Successfully reported this slideshow.
Your SlideShare is downloading. ×

โครงร่างวิทยานิพนธ์วุฒิ

Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
โครงร่างวิทยานิพนธ์
ชื่อเรื่องภาษาไทย : ผลการดำาเนินงานด้านการพัฒนา
ชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์
ตามหลักภาวนา ๔ของเทศบาลตำาบล
สำา...
2
แบบการปกครองคล้ายกับรูปแบบรัฐสภา (Parliamentary
System) กล่าวคือ มีสภาเทศบาล ทำาหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ตลอดจนควบคุมก...
3
จากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นองค์กรส่วนท้อง
ถิ่นที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ที่มี
ความเจริญก้าวหน้ามาก เป็นองค์กร...
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Upcoming SlideShare
T6
T6
Loading in …3
×

Check these out next

1 of 41 Ad

More Related Content

Similar to โครงร่างวิทยานิพนธ์วุฒิ (20)

Advertisement

โครงร่างวิทยานิพนธ์วุฒิ

  1. 1. โครงร่างวิทยานิพนธ์ ชื่อเรื่องภาษาไทย : ผลการดำาเนินงานด้านการพัฒนา ชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ ตามหลักภาวนา ๔ของเทศบาลตำาบล สำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ชื่ อ เ รื่อ ง ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ : RESULTS OF OPERATIONS PLANNED COMMUNITY DEVELOPMENT STRATEGY DY THE PRAYERS OF FOUR TAMBON OF LOCAL GOVERNMENT SAMRAN, MUANG DISTRICT, YASOTHON PROVINCE 1. ความเป็นมาและความสำาคัญของปัญหา การกระจายอำานาจการปกครองสู่ท้องถิ่นในระดับเทศบาล นับเป็นรูปแบบการบริหารจัดการในระบอบประชาธิปไตยอย่าง หนึ่ง เทศบาลเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องจัดการดูแลทุกข์สุขของ ประชาชน เทศบาลเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น สาระสำาคัญ ประการหนึ่งของเทศบาลก็คือ การบริหารกิจการในท้องถิ่นที่เปิด โอกาสให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารงานได้ จุดมุ่งหมายสำาคัญในการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นก็เพื่อ ต้องการให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้และทำา ความเข้าใจหลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดย ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลถือได้ว่าเป็นที่แพร่ หลาย และเป็นที่รู้จักของประชาชนมากที่สุดในบรรดารูปแบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ ถ้าหากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีการบริหารที่ดี มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมย่อมมีส่วนส่งเสริมความ เจริญมั่นคงแก่ท้องถิ่นและส่วนรวมของประเทศในที่สุด โดยรูป
  2. 2. 2 แบบการปกครองคล้ายกับรูปแบบรัฐสภา (Parliamentary System) กล่าวคือ มีสภาเทศบาล ทำาหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ตลอดจนควบคุมการทำางานของฝ่ายบริหารและคณะเทศมนตรีที่ คัดเลือกมาจากสมาชิกสภาเทศบาลฝ่ายที่มีเสียงข้างมาก ทำาหน้าที่ เป็นผู้บริหาร ตลอดจนกำาหนดนโยบายและควบคุมดูแลการบริหาร งานของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบายของฝ่ายบริหาร หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สภาเทศบาลทำาหน้าที่คล้ายสภาผู้แทน ราษฎร และคณะเทศมนตรีทำาหน้าที่เหมือนกับคณะรัฐมนตรีใน ระดับประเทศนั่นเอง ประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา หรือเอเชีย (ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ล้วนให้ ความสำาคัญกับการปกครองท้องถิ่นเป็นอย่างมาก โดยมีการกระจา ยอำานาจลงสู่ท้องถิ่นทั้งในเรื่อง การบริการสาธารณะ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และรัฐบาล ได้จัดสรรรายได้ให้แก่ท้องถิ่น อย่างเพียงพอต่อการจัดการตามภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น ฝรั่งเศสได้จัดสรรงบประมาณ ส่วนท้องถิ่น 50 – 60% ของงบราชการส่วนภูมิภาค สำาหรับ ประเทศไทยกระแสการกระจายอำานาจ ให้แก่ท้องถิ่นได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็ว โดยผลักดันให้รัฐ กระจายอำานาจให้แก่ท้องถิ่น ดังเช่น การเกิดขึ้นของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 12 พ.ศ. 2546 ที่ส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีอิสระมากยิ่งขึ้น การออกพระราช บัญญัติได้กำาหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำานาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 โดย ส่งผลให้ประชาชนได้มีโอกาส ปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น และมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมมากขึ้น เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปที่ตั้ง ขึ้นเป็นรูปแบบแรกภายหลัง ชูวงศ์ ฉายะบุตร, การปกครองท้องถิ่นไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ :บริษัทพิฆเนศพริ้นท์ติ้งเซนเตอร์, ๒๕๓๙), หน้า ๒๗.
