SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รายวิชาชีววิทยา 4 (ว30244) ครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ชื่อ-นามสกุล........................................................................................................ชั้น................ห้อง...............เลขที่.........
ใบความรู้ เรื่อง การเจริญเติบโตของพืชดอก (Flowering Plant Growth and Development)
ผลและเมล็ด (fruit and seed)
การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิซ้อนในพืชดอกโดยทั่วไป คือ ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน
และโพลาร์นิวคลีไอที่ได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม ส่วนออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด โดยที่ผนัง
ออวุลเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด และรังไข่จะพัฒนาต่อไปเป็นผลห่อหุ้มเมล็ด โดยผนังรังไข่เจริญไปเป็น
เปลือกและเนื้อของผล แต่ในผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล จะเจริญมา
จากฐานรองดอก จึงเรียกผลชนิดนี้ว่า ผลเทียม (pseudo fruit) แต่ถ้ารังไข่สามารถพัฒนาเป็นผลได้โดยไม่
ต้องผ่านกระบวนการปฏิสนธิโดยใช้ฮอร์โมนพืชเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เราจะเรียกผลรูปแบบนี้ว่า
ผลลม (parthenocarpic fruit) เช่น กล้วยไร้เมล็ด ฝรั่งไร้เมล็ด เป็นต้น
เมื่อรังไข่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นผลทาให้ผนังรังไข่มีการเจริญเป็นเนื้อของผล เรียกส่วนนี้ว่า เพอริคาร์ป
(pericarp) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ดังนี้
1) เอพิคาร์ป หรือ เอ็กโซคาร์ป (epicarp or exocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกซึ่งจะเจริญพัฒนาต่อไป
เป็นเปลือกชั้นนอกสุดของผล
2) มีโซคาร์ป (mesocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นกลางของเปลือกผลซึ่งอาจจะเป็นชั้นเนื้อเยื่อบางหรือหาที่
กลายเป็นเนื้อของผลก็ได้
3) เอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นในสุด ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด
ของผลไม้โดยอาจเปลี่ยนไปเป็นเนื้อของผลหรือเปลือกแข็งหุ้มเมล็ดก็ได้
กรณีที่เราไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นได้ นิยมเรียกรวมกันว่า เพอริคาร์ป
(pericarp) เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว เป็นต้น หรือเราอาจเรียกผลในกลุ่มนี้ว่า ผลที่มีเนื้อแห้ง (dry
fruit) แต่ถ้าเราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นได้ จะเรียกว่า ผลที่มีเนื้อสด (fleshy fruit)
ประเภทของผล (type of fruit) เราสามารถแบ่งตามการกาเนิดของผลและลักษณะของดอก ได้
ดังนี้
1) ผลเดี่ยว (simple fruit) เกิดจากดอกเพียงดอกเดียว อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ลักษณะเด่น
ของผลเดี่ยวจะมีรังไข่ 1 อัน ใน 1 ดอก ตัวอย่างผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกเดี่ยว เช่น ตาลึง มะละกอ มะเขือ
แตงกวา ส้ม เป็นต้น ตัวอย่างผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อ เช่น ชมพู่ มะม่วง มะปราง มะนาว เป็นต้น
2) ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เกิดจากกลุ่มของรังไข่ที่อยู่ในดอกเดี่ยวและอยู่บนฐานรองดอก
เดียวกัน รังไข่อาจเชื่อมหรือไม่ เชื่อมรวมกันก็ได้ รังไข่แต่ละอันเจริญไปเป็นผลย่อยหนึ่งผลที่อยู่อัดกันแน่นทา
ให้ดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น ลูกหวาย น้อยหน่า สตรอเบอรี่ การเวก นมแมว กระดังงา บัวหลวง จาปี จาปา
เป็นต้น
3) ผลรวม (multiple fruit) เกิดจากดอกช่อที่รังไขของดอกย่อยกลายเป็นผลย่อยที่เชื่อมกันแน่น
บนแกนช่อดอกทาให้ดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น ขนุน สาเก สับปะรด มะเดื่อ หม่อน ลูกยอ สน บีท เป็นต้น
ภาพแสดงโครงสร้างของเนื้อผลเปรียบเทียบระหว่างผลที่มีเนื้อแห้งและผลที่มีเนื้อสด
ภาพแสดงโครงสร้างเปรียบเทียบระหว่างผลเดี่ยว ผลกลุ่ม และผลรวม
การเกิดเมล็ด (seed formation)
ภายหลังจากการปฏิสนธิของพืชดอกซึ่งเกิดขึ้นภายในรังไข่ ทาให้เกิดไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ซึ่ง
ทั้งหมดจะเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ด โดยที่ไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจานวนและเจริญพัฒนาไปเป็น
เอ็มบริโอ หลังจากนั้น เอ็มบริโอจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทาให้เกิดการสร้างอวัยวะสาคัญต่าง ได้แก่ ราก ลา
ต้น กิ่ง ก้าน และใบ
ส่วนประกอบของเมล็ด (seed component) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1) เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat or integument) ที่ผิวจะมีรอยแผลเป็นขนาดเล็กที่เมล็ดหลุด
ออกจากก้านออวุล (funiculus) เรียกว่า ไฮลัม (hilum) และมีรูไมโครไพล์ (micropyle) เป็นทางที่หลอดเรณู
ผ่านเข้าไปตอนปฏิสนธิและเป็นทางที่ให้แรดิเคิล (radicle) หรือรากแรกเกิดงอกออกจากเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ด
ทาหน้าที่ป้องกันอันตรายและลดการสูญเสียน้าภายในเมล็ด
2) เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เป็นอาหารสะสมของเอ็มบริโอ ส่วนใหญ่เป็นพวกแป้ง โปรตีน
ไขมัน และสารอื่น ที่มีความสาคัญต่อการเจริญเติบโของเอ็มบริโอ เมล็ดพืชบางชนิดจะมีเอนโดสเปิร์นที่สังเกต
ได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้อมะพร้าวและน้ามะพร้าว เราเรียกเมล็ดกลุ่มนี้ว่า เมล็ดแบบอัลบูมินัส (albuminous
seed) แต่เมล็ดพืชบางชนิดเมื่อแก่จะไม่พบเอนโดสเปิร์มอยู่ภายในเมล็ด เช่นในเมล็ดถั่วเอนโอสเปิร์มจะถูกเก็บ
ไว้ในใบเลี้ยง (cotyledon) ใบเลี้ยงมีขนาดใหญ่อวบหนา เราเรียกเมล็ดกลุ่มนี้ว่า เมล็ดแบบเอ็กซ์อัลบูมินัส
(exalbuminous seed)
3) เอมบริโอ (embryo) เป็นส่วนที่จะเจริญไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนต่าง ดังนี้
- ใบเลี้ยง (cotyledon) โดยเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่จะมีจานวน 2 ใบ และใบเลี้ยงหนา เพราะมีอาหาร
สะสมอยู่ในใบเลี้ยง เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดมะขาว ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีจานวน 1 ใบ และใบเลี้ยงบาง
