SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
Reflection
1. การเช่า Hosting และการจดโดเมน
จากการที่ได้ทําการศึกษาในเรื่อง การเช่า Hosting และการจดโดเมน ทําให้ทราบถึงรายละเอียดและ
ขั้นตอนของการเช่า Hosting และการจดโดเมน ดังนี้
ขอขอบพระคุณลูกค้า ที่มอบความไว้วางใจเลือกใช้บริการ HostingLotus เราได้ดําเนินการ สร้าง
พื้นที่ Hosting Hosting พื้นที่ 10 GB Unlimited Datatransfer & Add Domain สําหรับโดเมน
ced504.com ให้ท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามรายละเอียดดังนี้
- การกําหนด Name Server
หากท่านไม่ได้จดทะเบียนโดเมนเนม หรือต่ออายุโดเมนเนมกับทางเรา
ให้ท่านตั้งค่า Name Server ของดังนี้
Primary Name Server
Nameserver 1 : ns109.hostinglotus.net
Nameserver 1 IP : 119.59.120.23
Secondary Name Server
Nameserver 2 : ns110.hostinglotus.net
Nameserver 2 IP : 119.59.120.23
- Direct Admin Control Panel
ท่านสามารถเข้าใช้งาน Direct Admin Control Panel เพื่อสร้าง Email Account / Database /
Subdomain ได้ที่
https://119.59.120.23:2222/ หรือ https://www.ced504.com:2222/
Username: cedcom1
Password: wj025rD0nI
คู่มือการเข้าใช้งาน Direct Admin Control Panel
http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/6/Contol-Panel-DirectAdmin
- FTP Server
ท่านสามารถอัพโหลดเว็บไซต์ของท่านมาที่ server ด้วยโปรแกรม FTP Client ต่างๆ
โดยใช้ค่าดังต่อไปนี้ในการล็อกอิน
FTP Hostname: ftp.ced504.com
FTP Username: cedcom1
FTP Password: wj025rD0nI
โดยนําข้อมูลเว็บไซต์ไปไว้ในโฟลเดอร์สําหรับเว็บไซต์ : public_html
- คู่มือ การ Upload File ขึ้น Server ผ่าน FTP Client โดยใช้ โปรแกรม FileZilla
http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/41/-FTP-File--Server--Program-
Filezilla.html
- คู่มือ การ Upload File ขึ้น Server ผ่าน FTP Client โดยใช้ Windows Explore
http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/42/-FTP-File--Server--Browser.html
- Email Settings ท่านสามารถสร้าง email account ได้ผ่านทาง Direct Admin Control Panel
เช็คอีเมล์ผ่านทางเว็บ (web mail) คือhttp://www.ced504.com/webmail
- คู่มือการสร้าง Email Account
http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/20/-Email-Account.html
- การตั้งค่ารับและส่งอีเมล์ เพื่อเช็คอีเมล์ผ่านทาง Outlook
- Incoming Mail Server (POP3) : mail.ced504.com
- Outgoing Mail Server (SMTP) : mail.ced504.com
- Username (ต้องตามด้วย @ced504.com ) และ Password ตามที่สร้างขึ้นผ่านทาง Direct
Admin Control Panel
- คู่มือ การใช้งาน Microsoft Outlook เพื่อ ใช้งาน E-Mail Account
http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/34/-Microsoft-Outlook-2007.html
- คู่มือการใช้งานทั้งหมด ของ HostingLotus
http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase.php
- หากท่านติดขัดในการใช้งานหรือมีข้อสงสัยใดๆ ท่านสามารถค้นหาข้อมูลหรือแจ้งปัญหาการใช้งานได้
ที่หน้าเว็บไซต์ http://www.hostinglotus.com/hosting/
2. การวิเคราะห์เว็บไซต์
จากที่ได้ทําการศึกษา เรื่อง การวิเคราะห์เว็บไซต์ ทําให้ทราบถึงการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี และมี
คุณภาพ (จิตเกษม พัฒนาศิริ.2539; ธวัชชัย ศรีสุเทพ. 2544: 16; วิเศษศักดิ์ โครตอาษา. 2542: 184) ดังนี้
(1) ความเรียบง่าย หมายถึง การสื่อสารเนื้อหาถึงผู้ใช้ให้อ่านเข้าใจง่าย โดยจํากัด องค์ประกอบ
เสริมที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนอให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จําเป็นเท่านั้น
(2) ความสม่ําเสมอ หมายถึง สามารถสร้างความสม่ําเสมอให้กับเว็บไซต์ได้ นําเสนอ เว็บไซต์ใน
รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เนื่องจากผู้ใช้จะรู้สึกกับเว็บไซต์ว่าเป็นเสมือนสถานที่ จริง ถ้าลักษณะของแต่
ละหน้าในเว็บไซต์เดียวกันนั้นแตกต่างกันมากผู้ใช้ก็จะเกิดความสับสน และไม่แน่ใจว่ากําลังอยู่ในเว็บเดิม
หรือไม่ ดังนั้นรูปแบบของหน้าเว็บ รูปแบบของกราฟิก ระบบนําทางและกลุ่มสีที่ใช้ควรจะมีความคล้ายคลึงกัน
ตลอดทั้งเว็บไซต์
(3) ความเป็นเอกลักษณ์ การออกแบบต้องคํานึงถึงลักษณะขององค์กร เนื่องจาก รูปแบบของ
เว็บไซต์สามารถสะท้อนถึงลักษณะขององค์กรนั้นได้ การใช้ชุดสี ชนิดตัวอักษร รูปภาพ และกราฟิกจะมีผลต่อ
รูปแบบของเว็บไซต์อย่างมาก ผู้ออกแบบจึงต้องเลือกใช้องค์ประกอบเหล่านี้ อย่างเหมาะสม
(4) เนื้อหาที่มีประโยชน์ เนื้อหาถือเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้นในเว็บไซต์ ควร
จัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ โดยมีการปรับปรุงและเพิ่มเติม ให้ทันต่อ
เหตุการณ์อยู่เสมอ เนื้อหาที่สําคัญที่สุดคือเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาเอง และไม่ซ้ํากับเว็บอื่น เพราะจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ผู้ใช้ให้เข้ามาในเว็บไซต์อยู่เสมอ ต่างจากเนื้อหาที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ซึ่งเมื่อผู้ใช้รู้ถึงแหล่งข้อมูลจริงๆ
แล้วก็ไม่จําเป็นต้องกลับมาที่จุดเชื่อมโยงเหล่านั้นอีก
(5) ระบบนําทางที่ใช้งานง่าย ระบบนําทางเป็นองค์ประกอบที่สําคัญมากของเว็บไซต์ ต้อง
ออกแบบให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายและใช้งานสะดวก โดยใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคําอธิบาย ที่ชัดเจน
รวมทั้งมีรูปแบบและลําดับของรายการที่สม่ําเสมอ เช่น วางไว้ในตําแหน่งเดียวกัน ของทุกๆ หน้า
นอกจากนั้นถ้าใช้ระบบนําทางแบบกราฟิกในส่วนบนของหน้าเว็บแล้ว อาจเพิ่มระบบ นําทางที่เป็นตัวอักษรไว้
ที่ตอนท้ายของหน้าเว็บ เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้โปรแกรม ค้นดูอีกทางหนึ่ง
(6) มีลักษณะที่น่าสนใจ เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าลักษณะหน้าเว็บของเว็บไซต์ จะมีความ
น่าสนใจหรือไม่ เพราะเกี่ยวข้องกับความชอบของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดีหน้าเว็บของ เว็บไซต์จะมี
ความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ เช่น คุณภาพของกราฟิกที่จะต้อง สมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยของ
ความเสียหายเป็นจุดด่างหรือมีขอบเป็นขั้นบันไดให้เห็น การใช้ชนิด ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา และการใช้
กลุ่มสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม เป็นต้น
(7) การเข้าใช้งานได้ไม่จํากัด ควรออกแบบเว็บไซต์ให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงได้มากที่สุด โดยไม่มีการ
บังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติม หรือต้องเลือกใช้โปรแกรมค้นดูโปรแกรม ใดโปรแกรมหนึ่งจึงจะ
สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ สามารถแสดงผลได้ในทุกระบบปฏิบัติการและที่ ความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่าง
ไม่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นสําหรับเว็บที่มี ผู้ใช้บริการจํานวนมาก หรือมีกลุ่มเป้าหมายที่
หลากหลาย
(8) มีคุณภาพในการออกแบบ มีความสําคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เช่นเดียวกับสื่อ ประเภท
อื่นๆ ที่ต้องออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ เว็บที่ทําขึ้นอย่างไม่มีมาตรฐานในการออกแบบและ
การจัดระบบข้อมูลนั้น เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเกิดปัญหาข้อมูลสับสน ไม่เป็นระบบ และไม่สามารถ
สร้างความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้ได้
(9) ระบบใช้งานได้ถูกต้อง ระบบการทํางานต่างๆ ในเว็บไซต์จะต้องมีความแน่นอน และทําหน้าที่
ได้อย่างถูกต้อง เช่น ถ้ามีแบบฟอร์มสําหรับให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลต้องแน่ใจว่าแบบฟอร์ม นั้นสามารถใช้การได้จริง