  3. 3. 3 จากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นองค์กรส่วนท้อง ถิ่นที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่ที่มี ความเจริญก้าวหน้ามาก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแล พื้นที่ในเขตเมืองซึ่งมีลักษณะ ปัญหาแตกต่างไปจากพื้นที่ชนบท เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องที่อยู่ อาศัย และเรื่องสิ่งปฏิกูล เป็นต้น โดยที่ท้องถิ่นใดมีสภาพอันสมควรยกฐานะเป็นเทศบาลให้จัดตั้ง ท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตำาบล เทศบาลเมือง หรือเทศบาลนครได้ โดยทำาเป็นประกาศกระทรวง มหาดไทย และให้เทศบาลเป็น ทบวงการเมือง ซึ่งเทศบาลตำาบลเป็นเทศบาลที่เล็กที่สุด ไม่มีการ กำาหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องของ ประชากร ความหนาแน่น หรือรายได้ และมีองค์การเทศบาล ประกอบด้วยสภาเทศบาล และ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำาบลเป็นองค์กรที่มีอำานาจและหน้าที่ในการจัด ระบบการบริการสาธารณะเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง ฉบับที่ 12 พ.ศ.2546 กำาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำานาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นใน พ.ศ.2542 เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธี การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำาแผน พัฒนาเทศบาล การจัดทำา งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการ ปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร ฯลฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมแนวความคิดและกระแส ประชาธิปไตยในสังคมที่เน้นการมีส่วน ร่วมของของประชาชนในการบริหารงาน เทศบาลตำาบลสำาราญ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อำาเภอเมืองยโสธรห่างจากอำาเภอเมืองยโสธรไปตามทางหลวง หม
  4. 4. 4 ายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท สายยโสธร – ร้อยเอ็ด) เป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร ซึ่งเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ได้มี การพัฒนาชุมชนในหลายๆ ด้านด้วยกันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การคมนาคม การเกษตร ความปลอดภัย เป็นต้น ในส่วนที่มา ของปัญหาในการประเมินผลการพัฒนาชุมชนตามแผน ยุทธศาสตร์ สืบเนื่องจากว่าการที่ชุมชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมใน การดำาเนินการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์แต่ยังไม่ได้มีการ สรุปผลของการดำาเนินการดังกล่าว และเมื่อเป็นเช่นนั้นการที่ ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนจะทราบได้ว่าผล ของการดำาเนินการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์นั้นออกมา ในรูปแบบใดแล้ว การที่จะกำาหนดแผนในการพัฒนาในปีต่อๆไป ย่อมเป็นไปได้ยากเพราะไม่มีการทราบถึงผลของการพัฒนาที่ ชัดเจน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำาการศึกษาเรื่อง ผลการ ดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ของ เทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ๒. วัตถุประสงค์การวิจัย ๒.๑ เพื่อศึกษาผลการดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตาม แผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัด ยโสธร ๒.๒ เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาผลการดำาเนินงานด้านการ พัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยจำาแนกปัจจัยส่วนบุคคล ข้อมูลพื้นฐาน,ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร http://www.samran.go.th/index.php/general ),เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕. เข้าถึงเมื่อ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
