SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 1 
เอกสารประกอบการเรียน 
เรื่อง วัด พระพุทธรูปในสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย 
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 
(Historical and Cultural Tourism) 
อ.ยุพิน อุ่นแก้ว
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 2 
วัดและพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย 
ความนา 
เนื่องจากวัดเป็นสถานที่ซึ่งนักท่องเที่ยวสนใจ ในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและ ศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น วัดจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมไป ท่องเที่ยว ตลอดจนพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีความสาคัญกับพุทธ ศาสนาที่พุทธศาสนิกชนควรรู้ 
๑. วัดและชนิดของวัด 
วัด หมายถึง สถานที่ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งปกติมีพระอุโบสถ พระเจดีย์ พระวิหาร รวมทั้งมี พระภิกษุสงฆ์อยู่ด้วย 
วัดแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสานักสงฆ์ 
๑.๑ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา คือวัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทาสังฆกรรมได้ วิสุงคามสีมาในที่นี้ หมายถึง เขตพื้นที่ที่พระภิกษุสงฆ์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่สงฆ์ เพื่อ ใช้เป็นที่สร้างอุโบสถ 
๑.๒ สานักสงฆ์ คือ วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสานักสงฆ์ 
๒. การสร้างวัดในประเทศไทย 
ในสังคมไทย คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาในลัทธิเถรวาท หรือหินยานผ่านมาทางสายของ ลังกา (แบบลังกาวงศ์) การสร้างวัดจึงสืบทอดแบบอย่างการสร้างศาสนสถานที่เป็นอิทธิพลมาจากลังกา แต่อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ชาวไทยสร้างวัดนั้น เพื่อให้เป็นศาสนถานเพื่อเอื้อต่อการกระทาศาสนพิธี และ ผลมาจากคาสอน ไตรภูมิ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้น โดยพระยาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ของ ปุพเพกตปุญญตา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสวรรค์และนรก จนทาให้สาระสาคัญที่แท้จริง คือ การ นิพพานนั้นกลายเป็นเรื่องรองไป การปลูกฝังเรื่องของสวรรค์และนรกนี้ มีผลต่อพฤติกรรมของคนไทย โดยตลอด และมีพื้นฐานความเชื่อว่า บุญและกรรม คือ วิถีไปสู่สวรรค์และนรก ซึ่งภาพของสวรรค์ คือ ดินแดนที่เต็มไปด้วยความสุข ความสวยงามและความดีงาม ส่วนนรก คือ ดินแดนที่น่าสะพรึงกลัว เต็ม ไปด้วยความทุกข์ความทรมาน ความเชื่อเหล่านี้แม้จะขัดแนวทางพระพุทธศาสนาแต่ในแง่ดี คือ ทาให้ เกิดความกลัวในเรื่องของการทาความชั่ว ขณะเดียวกันก็โน้มน้าวให้คนทาแต่ความดีเพื่อที่จะได้ขึ้น สวรรค์ หรือได้เกิดใหม่ในภพภาคหน้าที่เพียบพร้อมด้วยฐานะที่สูงส่ง หรือเพื่อสั่งสมบุญเพื่อเกิดใหม่ใน ยุคเดียวกับพระศรีอาริยเมตไตรย์ คนไทยมีความเชื่อว่าการทาบุญให้อานิสงส์มากที่สุด คือ การสร้างวัด เหตุนี้ คนไทยจึงนิยมสร้างวัดมาทุกยุคทุกสมัย
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 3 
มูลเหตุการสร้างวัดในประเทศไทย 
- สร้างเพื่อให้เป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมือง 
- สร้างเพื่อให้เป็นวัดประจาวัง 
- สร้างเพื่อใช้เป็นวัดประจารัชกาล 
- สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ 
- สร้างขึ้นบนพื้นที่เดิมซึ่งเคยเป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพ หรือพระบรมศพ 
- สร้างขึ้น ณ ที่ปรากฏเหตุการณ์สาคัญ 
- สร้างขึ้นตามคติประเพณีนิยมบางประการ 
๓. ฐานะของวัด 
วัดในสถานะที่เป็นศูนย์กลางของสังคม มีความสาคัญและบทบาทหน้าที่ ดังนี้ (เนตรนภา นาค วัชระ และคณะ, 2525) 
๑. วัดในฐานะตัวแทนความเจริญและความมั่นคงของแผ่นดิน 
๒. วัดในฐานะสถาบันผู้สืบทอดศาสนาให้ยั่งยืน 
๓. วัดในฐานะสถานที่ให้การศึกษา 
๔. วัดในฐานะที่พึ่งทางกายและใจของสังคม 
๕. วัดในฐานะศูนย์รวมศิลปกรรม 
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ในประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๐๕ กาหนดไว้ว่า วัดมี ๒ ชนิด คือ 
๑. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 
๒. สานักสงฆ์ 
วิสุงคามสีมา หมายถึง เขตพื้นที่ที่พระภิกษุสงฆ์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อใช้ จัดตั้งวัดขึ้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นการขอพระบรมราชานุญาตเฉพาะแต่บริเวณที่ตั้งพระอุโบสถเท่านั้น 
สานักสงฆ์ หมายถึง สถานที่ตั้งพานักอาศัยของหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งไม่ได้ขอพระบรมรา ชานุญาตใช้ผืนที่ดินแห่งนั้น เพื่อจัดตั้งเป็นวัด ดังนั้น สานักสงฆ์จึงไม่มีโรงพระอุโบสถเพื่อใช้เป็นที่ทา สังฆกรรม 
๓.๑ การแบ่งระดับของวัด 
วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ถือว่า เป็นวัดที่ถูกต้องและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม กฎหมาย วัดประเภทนี้ยังแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ “วัดหลวงหรือพระอารามหลวง” กับ “วัดราษฎร์” 
วัดหลวง หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้าง หรือ วัดที่รัฐบาล หรือราษฎรทั่วไปสร้างขึ้นแล้วทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
วัดราษฎร์ หมายถึง วัดที่ราษฎรทั้งหลายสร้างขึ้นตามศรัทธา
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 4 
๓.๑.๑ วัดหลวงหรือพระอารามหลวง แบ่งออกได้เป็น ๓ ชั้น คือ 
๑. พระอารามหลวงชั้นเอก หมายถึง วัดที่มีเจติยสถานสาคัญ เป็นวัดที่บรรจุพระ 
บรมอัฐิหรือวัดที่มีเกียรติอย่างสูง มีเจ้าอาวาสเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ขึ้นไป 
๒. พระอารามหลวงชั้นโท หมายถึง วัดที่มีเกียรติ มีเจ้าอาวาสเป็นพระราชาคณะ 
สามัญขึ้นไป 
๓. พระอารามหลวงชั้นตรี หมายถึง วัดที่มีเกียรติหรือวัดสามัญ เจ้าอาวาสเป็นพระครู 
ขั้นสูงขึ้นไป 
พระอารามหลวง แบ่งตามฐานันดรศักดิ์ ได้ ๔ ชนิด คือ 
๑. ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี 
สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรืปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ โดยที่สิ่งปลูกสร้างนั้นมีขนาดใหญ่โตสม พระเกียรติ 
๒. ชนิดวรมหาวิหาร ลักษณะเดียวกับชนิดราชวรมหาวิหาร แต่มีความสาคัญน้อยกว่า 
๓. ชนิดราชวรวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระ ยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ 
๔. ชนิดวรวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระ 
ยุพราช ทรงสร้างหรืปฏิสังขรณ์แล้วพระราชทานเป็นเกียรติแก่ผู้อื่น 
พระอารามหลวงแต่ละชั้นมิได้ หมายถึงว่าจะมีชนิดของพระอารามครบทั้ง 4 ประเภท ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับความสาคัญของสถานที่ ขนาดและผู้สร้าง ซึ่งจะเป็นสิ่งกาหนดชนิดของพระอาราม ดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการจัดแบ่งชนิดของพระอารามตามระดับชั้นดังนี้ 
พระอารามหลวงชั้นเอก แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 
1. ราชวรมหาวิหาร 
2. ราชวรวิหาร 
3. วรมหาวิหาร 
พระอารามหลวงชั้นโท แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 
1. ราชวรมหาวิหาร 
2. ราชวรวิหาร 
3. วรมหาวิหาร 
4. วรวิหาร 
พระอารามหลวงชั้นตรี แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 
1. ราชวรวิหาร 
2. วรวิหาร 
3. สามัญ ไม่มีสร้อยต่อท้ายชื่อ
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 5 
การกาหนดแบ่งชนิดของพระอารามหลวงเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ วัด หลวงที่มีฐานะสูงสุด คือ ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร มีรวมทั้งหมด ๖ วัด อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ๔ วัด คือ วัดพระเชตุพน ฯ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดมหาธาตุ ฯ และวัดอรุณราชวราราม ที่เหลืออีก ๒ วัดอยู่ในต่างจังหวัด ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 
ข้อน่าสังเกต คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว มิได้จัดอยู่ในชั้นหนึ่งชั้นใดเหมือน พระอารามหลวงอื่น ๆ ทั้งนี้ เพราะวัดนี้มีแต่พุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จาพรรษาอย่างวัดอื่นทั่ว ๆ ไป 
๓.๒.๒ วัดราษฎร์ คือ วัดที่ราษฎรทั้งหลายสร้างขึ้นตามความศรัทธา และไม่มีการแบ่งชั้นแต่ อย่างใด 
๔. วัดประจารัชกาลและวัดที่บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลต่าง ๆ 
๔.๑ วัดประจารัชกาล 
พระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ได้ทรงสร้างวัดที่สาคัญ ๆ ขึ้นไว้ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๕ และถือว่าเป็นวัดประจารัชกาลต่าง ๆ ตามลาดับ ดังนี้ 
รัชกาลที่ ๑ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 
รัชกาลที่ ๒ วัดอรุณราชวราราม 
รัชกาลที่ ๓ วัดราชโอรสาราม 
รัชกาลที่ ๔ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม 
รัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 
สาหรับรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสร้างวัดที่สาคัญไว้สองวัด คือ วัดราชบพิธ ฯ และวัดเพญจม บพิตร ฯ โดยสร้างวัดราชบพิธ ฯ ตอนต้นรัชกาล และสร้างวัดเบญจมพิตร ฯ ตอนปลายรัชกาล ทั้งนี้ถือ ว่าวัดราชบพิธ ฯ เป็นวัดประจารัชกาลที่ ๕ ส่วนพระบรมราชสรีรังคารของพระองค์ไว้บรรจุไว้ที่ฐานของ พระประธานในอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ฯ 
หลังจากรัชกาลที่ ๕ แล้ว รัชกาลต่อ ๆ มา ไม่ได้สร้างวัดที่สาคัญขึ้นเป็นวัดประจา รัชกาลอีก เป็นแต่เพียงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเดิมที่มีอยู่แล้วเท่านั้น 
๔.๒ วัดที่บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลต่าง ๆ 
ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปบรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดพระเชตุ พน ฯ ด้วยทรงเห็นว่า วัดพระเชตุพน ฯ เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างขึ้นเป็นวัดประจารัชกาล นอกจากนั้นยังได้โปรดให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารของพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไป บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดอรุณวราชวราราม และพระบรมราชสรีรังคารของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไปบรรจุที่ฐานของพระประธานวัดราชโอรสาราม หลังจากนั้นจึง เป็นประเพณีที่นาพระบรมราชสรีรังคารของพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตแล้วไปบรรจุไว้ที่ฐานของ พระพุทธรูปสาคัญในวัดประจารัชกาล หรือวัดที่ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น ซึ่งเรียงตามลาดับรัชกาลดังต่อไปนี้ คือ
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 6 
รัชกาลที่ ๑ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดพระเชตุพน ฯ 
รัชกาลที่ ๒ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดอรุณราชวรราม 
รัชกาลที่ ๓ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดราชโอรสาราม 
รัชกาลที่ ๔ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ฯ 
รัชกาลที่ ๕ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ 
รัชกาลที่ ๖ บรรจุไว้ที่ฐานของพระร่วงโรจนฤทธิ์ในวิหารทิศเหนือวัดพระปฐมเจดีย์ 
รัชกาลที่ ๗ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดราชบพิธฯ 
รัชกาลที่ ๘ บรรจุไว้ที่ฐานของพระศรีศากยมุนีในวัดสุทัศนเทพวราราม 
๕. การแบ่งเขตภายในวัด 
วัดโดยทั่วไป นิยมแบ่งเขตพื้นที่ภายในออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ ๆ คือ 
๑) เขตพุทธาวาส เป็นพื้นที่สาหรับพระสงฆ์ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเสมือน 
สัญลักษณ์แห่งสถานที่ประทับขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคาว่า พุทธาวาส มีความหมายเป็น สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า (พุทธาวาส = พุทธะ + อาวาส) เขตพุทธาวาสมักประกอบด้วย สถาปัตยกรรมหลักสาคัญ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์และพิธีกรรมต่าง ๆ คือ 
พระเจดีย์ พระมณฑป พระปรางค์: อาคารที่สร้างเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางหลักของวัด 
พระอุโบสถ: อาคารที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในการทาสังฆกรรม 
พระวิหาร: อาคารที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาระหว่างพระสงฆ์และฆราวาส 
เจดีย์ (มณฑป ปรางค์) ราย เจดีย์ (มณฑป ปรางค์) ทิศ: อาคารที่ใช้บรรจุอัฐิ หรือ 
ประกอบเพื่อให้ผังรวมสมบูรณ์ 
หอระฆัง: อาคารที่ใช้เป็นเครื่องตีบอกเวลาสาหรับพระภิกษุสงฆ์ 
ศาลาต่าง ๆ เช่น ศาลาราย คือ อาคารที่ใช้เป็นที่นั่งพักของผู้มาเยือน ศาลาทิศ คือ อาคารที่ใช้ ล้อมอาคารสาคัญสาหรับให้คฤหัสถ์นั่งพัก หรือประกอบเพื่อให้ผังรวมสมบูรณ์ 
พระระเบียง: อาคารที่ล้อมอาคารหลักสาคัญหรือล้อมแสดงขอบเขตแห่งพุทธาวาส 
พลับพลาเปลื้องเครื่อง: อาคารที่ใช้สาหรับเป็นที่พระมหากษัตริย์เปลี่ยนชุดฉลอง 
พระองค์ในวาระที่ทรงเสด็จพระราชดาเนินเพื่อบาเพ็ญพระราชกุศล 
กาแพงแก้ว : กาแพงที่ล้อมรอบอาคารสาคัญ หรือเขตพุทธาวาส 
พระเจดีย์ พระปรางค์ และพระมณฑป ถือเป็นอาคารที่สาคัญที่สุดในฐานะหลักประธานวัด จึง มักถูกวางตาแหน่งลงในผังตรงส่วนที่สาคัญที่สุดของเขตพุทธาวาส เช่น บริเวณกึ่งกลางหรือศูนย์กลาง หรือแกนกลางของผัง อาคารสาคัญรองลงมากลุ่มแรก คือ พระอุโบสถและพระวิหาร ซึ่งอาคารทั้ง 2 ประเภทนี้ มักใช้ประกอบคู่กันกับพระเจดีย์เสมอ หรืออาจใช้ประกอบร่วมกันทั้ง 3 ประเภท คือ พระ อุโบสถ พระเจดีย์ แ ละพระวิหาร ทั้งนี้เนื่องเพราะอาคารทั้งสอง ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทาง
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 7 
ศาสนา พระอุโบสถหรือพระวิหาร จึงมักวางทางด้านหน้าของพระเจดีย์เสมอในลักษณะของแนวแกนดิ่ง เพื่อว่าเวลาประกอบพิธีกรรม ทุกผู้ทุกนาม ณ ที่นั้นจะได้หันหน้าไปยังพระองค์ และถึงแม้ว่าบางครั้งจะมี การใช้ประกอบร่วมกันทั้งสามอย่างก็ตาม อาทิเช่น พระวิหารวางด้านหน้าสุด มีพระเจดีย์อยู่กลาง และ พระอุโบสถอยู่ด้านหลัง ตัวพระอุโบสถด้านหลังนั้น ก็มักจะหันส่วนหน้าของอาคารไปทางด้านหลังด้วย เพื่อว่าเวลาที่เข้าไปทาสังฆกรรม จะยังคงสามารถหันหน้าเข้าสู่องค์พระเจดีย์ได้เช่นเดียวกัน 
อย่างไรก็ตามตาแหน่งของอาคารก็ไม่มีข้อกาหนดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวเสมอไป (ยกเว้นพระ เจดีย์ ที่ยังคงตั้งอยู่ในตาแหน่งหลัก) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวความคิดและคตินิยมของแต่ละสมัยเป็นปัจจัย สาคัญสาหรับอาคารประเภทอื่น ๆ เช่น พระระเบียง ศาลาราย จะปรากฏร่วมในผังในลักษณะอาคารรอง กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบที่สร้างให้ผังมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไม่ว่าจะในแง่ของประโยชน์ใช้สอย หรือในเชิงความหมายของสัญลักษณ์ตามคติความเชื่อก็ตาม โดยมักปรากฏในลักษณะที่โอบล้อมกลุ่ม อาคารหลักประธานสาคัญเหล่านั้น 
ลักษณะการวางตาแหน่งอาคารในผังเขตพุทธาวาส พื้นฐานพุทธสถาปัตยกรรมของไทยมีแบบ แผนและแนวความคิดรวมทั้งคติความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียและลังกา เนื่องจากศาสนาพุทธใน ไทยได้รับการเผยแพร่มาจากทั้งอินเดียโดยตรง และผ่านทางลังกา แม้ว่าจะมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุค สมัย แต่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงนั้นยังคงตั้งอยู่บนกรอบของเค้าโครงที่เป็นแม่บทเดิม นั่นคือ การสร้างพระเจดีย์ให้เป็นประธานของพระอาราม โดยมีพระวิหารซึ่งเป็นสถานที่สาหรับประกอบ พิธีกรรมอยู่เบื้องหน้า ซึ่งได้พัฒนาการมาจากการสร้างพระเจดีย์อยู่ตอนท้ายของ “เจติยสถาน” ภายใน ถ้าวิหารของพุทธสถานในอินเดีย ก่อนที่จะมีการสร้างอาคารที่เป็นพระวิหารในที่แจ้งขึ้น โดยพระเจดีย์ นั้นหลุดออกไปอยู่นอกอาคาร 
๒) เขตสังฆาวาส หมายถึง ขอบเขตบริเวณพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัด ที่กาหนดไว้ให้เป็นที่อยู่ อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพิธีการใดทางศาสนา โดยตรง คาว่า สังฆาวาส มาจาก สงฆ์ + อาวาส แปลว่า ที่อยู่แห่งหมู่สงฆ์ พื้นที่บริเวณนี้จึงมักมี ขอบเขตที่มิดชิดและประกอบไปด้วยอาคารสถานที่สัมพันธ์เฉพาะกับกิจกรรมและวัตรปฏิบัติที่เป็นวิถี แห่งการดาเนินชีวิตของเพศสมณะเท่านั้น อันได้แก่ 
