิวเตอร์
พระราชทานให้ผู้ต้องขังได้รับการอบรมวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ ผู้ต้องขังที่ผ่าน
การอบรมจากห้องเรียนคอมพิวเตอร์พระราชทานสามารถสร้างรายได้จากความ
สามารถด้านไอทีของตนเองได้
ดังตัวอย่างความสำ�เร็จของทัณฑสถานบำ�บัดพิเศษหญิง ผู้ต้องขังที่ผ่าน
การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกวิชาชีพCallCenter
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
ของ บมจ.เทเลอินโฟมีเดีย ทำ�ให้ผู้ต้องขังมีรายได้สำ�หรับใช้จ่ายซื้อสิ่งจำ�เป็นใน
ขณะที่ถูกคุมขัง และเก็บเงินรายได้บางส่วนเข้าบัญชีเงินฝากทำ�ให้มีเงินทุนตั้งต้น
หลังจากพ้นโทษได้	
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง เริ่มต้นปี พ.ศ. 2540
นำ�ร่องจัดอบรมความรู้คอมพิวเตอร์ให้แก่เรือนจำ�/ทัณฑสถาน 4 แห่ง ต่อมา
ขยายผลการดำ�เนินการเป็น 25 แห่ง ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ได้ขยายผลห้องเรียน
คอมพิวเตอร์ไปยังเรือนจำ�กว่า106 แห่งทั่วประเทศ และจากข้อมูล13 ปีย้อนหลัง
(พ.ศ.2545- มกราคม2558) มีผู้ต้องขังสำ�เร็จหลักสูตรวิชาชีพคอมพิวเตอร์และ
หลักสูตรอาชีวศึกษารวมทั้งสิ้นกว่า21,000 คน และสำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรีจำ�นวน 55 คน การที่ผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ข้างต้น ทำ�ให้ผู้ต้องขัง
สามารถนำ�ทักษะมาสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นขณะที่ถูกคุมขัง เช่น การออกแบบ
การ์ดอวยพร การรับจ้างพิมพ์งาน การจัดทำ�ปฏิทิน การจัดทำ�หนังสือเสียงเดซี่
ฯลฯ รวมเป็นจำ�นวนเงินกว่า 16 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งปันให้แก่
ผู้ต้องขังในรูปแบบของเงินปันผลอีกด้วย  
นอกจากนี้ โครงการได้แนะนำ�การใช้ระบบ e-Learning ของการศึกษา
ทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) มาใช้จัดการศึกษาให้แก่ผู้ต้องขังเพื่อช่วยแก้
ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน สื่อการสอน และ วิทยากรวิชาชีพจากภายนอกด้วย
ไอทีเพื่อชีวิตใหม่ผู้ต้องขัง
ด้วยน้ำ�พระทัยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
3กันยายน 2558 •
14 ส.ค. 58 ณ ห้องวายุภักษ์ 6 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและ
คอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ - 10 ภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐ และ
ภาคการศึกษา(กรมการข้าว สำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(มกอช.) สำ�นักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (มจ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
มหาวิทยาลัยทักษิณ(มทษ.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส.) และมหาวิทยาลัย
นเรศวร(มน.)) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง(MOU) เครือข่ายพัฒนาระบบตรวจ
สอบและรับรองมาตรฐานข้าว เพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน
การผลิตข้าว GAP ข้าวอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ข้าวโรงสีข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าว ใน
การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และสินค้าข้าวของประเทศไทยให้เป็น
ที่ยอมรับโดย ดร.ลดาวัลย์ กระแสชล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. เป็นผู้แทนจาก
สวทช. ร่วมลงนามในความร่วมมือดังกล่าว ภายใน “งานประชาสัมพันธ์ระบบ
การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว” ที่กรมการข้าวจัดขึ้น ซึ่งได้รับเกียรติจาก
ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธานในพิธีเปิดงาน 
สำ�หรับความร่วมมือครั้งนี้ สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเกษตรไทย
แบบพกพา หรือทามิส (TAMIS : Thai Agriculture Mobile Information System)
ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก คือ 1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกร 2) ขึ้นทะเบียนพื้นที่
การเกษตร 3) ตรวจประเมินพืชอาหารปลอดภัย (GAP) และ 4) ตรวจรับรอง
พืชอาหารปลอดภัย โดย TAMIS เป็นเทคโนโลยีเสริมสนับสนุนการขึ้นทะเบียน
เกษตรกร รองรับการทำ�งานแบบออนไลน์และออฟไลน์ อำ�นวยความสะดวก
ให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ตรวจประเมินรับ/ส่งข้อมูลได้แบบทันที รองรับการทำ�งาน
ร่วมกับบัตรประจำ�ตัวประชาชนผ่านเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ทำ�งานร่วมกับ
แผนที่ดาวเทียมเพื่อใช้กำ�หนดพิกัดแปลงให้ทราบถึงขนาดพื้นที่ที่ทำ�การเกษตร
ลดกระบวนการด้านงานเอกสารและการประมวลผลด้วยมือ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มี
คุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง ทำ�งานผ่านเครือข่าย GIN บนระบบคลาวด์ซึ่งรับผิด
ชอบโดยหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งยังรวมเข้ากับระบบตรวจประเมินคุณภาพการผลิต
ทางการเกษตร “อาหารปลอดภัย” รองรับมาตรฐานสินค้าเกษตร และการตรวจ
สอบย้อนกลับตั้งแต่กระบวนการผลิต แหล่งน้ำ� พื้นที่แหล่งผลิต วัตถุอันตราย
ทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยวการเก็บ
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
พัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว
9 ภาคีเครือข่าย ร่วมลงนาม MOU
เกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูก
และเก็บรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล
ทั้งนี้ ในเวทีการค้าโลกปัจจุบันมีการกำ�หนดมาตรการกีดกันทางการค้า
โดยใช้ข้อกำ�หนดทางเทคนิค (Technical barrier to trade) แทนการกำ�หนด
ภาษีนำ�เข้า ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศไทย รวมถึงการเปิดประชาคมอาเซียน
ในปี 2558 จะทำ�ให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวภายในประเทศ ดังนั้น
ประเทศไทยจำ�เป็นต้องมีการปรับตัวพัฒนาทั้งประสิทธิภาพการผลิตและการลด
ต้นทุนการผลิต รวมทั้งผลิตข้าวที่มีคุณภาพได้มาตรฐานที่ได้รับความเชื่อมั่นจาก
ผู้ประกอบ การและผู้บริโภค การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทย
โดยการพัฒนาระบบการผลิตข้าว ระบบการตรวจสอบและรับรองคุณภาพข้าวเพื่อ
ผลิตข้าวคุณภาพตามมาตรฐาน ได้แก่ ข้าว GAP ข้าวอินทรีย์ ข้าวสิ่งบ่งชี้ทาง
ภูมิศาสตร์ การผลิตข้าวเปลือกที่มีคุณภาพมาตรฐานแสดงเครื่องหมายคุณภาพQ
สร้างมูลค่าข้าวจากระบบการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานการผลิต
ทุกขั้นตอน สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและประชาชน ซึ่งกรมการข้าวหน่วย
งานที่มีภารกิจในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวโดยตรง มีข้อจำ�กัดด้าน
บุคลากร จึงจำ�เป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา
ระบบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวของประเทศให้เป็นที่ยอมรับ จึงเป็น
ที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาระบบการตรวจสอบ
และรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวระหว่าง 10 หน่วยงานดังกล่าว
4 nstda • กันยายน 2558
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
ENZease เอนไซม์ดูโอ
เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผ้าฝ้าย
ลดต้นทุน ขั้นตอนการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศไทยมีมายาวนานกว่า 40 ปี ปัจจุบันเป็น
กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้อันดับต้นๆ ให้กับประเทศ โดยในช่วง
ปีที่ผ่านมา (2557) ประเทศไทยมีการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสู่ตลาดยุโรป
มูลค่ากว่า32,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามปัญหาหลักอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรม
สิ่งทอไทย คือปัญหาด้านการใช้พลังงาน สารเคมี และน้ำ�ในกระบวนการผลิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานฟอกย้อมผ้าฝ้าย กระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นต้องใช้
ทั้งความร้อน และวัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสารออกซิไดซ์ โซดาไฟ ผง
ซักฟอก สีย้อม กรด ด่าง เป็นต้น ทำ�ให้โรงงานต้องเพิ่มต้นทุนด้านการจัดการ
สิ่งแวดล้อม และหากโรงงานมีระบบการจัดการไม่ครอบคลุมอาจก่อให้เกิดปัญหา
อย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศได้
ส่วนผ้าฝ้ายดิบก็เป็นวัตถุดิบที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเป็น
อย่างมาก เนื่องจากถูกนำ�ไปใช้เป็นพื้นฐานของสินค้าหลายประเภทเช่น กระเป๋า
รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นต้น โดยปกติในกระบวนการเตรียม
ผ้าฝ้ายก่อนนำ�ไปย้อม จะประกอบด้วย3 ขั้นตอนหลักคือ1) การลอกแป้ง2) การ
กำ�จัดสิ่งสกปรก และ 3) การฟอกขาว (Bleaching) ซึ่งขั้นตอนทั้ง 3 นี้ จะต้อง
ทำ�แยกกัน เนื่องจากมีการใช้สารเคมี และสภาวะในการดำ�เนินการแตกต่างกัน
ทำ�ให้สิ้นเปลืองเวลา พลังงาน และน้ำ�ที่ใช้ในระบบ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและ
เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงมีแนวคิดจะที่เข้าไปช่วยปรับปรุงและพัฒนา
กระบวนการเตรียมผ้าฝ้ายในโรงงานฟอกย้อมผ้าฝ้าย โดยการใช้เทคโนโลยี
เอนไซม์ซึ่งเป็นสารชีวภาพที่ผลิตได้จากเชื้อจุลินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อ
เป็นการลดผลกระทบจากสารเคมีที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม 
คุณปิลันธน์ ธรรมมงคล กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
(หสน.) ธนไพศาล กล่าวว่า “โรงงานสิ่งทอธนไพศาล ได้ดำ�เนินงานด้านเทคโนโลยี
สะอาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ประกอบกับมีความสนใจในเรื่องการใช้เทคโนโลยี
เอนไซม์เพื่อทดแทนสารเคมีในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย จึงได้เข้าไปปรึกษา
ทางไบโอเทค จนเกิดการวิจัยร่วมกันได้เป็นผลงาน ENZease ซึ่งสามารถนำ�ไป
ใช้กับกระบวนการเตรียมผ้าปกติในโรงงานได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่ม
เติมเครื่องจักรใดๆ โดยปกติในขั้นตอนการลอกแป้งบริษัทจะใช้เอนไซม์ที่นำ�เข้า
จากต่างประเทศซึ่งมีราคาที่แพง ส่วนขั้นตอนการกำ�จัดสิ่งสกปรก เดิมบริษัทใช้
ผงซักฟอกหรือน้ำ�สบู่ในการกำ�จัดเพกตินกับขี้ผึ้ง ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนนี้จำ�เป็นต้อง
ทำ�งานแยกกัน เนื่องจากสภาวะของการทำ�งานแตกต่างกัน”
ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ หน่วย
วิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ไบโอเทค เจ้าของผลงาน “ENZease : เอนไซม์
ดูโอสำ�หรับลอกแป้งและกำ�จัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว” กล่าวว่า
“ENZease คือเอนไซม์ที่ผลิตได้จากการหมักเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มี
กิจกรรมของทั้งเอนไซม์อะไมเลส และเพคติเนส เรียกได้ว่าเป็น “เอนไซม์ดูโอ”
ที่สามารถทำ�งานได้ดีในช่วงสภาวะความเป็นกรดด่างและอุณหภูมิใกล้เคียงกัน 
5กันยายน 2558 •
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
เมื่อนำ�ไปทดสอบใช้จริงในภาคสนาม โดยความร่วมมือกับ ดร.มณฑล
นาคปฐม จากห้องปฏิบัติการสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(MTEC)
พบว่าสามารถทดแทนการใช้สารเคมีในขั้นตอนการผลิตผ้าได้100 เปอร์เซ็นต์ ช่วย
ลดกระบวนการเตรียมผ้าฝ้ายโดยรวบเอาขั้นตอนการลอกแป้งและกำ�จัดสิ่งสกปรก
บนผ้ามาอยู่ในขั้นตอนเดียว นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพของผ้า
ฝ้ายให้มีคุณภาพสูงมากกว่าการใช้สารเคมี เนื่องจาก ENZease จะทำ�ปฏิกิริยา
แบบจำ�เพาะเจาะจง ไม่เหมือนกับสารเคมีที่ทำ�ลายเส้นใยผ้าซึ่งจะส่งผลให้ผ้ามี
ความแข็งแรงและน้ำ�หนักลดลง”
คุณปิลันธน์ กล่าวต่อว่า “สิ่งที่ ENZease เหนือกว่าเอนไซม์ทางการค้า
ตัวอื่นๆ คือสามารถรวบขั้นตอนการทำ�งานจาก 2 ขั้นตอนให้เหลือเพียงขั้นตอน
เดียว ช่วยลดระยะเวลาในการเตรียมผ้าฝ้าย ลดต้นทุนในการผลิตลงไม่ว่าจะเป็น
ค่าสารเคมี ค่าแรงงาน ค่าเครื่องมือ ลดการใช้พื้นที่ในโรงงาน รวมถึงลดการใช้
น้ำ�และพลังงานไฟฟ้า ดังนั้น เมื่อไม่ใช้สารเคมี และปริมาณน้ำ�ที่ใช้ลดลง ทำ�ให้
มีน้ำ�เสียที่ปนเปื้อนสารเคมีเข้าสู่ระบบบำ�บัดลดลง ทำ�ให้ง่ายต่อการบำ�บัดและ
ช่วยลดต้นทุนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”
นอกจากนี้ ผลงาน ENZease ยังได้รับรางวัลเหรียญทอง ในงาน Seoul
International Invention Fair (SIIF) 2013 ณ ประเทศเกาหลี ที่จัดโดยสมาคม
ส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์ของเกาหลี(KoreaInventionPromotionAssociation;KIPA)
ซึ่งเป็นงานจัดแสดงผลงานจากนักประดิษฐ์ทั่วโลก
แผนงานขั้นต่อไป คณะผู้วิจัยยังมีแผนในการพัฒนาสูตรเอนไซม์
ENZease เวอร์ชั่น 2 ที่มีความสามารถในการลอกแป้งและกำ�จัดสิ่งสกปรกบน
ผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวด้วยวิธีต่อเนื่อง (Continuous batch) ซึ่งมักพบใน
โรงงานผลิตผ้าฝ้ายขนาดใหญ่ที่ต้องมีการรันเครื่องจักรต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
(12-24 ชั่วโมง) ซึ่งจำ�เป็นต้องใช้เอนไซม์ที่มีความคงทนต่อสภาวะการทำ�งาน
ของเครื่องจักรในโรงงานดังกล่าว เช่น ความร้อน เป็นต้น
เทคโนโลยีนี้เปิดรับผู้ประกอบการที่สนใจขออนุญาตใช้สิทธิเพื่อทำ�การ
ผลิตเอนไซม์ “ENZease” ทางการค้า รวมถึงผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ที่จะ
นำ�เอาเอนไซม์ “ENZease” ไปทดลองใช้ในโรงงาน สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่ม
เติมได้ที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เทคโนโลยีชีวภาพไบโอเทค สวทช. โทร. 02 564 6700
6 nstda • กันยายน 2558
กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำ�รวจมูลค่า
ตลาดสื่อสารประจำ�ปี ’57 และประมาณการปี ’58
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
สำ�นักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ
กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย “ผลการ
สำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารประจำ�ปี2557 และประมาณการปี2558” ชี้ตลาดสื่อสาร
ปี 58 มูลค่า 5.6 แสนล้านบาท เติบโต 12.3% ด้วยแรงหนุนของสมาร์ทโฟน และ
การขยายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G/4G ขณะที่ตลาดอุปกรณ์และตลาด
บริการโทรศัพท์ประจำ�ที่ยังหดตัวต่อเนื่อง อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา
และสถานการณ์บ้านเมืองยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ทำ�ให้ตลาดเติบโตไม่ถึงเป้า
แม้รัฐผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล
นางชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ผลการสำ�รวจมูลค่า
ตลาดสื่อสารในครั้งนี้ สวทช. ได้รับการสนับสนุนจาก สำ�นักงาน กสทช. และ
หน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นATCITCTTCA และ สภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย โดยเริ่มจัดเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม2558
เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการรายสำ�คัญในอุตสาหกรรม แล้วนำ�มา
ประมวลผลร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิอื่นๆ รวมถึงการจัดประชุมระดมความคิดเห็น
เพื่อตรวจทานความถูกต้องของข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา โดย
การสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารปีนี้ จะถูกนำ�ไปบูรณาการร่วมกับข้อมูลการสำ�รวจ
มูลค่าตลาด ICT ด้านอื่นๆ เพื่อให้ข้อมูลตลาด ICT ของประเทศไทยอย่างครบ