  5. 5. 5 ๒.๓ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อผล การดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ของ เทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ๓. ปัญหาที่ต้องการทราบ ๓.๑ ผลการดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผน ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นอย่างไร ๓.๒ ผลการดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผน ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยจำาแนกปัจจัยส่วนบุคคล แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ๓.๓ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อผลการดำาเนิน งานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบล สำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร มีอะไรบ้าง ๔. ขอบเขตการวิจัย ๔.๑ ขอบเขตด้านเนื้อหา งานวิจัยเรื่อง “ผลการดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตาม แผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัด ยโสธร ” ผู้วิจัยกำาหนดขอบเขตเนื้อหาโดยสังเคราะห์จากแนวคิด ของเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) การวัดประสิทธิผลจากกรอบของหน่วยงาน ๒) การวัดประสิทธิผล ในแง่การตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ๔.๒ ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรต้น (Independent Variables) คือ ข้อมูลปัจจัย ส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ, อายุ, การ เทพศักดิ์ บุญยรัตนพันธุ์, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสิทธิผลของ การนำานโยบายการให้บริการแก่ประชาชนไปปฏิบัติ กรณีศึกษาสำานักงาน เขตกรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (การบริหารการพัฒนา, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๓๖), หน้า ๒๒.
  6. 6. 6 ศึกษา,อาชีพ, รายได้ต่อปีและหลักธรรมภาวนา ๔ ได้แก่ ๑) กาย ภาวนา ๒) ศีลภาวนา ๓) จิตตภาวนา ๔) ปัญญาภาวนา ตัวแปรตาม (Independent Variables) คือ ผลการดำาเนิน งานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบล สำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยผู้วิจัยสังเคราะห์จากของ เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) การวัด ประสิทธิผลจากกรอบของหน่วยงาน ๒) การวัดประสิทธิผลในแง่ การตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ๔.๓ ขอบเขตด้านประชากรและผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ ๔.๓.๑ ประชากร (Population) ได้แก่ ประชาชน ใน พื้นที่ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งมี จำานวน ๗,๖๕๓ คน ๔.๓.๒ ผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ (Key Informant) ผู้วิจัยทำาการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำาคัญจำานวน ๗ ท่าน ได้แก่ ๑. นายสุรศักดิ์ สิทธิรัตน์ ณ นครพนม ตำาแหน่ง ประธานสภา เทศบาลตำาบลสำาราญ ๒. นายพิทักษ์ ยาวะโนภาสน์ ตำาแหน่ง รองประธาน สภาฯ ๓. นายไพโรจน์ โคตรสมบัติ ตำาแหน่ง นายกเทศบาล ตำาบลสำาราญ ๔. นายวินัย ศรีวิเศษ ตำาแหน่ง รองนายกเทศบาล ตำาบลสำาราญ ๕. นายนรินทร์ สายจันทร์ ตำาแหน่ง ปลัดเทศบาลตำาบล สำาราญ ๖. นางรัตนา คำานนท์ ตำาแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ นโยบายและแผน ๗. นางนิษกร เศิกศิริ ตำาแหน่ง นักพัฒนาชุมชน เรื่องเดียวกัน ข้อมูลพื้นฐาน,เทศบาลตำาบลสำาราญ, ข้อมูลเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๕, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖
  7. 7. 7 ๔.๔ ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ๔.๕ ดำาเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ถึง เดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ รวมเป็นระยะเวลา ๖ เดือน ๕. สมมติฐานการวิจัย ๕.๑ ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดต่อผลการดำาเนิน งานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ ของเทศบาล ตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร แตกต่างกัน ๕.๒ ประชาชนที่มีอายุต่างกันมีความคิดต่อผลการดำาเนิน งานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ ของเทศบาล ตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร แตกต่างกัน ๕.๓ ประชาชนที่มีการศึกษาต่างกันมีความคิดต่อผลการ ดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ ของ เทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร แตกต่างกัน ๕.๔ ประชาชนที่มีอาชีพต่างกันมีความคิดต่อผลการดำาเนิน งานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ ของเทศบาล ตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร แตกต่างกัน ๕.๕ ประชาชนที่มีรายได้ต่อปีต่างกันมีความคิดต่อผลการ ดำาเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ ของ เทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร แตกต่างกัน ๕.๖ หลักภาวนา ๔ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการ พัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ๖. นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย ๖.๑ การพัฒนาชุมชน หมายถึง การปรับปรุงสภาพต่างๆ ของชุมชน รวมทั้งมาตรฐานความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เพื่อนำามาซึ่ง