๑. กุฏิ: อาคารที่ใช้สาหรับอาศัยหลับนอน 
๒. กัปปิยกุฎี: โรงเก็บอาหาร 
๓. หอฉัน: อาคารที่ใช้เป็นที่ฉันภัตตาหาร 
๔. วัจจกุฎี: อาคารสาหรับใช้ขับถ่าย 
๕. ศาลาการเปรียญ: อาคารที่ใช้เป็นที่เรียนหนังสือของพระสงฆ์ 
๖. หอไตร: อาคารที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา 
๗. ชันตาฆร: โรงรักษาไฟและต้มน้า 
๘. ธรรมศาลา: โรงเทศนาธรรม 
๙. ห้องสรงน้า: ห้องชาระกาย 
๑๐. ศาลาท่าน้า: อาคารที่ใช้เป็นท่าและทางเข้าสู่วัดทางน้า
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 8 
ลักษณะการวางตาแหน่งอาคารในผังเขตสังฆาวาส กุฏิถือเป็นอาคารหลักสาคัญ โดยมีอาคาร ประเภทอื่นประกอบเพื่อประโยชน์ใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกัน ส่วนใหญ่ไม่มีกฎเกณฑ์การวางผังมากนัก นอกจากประเภทของวัด ชั้นของวัด ที่ตั้ง รวมทั้งขนาดยังมีผลต่อการจัดวางผังขอบเขตนี้ กล่าวคือ หาก เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในแถบถิ่นชนบท นิยมวางตัวกุฎิกระจายตัวเป็นหลัง ๆ อาคารที่เป็น องค์ประกอบรองหลังอื่น ๆ ก็จะจัดวางอยู่ในตาแหน่งที่สะดวกต่อการใช้สอยของพระภิกษุ ส่วนใหญ่จะ จัดกุฎิให้อยู่เป็นกลุ่ม โดยอาจแยกเป็นหลัง ๆ หรือ ต่อเชื่อมด้วยชานเป็นหมู่หรือคณะ ฯ มีหอฉันอยู่ตรง กลางชาน ถัดเลยออกมาก็จะเป็นเรือนเว็จกุฏี ซึ่งปัจจุบันอาจรวมเข้ากับห้องสรงน้าและมักสร้างต่อเรียง เป็นแถว ๆ สาหรับกัปปิยกุฎีหรือโรงเก็บอาหารก็มักรวมเข้ากับเรือนชันตาฆรเป็นอาคารหลังเดียวกัน โดยอาจมีเพียงจุดเดียวรวมกันสาหรับวัดขนาดเล็ก หรือแยกเฉพาะตามหมู่หรือคณะสาหรับวัดขนาด ใหญ่ ส่วนหอไตรก็จะแยกออกไปตั้งเดี่ยวอยู่กลางสระน้าใหญ่ เช่นเดียวกับศาลาการเปรียญที่มักตั้งอยู่ ในตาแหน่งที่พระสงฆ์ทั้งปวง สามารถเข้ามาใช้สอยได้อย่างสะดวกทั่วถึง ขณะเดียวกันก็สามารถเอื้อต่อ ประชาชนที่เข้ามาใช้ประโยชน์ด้วย มักวางอยู่ด้านหน้าเขตสังฆาวาส หรือบริเวณส่วนที่ต่อกับเขต พุทธาวาส หรืออาจอยู่ทางด้านข้างของเขตธรณีสงฆ์ ที่ประชาชนสามารถเข้ามาได้ง่าย 
วัดที่มีขนาดใหญ่มักแบ่งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสออกจากกันอย่างชัดเจน โดยมีกาแพง หรือถนน หรือคูน้ากั้นไว้ สาหรับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นใน พระบรมมหาราชวังไม่มีพระสงฆ์จาพรรษาอยู่จึงมีแต่เพียงพุทธาวาสเท่านั้นไม่มีเขตสังฆาวาส 
3) เขตธรณีสงฆ์ หมายถึง เขตพื้นที่ในพระอารามที่วัดกาหนดพื้นที่บางส่วนที่เหลือจากการ จัดแบ่งเขตสาคัญ คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส ให้เป็นเขตพื้นที่สาหรับเอื้อประโยชน์ใช้สอยใน เชิงสาธารณะประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ของวัด เช่น ใช้เป็นพื้นที่เปิดโล่งเพื่อสร้างความร่มรื่นให้วัด หรือใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารอื่น ๆ เช่น สร้างเมรุสาหรับฌาปนกิจศพชุมชน ตั้งโรงเรียนเพื่อให้ การศึกษาแก่สังคม แบ่งเป็นพื้นที่ให้คฤหัสถ์เช่าเพื่อให้เป็นแหล่งทามาหากิน อาทิ การสร้างตึกแถว หรือทาเป็นตลาด เป็นต้น การแบ่งพื้นที่วัดออกเป็น 3 ส่วนนี้ ในเชิงการออกแบบทางสถาปัตยกรรมจึง ให้หมายถึงส่วนหนึ่ง คือ เขตพุทธาวาสถูกใช้เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-Public Zone) อีกส่วนหนึ่ง คือ เขตสังฆาวาสที่ใช้เป็นพื้นที่ส่วนตัว (Private Zone) สาหรับคนทั่วไป 
๖. อาคารสิ่งก่อสร้างที่สาคัญภายในบริเวณวัด 
๑. อุโบสถ หรือโบสถ์ ถือเป็นอาคารที่สาคัญภายในวัด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประชุมของสงฆ์ เพื่อทาสังฆกรรม วัดในปัจจุบันมักสร้างอุโบสถให้มีขนาดใหญ่กว่าอาคารหลังอื่น ๆ และตั้งอยู่ในบริเวณ ใจกลางของพุทธาวาส เพื่อให้แลดูเด่นเป็นประโนของวัด ในวัดขนาดใหญ่บางครั้งเมื่อเข้าไปบริเวณวัด อาจเป็นการยากที่จะรู้ได้ว่าอาคารหลังใดเป็นอุโบสถและหลังใดเป็นวิหาร เพราะมีรูปแบบการสร้าง คล้ายคลึงกัน และบางทีก็มีขนาดไล่เลี่ยกัน การจะสังเกตว่าอาคารหลังใดเป็นอุโบสถดูได้ที่ใบเสมา ซึ่งจะ มีอยู่รอบบริเวณอุโบสถ ส่วนวิหารไม่มี
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 9 
๒. ใบเสมาและลูกนิมิต 
คือ เครื่องหมายบอกเขตอุโบสถในวัด หรือใช้สาหรับกาหนดเขตในวัดหรือใช้สาหรับกาหนดเขตวัดหรือที่ ของสงฆ์ ลูกนิมิตนั้นมีลักษณะกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ใช้ฝังอยู่ใต้ฐานเสมา โดยรอบ เข้าใจว่าเป็นประเพณีทามาแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนใหญ่ทาเป็นแผ่นดินสลักเจียนเป็นรูป คล้ายเจว็ดในศาลพระภูมิปักไว้บนลานรอบอุโบสถรวม ๘ แห่ง ในสมัยสุโขทัยและอยุธยา การปักใบ เสมาใช้วิธีปักลงบนดิน หรืออาจก่อเป็นแท่นสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่มีซุ้มหลังคาคลุม การทาซุ้มคลุมใบเสมา มานิยมทากันในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างใต้ที่ประดาฐานใบเสมาแต่ละจุดจะมีลูกนิมิตฝังอยู่แห่งละหนึ่ง ลูก ลูกนิมิตนิยมสลักจากศิลาเป็นลูกกลม ๆ ขนาดประมาณเท่าบาตรฝังลงไปในหลุมตรงที่จะปักใบเสมา การที่ต้องฝังลูกนิมิตไว้เข้าใจว่า เพื่อใช้สาหรับเป็นหลักฐานในการสอบ จุดที่ปักใบเสมาในกรณีที่อาจจะ มีการเคลื่อนย้ายของใบเสมาได้ในภายหลัง เพราะลูกนิมิตนั้นฝังอยู่ใต้ดิน การเคลื่อนย้ายย่อมทาให้ยาก กว่าใบเสมาที่ปักอยู่บนดินในการสร้างอุโบสถจึงต้องมีพิธีฝังลูกนิมิตก่อนที่อุโบสถจะสร้างแล้วเสร็จ 
ชนิดของใบเสมา วัดที่มีฐานะเป็นวัดหลวง มักนิยมสร้างใบเสมาเป็นแผ่นหิน ๒ แผ่นปักซ้อนกัน เรียกว่า ใบเสมาคู่ นอกจากจะแบ่งประเภทของใบเสมาเป็นใบเสมาคู่ และใบเสมาเดี่ยวแล้ว ยังมีใบเสมา ชนิดพิเศษอีกชนิด เรียกว่า มหาเสมา คือ ใบเสมาที่หักไว้บนกาแพงโดยรอบเขตของวัดหรือเขต พุทธาวาสแทนที่จะปักไว้เฉพาะรอบเขตอุโบสถ วัดที่มีมหาเสมามีรวมทั้งหมดหกวัด ได้แก่ วัดราช ประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิตสถิตมหาสีมาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดบรม นิวาสและวัดโพธินิมิต วัดที่มีมหาเสมาเหล่านี้สามารถทาสังฆกรรมได้ทั้งอุโบสถและวิหารแทนที่จะเป็น อุโบสถเพียงแห่งเดียว 
สิ่งที่ควรชมเกี่ยวกับอุโบสถ ได้แก่ บริเวณภายนอกอุโบสถ อาทิ รูปทรงของอุโบสถ (ช่อฟ้า ใบระกา ลายอง หางหงส์ นาคสะดุ้ง หน้าบัน แผงแรคอสอง กระจังฐานพระ บัวปลายเสา คันทวย คูหา) หลังคา ซุ้มและบานประตูหน้าต่าง ผนังด้านนอก บริเวณภายในอุโบสถ (พระประธาน ฐานชุกชี ม้าหมู่ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง) 
๓. วิหาร 
อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถแต่ไม่มี วิสุงคามสีมาเหมือนพระอุโบสถ เป็นอาคารที่มีรูปทรงและการประดับตกแต่งคล้ายคลึงกับอุโบสถ เพียงแต่ไม่มีใบเสมาล้อมรอบเหมือนอย่างอุโบสถ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและประกอบศาสนพิธี ต่าง ๆ 
วิหารหลวง คือ วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมต่อกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ หรือเป็นวิหารที่สร้าง อยู่ด้านหน้าเจดีย์ หรือปรางค์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มักเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่สาคัญ 
วิหารทิศ คือ วิหารที่สร้างออกทั้งสี่ด้านของพระสถูปเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุม หรือด้านข้าง เป็น วิหารขนาดย่อมที่สร้างเป็นบริวารของอุโบสถ หรือเจดีย์และปรางค์ที่เป็นประธานของวัด โดยสร้างขึ้น ตรงตามทิศที่สาคัญ ได้แก่ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 10 
วิหารคด คือ วิหารที่มีลักษณะคดอยู่ตรงมุมกาแพงแก้วของอุโบสถ อาจมีหลังเดียวก็ได้ โดยมากจะมีสี่มุม และประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายในเป็นวิหารขนาดย่อม ๆ สร้างอยู่ตามมุมเขต พุทธาวาส มีรูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหักงอเป็นข้อศอก (เหมือนรูปตัวแอล: L ในภาษาอังกฤษ) 
วิหารน้อย และวิหารแกลบ เป็นวิหารขนาดเล็กมาก มักสร้างอยู่โดด ๆ ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ของพุทธาวาสไม่เข้ากลุ่มกับอาคารหลังอื่น ๆ 
๔. เจดีย์และปรางค์ 
เจดีย์และปรางค์ ถือเป็นสิ่งเคารพสังการะที่มีความสาคัญมากในวัดต่าง ๆ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีที่มา แตกต่างกัน แต่คนไทยที่นับถือพุทธศาสนาถือว่ามีความสาคัญเท่าเทียมกันและเป็นสิ่งเคารพบูชาแทน องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน 
เจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง เป็น สถาปัตยกรรมที่ไทยรับเอารูปแบบมาจากสถูปเจดีย์ของอินเดียและศรีลังกาแล้วมาพัฒนาเป็นรูปแบบ ต่าง ๆ กันในภายหลัง สาหรับเจดีย์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเจดีย์ที่ไทยรับแบบมาจากลังกาและ จากอาณาจักรศรีวิชัย โดยได้มีการพัฒนารูปแบบเป็นลักษณะต่าง ๆ ตามความนิยมของช่างไทย ปัจจุบันจะพบเจดีย์แบบต่าง ๆ ที่สาคัญรวม ๖ แบบ ดังนี้ 
๑. เจดีย์แบบลังกา หรือเจดีย์ทรงระฆัง นิยมสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เมื่อมีการนาพุทธ 
ศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่เป็นลักษณะเจดีย์ ซึ่งได้รับต้นแบบมาจากเจดีย์ลังกา ต่อมาช่างไทย ได้ดัดแปลงรายละเอียดบางอย่างที่เพิ่มขึ้นและได้รับการถ่ายทอดแบบมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เจดีย์แบบลังกาที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยบางทีทาเป็นรูปช้างครึ่งตัวยืนรายรอบที่ ฐานองเจดีย์ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อมที่ศรีสัชนาลัย และเจดีย์วัดช้างรอบที่กาแพงเพชร เป็นต้น 
๒. เจดีย์แบบศรีวิชัย หรือเจดีย์ทรงเรือนธาตุ เป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างในอาณาจักรศรีวิชัยใน 
ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งนับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ปัจจุบันรูปแบบเจดีย์ที่มีตัวอย่างสาคัญ คือ พระบรมธาตุไชยาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมและมีเรือนธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสูงขึ้นไป บางทีมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ที่ผนังของเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้านและที่ปลายเรือนธาตุ ทาเป็นยอดแหลมมีหลายยอด 
๓. เจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกา เป็นเจดีย์ที่พบในสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งนาเอารูปแบบของเจดีย์ 
แบบลังกาและแบบศรีวิชัยมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยส่วนล่างของเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงเรือนธาตุแบบศรี วิชัย ส่วนบนเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ฐานและองค์ระฆังสูงทาเป็นเหลี่ยม บ้างมีคูหาประดิษฐาน ตอนบนเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา มีเจดีย์องค์เล็ก ๆ ทั้ง ๔ มุม เจดีย์ราย เจดีย์ ๗ แถว เมืองศรีสัชนา ลัย 
๔. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม เป็นเจดีย์ที่จัดว่าเป็นศิลปะของสุโขทัย 
โดยเฉพาะมีรูปทรงสูงชะลูด ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานพานแว่น ฟ้าและเรือนธาตุที่ทาย่อมุม บางทีมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มของเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้าน ส่วนยอด เจดีย์ทาเป็นรูปทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ข้าวบิณฑ์ หมายถึง ข้าวสุกที่บรรจุใส่ไว้ในพุ่ม ดอกไม้ใช้ในการเซ่นบูชา)
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 11 
๕. เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง เป็นเจดีย์ที่เริ่มมีแพร่หลาย ตั้งแต่มีอยุธยาตอนกลางมาจนถึง 
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งช่างไทยคงจะดัดแปลงเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกาให้เป็นเจดีย์ที่มีฐาน สี่เหลี่ยมและองค์ระฆังรูปสี่เหลี่ยมพร้อมกันนั้นก็มีการย่อมุมทั้ง ๔ ด้าน เพื่อให้ดูสวยงามขึ้น 
๖. เจดีย์แบบพระธาตุพนม หรือเจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม เป็นเจดีย์ที่มีแพร่หลายในภาค 
ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยถือตามรูปแบบของเจดีย์พระธาตุพนมเป็นสาคัญ กล่าวกันว่า เจดีย์แบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียใต้ ประกอบด้วย ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมและตัวเรือนธาตุเป็นรูป สี่เหลี่ยมทรงสูงซ้อนลดหลั่นกัน ๒ หรือ ๓ ชั้น ส่วนยอดตอนบนเป็นรูปทรงดอกบัวเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป 
ปรางค์ เป็นสถาปัตยกรรมในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ รับเอารูปแบบมาจากปราสาทหิน หรือ ปรางค์ของขอมแล้วมาดัดแปลงรูปร่างลักษณะให้เป็นไปตามความนิยมของช่างไทยในระยะเวลาต่อมา ขอมได้สร้างปราสาทหินหรือปรางค์ต่าง ๆ ขึ้นไว้เป็นจานวนมาก เพื่อเป็นศาสนสถานทั้งในศาสนา พราหมณ์ พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ปราสาทหินและปรางค์เหล่านี้พบเห็นได้ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนในภาคอื่น ๆ บางภาคของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย ปรางค์สามยอด และปราสาทเมืองสิงห์ เป็นต้น 
องค์ประกอบของปรางค์ 
๑. นภศูล คือ ส่วนยอดปลายสุดของพระปรางค์ ทาด้วยโลหะหล่อเป็นรูป ๔ แฉก คล้ายปลาย 
ดาบ ต่อซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น ระหว่างกลางแทรกด้วยแกนคล้ายปลายหอก 
๒. บัวกลุ่ม คือ ส่วนของอาคารที่อยู่บนยอดสุดของพระปรางค์ ทาให้รูปกลีบบัวแย้มตั้งรับนภ 
ศูล 
๓. ชั้นรัดประคด คือ ส่วนชั้นของยอดพระปรางค์ที่มีลักษณะโค้งเข้า คล้ายรูปเอว พระภิกษุที่ 
คอดเข้าอันเนื่องมาจากการนุ่งสบงที่รัดด้วยสายรัดประคด 
๔. กลีบขนุน คือ ส่วนตกแต่งที่ประดับแทรกเข้าไปใต้ชั้นรัดประคด ตรงตาแหน่งมุมที่ย่อของแต่ 
ละชั้น 
๕. บันแถลง คือ ส่วนตกแต่งที่ทาเป็นรูปหน้าจั่วอาคารขนาดเล็ก ประดับอยู่ระหว่างกลางของ 
กลีบขนุน คู่ในของชั้นรัดประคด แต่ละชั้นของพระปรางค์ 
๖. ชั้นอัสดง คือ ส่วนของเรือนยอดพระปรางค์ส่วนที่ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุ 
๗. เรือนธาตุ คือ ส่วนที่เป็นตัวเรือนประธานของพระปรางค์ 
๘. ซุ้มคูหา หรือซุ้มทิศ หรือซุ้มประตู คือ ส่วนที่ทาขึ้นประกอบเข้ากับองค์พระปรางค์หรือพระ 
เจดีย์ บริเวณภายนอกอาคารส่วนที่เป็นเรือนธาตุใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมี ๔ ด้าน เรียกว่า ซุ้มทิศ ถ้าพระปรางค์นั้นกลวงมีทางเข้าออก จะเรียกและทาหน้าที่เป็นซุ้มประตู 
๙. ชุดฐานสิงห์ คือ ส่วนที่ทาเป็นฐานสิงห์ ๓ ชั้น ทิศเหนือ ฐานปัทม์ เพื่อรับองค์ เรือนธาตุ 
๑๐. ฐานปัทม์ คือ ส่วนที่เป็นฐานอาคาร ใช้ตั้งรับองค์เรือนธาตุอาคาร 
๑๑. ฐานเขียง คือ ส่วนของโครงสร้างที่เป็นฐานชั้นล่างสุด
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 12 
๕. สิ่งประดับประดาภายในวัด 
ตุ๊กตาหิน วัดหลวงที่สาคัญ ๆ ในกรุงเทพมหานคร มักมีตุ๊กตาหินสลักเป็นรูปคน รูปสัตว์สัตว์ เจดีย์จีน (เรียกว่า ถะ) กระถางต้นไม้ อ่างบัว เสาโคมไฟ ฯลฯ ตกแต่งภายในบริเวณวัด ตุ๊กตาหินเหล่านี้ เป็นของที่นามาจากเมืองจีนในสมัยก่อน ซึ่งส่วนมากจะนาเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อมีการค้าขายกับ จีนมาก เล่ากันว่า เมื่อพ่อค้าชาวจีนบรรทุกสินค้าจากไทยไปขายที่ประเทศจีนนั้นขากลับเรือจะเบาเพราะ มีสินค้าน้อยและเป็นสินค้าที่มีราคาแพงแต่น้าหนักเบา เช่น ผ้าไหมแพรพรรณ เครื่องกระเบื้อง ถ้วยชาม และเครื่องประดับต่าง ๆ พ่อค้าเรือจึงต้องบรรทุกตุ๊กตาหินกลับมาด้วย เพื่อถ่วงเรือให้เรือหนักจะได้ไม่ โคลงเคลง เครื่องถ่วงเรือกันเรืองโคลงนี้ เรียกกันว่า อับเฉา เมื่อเรือมาถึงกรุงเทพ ฯ ก็นาของขึ้นถวาย พระมหากษัตริย์ และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาตุ๊กตาหินเหล่านั้นไปไว้ตามวัดต่าง ๆ ที่โปรด จะพบอยู่มากที่วัดพระเชตุพนฯ วัดสุทัศเทพวราราม วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น ตุ๊กตาหินบางตัวมีขนาดใหญ่มากอย่าง เช่น ตุ๊กตาหินรูปฝรั่งและตุ๊กตาหินรูปงิ้ว หรือลั่นถัน ที่ตั้งอยู่ในวัด พระเชตุพนฯ มีขนาดสูงถึง ๒ เท่าของคนธรรมดา 