เพราะไม่มีอาหารสะสม เช่น จาวมะพร้าว เมล็ดละหุ่ง
- ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง (epicotyl) ซึ่งจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นส่วนของลาต้น ใบ และดอกของพืช
และบริเวณปลายสุดจะมียอดแรกเกิด (plumule) เป็นยอดอ่อน
- ส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (Hypocotyl) โดยอยู่ระหว่างตาแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยงกับตาแหน่งที่จะเจริญ
ไปเป็นราก ซึ่งส่วนนี้จะเจริญไปเป็นส่วนหนึ่งของลาต้น
-รากแรกเกิด (radicle) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของเอ็มบริโอโดยนับต่อจากไฮโปคอทิลลงมา ปลาย
สุดของแรดิเคิลจะอยู่ตรงกับรูไมโครไพล์ของเมล็ดและเป็นส่วนแรกที่งอก โดยส่วนนี้จะเจริญต่อไปเป็นรากแก้ว
แต่ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากแก้วจะเจริญอยู่ระยะหนึ่งจากนั้นจะมีรากฝอยเจริญขึ้นมาแทน
เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น พวกข้าว และหญ้า จะมีเยื่อหนาหุ้มอยู่ตอนบนปลายยอด เรียกว่า คอ
ลิออปไทล์ (coleoptile) และมีเยื่อหุ้มที่ปลายแรดิเคิล เรียกว่า คอลิโอไรซา (coleorhiza) เยื่อหุ้มทั้ง 2 ชนิดนี้
จะช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เอ็มบริโอในส่วนของยอดอ่อนและส่วนของแรดิเคิลเมื่อมีการงอกเกิดขึ้น
ภาพแสดงโครงสร้างเปรียบเทียบระหว่างเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
การงอกของเมล็ด (Germination)
การงอกของเมล็ด คือ การที่เมล็ดเริ่มเจริญเติบโตไปเป็นพืชต้นใหม่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อเมล็ดพืชตกลงในดิน
ที่มีน้า อากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อเปลือกเมล็ดอ่อนนุ่มจากการดูดซับน้า พร้อมที่รากแรกเกิดได้รับ
อาหารสะสมอยู่ในเมล็ด ทาให้รากแรกเกิดสามารถงอกออกมาทางรูไมโครไพล์ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ ได้แก่
1) ปัจจัยภายนอก (external factor)
- น้าหรือความชื้น ช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง ทาให้น้าและแก๊สออกซิเจนผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ ทา
ให้เมล็ดขยายขนาดขึ้นและยังเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ภายในเมล็ด
- แก๊สออกซิเจน มีความสาคัญต่อกระบวนการสลายสารอาหารเพื่อสร้างพลังงานสาหรับใช้ในการ
เจริญเติบโต โดยทั่วไปเมล็ดจะงอกในสภาพอากาศปกติที่มีออกซิเจนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และ
คาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 0.03 เปอร์เซ็นต์
- อุณหภูมิ เมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันในการงอก ซึ่งโดยทั่วไปเมล็ดจะงอกได้ดีที่
อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส
- แสง พืชบางชนิดต้องการแสงกระตุ้นการงอกของเมล็ด เช่น หญ้า ปอกระเจา ผักกาดเขียวปลี
ผักกาดหอม และพริก เป็นต้น แต่พืชบางชนิดไม่ต้องการแสงในการงอกของเมล็ด เช่น พืชตระกูลหอม หรือไม้
หัว เป็นต้น
2) ปัจจัยภายใน (internal factor)
- การพักตัวของเมล็ด (seed dormancy) เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของพืช ที่ทาให้เมล็ดพืชงอกช้ากว่า
ปกติ ซึ่งการพักตัวอาจมาหลายสาเหตุ เช่น เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนาเกินไป ทาให้น้าและแก๊สออกซิเจน
ผ่านเข้าไปไม่ได้ หรือเมล็ดบางชนิดมีสารยับยั้งการงอกของเมล็ด หรือเอ็มบริโอภายในเมล็ดยังเจริญเติบโตไม่
เต็มที่ หรืออาจมาจากภายในเมล็ดมีปริมาณเอนโดสเปิร์มน้อยมากจึงงอกเองได้ยากในสภาพธรรมชาติ
รูปแบบการงอกของเมล็ด (germination pattern) สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1) การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่เหนือดิน (epigeal germination) เป็นรูปแบบการงอกเมล็ดที่เมื่อ
เจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนแล้วจะมีใบเลี้ยงชูขึ้นมาเหนือดินเพราะส่วนของลาต้นใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) เจริญดี
ทาให้สามารถชูส่วนของใบเลี้ยงขึ้นมาอยู่เหนือดินได้ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ เมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่ และส่วนที่เห็นอยู่
เหนือดินคือส่วนของลาต้นที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง ละหุ่ง เป็นต้น
2) การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน (hypogeal germination) เป็นรูปแบบการงอกเมล็ดที่เมื่อ
เจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนแล้วใบเลี้ยงจะยังไม่เจริญขึ้นมาเหนือดิน เนื่องจากส่วนของลาต้นใต้ใบเลี้ยง
(hypocotyl) เจริญไม่ดีทาให้ไม่สามารถชูส่วนของใบเลี้ยงขึ้นมาเหนือดินได้ หรือในบางกรณีอาจจะรวมถึงเอน
โดสเปิร์มที่ยังตกค้างอยู่ใต้ดินด้วย การงอกในลักษณะนี้มักพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ข้าว แต่ก็มีพืช
ใบเลี้ยงคู่บางชนิดที่มีการงอกในรูปแบบนี้ เช่น ถั่วลันเตา
การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ เป็นกระบวนการหาความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นการ
ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งต่าง ว่าเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดสมควรเลือกมาปลูกให้ผลผลิตสูง
เพียงพอในระดับคุ้มค่ากับการลงทุนเชิงเศรษฐกิจมากที่สุด วิธีการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์สามารถทาได้
โดยนาเมล็ดจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจานวนเมล็ดที่งอกทุกวัน จากนั้นนามา
คานวณหาค่าดัชนีการงอกโดยใช้สูตรดัชนีการงอก คือ ผลรวมของอัตราส่วนจานวนเมล็ดที่งอกต่อจานวนวัน
หลังเพาะเมล็ด แล้วนาค่าดัชนีการงอกที่ได้มาเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากสถานที่อื่น
ภาพแสดงรูปแบบการงอกของเมล็ด
แบบใบเลี้ยงอยู่เหนือดินและแบบ
ใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ของพืชโดยการผลิตพืชต้นใหม่
ขึ้นจากพืชต้นเดิมด้วยวิธีการต่าง ที่ไม่ใช่การใช้เซลล์สืบพันธุ์ เช่น การปักชา การติดตา การตอนกิ่ง การทาบ