ถ้วนสมบูรณ์ในโอกาสต่อไป
นายศุภชัย สัจไพบูลย์กิจ เลขานุการ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
สารสนเทศไทย และที่ปรึกษาโครงการสำ�รวจตลาดฯ เปิดเผยว่า ภาพรวมของ
มูลค่าตลาดสื่อสารในปี 2557 มีการเติบโตถึง 12.6% หรือคิดเป็นมูลค่า 499,741
ล้านบาท แม้ประเทศเผชิญปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั้งภายในและ
ภายนอกประเทศ ภาวะหนี้สินภาคครัวเรือน และคาดการณ์ว่าในปี 2558 ภาพ
รวมตลาดสื่อสารยังสามารถเติบโตได้ใกล้เคียงเดิมที่ 12.3% โดยคิดเป็นมูลค่า
ตลาดรวม 561,418 ล้านบาท โดยมีปัจจัยของการเติบโตที่สำ�คัญคือ การใช้
งานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลของภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพ
การแข่งขันเพื่อรองรับการใช้งาน Cloud และ Big Data และการใช้จ่ายของ
ภาคครัวเรือนสำ�หรับสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ และการใช้บริการ
อินเทอร์เน็ตที่สะดวกขึ้นโดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างไรก็ตาม ภาวะการชะลอ
ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก รวมถึงสถานการณ์ทางการ
เมือง ที่ทำ�ให้ประชาชนและภาคธุรกิจระมัดระวังการใช้เงินทั้งเพื่อการบริโภคและ
การลงทุนมากยิ่งขึ้น  
7กันยายน 2558 •
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
และเมื่อจำ�แนกการพิจารณามูลค่าตลาดสื่อสารของปี 2557 เป็นราย
ตลาดย่อยพบว่า ตลาดบริการสื่อสารยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักซึ่งมีสัดส่วน
ถึง 60.1% ของตลาดสื่อสารภาพรวม โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ประเภท Non Voice มีมูลค่า 88,485 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นการเติบโตถึง 45.3%
และคาดว่าในปี2558 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น117,389 ล้านบาท หรือเติบโต32.7%
ขณะที่บริการอินเทอร์เน็ต(ไม่รวมอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่) ปี
2557 มีมูลค่า 48,663 ล้านบาท เติบโต 14.3% และคาดว่าในปี 2558 จะมีการ
เติบโต 11.4% หรือคิดเป็นมูลค่า 54,231 ล้านบาท ซึ่งสวนทางกับตลาดบริการ
ด้านเสียงต่างๆ ที่มีแนวโน้มหดตัวลง โดยในปี 2557  บริการโทรศัพท์ประจำ�ที่
มีมูลค่า 16,000 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 8.6 บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
แบบ IDD และVoIP มูลค่า 11,662 ล้านบาท หดตัวลง 10.3% หรือแม้แต่บริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท Voice ซึ่งมีมูลค่า 121,175 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ
4.9 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี 2558 บริการโทรศัพท์ประจำ�ที่หดตัวลงอีก 5.1%
หรือมีมูลค่า15,180 ล้านบาท ตลาดโทรศัพท์ระหว่างประเทศแบบIDD และVoIP
จะหดตัวลง 2.1% หรือมีมูลค่า 11,420 ล้านบาท และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ประเภท Voice จะหดตัวลง 0.7% หรือมีมูลค่า 120,269 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้
เห็นว่า การติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของคนไทยโดยผ่าน
อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำ�คัญต่อตลาดสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ
สำ�หรับมูลค่าตลาดอุปกรณ์สื่อสารในปี2557 มีสัดส่วน39.9% ของมูลค่า
ตลาดสื่อสารภาพรวม โดยตลาดที่น่าสนใจ คือ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย
และตลาดโครงข่ายหลักมีการเติบโตอย่างโดดเด่น กล่าวคือ ในปี 2557 ตลาด
สมาร์ทโฟนมีมูลค่า 89,000 ล้านบาท เติบโตถึงร้อยละ 92.6 และคาดการณ์ว่า
ในปี 2558 ตลาดสมาร์ทโฟนจะมีมูลค่าถึง 108,686 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นอีก
22.1% ซึ่งการเติบโตที่ลดลงของตลาดสมาร์ทโฟนเกิดจากแนวโน้มการลดลงของ
ราคา ซึ่งปัจจุบันสามารถหาซื้อสมาร์ทโฟนได้ในราคาไม่เกิน2,000 บาท นอกจาก
นี้ การเร่งขยายโครงข่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G และ 4G เพื่อให้
ครอบคลุมและรองรับความต้องการใช้งานยังเป็นแรงผลักให้ตลาดอุปกรณ์ไร้สาย
ในปี2557 เติบโตได้ถึง13.1% หรือมีมูลค่า27,337 ล้านบาท และคาดว่าปี2558
จะเติบโตอีก14% หรือคิดเป็นมูลค่า31,157 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ตลาดอุปกรณ์
โครงข่ายหลักในปี 2557 มีมูลค่า 63,742 ล้านบาท หรือเติบโต 8.9% อันเนื่อง
การลงทุนสร้างโครงข่ายของตนเองของเพื่อทดแทนการเช่าใช้โครงข่าย และการ
ขยายธุรกิจในลักษณะแนวดิ่ง(VerticalIntegration) ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม
เพื่อสามารถให้บริการได้ทั้งส่วนโครงข่ายและส่วนปลายทาง และคาดว่าในปี
2558 ตลาดอุปกรณ์โครงข่ายหลักยังมีการเติบโตใกล้เคียงปี 2557 ที่ 9.1% หรือ
มีมูลค่า 69,534 ล้านบาท   
ทั้งนี้ ทิศทางการเติบโตของตลาดสื่อสารปี 2558 นี้ ยังคงมาจากการ
ขับเคลื่อนของความต้องการใช้งานของผู้บริโภคครัวเรือน และภาคธุรกิจโดยปกติ
ตามภาวะตลาดและทิศทางเทคโนโลยี ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะมีนโยบายเศรษฐกิจ
ดิจิทัล แต่ยังเป็นแค่เพียงการสร้างบรรยากาศและสร้างความตื่นตัวเท่านั้น ซึ่ง
คาดว่าหากนโยบายนี้มีความชัดเจน จะส่งผลต่อตลาดสื่อสารและเศรษฐกิจของ
ประเทศตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ดังนั้น การขยายโครงข่ายการให้บริการทั้ง
ทางสายและไร้สายเพื่อรองรับการใช้งานดิจิทัลของประชาชนจะเกิดขึ้นจำ�นวน
มาก ผนวกกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำ�ให้ความต้องการ
ติดต่อสารระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการพัฒนาโครงข่ายรองรับ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบที่เป็นตัวแปรสำ�คัญ คือ เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
ที่ยังชะลอตัวต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัย
เสี่ยงสำ�คัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาด ทำ�ให้มูลค่าตลาดสื่อสารไม่เติบโตต่ำ�
กว่าที่คาดการณ์ไว้
8 nstda • กันยายน 2558
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
สวทช. ก.วิทย์ฯ ติดอาวุธเกษตรกรไทย
หนุนโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
เพื่อการพัฒนาชนบท จ.สกลนคร
22 ส.ค. 58 จ.สกลนคร - ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ
คณะได้เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงานและรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนใน “โครงการ
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท จ.สกลนคร” ที่ทาง
สวทช. โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
ดำ�เนินการขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของชุมชน
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ
เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เล็งเห็นความสำ�คัญของชุมชนชนบท ซึ่ง
เป็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีการส่งเสริมการนำ�วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน โดยได้
จัดทำ� “โครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท
จ.สกลนคร” เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์
การเรียนรู้ชุมชน อ. เต่างอย โดยที่ผ่านมาได้ดำ�เนินการและจัดกิจกรรมต่างๆ ที่
สำ�คัญหลายประการ เช่น การสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ
ดีให้กับกลุ่มเกษตรกรบ้านนางอยและหมู่บ้านเครือข่ายอีกจำ�นวน5 หมู่บ้าน การ
จัดฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ การส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง และการแปรรูป
ผลผลิตทางการเกษตร”
ทั้งนี้ โครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา
ชนบท จ.สกลนคร มีแนวทางการสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
คุณภาพดี และการส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ให้กับกลุ่มเกษตรกรตามแนวทาง ดังต่อไปนี้
9กันยายน 2558 •
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
1.สนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้กับกลุ่มเกษตรกร
ในปี พ.ศ. 2554 โครงการฯ ได้ดำ�เนินกิจกรรมส่งเสริมการผลิตเมล็ด
พันธุ์คุณภาพดีระดับชุมชน โดยใช้ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคใบไหม้ เป็น
สายพันธุ์ส่งเสริม โดยใช้บ้านนางอย อ.เต่างอย เป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ภายใต้โครงการ
หมู่บ้านแม่ข่าย วทน. ของสำ�นักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
สนับสนุนให้เกิดหมู่บ้านลูกข่าย จำ�นวน4 หมู่บ้าน ในเขต อ.เต่างอย ได้แก่ บ้าน
หนองบัว บ้านดงหลวง บ้านตากแดด และบ้านหนองสนม โดยการสนับสนุน
ประกอบด้วย 3 หัวข้อดังนี้
1.1 ส่งเสริมการจัดทำ�แปลงนาเรียนรู้และแปลงนาสาธิตให้กับเกษตรกร
1.2 จัดฝึกอบรมด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและคัดเลือกวิทยากรชุมชน
ร่วมให้ความรู้
1.3 การจัดทำ�หลักสูตรนักการตลาดชุมชน
2. การส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์
โครงการฯ ได้วางแผนร่วมกับเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดู
แล้ง โดยมุ่งเน้นพืชที่มีมูลค่าสูง มีตลาดรองรับอย่างค่อนข้างชัดเจน และเกษตรกร
มีความรู้และประสบการณ์ในการเพาะปลูก ได้แก่
• การส่งเสริมการปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่ออุตสาหกรรม พริกสาย
พันธุ์ “ยอดสนเข็ม 80” เป็นผลงานจากการวิจัยพัฒนาของ ดร.สุชีลา เตชะวงค์
เสถียร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวทช. เป็น
สายพันธุ์พริกที่มีความเผ็ดสูง เหมาะสำ�หรับอุตสาหกรรมการสกัดแคปไซซิน
มากกว่าใช้เพื่อบริโภค ปัจจุบันบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำ�กัด ได้
ซื้อลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก แล้ว
รับซื้อผลผลิตเข้าอุตสาหกรรมแปรรูป ผลิตเป็นเจลแก้ปวดชื่อการค้าว่า “แคปซิกา”
• การทำ�นาปรัง โดยปกติเกษตรกรจะมีการทำ�นาปรังในช่วงฤดูแล้ง
โดยสายพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกจะเป็นข้าวเจ้า อาทิ ชัยนาท สุพรรณบุรี และปทุมธานี
ซึ่งจากการเข้าตรวจเยี่ยมกิจกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของโครงการฯ ใน
พื้นที่บ้านโคกงอย และบ้านางอย ของคณะผู้ทรงคุณวุฒิของไบโอเทค พบว่า
เกษตรกรในโครงการฯ มีความประณีตในการทำ�นา จึงเสนอให้โครงการฯ นำ�
ข้าวชัยนาท 1 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล ซึ่งทำ�การทดสอบอยู่ที่ อ.ผักไห่
จ.พระนครศรีอยุธยา มาให้เกษตรกรที่ อ.เต่างอย ได้ปลูกทดสอบในระบบ
นาปรัง เพื่อดูศักยภาพของผลผลิต โดยโครงการฯ ได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท
1 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล จำ�นวน 30 กิโลกรัม ให้แก่เกษตรนำ�ไปปลูก
ในพื้นที่ 3 ไร่ ซึ่งการปลูกในปี 2556 ได้ผลผลิตรวม 2,600 กิโลกรัม (เฉลี่ย 866
กิโลกรัม/ไร่)
• การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวก่ำ� บริษัท สยาม มิราโกร จำ�กัด ได้เจรจา
ความร่วมมือกับโครงการฯ ผ่านบริษัท ธุรกิจเพื่อพัฒนาการเกษตร จำ�กัด ในการ
ส่งเสริมให้เกษตรกรในโครงการฯ ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวก่ำ� ซึ่งเป็นผลงานวิจัย
พัฒนาจาก ดร.กมล เลิศรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทุนสนับสนุนวิจัยจาก
สวทช. แล้วส่งขายผลผลิตฝักข้าวโพดแห้งปอกเปลือก(อายุเก็บเกี่ยว75-80 วัน)
ให้บริษัทฯ นำ�ไปสกัดสารแอนโทไซยานิน ในระดับอุตสาหกรรม
10 nstda • กันยายน 2558
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
iTAP สวทช. ก.วิทย์ จับมือ กสอ. และ
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำ�อางไทย
สร้างความเข้มแข็ง SMEs อุตสาหกรรมเครื่องสำ�อางไทย
25 สิงหาคม2558 กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) กระทรวง
อุตสาหกรรม สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และ
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำ�อางไทย ร่วมมือกันจัดสัมมนา “เทคโนโลยีการออกแบบ
และการตลาดอุตสาหกรรมเครื่องสำ�อางไทย” ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม
2558 ณ ห้องแซฟไฟร์ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อสร้างความเข้มเข้ม
ให้กับอุตสาหกรรมเครื่องสำ�อาง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางการตลาด
มากกว่า100,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ
กลุ่มเครื่องสำ�อางจากสมุนไพรไทยหรือจากสารสกัดจากธรรมชาติ จึงเป็นความ
ท้าทายของผู้ประกอบการไทยในยุค AEC ที่จะต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่
ถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด 
นางสุภา ตั้งกิตติคุณ ผู้อำ�นวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา
2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริม
อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีเป้าหมายในการเสริมสร้างผลิตภาพของ
สถานประกอบการให้สามารถผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพมาตรฐานมีกระบวนการผลิต
ที่มีประสิทธิภาพและบริหารจัดการใช้ทรัพยากรปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า พร้อม
ทั้งส่งเสริมการทำ�งานวิจัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชื่อมโยงการผลิต
ให้เกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ได้ร่วม
มือกับ iTAP / สวทช. เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อร่วมกันพัฒนา
ขีดความสามารถในการประกอบการและการแข่งขันในระดับสากล นอกจากนี้ยัง
พัฒนาความสามารถด้านการจัดการ(Management) โดยการนำ�ระบบเทคโนโลยี
11กันยายน 2558 •
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
สารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถ
เพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับความสามารถและทักษะบุคลากร (Human Skill)
เพื่อรองรับการพัฒนาของกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป     
ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ ผู้อำ�นวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนา
เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี
ของอุตสาหกรรมไทย(iTAP) เป็นกลไกหนึ่งที่ สวทช. จัดตั้งมาเพื่อสนับสนุนและ
ช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเป็นคนกลางที่จะช่วยในการบริหารโครงการ และ
ประสานระหว่างองค์ความรู้จากนักวิจัย ไปสู่ผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับความ
ต้องการ ศักยภาพ และสามารถนำ�องค์ความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิง
พาณิชย์ โดยกลไกนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศว่ามีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลสูง ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในภาคการผลิตอุตสาหกรรม
ไทย มีความสำ�เร็จและสร้างรายได้อย่างเห็นผลชัดเจนและยั่งยืน นอกจากนี้iTAP/
สวทช. ยังได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ ในการเข้าร่วมมือ
ดำ�เนินงานในรูปแบบเครือข่าย เพื่อให้บริการได้อย่างครอบคลุมทุกภูมิภาคของ
ประเทศ 	
นางเกศมณี เลิศกิจจา นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำ�อางไทย กล่าวว่า
สมาคม ฯ ได้ให้ข้อมูลภาพรวมของธุรกิจเครื่องสำ�อาง ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