  8. 8. 8 ความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง ตาม แนวทางที่ ชุมชนต้องการโดยความคิดริเริ่ม การพึ่งพาตนเอง และ ความร่วมมือกันของชุมชน และระหว่างรัฐกับราษฎร ถ้าจำาเป็นก็ อาจขอความช่วยเหลือจากภายนอกชุ่มชน ประชาชน หมายถึง ผู้ที่มีภูมิลำาเนาที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ ของเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร เทศบาลตำาบล หมายถึง เทศบาลตำาบลสำาราญ ตั้งอยู่เลข ที่ ๑๒ ถนนไชยบูรณ์ ต.สำาราญ อ.เมือง จ.ยโสธร ปัจจัยส่วนบุคคล หมายถึง เพศ อายุ ระดับกาศึกษา อาชีพ รายได้ต่อปี ของประชาชนในเขตเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอ เมือง จังหวัดยโสธร ผลการดำาเนินงาน หมายถึง การที่ประชาชน ที่อยู่อาศัย ในเขตเทศบาลตำาบลสำาราญ อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร เข้าไปมี ส่วนร่วมในการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศบาล ตำาบลในแต่ละงานหรือโครงการ ๖.๒ หลักภาวนา ๔ หมายถึง การเจริญ, การทำาให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม, การพัฒนา ๖.๒.๑ ด้านกายภาวนา หมายถึง การเจริญกา ย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทาง อินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี ๖.๒.๒ ด้านศีลภาวนา หมายถึง การเจริญศีล, พัฒนาความ ประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือ ก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน ๖.๒.๓ ด้านจิตภาวนาหมายถึง การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึก อบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น
  9. 9. 9 ๖.๒.๔ ด้านปัญญาภาวนา หมายถึง การเจริญปัญญา, พัฒนา ปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่า ทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำาจิตใจให้เป็นอิสระ ทำาตน ให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ด้วยปัญญา ๗. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากที่ได้ทำาการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลการดำาเนินงานด้าน การพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์มาแล้วนั้น ผู้ศึกษาได้มี โอกาสทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวผู้ศึกษาได้ศึกษา จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๗.๑ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๑)เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน ๒)เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ ๓)เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลตำาบล ๑)เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า การ พัฒนาชุมชน คือ การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของชุมชนจาก สภาพที่เป็นอยู่ (สภาพที่ไม่พึงปรารถนา ไม่ดีงาม) ไปสู่เป้าหมายที่ กำาหนดไว้ กล่าวคือ เป็นการจูงใจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ในชุมชน เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของส่วนประกอบต่างๆ ในชุมขน จากสภาพที่ไม่พึงปรารถนา ไปสู่สภาพที่ พึงปรารถนาอันเป็นเป้า หมายที่ชุมชนตั้งไว้ วิทยากร เชียงกูล ได้ให้ความหมายของการพัฒนาชุมชน ไว้ว่า การพัฒนาชุมชนในความหมายที่กว้าง คือ การพัฒนาสังคม เพราะการพัฒนาที่แท้จริงนั้นจะต้องทำาทั้งสังคม ไม่ใช่ทำาเฉพาะ ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง และการพัฒนาที่แท้จริง หมายถึง การทำาให้ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสุข ความสะดวกสบาย สัญญา สัญญาวิวัฒน์, ทฤษฎีการพัฒนาสังคม, (กรุงเทพ ฯ : ไทย วัฒนาพานิช,๒๕๒๒), หน้า ๑๔๘.