หรืออย่างง่ายที่สุดก็คือ จุดเชื่อมโยงต่างๆ ที่มีอยู่นั้นจะต้องเชื่อมโยงไปยัง หน้าที่มีปรากฏอยู่จริงและถูกต้อง
ด้วย ความรับผิดชอบของผู้จัดทําเว็บคือการทําให้ระบบเหล่านั้น ใช้งานได้ตั้งแต่แรกและยังต้องคอยตรวจสอบ
อยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งเหล่านั้นยังทํางานได้ดี โดยเฉพาะจุดเชื่อมโยงที่เชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นซึ่งอาจมีการ
เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นจะมีคุณภาพดีหรือไม่นั้น ผู้ใช้เป็นผู้ตัดสิน โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ใช้
เห็น เว็บไซต์เป็นครั้งแรก เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน เพื่อให้
ผู้ใช้กลับมาใช้เว็บไซต์อีกครั้ง
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : เมื่อเราเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการจัดทําดูแล
และบํารุงรักษาเว็บไซต์ของโรงเรียน ดังนั้นแล้วจึงต้องรู้ตั้งแต่การวิเคราะห์เว็บไซต์ว่าควรมีหลักการออกแบบ
เว็บไซต์ที่ดี และมีคุณภาพควรทําอย่างไร และสามารถอธิบายแนะนําให้ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นทําเว็บไซต์ได้
3. การศึกษา ทฤษฎี แนวคิด การออกแบบเว็บไซต์
จากทีได้ทําการศึกษา เรื่อง การศึกษา ทฤษฏี แนวคิดการออกแบบเว็บไซต์ ทําให้ทราบถึงการ
ออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์อย่างมีหลักการ ดําเนินการตามขั้นตอนที่ชัดเจน จะทําให้ผู้สร้าง
เว็บไซต์สามารถใส่ใจรายละเอียดที่จําเป็นในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งจะช่วยป้องกัน ข้อผิดพลาดที่
อาจเกิดขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทําให้เว็บประสบความล้มเหลว ให้ผู้สร้างได้เว็บไซต์ ที่ตรงกับเป้าหมายตาม
ต้องการ มีประโยชน์ และให้ความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ การสร้าง เว็บไซต์ที่ดีนั้นต้องอาศัยการ
ออกแบบและจัดระบบข้อมูลอย่างเหมาะสม ดวงพร เกี๋ยงคํา (2549: 27) มีขั้นตอนดังนี้
(1) กําหนดเป้าหมายและวางแผน การพัฒนาเว็บไซต์ควรกําหนดเป้าหมายและวางแผน ไว้
ล่วงหน้า เพื่อให้การทํางานในขั้นต่อไปมีแนวทางที่ชัดเจน เรื่องหลัก ๆ ที่ควรทําในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย
(1.1) กําหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเว็บไซต์นี้ต้องการ
นําเสนอหรือต้องการให้เกิดผลอะไร
(1.2) กําหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ใช้หลักคือใคร และออกแบบเว็บไซต์
ให้ตอบสนองความต้องการผู้ใช้กลุ่มนั้นให้มากที่สุด
(1.3) เตรียมแหล่งข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลคือสาระสําคัญที่แท้จริงของเว็บไซต์ ต้อง
รู้ว่าข้อมูลที่จําเป็นต้องใช้มาจากแหล่งใดบ้าง เช่น ถ้าเป็นเว็บข่าวสาร ข่าวนั้นจะมาจากแหล่งใด มีลิขสิทธิ์
หรือไม่ เป็นต้น
(1.4) เตรียมทักษะหรือบุคลากร การสร้างเว็บไซต์ต้องอาศัยทักษะหลายด้าน เช่น
ในการเตรียมเนื้อหา ออกแบบกราฟิก เขียนโปรแกรม และการดูแลเครื่องบริการ เป็นต้น ซึ่งถ้าเป็น เว็บไซต์
ขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้บุคลากรเป็นจํานวนมาก แต่สําหรับเว็บไซต์เล็กๆ ที่สามารถดูแล ได้โดยบุคลากรเพียง
คนเดียวก็จะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ เพื่อเตรียมพร้อม
(1.5) เตรียมทรัพยากรต่างๆ ที่จําเป็น เช่น โปรแกรมสําหรับสร้างเว็บไซต์ โปรแกรม
สําหรับสร้างกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวและสื่อประสม โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities) อื่น ๆ ที่จะต้องใช้
เป็นต้น
(2) วิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล เป็นการนําข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากขั้นแรก นํามา
ประเมิน วิเคราะห์และจัดระบบ เพื่อให้ได้โครงสร้างข้อมูลและข้อกําหนด ซึ่งจะใช้เป็นกรอบ สําหรับการ
ออกแบบและดําเนินการในขั้นต่อไป ผลที่ได้รับจากขั้นนี้ประกอบไปด้วย
(2.1) แผนผังโครงสร้างของเว็บไซต์ สารบัญ ลําดับการนําเสนอหรือผังงาน
(2.2) ระบบนําทาง ซึ่งผู้ใช้จะใช้สําหรับเปิดเข้าไปยังส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น
โครงสร้างและรูปแบบของเมนู เป็นต้น
(2.3) องค์ประกอบต่างๆ ที่จะนํามาใช้ในเว็บเพจมีอะไรบ้าง เช่น ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ สื่อประสม แบบฟอร์ม ฯลฯ อะไรบ้างที่โปรแกรมค้นดูของผู้ใช้ สนับสนุน
และอะไรบ้างที่ต้องอาศัยโปรแกรมเสริม
(2.4) ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะและรูปแบบของเว็บเพจ
(2.5) ข้อกําหนดของโปรแกรมภาษาสคริปต์ หรือโปรแกรมประยุกต์สําหรับเว็บ
(Web application) และฐานข้อมูลที่ใช้ในเว็บไซต์
(2.6) คุณสมบัติของเครื่องบริการเว็บ รวมถึงข้อจํากัด และบริการเสริม
ต่าง ๆ ที่มีให้
(3) ออกแบบเว็บเพจและเตรียมข้อมูล เป็นขั้นตอนการออกแบบเค้าโครงและลักษณะ ด้าน
กราฟิกของหน้าเว็บเพจ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดอารมณ์ความรับรู้ต่อเว็บเพจตามที่ผู้สร้างต้องการ นอกจากนี้ยังรวมไป
ถึงการกําหนดสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่างๆ ที่ไม่ใช่กราฟิก เช่น ชนิด ตัวอักษร ขนาด และสี
ข้อความ สีพื้นบริเวณที่ว่าง เป็นต้น ในส่วนของเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการ นําเนื้อหาที่เลือกไว้มาปรับแก้และ
ตรวจทานความถูกต้อง เพื่อให้พร้อมสําหรับจะนําไปใส่เว็บเพจ แต่ละหน้าในขั้นตอนถัดไป
(4) ลงมือสร้างและทดสอบ เป็นขั้นตอนที่เว็บเพจจะถูกสร้างขึ้นทีละหน้าโดยอาศัย เค้าโครงและ
องค์ประกอบกราฟิกตามที่ออกแบบไว้ เนื้อหาต่างๆ จะถูกนํามาใส่และจัดรูปแบบ จุดเชื่อมโยงและมีระบบ
นําทางไปสู่หน้าเว็บต่างๆ เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาควรได้รับการทดสอบก่อนที่ จะนําออกเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องความถูกต้องของเนื้อหา การทํางานของจุดเชื่อมโยงและระบบ นําทาง ตรวจหาความผิดพลาดของ
โปรแกรมภาษาสคริปต์และฐานข้อมูล นอกจากนี้ก็ควรทดสอบโดยใช้สภาพแวดล้อมที่เหมือนกับของ
กลุ่มเป้าหมาย เช่น รุ่นของโปรแกรมค้นดู ความละเอียดของ จอภาพ เพื่อดูว่าผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายสามารถชม
เว็บไซต์ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพหรือไม่
(5) เผยแพร่และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จัก โดยทั่วไปการนําเว็บไซต์ขึ้นเผยแพร่บน อินเทอร์เน็ตจะทํา
ด้วยการอัพโหลด (Upload) แฟ้มข้อมูลทั้งหมด คือ เอชทีเอ็มแอลและแฟ้มข้อมูล อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้นไปเก็บ
บนเครื่องบริการที่เปิดบริการไว้ การอัพโหลดเว็บไซต์อาจทําด้วย โปรแกรมสร้างเว็บไซต์หรืออาจใช้โปรแกรม
อรรถประโยชน์ประเภทโปรแกรมถ่ายโอนข้อมูล (FTP) หรือใช้เครื่องมืออื่นบนเครื่องบริการเว็บ หลังจากนั้น
เว็บไซต์ควรได้รับการทดสอบอีกครั้ง เพื่อตรวจหาปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถทดสอบบนคอมพิวเตอร์ของ
ผู้สร้างเอง เช่น การเชื่อมโยง ของเว็บเพจกับเว็บไซต์อื่น และการทํางานของโปรแกรมค้นดูกับฐานข้อมูล ซึ่ง
อาจทําไม่ได้ บนเครื่องของผู้สร้างเว็บ หรือบนเครื่องบริการเว็บอาจมีสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป เว็บไซต์ที่จะ
ประสบความสําเร็จ นอกจากต้องมีเนื้อหาที่ดี มีการวางโครงสร้างการออกแบบที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องได้รับ
การโฆษณา และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักในผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายหรือในวงกว้างออกไปอีก ด้วย การส่งเสริมนี้มีกล
ยุทธ์ที่ทําได้หลายวิธี ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้งบประมาณจํานวนมากเสมอไป โดยสามารถทําได้ตั้งแต่แบบง่ายๆ คือ