ในฐานะที่สมาคมฯ มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย จึงทำ�ให้ได้รับ
รู้และเข้าถึงปัญหาอย่างแท้จริง ประกอบกับทางสมาคมฯ เองก็มีผู้เชี่ยวชาญและ
ที่ปรึกษาหลายท่าน ที่ได้เข้าร่วมหารือเพื่อหาหัวข้อการอบรมที่เป็นประโยชน์มาก
ที่สุดให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งที่ปรึกษาบางท่านก็ได้ร่วมเป็นวิทยากรในการอบรม
นี้ด้วยเช่นกัน
ในด้านของการส่งเสริมการค้าของผู้ประกอบการ สมาคมฯ ได้ทำ�หน้าที่
ประสานงานกับหน่วยงานส่งเสริมการค้าต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ กรมส่งเสริมการ
ค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพาผู้ประกอบออกไปหาตลาดการค้า
ใหม่ๆ หรือการจัดอบรมการค้าการตลาดออนไลน์ ในการประชุมสามัญประจำ�
ปีให้กับสมาชิกที่ผ่านมา 
12 nstda • กันยายน 2558
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
สวทช. ก.วิทย์ เปิดงาน
“NSTDA Investors’ Day 2015”
อัดแน่นด้วยงานวิจัยมากกว่า 50 ผลงาน
พร้อมหนุนและถ่ายทอดให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีในไทย
2 กันยายน 2558 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดงาน “NSTDA Investors’ Day 2015” ภายใต้แนวคิด
“พัฒนาชาติ พัฒนาธุรกิจ ด้วยพลังวิทย์และนวัตกรรม” โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน สำ�หรับงานนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ด้วย
ตระหนักถึงความสำ�คัญในการสร้าง พัฒนา และส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศอย่างแพร่หลาย
ภายในงานอัดแน่นด้วยผลงานวิจัยที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจมากกว่า 50 ผลงาน เปิดพื้นที่
ให้กลุ่มนักธุรกิจเป้าหมายเข้าถึงผลงานวิจัยไทยที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และนักวิจัยเองยังสามารถนำ�ผล
ตอบรับจากงานมาช่วยในการบริหารจัดการงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไปได้เช่นกัน
13กันยายน 2558 •
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
นวัตกรรม เป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนาประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มอบหมายให้สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
หรือ สวทช. จัดงาน NSTDA Investors’ Day 2015 นี้ ภายใต้แนวคิด “พัฒนา
ชาติ พัฒนาธุรกิจ ด้วยพลังวิทย์และนวัตกรรม” เพื่อนำ�เสนอผลงานวิจัยออกสู่
เชิงพาณิชย์ตามนโยบายของรัฐบาลในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และ
นวัตกรรม ที่ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนาให้
เพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ รวมทั้งการเสริมสร้างบุคลากร
วิจัย และการสร้างเครือข่ายวิจัยสำ�หรับภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และ
ภาคธุรกิจ ทั้งภายในและภายนอกของประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างมี
คุณภาพสมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเปิด
โอกาสนักวิจัยได้พบปะพูดคุยกับนักธุรกิจที่มีความรู้ ประสบการณ์ และเงินทุน
ผู้ซึ่งจะเป็นผู้นำ�ผลงานที่วิจัยและพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ไปใช้สร้างมูลค่าใน
เชิงพาณิชย์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมในที่สุด”
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. มีเป้าหมายในการนำ�ผลงานวิจัยที่
มีความพร้อมและมีศักยภาพในการลงทุนมานำ�เสนอผลงานพร้อมกับพบปะแลก
เปลี่ยนมุมมองกับนักลงทุนและผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งงาน NSTDA Investors’ Day
จะตอบโจทย์ให้ผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ จากที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็น
อย่างดีจากนักลงทุนและผู้ประกอบการเพิ่มจำ�นวนขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกิดถ่ายทอด
เทคโนโลยีแก่ภาคเอกชนทั้งในส่วนของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ
ที่มาร่วมจัดแสดงผลงาน
สำ�หรับงาน NSTDA Investors’ Day 2015 ปีนี้ ได้รับความร่วมมือ
จากทั้งพันธมิตรหลายหน่วยงานที่มาร่วมจัดแสดงผลงาน อาทิ สถาบันวิจัย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หน่วยงานภายใต้เครือข่าย
องค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ(คอบช.) ได้แก่ สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่ง
ชาติ (วช.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำ�นักงานพัฒนาการวิจัย
การเกษตร(องค์การมหาชน)(สวก.) และมหาวิทยาลัยเครือข่ายของ สวทช. อาทิ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) รวมทั้ง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ (มธ.) และได้รับการสนับสนุนการจัดงานหลายบริษัท หลายองค์กร
ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อ
เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับสังคมไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพจำ�กัด
(มหาชน) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) บริษัท น้ำ�ตาล
มิตรผล จำ�กัด บริษัท ฟาร์มา นูวา จำ�กัด ศูนย์วิจัยและพัฒนา เครือเบทาโกร
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำ�กัด
บริษัท สิทธินันท์ จำ�กัด สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน สมาคมหน่วย
บ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม ธนาคารกสิกรไทย จำ�กัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์
จำ�กัด (มหาชน) 
ในส่วนของนิทรรศการ มีการจัดแสดงผลงานเด่นและผลงานน่าสนใจที่มี
ความพร้อมและมีศักยภาพในการลงทุนสูง มากกว่า 50 ผลงาน จากทั้ง สวทช.
หน่วยงานพันธมิตร และมหาวิทยาลัยเครือข่าย พร้อมทั้งมีการจัดแสดงบริการ
ในรูปแบบต่างๆ ของ สวทช. ที่ใช้เป็นกลไกสนับสนุนภาคเอกชน ในการนำ�องค์
ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกสู่เชิงพาณิชย์หรือต่อยอดธุรกิจ อาทิ การร่วม
ลงทุน โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ� การยกเว้นภาษี 300% การให้คำ�ปรึกษาและ
การฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยี เป็นต้น
ในส่วนการสัมมนาประกอบด้วยการบรรยายพิเศษเรื่อง “10 เทคโนโลยี
ที่น่าจับตามองสำ�หรับธุรกิจ(10TechnologiestoWatch)” ซึ่งเป็นการฉายภาพ
ต่อเนื่องจากการบรรยายในปีที่แล้วว่ามีเทคโนโลยีใดที่เริ่มมาแรงและเทคโนโลยี
ใดที่ต้องจับตามองในปีนี้ และที่พลาดไม่ได้สำ�หรับงานในวันนี้ ก็คือการนำ�เสนอ
ผลงานเด่นโดยนักวิจัยเจ้าของผลงาน ในรูปแบบ Investment Pitching ต่อ
นักลงทุน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจเข้าร่วมเจรจาธุรกิจ และในช่วงบ่าย
เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “มิติใหม่ขับเคลื่อนนวัตกรรมไทยสู่เชิงพาณิชย์”
ต่อด้วยการเสวนาพิเศษเรื่อง “InnovativeCelebrity: พัฒนาธุรกิจด้วยพลังวิทย์
และนวัตกรรม” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคอุตสาหกรรมเอกชนต่างๆ มาแบ่งปัน
ประสบการณ์และมีมุมมองที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
14 nstda • กันยายน 2558
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
สวทช. ก.วิทย์ จับมือพันธมิตร
ขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ 2558/2
3 กันยายน 2558 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ - กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำ�เนินการจัดงาน “โครงการ
ขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ปี 2558/2” หวังกระตุ้นให้ภาคเอกชนที่สนใจนำ�เอานวัตกรรมเทคโนโลยี
ไปต่อยอดหรือขยายผลเป็นสินค้าที่มีความแปลกใหม่และเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น โดยครั้งนี้ สวทช. ขยายความ
ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยและภาคการศึกษาเพิ่มเติมรวมเป็น 9 แห่ง ทำ�ให้มีผลงานวิจัยพร้อมขับเคลื่อนสู่
เชิงพาณิชย์มากถึง 82 ผลงาน ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องมือและ
อุปกรณ ์การแพทย์ การเกษตร เวชสำ�อาง และพลังงาน เป็นต้น โดยผลงานวิจัยทั้งหมดจะจัดบรรยายและ
แสดงในงาน Technology Show ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 กันยายน 2558 ณ โรงแรมสุโกศล ต่อไป
15กันยายน 2558 •
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ประธานในงานแถลงข่าวเปิดเผยว่า “รัฐบาลให้ความสำ�คัญกับสร้าง
ความเข้มแข็งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ การสร้างนวัตกรรมที่เป็นของตนเอง
ผ่านทางการวิจัยพัฒนาทั้งภายในองค์กรเอง หรือสถาบันวิจัยต่างๆ เป็นหนทาง
เดียวที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง
และยั่งยืน โดยการสร้างสังคมให้เป็นสังคมพื้นฐานองค์ความรู้ ถือเป็นนโยบายหลัก
ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งการสนับสนุนการผลักดันผลงานเหล่านั้นให้จับ
ต้องได้ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนเพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการ
ที่เกื้อหนุนเศรษฐกิจ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”
คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญในการ
ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกลไกสำ�คัญในการขับเคลื่อนให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ขององค์กรที่มุ่งเน้นการสนับสนุนและเสริมสร้างการพัฒนา
ศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของ
นโยบายก็ได้มีการกำ�หนดให้การเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมด้วย
เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งใน
การนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ ก็ได้มีความร่วมมือกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการดำ�เนินงาน “โครงการขับเคลื่อนผล
งานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์” ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักในการนำ�ผลงาน
วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัย มาสู่
ภาคอุตสาหกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเปิดโอกาสให้
ภาคเอกชนสามารถนำ�ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอด
ได้ในราคาถูกแบบไม่สงวนสิทธิ (Non-exclusive) โดย สถาบันวิจัยพัฒนาและ
นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำ�หน้าที่เป็นหน่วย
งานอำ�นวยความสะดวก รวบรวม และกระจายข้อมูลต่างๆ ให้เกิดการเชื่อมโยง
ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม
ได้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งผลการดำ�เนินงานในระยะที่1 ที่ผ่านมานั้น มีจำ�นวน
ผลงานเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำ�นวน 11 ผลงาน สำ�หรับในระยะที่
2 นี้ มีจำ�นวนผลงานเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำ�นวน 82 ผลงาน ซึ่ง
สภาอุตสาหกรรมฯ คาดหวังว่าจะกระตุ้นและขยายการใช้ประโยชน์จากผลงาน
วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมเหล่านี้สู่ภาคอุตสาหกรรมในวงกว้างขึ้น” 
คุณประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมและการวิจัย
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่ง
ประเทศไทย ให้ความสาคัญกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบ
การในปี พ.ศ.2558-2559 จึงได้กำ�หนดวิสัยทัศน์ “การเป็นสถาบันหลักทางธุรกิจ
ที่มีองค์ความรู้ มีเครือข่าย และความร่วมมือที่เข้มแข็งที่สุดของประเทศ โดยมี
เป้าประสงค์ให้ประเทศไทยมีศักยภาพและแสวงหาโอกาสให้สามารถแข่งขันได้ใน
ตลาดโลกอย่างยั่งยืน” พร้อมกำ�หนดพันธกิจเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย3 เสาหลักได้แก่
1. Competitiveness Enhancement ด้านการพัฒนา เพิ่มพูนทักษะ
ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ SMEs
อาทิ กิจกรรม ด้านพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหาร โครงการอบรมและสัมมนา
ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีโครงการและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วย
การวิจัย อาทิ
- ผลักดันให้เกิดโครงการBio-basedIndustry เพื่อมุ่งเน้นสร้างความเข้ม
แข็งให้กับห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาจุดที่จะใช้วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปเพิ่มมูลค่าทั้งในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน
เพิ่มคุณภาพและเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทยให้
มีมูลค่าเพิ่มสูงขื้น	
- โครงการ Innovative Packaging for SMEs กำ�หนดเป้าหมาย
ผู้ประกอบการเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,500 รายในปี 2558 - 2559
- โครงการศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงาน ซึ่งได้จัดตั้งมาเป็นปีที่7 โดย
มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2,000 บริษัท พร้อมจัดอบรมสัมมนาการประหยัด
พลังงาน การให้คำ�ปรึกษาเชิงลึกด้านพลังงาน เป็นต้น
2. Connectivity and Collaboration ด้านการพัฒนาเครือข่าย และ
ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศระดับภูมิภาค และระดับโลก
3. Good Governance & Corporate Social Responsibility ด้านการ
ลดความเหลื่อมล้ำ� เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบในการดำ�เนิน
ธุรกิจอย่างยั่งยืน
16 nstda • กันยายน 2558
กันยายน 2558 ฉบับที่ 6
งานมหกรรมรวมพล
“เมกเกอร์”
นักสร้างสรรค์นวัตกรรม
ครั้งแรกในไทย
สวทช. ร่วมกับ เชฟรอน เตรียมจัด Bangkok Mini Maker Faire งานแสดงผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์
ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมวัฒนธรรมเมกเกอร์ในสังคมไทย เชิญชวน
ผู้สนใจส่งผลงานเข้ารวมแสดงในงาน
“เมกเกอร์”(maker) เป็นคำ�ที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งตามสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในประเทศไทยยังจำ�กัดอยู่แต่เฉพาะ
ในกลุ่มผู้สนใจเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในหลายประเทศ “เมกเกอร์” และ “ขบวนการเมกเกอร์” (Maker Movement) ได้รับความสนใจและการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะคาดหมายกันว่าเมกเกอร์จะเป็นหนึ่งในกลไกสำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมแห่งนวัตกรรม
ทำ�ความรู้จักกับ “เมกเกอร์”
วัฒนธรรมเมกเกอร์ (Maker Culture) มีรากฐานมาจากวัฒนธรรม DIY
(Do It Yourself) ที่ผู้คนชอบประดิษฐ์หรือซ่อมแซมสิ่งของต่างๆ ด้วยตัวเอง ซึ่ง
มีมานานแล้ว ต่อมาเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นประกอบกับ
การเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ทำ�ได้ง่ายขึ้น อาทิ โปรแกรมโอเพนซอร์ส ที่ใครๆ ก็
สามารถใช้ได้ฟรี กล้องโดรน หรือเครื่องพิมพ์สามมิติที่มีราคาถูกลง จึงเกิดการนำ�
เทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อสร้างสรรค์หรือประกอบกับสิ่งประดิษฐ์กันอย่างแพร่
หลาย ทำ�ให้รูปแบบของงานประดิษฐ์มีความหลากหลายยิ่งขึ้น ประกอบกับในโลก
ของสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำ�ให้ผู้ที่มีความสนใจในการประดิษฐ์สามารถค้นหา
และรวมตัวกันได้ง่ายขึ้น เกิดการทำ�กิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กัน ซึ่งช่วยผลักดันให้ขบวนการเมกเกอร์เกิดขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558