รูปยักษ์และฤาษี วัดที่สาคัญบางแห่งนิยมทารูปยักษ์และฤาษี ตั้งไว้ภายในบริเวณอุโบสถ หรือที่ ประตูทางเข้าพระระเบียงที่ขึ้นชื่อมาก ได้แก่ ยักษ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดอรุณราชวราราม ฤาษีที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และฤาษีดัดตนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม การสร้างรูปยักษ์ไว้ นอกจากเพื่อความสวยงามทางด้านศิลปะแล้ว ยังมีความหมายว่าเป็นผู้ที่มีอานาจนั่งเฝ้ารักษาสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ไว้ โดยเฉพาะยักษ์ที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้นามาจากตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งหมดมีรูปร่างหน้าตา และสีสันแตกต่างกัน 
ส่วนการนาฤาษีมาตั้งไว้ในวัดก็ด้วยถือว่า ฤาษีนั้นเป็นผู้มีวิชาความรู้ถือเป็นครูแห่งศิลปะ วิทยาการทั้งปวง โดยไทยรับเอาคตินี้มาจากอินเดีย ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีรูปฤาษีพร้อมแท่นบด ยา ประดิษฐานอยู่ที่ตรงใกล้ประตูทางเข้าพระระเบียงด้านทิศตะวันตกของอุโบสถ ส่วนที่วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม มีรูปฤาษีดัดตนหล่อด้วยดีบุกตั้งอยู่ที่ด้านทิศใต้นอกพระระเบียง รูปฤาษีที่วัดทั้ง ๒ แห่ง นี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ 
รูปสัตว์หิมพานต์และสัตว์บางชนิด นอกจากตุ๊กตาหินยักษ์และฤาษียังนิยมสร้างรูปสัตว์หิม พานต์และสัตว์บางชนิดตั้งไว้เป็นสิ่งประดับตกแต่งภายในวัดด้วยสัตว์ที่พบมาก ได้แก่ สิงห์แบบไทยหรือ แบบเขมรตั้งไว้ตามประตูทางเข้าพระระเบียงหรืออุโบสถ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดเบญจม บพิตร นอกจากนี้ยังมีสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น นาค ช้า และม้า เป็นต้น 
สาหรับสัตว์หิมพานต์นั้น ช่างไทยได้หล่อขึ้นตามจินตนาการ โดยถือว่าเป็นสัตว์พิเศษที่อาศัยอยู่ ในป่าหิมพานต์ที่เชิงเขาพระสุเมรุ ที่น่าชมมาก คือ สัตว์หิมพานต์ ๗ คู่ หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประดิษฐานอยู่ที่หน้าปราสาทพระเทพบิดรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 13 
๗. ประวัติการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย 
การสร้างพระพุทธรูปนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นสิ่งแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการแสดงความ ศรัทธาเลื่อมใสต่อพระศาสดา และเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน และเพื่อเป็นที่สักการบูชาเริ่ม มีขึ้นในแคล้นคันธารราฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในเขตติดต่อระหว่างประเทศ ปากีสถานกับอัฟกานิสถาน) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ ก่อนหน้านั้นยังไม่นิยมสร้างพระพุทธรูปใน ลักษณะที่เป็นรูปเหมือนแต่จะบูชาสิ่งอื่น ๆ เช่น พระธรรมจักร พระพุทธอาสน์ เป็นต้น การสร้าง พระพุทธรูปเริ่มเกิดขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะของชาวกรีซที่สร้างรูปเคารถเป็นเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่ง อิทธิพลของกรีซได้แผ่ขยายมาถึงดินแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียว เมื่อพระเจ้าอเล็ก ซานเดอร์มหาราชทรงกรีธาทัพมาตีได้ดินแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๓ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยแรก ๆ ที่แคว้นคันธารราฐจึงมีรูปร่างพระพักตร์เป็นแบบคนตะวันตก เพราะได้รับอิทธิพลจากศิลปะของกรีซ 
ต่อมาการสร้างพระพุทธรูปได้แพร่หลายออกไปในดินแดนต่าง ๆ ของอินเดีย รวมทั้งได้ แพร่หลายเข้าไปในประเทศอื่น ๆ ที่นับถือพุทธศาสนาด้วย โดยในขั้นแรกพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมักได้ อิทธิพลจากศิลปะของอินเดีย จึงมีรูปร่างลักษณะคล้ายพระพุทธรูปของอินเดีย ต่อมาช่างพื้นเมืองจึงค่อย ๆ ดัดแปลงการสร้างพระพุทธรูปให้เป็นศิลปะของท้องถิ่นมากขึ้น จึงเกิดความแตกต่างระหว่าง พระพุทธรูปที่พบอยู่ในพม่า เขมร ลาว ไทย จีน และญี่ปุ่น 
๘. พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย 
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในดินแดนของประเทศไทย อาจแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ตามความ แตกต่างของศิลปะได้ ดังนี้ 
๑. พระพุทธรูปสมัยทวารวดี 
อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปสลักด้วยศิลาที่หล่อด้วยทอง 
สัมฤทธิ์มีบ้าง แต่มักเป็นขนาดเล็ก รูปร่างลักษณะที่สาคัญพอสังเกตได้ คือ มีขมวดพระเกศาใหญ่ พระ เกตุมาลาเป็นต่อมกลม พระพักตร์แบน พระขนงเป็นเส้นโค้งนูนติดต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนา ตัวอย่างที่ขึ้นชื่อมาก ได้แก่ พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อย พระบาท ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม 
๒. พระพุทธรูปสมัยลพบุรี 
ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ –๑๗ ที่พบมากมักสร้างเป็นพระพุทธรูปนาค 
ปรก สลักจากหินทราย นอกจากนี้ที่สร้างเป็นพระพุทธรูปยืนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ก็มีลักษณะสาคัญของ พระพุทธรูปสมัยลพบุรี คือ 
- พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน (คาง) 
- พระขนงเกือบเป็นเส้นตรง (คิ้ว) 
- มีไรพระศกเป็นขอบนูนเล็ก ๆ อยู่เหนือพระนลาฏ (หน้าผาก) 
- มักมีพระอุษณีย์ทาเป็นรูปกลีบบัวซ้อน (ส่วนนูนกลางของพระเศียร)
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 14 
- ครองจีวรห่อเฉียง ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายยาวลงมาจนถึงราวพระถัน ปลายจีวรตัด เป็นเส้นตรงขอบสบงเผยอเป็นสัน 
- พระพุทธรูปนาคปรกทาเป็นปางสมาธิ 
๓. พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน 
อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ –๒๓ บางทีเรียกว่า ศิลปะล้านนา ถือเป็นการเริ่มต้น ของศิลปะไทยอย่างแท้จริง เมื่อคนไทยตั้งอาณาจักรของตนเองในภาคเหนือของประเทศ ไทยปัจจุบัน พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนแบ่งออกได้เป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นแรก และรุ่นหลัง 
๑. พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก มีลักษณะดังนี้ 
- พระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม ขมวดพระเกศาใหม่ ไม่มีไรพระศก 
- พระพักตร์กลมสั้นและอมยิ้ม 
- พระหนุเป็นปม พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก 
- พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรอยู่เหนือราวพระถันปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ 
- ชอบทาปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร 
๒. พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง มีลักษณะเป็นแบบเชียงแสนปนสุโขทัยมีลักษณะ 
บางอย่างแตกต่างไปจากเชียงแสนรุ่นแรก คือ 
- พระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูมสูงขึ้น หรือเป็นเปลวรัศมี 
- ขมวดพระเกศาเล็กมีไรพระศก 
- พระพักตร์กลม หรือรูปไข่ 
- ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี 
- ชอบทาปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ 
๔. พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย 
อยู่ในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ มีลักษณะส่วนใหญ่ ดังนี้ 
- พระเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมีขมวดพระเกศาเล็ก 
- พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้ม 
- พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก (บ่า ไหล่) 
- ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภีปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ 
- ชอบทาปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบ 
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ได้แก่ 
หมวดวัดตะกวน มีศิลปะแบบเชียงแสนปนมีพระพักตร์กลม หมวดกาแพงเพชร มีพระพักตร์ยาว พระหนุ เสี้ยม และหมวดพระพุทธชินราช มีพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระองค์ค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ มีปลายนิ้วเสมอกัน เชื่อว่าหมวดนี้เริ่มสร้างครั้งรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 15 
๕. พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง 
เป็นศิลปะที่เกิดอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับอาณาจักร 
สุโขทัยในภาคเหนือตอนล่าง คือ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ –๒๐ ถือกันว่าเป็นศิลปะที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างศิลปะทวาราวดี ลพบุรี และสุโขทัย เข้าด้วยกัน 
พระพุทธรูป สมัยอู่ทองมีลักษณะที่สาคัญ คือ 
- พระพักตร์สี่เหลี่ยมมีไรพระศกคล้ายพระพุทธรูปสมัยลพบุรี 
- พระหนุป้าน พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์แบะเล็กน้อย 
- ชายจีวรยาว ปลายตัดเป็นเส้นตรง 
- ปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบ 
๖. พระพุทธรูปสมัยอยุธยา 
อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓ มีลักษณะ ดังนี้ 
- พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบอู่ทอง หรือรูปไข่แบบสุโขทัย มีพระเกตุมาลาเป็นเปลว 
รัศมี ส่วนมากมีไรพระศก 
- ชายจีวรใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายตัดเป็นเส้นตรง 
- พระพุทธรูปทรงเครื่องมักมีกรรเจียกจอนยื่นเป็นครีบออกมาเหนือใบพระกรรณ 
๗. พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ 
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๔ จนถึงปัจจุบัน มีการสร้างพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ 
สมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา เช่น พระประธานในพระอุโบสถที่สาคัญ ได้แก่ วัดอรุณราชวราราม วัดสุ ทัศนเทพวราราม เป็นต้น พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มักมีลักษณะเป็นศิลปะ สมัยอยุธยาปนสมัยอู่ทอง 
ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงคิดแบบพระพุทธรูปโดยให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ 
สามัญยิ่งขึ้น คือ ไม่มีพระอุษณีย์ มีแต่พระเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมีและมีจีวรเป็นริ้ว 
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามแบบที่ทรงคิดขึ้นนี้ ได้แก่ พระสัมพุทธพรรณี ปัจจุบันประดิษฐาน 
ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระนิรันตรายซึ่งพระราชทานไปไว้ตามวัดธรรมยุติกนิกาย ที่สาคัญ ๆ 
พระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งประดิษฐานเป็นประธานที่บริเวณพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็น 
ตัวอย่างของพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ที่สาคัญอีกองค์หนึ่ง ปั้นแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี 
๙. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และพระพุทธรูปประจาวันเกิด 
การสร้างพระพุทธรูปนิยมเป็นปางต่าง ๆ ซึ่งมีอิริยาบถและท่าทางขอพระพุทธรูปแตกต่างกันไป พอสังเกตได้ว่าเป็นปางใด การสร้างพระพุทธรูปเป็นปางต่าง ๆ นี้ ก็เพื่อให้มีความหมายเกี่ยวข้องกับ พุทธประวัติ โดยในขั้นแรกยังคิดปางขึ้นไม่มากนัก ต่อมาจึงค่อย ๆ มีการสร้างปางเพิ่มเติมมากขึ้น ตามลาดับ สาหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีปางพระพุทธรูปมากกว่า ๕๐ ปาง แต่ที่พบเห็นโดยทั่วไปมี
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 16 
ประมาณ ๒๐ –๓๐ ปาง ในที่นี้จะได้นาเสนอเฉพาะปางสาคัญ ๆ บางปาง มาอธิบายให้เห็นลักษณะและ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ดังต่อไปนี้ 
ปางถวายเนตร 
ลักษณะพระพุทธรูป 
พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลง มาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวร ทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ 
ความเป็นมา 
เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระ เนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้ได้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อ สักการบูชาประจาของคนเกิดวันอาทิตย์
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 17 
ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร 
ลักษณะพระพุทธรูป 
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติจะยก มือขวาขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทร จะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้าง เป็นปางห้ามญาติ และนิยมทาเป็นแบบพระทรงเครื่อง 
ความเป็นมา 
ปางห้ามญาติเกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธ มารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่งของแม่น้าโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้าเพื่อไป เพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพทาสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ คือ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน 
ส่วนปางห้ามสมุทรเป็นพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวกชฎิล (นักบวชประเภทหนึ่งที่นุ่งห่ม หนังเสือ และนิยมบูชาไฟ) 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ ริมฝั่งแม่น้าเนรัญชราพร้อมบริวาร 1,000 คน โดยได้แสดงพุทธปาฏิหารย์หลายอย่างเพื่อทาลายทิฎฐิ มานะของชฎิลทั้งหลาย เช่น ห้ามลม ห้ามฝน ห้ามพายุ และห้ามน้าท่วมที่เจิ่งนองตลิ่งมิให้มาต้องพระ วรกายได้ อีกทั้งยังสามารถเดินจงกรมอยู่ใต้พื้นน้าได้ ทาให้พวกชฎิลเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และยอมบวช เป็นพุทธสาวก เป็นพระพุทธรูปประจาวันจันทร์
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 18 
ปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน 
ลักษณะพระพุทธรูป 
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบ พระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) 
ความเป็นมา 
ปางไสยาสน์ หรือบางทีก็เรียก ปางปรินิพพาน เป็นพุทธประวัติตอนที่พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้ พระจุนทะเถระปูอาสนะลงที่ระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง แล้วทรงประทับบรรมทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยไม่ เสด็จลุกขึ้นอีก แต่ก็ยังได้โปรดสุภัททะปริพาชกเป็นอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่าไห้ คร่าครวญถึงพระองค์ พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระ ได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อราลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้ สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์ 
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าถึงปางนี้อีกนัยหนึ่งคือ ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ พระเชตวันมหาวิหาร "อสุรินทราหู" หรือ "พระราหู" ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับคาสรรเสริญถึงพระเกียรติ คุณของพระบรมศาสดาจากสานักเทพยดาทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาอยากจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เจ้าบ้าง แต่ก็คิดคานึงไปเองว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ คงต้องมีพระวรกายที่เล็ก หากตนจะไปเฝ้าก็ จะต้องก้มมองเป็นความลาบากมาก อีกทั้งตนก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใคร คิดแล้วก็ไม่ไปเฝ้า 
ต่อมาได้ยินพวกเทวดาสรรเสริญพระพุทธองค์อีก ก็เกิดความอยากไปเฝ้าอีก จึงวันหนึ่งได้ตั้งใจ ไปเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบด้วยญาณ รวมทั้งทราบถึงความในใจของอสุรินทราหู จึงทรงเนรมิตพระ วรกายให้ใหญ่โตกว่ากายของอสุริทราหูหลายเท่าขณะเสด็จบรรทมรอรับ ดังนั้น เมื่อมาเข้าเฝ้า แทนที่อสุ รินทราหูจะต้องก้มมอง กลับต้องแหงนหน้าดูพระพุทธองค์ จึงเกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง พระพุทธเจ้าจึงได้ ตรัสสอนว่า ข่าวลือหรือเรื่องใดๆหากไม่เห็นด้วยตนเอง หรือยังไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ ก็ไม่ควรติชมไป
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย

More Related Content

What's hot

อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ Tha WaiHei
 
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย  ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย Bom Anuchit
 
เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆ
เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆ
เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆAnchalee BuddhaBucha
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียToey Songwatcharachai
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการpraphol
 
ศิลปะไทย
ศิลปะไทยศิลปะไทย
ศิลปะไทยTonkao Limsila
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนChittraporn Phalao
 
ตุง
ตุงตุง
ตุงYim My
 
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
ธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรมธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรมWichien Juthamongkol
 
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวบุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวSomyot Ongkhluap
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง Patzuri Orz
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนInfinity FonFn
 
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์พัน พัน
 
กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน
กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถานกฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน
กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถานChacrit Sitdhiwej
 

What's hot (20)

อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์
 
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย  ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
 
T guide2
T  guide2T  guide2
T guide2
 
เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆ
เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆ
เปรียบเทียบความเชื่อเรื่องความดีความชั่วในศาสนาต่างๆ
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
 
ศิลปะไทย
ศิลปะไทยศิลปะไทย
ศิลปะไทย
 
T guide 6
T  guide 6T  guide 6
T guide 6
 
T guide1
T guide1T guide1
T guide1
 
Script vdo สพก
Script vdo สพกScript vdo สพก
Script vdo สพก
 
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผนแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
แผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
 
ตุง
ตุงตุง
ตุง
 
T guide 7
T    guide 7T    guide 7
T guide 7
 
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
 
ธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรมธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรม
 
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวบุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์
 
กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน
กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถานกฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน
กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเขตโบราณสถาน
 

Viewers also liked

ศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
ศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยาศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
ศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยาPadvee Academy
 
สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทยสถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทยpongpangud13
 
ศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี
ศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรีศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี
ศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรีPattharapong Sirisuwan
 
ปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะ
ปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะ
ปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะPadvee Academy
 
ศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสน
ศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสนศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสน
ศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสนWiwat Sr.
 