การแลกเปลี่ยนที่อยู่เว็บ ประกาศบนเว็บบอร์ด (Webboard) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) เพิ่ม
ข้อมูลในโปรแกรมค้นหาหรือสารบบเว็บ (Web directory) จนถึงแบบที่ใช้งบประมาณมากขึ้น เช่น การจัด
งานเปิดตัว การลงโฆษณา บนเว็บไซต์อื่น ในสิ่งพิมพ์ หรือในวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น
(6) ดูแลและปรับปรุงต่อเนื่อง เว็บไซต์ที่เผยแพร่ออกไปแล้ว ควรดูแลโดยตลอด ซึ่งหน้าที่นี้
ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบเครื่องบริการเว็บว่าไม่หยุดทํางานบ่อย จุดเชื่อมโยงไปยัง ภายนอกยังคงใช้งาน
ได้หรือไม่ คอยตอบอีเมลหรือคําถามที่มีผู้ฝากไว้บนเว็บเพจ ถ้าเป็นข่าวสาร ก็ต้องปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
ตลอดเวลา ถ้ามีการใช้ฐานข้อมูลก็ต้องสํารองข้อมูลอย่างสม่ําเสมอ นอกจากนี้ควรตรวจสอบสถิติของการเข้า
ใช้เป็นระยะๆ หลังจากที่เว็บไซต์ได้รับการเผยแพร่ไประยะ หนึ่ง ควรปรับปรุงเพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกว่ามีความ
เปลี่ยนแปลง มีความใหม่ ทันสมัย
หลักการออกแบบและนําเสนอด้วยเว็บไซต์ให้น่าสนใจ และดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชม
จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงหลักการและวิธีการในการออกแบบและการนําเสนอเว็บไซต์ เพราะถ้าหาก
ทําไปโดยปราศจากการออกแบบหรือการนําเสนอที่ดีแล้ว ผู้ใช้อาจจะไม่สนใจและใส่ใจ ที่จะเข้ามาใช้ ทําให้
การนําเสนอในครั้งนั้นสูญเปล่าได้ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการ ของการนําเสนอก่อน ซึ่ง
สามารถทําได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและความชอบ ของผู้พัฒนา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่
ต้องการนําเสนอ ทั้งนี้นักวิชาการหลายท่านได้เสนอข้อแนะนํา
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้ทราบถึงการออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์อย่างมี
หลักการ ดําเนินการตามขั้นตอนที่ชัดเจน ทําให้เราที่จะไปเป็นครูในอนาคต สามารถใส่ใจรายละเอียดที่จําเป็น
ในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งจะช่วยป้องกัน ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทําให้เว็บ
ประสบความล้มเหลว ให้ผู้สร้างได้เว็บไซต์ ที่ตรงกับเป้าหมายตามต้องการ มีประโยชน์ และให้ความสะดวกแก่
ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ การสร้าง เว็บไซต์ที่ดีนั้นต้องอาศัยการออกแบบและจัดระบบข้อมูลอย่างเหมาะสมนั่นเอง
4. การจัดทาหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : เป็นการสรุปเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา ทฤษฎี แนวคิด และการ
ออกแบบเว็บไซต์ เราสามารถนําไปใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ของตนเองได้
5. การนาเสนอการคัดเลือกเว็บจากการวิเคราะห์
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้ได้รู้ว่าการออกแบบเว็บไซต์ ต้องคํานึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่
สําคัญ ภายในเว็บไซต์ด้วย เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการนําเอา เอกลักษณ์สีของมหาวิทยาลัยเข้า
มาช่วยในการออกแบบ
6. การสอบภาคปฏิบัติ Install joomla Component Module editor
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : เราได้ทดลอง และปฏิบัติจริงใน โปรแกรม joomla ได้ศึกษาและเรียนรู้
ซึ่งสามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้
7. การอ่านหนังสือ Share Books วิถีการเรียนรู้ครูเพื่อศูนย์ แต่ละภาค
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ได้ความรู้ และได้รู้จักกระบวนการจัดการเรียน การสอนในรูปแบบต่างๆ
ที่ไม่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ครูจะต้องมีความกระตือรือร้นและรู้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้คําแนะนํากับ
ผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
ภาคที่ 1 ทักษะเพื่อการพัฒนาการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21
ภาคที่ 2 แนวคิดการเรียนรู้สาหรับครูเพื่อศิษย์
ภาคที่ 3 จิตวิทยาการเรียนรู้สาหรับครูเพื่อศิษย์
8. การพัฒนาเว็บ รายบุคคล e-Portfolio
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ได้เว็บไซต์เป็นของตนเอง และได้ออกแบบเว็บไซต์ของเรา โดยนําหลัก
ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์ที่ได้เรียน และศึกษามาช่วยในการออกแบบเว็บไซต์ของเรา และรู้ขั้นตอนวีธีการ
ต่างๆ เช่น การติดตั้งจาก joomla อัฟโหลดขึ้น host การ ติดตั้งไฟล์ต่างๆ บน host และการตกแต่งหน้า
เว็บไซต์
9. การวางแผนการเรียน
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้เราได้วางแผนการเรียนของเราว่าในวิชานี้เรามีจุดมุ่งหมายอะไร
และก็ทําให้จุดมุงหมายที่เราต้องการเป็นไปตามความต้องการ โดยวางแผนว่าเราจะต้องอ่านหนังสือวันละกี่
หน้า และหมั่นศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการทําเว็บไซต์เพื่อให้ประสบผลสําเร็จในรายวิชานี้
10. การวางแผนชีวิต
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้เราได้วางแผนชีวิตของเราว่าในแต่ละช่วงอายุเราจะทําอะไรบ้าง
และรู้จักการใช้ชีวิตที่มีเป้าหมายเป็นการวางแผนการดําเนินชีวิตให้ประสบความสําเสร็จในอนาคต
11. การพัฒนาเว็บหลักที่ได้รับมอบหมายจากรายวิชา
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : กลุ่มของพวกเรานั้นได้มีการเลือกเว็บ
http://www.auckland.ac.nz/uoa/thai มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเว็บไซต์ และได้รับ
มอบหมายจากท่านอาจารย์ประจําวิชา ได้ทําการออกแบบโปรแกรมสร้างเว็บเพื่อการศึกษา ระดับปริญญาตรี
ซึ่งได้ทําการออกแบบเทมเพตใหม่แล้วนําข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับลงไปในเว็บ พร้อมอ้างอิงตามทฤษฏีต่าง ๆ ที่ได้
ไปศึกษามา ซึ่งจะได้แบ่งหน้าที่ภายในกลุ่มเป็น ฝ่ายทฤษฎี ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายกราฟฟิกส์ และออกแบบ ฝ่าย
โปรแกรมเมอร์
12. รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผล
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ :
ข้อดี รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา โปรแกรมสร้างเว็บเพื่อการศึกษา เป็นการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยให้ผู้เรียนทําการศึกษาและร่วมกันทํางานเป็นกลุ่ม ผล
ปรากฏว่า การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ มีผลดีกับตัวนักศึกษาเป็นอย่างมากคือเป็นการศึกษาแบบเพื่อนช่วย
เพื่อนนั้นเอง
ข้อเสีย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ คนที่สนใจทํางานก็สนใจทํางาน แต่สมาชิกบางคนใน
กลุ่มก็ไม่สนใจ จึงทําให้ไม่มีความรู้ในการเรียนในรายวิชา โปรแกรมสร้างเว็บเพื่อการศึกษา
13. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมภาษณ์ (การส่งแฟ้มสะสมผลงานครั้งแรก)
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการสัมภาษณ์ ในครั้ง
นี้ผลปรากฏว่า ได้รับคําแนะนําจากท่านอาจารย์ประจํารายวิชาในเรื่องของการ อ่านหนังสือ และสนใจศึกษา
เนื้อหาใหม่ ๆ มากกว่านี้
14. การ Review Component Module ต่างๆ ในรูปแบบ Video และ Article
สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : กลุ่มของพวกเราได้ การสร้าง Moule tabs gk4 for jomla ดิฉันและ
สมาชิกในกลุ่ม จึงได้ทําการศึกษาข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ โดยมีหัวหน้ากลุ่มช่วยมาอธิบายและทําการศึกษา
อธิบาย เรื่อง การสร้าง Moule tabs gk4 for jomla ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มฟัง และสมาชิกทุกคนภายใน
กลุ่มจึงมีการแบ่งหน้าที่ในการทํางานทั้ง ฝ่ายบทความเนื้อหา ฝ่ายจัดทําวิดีโอตัวต่อ ฝ่ายโปรแกรมเมอร์ ทําให้
การทํางานของกลุ่มพวกเราเป็นไปด้วยดีและสําเร็จ เสร็จสิ้นออกมาเป็นผลงานของกลุ่มเรา