More Related Content

Similar to NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558

Traceability platform concept
Traceability platform  conceptTraceability platform  concept
Traceability platform conceptPisuth paiboonrat
 
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressedETDAofficialRegist
 
Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...
Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...
Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...Software Park Thailand
 
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ32040954
 
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ32040954
 
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ32040954
 
Information Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyInformation Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyBoonlert Aroonpiboon
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศKrunee Thitthamon
 
Technique to Delivery Information via the Internet
Technique to Delivery Information via the InternetTechnique to Delivery Information via the Internet
Technique to Delivery Information via the InternetRachabodin Suwannakanthi
 
Smart farm white paper chapter 4
Smart farm white paper chapter 4Smart farm white paper chapter 4
Smart farm white paper chapter 4Pisuth paiboonrat
 
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562ETDAofficialRegist
 

Similar to NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558 (20)

Traceability platform concept
Traceability platform  conceptTraceability platform  concept
Traceability platform concept
 
Ogctaxmap
OgctaxmapOgctaxmap
Ogctaxmap
 
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
20181005 etda annual 2017 seed-view-compressed
 
Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...
Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...
Smart Industry Vol.15/2010 "Logistics เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็...
 
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่อง ลักษณะสำคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Information Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge societyInformation Technology for Knowledge society
Information Technology for Knowledge society
 
Computer for CIO
Computer for CIOComputer for CIO
Computer for CIO
 
e-Commerce
e-Commercee-Commerce
e-Commerce
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Technique to Delivery Information via the Internet
Technique to Delivery Information via the InternetTechnique to Delivery Information via the Internet
Technique to Delivery Information via the Internet
 
e-Goverment
e-Govermente-Goverment
e-Goverment
 
Smart farm white paper chapter 4
Smart farm white paper chapter 4Smart farm white paper chapter 4
Smart farm white paper chapter 4
 
Smart industry Vol.33/2561
Smart industry Vol.33/2561Smart industry Vol.33/2561
Smart industry Vol.33/2561
 