คำศัพท์การท่องเที่ยว
คำศัพท์การท่องเที่ยวคำศัพท์การท่องเที่ยว
คำศัพท์การท่องเที่ยวleemeanxun
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยวchickyshare
 
Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015
Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015
Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015Silpakorn University
 
Sustainable tourism planning part x xi xii apr 2015
Sustainable tourism planning part x xi xii  apr 2015Sustainable tourism planning part x xi xii  apr 2015
Sustainable tourism planning part x xi xii apr 2015Silpakorn University
 
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015Silpakorn University
 
Sustainable tourism planning part iii iv v feb 2015
Sustainable tourism planning part iii iv v  feb 2015Sustainable tourism planning part iii iv v  feb 2015
Sustainable tourism planning part iii iv v feb 2015Silpakorn University
 
ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)
ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)
ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)Horania Vengran
 
แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล เกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)
แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเลเกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES) แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเลเกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)
แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล เกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES) Radda Larpnun
 
110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
เทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียน
เทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียนเทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียน
เทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียนCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 

Viewers also liked (20)

ศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
ศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยาศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
ศิลปะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
 
สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทยสถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย
 
ศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี
ศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรีศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี
ศิลป์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี
 
ปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะ
ปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะ
ปรัชญาธรรมและความงามจากพุทธศิลปะ
 
ศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสน
ศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสนศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสน
ศิลปะ ลพบุรี และ เชียงแสน
 
คำศัพท์การท่องเที่ยว
คำศัพท์การท่องเที่ยวคำศัพท์การท่องเที่ยว
คำศัพท์การท่องเที่ยว
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว
 
Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015
Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015
Sustainable tourism planning part i and ii jan 2015
 
Sustainable tourism planning part x xi xii apr 2015
Sustainable tourism planning part x xi xii  apr 2015Sustainable tourism planning part x xi xii  apr 2015
Sustainable tourism planning part x xi xii apr 2015
 
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015
 
Sustainable tourism planning part iii iv v feb 2015
Sustainable tourism planning part iii iv v  feb 2015Sustainable tourism planning part iii iv v  feb 2015
Sustainable tourism planning part iii iv v feb 2015
 
ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)
ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)
ศิลปะสมัยทวารวดี(TH)
 
Eco
EcoEco
Eco
 
แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล เกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)
แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเลเกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES) แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเลเกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)
แนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล เกี่ยวกับการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (PES)
 
T guide5
T guide5T guide5
T guide5
 
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
 
110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
110+hisp3+dltv54+550118+a+สไลด์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
 
114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
114+hisp3+dltv54+550125+a+สไลด์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น(1หน้า)
 
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
 
เทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียน
เทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียนเทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียน
เทศกาลและพิธีกรรมของประเทศอาเซียน
 

Similar to วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย

ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกMakuro DarkSoul
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกMakuro DarkSoul
 
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1Junior'z Pimmada Saelim
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1 Junior'z Pimmada Saelim
 
วัดโพธิ์
วัดโพธิ์วัดโพธิ์
วัดโพธิ์suriya phosri
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารzubasa_potato
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารPRINTT
 
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)sungetbackers
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์A'mp Minoz
 
พระราชวังเดิม
พระราชวังเดิมพระราชวังเดิม
พระราชวังเดิมPRINTT
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
วัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยวัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยchanaporn sornnuwat
 
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาguest70f05c
 

Similar to วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย (20)

ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
 
วัด
วัดวัด
วัด
 
Wat arun
Wat arunWat arun
Wat arun
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
 
วัดโพธิ์
วัดโพธิ์วัดโพธิ์
วัดโพธิ์
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
 
Wat pho part01
Wat pho part01Wat pho part01
Wat pho part01
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
 
พระราชวังเดิม
พระราชวังเดิมพระราชวังเดิม
พระราชวังเดิม
 
Ita
ItaIta
Ita
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
วัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยวัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทย
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 

More from chickyshare

สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทยสังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทยchickyshare
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคchickyshare
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยchickyshare
 
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยchickyshare
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourismchickyshare
 
มคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guideมคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guidechickyshare
 
T business 3 {student}
T business 3 {student}T business 3 {student}
T business 3 {student}chickyshare
 
T business 2 {student}
T business 2 {student}T business 2 {student}
T business 2 {student}chickyshare
 
มคอ.3 tourism business
มคอ.3  tourism businessมคอ.3  tourism business
มคอ.3 tourism businesschickyshare
 

More from chickyshare (12)

สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทยสังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
 
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
 
Asean market
Asean marketAsean market
Asean market
 
History 1
History 1History 1
History 1
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourism
 
3.นทท.
3.นทท.3.นทท.
3.นทท.
 
มคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guideมคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guide
 
T business 3 {student}
T business 3 {student}T business 3 {student}
T business 3 {student}
 
T business 2 {student}
T business 2 {student}T business 2 {student}
T business 2 {student}
 
มคอ.3 tourism business
มคอ.3  tourism businessมคอ.3  tourism business
มคอ.3 tourism business
 

วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย

  • 1. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 1 เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง วัด พระพุทธรูปในสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) อ.ยุพิน อุ่นแก้ว
  • 2. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 2 วัดและพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย ความนา เนื่องจากวัดเป็นสถานที่ซึ่งนักท่องเที่ยวสนใจ ในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและ ศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น วัดจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมไป ท่องเที่ยว ตลอดจนพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีความสาคัญกับพุทธ ศาสนาที่พุทธศาสนิกชนควรรู้ ๑. วัดและชนิดของวัด วัด หมายถึง สถานที่ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งปกติมีพระอุโบสถ พระเจดีย์ พระวิหาร รวมทั้งมี พระภิกษุสงฆ์อยู่ด้วย วัดแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสานักสงฆ์ ๑.๑ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา คือวัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทาสังฆกรรมได้ วิสุงคามสีมาในที่นี้ หมายถึง เขตพื้นที่ที่พระภิกษุสงฆ์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่สงฆ์ เพื่อ ใช้เป็นที่สร้างอุโบสถ ๑.๒ สานักสงฆ์ คือ วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสานักสงฆ์ ๒. การสร้างวัดในประเทศไทย ในสังคมไทย คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาในลัทธิเถรวาท หรือหินยานผ่านมาทางสายของ ลังกา (แบบลังกาวงศ์) การสร้างวัดจึงสืบทอดแบบอย่างการสร้างศาสนสถานที่เป็นอิทธิพลมาจากลังกา แต่อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ชาวไทยสร้างวัดนั้น เพื่อให้เป็นศาสนถานเพื่อเอื้อต่อการกระทาศาสนพิธี และ ผลมาจากคาสอน ไตรภูมิ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้น โดยพระยาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ของ ปุพเพกตปุญญตา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสวรรค์และนรก จนทาให้สาระสาคัญที่แท้จริง คือ การ นิพพานนั้นกลายเป็นเรื่องรองไป การปลูกฝังเรื่องของสวรรค์และนรกนี้ มีผลต่อพฤติกรรมของคนไทย โดยตลอด และมีพื้นฐานความเชื่อว่า บุญและกรรม คือ วิถีไปสู่สวรรค์และนรก ซึ่งภาพของสวรรค์ คือ ดินแดนที่เต็มไปด้วยความสุข ความสวยงามและความดีงาม ส่วนนรก คือ ดินแดนที่น่าสะพรึงกลัว เต็ม ไปด้วยความทุกข์ความทรมาน ความเชื่อเหล่านี้แม้จะขัดแนวทางพระพุทธศาสนาแต่ในแง่ดี คือ ทาให้ เกิดความกลัวในเรื่องของการทาความชั่ว ขณะเดียวกันก็โน้มน้าวให้คนทาแต่ความดีเพื่อที่จะได้ขึ้น สวรรค์ หรือได้เกิดใหม่ในภพภาคหน้าที่เพียบพร้อมด้วยฐานะที่สูงส่ง หรือเพื่อสั่งสมบุญเพื่อเกิดใหม่ใน ยุคเดียวกับพระศรีอาริยเมตไตรย์ คนไทยมีความเชื่อว่าการทาบุญให้อานิสงส์มากที่สุด คือ การสร้างวัด เหตุนี้ คนไทยจึงนิยมสร้างวัดมาทุกยุคทุกสมัย
  • 3. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 3 มูลเหตุการสร้างวัดในประเทศไทย - สร้างเพื่อให้เป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมือง - สร้างเพื่อให้เป็นวัดประจาวัง - สร้างเพื่อใช้เป็นวัดประจารัชกาล - สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ - สร้างขึ้นบนพื้นที่เดิมซึ่งเคยเป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพ หรือพระบรมศพ - สร้างขึ้น ณ ที่ปรากฏเหตุการณ์สาคัญ - สร้างขึ้นตามคติประเพณีนิยมบางประการ ๓. ฐานะของวัด วัดในสถานะที่เป็นศูนย์กลางของสังคม มีความสาคัญและบทบาทหน้าที่ ดังนี้ (เนตรนภา นาค วัชระ และคณะ, 2525) ๑. วัดในฐานะตัวแทนความเจริญและความมั่นคงของแผ่นดิน ๒. วัดในฐานะสถาบันผู้สืบทอดศาสนาให้ยั่งยืน ๓. วัดในฐานะสถานที่ให้การศึกษา ๔. วัดในฐานะที่พึ่งทางกายและใจของสังคม ๕. วัดในฐานะศูนย์รวมศิลปกรรม ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ในประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๐๕ กาหนดไว้ว่า วัดมี ๒ ชนิด คือ ๑. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ๒. สานักสงฆ์ วิสุงคามสีมา หมายถึง เขตพื้นที่ที่พระภิกษุสงฆ์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อใช้ จัดตั้งวัดขึ้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นการขอพระบรมราชานุญาตเฉพาะแต่บริเวณที่ตั้งพระอุโบสถเท่านั้น สานักสงฆ์ หมายถึง สถานที่ตั้งพานักอาศัยของหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งไม่ได้ขอพระบรมรา ชานุญาตใช้ผืนที่ดินแห่งนั้น เพื่อจัดตั้งเป็นวัด ดังนั้น สานักสงฆ์จึงไม่มีโรงพระอุโบสถเพื่อใช้เป็นที่ทา สังฆกรรม ๓.๑ การแบ่งระดับของวัด วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ถือว่า เป็นวัดที่ถูกต้องและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม กฎหมาย วัดประเภทนี้ยังแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ “วัดหลวงหรือพระอารามหลวง” กับ “วัดราษฎร์” วัดหลวง หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้าง หรือ วัดที่รัฐบาล หรือราษฎรทั่วไปสร้างขึ้นแล้วทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ วัดราษฎร์ หมายถึง วัดที่ราษฎรทั้งหลายสร้างขึ้นตามศรัทธา
  • 4. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 4 ๓.๑.๑ วัดหลวงหรือพระอารามหลวง แบ่งออกได้เป็น ๓ ชั้น คือ ๑. พระอารามหลวงชั้นเอก หมายถึง วัดที่มีเจติยสถานสาคัญ เป็นวัดที่บรรจุพระ บรมอัฐิหรือวัดที่มีเกียรติอย่างสูง มีเจ้าอาวาสเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ขึ้นไป ๒. พระอารามหลวงชั้นโท หมายถึง วัดที่มีเกียรติ มีเจ้าอาวาสเป็นพระราชาคณะ สามัญขึ้นไป ๓. พระอารามหลวงชั้นตรี หมายถึง วัดที่มีเกียรติหรือวัดสามัญ เจ้าอาวาสเป็นพระครู ขั้นสูงขึ้นไป พระอารามหลวง แบ่งตามฐานันดรศักดิ์ ได้ ๔ ชนิด คือ ๑. ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรืปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ โดยที่สิ่งปลูกสร้างนั้นมีขนาดใหญ่โตสม พระเกียรติ ๒. ชนิดวรมหาวิหาร ลักษณะเดียวกับชนิดราชวรมหาวิหาร แต่มีความสาคัญน้อยกว่า ๓. ชนิดราชวรวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระ ยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ๔. ชนิดวรวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระ ยุพราช ทรงสร้างหรืปฏิสังขรณ์แล้วพระราชทานเป็นเกียรติแก่ผู้อื่น พระอารามหลวงแต่ละชั้นมิได้ หมายถึงว่าจะมีชนิดของพระอารามครบทั้ง 4 ประเภท ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับความสาคัญของสถานที่ ขนาดและผู้สร้าง ซึ่งจะเป็นสิ่งกาหนดชนิดของพระอาราม ดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการจัดแบ่งชนิดของพระอารามตามระดับชั้นดังนี้ พระอารามหลวงชั้นเอก แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1. ราชวรมหาวิหาร 2. ราชวรวิหาร 3. วรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 1. ราชวรมหาวิหาร 2. ราชวรวิหาร 3. วรมหาวิหาร 4. วรวิหาร พระอารามหลวงชั้นตรี แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1. ราชวรวิหาร 2. วรวิหาร 3. สามัญ ไม่มีสร้อยต่อท้ายชื่อ
  • 5. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 5 การกาหนดแบ่งชนิดของพระอารามหลวงเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ วัด หลวงที่มีฐานะสูงสุด คือ ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร มีรวมทั้งหมด ๖ วัด อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ๔ วัด คือ วัดพระเชตุพน ฯ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดมหาธาตุ ฯ และวัดอรุณราชวราราม ที่เหลืออีก ๒ วัดอยู่ในต่างจังหวัด ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ข้อน่าสังเกต คือ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว มิได้จัดอยู่ในชั้นหนึ่งชั้นใดเหมือน พระอารามหลวงอื่น ๆ ทั้งนี้ เพราะวัดนี้มีแต่พุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จาพรรษาอย่างวัดอื่นทั่ว ๆ ไป ๓.๒.๒ วัดราษฎร์ คือ วัดที่ราษฎรทั้งหลายสร้างขึ้นตามความศรัทธา และไม่มีการแบ่งชั้นแต่ อย่างใด ๔. วัดประจารัชกาลและวัดที่บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลต่าง ๆ ๔.๑ วัดประจารัชกาล พระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ได้ทรงสร้างวัดที่สาคัญ ๆ ขึ้นไว้ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๕ และถือว่าเป็นวัดประจารัชกาลต่าง ๆ ตามลาดับ ดังนี้ รัชกาลที่ ๑ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รัชกาลที่ ๒ วัดอรุณราชวราราม รัชกาลที่ ๓ วัดราชโอรสาราม รัชกาลที่ ๔ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม รัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สาหรับรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสร้างวัดที่สาคัญไว้สองวัด คือ วัดราชบพิธ ฯ และวัดเพญจม บพิตร ฯ โดยสร้างวัดราชบพิธ ฯ ตอนต้นรัชกาล และสร้างวัดเบญจมพิตร ฯ ตอนปลายรัชกาล ทั้งนี้ถือ ว่าวัดราชบพิธ ฯ เป็นวัดประจารัชกาลที่ ๕ ส่วนพระบรมราชสรีรังคารของพระองค์ไว้บรรจุไว้ที่ฐานของ พระประธานในอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ฯ หลังจากรัชกาลที่ ๕ แล้ว รัชกาลต่อ ๆ มา ไม่ได้สร้างวัดที่สาคัญขึ้นเป็นวัดประจา รัชกาลอีก เป็นแต่เพียงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเดิมที่มีอยู่แล้วเท่านั้น ๔.๒ วัดที่บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลต่าง ๆ ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปบรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดพระเชตุ พน ฯ ด้วยทรงเห็นว่า วัดพระเชตุพน ฯ เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างขึ้นเป็นวัดประจารัชกาล นอกจากนั้นยังได้โปรดให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารของพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไป บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดอรุณวราชวราราม และพระบรมราชสรีรังคารของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไปบรรจุที่ฐานของพระประธานวัดราชโอรสาราม หลังจากนั้นจึง เป็นประเพณีที่นาพระบรมราชสรีรังคารของพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตแล้วไปบรรจุไว้ที่ฐานของ พระพุทธรูปสาคัญในวัดประจารัชกาล หรือวัดที่ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น ซึ่งเรียงตามลาดับรัชกาลดังต่อไปนี้ คือ
  • 6. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 6 รัชกาลที่ ๑ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดพระเชตุพน ฯ รัชกาลที่ ๒ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดอรุณราชวรราม รัชกาลที่ ๓ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดราชโอรสาราม รัชกาลที่ ๔ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ฯ รัชกาลที่ ๕ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ รัชกาลที่ ๖ บรรจุไว้ที่ฐานของพระร่วงโรจนฤทธิ์ในวิหารทิศเหนือวัดพระปฐมเจดีย์ รัชกาลที่ ๗ บรรจุไว้ที่ฐานของพระประธานในอุโบสถวัดราชบพิธฯ รัชกาลที่ ๘ บรรจุไว้ที่ฐานของพระศรีศากยมุนีในวัดสุทัศนเทพวราราม ๕. การแบ่งเขตภายในวัด วัดโดยทั่วไป นิยมแบ่งเขตพื้นที่ภายในออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ ๆ คือ ๑) เขตพุทธาวาส เป็นพื้นที่สาหรับพระสงฆ์ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเสมือน สัญลักษณ์แห่งสถานที่ประทับขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคาว่า พุทธาวาส มีความหมายเป็น สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า (พุทธาวาส = พุทธะ + อาวาส) เขตพุทธาวาสมักประกอบด้วย สถาปัตยกรรมหลักสาคัญ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์และพิธีกรรมต่าง ๆ คือ พระเจดีย์ พระมณฑป พระปรางค์: อาคารที่สร้างเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางหลักของวัด พระอุโบสถ: อาคารที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในการทาสังฆกรรม พระวิหาร: อาคารที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาระหว่างพระสงฆ์และฆราวาส เจดีย์ (มณฑป ปรางค์) ราย เจดีย์ (มณฑป ปรางค์) ทิศ: อาคารที่ใช้บรรจุอัฐิ หรือ ประกอบเพื่อให้ผังรวมสมบูรณ์ หอระฆัง: อาคารที่ใช้เป็นเครื่องตีบอกเวลาสาหรับพระภิกษุสงฆ์ ศาลาต่าง ๆ เช่น ศาลาราย คือ อาคารที่ใช้เป็นที่นั่งพักของผู้มาเยือน ศาลาทิศ คือ อาคารที่ใช้ ล้อมอาคารสาคัญสาหรับให้คฤหัสถ์นั่งพัก หรือประกอบเพื่อให้ผังรวมสมบูรณ์ พระระเบียง: อาคารที่ล้อมอาคารหลักสาคัญหรือล้อมแสดงขอบเขตแห่งพุทธาวาส พลับพลาเปลื้องเครื่อง: อาคารที่ใช้สาหรับเป็นที่พระมหากษัตริย์เปลี่ยนชุดฉลอง พระองค์ในวาระที่ทรงเสด็จพระราชดาเนินเพื่อบาเพ็ญพระราชกุศล กาแพงแก้ว : กาแพงที่ล้อมรอบอาคารสาคัญ หรือเขตพุทธาวาส พระเจดีย์ พระปรางค์ และพระมณฑป ถือเป็นอาคารที่สาคัญที่สุดในฐานะหลักประธานวัด จึง มักถูกวางตาแหน่งลงในผังตรงส่วนที่สาคัญที่สุดของเขตพุทธาวาส เช่น บริเวณกึ่งกลางหรือศูนย์กลาง หรือแกนกลางของผัง อาคารสาคัญรองลงมากลุ่มแรก คือ พระอุโบสถและพระวิหาร ซึ่งอาคารทั้ง 2 ประเภทนี้ มักใช้ประกอบคู่กันกับพระเจดีย์เสมอ หรืออาจใช้ประกอบร่วมกันทั้ง 3 ประเภท คือ พระ อุโบสถ พระเจดีย์ แ ละพระวิหาร ทั้งนี้เนื่องเพราะอาคารทั้งสอง ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทาง
  • 7. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 7 ศาสนา พระอุโบสถหรือพระวิหาร จึงมักวางทางด้านหน้าของพระเจดีย์เสมอในลักษณะของแนวแกนดิ่ง เพื่อว่าเวลาประกอบพิธีกรรม ทุกผู้ทุกนาม ณ ที่นั้นจะได้หันหน้าไปยังพระองค์ และถึงแม้ว่าบางครั้งจะมี การใช้ประกอบร่วมกันทั้งสามอย่างก็ตาม อาทิเช่น พระวิหารวางด้านหน้าสุด มีพระเจดีย์อยู่กลาง และ พระอุโบสถอยู่ด้านหลัง ตัวพระอุโบสถด้านหลังนั้น ก็มักจะหันส่วนหน้าของอาคารไปทางด้านหลังด้วย เพื่อว่าเวลาที่เข้าไปทาสังฆกรรม จะยังคงสามารถหันหน้าเข้าสู่องค์พระเจดีย์ได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามตาแหน่งของอาคารก็ไม่มีข้อกาหนดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวเสมอไป (ยกเว้นพระ เจดีย์ ที่ยังคงตั้งอยู่ในตาแหน่งหลัก) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวความคิดและคตินิยมของแต่ละสมัยเป็นปัจจัย สาคัญสาหรับอาคารประเภทอื่น ๆ เช่น พระระเบียง ศาลาราย จะปรากฏร่วมในผังในลักษณะอาคารรอง กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบที่สร้างให้ผังมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไม่ว่าจะในแง่ของประโยชน์ใช้สอย หรือในเชิงความหมายของสัญลักษณ์ตามคติความเชื่อก็ตาม โดยมักปรากฏในลักษณะที่โอบล้อมกลุ่ม อาคารหลักประธานสาคัญเหล่านั้น ลักษณะการวางตาแหน่งอาคารในผังเขตพุทธาวาส พื้นฐานพุทธสถาปัตยกรรมของไทยมีแบบ แผนและแนวความคิดรวมทั้งคติความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียและลังกา เนื่องจากศาสนาพุทธใน ไทยได้รับการเผยแพร่มาจากทั้งอินเดียโดยตรง และผ่านทางลังกา แม้ว่าจะมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุค สมัย แต่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงนั้นยังคงตั้งอยู่บนกรอบของเค้าโครงที่เป็นแม่บทเดิม นั่นคือ การสร้างพระเจดีย์ให้เป็นประธานของพระอาราม โดยมีพระวิหารซึ่งเป็นสถานที่สาหรับประกอบ พิธีกรรมอยู่เบื้องหน้า ซึ่งได้พัฒนาการมาจากการสร้างพระเจดีย์อยู่ตอนท้ายของ “เจติยสถาน” ภายใน ถ้าวิหารของพุทธสถานในอินเดีย ก่อนที่จะมีการสร้างอาคารที่เป็นพระวิหารในที่แจ้งขึ้น โดยพระเจดีย์ นั้นหลุดออกไปอยู่นอกอาคาร ๒) เขตสังฆาวาส หมายถึง ขอบเขตบริเวณพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัด ที่กาหนดไว้ให้เป็นที่อยู่ อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพิธีการใดทางศาสนา โดยตรง คาว่า สังฆาวาส มาจาก สงฆ์ + อาวาส แปลว่า ที่อยู่แห่งหมู่สงฆ์ พื้นที่บริเวณนี้จึงมักมี ขอบเขตที่มิดชิดและประกอบไปด้วยอาคารสถานที่สัมพันธ์เฉพาะกับกิจกรรมและวัตรปฏิบัติที่เป็นวิถี แห่งการดาเนินชีวิตของเพศสมณะเท่านั้น อันได้แก่ ๑. กุฏิ: อาคารที่ใช้สาหรับอาศัยหลับนอน ๒. กัปปิยกุฎี: โรงเก็บอาหาร ๓. หอฉัน: อาคารที่ใช้เป็นที่ฉันภัตตาหาร ๔. วัจจกุฎี: อาคารสาหรับใช้ขับถ่าย ๕. ศาลาการเปรียญ: อาคารที่ใช้เป็นที่เรียนหนังสือของพระสงฆ์ ๖. หอไตร: อาคารที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ๗. ชันตาฆร: โรงรักษาไฟและต้มน้า ๘. ธรรมศาลา: โรงเทศนาธรรม ๙. ห้องสรงน้า: ห้องชาระกาย ๑๐. ศาลาท่าน้า: อาคารที่ใช้เป็นท่าและทางเข้าสู่วัดทางน้า