More Related Content

What's hot

What's hot (6)

ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบ
 
Websitebasic
WebsitebasicWebsitebasic
Websitebasic
 
โครงสร้างเว็บไซต์
โครงสร้างเว็บไซต์โครงสร้างเว็บไซต์
โครงสร้างเว็บไซต์
 
Joomla
JoomlaJoomla
Joomla
 
คู่มือ Power point
คู่มือ Power pointคู่มือ Power point
คู่มือ Power point
 
Javacentrix com chap06-0
Javacentrix com chap06-0Javacentrix com chap06-0
Javacentrix com chap06-0
 

Similar to Reflection

Course Syllabus การสร้าง Home page
Course Syllabus การสร้าง Home pageCourse Syllabus การสร้าง Home page
Course Syllabus การสร้าง Home pageKhon Kaen University
 
บทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลต
บทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลตบทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลต
บทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลตNakharin Inphiban
 
หน่วยที่ 2
หน่วยที่ 2หน่วยที่ 2
หน่วยที่ 2pom_2555
 
หนังสือเล่มเล็กทฤษฏี
หนังสือเล่มเล็กทฤษฏีหนังสือเล่มเล็กทฤษฏี
หนังสือเล่มเล็กทฤษฏีDiiDy Moowhan Lesikagirl
 
คู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Word
คู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Wordคู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Word
คู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Wordjompon
 
ตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshop
ตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshopตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshop
ตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshoprubtumproject.com
 
สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์
สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์
สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์Taew Chom
 
wordpress คือ อะไร
 wordpress คือ อะไร wordpress คือ อะไร
wordpress คือ อะไรNaruk Naendu
 
หลักการออกแบบเว็บไซต์
หลักการออกแบบเว็บไซต์หลักการออกแบบเว็บไซต์
หลักการออกแบบเว็บไซต์kruple
 
พื้นฐานการออกแบบเว็บ
พื้นฐานการออกแบบเว็บพื้นฐานการออกแบบเว็บ
พื้นฐานการออกแบบเว็บsombatse
 
เวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลกเวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลกaew1234
 
เวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลกเวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลกaew1234
 
เวบ เล มเลก
เวบ เล มเลกเวบ เล มเลก
เวบ เล มเลกJaingarm Mai
 

Similar to Reflection (20)

หลักการออกแบบเว็บไซต์
หลักการออกแบบเว็บไซต์หลักการออกแบบเว็บไซต์
หลักการออกแบบเว็บไซต์
 
Course Syllabus การสร้าง Home page
Course Syllabus การสร้าง Home pageCourse Syllabus การสร้าง Home page
Course Syllabus การสร้าง Home page
 