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562
 
It
ItIt
It
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
It
ItIt
It
 

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2558

  • 1. 1กันยายน 2558 • 2 3 4 10 12 14 8 6 19 21 ไอทีเพื่อชีวิตใหม่ผู้ต้องขัง ด้วยน้ำ�พระทัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ENZease เอนไซม์ดูโอ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผ้าฝ้าย 9 ภาคีเครือข่าย ร่วมลงนาม MOU พัฒนาระบบ การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารประจำ�ปี ’57 และประมาณการปี ’58 สวทช. ก.วิทย์ฯ ติดอาวุธเกษตรกรไทย... เพื่อการพัฒนาชนบท จ.สกลนคร iTAP สวทช. ก.วิทย์ จับมือ กสอ. และสมาคมผู้ผลิต เครื่องสำ�อางไทย สร้างความเข้มแข็ง SMEs สวทช. ก.วิทย์ เปิดงาน “NSTDA Investors’ Day 2015” สวทช./ก.วิทย์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อน ผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ 2558/2 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 บทสัมภาษณ์ Star ภารกิจการก่อตั้งโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งแรก ของประเทศไทย ดร.พนิต กิจสุบรรณ ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News บทความ Article งานมหกรรมรวมพล “เมกเกอร์” นักสร้างสรรค์นวัตกรรมครั้งแรกในไทย 16
  • 2. 2 nstda • กันยายน 2558 ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนเคยผ่านมา ไม่มีใครอยากเป็นคน ไม่ดี แต่บางครั้งการทำ�สิ่งผิดพลาดก็อาจนำ�มาซึ่งการถูกลงโทษ คือ การต้องติด คุก สูญเสียอิสรภาพ คนที่ติดคุกยังมีโอกาสที่จะได้อิสรภาพกลับคืนมาอีกครั้งเมื่อ รับโทษครบหรือมีเหตุให้ปล่อยตัว แต่หลังจากพ้นโทษแล้ว ชีวิตของคนที่เคยทำ�ผิด พลาด จะสามารถมีอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวดังเช่นคนทั่วไป โดยเฉพาะ การสมัครเข้าทำ�งานในสาขาวิชาชีพต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ด้วยน้ำ�พระทัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีพระราชดำ�ริให้ผู้ต้องขังมีทักษะความรู้ในการ ใช้คอมพิวเตอร์สรรค์สร้างผลงานที่สร้างรายได้ในระหว่างถูกคุมขัง และเมื่อพ้น โทษไปแล้วก็สามารถนำ�ความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพสุจริตได้ จึงก่อให้เกิดความ ร่วมมือระหว่างโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กับกรมราชทัณฑ์ในการดำ�เนินการโครงการ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง โดยจัดตั้งห้องเรียนคอมพิวเตอร์ พระราชทานให้ผู้ต้องขังได้รับการอบรมวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ ผู้ต้องขังที่ผ่าน การอบรมจากห้องเรียนคอมพิวเตอร์พระราชทานสามารถสร้างรายได้จากความ สามารถด้านไอทีของตนเองได้ ดังตัวอย่างความสำ�เร็จของทัณฑสถานบำ�บัดพิเศษหญิง ผู้ต้องขังที่ผ่าน การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกวิชาชีพCallCenter กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 ของ บมจ.เทเลอินโฟมีเดีย ทำ�ให้ผู้ต้องขังมีรายได้สำ�หรับใช้จ่ายซื้อสิ่งจำ�เป็นใน ขณะที่ถูกคุมขัง และเก็บเงินรายได้บางส่วนเข้าบัญชีเงินฝากทำ�ให้มีเงินทุนตั้งต้น หลังจากพ้นโทษได้ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง เริ่มต้นปี พ.ศ. 2540 นำ�ร่องจัดอบรมความรู้คอมพิวเตอร์ให้แก่เรือนจำ�/ทัณฑสถาน 4 แห่ง ต่อมา ขยายผลการดำ�เนินการเป็น 25 แห่ง ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ได้ขยายผลห้องเรียน คอมพิวเตอร์ไปยังเรือนจำ�กว่า106 แห่งทั่วประเทศ และจากข้อมูล13 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2545- มกราคม2558) มีผู้ต้องขังสำ�เร็จหลักสูตรวิชาชีพคอมพิวเตอร์และ หลักสูตรอาชีวศึกษารวมทั้งสิ้นกว่า21,000 คน และสำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญา ตรีจำ�นวน 55 คน การที่ผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ข้างต้น ทำ�ให้ผู้ต้องขัง สามารถนำ�ทักษะมาสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นขณะที่ถูกคุมขัง เช่น การออกแบบ การ์ดอวยพร การรับจ้างพิมพ์งาน การจัดทำ�ปฏิทิน การจัดทำ�หนังสือเสียงเดซี่ ฯลฯ รวมเป็นจำ�นวนเงินกว่า 16 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งปันให้แก่ ผู้ต้องขังในรูปแบบของเงินปันผลอีกด้วย   นอกจากนี้ โครงการได้แนะนำ�การใช้ระบบ e-Learning ของการศึกษา ทางไกลผ่านดาวเทียม (eDLTV) มาใช้จัดการศึกษาให้แก่ผู้ต้องขังเพื่อช่วยแก้ ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน สื่อการสอน และ วิทยากรวิชาชีพจากภายนอกด้วย ไอทีเพื่อชีวิตใหม่ผู้ต้องขัง ด้วยน้ำ�พระทัยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
  • 3. 3กันยายน 2558 • 14 ส.ค. 58 ณ ห้องวายุภักษ์ 6 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ - 10 ภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคการศึกษา(กรมการข้าว สำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สำ�นักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (มจ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยทักษิณ(มทษ.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส.) และมหาวิทยาลัย นเรศวร(มน.)) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง(MOU) เครือข่ายพัฒนาระบบตรวจ สอบและรับรองมาตรฐานข้าว เพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน การผลิตข้าว GAP ข้าวอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ข้าวโรงสีข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าว ใน การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และสินค้าข้าวของประเทศไทยให้เป็น ที่ยอมรับโดย ดร.ลดาวัลย์ กระแสชล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. เป็นผู้แทนจาก สวทช. ร่วมลงนามในความร่วมมือดังกล่าว ภายใน “งานประชาสัมพันธ์ระบบ การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว” ที่กรมการข้าวจัดขึ้น ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน  สำ�หรับความร่วมมือครั้งนี้ สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเกษตรไทย แบบพกพา หรือทามิส (TAMIS : Thai Agriculture Mobile Information System) ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก คือ 1) ขึ้นทะเบียนเกษตรกร 2) ขึ้นทะเบียนพื้นที่ การเกษตร 3) ตรวจประเมินพืชอาหารปลอดภัย (GAP) และ 4) ตรวจรับรอง พืชอาหารปลอดภัย โดย TAMIS เป็นเทคโนโลยีเสริมสนับสนุนการขึ้นทะเบียน เกษตรกร รองรับการทำ�งานแบบออนไลน์และออฟไลน์ อำ�นวยความสะดวก ให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ตรวจประเมินรับ/ส่งข้อมูลได้แบบทันที รองรับการทำ�งาน ร่วมกับบัตรประจำ�ตัวประชาชนผ่านเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ทำ�งานร่วมกับ แผนที่ดาวเทียมเพื่อใช้กำ�หนดพิกัดแปลงให้ทราบถึงขนาดพื้นที่ที่ทำ�การเกษตร ลดกระบวนการด้านงานเอกสารและการประมวลผลด้วยมือ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มี คุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง ทำ�งานผ่านเครือข่าย GIN บนระบบคลาวด์ซึ่งรับผิด ชอบโดยหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งยังรวมเข้ากับระบบตรวจประเมินคุณภาพการผลิต ทางการเกษตร “อาหารปลอดภัย” รองรับมาตรฐานสินค้าเกษตร และการตรวจ สอบย้อนกลับตั้งแต่กระบวนการผลิต แหล่งน้ำ� พื้นที่แหล่งผลิต วัตถุอันตราย ทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยวการเก็บ กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 พัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว 9 ภาคีเครือข่าย ร่วมลงนาม MOU เกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูก และเก็บรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในเวทีการค้าโลกปัจจุบันมีการกำ�หนดมาตรการกีดกันทางการค้า โดยใช้ข้อกำ�หนดทางเทคนิค (Technical barrier to trade) แทนการกำ�หนด ภาษีนำ�เข้า ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศไทย รวมถึงการเปิดประชาคมอาเซียน ในปี 2558 จะทำ�ให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจำ�เป็นต้องมีการปรับตัวพัฒนาทั้งประสิทธิภาพการผลิตและการลด ต้นทุนการผลิต รวมทั้งผลิตข้าวที่มีคุณภาพได้มาตรฐานที่ได้รับความเชื่อมั่นจาก ผู้ประกอบ การและผู้บริโภค การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทย โดยการพัฒนาระบบการผลิตข้าว ระบบการตรวจสอบและรับรองคุณภาพข้าวเพื่อ ผลิตข้าวคุณภาพตามมาตรฐาน ได้แก่ ข้าว GAP ข้าวอินทรีย์ ข้าวสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ การผลิตข้าวเปลือกที่มีคุณภาพมาตรฐานแสดงเครื่องหมายคุณภาพQ สร้างมูลค่าข้าวจากระบบการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานการผลิต ทุกขั้นตอน สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและประชาชน ซึ่งกรมการข้าวหน่วย งานที่มีภารกิจในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวโดยตรง มีข้อจำ�กัดด้าน บุคลากร จึงจำ�เป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา ระบบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวของประเทศให้เป็นที่ยอมรับ จึงเป็น ที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาระบบการตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวระหว่าง 10 หน่วยงานดังกล่าว
  • 4. 4 nstda • กันยายน 2558 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 ENZease เอนไซม์ดูโอ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ลดต้นทุน ขั้นตอนการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศไทยมีมายาวนานกว่า 40 ปี ปัจจุบันเป็น กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สร้างรายได้อันดับต้นๆ ให้กับประเทศ โดยในช่วง ปีที่ผ่านมา (2557) ประเทศไทยมีการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสู่ตลาดยุโรป มูลค่ากว่า32,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามปัญหาหลักอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรม สิ่งทอไทย คือปัญหาด้านการใช้พลังงาน สารเคมี และน้ำ�ในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานฟอกย้อมผ้าฝ้าย กระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นต้องใช้ ทั้งความร้อน และวัตถุดิบที่เป็นสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสารออกซิไดซ์ โซดาไฟ ผง ซักฟอก สีย้อม กรด ด่าง เป็นต้น ทำ�ให้โรงงานต้องเพิ่มต้นทุนด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อม และหากโรงงานมีระบบการจัดการไม่ครอบคลุมอาจก่อให้เกิดปัญหา อย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศได้ ส่วนผ้าฝ้ายดิบก็เป็นวัตถุดิบที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเป็น อย่างมาก เนื่องจากถูกนำ�ไปใช้เป็นพื้นฐานของสินค้าหลายประเภทเช่น กระเป๋า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นต้น โดยปกติในกระบวนการเตรียม ผ้าฝ้ายก่อนนำ�ไปย้อม จะประกอบด้วย3 ขั้นตอนหลักคือ1) การลอกแป้ง2) การ กำ�จัดสิ่งสกปรก และ 3) การฟอกขาว (Bleaching) ซึ่งขั้นตอนทั้ง 3 นี้ จะต้อง ทำ�แยกกัน เนื่องจากมีการใช้สารเคมี และสภาวะในการดำ�เนินการแตกต่างกัน ทำ�ให้สิ้นเปลืองเวลา พลังงาน และน้ำ�ที่ใช้ในระบบ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงมีแนวคิดจะที่เข้าไปช่วยปรับปรุงและพัฒนา กระบวนการเตรียมผ้าฝ้ายในโรงงานฟอกย้อมผ้าฝ้าย โดยการใช้เทคโนโลยี เอนไซม์ซึ่งเป็นสารชีวภาพที่ผลิตได้จากเชื้อจุลินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อ เป็นการลดผลกระทบจากสารเคมีที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม  คุณปิลันธน์ ธรรมมงคล กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) ธนไพศาล กล่าวว่า “โรงงานสิ่งทอธนไพศาล ได้ดำ�เนินงานด้านเทคโนโลยี สะอาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ประกอบกับมีความสนใจในเรื่องการใช้เทคโนโลยี เอนไซม์เพื่อทดแทนสารเคมีในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย จึงได้เข้าไปปรึกษา ทางไบโอเทค จนเกิดการวิจัยร่วมกันได้เป็นผลงาน ENZease ซึ่งสามารถนำ�ไป ใช้กับกระบวนการเตรียมผ้าปกติในโรงงานได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่ม เติมเครื่องจักรใดๆ โดยปกติในขั้นตอนการลอกแป้งบริษัทจะใช้เอนไซม์ที่นำ�เข้า จากต่างประเทศซึ่งมีราคาที่แพง ส่วนขั้นตอนการกำ�จัดสิ่งสกปรก เดิมบริษัทใช้ ผงซักฟอกหรือน้ำ�สบู่ในการกำ�จัดเพกตินกับขี้ผึ้ง ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนนี้จำ�เป็นต้อง ทำ�งานแยกกัน เนื่องจากสภาวะของการทำ�งานแตกต่างกัน” ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ หน่วย วิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ ไบโอเทค เจ้าของผลงาน “ENZease : เอนไซม์ ดูโอสำ�หรับลอกแป้งและกำ�จัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว” กล่าวว่า “ENZease คือเอนไซม์ที่ผลิตได้จากการหมักเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มี กิจกรรมของทั้งเอนไซม์อะไมเลส และเพคติเนส เรียกได้ว่าเป็น “เอนไซม์ดูโอ” ที่สามารถทำ�งานได้ดีในช่วงสภาวะความเป็นกรดด่างและอุณหภูมิใกล้เคียงกัน 