  10. 10. 10 ความอยู่ดีกินดี ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมและจิตใจ และความ สงบสันติ ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับการได้รับปัจจัยทางวัตถุแล้ว เพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ประชาชนยังต้องการพัฒนา ทางด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อมที่ดี การพักผ่อนหย่อนใจ และการ พัฒนาทางวัฒนธรรมและจิตใจในด้านต่างๆ ด้วย ความต้องการ ทั้งหมดนี้ บางครั้งเรียกว่าเป็นการพัฒนาคุณธรรมของชีวิต เพื่อที่ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มปริมาณสินค้า หรือการเพิ่มรายได้เท่านั้น หากอยู่ที่การเพื่อความพอใจ ความสุข ของประชาชนมากกว่า ณรงค์ ศรีสวัสดิ์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การพัฒนาชุมชน เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงหมู่บ้าน ด้วยการกระทำา ร่วมกันระหว่างประชาชนและหน่วยงานรัฐหรือเอกชน เพื่อให้ หมู่บ้านเป็นหน่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศชาติได้อย่างมั่นคงด้วยการใช้ทรัพยากรส่วน ใหญ่ในท้องถิ่นนั้นเอง และถ้าหากว่าชุมชนขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ จำาเป็นแก่การเปลี่ยนแปลงแล้ว ฝ่ายรัฐหรือเอกชนจะช่วยจัดหาสิ่ง จำาเป็นที่ขาดแคลนนั้นได้ ทวี ทิมขำา กล่าวว่า ความหมายของการพัฒนาชุมชน ซึ่ง องค์การสหประชาชาติ ได้ให้คำานิยามไว้ว่า การพัฒนาชุมชน เป็นกระบวนการซึ่งดำาเนินไปด้วยการรวมกำาลังของราษฎรกับเจ้า หน้าที่ของรัฐบาล เพื่อปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมของชุมชนนั้นให้เจริญยิ่งขึ้น และผสมผสานชุมชนเข้า เป็นชีวิตของชาติ และเพื่อให้ราษฎรสามารถอุทิศตนเอง เพื่อความ ก้าวหน้าของประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ วิทยากร เชียงกูล, การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย บท วิเคราะห์, (กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช,๒๕๒๗), หน้า ๑๗ - ๑๘ . ณรงค์ ศรีสวัสดิ์, สังคมวิทยาชนบท, (กรุงเทพฯ : คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, ๒๕๒๗), หน้า ๑๔๘. ทวี ทิมขำา, พัฒนาชุมชน, (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.๒๕๒๘), หน้า ๔.
  11. 11. 11 จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสรุปว่า การพัฒนาชุมชนเป็น ส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม การพัฒนาชุมชน คือ การ เปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้น เจริญขึ้นในหลายๆด้าน ซึ่งเป็นการ เปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผนและมีระบบการดำาเนินงานที่ชัดเจน รวมทั้งประชาชนในชุมชนนั้นได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ของตนเอง ให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลและความร่วมมือจากภาค เอกชน ๒)เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองท้องถิ่น เป็นแผน พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน โดยที่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะกำาหนดยุทธศาสตร์และแนวทาง การพัฒนาขององค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งแสดงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคตโดยสอดคล้องกับแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการวางแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นกระบวนการ กำาหนดทิศทางในอนาคตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย กำาหนดสภาพที่ต้องการบรรลุและแนวทางในการบรรลุบนพื้นฐาน ของการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านและเป็นระบบ ทั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น และปัญหา/ความ ต้องการของประชาชนในท้องถิ่นด้วย ดังนั้นแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาจึงมีความสำาคัญต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง ในการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ก็ได้มีผู้ให้ ความหมายเกี่ยวกับคำาว่า “แผนยุทธศาสตร์” ไว้มากมายในแง่มุม ต่างๆ ซึ่งผู้ศึกษาได้นำามาเสนอ ดังนี้ จักษวัชร ศิริวรรณ และคณะ ได้กล่าวถึงแผน ยุทธศาสตร์ว่า แผนยุทธศาสตร์ หมายถึง ทิศทางหรือแนวทาง ปฏิบัติตามพันธกิจและภารกิจ (Mission) ให้สัมฤทธิผลตามวิสัย ทัศน์ (Vision) และเป้าประสงค์ขององค์การ (Corporate Goal) แผนยุทธศาสตร์ที่ดีนั้น จะต้องถูกกำาหนดขึ้นตามวิสัยทัศน์ของ
  12. 12. 12 องค์การ อันเป็นผลผลิตทางความคิดร่วมกันของสมาชิกใน องค์การที่ได้ทำางานร่วมกันหรือจะทำางานร่วมกัน โดยวิสัยทัศน์นี้ เป็นความเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นจุดหมายปลายทางที่องค์การ ประสงค์จะไปให้ถึง และวิสัยทัศน์นี้มีการแปลงออกมาเป็น วัตถุประสงค์ (Objective) ที่เป็นรูปธรรม และสามารถวัดได้้ ทั้งนี้ องค์การสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการประเมินผล งานประจำาปีงบประมาณ ยิ่งไปกว่านั้นองค์การยังสามารถใช้แผน ยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการจัดทำาแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อการจัดทำางบประมาณรายจ่ายประจำาปีได้อีกด้วย วิรัช วิรัชนิภาวรรณ ได้กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์ว่า การ วางแผนยุทธศาสตร์ (strategic planning) เป็นส่วนหนึ่ง หรือขั้น ตอนหนึ่งของกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ (strategic administration process) โดยกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ อาจแบ่งเป็น 3-5 ขั้นตอน สำาหรับในบทความนี้ ได้นำากระบวนการ บริหารยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนมาศึกษา (ดังภาพที่ 1 และภาพที่ 2) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผน ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐที่ประกอบด้วย 5 ส่วน (ขั้นตอน) และท้ายสุด ได้สรุปและวิเคราะห์ไว้ด้วย ทั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ทั้ง ในทางวิชาการ เช่น สถาบันการศึกษาอาจนำาไปใช้เป็นแนวทาง สำาหรับการเรียนการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวกับการวางแผน ยุทธศาสตร์ และในทางปฏิบัติ เช่น หน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมตลอดไปถึงองค์การตามรัฐธรรมนูญทั้งองค์กรอิสระตาม รัฐธรรมนูญ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ อาจนำาไปปรับใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติงานจริงที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ยุทธศาสตร์ การวางแผนยุทธศาสตร์ และการจัดทำาแผน ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ในส่วนของประชาชน จะได้รับ จักษวัชร ศิริวรรณ และคณะ , ความผูกพันของประชาชนชาว ไทยที่มีต่อสถาบันหลัก ของชาติ, รายงานวิจัยร่วมระหว่าง ศูนย์ศึกษา ยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และ สถาบันวิจัยและพัฒนา (มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ๒๕๕๓).