Php
PhpPhp
Php
 
Re
ReRe
Re
 
บทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลต
บทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลตบทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลต
บทเรียนที่ 3 การปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ด้วยเทมเพลต
 
หน่วยที่ 2
หน่วยที่ 2หน่วยที่ 2
หน่วยที่ 2
 
Ict promotes learning (1)
Ict promotes learning (1)Ict promotes learning (1)
Ict promotes learning (1)
 
หนังสือเล่มเล็กทฤษฏี
หนังสือเล่มเล็กทฤษฏีหนังสือเล่มเล็กทฤษฏี
หนังสือเล่มเล็กทฤษฏี
 
คู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Word
คู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Wordคู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Word
คู่มือประกอบการสร้างเว็บไซต์ด้วย Word
 
ตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshop
ตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshopตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshop
ตัวอย่างบทที่ 2 ระบบ e-learning สอนphotoshop
 
สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์
สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์
สมุดเล่มเล็ก การออกแบบเว็บไซต์
 
คู่มือ Word
คู่มือ Wordคู่มือ Word
คู่มือ Word
 
wordpress คือ อะไร
 wordpress คือ อะไร wordpress คือ อะไร
wordpress คือ อะไร
 
Web browser คืออะไร
Web browser คืออะไรWeb browser คืออะไร
Web browser คืออะไร
 
หลักการออกแบบเว็บไซต์
หลักการออกแบบเว็บไซต์หลักการออกแบบเว็บไซต์
หลักการออกแบบเว็บไซต์
 
พื้นฐานการออกแบบเว็บ
พื้นฐานการออกแบบเว็บพื้นฐานการออกแบบเว็บ
พื้นฐานการออกแบบเว็บ
 
เวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลกเวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลก
 
เวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลกเวบ เล่มเลก
เวบ เล่มเลก
 
เวบ เล มเลก
เวบ เล มเลกเวบ เล มเลก
เวบ เล มเลก
 
PHP & Dreamweaver ch03
PHP & Dreamweaver  ch03 PHP & Dreamweaver  ch03
PHP & Dreamweaver ch03
 

More from เสย ๆๆๆๆ

การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เสย ๆๆๆๆ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เสย ๆๆๆๆ
 
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเสย ๆๆๆๆ
 
ทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบเสย ๆๆๆๆ
 
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาเสย ๆๆๆๆ
 
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาเสย ๆๆๆๆ
 
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาเสย ๆๆๆๆ
 

More from เสย ๆๆๆๆ (10)

การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
 
ทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบ
 
Presentation
PresentationPresentation
Presentation
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Theory of website design
Theory of website designTheory of website design
Theory of website design
 