  • 5. 5กันยายน 2558 • กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 เมื่อนำ�ไปทดสอบใช้จริงในภาคสนาม โดยความร่วมมือกับ ดร.มณฑล นาคปฐม จากห้องปฏิบัติการสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) พบว่าสามารถทดแทนการใช้สารเคมีในขั้นตอนการผลิตผ้าได้100 เปอร์เซ็นต์ ช่วย ลดกระบวนการเตรียมผ้าฝ้ายโดยรวบเอาขั้นตอนการลอกแป้งและกำ�จัดสิ่งสกปรก บนผ้ามาอยู่ในขั้นตอนเดียว นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพของผ้า ฝ้ายให้มีคุณภาพสูงมากกว่าการใช้สารเคมี เนื่องจาก ENZease จะทำ�ปฏิกิริยา แบบจำ�เพาะเจาะจง ไม่เหมือนกับสารเคมีที่ทำ�ลายเส้นใยผ้าซึ่งจะส่งผลให้ผ้ามี ความแข็งแรงและน้ำ�หนักลดลง” คุณปิลันธน์ กล่าวต่อว่า “สิ่งที่ ENZease เหนือกว่าเอนไซม์ทางการค้า ตัวอื่นๆ คือสามารถรวบขั้นตอนการทำ�งานจาก 2 ขั้นตอนให้เหลือเพียงขั้นตอน เดียว ช่วยลดระยะเวลาในการเตรียมผ้าฝ้าย ลดต้นทุนในการผลิตลงไม่ว่าจะเป็น ค่าสารเคมี ค่าแรงงาน ค่าเครื่องมือ ลดการใช้พื้นที่ในโรงงาน รวมถึงลดการใช้ น้ำ�และพลังงานไฟฟ้า ดังนั้น เมื่อไม่ใช้สารเคมี และปริมาณน้ำ�ที่ใช้ลดลง ทำ�ให้ มีน้ำ�เสียที่ปนเปื้อนสารเคมีเข้าสู่ระบบบำ�บัดลดลง ทำ�ให้ง่ายต่อการบำ�บัดและ ช่วยลดต้นทุนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” นอกจากนี้ ผลงาน ENZease ยังได้รับรางวัลเหรียญทอง ในงาน Seoul International Invention Fair (SIIF) 2013 ณ ประเทศเกาหลี ที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์ของเกาหลี(KoreaInventionPromotionAssociation;KIPA) ซึ่งเป็นงานจัดแสดงผลงานจากนักประดิษฐ์ทั่วโลก แผนงานขั้นต่อไป คณะผู้วิจัยยังมีแผนในการพัฒนาสูตรเอนไซม์ ENZease เวอร์ชั่น 2 ที่มีความสามารถในการลอกแป้งและกำ�จัดสิ่งสกปรกบน ผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวด้วยวิธีต่อเนื่อง (Continuous batch) ซึ่งมักพบใน โรงงานผลิตผ้าฝ้ายขนาดใหญ่ที่ต้องมีการรันเครื่องจักรต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน (12-24 ชั่วโมง) ซึ่งจำ�เป็นต้องใช้เอนไซม์ที่มีความคงทนต่อสภาวะการทำ�งาน ของเครื่องจักรในโรงงานดังกล่าว เช่น ความร้อน เป็นต้น เทคโนโลยีนี้เปิดรับผู้ประกอบการที่สนใจขออนุญาตใช้สิทธิเพื่อทำ�การ ผลิตเอนไซม์ “ENZease” ทางการค้า รวมถึงผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ที่จะ นำ�เอาเอนไซม์ “ENZease” ไปทดลองใช้ในโรงงาน สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่ม เติมได้ที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เทคโนโลยีชีวภาพไบโอเทค สวทช. โทร. 02 564 6700
  • 6. 6 nstda • กันยายน 2558 กสทช. ร่วมกับ สวทช. เผยผลสำ�รวจมูลค่า ตลาดสื่อสารประจำ�ปี ’57 และประมาณการปี ’58 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 สำ�นักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ร่วมกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผย “ผลการ สำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารประจำ�ปี2557 และประมาณการปี2558” ชี้ตลาดสื่อสาร ปี 58 มูลค่า 5.6 แสนล้านบาท เติบโต 12.3% ด้วยแรงหนุนของสมาร์ทโฟน และ การขยายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G/4G ขณะที่ตลาดอุปกรณ์และตลาด บริการโทรศัพท์ประจำ�ที่ยังหดตัวต่อเนื่อง อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และสถานการณ์บ้านเมืองยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ทำ�ให้ตลาดเติบโตไม่ถึงเป้า แม้รัฐผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล นางชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ผลการสำ�รวจมูลค่า ตลาดสื่อสารในครั้งนี้ สวทช. ได้รับการสนับสนุนจาก สำ�นักงาน กสทช. และ หน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นATCITCTTCA และ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย โดยเริ่มจัดเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม2558 เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการรายสำ�คัญในอุตสาหกรรม แล้วนำ�มา ประมวลผลร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิอื่นๆ รวมถึงการจัดประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อตรวจทานความถูกต้องของข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา โดย การสำ�รวจมูลค่าตลาดสื่อสารปีนี้ จะถูกนำ�ไปบูรณาการร่วมกับข้อมูลการสำ�รวจ มูลค่าตลาด ICT ด้านอื่นๆ เพื่อให้ข้อมูลตลาด ICT ของประเทศไทยอย่างครบ ถ้วนสมบูรณ์ในโอกาสต่อไป นายศุภชัย สัจไพบูลย์กิจ เลขานุการ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศไทย และที่ปรึกษาโครงการสำ�รวจตลาดฯ เปิดเผยว่า ภาพรวมของ มูลค่าตลาดสื่อสารในปี 2557 มีการเติบโตถึง 12.6% หรือคิดเป็นมูลค่า 499,741 ล้านบาท แม้ประเทศเผชิญปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ภาวะหนี้สินภาคครัวเรือน และคาดการณ์ว่าในปี 2558 ภาพ รวมตลาดสื่อสารยังสามารถเติบโตได้ใกล้เคียงเดิมที่ 12.3% โดยคิดเป็นมูลค่า ตลาดรวม 561,418 ล้านบาท โดยมีปัจจัยของการเติบโตที่สำ�คัญคือ การใช้ งานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลของภาคธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันเพื่อรองรับการใช้งาน Cloud และ Big Data และการใช้จ่ายของ ภาคครัวเรือนสำ�หรับสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ และการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตที่สะดวกขึ้นโดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างไรก็ตาม ภาวะการชะลอ ตัวทางเศรษฐกิจของประเทศยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก รวมถึงสถานการณ์ทางการ เมือง ที่ทำ�ให้ประชาชนและภาคธุรกิจระมัดระวังการใช้เงินทั้งเพื่อการบริโภคและ การลงทุนมากยิ่งขึ้น  
  • 7. 7กันยายน 2558 • กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 และเมื่อจำ�แนกการพิจารณามูลค่าตลาดสื่อสารของปี 2557 เป็นราย ตลาดย่อยพบว่า ตลาดบริการสื่อสารยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักซึ่งมีสัดส่วน ถึง 60.1% ของตลาดสื่อสารภาพรวม โดยเฉพาะการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประเภท Non Voice มีมูลค่า 88,485 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นการเติบโตถึง 45.3% และคาดว่าในปี2558 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น117,389 ล้านบาท หรือเติบโต32.7% ขณะที่บริการอินเทอร์เน็ต(ไม่รวมอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่) ปี 2557 มีมูลค่า 48,663 ล้านบาท เติบโต 14.3% และคาดว่าในปี 2558 จะมีการ เติบโต 11.4% หรือคิดเป็นมูลค่า 54,231 ล้านบาท ซึ่งสวนทางกับตลาดบริการ ด้านเสียงต่างๆ ที่มีแนวโน้มหดตัวลง โดยในปี 2557  บริการโทรศัพท์ประจำ�ที่ มีมูลค่า 16,000 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 8.6 บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แบบ IDD และVoIP มูลค่า 11,662 ล้านบาท หดตัวลง 10.3% หรือแม้แต่บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท Voice ซึ่งมีมูลค่า 121,175 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 4.9 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี 2558 บริการโทรศัพท์ประจำ�ที่หดตัวลงอีก 5.1% หรือมีมูลค่า15,180 ล้านบาท ตลาดโทรศัพท์ระหว่างประเทศแบบIDD และVoIP จะหดตัวลง 2.1% หรือมีมูลค่า 11,420 ล้านบาท และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประเภท Voice จะหดตัวลง 0.7% หรือมีมูลค่า 120,269 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้ เห็นว่า การติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของคนไทยโดยผ่าน อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำ�คัญต่อตลาดสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ สำ�หรับมูลค่าตลาดอุปกรณ์สื่อสารในปี2557 มีสัดส่วน39.9% ของมูลค่า ตลาดสื่อสารภาพรวม โดยตลาดที่น่าสนใจ คือ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย และตลาดโครงข่ายหลักมีการเติบโตอย่างโดดเด่น กล่าวคือ ในปี 2557 ตลาด สมาร์ทโฟนมีมูลค่า 89,000 ล้านบาท เติบโตถึงร้อยละ 92.6 และคาดการณ์ว่า ในปี 2558 ตลาดสมาร์ทโฟนจะมีมูลค่าถึง 108,686 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นอีก 22.1% ซึ่งการเติบโตที่ลดลงของตลาดสมาร์ทโฟนเกิดจากแนวโน้มการลดลงของ ราคา ซึ่งปัจจุบันสามารถหาซื้อสมาร์ทโฟนได้ในราคาไม่เกิน2,000 บาท นอกจาก นี้ การเร่งขยายโครงข่ายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G และ 4G เพื่อให้ ครอบคลุมและรองรับความต้องการใช้งานยังเป็นแรงผลักให้ตลาดอุปกรณ์ไร้สาย ในปี2557 เติบโตได้ถึง13.1% หรือมีมูลค่า27,337 ล้านบาท และคาดว่าปี2558 จะเติบโตอีก14% หรือคิดเป็นมูลค่า31,157 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ตลาดอุปกรณ์ โครงข่ายหลักในปี 2557 มีมูลค่า 63,742 ล้านบาท หรือเติบโต 8.9% อันเนื่อง การลงทุนสร้างโครงข่ายของตนเองของเพื่อทดแทนการเช่าใช้โครงข่าย และการ ขยายธุรกิจในลักษณะแนวดิ่ง(VerticalIntegration) ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อสามารถให้บริการได้ทั้งส่วนโครงข่ายและส่วนปลายทาง และคาดว่าในปี 2558 ตลาดอุปกรณ์โครงข่ายหลักยังมีการเติบโตใกล้เคียงปี 2557 ที่ 9.1% หรือ มีมูลค่า 69,534 ล้านบาท    ทั้งนี้ ทิศทางการเติบโตของตลาดสื่อสารปี 2558 นี้ ยังคงมาจากการ ขับเคลื่อนของความต้องการใช้งานของผู้บริโภคครัวเรือน และภาคธุรกิจโดยปกติ ตามภาวะตลาดและทิศทางเทคโนโลยี ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะมีนโยบายเศรษฐกิจ ดิจิทัล แต่ยังเป็นแค่เพียงการสร้างบรรยากาศและสร้างความตื่นตัวเท่านั้น ซึ่ง คาดว่าหากนโยบายนี้มีความชัดเจน จะส่งผลต่อตลาดสื่อสารและเศรษฐกิจของ ประเทศตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ดังนั้น การขยายโครงข่ายการให้บริการทั้ง ทางสายและไร้สายเพื่อรองรับการใช้งานดิจิทัลของประชาชนจะเกิดขึ้นจำ�นวน มาก ผนวกกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำ�ให้ความต้องการ ติดต่อสารระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการพัฒนาโครงข่ายรองรับ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบที่เป็นตัวแปรสำ�คัญ คือ เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ที่ยังชะลอตัวต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัย เสี่ยงสำ�คัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาด ทำ�ให้มูลค่าตลาดสื่อสารไม่เติบโตต่ำ� กว่าที่คาดการณ์ไว้