  • 8. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 8 ลักษณะการวางตาแหน่งอาคารในผังเขตสังฆาวาส กุฏิถือเป็นอาคารหลักสาคัญ โดยมีอาคาร ประเภทอื่นประกอบเพื่อประโยชน์ใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกัน ส่วนใหญ่ไม่มีกฎเกณฑ์การวางผังมากนัก นอกจากประเภทของวัด ชั้นของวัด ที่ตั้ง รวมทั้งขนาดยังมีผลต่อการจัดวางผังขอบเขตนี้ กล่าวคือ หาก เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในแถบถิ่นชนบท นิยมวางตัวกุฎิกระจายตัวเป็นหลัง ๆ อาคารที่เป็น องค์ประกอบรองหลังอื่น ๆ ก็จะจัดวางอยู่ในตาแหน่งที่สะดวกต่อการใช้สอยของพระภิกษุ ส่วนใหญ่จะ จัดกุฎิให้อยู่เป็นกลุ่ม โดยอาจแยกเป็นหลัง ๆ หรือ ต่อเชื่อมด้วยชานเป็นหมู่หรือคณะ ฯ มีหอฉันอยู่ตรง กลางชาน ถัดเลยออกมาก็จะเป็นเรือนเว็จกุฏี ซึ่งปัจจุบันอาจรวมเข้ากับห้องสรงน้าและมักสร้างต่อเรียง เป็นแถว ๆ สาหรับกัปปิยกุฎีหรือโรงเก็บอาหารก็มักรวมเข้ากับเรือนชันตาฆรเป็นอาคารหลังเดียวกัน โดยอาจมีเพียงจุดเดียวรวมกันสาหรับวัดขนาดเล็ก หรือแยกเฉพาะตามหมู่หรือคณะสาหรับวัดขนาด ใหญ่ ส่วนหอไตรก็จะแยกออกไปตั้งเดี่ยวอยู่กลางสระน้าใหญ่ เช่นเดียวกับศาลาการเปรียญที่มักตั้งอยู่ ในตาแหน่งที่พระสงฆ์ทั้งปวง สามารถเข้ามาใช้สอยได้อย่างสะดวกทั่วถึง ขณะเดียวกันก็สามารถเอื้อต่อ ประชาชนที่เข้ามาใช้ประโยชน์ด้วย มักวางอยู่ด้านหน้าเขตสังฆาวาส หรือบริเวณส่วนที่ต่อกับเขต พุทธาวาส หรืออาจอยู่ทางด้านข้างของเขตธรณีสงฆ์ ที่ประชาชนสามารถเข้ามาได้ง่าย วัดที่มีขนาดใหญ่มักแบ่งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสออกจากกันอย่างชัดเจน โดยมีกาแพง หรือถนน หรือคูน้ากั้นไว้ สาหรับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นใน พระบรมมหาราชวังไม่มีพระสงฆ์จาพรรษาอยู่จึงมีแต่เพียงพุทธาวาสเท่านั้นไม่มีเขตสังฆาวาส 3) เขตธรณีสงฆ์ หมายถึง เขตพื้นที่ในพระอารามที่วัดกาหนดพื้นที่บางส่วนที่เหลือจากการ จัดแบ่งเขตสาคัญ คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส ให้เป็นเขตพื้นที่สาหรับเอื้อประโยชน์ใช้สอยใน เชิงสาธารณะประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ของวัด เช่น ใช้เป็นพื้นที่เปิดโล่งเพื่อสร้างความร่มรื่นให้วัด หรือใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารอื่น ๆ เช่น สร้างเมรุสาหรับฌาปนกิจศพชุมชน ตั้งโรงเรียนเพื่อให้ การศึกษาแก่สังคม แบ่งเป็นพื้นที่ให้คฤหัสถ์เช่าเพื่อให้เป็นแหล่งทามาหากิน อาทิ การสร้างตึกแถว หรือทาเป็นตลาด เป็นต้น การแบ่งพื้นที่วัดออกเป็น 3 ส่วนนี้ ในเชิงการออกแบบทางสถาปัตยกรรมจึง ให้หมายถึงส่วนหนึ่ง คือ เขตพุทธาวาสถูกใช้เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-Public Zone) อีกส่วนหนึ่ง คือ เขตสังฆาวาสที่ใช้เป็นพื้นที่ส่วนตัว (Private Zone) สาหรับคนทั่วไป ๖. อาคารสิ่งก่อสร้างที่สาคัญภายในบริเวณวัด ๑. อุโบสถ หรือโบสถ์ ถือเป็นอาคารที่สาคัญภายในวัด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประชุมของสงฆ์ เพื่อทาสังฆกรรม วัดในปัจจุบันมักสร้างอุโบสถให้มีขนาดใหญ่กว่าอาคารหลังอื่น ๆ และตั้งอยู่ในบริเวณ ใจกลางของพุทธาวาส เพื่อให้แลดูเด่นเป็นประโนของวัด ในวัดขนาดใหญ่บางครั้งเมื่อเข้าไปบริเวณวัด อาจเป็นการยากที่จะรู้ได้ว่าอาคารหลังใดเป็นอุโบสถและหลังใดเป็นวิหาร เพราะมีรูปแบบการสร้าง คล้ายคลึงกัน และบางทีก็มีขนาดไล่เลี่ยกัน การจะสังเกตว่าอาคารหลังใดเป็นอุโบสถดูได้ที่ใบเสมา ซึ่งจะ มีอยู่รอบบริเวณอุโบสถ ส่วนวิหารไม่มี
  • 9. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 9 ๒. ใบเสมาและลูกนิมิต คือ เครื่องหมายบอกเขตอุโบสถในวัด หรือใช้สาหรับกาหนดเขตในวัดหรือใช้สาหรับกาหนดเขตวัดหรือที่ ของสงฆ์ ลูกนิมิตนั้นมีลักษณะกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ใช้ฝังอยู่ใต้ฐานเสมา โดยรอบ เข้าใจว่าเป็นประเพณีทามาแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนใหญ่ทาเป็นแผ่นดินสลักเจียนเป็นรูป คล้ายเจว็ดในศาลพระภูมิปักไว้บนลานรอบอุโบสถรวม ๘ แห่ง ในสมัยสุโขทัยและอยุธยา การปักใบ เสมาใช้วิธีปักลงบนดิน หรืออาจก่อเป็นแท่นสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่มีซุ้มหลังคาคลุม การทาซุ้มคลุมใบเสมา มานิยมทากันในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างใต้ที่ประดาฐานใบเสมาแต่ละจุดจะมีลูกนิมิตฝังอยู่แห่งละหนึ่ง ลูก ลูกนิมิตนิยมสลักจากศิลาเป็นลูกกลม ๆ ขนาดประมาณเท่าบาตรฝังลงไปในหลุมตรงที่จะปักใบเสมา การที่ต้องฝังลูกนิมิตไว้เข้าใจว่า เพื่อใช้สาหรับเป็นหลักฐานในการสอบ จุดที่ปักใบเสมาในกรณีที่อาจจะ มีการเคลื่อนย้ายของใบเสมาได้ในภายหลัง เพราะลูกนิมิตนั้นฝังอยู่ใต้ดิน การเคลื่อนย้ายย่อมทาให้ยาก กว่าใบเสมาที่ปักอยู่บนดินในการสร้างอุโบสถจึงต้องมีพิธีฝังลูกนิมิตก่อนที่อุโบสถจะสร้างแล้วเสร็จ ชนิดของใบเสมา วัดที่มีฐานะเป็นวัดหลวง มักนิยมสร้างใบเสมาเป็นแผ่นหิน ๒ แผ่นปักซ้อนกัน เรียกว่า ใบเสมาคู่ นอกจากจะแบ่งประเภทของใบเสมาเป็นใบเสมาคู่ และใบเสมาเดี่ยวแล้ว ยังมีใบเสมา ชนิดพิเศษอีกชนิด เรียกว่า มหาเสมา คือ ใบเสมาที่หักไว้บนกาแพงโดยรอบเขตของวัดหรือเขต พุทธาวาสแทนที่จะปักไว้เฉพาะรอบเขตอุโบสถ วัดที่มีมหาเสมามีรวมทั้งหมดหกวัด ได้แก่ วัดราช ประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดราชบพิตสถิตมหาสีมาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดบรม นิวาสและวัดโพธินิมิต วัดที่มีมหาเสมาเหล่านี้สามารถทาสังฆกรรมได้ทั้งอุโบสถและวิหารแทนที่จะเป็น อุโบสถเพียงแห่งเดียว สิ่งที่ควรชมเกี่ยวกับอุโบสถ ได้แก่ บริเวณภายนอกอุโบสถ อาทิ รูปทรงของอุโบสถ (ช่อฟ้า ใบระกา ลายอง หางหงส์ นาคสะดุ้ง หน้าบัน แผงแรคอสอง กระจังฐานพระ บัวปลายเสา คันทวย คูหา) หลังคา ซุ้มและบานประตูหน้าต่าง ผนังด้านนอก บริเวณภายในอุโบสถ (พระประธาน ฐานชุกชี ม้าหมู่ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง) ๓. วิหาร อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถแต่ไม่มี วิสุงคามสีมาเหมือนพระอุโบสถ เป็นอาคารที่มีรูปทรงและการประดับตกแต่งคล้ายคลึงกับอุโบสถ เพียงแต่ไม่มีใบเสมาล้อมรอบเหมือนอย่างอุโบสถ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและประกอบศาสนพิธี ต่าง ๆ วิหารหลวง คือ วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมต่อกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ หรือเป็นวิหารที่สร้าง อยู่ด้านหน้าเจดีย์ หรือปรางค์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มักเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่สาคัญ วิหารทิศ คือ วิหารที่สร้างออกทั้งสี่ด้านของพระสถูปเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุม หรือด้านข้าง เป็น วิหารขนาดย่อมที่สร้างเป็นบริวารของอุโบสถ หรือเจดีย์และปรางค์ที่เป็นประธานของวัด โดยสร้างขึ้น ตรงตามทิศที่สาคัญ ได้แก่ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก
  • 10. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 10 วิหารคด คือ วิหารที่มีลักษณะคดอยู่ตรงมุมกาแพงแก้วของอุโบสถ อาจมีหลังเดียวก็ได้ โดยมากจะมีสี่มุม และประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายในเป็นวิหารขนาดย่อม ๆ สร้างอยู่ตามมุมเขต พุทธาวาส มีรูปทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหักงอเป็นข้อศอก (เหมือนรูปตัวแอล: L ในภาษาอังกฤษ) วิหารน้อย และวิหารแกลบ เป็นวิหารขนาดเล็กมาก มักสร้างอยู่โดด ๆ ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ของพุทธาวาสไม่เข้ากลุ่มกับอาคารหลังอื่น ๆ ๔. เจดีย์และปรางค์ เจดีย์และปรางค์ ถือเป็นสิ่งเคารพสังการะที่มีความสาคัญมากในวัดต่าง ๆ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีที่มา แตกต่างกัน แต่คนไทยที่นับถือพุทธศาสนาถือว่ามีความสาคัญเท่าเทียมกันและเป็นสิ่งเคารพบูชาแทน องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน เจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง เป็น สถาปัตยกรรมที่ไทยรับเอารูปแบบมาจากสถูปเจดีย์ของอินเดียและศรีลังกาแล้วมาพัฒนาเป็นรูปแบบ ต่าง ๆ กันในภายหลัง สาหรับเจดีย์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเจดีย์ที่ไทยรับแบบมาจากลังกาและ จากอาณาจักรศรีวิชัย โดยได้มีการพัฒนารูปแบบเป็นลักษณะต่าง ๆ ตามความนิยมของช่างไทย ปัจจุบันจะพบเจดีย์แบบต่าง ๆ ที่สาคัญรวม ๖ แบบ ดังนี้ ๑. เจดีย์แบบลังกา หรือเจดีย์ทรงระฆัง นิยมสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เมื่อมีการนาพุทธ ศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่เป็นลักษณะเจดีย์ ซึ่งได้รับต้นแบบมาจากเจดีย์ลังกา ต่อมาช่างไทย ได้ดัดแปลงรายละเอียดบางอย่างที่เพิ่มขึ้นและได้รับการถ่ายทอดแบบมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เจดีย์แบบลังกาที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยบางทีทาเป็นรูปช้างครึ่งตัวยืนรายรอบที่ ฐานองเจดีย์ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อมที่ศรีสัชนาลัย และเจดีย์วัดช้างรอบที่กาแพงเพชร เป็นต้น ๒. เจดีย์แบบศรีวิชัย หรือเจดีย์ทรงเรือนธาตุ เป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างในอาณาจักรศรีวิชัยใน ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งนับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ปัจจุบันรูปแบบเจดีย์ที่มีตัวอย่างสาคัญ คือ พระบรมธาตุไชยาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมและมีเรือนธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสูงขึ้นไป บางทีมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ที่ผนังของเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้านและที่ปลายเรือนธาตุ ทาเป็นยอดแหลมมีหลายยอด ๓. เจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกา เป็นเจดีย์ที่พบในสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งนาเอารูปแบบของเจดีย์ แบบลังกาและแบบศรีวิชัยมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยส่วนล่างของเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงเรือนธาตุแบบศรี วิชัย ส่วนบนเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ฐานและองค์ระฆังสูงทาเป็นเหลี่ยม บ้างมีคูหาประดิษฐาน ตอนบนเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา มีเจดีย์องค์เล็ก ๆ ทั้ง ๔ มุม เจดีย์ราย เจดีย์ ๗ แถว เมืองศรีสัชนา ลัย ๔. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม เป็นเจดีย์ที่จัดว่าเป็นศิลปะของสุโขทัย โดยเฉพาะมีรูปทรงสูงชะลูด ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานพานแว่น ฟ้าและเรือนธาตุที่ทาย่อมุม บางทีมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มของเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้าน ส่วนยอด เจดีย์ทาเป็นรูปทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ข้าวบิณฑ์ หมายถึง ข้าวสุกที่บรรจุใส่ไว้ในพุ่ม ดอกไม้ใช้ในการเซ่นบูชา)
  • 11. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 11 ๕. เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง เป็นเจดีย์ที่เริ่มมีแพร่หลาย ตั้งแต่มีอยุธยาตอนกลางมาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งช่างไทยคงจะดัดแปลงเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกาให้เป็นเจดีย์ที่มีฐาน สี่เหลี่ยมและองค์ระฆังรูปสี่เหลี่ยมพร้อมกันนั้นก็มีการย่อมุมทั้ง ๔ ด้าน เพื่อให้ดูสวยงามขึ้น ๖. เจดีย์แบบพระธาตุพนม หรือเจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม เป็นเจดีย์ที่มีแพร่หลายในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยถือตามรูปแบบของเจดีย์พระธาตุพนมเป็นสาคัญ กล่าวกันว่า เจดีย์แบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียใต้ ประกอบด้วย ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมและตัวเรือนธาตุเป็นรูป สี่เหลี่ยมทรงสูงซ้อนลดหลั่นกัน ๒ หรือ ๓ ชั้น ส่วนยอดตอนบนเป็นรูปทรงดอกบัวเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป ปรางค์ เป็นสถาปัตยกรรมในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ รับเอารูปแบบมาจากปราสาทหิน หรือ ปรางค์ของขอมแล้วมาดัดแปลงรูปร่างลักษณะให้เป็นไปตามความนิยมของช่างไทยในระยะเวลาต่อมา ขอมได้สร้างปราสาทหินหรือปรางค์ต่าง ๆ ขึ้นไว้เป็นจานวนมาก เพื่อเป็นศาสนสถานทั้งในศาสนา พราหมณ์ พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ปราสาทหินและปรางค์เหล่านี้พบเห็นได้ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนในภาคอื่น ๆ บางภาคของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย ปรางค์สามยอด และปราสาทเมืองสิงห์ เป็นต้น องค์ประกอบของปรางค์ ๑. นภศูล คือ ส่วนยอดปลายสุดของพระปรางค์ ทาด้วยโลหะหล่อเป็นรูป ๔ แฉก คล้ายปลาย ดาบ ต่อซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น ระหว่างกลางแทรกด้วยแกนคล้ายปลายหอก ๒. บัวกลุ่ม คือ ส่วนของอาคารที่อยู่บนยอดสุดของพระปรางค์ ทาให้รูปกลีบบัวแย้มตั้งรับนภ ศูล ๓. ชั้นรัดประคด คือ ส่วนชั้นของยอดพระปรางค์ที่มีลักษณะโค้งเข้า คล้ายรูปเอว พระภิกษุที่ คอดเข้าอันเนื่องมาจากการนุ่งสบงที่รัดด้วยสายรัดประคด ๔. กลีบขนุน คือ ส่วนตกแต่งที่ประดับแทรกเข้าไปใต้ชั้นรัดประคด ตรงตาแหน่งมุมที่ย่อของแต่ ละชั้น ๕. บันแถลง คือ ส่วนตกแต่งที่ทาเป็นรูปหน้าจั่วอาคารขนาดเล็ก ประดับอยู่ระหว่างกลางของ กลีบขนุน คู่ในของชั้นรัดประคด แต่ละชั้นของพระปรางค์ ๖. ชั้นอัสดง คือ ส่วนของเรือนยอดพระปรางค์ส่วนที่ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุ ๗. เรือนธาตุ คือ ส่วนที่เป็นตัวเรือนประธานของพระปรางค์ ๘. ซุ้มคูหา หรือซุ้มทิศ หรือซุ้มประตู คือ ส่วนที่ทาขึ้นประกอบเข้ากับองค์พระปรางค์หรือพระ เจดีย์ บริเวณภายนอกอาคารส่วนที่เป็นเรือนธาตุใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมี ๔ ด้าน เรียกว่า ซุ้มทิศ ถ้าพระปรางค์นั้นกลวงมีทางเข้าออก จะเรียกและทาหน้าที่เป็นซุ้มประตู ๙. ชุดฐานสิงห์ คือ ส่วนที่ทาเป็นฐานสิงห์ ๓ ชั้น ทิศเหนือ ฐานปัทม์ เพื่อรับองค์ เรือนธาตุ ๑๐. ฐานปัทม์ คือ ส่วนที่เป็นฐานอาคาร ใช้ตั้งรับองค์เรือนธาตุอาคาร ๑๑. ฐานเขียง คือ ส่วนของโครงสร้างที่เป็นฐานชั้นล่างสุด