กิ่ง เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความเหมาะสมสาหรับพืชแต่ละชนิด
ส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์
- พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยลาต้น มักเป็นพวกลาต้นใต้ดินซึ่งใช้ในการสะสมอาหาร เช่น ขิง ข่า ขมิ้น แห้ว เผือก
หอม กระเทียม มันฝรั่ง ว่านสี่ทิศ เป็นต้น
- พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง โดยการปักชา ตอน ติดตา ทาบกิ่งหรือเสียบยอด เช่น ชบา พู่ระหง มะลิ โกสน
กุหลาบ พุทรา มะม่วง ดาวเรือง ฤาษีผสม เป็นต้น
- พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยราก มักเป็นรากชนิดที่สะสมอาหาร เช่น มันเทศ เป็นต้น
- พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยใบ เช่น เศรษฐีพันล้าน ต้นตายใบเป็น (ต้นคว่าตายหงายเป็น) ทองสามย่าน โคมญี่ปุ่น
เป็นต้น
วิธีการขยายพันธุ์พืช
- การปักชา คือ การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช เช่น ใบ กิ่ง ลาต้น หรือรากออกจากต้นเดิมไปปักไว้ในดิน
ทราย หรือขุยมะพร้าว โดยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งส่วนต่าง ของพืชนั้นจะออกรากและ
แตกยอดเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป
ภาพแสดงกระบวนการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์
- การตอนกิ่ง คือ การทาให้กิ่งออกรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นเดิม ซึ่งเมื่อกิ่งออกรากจานวนมากและ
แข็งแรงแล้ว จึงตัดออกจากต้นเดิมแล้วนาไปปลูกต่อไป
- การติดตา คือ การนาตาของพืชที่เป็นพันธุ์ดีมาติดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตเป็น
พืชต้นใหม่ต่อไป
- การทาบกิ่ง คือ การนาต้นพืช 2 ต้น ที่ต่างกันและยังมีรากอยู่มาเชื่อต่อกิ่งกัน โดยนากิ่งต้นตอไปทาบกับ
กิ่งพันธุ์ดี ซึ่งเมื่อกิ่งทั้งสองเชื่อมติดกันดีแล้ว จึงตัดกิ่งพันธุ์ดีออกจากต้นเดิม ซึ่งต้นตอที่นามาทาบกิ่งจะทา
หน้าที่เป็นระบบรากให้กับกิ่งพันธุ์ดี
- การเสียบยอด คือ การนายอดของพืชที่เป็นพันธุ์ดีมาติด ต่อ หรือสอดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง ซึ่งเมื่อรอย
แผลที่ต่อเชื่อมติดกันดีแล้ว พืชทั้งสองชนิดนี้จะเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกัน
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Plant tissue culture) เป็นเทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์พืชที่นิยมใช้กัน
มากในปัจจุบัน โดยการนาชิ้นส่วนของพืช เช่น ลาต้น ยอด ตาข้าง ใบ ก้านใบ เป็นต้น มาเพาะเลี้ยงบน
อาหารสังเคราะห์ที่มีฮอร์โมนพืชเป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตและพัฒนา ซึ่งก็คือ ออกซินกับไซโทไคนิน การ
เลี้ยงต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดเชื้อ เพื่อทาให้ชิ้นส่วนนั้น สามารถเจริญเติบโตและ
พัฒนาเป็นต้นพืชสมบูรณ์ในปริมาณมากภายในระยะเวลาอันสั้น
3.1 การวัดการเจริญเติบโตของพืช
- วิธีการวัดการเจริญเติบโตของพืชที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ การวัดมวลหรือน้าหนักของพืช สารับการวัด
มวลโดยน้าหนักสดนั้น ผลที่ได้อาจไม่บ่งบอกถึงมวลชีวภาพที่แท้จริงทั้งหมดของพืชเพราะมีน้าเป็น
องค์ประกอบอยู่ปริมาณมาก ส่วนการชั่งน้าหนักแห้งจะได้ค่ามวลชีวภาพที่แท้จริงแต่ต้องทาให้พืชที่ทาการ
วัดตาย
- การวัดความสูง ไม่สามารถใช้ได้กับพืชที่มีความสูงมากจนไม่สามารถวัดได้ ดังนั้น ในบางครั้งจึงต้องเปลี่ยน
มาวัดเส้นรอบวงแทน หรือในพืชบางชนิดที่มีความสูงไม่เพิ่มขึ้นแต่มีการแผ่กิ่งก้านออกในวงกว้างก็จะใช้วิธี
อื่นในการวัดการเจริญเติบโต เช่น การวัดขนาดของใบ การนับจานวนใบ การนับจานวนวงปี เป็นต้น
- กราฟการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่งอกออกมาจากเมล็ดจนกระทั่งเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จะมีลักษณะ
เป็นกราฟรูปตัว S (Sigmoid curve) โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
1) Lag phase เป็นระยะแรกซึ่งพืชจะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างช้า
2) Log phase เป็นระยะที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
3) Stationary phase เป็นระยะที่พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่จึงทาให้อัตราการเจริญเติบโตคงที่
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
ภาพแสดงกระบวนการวัดการเจริญเติบโตของพืช
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รายวิชาชีววิทยา 4 (ว30244) ครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ชื่อ-นามสกุล.................................................................................................ชั้น............ห้อง............เลขที่............
แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่อง การเจริญเติบโตของพืชดอก
(Flowering Plant Growth and Development)
1. ผลของพืชในข้อใดจัดเป็นผลกลุ่มทั้งหมด
ก. กุหลาบ น้อยหน่า องุ่น ข. ขนุน สาเก ลูกยอ
ค. กระดังงา บัว การะเวก ง. สับปะรด ทับทิม ลองกอง
2. เมล็ดพืชในข้อใดที่มีรูปแบบการงอกแตกต่างจากข้ออื่น
ก. ถั่วลันเตา ข. ข้าวเหนียว ค. หญ้าคา ง. อัญชัน
3. เมล็ดพืชในข้อใดเมื่อพัฒนาเต็มที่แล้วไม่พบเอ็นโดสเปิร์ม
ก. ละหุ่ง มะขามเทศ ข. ข้าวสาลี มะม่วง
ค. ถั่วลิสง มะนาว ง. กาแฟ มะพร้าว
4. ข้อใดลาดับการเปลี่ยนแปลงจากไมโครสปอร์ไปเป็นละอองเรณู ได้ถูกต้อง
ก. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสไปเป็นสเปิร์มตัวที่ 1 และตัวที่ 2
ข. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิสไปเป็นสเปิร์มตัวที่ 1 และตัวที่ 2
ค. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสไปเป็นเจเนอเรทีฟนิวเคลียส และทิวบ์นิวเคลียส
ง. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิสไปเป็นเจเนอเรทีฟนิวเคลียส และทิวบ์นิวเคลียส
5. โครงสร้างตามตาแหน่ง ก ของเมล็ดละหุ่ง ผ่าตามยาวเทียบได้กับข้อใด
ก. จาวมะพร้าว ข. เปลือกเมล็ดทานตะวัน
ค. เนื้อขนุน ง. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่คั่ว
6. เมล็ดถั่วลิสงที่เรารับประทานเจริญมาจากส่วนใด
ก. ใบเลี้ยง ข. ผนังรังไข่
ค. เอนโดสเปิร์ม ง. ผนังของอินเทกกิวเมนท์
7. ส่วนใดที่รับประทานได้ของพืชต่อไปนี้เจริญมาจากส่วนของรังไข่