  13. 13. 13 ประโยชน์จากการนำาไปใช้เป็นข้อมูลสำาหรับเข้ามามีส่วนร่วมใน การติดตามและการตรวจสอบการวางแผนยุทธศาสตร์ของหน่วย งานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย กิ่งพร ทองใบ และคณะ ได้อธิบายถึงยุทธศาสตร์ว่า ยุทธศาสตร์(Strategy) หมายถึง วิธีการ (Means) ที่องค์การเลือก เพื่อดำาเนินการจากจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปยังจุดหมายปลาย ทางในอนาคตที่กำาหนดไว้ สุรัสวดี ราชสกุลชัย ได้กล่าวถึงการวางแผนยุทธศาสตร์ ว่า เป็นการดำาเนินงานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายด้วยวิธีการทาง กลยุทธ์ที่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ ที่อาจแตกต่างกันในแต่ละ ระดับขององค์การ ทศพร ศิริสัมพันธ์ ได้ให้ความหมายของแผนยุทธศาสตร์ ไว้ ดังนี้ ๑. เป็นเอกสารที่ระบุ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ต่างๆ ใน การดำาเนินงานขององค์กรหนึ่งๆ ๒. เป็นแผนระยะยาว ที่บอกถึงทิศทางการดำาเนินงานของ องค์กร สำาหรบใช้เป็นเครื่องมือในการประสาน และกำากับติดตาม การดำาเนินงานในส่วนงานต่างๆ ขององค์กรให้เป็นไปในทิศทาง และจังหวะเวลาที่สอดคล้องกัน ๓. เป็นเอกสารที่จัดทำาขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพการณ์ ภายนอก และภายในองค์กร เพื่อคาดคะเนแนวโน้มของ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, การบริหารจัดการและการบริหาร ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานของรัฐ (กรุงเทพมหานคร : กำาลังอยู่ใน ระหว่างการจัดพิมพ์ของสำานักพิมพ์, ๒๕๕๔), ๕๖๗ หน้า. กิ่งพร ทองใบ และคณะ, การบริหารค่าตอบแทน, (กรุงเทพฯ : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำากัด(มหาชน), ๒๕๔๒), หน้า ๙. สุรัสวดี ราชสกุลชัย, การวางแผนและการบริหารโครงการ, (กรุงเทพฯ : โรงพ์จามจุรี, ๒๕๔๓), หน้า ๓ .
  14. 14. 14 สถานการณ์ และกำาหนดแนวทางการดำาเนินการขององค์กรให้ สอดคล้องเหมาะสมกับแนวโน้มของสถานการณ์ ดังกล่าว จากความหมายข้างต้นจึงพอจะสรุปได้ว่า แผนยุทธศาสตร์ หมายถึง แผนงานที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาองค์การในเรื่องของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เป็นต้น ให้บรรลุเป้าหมายในด้าน ต่างๆ ตามที่องค์การนั้นๆ ได้ตั้งเอาไว้และก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างสูงสุดต่อองค์การนั้นๆ ด้วย ๓)เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลตำาบล เทศบาลตำาบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า ทต. มีฐานะ เป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบ หนึ่ง ความหมายของเทศบาลตำาบล เทศบาลตำาบล คือ เขตท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรรวมกัน 5,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพ ระราชบัญญัติเทศบาล หรือ เป็นสุขาภิบาลเดิมมาก่อนการยกฐานะ สุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำาบล และแม้ว่า "เทศบาลตำาบล" จะมีชื่อ เรียกคล้ายกันหรือชื่อเดียวกันกับ "ตำาบล" แต่เทศบาลตำาบลไม่ จำาเป็นจะต้องครอบคลุมตำาบลเพียงตำาบลเดียว หรือไม่จำาเป็นต้อง ครอบคลุมตำาบลตามชื่อเทศบาลนั้น เช่น เทศบาลตำาบลแม่สาย ครอบคลุมบริเวณเมืองต่อเนื่องระหว่างตำาบลเวียงพางคำา และ ตำาบลแม่สาย พื้นที่นอกเหนือท้องที่เทศบาลนี้ มีฐานะเป็นท้องที่ ตำาบล ซึ่งต่อมาก็ยกขึ้นเป็นเทศบาลภายหลัง รูปแบบของเทศบาลตำาบล เทศบาลตำาบล ประกอบด้วย สภาเทศบาลตำาบล และนายก เทศบาลตำาบล ๑. สภาเทศบาลตำาบล ทำาหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่ง คอยควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหารอันเป็นวิถีทางแห่งการถ่วง ดุลอำานาจ กำาหนดให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการ ทศพร ศิริสัมพันธ์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบาย สาธารณะ, (กรุงเทพมหานคร: สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙).