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
 
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
 
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
 

Reflection

  • 1. Reflection 1. การเช่า Hosting และการจดโดเมน จากการที่ได้ทําการศึกษาในเรื่อง การเช่า Hosting และการจดโดเมน ทําให้ทราบถึงรายละเอียดและ ขั้นตอนของการเช่า Hosting และการจดโดเมน ดังนี้ ขอขอบพระคุณลูกค้า ที่มอบความไว้วางใจเลือกใช้บริการ HostingLotus เราได้ดําเนินการ สร้าง พื้นที่ Hosting Hosting พื้นที่ 10 GB Unlimited Datatransfer & Add Domain สําหรับโดเมน ced504.com ให้ท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามรายละเอียดดังนี้ - การกําหนด Name Server หากท่านไม่ได้จดทะเบียนโดเมนเนม หรือต่ออายุโดเมนเนมกับทางเรา ให้ท่านตั้งค่า Name Server ของดังนี้ Primary Name Server Nameserver 1 : ns109.hostinglotus.net Nameserver 1 IP : 119.59.120.23 Secondary Name Server Nameserver 2 : ns110.hostinglotus.net Nameserver 2 IP : 119.59.120.23 - Direct Admin Control Panel ท่านสามารถเข้าใช้งาน Direct Admin Control Panel เพื่อสร้าง Email Account / Database / Subdomain ได้ที่ https://119.59.120.23:2222/ หรือ https://www.ced504.com:2222/ Username: cedcom1 Password: wj025rD0nI คู่มือการเข้าใช้งาน Direct Admin Control Panel http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/6/Contol-Panel-DirectAdmin - FTP Server ท่านสามารถอัพโหลดเว็บไซต์ของท่านมาที่ server ด้วยโปรแกรม FTP Client ต่างๆ โดยใช้ค่าดังต่อไปนี้ในการล็อกอิน FTP Hostname: ftp.ced504.com FTP Username: cedcom1 FTP Password: wj025rD0nI โดยนําข้อมูลเว็บไซต์ไปไว้ในโฟลเดอร์สําหรับเว็บไซต์ : public_html
  • 2. - คู่มือ การ Upload File ขึ้น Server ผ่าน FTP Client โดยใช้ โปรแกรม FileZilla http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/41/-FTP-File--Server--Program- Filezilla.html - คู่มือ การ Upload File ขึ้น Server ผ่าน FTP Client โดยใช้ Windows Explore http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/42/-FTP-File--Server--Browser.html - Email Settings ท่านสามารถสร้าง email account ได้ผ่านทาง Direct Admin Control Panel เช็คอีเมล์ผ่านทางเว็บ (web mail) คือhttp://www.ced504.com/webmail - คู่มือการสร้าง Email Account http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/20/-Email-Account.html - การตั้งค่ารับและส่งอีเมล์ เพื่อเช็คอีเมล์ผ่านทาง Outlook - Incoming Mail Server (POP3) : mail.ced504.com - Outgoing Mail Server (SMTP) : mail.ced504.com - Username (ต้องตามด้วย @ced504.com ) และ Password ตามที่สร้างขึ้นผ่านทาง Direct Admin Control Panel - คู่มือ การใช้งาน Microsoft Outlook เพื่อ ใช้งาน E-Mail Account http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase/34/-Microsoft-Outlook-2007.html - คู่มือการใช้งานทั้งหมด ของ HostingLotus http://www.hostinglotus.com/hosting/knowledgebase.php - หากท่านติดขัดในการใช้งานหรือมีข้อสงสัยใดๆ ท่านสามารถค้นหาข้อมูลหรือแจ้งปัญหาการใช้งานได้ ที่หน้าเว็บไซต์ http://www.hostinglotus.com/hosting/ 2. การวิเคราะห์เว็บไซต์ จากที่ได้ทําการศึกษา เรื่อง การวิเคราะห์เว็บไซต์ ทําให้ทราบถึงการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี และมี คุณภาพ (จิตเกษม พัฒนาศิริ.2539; ธวัชชัย ศรีสุเทพ. 2544: 16; วิเศษศักดิ์ โครตอาษา. 2542: 184) ดังนี้ (1) ความเรียบง่าย หมายถึง การสื่อสารเนื้อหาถึงผู้ใช้ให้อ่านเข้าใจง่าย โดยจํากัด องค์ประกอบ เสริมที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนอให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จําเป็นเท่านั้น (2) ความสม่ําเสมอ หมายถึง สามารถสร้างความสม่ําเสมอให้กับเว็บไซต์ได้ นําเสนอ เว็บไซต์ใน รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เนื่องจากผู้ใช้จะรู้สึกกับเว็บไซต์ว่าเป็นเสมือนสถานที่ จริง ถ้าลักษณะของแต่ ละหน้าในเว็บไซต์เดียวกันนั้นแตกต่างกันมากผู้ใช้ก็จะเกิดความสับสน และไม่แน่ใจว่ากําลังอยู่ในเว็บเดิม หรือไม่ ดังนั้นรูปแบบของหน้าเว็บ รูปแบบของกราฟิก ระบบนําทางและกลุ่มสีที่ใช้ควรจะมีความคล้ายคลึงกัน ตลอดทั้งเว็บไซต์
  • 3. (3) ความเป็นเอกลักษณ์ การออกแบบต้องคํานึงถึงลักษณะขององค์กร เนื่องจาก รูปแบบของ เว็บไซต์สามารถสะท้อนถึงลักษณะขององค์กรนั้นได้ การใช้ชุดสี ชนิดตัวอักษร รูปภาพ และกราฟิกจะมีผลต่อ รูปแบบของเว็บไซต์อย่างมาก ผู้ออกแบบจึงต้องเลือกใช้องค์ประกอบเหล่านี้ อย่างเหมาะสม (4) เนื้อหาที่มีประโยชน์ เนื้อหาถือเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้นในเว็บไซต์ ควร จัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ โดยมีการปรับปรุงและเพิ่มเติม ให้ทันต่อ เหตุการณ์อยู่เสมอ เนื้อหาที่สําคัญที่สุดคือเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาเอง และไม่ซ้ํากับเว็บอื่น เพราะจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด ผู้ใช้ให้เข้ามาในเว็บไซต์อยู่เสมอ ต่างจากเนื้อหาที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น ซึ่งเมื่อผู้ใช้รู้ถึงแหล่งข้อมูลจริงๆ แล้วก็ไม่จําเป็นต้องกลับมาที่จุดเชื่อมโยงเหล่านั้นอีก (5) ระบบนําทางที่ใช้งานง่าย ระบบนําทางเป็นองค์ประกอบที่สําคัญมากของเว็บไซต์ ต้อง ออกแบบให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายและใช้งานสะดวก โดยใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคําอธิบาย ที่ชัดเจน รวมทั้งมีรูปแบบและลําดับของรายการที่สม่ําเสมอ เช่น วางไว้ในตําแหน่งเดียวกัน ของทุกๆ หน้า นอกจากนั้นถ้าใช้ระบบนําทางแบบกราฟิกในส่วนบนของหน้าเว็บแล้ว อาจเพิ่มระบบ นําทางที่เป็นตัวอักษรไว้ ที่ตอนท้ายของหน้าเว็บ เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้โปรแกรม ค้นดูอีกทางหนึ่ง (6) มีลักษณะที่น่าสนใจ เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าลักษณะหน้าเว็บของเว็บไซต์ จะมีความ น่าสนใจหรือไม่ เพราะเกี่ยวข้องกับความชอบของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดีหน้าเว็บของ เว็บไซต์จะมี ความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ เช่น คุณภาพของกราฟิกที่จะต้อง สมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยของ ความเสียหายเป็นจุดด่างหรือมีขอบเป็นขั้นบันไดให้เห็น การใช้ชนิด ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา และการใช้ กลุ่มสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม เป็นต้น (7) การเข้าใช้งานได้ไม่จํากัด ควรออกแบบเว็บไซต์ให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงได้มากที่สุด โดยไม่มีการ บังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติม หรือต้องเลือกใช้โปรแกรมค้นดูโปรแกรม ใดโปรแกรมหนึ่งจึงจะ สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ สามารถแสดงผลได้ในทุกระบบปฏิบัติการและที่ ความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่าง ไม่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้จะยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นสําหรับเว็บที่มี ผู้ใช้บริการจํานวนมาก หรือมีกลุ่มเป้าหมายที่ หลากหลาย (8) มีคุณภาพในการออกแบบ มีความสําคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เช่นเดียวกับสื่อ ประเภท อื่นๆ ที่ต้องออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ เว็บที่ทําขึ้นอย่างไม่มีมาตรฐานในการออกแบบและ การจัดระบบข้อมูลนั้น เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเกิดปัญหาข้อมูลสับสน ไม่เป็นระบบ และไม่สามารถ สร้างความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้ได้ (9) ระบบใช้งานได้ถูกต้อง ระบบการทํางานต่างๆ ในเว็บไซต์จะต้องมีความแน่นอน และทําหน้าที่ ได้อย่างถูกต้อง เช่น ถ้ามีแบบฟอร์มสําหรับให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลต้องแน่ใจว่าแบบฟอร์ม นั้นสามารถใช้การได้จริง หรืออย่างง่ายที่สุดก็คือ จุดเชื่อมโยงต่างๆ ที่มีอยู่นั้นจะต้องเชื่อมโยงไปยัง หน้าที่มีปรากฏอยู่จริงและถูกต้อง ด้วย ความรับผิดชอบของผู้จัดทําเว็บคือการทําให้ระบบเหล่านั้น ใช้งานได้ตั้งแต่แรกและยังต้องคอยตรวจสอบ