ก. เนื้อมะละกอ , เนื้อลาไย ข. เนื้อมะพร้าว , เนื้อน้อยหน่า
ค. เนื้อสตรอเบอรี่ , เนื้อแตงโม ง. เนื้อมะม่วง , เนื้อส้ม
8. ในการงอกของเมล็ดข้าวโพด ส่วนใดของเมล็ดไม่มีการเจริญยืดตัวออกมาพ้นเปลือกหุ้มเมล็ด
ก. ใบเลี้ยง ข. เยื่อหุ้มเอพิคอทิล
ค. แรดิเคิล ง. เยื่อหุ้มแรดิเคิล
9. พืชมีดอกชนิดหนึ่งมีโครโมโซมในกลีบเลี้ยง 6 แท่ง เอ็มบริโอ และเอ็นโดสเปิร์ม ในเมล็ดของพืชชนิดดังกล่าว
ควรมี โครโมโซมเป็นเท่าใดตามลาดับ
ก. 6 และ 9 ข. 6 และ 12 ค. 12 และ 12 ง.12 และ 18
10. ภาพดอกไม้ที่กาหนดให้มีตาแหน่งของรังไข่แบบใด (A) และจะเจริญให้ผลแบบใด (B)
ก. (A) Inferior ovary (B) ผลเดี่ยว
ข. (A) Superior ovary (B) ผลกลุ่ม
ค. (A) Inferior ovary (B) ผลกลุ่ม
ง. (A) Superior ovary (B) ผลรวม
11. ข้อใดถกต้องเกี่ยวกับเอนโดสเปิร์ม
ก. เป็นส่วนที่สะสมอาหารไว้เป็นเนื้อของผลไม้
ข. เป็นสเปิร์มที่พร้อมจะเข้าผสมพันธุ์กับเซลล์ไข่
ค. เป็นเนื้อเยื่อที่เกิดมาจากการรวมตัวของสเปิร์มนิวเคลียสกับโพลาร์นิวคลีไอ
ง. เป็นสเปิร์มที่ยังไม่พร้อมจะเข้าผสมกับเซลล์ไข่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างก่อน
12. ส่วนใดของพืชดอกที่เป็นส่วนของแกมีโทไฟท์
ก. เมล็ด และ ละอองเรณู ข. ออวุล และ เซลล์ไข่
ค. ละอองเรณู และ เซลล์ไข่ ง. เมล็ด และ โพลาร์นิวเคลียส
13. จาวตาลเป็นส่วนที่ชาวบ้านมักนามาเชอมกับน้าตาลเป็นขนมหวานทางภาคกลาง ส่วนที่เรียกว่าจาวตาล
เป็นส่วนใด ของตาล
ก. ส่วนยอดของต้นตาล ข. ส่วนหนึ่งของเมล็ดตาล
ค. ส่วนหนึ่งของผลตาล ง. ส่วนหนึ่งของดอกตัวผู้ของตาล
14. ข้อใดไม่ถกต้อง
ส่วนของเอ็มบริโอ พืชที่พบ
ก Seed coat พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ข. Coleoptiles เฉพาะพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ค. Cotyledon เฉพาะพืชใบเลี้ยงคู่
ง. Radicle พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
15. กราฟใดแสดงอัตราการอยู่รอดของต้นมะขามได้ถูกต้อง
ก. A ข. B
ค. C ง. D
16. ส่วนแรกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่โผล่พ้นเหนือดินคือ
ข้อใด
ก. hypocotyl ข. epicotyls ค. coleoptiles ง. cotyledon
17. เนื้อมะพร้าวมีจานวนชุดของโครโมโซมเท่ากับส่วนของพืชในข้อใด
ก. จาวตาล ข. เนื้อขนุน ค. เนื้อมะละกอ ง. เนื้อและน้ามะนาว
18. ส่วนประกอบใดของพืชที่ชาวบ้านนิยมรับประทานที่ไม่ได้เจริญมาจากการปฏิสนธิซ้อน
ก. น้ามะพร้าว ข. เนื้อถั่วดา ค. ข้าวสาร ง. น้าตาลสด
19. ส่วนประกอบใดของเมล็ดที่เจริญมาจากส่วนของ embryo sac
ก. embryo ข. endosperm ค. embryo และ testa ง. ทั้ง ก และ ข
20. พืชชนิดหนึ่งออกดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียจานวนมากใน 1 ดอก เมื่อติดผล
พบว่ามี ลักษณะเป็นลูกเล็ก เรียงกันบนก้านประมาณ 8-10 ลูก พืชชนิดนี้จัดเป็นผลไม้ชนิดใด
ก. ผลเดี่ยว ข. ผลกลุ่ม
ค. ผลรวม ง. ผลเดี่ยวมีเนื้อและเปลือกนุ่ม
21. เกล็ดส้มที่อยู่ในกลีบส้มเป็นส่วนของ
ก. ผนังรังไข่ ข. ผนังของออวุล ค. ผนังชั้นในของรังไข่ ง. อินเท็กคิวเมนท์
22. ส่วนของผลไม้ที่มีโครโมโซม 3n คือข้อใด
ก. เนื้อมะพร้าว ข. จาวมะพร้าว ค. กะลามะพร้าว ง. เปลือกมะพร้าว
23. ปัจจัยในข้อใดที่ทาให้พืชสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของสิ่งแวดลอมหรือถิ่นที่เจริญได้ดีที่สุด
ก. มีละอองเรณูมาก ข. การมีการปฏิสนธิภายใน
ค. มีเมล็ดที่มีระยะพักตัวยาว ง. มีเมล็ดจานวนมาก
24. ข้อความใดที่เหมาะสมที่สุดในการอธิบายความหมายของคาว่า "เมล็ด”
ก. ส่วนที่อยู่ภายในเซลล์
ข. เป็นที่เกิดของ reproductive tissue
ค. เป็น gametophyte ที่เปลี่ยนมาเป็น sporophyte
ง. เป็น embryo ของพืชที่มีส่วนที่เป็นอาหารอยู่ล้อมรอบ
25. แกลบที่ได้จากการกะเทาะเปลือกของข้าวเป็นส่วนของ
ก. ใบเลี้ยง ข. ใบประดับ ค. เปลือกหุ้มเมล็ด ง. เปลือกหุ้มผล
26. แกนกลางของผลสับปะรดเจริญมาจากส่วนของ
ก. ก้านดอก ข. กลีบดอก ค. ก้านช่อดอก ง. รังไข่
27. หลังจากที่นักเรียนรับประทานเนื้อพุทราแล้ว ส่วนที่มีลักษณะแข็งสีน้าตาลที่ติดกับเนื้อส่วนที่เห็นดังกล่าว
เป็นส่วน เดียวกับข้อใด
ก. เปลือกหุ้มเมล็ดถั่ว ข. เนื้อสีแดงของแตงโม
ค. เปลือกและกาบมะพร้าว ง. เนื้อสีเหลืองของขนุน
28. เอ็มบริโอของพืชมีดอกคือ
ก. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ดทั้งหมด
ข. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ด ยกเว้นใบเลี้ยง
ค. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ด ยกเว้นเอนโดสเปิร์ม
ง. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ด ยกเว้นใบเลี้ยงและเอนโดสเปิร์ม
29. ส่วนใดต่อไปนี้ พบได้ทั้งในเมล็ดละหุ่งและเมล็ดข้าวโพด
ก. เอนโดสเปิร์ม และไฮโพคอทิล ข. ใบเลี้ยง และแรดิเคิล
ค. เอนโดสเปิร์ม และใบเลี้ยง ง. เอพิคอทิล และเยื่อหุ้มเอพิคอทิล
30. ถ้านาเมล็ดถั่วดามาเพาะลงในกะบะดิน จะพบการเจริญเป็นอย่างไร
ก. ไฮโพคอทิลจะงอกออกมาก่อนเพื่อชูลาต้นขึ้นไปในอากาศเพื่อให้พืชได้รับแสง
ข. แรดิเคิลจะงอกออกมาก่อนเพื่อเจริญต่อไปเป็นรากเพื่อยึดดิน และช่วยดูดน้าและเกลือแร่
ค. เอพิคอทิลจะงอกออกมาก่อนเพื่อให้พืชได้สร้างใบใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
ง. แรดิเคิลและไฮโพคอทิลจะงอกออกมาพร้อม กันเพื่อจะมีรากเจริญลงไปในดินและต้นเจริญขึ้นใน
อากาศ
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
ชื่อ-นามสกุล.................................................................................................ชั้น............ห้อง............เลขที่............
กระดาษคาตอบแบบทดสอบ เรื่อง เรื่อง การเจริญเติบโตของพืชดอก
(Flowering Plant Growth and Development)
 ก่อนเรียน วันที่...........................  หลังเรียน วันที่...........................
ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
ก
ข
ค
ง
ข้อ 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30
ก
ข
ค
ง
ได้ .......................คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน ลงชื่อ..................................................ผู้ตรวจ
(นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์)
ครูผู้สอน
วันที่ตรวจ............................................