  • 8. 8 nstda • กันยายน 2558 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 สวทช. ก.วิทย์ฯ ติดอาวุธเกษตรกรไทย หนุนโครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาชนบท จ.สกลนคร 22 ส.ค. 58 จ.สกลนคร - ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ คณะได้เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงานและรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนใน “โครงการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท จ.สกลนคร” ที่ทาง สวทช. โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดำ�เนินการขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของชุมชน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เล็งเห็นความสำ�คัญของชุมชนชนบท ซึ่ง เป็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีการส่งเสริมการนำ�วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน โดยได้ จัดทำ� “โครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท จ.สกลนคร” เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ การเรียนรู้ชุมชน อ. เต่างอย โดยที่ผ่านมาได้ดำ�เนินการและจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ สำ�คัญหลายประการ เช่น การสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ดีให้กับกลุ่มเกษตรกรบ้านนางอยและหมู่บ้านเครือข่ายอีกจำ�นวน5 หมู่บ้าน การ จัดฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ การส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง และการแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร” ทั้งนี้ โครงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา ชนบท จ.สกลนคร มีแนวทางการสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพดี และการส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ให้กับกลุ่มเกษตรกรตามแนวทาง ดังต่อไปนี้
  • 9. 9กันยายน 2558 • กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 1.สนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้กับกลุ่มเกษตรกร ในปี พ.ศ. 2554 โครงการฯ ได้ดำ�เนินกิจกรรมส่งเสริมการผลิตเมล็ด พันธุ์คุณภาพดีระดับชุมชน โดยใช้ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคใบไหม้ เป็น สายพันธุ์ส่งเสริม โดยใช้บ้านนางอย อ.เต่างอย เป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ภายใต้โครงการ หมู่บ้านแม่ข่าย วทน. ของสำ�นักปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ สนับสนุนให้เกิดหมู่บ้านลูกข่าย จำ�นวน4 หมู่บ้าน ในเขต อ.เต่างอย ได้แก่ บ้าน หนองบัว บ้านดงหลวง บ้านตากแดด และบ้านหนองสนม โดยการสนับสนุน ประกอบด้วย 3 หัวข้อดังนี้ 1.1 ส่งเสริมการจัดทำ�แปลงนาเรียนรู้และแปลงนาสาธิตให้กับเกษตรกร 1.2 จัดฝึกอบรมด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและคัดเลือกวิทยากรชุมชน ร่วมให้ความรู้ 1.3 การจัดทำ�หลักสูตรนักการตลาดชุมชน 2. การส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ โครงการฯ ได้วางแผนร่วมกับเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชในช่วงฤดู แล้ง โดยมุ่งเน้นพืชที่มีมูลค่าสูง มีตลาดรองรับอย่างค่อนข้างชัดเจน และเกษตรกร มีความรู้และประสบการณ์ในการเพาะปลูก ได้แก่ • การส่งเสริมการปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่ออุตสาหกรรม พริกสาย พันธุ์ “ยอดสนเข็ม 80” เป็นผลงานจากการวิจัยพัฒนาของ ดร.สุชีลา เตชะวงค์ เสถียร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวทช. เป็น สายพันธุ์พริกที่มีความเผ็ดสูง เหมาะสำ�หรับอุตสาหกรรมการสกัดแคปไซซิน มากกว่าใช้เพื่อบริโภค ปัจจุบันบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำ�กัด ได้ ซื้อลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก แล้ว รับซื้อผลผลิตเข้าอุตสาหกรรมแปรรูป ผลิตเป็นเจลแก้ปวดชื่อการค้าว่า “แคปซิกา” • การทำ�นาปรัง โดยปกติเกษตรกรจะมีการทำ�นาปรังในช่วงฤดูแล้ง โดยสายพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกจะเป็นข้าวเจ้า อาทิ ชัยนาท สุพรรณบุรี และปทุมธานี ซึ่งจากการเข้าตรวจเยี่ยมกิจกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของโครงการฯ ใน พื้นที่บ้านโคกงอย และบ้านางอย ของคณะผู้ทรงคุณวุฒิของไบโอเทค พบว่า เกษตรกรในโครงการฯ มีความประณีตในการทำ�นา จึงเสนอให้โครงการฯ นำ� ข้าวชัยนาท 1 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล ซึ่งทำ�การทดสอบอยู่ที่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา มาให้เกษตรกรที่ อ.เต่างอย ได้ปลูกทดสอบในระบบ นาปรัง เพื่อดูศักยภาพของผลผลิต โดยโครงการฯ ได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล จำ�นวน 30 กิโลกรัม ให้แก่เกษตรนำ�ไปปลูก ในพื้นที่ 3 ไร่ ซึ่งการปลูกในปี 2556 ได้ผลผลิตรวม 2,600 กิโลกรัม (เฉลี่ย 866 กิโลกรัม/ไร่) • การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวก่ำ� บริษัท สยาม มิราโกร จำ�กัด ได้เจรจา ความร่วมมือกับโครงการฯ ผ่านบริษัท ธุรกิจเพื่อพัฒนาการเกษตร จำ�กัด ในการ ส่งเสริมให้เกษตรกรในโครงการฯ ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวก่ำ� ซึ่งเป็นผลงานวิจัย พัฒนาจาก ดร.กมล เลิศรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทุนสนับสนุนวิจัยจาก สวทช. แล้วส่งขายผลผลิตฝักข้าวโพดแห้งปอกเปลือก(อายุเก็บเกี่ยว75-80 วัน) ให้บริษัทฯ นำ�ไปสกัดสารแอนโทไซยานิน ในระดับอุตสาหกรรม
  • 10. 10 nstda • กันยายน 2558 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 iTAP สวทช. ก.วิทย์ จับมือ กสอ. และ สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำ�อางไทย สร้างความเข้มแข็ง SMEs อุตสาหกรรมเครื่องสำ�อางไทย 25 สิงหาคม2558 กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) กระทรวง อุตสาหกรรม สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และ สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำ�อางไทย ร่วมมือกันจัดสัมมนา “เทคโนโลยีการออกแบบ และการตลาดอุตสาหกรรมเครื่องสำ�อางไทย” ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2558 ณ ห้องแซฟไฟร์ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อสร้างความเข้มเข้ม ให้กับอุตสาหกรรมเครื่องสำ�อาง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทางการตลาด มากกว่า100,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ กลุ่มเครื่องสำ�อางจากสมุนไพรไทยหรือจากสารสกัดจากธรรมชาติ จึงเป็นความ ท้าทายของผู้ประกอบการไทยในยุค AEC ที่จะต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ ถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด  นางสุภา ตั้งกิตติคุณ ผู้อำ�นวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีเป้าหมายในการเสริมสร้างผลิตภาพของ สถานประกอบการให้สามารถผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพมาตรฐานมีกระบวนการผลิต ที่มีประสิทธิภาพและบริหารจัดการใช้ทรัพยากรปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า พร้อม ทั้งส่งเสริมการทำ�งานวิจัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชื่อมโยงการผลิต ให้เกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ได้ร่วม มือกับ iTAP / สวทช. เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อร่วมกันพัฒนา ขีดความสามารถในการประกอบการและการแข่งขันในระดับสากล นอกจากนี้ยัง พัฒนาความสามารถด้านการจัดการ(Management) โดยการนำ�ระบบเทคโนโลยี
  • 11. 11กันยายน 2558 • กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 สารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับความสามารถและทักษะบุคลากร (Human Skill) เพื่อรองรับการพัฒนาของกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป      ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ ผู้อำ�นวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนา เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ของอุตสาหกรรมไทย(iTAP) เป็นกลไกหนึ่งที่ สวทช. จัดตั้งมาเพื่อสนับสนุนและ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเป็นคนกลางที่จะช่วยในการบริหารโครงการ และ ประสานระหว่างองค์ความรู้จากนักวิจัย ไปสู่ผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับความ ต้องการ ศักยภาพ และสามารถนำ�องค์ความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิง พาณิชย์ โดยกลไกนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศว่ามีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูง ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในภาคการผลิตอุตสาหกรรม ไทย มีความสำ�เร็จและสร้างรายได้อย่างเห็นผลชัดเจนและยั่งยืน นอกจากนี้iTAP/ สวทช. ยังได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ ในการเข้าร่วมมือ ดำ�เนินงานในรูปแบบเครือข่าย เพื่อให้บริการได้อย่างครอบคลุมทุกภูมิภาคของ ประเทศ  นางเกศมณี เลิศกิจจา นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำ�อางไทย กล่าวว่า สมาคม ฯ ได้ให้ข้อมูลภาพรวมของธุรกิจเครื่องสำ�อาง ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในฐานะที่สมาคมฯ มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย จึงทำ�ให้ได้รับ รู้และเข้าถึงปัญหาอย่างแท้จริง ประกอบกับทางสมาคมฯ เองก็มีผู้เชี่ยวชาญและ ที่ปรึกษาหลายท่าน ที่ได้เข้าร่วมหารือเพื่อหาหัวข้อการอบรมที่เป็นประโยชน์มาก ที่สุดให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งที่ปรึกษาบางท่านก็ได้ร่วมเป็นวิทยากรในการอบรม นี้ด้วยเช่นกัน ในด้านของการส่งเสริมการค้าของผู้ประกอบการ สมาคมฯ ได้ทำ�หน้าที่ ประสานงานกับหน่วยงานส่งเสริมการค้าต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ กรมส่งเสริมการ ค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพาผู้ประกอบออกไปหาตลาดการค้า ใหม่ๆ หรือการจัดอบรมการค้าการตลาดออนไลน์ ในการประชุมสามัญประจำ� ปีให้กับสมาชิกที่ผ่านมา 
  • 12. 12 nstda • กันยายน 2558 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 สวทช. ก.วิทย์ เปิดงาน “NSTDA Investors’ Day 2015” อัดแน่นด้วยงานวิจัยมากกว่า 50 ผลงาน พร้อมหนุนและถ่ายทอดให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีในไทย 2 กันยายน 2558 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดงาน “NSTDA Investors’ Day 2015” ภายใต้แนวคิด “พัฒนาชาติ พัฒนาธุรกิจ ด้วยพลังวิทย์และนวัตกรรม” โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน สำ�หรับงานนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ด้วย ตระหนักถึงความสำ�คัญในการสร้าง พัฒนา และส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศอย่างแพร่หลาย ภายในงานอัดแน่นด้วยผลงานวิจัยที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคธุรกิจมากกว่า 50 ผลงาน เปิดพื้นที่ ให้กลุ่มนักธุรกิจเป้าหมายเข้าถึงผลงานวิจัยไทยที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และนักวิจัยเองยังสามารถนำ�ผล ตอบรับจากงานมาช่วยในการบริหารจัดการงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไปได้เช่นกัน