  • 4. อยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งเหล่านั้นยังทํางานได้ดี โดยเฉพาะจุดเชื่อมโยงที่เชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นซึ่งอาจมีการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นจะมีคุณภาพดีหรือไม่นั้น ผู้ใช้เป็นผู้ตัดสิน โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ใช้ เห็น เว็บไซต์เป็นครั้งแรก เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน เพื่อให้ ผู้ใช้กลับมาใช้เว็บไซต์อีกครั้ง สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : เมื่อเราเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการจัดทําดูแล และบํารุงรักษาเว็บไซต์ของโรงเรียน ดังนั้นแล้วจึงต้องรู้ตั้งแต่การวิเคราะห์เว็บไซต์ว่าควรมีหลักการออกแบบ เว็บไซต์ที่ดี และมีคุณภาพควรทําอย่างไร และสามารถอธิบายแนะนําให้ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นทําเว็บไซต์ได้ 3. การศึกษา ทฤษฎี แนวคิด การออกแบบเว็บไซต์ จากทีได้ทําการศึกษา เรื่อง การศึกษา ทฤษฏี แนวคิดการออกแบบเว็บไซต์ ทําให้ทราบถึงการ ออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์อย่างมีหลักการ ดําเนินการตามขั้นตอนที่ชัดเจน จะทําให้ผู้สร้าง เว็บไซต์สามารถใส่ใจรายละเอียดที่จําเป็นในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งจะช่วยป้องกัน ข้อผิดพลาดที่ อาจเกิดขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทําให้เว็บประสบความล้มเหลว ให้ผู้สร้างได้เว็บไซต์ ที่ตรงกับเป้าหมายตาม ต้องการ มีประโยชน์ และให้ความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ การสร้าง เว็บไซต์ที่ดีนั้นต้องอาศัยการ ออกแบบและจัดระบบข้อมูลอย่างเหมาะสม ดวงพร เกี๋ยงคํา (2549: 27) มีขั้นตอนดังนี้ (1) กําหนดเป้าหมายและวางแผน การพัฒนาเว็บไซต์ควรกําหนดเป้าหมายและวางแผน ไว้ ล่วงหน้า เพื่อให้การทํางานในขั้นต่อไปมีแนวทางที่ชัดเจน เรื่องหลัก ๆ ที่ควรทําในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย (1.1) กําหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเว็บไซต์นี้ต้องการ นําเสนอหรือต้องการให้เกิดผลอะไร (1.2) กําหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ใช้หลักคือใคร และออกแบบเว็บไซต์ ให้ตอบสนองความต้องการผู้ใช้กลุ่มนั้นให้มากที่สุด (1.3) เตรียมแหล่งข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลคือสาระสําคัญที่แท้จริงของเว็บไซต์ ต้อง รู้ว่าข้อมูลที่จําเป็นต้องใช้มาจากแหล่งใดบ้าง เช่น ถ้าเป็นเว็บข่าวสาร ข่าวนั้นจะมาจากแหล่งใด มีลิขสิทธิ์ หรือไม่ เป็นต้น (1.4) เตรียมทักษะหรือบุคลากร การสร้างเว็บไซต์ต้องอาศัยทักษะหลายด้าน เช่น ในการเตรียมเนื้อหา ออกแบบกราฟิก เขียนโปรแกรม และการดูแลเครื่องบริการ เป็นต้น ซึ่งถ้าเป็น เว็บไซต์ ขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้บุคลากรเป็นจํานวนมาก แต่สําหรับเว็บไซต์เล็กๆ ที่สามารถดูแล ได้โดยบุคลากรเพียง คนเดียวก็จะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ เพื่อเตรียมพร้อม (1.5) เตรียมทรัพยากรต่างๆ ที่จําเป็น เช่น โปรแกรมสําหรับสร้างเว็บไซต์ โปรแกรม สําหรับสร้างกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวและสื่อประสม โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities) อื่น ๆ ที่จะต้องใช้ เป็นต้น (2) วิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล เป็นการนําข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากขั้นแรก นํามา ประเมิน วิเคราะห์และจัดระบบ เพื่อให้ได้โครงสร้างข้อมูลและข้อกําหนด ซึ่งจะใช้เป็นกรอบ สําหรับการ ออกแบบและดําเนินการในขั้นต่อไป ผลที่ได้รับจากขั้นนี้ประกอบไปด้วย (2.1) แผนผังโครงสร้างของเว็บไซต์ สารบัญ ลําดับการนําเสนอหรือผังงาน (2.2) ระบบนําทาง ซึ่งผู้ใช้จะใช้สําหรับเปิดเข้าไปยังส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น โครงสร้างและรูปแบบของเมนู เป็นต้น
  • 5. (2.3) องค์ประกอบต่างๆ ที่จะนํามาใช้ในเว็บเพจมีอะไรบ้าง เช่น ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ สื่อประสม แบบฟอร์ม ฯลฯ อะไรบ้างที่โปรแกรมค้นดูของผู้ใช้ สนับสนุน และอะไรบ้างที่ต้องอาศัยโปรแกรมเสริม (2.4) ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะและรูปแบบของเว็บเพจ (2.5) ข้อกําหนดของโปรแกรมภาษาสคริปต์ หรือโปรแกรมประยุกต์สําหรับเว็บ (Web application) และฐานข้อมูลที่ใช้ในเว็บไซต์ (2.6) คุณสมบัติของเครื่องบริการเว็บ รวมถึงข้อจํากัด และบริการเสริม ต่าง ๆ ที่มีให้ (3) ออกแบบเว็บเพจและเตรียมข้อมูล เป็นขั้นตอนการออกแบบเค้าโครงและลักษณะ ด้าน กราฟิกของหน้าเว็บเพจ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดอารมณ์ความรับรู้ต่อเว็บเพจตามที่ผู้สร้างต้องการ นอกจากนี้ยังรวมไป ถึงการกําหนดสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่างๆ ที่ไม่ใช่กราฟิก เช่น ชนิด ตัวอักษร ขนาด และสี ข้อความ สีพื้นบริเวณที่ว่าง เป็นต้น ในส่วนของเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการ นําเนื้อหาที่เลือกไว้มาปรับแก้และ ตรวจทานความถูกต้อง เพื่อให้พร้อมสําหรับจะนําไปใส่เว็บเพจ แต่ละหน้าในขั้นตอนถัดไป (4) ลงมือสร้างและทดสอบ เป็นขั้นตอนที่เว็บเพจจะถูกสร้างขึ้นทีละหน้าโดยอาศัย เค้าโครงและ องค์ประกอบกราฟิกตามที่ออกแบบไว้ เนื้อหาต่างๆ จะถูกนํามาใส่และจัดรูปแบบ จุดเชื่อมโยงและมีระบบ นําทางไปสู่หน้าเว็บต่างๆ เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาควรได้รับการทดสอบก่อนที่ จะนําออกเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความถูกต้องของเนื้อหา การทํางานของจุดเชื่อมโยงและระบบ นําทาง ตรวจหาความผิดพลาดของ โปรแกรมภาษาสคริปต์และฐานข้อมูล นอกจากนี้ก็ควรทดสอบโดยใช้สภาพแวดล้อมที่เหมือนกับของ กลุ่มเป้าหมาย เช่น รุ่นของโปรแกรมค้นดู ความละเอียดของ จอภาพ เพื่อดูว่าผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายสามารถชม เว็บไซต์ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพหรือไม่ (5) เผยแพร่และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จัก โดยทั่วไปการนําเว็บไซต์ขึ้นเผยแพร่บน อินเทอร์เน็ตจะทํา ด้วยการอัพโหลด (Upload) แฟ้มข้อมูลทั้งหมด คือ เอชทีเอ็มแอลและแฟ้มข้อมูล อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้นไปเก็บ บนเครื่องบริการที่เปิดบริการไว้ การอัพโหลดเว็บไซต์อาจทําด้วย โปรแกรมสร้างเว็บไซต์หรืออาจใช้โปรแกรม อรรถประโยชน์ประเภทโปรแกรมถ่ายโอนข้อมูล (FTP) หรือใช้เครื่องมืออื่นบนเครื่องบริการเว็บ หลังจากนั้น เว็บไซต์ควรได้รับการทดสอบอีกครั้ง เพื่อตรวจหาปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถทดสอบบนคอมพิวเตอร์ของ ผู้สร้างเอง เช่น การเชื่อมโยง ของเว็บเพจกับเว็บไซต์อื่น และการทํางานของโปรแกรมค้นดูกับฐานข้อมูล ซึ่ง อาจทําไม่ได้ บนเครื่องของผู้สร้างเว็บ หรือบนเครื่องบริการเว็บอาจมีสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป เว็บไซต์ที่จะ ประสบความสําเร็จ นอกจากต้องมีเนื้อหาที่ดี มีการวางโครงสร้างการออกแบบที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องได้รับ การโฆษณา และส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักในผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายหรือในวงกว้างออกไปอีก ด้วย การส่งเสริมนี้มีกล ยุทธ์ที่ทําได้หลายวิธี ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้งบประมาณจํานวนมากเสมอไป โดยสามารถทําได้ตั้งแต่แบบง่ายๆ คือ การแลกเปลี่ยนที่อยู่เว็บ ประกาศบนเว็บบอร์ด (Webboard) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) เพิ่ม ข้อมูลในโปรแกรมค้นหาหรือสารบบเว็บ (Web directory) จนถึงแบบที่ใช้งบประมาณมากขึ้น เช่น การจัด งานเปิดตัว การลงโฆษณา บนเว็บไซต์อื่น ในสิ่งพิมพ์ หรือในวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น (6) ดูแลและปรับปรุงต่อเนื่อง เว็บไซต์ที่เผยแพร่ออกไปแล้ว ควรดูแลโดยตลอด ซึ่งหน้าที่นี้ ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบเครื่องบริการเว็บว่าไม่หยุดทํางานบ่อย จุดเชื่อมโยงไปยัง ภายนอกยังคงใช้งาน ได้หรือไม่ คอยตอบอีเมลหรือคําถามที่มีผู้ฝากไว้บนเว็บเพจ ถ้าเป็นข่าวสาร ก็ต้องปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย ตลอดเวลา ถ้ามีการใช้ฐานข้อมูลก็ต้องสํารองข้อมูลอย่างสม่ําเสมอ นอกจากนี้ควรตรวจสอบสถิติของการเข้า