More Related Content

What's hot

การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชThanyamon Chat.
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอกการสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอกThanyamon Chat.
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2Wichai Likitponrak
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3Jariya Jaiyot
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพPinutchaya Nakchumroon
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชsukanya petin
 
ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2oraneehussem
 
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่website22556
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมAomiko Wipaporn
 
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สการคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สThanyamon Chat.
 
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุCoverslide Bio
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกThanyamon Chat.
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)Thitaree Samphao
 

What's hot (20)

12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
 
Kingdom monera
Kingdom moneraKingdom monera
Kingdom monera
 
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอกการสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกโครงสร้างดอก
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 
แผนBioม.4 1
แผนBioม.4 1แผนBioม.4 1
แผนBioม.4 1
 
ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2
 
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
ใบงานที่ 4 ดิน หิน แร่
 
ราก (T)
ราก (T)ราก (T)
ราก (T)
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
 
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สการคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
 
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
ใบงานที่ 4 ตารางธาตุ
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
 
ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)
 

Similar to Lesson3 plantgrowth2

การสืบพันธุ์ของพืชดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกการสืบพันธุ์ของพืชดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกnokbiology
 
Stemแก้net
Stemแก้netStemแก้net
Stemแก้netAnana Anana
 
ส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืชส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืชPress Trade
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชAnana Anana
 
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)Thitaree Samphao
 
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5Wichai Likitponrak
 
การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชการสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชchiralak
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกWichai Likitponrak
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 

Similar to Lesson3 plantgrowth2 (20)

Lesson2 plantrepro2
Lesson2 plantrepro2Lesson2 plantrepro2
Lesson2 plantrepro2
 
Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60
 
Biocontest2014 kitty
Biocontest2014 kittyBiocontest2014 kitty
Biocontest2014 kitty
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอกการสืบพันธุ์ของพืชดอก
การสืบพันธุ์ของพืชดอก
 
Stemแก้net
Stemแก้netStemแก้net
Stemแก้net
 
ส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืชส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืช
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
 
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)
 
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
สอบกลางภาคชีวะ51 2m-5
 
การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2
 
การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชการสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืช
 
932 tu80 group 4
932 tu80 group 4932 tu80 group 4
932 tu80 group 4
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
 
Biocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytimeBiocontest2014 happytime
Biocontest2014 happytime
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 