  • 13. 13กันยายน 2558 • กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม เป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนาประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มอบหมายให้สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. จัดงาน NSTDA Investors’ Day 2015 นี้ ภายใต้แนวคิด “พัฒนา ชาติ พัฒนาธุรกิจ ด้วยพลังวิทย์และนวัตกรรม” เพื่อนำ�เสนอผลงานวิจัยออกสู่ เชิงพาณิชย์ตามนโยบายของรัฐบาลในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และ นวัตกรรม ที่ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนาให้ เพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ รวมทั้งการเสริมสร้างบุคลากร วิจัย และการสร้างเครือข่ายวิจัยสำ�หรับภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคธุรกิจ ทั้งภายในและภายนอกของประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างมี คุณภาพสมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเปิด โอกาสนักวิจัยได้พบปะพูดคุยกับนักธุรกิจที่มีความรู้ ประสบการณ์ และเงินทุน ผู้ซึ่งจะเป็นผู้นำ�ผลงานที่วิจัยและพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ไปใช้สร้างมูลค่าใน เชิงพาณิชย์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมในที่สุด” ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. มีเป้าหมายในการนำ�ผลงานวิจัยที่ มีความพร้อมและมีศักยภาพในการลงทุนมานำ�เสนอผลงานพร้อมกับพบปะแลก เปลี่ยนมุมมองกับนักลงทุนและผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งงาน NSTDA Investors’ Day จะตอบโจทย์ให้ผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ จากที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็น อย่างดีจากนักลงทุนและผู้ประกอบการเพิ่มจำ�นวนขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกิดถ่ายทอด เทคโนโลยีแก่ภาคเอกชนทั้งในส่วนของ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ที่มาร่วมจัดแสดงผลงาน สำ�หรับงาน NSTDA Investors’ Day 2015 ปีนี้ ได้รับความร่วมมือ จากทั้งพันธมิตรหลายหน่วยงานที่มาร่วมจัดแสดงผลงาน อาทิ สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หน่วยงานภายใต้เครือข่าย องค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ(คอบช.) ได้แก่ สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่ง ชาติ (วช.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำ�นักงานพัฒนาการวิจัย การเกษตร(องค์การมหาชน)(สวก.) และมหาวิทยาลัยเครือข่ายของ สวทช. อาทิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) รวมทั้ง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (มธ.) และได้รับการสนับสนุนการจัดงานหลายบริษัท หลายองค์กร ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับสังคมไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพจำ�กัด (มหาชน) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) บริษัท น้ำ�ตาล มิตรผล จำ�กัด บริษัท ฟาร์มา นูวา จำ�กัด ศูนย์วิจัยและพัฒนา เครือเบทาโกร บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำ�กัด (มหาชน) บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง1958) จำ�กัด บริษัท สิทธินันท์ จำ�กัด สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน สมาคมหน่วย บ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ธนาคารกสิกรไทย จำ�กัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน)  ในส่วนของนิทรรศการ มีการจัดแสดงผลงานเด่นและผลงานน่าสนใจที่มี ความพร้อมและมีศักยภาพในการลงทุนสูง มากกว่า 50 ผลงาน จากทั้ง สวทช. หน่วยงานพันธมิตร และมหาวิทยาลัยเครือข่าย พร้อมทั้งมีการจัดแสดงบริการ ในรูปแบบต่างๆ ของ สวทช. ที่ใช้เป็นกลไกสนับสนุนภาคเอกชน ในการนำ�องค์ ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกสู่เชิงพาณิชย์หรือต่อยอดธุรกิจ อาทิ การร่วม ลงทุน โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ� การยกเว้นภาษี 300% การให้คำ�ปรึกษาและ การฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยี เป็นต้น ในส่วนการสัมมนาประกอบด้วยการบรรยายพิเศษเรื่อง “10 เทคโนโลยี ที่น่าจับตามองสำ�หรับธุรกิจ(10TechnologiestoWatch)” ซึ่งเป็นการฉายภาพ ต่อเนื่องจากการบรรยายในปีที่แล้วว่ามีเทคโนโลยีใดที่เริ่มมาแรงและเทคโนโลยี ใดที่ต้องจับตามองในปีนี้ และที่พลาดไม่ได้สำ�หรับงานในวันนี้ ก็คือการนำ�เสนอ ผลงานเด่นโดยนักวิจัยเจ้าของผลงาน ในรูปแบบ Investment Pitching ต่อ นักลงทุน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจเข้าร่วมเจรจาธุรกิจ และในช่วงบ่าย เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “มิติใหม่ขับเคลื่อนนวัตกรรมไทยสู่เชิงพาณิชย์” ต่อด้วยการเสวนาพิเศษเรื่อง “InnovativeCelebrity: พัฒนาธุรกิจด้วยพลังวิทย์ และนวัตกรรม” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคอุตสาหกรรมเอกชนต่างๆ มาแบ่งปัน ประสบการณ์และมีมุมมองที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
  • 14. 14 nstda • กันยายน 2558 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 สวทช. ก.วิทย์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ 2558/2 3 กันยายน 2558 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ - กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำ�เนินการจัดงาน “โครงการ ขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ปี 2558/2” หวังกระตุ้นให้ภาคเอกชนที่สนใจนำ�เอานวัตกรรมเทคโนโลยี ไปต่อยอดหรือขยายผลเป็นสินค้าที่มีความแปลกใหม่และเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น โดยครั้งนี้ สวทช. ขยายความ ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยและภาคการศึกษาเพิ่มเติมรวมเป็น 9 แห่ง ทำ�ให้มีผลงานวิจัยพร้อมขับเคลื่อนสู่ เชิงพาณิชย์มากถึง 82 ผลงาน ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องมือและ อุปกรณ ์การแพทย์ การเกษตร เวชสำ�อาง และพลังงาน เป็นต้น โดยผลงานวิจัยทั้งหมดจะจัดบรรยายและ แสดงในงาน Technology Show ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 กันยายน 2558 ณ โรงแรมสุโกศล ต่อไป
  • 15. 15กันยายน 2558 • กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ประธานในงานแถลงข่าวเปิดเผยว่า “รัฐบาลให้ความสำ�คัญกับสร้าง ความเข้มแข็งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ การสร้างนวัตกรรมที่เป็นของตนเอง ผ่านทางการวิจัยพัฒนาทั้งภายในองค์กรเอง หรือสถาบันวิจัยต่างๆ เป็นหนทาง เดียวที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการสร้างสังคมให้เป็นสังคมพื้นฐานองค์ความรู้ ถือเป็นนโยบายหลัก ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งการสนับสนุนการผลักดันผลงานเหล่านั้นให้จับ ต้องได้ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนเพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการ ที่เกื้อหนุนเศรษฐกิจ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย กล่าวว่า “สภาอุตสาหกรรมฯ ตระหนักถึงความสำ�คัญในการ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกลไกสำ�คัญในการขับเคลื่อนให้บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์กรที่มุ่งเน้นการสนับสนุนและเสริมสร้างการพัฒนา ศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของ นโยบายก็ได้มีการกำ�หนดให้การเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมด้วย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งใน การนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ ก็ได้มีความร่วมมือกับ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการดำ�เนินงาน “โครงการขับเคลื่อนผล งานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์” ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักในการนำ�ผลงาน วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัย มาสู่ ภาคอุตสาหกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยเปิดโอกาสให้ ภาคเอกชนสามารถนำ�ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอด ได้ในราคาถูกแบบไม่สงวนสิทธิ (Non-exclusive) โดย สถาบันวิจัยพัฒนาและ นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำ�หน้าที่เป็นหน่วย งานอำ�นวยความสะดวก รวบรวม และกระจายข้อมูลต่างๆ ให้เกิดการเชื่อมโยง ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ได้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งผลการดำ�เนินงานในระยะที่1 ที่ผ่านมานั้น มีจำ�นวน ผลงานเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำ�นวน 11 ผลงาน สำ�หรับในระยะที่ 2 นี้ มีจำ�นวนผลงานเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำ�นวน 82 ผลงาน ซึ่ง สภาอุตสาหกรรมฯ คาดหวังว่าจะกระตุ้นและขยายการใช้ประโยชน์จากผลงาน วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมเหล่านี้สู่ภาคอุตสาหกรรมในวงกว้างขึ้น”  คุณประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมและการวิจัย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย ให้ความสาคัญกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบ การในปี พ.ศ.2558-2559 จึงได้กำ�หนดวิสัยทัศน์ “การเป็นสถาบันหลักทางธุรกิจ ที่มีองค์ความรู้ มีเครือข่าย และความร่วมมือที่เข้มแข็งที่สุดของประเทศ โดยมี เป้าประสงค์ให้ประเทศไทยมีศักยภาพและแสวงหาโอกาสให้สามารถแข่งขันได้ใน ตลาดโลกอย่างยั่งยืน” พร้อมกำ�หนดพันธกิจเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย3 เสาหลักได้แก่ 1. Competitiveness Enhancement ด้านการพัฒนา เพิ่มพูนทักษะ ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ SMEs อาทิ กิจกรรม ด้านพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหาร โครงการอบรมและสัมมนา ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีโครงการและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วย การวิจัย อาทิ - ผลักดันให้เกิดโครงการBio-basedIndustry เพื่อมุ่งเน้นสร้างความเข้ม แข็งให้กับห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาจุดที่จะใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปเพิ่มมูลค่าทั้งในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพและเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทยให้ มีมูลค่าเพิ่มสูงขื้น - โครงการ Innovative Packaging for SMEs กำ�หนดเป้าหมาย ผู้ประกอบการเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,500 รายในปี 2558 - 2559 - โครงการศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงาน ซึ่งได้จัดตั้งมาเป็นปีที่7 โดย มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2,000 บริษัท พร้อมจัดอบรมสัมมนาการประหยัด พลังงาน การให้คำ�ปรึกษาเชิงลึกด้านพลังงาน เป็นต้น 2. Connectivity and Collaboration ด้านการพัฒนาเครือข่าย และ ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศระดับภูมิภาค และระดับโลก 3. Good Governance & Corporate Social Responsibility ด้านการ ลดความเหลื่อมล้ำ� เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบในการดำ�เนิน ธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • 16. 16 nstda • กันยายน 2558 กันยายน 2558 ฉบับที่ 6 งานมหกรรมรวมพล “เมกเกอร์” นักสร้างสรรค์นวัตกรรม ครั้งแรกในไทย สวทช. ร่วมกับ เชฟรอน เตรียมจัด Bangkok Mini Maker Faire งานแสดงผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมวัฒนธรรมเมกเกอร์ในสังคมไทย เชิญชวน ผู้สนใจส่งผลงานเข้ารวมแสดงในงาน “เมกเกอร์”(maker) เป็นคำ�ที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งตามสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในประเทศไทยยังจำ�กัดอยู่แต่เฉพาะ ในกลุ่มผู้สนใจเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในหลายประเทศ “เมกเกอร์” และ “ขบวนการเมกเกอร์” (Maker Movement) ได้รับความสนใจและการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคาดหมายกันว่าเมกเกอร์จะเป็นหนึ่งในกลไกสำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมแห่งนวัตกรรม ทำ�ความรู้จักกับ “เมกเกอร์” วัฒนธรรมเมกเกอร์ (Maker Culture) มีรากฐานมาจากวัฒนธรรม DIY (Do It Yourself) ที่ผู้คนชอบประดิษฐ์หรือซ่อมแซมสิ่งของต่างๆ ด้วยตัวเอง ซึ่ง มีมานานแล้ว ต่อมาเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นประกอบกับ การเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ทำ�ได้ง่ายขึ้น อาทิ โปรแกรมโอเพนซอร์ส ที่ใครๆ ก็ สามารถใช้ได้ฟรี กล้องโดรน หรือเครื่องพิมพ์สามมิติที่มีราคาถูกลง จึงเกิดการนำ� เทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อสร้างสรรค์หรือประกอบกับสิ่งประดิษฐ์กันอย่างแพร่ หลาย ทำ�ให้รูปแบบของงานประดิษฐ์มีความหลากหลายยิ่งขึ้น ประกอบกับในโลก ของสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำ�ให้ผู้ที่มีความสนใจในการประดิษฐ์สามารถค้นหา และรวมตัวกันได้ง่ายขึ้น เกิดการทำ�กิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กัน ซึ่งช่วยผลักดันให้ขบวนการเมกเกอร์เกิดขึ้นอย่างแข็งแกร่ง