  • 6. ใช้เป็นระยะๆ หลังจากที่เว็บไซต์ได้รับการเผยแพร่ไประยะ หนึ่ง ควรปรับปรุงเพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกว่ามีความ เปลี่ยนแปลง มีความใหม่ ทันสมัย หลักการออกแบบและนําเสนอด้วยเว็บไซต์ให้น่าสนใจ และดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชม จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงหลักการและวิธีการในการออกแบบและการนําเสนอเว็บไซต์ เพราะถ้าหาก ทําไปโดยปราศจากการออกแบบหรือการนําเสนอที่ดีแล้ว ผู้ใช้อาจจะไม่สนใจและใส่ใจ ที่จะเข้ามาใช้ ทําให้ การนําเสนอในครั้งนั้นสูญเปล่าได้ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการ ของการนําเสนอก่อน ซึ่ง สามารถทําได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและความชอบ ของผู้พัฒนา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ ต้องการนําเสนอ ทั้งนี้นักวิชาการหลายท่านได้เสนอข้อแนะนํา สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้ทราบถึงการออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์อย่างมี หลักการ ดําเนินการตามขั้นตอนที่ชัดเจน ทําให้เราที่จะไปเป็นครูในอนาคต สามารถใส่ใจรายละเอียดที่จําเป็น ในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ ซึ่งจะช่วยป้องกัน ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทําให้เว็บ ประสบความล้มเหลว ให้ผู้สร้างได้เว็บไซต์ ที่ตรงกับเป้าหมายตามต้องการ มีประโยชน์ และให้ความสะดวกแก่ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ การสร้าง เว็บไซต์ที่ดีนั้นต้องอาศัยการออกแบบและจัดระบบข้อมูลอย่างเหมาะสมนั่นเอง 4. การจัดทาหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : เป็นการสรุปเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา ทฤษฎี แนวคิด และการ ออกแบบเว็บไซต์ เราสามารถนําไปใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ของตนเองได้ 5. การนาเสนอการคัดเลือกเว็บจากการวิเคราะห์ สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้ได้รู้ว่าการออกแบบเว็บไซต์ ต้องคํานึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ สําคัญ ภายในเว็บไซต์ด้วย เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการนําเอา เอกลักษณ์สีของมหาวิทยาลัยเข้า มาช่วยในการออกแบบ 6. การสอบภาคปฏิบัติ Install joomla Component Module editor สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : เราได้ทดลอง และปฏิบัติจริงใน โปรแกรม joomla ได้ศึกษาและเรียนรู้ ซึ่งสามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้
  • 7. 7. การอ่านหนังสือ Share Books วิถีการเรียนรู้ครูเพื่อศูนย์ แต่ละภาค สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ได้ความรู้ และได้รู้จักกระบวนการจัดการเรียน การสอนในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ครูจะต้องมีความกระตือรือร้นและรู้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้คําแนะนํากับ ผู้เรียน ทําให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ภาคที่ 1 ทักษะเพื่อการพัฒนาการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ภาคที่ 2 แนวคิดการเรียนรู้สาหรับครูเพื่อศิษย์
  • 8. ภาคที่ 3 จิตวิทยาการเรียนรู้สาหรับครูเพื่อศิษย์ 8. การพัฒนาเว็บ รายบุคคล e-Portfolio สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ได้เว็บไซต์เป็นของตนเอง และได้ออกแบบเว็บไซต์ของเรา โดยนําหลัก ทฤษฎีการออกแบบเว็บไซต์ที่ได้เรียน และศึกษามาช่วยในการออกแบบเว็บไซต์ของเรา และรู้ขั้นตอนวีธีการ ต่างๆ เช่น การติดตั้งจาก joomla อัฟโหลดขึ้น host การ ติดตั้งไฟล์ต่างๆ บน host และการตกแต่งหน้า เว็บไซต์
  • 9. 9. การวางแผนการเรียน สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้เราได้วางแผนการเรียนของเราว่าในวิชานี้เรามีจุดมุ่งหมายอะไร และก็ทําให้จุดมุงหมายที่เราต้องการเป็นไปตามความต้องการ โดยวางแผนว่าเราจะต้องอ่านหนังสือวันละกี่ หน้า และหมั่นศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการทําเว็บไซต์เพื่อให้ประสบผลสําเร็จในรายวิชานี้
  • 10. 10. การวางแผนชีวิต สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ทําให้เราได้วางแผนชีวิตของเราว่าในแต่ละช่วงอายุเราจะทําอะไรบ้าง และรู้จักการใช้ชีวิตที่มีเป้าหมายเป็นการวางแผนการดําเนินชีวิตให้ประสบความสําเสร็จในอนาคต
  • 11. 11. การพัฒนาเว็บหลักที่ได้รับมอบหมายจากรายวิชา สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : กลุ่มของพวกเรานั้นได้มีการเลือกเว็บ http://www.auckland.ac.nz/uoa/thai มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบเว็บไซต์ และได้รับ มอบหมายจากท่านอาจารย์ประจําวิชา ได้ทําการออกแบบโปรแกรมสร้างเว็บเพื่อการศึกษา ระดับปริญญาตรี ซึ่งได้ทําการออกแบบเทมเพตใหม่แล้วนําข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับลงไปในเว็บ พร้อมอ้างอิงตามทฤษฏีต่าง ๆ ที่ได้ ไปศึกษามา ซึ่งจะได้แบ่งหน้าที่ภายในกลุ่มเป็น ฝ่ายทฤษฎี ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายกราฟฟิกส์ และออกแบบ ฝ่าย โปรแกรมเมอร์ 12. รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผล สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : ข้อดี รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา โปรแกรมสร้างเว็บเพื่อการศึกษา เป็นการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยให้ผู้เรียนทําการศึกษาและร่วมกันทํางานเป็นกลุ่ม ผล ปรากฏว่า การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ มีผลดีกับตัวนักศึกษาเป็นอย่างมากคือเป็นการศึกษาแบบเพื่อนช่วย เพื่อนนั้นเอง ข้อเสีย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ คนที่สนใจทํางานก็สนใจทํางาน แต่สมาชิกบางคนใน กลุ่มก็ไม่สนใจ จึงทําให้ไม่มีความรู้ในการเรียนในรายวิชา โปรแกรมสร้างเว็บเพื่อการศึกษา 13. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมภาษณ์ (การส่งแฟ้มสะสมผลงานครั้งแรก) สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการสัมภาษณ์ ในครั้ง นี้ผลปรากฏว่า ได้รับคําแนะนําจากท่านอาจารย์ประจํารายวิชาในเรื่องของการ อ่านหนังสือ และสนใจศึกษา เนื้อหาใหม่ ๆ มากกว่านี้ 14. การ Review Component Module ต่างๆ ในรูปแบบ Video และ Article สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ : กลุ่มของพวกเราได้ การสร้าง Moule tabs gk4 for jomla ดิฉันและ สมาชิกในกลุ่ม จึงได้ทําการศึกษาข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ โดยมีหัวหน้ากลุ่มช่วยมาอธิบายและทําการศึกษา อธิบาย เรื่อง การสร้าง Moule tabs gk4 for jomla ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มฟัง และสมาชิกทุกคนภายใน กลุ่มจึงมีการแบ่งหน้าที่ในการทํางานทั้ง ฝ่ายบทความเนื้อหา ฝ่ายจัดทําวิดีโอตัวต่อ ฝ่ายโปรแกรมเมอร์ ทําให้ การทํางานของกลุ่มพวกเราเป็นไปด้วยดีและสําเร็จ เสร็จสิ้นออกมาเป็นผลงานของกลุ่มเรา