More from Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

Lesson3 plantgrowth2

  • 1. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รายวิชาชีววิทยา 4 (ว30244) ครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ชื่อ-นามสกุล........................................................................................................ชั้น................ห้อง...............เลขที่......... ใบความรู้ เรื่อง การเจริญเติบโตของพืชดอก (Flowering Plant Growth and Development) ผลและเมล็ด (fruit and seed) การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิซ้อนในพืชดอกโดยทั่วไป คือ ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน และโพลาร์นิวคลีไอที่ได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม ส่วนออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด โดยที่ผนัง ออวุลเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด และรังไข่จะพัฒนาต่อไปเป็นผลห่อหุ้มเมล็ด โดยผนังรังไข่เจริญไปเป็น เปลือกและเนื้อของผล แต่ในผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล จะเจริญมา จากฐานรองดอก จึงเรียกผลชนิดนี้ว่า ผลเทียม (pseudo fruit) แต่ถ้ารังไข่สามารถพัฒนาเป็นผลได้โดยไม่ ต้องผ่านกระบวนการปฏิสนธิโดยใช้ฮอร์โมนพืชเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เราจะเรียกผลรูปแบบนี้ว่า ผลลม (parthenocarpic fruit) เช่น กล้วยไร้เมล็ด ฝรั่งไร้เมล็ด เป็นต้น เมื่อรังไข่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นผลทาให้ผนังรังไข่มีการเจริญเป็นเนื้อของผล เรียกส่วนนี้ว่า เพอริคาร์ป (pericarp) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ดังนี้ 1) เอพิคาร์ป หรือ เอ็กโซคาร์ป (epicarp or exocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกซึ่งจะเจริญพัฒนาต่อไป เป็นเปลือกชั้นนอกสุดของผล 2) มีโซคาร์ป (mesocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นกลางของเปลือกผลซึ่งอาจจะเป็นชั้นเนื้อเยื่อบางหรือหาที่ กลายเป็นเนื้อของผลก็ได้ 3) เอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นในสุด ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ของผลไม้โดยอาจเปลี่ยนไปเป็นเนื้อของผลหรือเปลือกแข็งหุ้มเมล็ดก็ได้
  • 2. กรณีที่เราไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นได้ นิยมเรียกรวมกันว่า เพอริคาร์ป (pericarp) เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว เป็นต้น หรือเราอาจเรียกผลในกลุ่มนี้ว่า ผลที่มีเนื้อแห้ง (dry fruit) แต่ถ้าเราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นได้ จะเรียกว่า ผลที่มีเนื้อสด (fleshy fruit) ประเภทของผล (type of fruit) เราสามารถแบ่งตามการกาเนิดของผลและลักษณะของดอก ได้ ดังนี้ 1) ผลเดี่ยว (simple fruit) เกิดจากดอกเพียงดอกเดียว อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ลักษณะเด่น ของผลเดี่ยวจะมีรังไข่ 1 อัน ใน 1 ดอก ตัวอย่างผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกเดี่ยว เช่น ตาลึง มะละกอ มะเขือ แตงกวา ส้ม เป็นต้น ตัวอย่างผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อ เช่น ชมพู่ มะม่วง มะปราง มะนาว เป็นต้น 2) ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เกิดจากกลุ่มของรังไข่ที่อยู่ในดอกเดี่ยวและอยู่บนฐานรองดอก เดียวกัน รังไข่อาจเชื่อมหรือไม่ เชื่อมรวมกันก็ได้ รังไข่แต่ละอันเจริญไปเป็นผลย่อยหนึ่งผลที่อยู่อัดกันแน่นทา ให้ดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น ลูกหวาย น้อยหน่า สตรอเบอรี่ การเวก นมแมว กระดังงา บัวหลวง จาปี จาปา เป็นต้น 3) ผลรวม (multiple fruit) เกิดจากดอกช่อที่รังไขของดอกย่อยกลายเป็นผลย่อยที่เชื่อมกันแน่น บนแกนช่อดอกทาให้ดูคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น ขนุน สาเก สับปะรด มะเดื่อ หม่อน ลูกยอ สน บีท เป็นต้น ภาพแสดงโครงสร้างของเนื้อผลเปรียบเทียบระหว่างผลที่มีเนื้อแห้งและผลที่มีเนื้อสด ภาพแสดงโครงสร้างเปรียบเทียบระหว่างผลเดี่ยว ผลกลุ่ม และผลรวม
  • 3. การเกิดเมล็ด (seed formation) ภายหลังจากการปฏิสนธิของพืชดอกซึ่งเกิดขึ้นภายในรังไข่ ทาให้เกิดไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ซึ่ง ทั้งหมดจะเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ด โดยที่ไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจานวนและเจริญพัฒนาไปเป็น เอ็มบริโอ หลังจากนั้น เอ็มบริโอจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทาให้เกิดการสร้างอวัยวะสาคัญต่าง ได้แก่ ราก ลา ต้น กิ่ง ก้าน และใบ ส่วนประกอบของเมล็ด (seed component) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat or integument) ที่ผิวจะมีรอยแผลเป็นขนาดเล็กที่เมล็ดหลุด ออกจากก้านออวุล (funiculus) เรียกว่า ไฮลัม (hilum) และมีรูไมโครไพล์ (micropyle) เป็นทางที่หลอดเรณู ผ่านเข้าไปตอนปฏิสนธิและเป็นทางที่ให้แรดิเคิล (radicle) หรือรากแรกเกิดงอกออกจากเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ด ทาหน้าที่ป้องกันอันตรายและลดการสูญเสียน้าภายในเมล็ด 2) เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เป็นอาหารสะสมของเอ็มบริโอ ส่วนใหญ่เป็นพวกแป้ง โปรตีน ไขมัน และสารอื่น ที่มีความสาคัญต่อการเจริญเติบโของเอ็มบริโอ เมล็ดพืชบางชนิดจะมีเอนโดสเปิร์นที่สังเกต ได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้อมะพร้าวและน้ามะพร้าว เราเรียกเมล็ดกลุ่มนี้ว่า เมล็ดแบบอัลบูมินัส (albuminous seed) แต่เมล็ดพืชบางชนิดเมื่อแก่จะไม่พบเอนโดสเปิร์มอยู่ภายในเมล็ด เช่นในเมล็ดถั่วเอนโอสเปิร์มจะถูกเก็บ ไว้ในใบเลี้ยง (cotyledon) ใบเลี้ยงมีขนาดใหญ่อวบหนา เราเรียกเมล็ดกลุ่มนี้ว่า เมล็ดแบบเอ็กซ์อัลบูมินัส (exalbuminous seed)
  • 4. 3) เอมบริโอ (embryo) เป็นส่วนที่จะเจริญไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนต่าง ดังนี้ - ใบเลี้ยง (cotyledon) โดยเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่จะมีจานวน 2 ใบ และใบเลี้ยงหนา เพราะมีอาหาร สะสมอยู่ในใบเลี้ยง เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดมะขาว ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีจานวน 1 ใบ และใบเลี้ยงบาง เพราะไม่มีอาหารสะสม เช่น จาวมะพร้าว เมล็ดละหุ่ง - ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง (epicotyl) ซึ่งจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นส่วนของลาต้น ใบ และดอกของพืช และบริเวณปลายสุดจะมียอดแรกเกิด (plumule) เป็นยอดอ่อน - ส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (Hypocotyl) โดยอยู่ระหว่างตาแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยงกับตาแหน่งที่จะเจริญ ไปเป็นราก ซึ่งส่วนนี้จะเจริญไปเป็นส่วนหนึ่งของลาต้น -รากแรกเกิด (radicle) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของเอ็มบริโอโดยนับต่อจากไฮโปคอทิลลงมา ปลาย สุดของแรดิเคิลจะอยู่ตรงกับรูไมโครไพล์ของเมล็ดและเป็นส่วนแรกที่งอก โดยส่วนนี้จะเจริญต่อไปเป็นรากแก้ว แต่ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากแก้วจะเจริญอยู่ระยะหนึ่งจากนั้นจะมีรากฝอยเจริญขึ้นมาแทน เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น พวกข้าว และหญ้า จะมีเยื่อหนาหุ้มอยู่ตอนบนปลายยอด เรียกว่า คอ ลิออปไทล์ (coleoptile) และมีเยื่อหุ้มที่ปลายแรดิเคิล เรียกว่า คอลิโอไรซา (coleorhiza) เยื่อหุ้มทั้ง 2 ชนิดนี้ จะช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เอ็มบริโอในส่วนของยอดอ่อนและส่วนของแรดิเคิลเมื่อมีการงอกเกิดขึ้น ภาพแสดงโครงสร้างเปรียบเทียบระหว่างเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