  • 12. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 12 ๕. สิ่งประดับประดาภายในวัด ตุ๊กตาหิน วัดหลวงที่สาคัญ ๆ ในกรุงเทพมหานคร มักมีตุ๊กตาหินสลักเป็นรูปคน รูปสัตว์สัตว์ เจดีย์จีน (เรียกว่า ถะ) กระถางต้นไม้ อ่างบัว เสาโคมไฟ ฯลฯ ตกแต่งภายในบริเวณวัด ตุ๊กตาหินเหล่านี้ เป็นของที่นามาจากเมืองจีนในสมัยก่อน ซึ่งส่วนมากจะนาเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อมีการค้าขายกับ จีนมาก เล่ากันว่า เมื่อพ่อค้าชาวจีนบรรทุกสินค้าจากไทยไปขายที่ประเทศจีนนั้นขากลับเรือจะเบาเพราะ มีสินค้าน้อยและเป็นสินค้าที่มีราคาแพงแต่น้าหนักเบา เช่น ผ้าไหมแพรพรรณ เครื่องกระเบื้อง ถ้วยชาม และเครื่องประดับต่าง ๆ พ่อค้าเรือจึงต้องบรรทุกตุ๊กตาหินกลับมาด้วย เพื่อถ่วงเรือให้เรือหนักจะได้ไม่ โคลงเคลง เครื่องถ่วงเรือกันเรืองโคลงนี้ เรียกกันว่า อับเฉา เมื่อเรือมาถึงกรุงเทพ ฯ ก็นาของขึ้นถวาย พระมหากษัตริย์ และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาตุ๊กตาหินเหล่านั้นไปไว้ตามวัดต่าง ๆ ที่โปรด จะพบอยู่มากที่วัดพระเชตุพนฯ วัดสุทัศเทพวราราม วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น ตุ๊กตาหินบางตัวมีขนาดใหญ่มากอย่าง เช่น ตุ๊กตาหินรูปฝรั่งและตุ๊กตาหินรูปงิ้ว หรือลั่นถัน ที่ตั้งอยู่ในวัด พระเชตุพนฯ มีขนาดสูงถึง ๒ เท่าของคนธรรมดา รูปยักษ์และฤาษี วัดที่สาคัญบางแห่งนิยมทารูปยักษ์และฤาษี ตั้งไว้ภายในบริเวณอุโบสถ หรือที่ ประตูทางเข้าพระระเบียงที่ขึ้นชื่อมาก ได้แก่ ยักษ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดอรุณราชวราราม ฤาษีที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และฤาษีดัดตนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม การสร้างรูปยักษ์ไว้ นอกจากเพื่อความสวยงามทางด้านศิลปะแล้ว ยังมีความหมายว่าเป็นผู้ที่มีอานาจนั่งเฝ้ารักษาสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ไว้ โดยเฉพาะยักษ์ที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้นามาจากตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งหมดมีรูปร่างหน้าตา และสีสันแตกต่างกัน ส่วนการนาฤาษีมาตั้งไว้ในวัดก็ด้วยถือว่า ฤาษีนั้นเป็นผู้มีวิชาความรู้ถือเป็นครูแห่งศิลปะ วิทยาการทั้งปวง โดยไทยรับเอาคตินี้มาจากอินเดีย ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีรูปฤาษีพร้อมแท่นบด ยา ประดิษฐานอยู่ที่ตรงใกล้ประตูทางเข้าพระระเบียงด้านทิศตะวันตกของอุโบสถ ส่วนที่วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม มีรูปฤาษีดัดตนหล่อด้วยดีบุกตั้งอยู่ที่ด้านทิศใต้นอกพระระเบียง รูปฤาษีที่วัดทั้ง ๒ แห่ง นี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ รูปสัตว์หิมพานต์และสัตว์บางชนิด นอกจากตุ๊กตาหินยักษ์และฤาษียังนิยมสร้างรูปสัตว์หิม พานต์และสัตว์บางชนิดตั้งไว้เป็นสิ่งประดับตกแต่งภายในวัดด้วยสัตว์ที่พบมาก ได้แก่ สิงห์แบบไทยหรือ แบบเขมรตั้งไว้ตามประตูทางเข้าพระระเบียงหรืออุโบสถ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดเบญจม บพิตร นอกจากนี้ยังมีสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น นาค ช้า และม้า เป็นต้น สาหรับสัตว์หิมพานต์นั้น ช่างไทยได้หล่อขึ้นตามจินตนาการ โดยถือว่าเป็นสัตว์พิเศษที่อาศัยอยู่ ในป่าหิมพานต์ที่เชิงเขาพระสุเมรุ ที่น่าชมมาก คือ สัตว์หิมพานต์ ๗ คู่ หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประดิษฐานอยู่ที่หน้าปราสาทพระเทพบิดรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • 13. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 13 ๗. ประวัติการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย การสร้างพระพุทธรูปนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นสิ่งแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการแสดงความ ศรัทธาเลื่อมใสต่อพระศาสดา และเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน และเพื่อเป็นที่สักการบูชาเริ่ม มีขึ้นในแคล้นคันธารราฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในเขตติดต่อระหว่างประเทศ ปากีสถานกับอัฟกานิสถาน) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ ก่อนหน้านั้นยังไม่นิยมสร้างพระพุทธรูปใน ลักษณะที่เป็นรูปเหมือนแต่จะบูชาสิ่งอื่น ๆ เช่น พระธรรมจักร พระพุทธอาสน์ เป็นต้น การสร้าง พระพุทธรูปเริ่มเกิดขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะของชาวกรีซที่สร้างรูปเคารถเป็นเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่ง อิทธิพลของกรีซได้แผ่ขยายมาถึงดินแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียว เมื่อพระเจ้าอเล็ก ซานเดอร์มหาราชทรงกรีธาทัพมาตีได้ดินแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๓ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยแรก ๆ ที่แคว้นคันธารราฐจึงมีรูปร่างพระพักตร์เป็นแบบคนตะวันตก เพราะได้รับอิทธิพลจากศิลปะของกรีซ ต่อมาการสร้างพระพุทธรูปได้แพร่หลายออกไปในดินแดนต่าง ๆ ของอินเดีย รวมทั้งได้ แพร่หลายเข้าไปในประเทศอื่น ๆ ที่นับถือพุทธศาสนาด้วย โดยในขั้นแรกพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมักได้ อิทธิพลจากศิลปะของอินเดีย จึงมีรูปร่างลักษณะคล้ายพระพุทธรูปของอินเดีย ต่อมาช่างพื้นเมืองจึงค่อย ๆ ดัดแปลงการสร้างพระพุทธรูปให้เป็นศิลปะของท้องถิ่นมากขึ้น จึงเกิดความแตกต่างระหว่าง พระพุทธรูปที่พบอยู่ในพม่า เขมร ลาว ไทย จีน และญี่ปุ่น ๘. พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในดินแดนของประเทศไทย อาจแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ตามความ แตกต่างของศิลปะได้ ดังนี้ ๑. พระพุทธรูปสมัยทวารวดี อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปสลักด้วยศิลาที่หล่อด้วยทอง สัมฤทธิ์มีบ้าง แต่มักเป็นขนาดเล็ก รูปร่างลักษณะที่สาคัญพอสังเกตได้ คือ มีขมวดพระเกศาใหญ่ พระ เกตุมาลาเป็นต่อมกลม พระพักตร์แบน พระขนงเป็นเส้นโค้งนูนติดต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนา ตัวอย่างที่ขึ้นชื่อมาก ได้แก่ พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อย พระบาท ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม ๒. พระพุทธรูปสมัยลพบุรี ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ –๑๗ ที่พบมากมักสร้างเป็นพระพุทธรูปนาค ปรก สลักจากหินทราย นอกจากนี้ที่สร้างเป็นพระพุทธรูปยืนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ก็มีลักษณะสาคัญของ พระพุทธรูปสมัยลพบุรี คือ - พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน (คาง) - พระขนงเกือบเป็นเส้นตรง (คิ้ว) - มีไรพระศกเป็นขอบนูนเล็ก ๆ อยู่เหนือพระนลาฏ (หน้าผาก) - มักมีพระอุษณีย์ทาเป็นรูปกลีบบัวซ้อน (ส่วนนูนกลางของพระเศียร)
  • 14. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 14 - ครองจีวรห่อเฉียง ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายยาวลงมาจนถึงราวพระถัน ปลายจีวรตัด เป็นเส้นตรงขอบสบงเผยอเป็นสัน - พระพุทธรูปนาคปรกทาเป็นปางสมาธิ ๓. พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ –๒๓ บางทีเรียกว่า ศิลปะล้านนา ถือเป็นการเริ่มต้น ของศิลปะไทยอย่างแท้จริง เมื่อคนไทยตั้งอาณาจักรของตนเองในภาคเหนือของประเทศ ไทยปัจจุบัน พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนแบ่งออกได้เป็น ๒ รุ่น คือ รุ่นแรก และรุ่นหลัง ๑. พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก มีลักษณะดังนี้ - พระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม ขมวดพระเกศาใหม่ ไม่มีไรพระศก - พระพักตร์กลมสั้นและอมยิ้ม - พระหนุเป็นปม พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก - พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรอยู่เหนือราวพระถันปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ - ชอบทาปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ๒. พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง มีลักษณะเป็นแบบเชียงแสนปนสุโขทัยมีลักษณะ บางอย่างแตกต่างไปจากเชียงแสนรุ่นแรก คือ - พระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูมสูงขึ้น หรือเป็นเปลวรัศมี - ขมวดพระเกศาเล็กมีไรพระศก - พระพักตร์กลม หรือรูปไข่ - ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี - ชอบทาปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ๔. พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อยู่ในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ มีลักษณะส่วนใหญ่ ดังนี้ - พระเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมีขมวดพระเกศาเล็ก - พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้ม - พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก (บ่า ไหล่) - ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภีปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ - ชอบทาปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ได้แก่ หมวดวัดตะกวน มีศิลปะแบบเชียงแสนปนมีพระพักตร์กลม หมวดกาแพงเพชร มีพระพักตร์ยาว พระหนุ เสี้ยม และหมวดพระพุทธชินราช มีพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระองค์ค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ มีปลายนิ้วเสมอกัน เชื่อว่าหมวดนี้เริ่มสร้างครั้งรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)
  • 15. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 15 ๕. พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง เป็นศิลปะที่เกิดอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับอาณาจักร สุโขทัยในภาคเหนือตอนล่าง คือ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ –๒๐ ถือกันว่าเป็นศิลปะที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างศิลปะทวาราวดี ลพบุรี และสุโขทัย เข้าด้วยกัน พระพุทธรูป สมัยอู่ทองมีลักษณะที่สาคัญ คือ - พระพักตร์สี่เหลี่ยมมีไรพระศกคล้ายพระพุทธรูปสมัยลพบุรี - พระหนุป้าน พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์แบะเล็กน้อย - ชายจีวรยาว ปลายตัดเป็นเส้นตรง - ปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบ ๖. พระพุทธรูปสมัยอยุธยา อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓ มีลักษณะ ดังนี้ - พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบอู่ทอง หรือรูปไข่แบบสุโขทัย มีพระเกตุมาลาเป็นเปลว รัศมี ส่วนมากมีไรพระศก - ชายจีวรใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายตัดเป็นเส้นตรง - พระพุทธรูปทรงเครื่องมักมีกรรเจียกจอนยื่นเป็นครีบออกมาเหนือใบพระกรรณ ๗. พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๔ จนถึงปัจจุบัน มีการสร้างพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา เช่น พระประธานในพระอุโบสถที่สาคัญ ได้แก่ วัดอรุณราชวราราม วัดสุ ทัศนเทพวราราม เป็นต้น พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มักมีลักษณะเป็นศิลปะ สมัยอยุธยาปนสมัยอู่ทอง ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงคิดแบบพระพุทธรูปโดยให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ สามัญยิ่งขึ้น คือ ไม่มีพระอุษณีย์ มีแต่พระเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมีและมีจีวรเป็นริ้ว พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามแบบที่ทรงคิดขึ้นนี้ ได้แก่ พระสัมพุทธพรรณี ปัจจุบันประดิษฐาน ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระนิรันตรายซึ่งพระราชทานไปไว้ตามวัดธรรมยุติกนิกาย ที่สาคัญ ๆ พระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งประดิษฐานเป็นประธานที่บริเวณพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็น ตัวอย่างของพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ที่สาคัญอีกองค์หนึ่ง ปั้นแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ๙. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และพระพุทธรูปประจาวันเกิด การสร้างพระพุทธรูปนิยมเป็นปางต่าง ๆ ซึ่งมีอิริยาบถและท่าทางขอพระพุทธรูปแตกต่างกันไป พอสังเกตได้ว่าเป็นปางใด การสร้างพระพุทธรูปเป็นปางต่าง ๆ นี้ ก็เพื่อให้มีความหมายเกี่ยวข้องกับ พุทธประวัติ โดยในขั้นแรกยังคิดปางขึ้นไม่มากนัก ต่อมาจึงค่อย ๆ มีการสร้างปางเพิ่มเติมมากขึ้น ตามลาดับ สาหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีปางพระพุทธรูปมากกว่า ๕๐ ปาง แต่ที่พบเห็นโดยทั่วไปมี
  • 16. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 16 ประมาณ ๒๐ –๓๐ ปาง ในที่นี้จะได้นาเสนอเฉพาะปางสาคัญ ๆ บางปาง มาอธิบายให้เห็นลักษณะและ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ดังต่อไปนี้ ปางถวายเนตร ลักษณะพระพุทธรูป พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลง มาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวร ทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ ความเป็นมา เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระ เนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้ได้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อ สักการบูชาประจาของคนเกิดวันอาทิตย์
  • 17. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 17 ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร ลักษณะพระพุทธรูป พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติจะยก มือขวาขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทร จะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้าง เป็นปางห้ามญาติ และนิยมทาเป็นแบบพระทรงเครื่อง ความเป็นมา ปางห้ามญาติเกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธ มารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่งของแม่น้าโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้าเพื่อไป เพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพทาสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ คือ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน ส่วนปางห้ามสมุทรเป็นพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวกชฎิล (นักบวชประเภทหนึ่งที่นุ่งห่ม หนังเสือ และนิยมบูชาไฟ) 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ ริมฝั่งแม่น้าเนรัญชราพร้อมบริวาร 1,000 คน โดยได้แสดงพุทธปาฏิหารย์หลายอย่างเพื่อทาลายทิฎฐิ มานะของชฎิลทั้งหลาย เช่น ห้ามลม ห้ามฝน ห้ามพายุ และห้ามน้าท่วมที่เจิ่งนองตลิ่งมิให้มาต้องพระ วรกายได้ อีกทั้งยังสามารถเดินจงกรมอยู่ใต้พื้นน้าได้ ทาให้พวกชฎิลเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และยอมบวช เป็นพุทธสาวก เป็นพระพุทธรูปประจาวันจันทร์
  • 18. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 18 ปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน ลักษณะพระพุทธรูป พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบ พระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ความเป็นมา ปางไสยาสน์ หรือบางทีก็เรียก ปางปรินิพพาน เป็นพุทธประวัติตอนที่พระพุทธองค์ได้รับสั่งให้ พระจุนทะเถระปูอาสนะลงที่ระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง แล้วทรงประทับบรรมทมแบบสีหไสยา ตั้งพระทัยไม่ เสด็จลุกขึ้นอีก แต่ก็ยังได้โปรดสุภัททะปริพาชกเป็นอรหันต์องค์สุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่าไห้ คร่าครวญถึงพระองค์ พระอานนท์และพระอนุรุทธเถระ ได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อราลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้ สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าถึงปางนี้อีกนัยหนึ่งคือ ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ พระเชตวันมหาวิหาร "อสุรินทราหู" หรือ "พระราหู" ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับคาสรรเสริญถึงพระเกียรติ คุณของพระบรมศาสดาจากสานักเทพยดาทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาอยากจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เจ้าบ้าง แต่ก็คิดคานึงไปเองว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ คงต้องมีพระวรกายที่เล็ก หากตนจะไปเฝ้าก็ จะต้องก้มมองเป็นความลาบากมาก อีกทั้งตนก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใคร คิดแล้วก็ไม่ไปเฝ้า ต่อมาได้ยินพวกเทวดาสรรเสริญพระพุทธองค์อีก ก็เกิดความอยากไปเฝ้าอีก จึงวันหนึ่งได้ตั้งใจ ไปเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบด้วยญาณ รวมทั้งทราบถึงความในใจของอสุรินทราหู จึงทรงเนรมิตพระ วรกายให้ใหญ่โตกว่ากายของอสุริทราหูหลายเท่าขณะเสด็จบรรทมรอรับ ดังนั้น เมื่อมาเข้าเฝ้า แทนที่อสุ รินทราหูจะต้องก้มมอง กลับต้องแหงนหน้าดูพระพุทธองค์ จึงเกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง พระพุทธเจ้าจึงได้ ตรัสสอนว่า ข่าวลือหรือเรื่องใดๆหากไม่เห็นด้วยตนเอง หรือยังไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ ก็ไม่ควรติชมไป