  • 5. การงอกของเมล็ด (Germination) การงอกของเมล็ด คือ การที่เมล็ดเริ่มเจริญเติบโตไปเป็นพืชต้นใหม่ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อเมล็ดพืชตกลงในดิน ที่มีน้า อากาศ และอุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อเปลือกเมล็ดอ่อนนุ่มจากการดูดซับน้า พร้อมที่รากแรกเกิดได้รับ อาหารสะสมอยู่ในเมล็ด ทาให้รากแรกเกิดสามารถงอกออกมาทางรูไมโครไพล์ได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ ได้แก่ 1) ปัจจัยภายนอก (external factor) - น้าหรือความชื้น ช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง ทาให้น้าและแก๊สออกซิเจนผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ ทา ให้เมล็ดขยายขนาดขึ้นและยังเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่าง ภายในเมล็ด - แก๊สออกซิเจน มีความสาคัญต่อกระบวนการสลายสารอาหารเพื่อสร้างพลังงานสาหรับใช้ในการ เจริญเติบโต โดยทั่วไปเมล็ดจะงอกในสภาพอากาศปกติที่มีออกซิเจนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และ คาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 0.03 เปอร์เซ็นต์ - อุณหภูมิ เมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันในการงอก ซึ่งโดยทั่วไปเมล็ดจะงอกได้ดีที่ อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส - แสง พืชบางชนิดต้องการแสงกระตุ้นการงอกของเมล็ด เช่น หญ้า ปอกระเจา ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม และพริก เป็นต้น แต่พืชบางชนิดไม่ต้องการแสงในการงอกของเมล็ด เช่น พืชตระกูลหอม หรือไม้ หัว เป็นต้น 2) ปัจจัยภายใน (internal factor) - การพักตัวของเมล็ด (seed dormancy) เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของพืช ที่ทาให้เมล็ดพืชงอกช้ากว่า ปกติ ซึ่งการพักตัวอาจมาหลายสาเหตุ เช่น เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนาเกินไป ทาให้น้าและแก๊สออกซิเจน ผ่านเข้าไปไม่ได้ หรือเมล็ดบางชนิดมีสารยับยั้งการงอกของเมล็ด หรือเอ็มบริโอภายในเมล็ดยังเจริญเติบโตไม่ เต็มที่ หรืออาจมาจากภายในเมล็ดมีปริมาณเอนโดสเปิร์มน้อยมากจึงงอกเองได้ยากในสภาพธรรมชาติ
  • 6. รูปแบบการงอกของเมล็ด (germination pattern) สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่เหนือดิน (epigeal germination) เป็นรูปแบบการงอกเมล็ดที่เมื่อ เจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนแล้วจะมีใบเลี้ยงชูขึ้นมาเหนือดินเพราะส่วนของลาต้นใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) เจริญดี ทาให้สามารถชูส่วนของใบเลี้ยงขึ้นมาอยู่เหนือดินได้ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ เมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่ และส่วนที่เห็นอยู่ เหนือดินคือส่วนของลาต้นที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง ละหุ่ง เป็นต้น 2) การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน (hypogeal germination) เป็นรูปแบบการงอกเมล็ดที่เมื่อ เจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนแล้วใบเลี้ยงจะยังไม่เจริญขึ้นมาเหนือดิน เนื่องจากส่วนของลาต้นใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) เจริญไม่ดีทาให้ไม่สามารถชูส่วนของใบเลี้ยงขึ้นมาเหนือดินได้ หรือในบางกรณีอาจจะรวมถึงเอน โดสเปิร์มที่ยังตกค้างอยู่ใต้ดินด้วย การงอกในลักษณะนี้มักพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ข้าว แต่ก็มีพืช ใบเลี้ยงคู่บางชนิดที่มีการงอกในรูปแบบนี้ เช่น ถั่วลันเตา การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ เป็นกระบวนการหาความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นการ ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งต่าง ว่าเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดสมควรเลือกมาปลูกให้ผลผลิตสูง เพียงพอในระดับคุ้มค่ากับการลงทุนเชิงเศรษฐกิจมากที่สุด วิธีการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์สามารถทาได้ โดยนาเมล็ดจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจานวนเมล็ดที่งอกทุกวัน จากนั้นนามา คานวณหาค่าดัชนีการงอกโดยใช้สูตรดัชนีการงอก คือ ผลรวมของอัตราส่วนจานวนเมล็ดที่งอกต่อจานวนวัน หลังเพาะเมล็ด แล้วนาค่าดัชนีการงอกที่ได้มาเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากสถานที่อื่น ภาพแสดงรูปแบบการงอกของเมล็ด แบบใบเลี้ยงอยู่เหนือดินและแบบ ใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน
  • 7. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ของพืชโดยการผลิตพืชต้นใหม่ ขึ้นจากพืชต้นเดิมด้วยวิธีการต่าง ที่ไม่ใช่การใช้เซลล์สืบพันธุ์ เช่น การปักชา การติดตา การตอนกิ่ง การทาบ กิ่ง เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความเหมาะสมสาหรับพืชแต่ละชนิด ส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์ - พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยลาต้น มักเป็นพวกลาต้นใต้ดินซึ่งใช้ในการสะสมอาหาร เช่น ขิง ข่า ขมิ้น แห้ว เผือก หอม กระเทียม มันฝรั่ง ว่านสี่ทิศ เป็นต้น - พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง โดยการปักชา ตอน ติดตา ทาบกิ่งหรือเสียบยอด เช่น ชบา พู่ระหง มะลิ โกสน กุหลาบ พุทรา มะม่วง ดาวเรือง ฤาษีผสม เป็นต้น - พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยราก มักเป็นรากชนิดที่สะสมอาหาร เช่น มันเทศ เป็นต้น - พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยใบ เช่น เศรษฐีพันล้าน ต้นตายใบเป็น (ต้นคว่าตายหงายเป็น) ทองสามย่าน โคมญี่ปุ่น เป็นต้น วิธีการขยายพันธุ์พืช - การปักชา คือ การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช เช่น ใบ กิ่ง ลาต้น หรือรากออกจากต้นเดิมไปปักไว้ในดิน ทราย หรือขุยมะพร้าว โดยให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งส่วนต่าง ของพืชนั้นจะออกรากและ แตกยอดเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป ภาพแสดงกระบวนการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์
  • 8. - การตอนกิ่ง คือ การทาให้กิ่งออกรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นเดิม ซึ่งเมื่อกิ่งออกรากจานวนมากและ แข็งแรงแล้ว จึงตัดออกจากต้นเดิมแล้วนาไปปลูกต่อไป - การติดตา คือ การนาตาของพืชที่เป็นพันธุ์ดีมาติดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตเป็น พืชต้นใหม่ต่อไป - การทาบกิ่ง คือ การนาต้นพืช 2 ต้น ที่ต่างกันและยังมีรากอยู่มาเชื่อต่อกิ่งกัน โดยนากิ่งต้นตอไปทาบกับ กิ่งพันธุ์ดี ซึ่งเมื่อกิ่งทั้งสองเชื่อมติดกันดีแล้ว จึงตัดกิ่งพันธุ์ดีออกจากต้นเดิม ซึ่งต้นตอที่นามาทาบกิ่งจะทา หน้าที่เป็นระบบรากให้กับกิ่งพันธุ์ดี - การเสียบยอด คือ การนายอดของพืชที่เป็นพันธุ์ดีมาติด ต่อ หรือสอดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง ซึ่งเมื่อรอย แผลที่ต่อเชื่อมติดกันดีแล้ว พืชทั้งสองชนิดนี้จะเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกัน - การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Plant tissue culture) เป็นเทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์พืชที่นิยมใช้กัน มากในปัจจุบัน โดยการนาชิ้นส่วนของพืช เช่น ลาต้น ยอด ตาข้าง ใบ ก้านใบ เป็นต้น มาเพาะเลี้ยงบน อาหารสังเคราะห์ที่มีฮอร์โมนพืชเป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตและพัฒนา ซึ่งก็คือ ออกซินกับไซโทไคนิน การ เลี้ยงต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดเชื้อ เพื่อทาให้ชิ้นส่วนนั้น สามารถเจริญเติบโตและ พัฒนาเป็นต้นพืชสมบูรณ์ในปริมาณมากภายในระยะเวลาอันสั้น
  • 9. 3.1 การวัดการเจริญเติบโตของพืช - วิธีการวัดการเจริญเติบโตของพืชที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ การวัดมวลหรือน้าหนักของพืช สารับการวัด มวลโดยน้าหนักสดนั้น ผลที่ได้อาจไม่บ่งบอกถึงมวลชีวภาพที่แท้จริงทั้งหมดของพืชเพราะมีน้าเป็น องค์ประกอบอยู่ปริมาณมาก ส่วนการชั่งน้าหนักแห้งจะได้ค่ามวลชีวภาพที่แท้จริงแต่ต้องทาให้พืชที่ทาการ วัดตาย - การวัดความสูง ไม่สามารถใช้ได้กับพืชที่มีความสูงมากจนไม่สามารถวัดได้ ดังนั้น ในบางครั้งจึงต้องเปลี่ยน มาวัดเส้นรอบวงแทน หรือในพืชบางชนิดที่มีความสูงไม่เพิ่มขึ้นแต่มีการแผ่กิ่งก้านออกในวงกว้างก็จะใช้วิธี อื่นในการวัดการเจริญเติบโต เช่น การวัดขนาดของใบ การนับจานวนใบ การนับจานวนวงปี เป็นต้น - กราฟการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่งอกออกมาจากเมล็ดจนกระทั่งเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จะมีลักษณะ เป็นกราฟรูปตัว S (Sigmoid curve) โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) Lag phase เป็นระยะแรกซึ่งพืชจะมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างช้า 2) Log phase เป็นระยะที่พืชมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 3) Stationary phase เป็นระยะที่พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่จึงทาให้อัตราการเจริญเติบโตคงที่ %%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%% ภาพแสดงกระบวนการวัดการเจริญเติบโตของพืช
  • 10. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รายวิชาชีววิทยา 4 (ว30244) ครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ชื่อ-นามสกุล.................................................................................................ชั้น............ห้อง............เลขที่............ แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่อง การเจริญเติบโตของพืชดอก (Flowering Plant Growth and Development) 1. ผลของพืชในข้อใดจัดเป็นผลกลุ่มทั้งหมด ก. กุหลาบ น้อยหน่า องุ่น ข. ขนุน สาเก ลูกยอ ค. กระดังงา บัว การะเวก ง. สับปะรด ทับทิม ลองกอง 2. เมล็ดพืชในข้อใดที่มีรูปแบบการงอกแตกต่างจากข้ออื่น ก. ถั่วลันเตา ข. ข้าวเหนียว ค. หญ้าคา ง. อัญชัน 3. เมล็ดพืชในข้อใดเมื่อพัฒนาเต็มที่แล้วไม่พบเอ็นโดสเปิร์ม ก. ละหุ่ง มะขามเทศ ข. ข้าวสาลี มะม่วง ค. ถั่วลิสง มะนาว ง. กาแฟ มะพร้าว 4. ข้อใดลาดับการเปลี่ยนแปลงจากไมโครสปอร์ไปเป็นละอองเรณู ได้ถูกต้อง ก. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสไปเป็นสเปิร์มตัวที่ 1 และตัวที่ 2 ข. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิสไปเป็นสเปิร์มตัวที่ 1 และตัวที่ 2 ค. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสไปเป็นเจเนอเรทีฟนิวเคลียส และทิวบ์นิวเคลียส ง. แบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิสไปเป็นเจเนอเรทีฟนิวเคลียส และทิวบ์นิวเคลียส 5. โครงสร้างตามตาแหน่ง ก ของเมล็ดละหุ่ง ผ่าตามยาวเทียบได้กับข้อใด ก. จาวมะพร้าว ข. เปลือกเมล็ดทานตะวัน ค. เนื้อขนุน ง. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่คั่ว 6. เมล็ดถั่วลิสงที่เรารับประทานเจริญมาจากส่วนใด ก. ใบเลี้ยง ข. ผนังรังไข่ ค. เอนโดสเปิร์ม ง. ผนังของอินเทกกิวเมนท์ 7. ส่วนใดที่รับประทานได้ของพืชต่อไปนี้เจริญมาจากส่วนของรังไข่ ก. เนื้อมะละกอ , เนื้อลาไย ข. เนื้อมะพร้าว , เนื้อน้อยหน่า ค. เนื้อสตรอเบอรี่ , เนื้อแตงโม ง. เนื้อมะม่วง , เนื้อส้ม 8. ในการงอกของเมล็ดข้าวโพด ส่วนใดของเมล็ดไม่มีการเจริญยืดตัวออกมาพ้นเปลือกหุ้มเมล็ด ก. ใบเลี้ยง ข. เยื่อหุ้มเอพิคอทิล ค. แรดิเคิล ง. เยื่อหุ้มแรดิเคิล 9. พืชมีดอกชนิดหนึ่งมีโครโมโซมในกลีบเลี้ยง 6 แท่ง เอ็มบริโอ และเอ็นโดสเปิร์ม ในเมล็ดของพืชชนิดดังกล่าว ควรมี โครโมโซมเป็นเท่าใดตามลาดับ ก. 6 และ 9 ข. 6 และ 12 ค. 12 และ 12 ง.12 และ 18
  • 11. 10. ภาพดอกไม้ที่กาหนดให้มีตาแหน่งของรังไข่แบบใด (A) และจะเจริญให้ผลแบบใด (B) ก. (A) Inferior ovary (B) ผลเดี่ยว ข. (A) Superior ovary (B) ผลกลุ่ม ค. (A) Inferior ovary (B) ผลกลุ่ม ง. (A) Superior ovary (B) ผลรวม 11. ข้อใดถกต้องเกี่ยวกับเอนโดสเปิร์ม ก. เป็นส่วนที่สะสมอาหารไว้เป็นเนื้อของผลไม้ ข. เป็นสเปิร์มที่พร้อมจะเข้าผสมพันธุ์กับเซลล์ไข่ ค. เป็นเนื้อเยื่อที่เกิดมาจากการรวมตัวของสเปิร์มนิวเคลียสกับโพลาร์นิวคลีไอ ง. เป็นสเปิร์มที่ยังไม่พร้อมจะเข้าผสมกับเซลล์ไข่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างก่อน 12. ส่วนใดของพืชดอกที่เป็นส่วนของแกมีโทไฟท์ ก. เมล็ด และ ละอองเรณู ข. ออวุล และ เซลล์ไข่ ค. ละอองเรณู และ เซลล์ไข่ ง. เมล็ด และ โพลาร์นิวเคลียส 13. จาวตาลเป็นส่วนที่ชาวบ้านมักนามาเชอมกับน้าตาลเป็นขนมหวานทางภาคกลาง ส่วนที่เรียกว่าจาวตาล เป็นส่วนใด ของตาล ก. ส่วนยอดของต้นตาล ข. ส่วนหนึ่งของเมล็ดตาล ค. ส่วนหนึ่งของผลตาล ง. ส่วนหนึ่งของดอกตัวผู้ของตาล 14. ข้อใดไม่ถกต้อง ส่วนของเอ็มบริโอ พืชที่พบ ก Seed coat พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ข. Coleoptiles เฉพาะพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ค. Cotyledon เฉพาะพืชใบเลี้ยงคู่ ง. Radicle พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 15. กราฟใดแสดงอัตราการอยู่รอดของต้นมะขามได้ถูกต้อง ก. A ข. B ค. C ง. D 16. ส่วนแรกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่โผล่พ้นเหนือดินคือ ข้อใด
  • 12. ก. hypocotyl ข. epicotyls ค. coleoptiles ง. cotyledon 17. เนื้อมะพร้าวมีจานวนชุดของโครโมโซมเท่ากับส่วนของพืชในข้อใด ก. จาวตาล ข. เนื้อขนุน ค. เนื้อมะละกอ ง. เนื้อและน้ามะนาว 18. ส่วนประกอบใดของพืชที่ชาวบ้านนิยมรับประทานที่ไม่ได้เจริญมาจากการปฏิสนธิซ้อน ก. น้ามะพร้าว ข. เนื้อถั่วดา ค. ข้าวสาร ง. น้าตาลสด 19. ส่วนประกอบใดของเมล็ดที่เจริญมาจากส่วนของ embryo sac ก. embryo ข. endosperm ค. embryo และ testa ง. ทั้ง ก และ ข 20. พืชชนิดหนึ่งออกดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียจานวนมากใน 1 ดอก เมื่อติดผล พบว่ามี ลักษณะเป็นลูกเล็ก เรียงกันบนก้านประมาณ 8-10 ลูก พืชชนิดนี้จัดเป็นผลไม้ชนิดใด ก. ผลเดี่ยว ข. ผลกลุ่ม ค. ผลรวม ง. ผลเดี่ยวมีเนื้อและเปลือกนุ่ม 21. เกล็ดส้มที่อยู่ในกลีบส้มเป็นส่วนของ ก. ผนังรังไข่ ข. ผนังของออวุล ค. ผนังชั้นในของรังไข่ ง. อินเท็กคิวเมนท์ 22. ส่วนของผลไม้ที่มีโครโมโซม 3n คือข้อใด ก. เนื้อมะพร้าว ข. จาวมะพร้าว ค. กะลามะพร้าว ง. เปลือกมะพร้าว 23. ปัจจัยในข้อใดที่ทาให้พืชสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของสิ่งแวดลอมหรือถิ่นที่เจริญได้ดีที่สุด ก. มีละอองเรณูมาก ข. การมีการปฏิสนธิภายใน ค. มีเมล็ดที่มีระยะพักตัวยาว ง. มีเมล็ดจานวนมาก 24. ข้อความใดที่เหมาะสมที่สุดในการอธิบายความหมายของคาว่า "เมล็ด” ก. ส่วนที่อยู่ภายในเซลล์ ข. เป็นที่เกิดของ reproductive tissue ค. เป็น gametophyte ที่เปลี่ยนมาเป็น sporophyte ง. เป็น embryo ของพืชที่มีส่วนที่เป็นอาหารอยู่ล้อมรอบ 25. แกลบที่ได้จากการกะเทาะเปลือกของข้าวเป็นส่วนของ ก. ใบเลี้ยง ข. ใบประดับ ค. เปลือกหุ้มเมล็ด ง. เปลือกหุ้มผล 26. แกนกลางของผลสับปะรดเจริญมาจากส่วนของ ก. ก้านดอก ข. กลีบดอก ค. ก้านช่อดอก ง. รังไข่ 27. หลังจากที่นักเรียนรับประทานเนื้อพุทราแล้ว ส่วนที่มีลักษณะแข็งสีน้าตาลที่ติดกับเนื้อส่วนที่เห็นดังกล่าว เป็นส่วน เดียวกับข้อใด ก. เปลือกหุ้มเมล็ดถั่ว ข. เนื้อสีแดงของแตงโม ค. เปลือกและกาบมะพร้าว ง. เนื้อสีเหลืองของขนุน 28. เอ็มบริโอของพืชมีดอกคือ ก. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ดทั้งหมด
  • 13. ข. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ด ยกเว้นใบเลี้ยง ค. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ด ยกเว้นเอนโดสเปิร์ม ง. กลุ่มเนื้อเยื่อที่กาลังเจริญภายในเยื่อหุ้มเมล็ด ยกเว้นใบเลี้ยงและเอนโดสเปิร์ม 29. ส่วนใดต่อไปนี้ พบได้ทั้งในเมล็ดละหุ่งและเมล็ดข้าวโพด ก. เอนโดสเปิร์ม และไฮโพคอทิล ข. ใบเลี้ยง และแรดิเคิล ค. เอนโดสเปิร์ม และใบเลี้ยง ง. เอพิคอทิล และเยื่อหุ้มเอพิคอทิล 30. ถ้านาเมล็ดถั่วดามาเพาะลงในกะบะดิน จะพบการเจริญเป็นอย่างไร ก. ไฮโพคอทิลจะงอกออกมาก่อนเพื่อชูลาต้นขึ้นไปในอากาศเพื่อให้พืชได้รับแสง ข. แรดิเคิลจะงอกออกมาก่อนเพื่อเจริญต่อไปเป็นรากเพื่อยึดดิน และช่วยดูดน้าและเกลือแร่ ค. เอพิคอทิลจะงอกออกมาก่อนเพื่อให้พืชได้สร้างใบใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ง. แรดิเคิลและไฮโพคอทิลจะงอกออกมาพร้อม กันเพื่อจะมีรากเจริญลงไปในดินและต้นเจริญขึ้นใน อากาศ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ ชื่อ-นามสกุล.................................................................................................ชั้น............ห้อง............เลขที่............ กระดาษคาตอบแบบทดสอบ เรื่อง เรื่อง การเจริญเติบโตของพืชดอก (Flowering Plant Growth and Development)  ก่อนเรียน วันที่...........................  หลังเรียน วันที่........................... ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ก ข ค ง ข้อ 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ก ข ค ง ได้ .......................คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน ลงชื่อ..................................................ผู้ตรวจ (นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์) ครูผู้สอน วันที่ตรวจ............................................