  15. 15. 15 เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และสมาชิกสภาเทศบาลนี้อยู่ใน ตำาแหน่งได้คราวละ 5 ปี (ปัจจุบันมีการแก้ไขให้อยู่ในวาระคราว ละ 4 ปี) ทั้งนี้จำานวนสมาชิกสภาเทศบาล จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่ กับประเภทของเทศบาลสภาเทศบาลตำาบลมีสมาชิกทั้งหมด 12 คน ๒. เทศบาลตำาบล มีนายกเทศบาลตำาบล หนึ่งคน ซึ่งมา จากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ ผู้บริหารท้องถิ่น โครงสร้างองค์กรของ ทต. ทต. มีสภาตำาบลอยู่ในระดับสูงสุด เป็นผู้กำาหนดนโยบายและ กำากับดูแลกรรมการบริหาร ของนายกเทศบาลตำาบล ซึ่งเป็นผู้ใช้ อำานาจบริหารงานเทศบาลตำาบล และ มีพนักงานประจำาที่เป็น ข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ทำางานประจำาวันโดยมีปลัดและรอง ปลัด ทต. เป็นหัวหน้างานบริหาร ภายในองค์กรมีการแบ่งออกเป็น หน่วยงานต่างๆ ได้เท่าที่จำาเป็นตามภาระหน้าที่ของ ทต.แต่ละแห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่ เช่น ๑. สำานักงานปลัด มีหน้าที่ดำาเนินกิจการให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบแบบแผนและนโยบายของเทศบาลตำาบล และ เป็นเลขานุการของสภาเทศบาลตำาบล เกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ งานนิติกร งานทะเบียน งานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่มิได้กำาหนดไว้เป็นงานหน่วย งานใดโดยเฉพาะ เช่น สถานธนานุบาล ๒. ส่วนการคลัง หน้าที่เกี่ยวกับการเงินและการบัญชี การ จัดเก็บภาษีต่าง ๆ เช่นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย งานจัดทำา งบประมาณ งานผลประโยชน์ของเทศบาลควบคุมดูแลพัสดุและ ทรัพย์สินของเทศบาลตำาบล ๓. ส่วนสาธารณสุข กองการสาธารณสุข มีหน้าที่แนะนำา ช่วยเหลือด้านการเจ็บป่วยของประชาชน การป้องกันและการ ระงับโรคติดต่อ การรักษาความสะอาด งานสัตวแพทย์ตลาด สาธารณะ สุสานฌาปนสถานสาธารณะ การสุขาภิบาล และงาน
  16. 16. 16 ด้านสาธารณสุข ตลอดตนควบคุมการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับ สุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น การแต่งผม การจำาหน่าย อาหาร รวมทั้งงานสาธารณสุขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือ งานที่ได้รับมอบหมาย ๔. ส่วนการศึกษา มีหน้าที่ดำาเนินการด้านการศึกษาระดับ ประถมศึกษาของเทศบาล งานการสอน การนิเทศ การศึกษา งาน สวัสดิการสังคม และนันทนาการ ตลอดจนการปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ๕. ส่วนการโยธา มีหน้าที่ดำาเนินการด้านสำารวจแบบแผน ผังเมือง งานบำารุงรักษาทางบก ทางระบายนำ้า สวนสาธารณะ งาน สถาปัตยกรรมงานสาธารณูปโภค งานเกี่ยวกับไฟฟ้า งานควบคุม การก่อสร้างอาคาร เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ๗.๒ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑)งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน ๒)งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ ๓)งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วน ตำาบล ๑)งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับการ “พัฒนาชุมชนเรื่อง กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็น ชุมชนน่าอยู่:กรณีศึกษาบ้านสบยาบ อำาเภอเชียงแสน จังหวัด ”เชียงราย ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้พบว่า พบว่าชุมชนบ้านสบยาบ คนในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกุลกัน ตลอดเวลา มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีภูมิปัญญาชาวบ้าน มี ผู้นำาที่มีความสามารถ และเมื่อมีปัญหาชุมชนมีกลไกทางสังคมที่ดี ในการช่วยแก้ไขปัญหา ชุมชนมีทุนในชุมชนครบทุกด้านได้แก่ พระราชบัญญัติสภาตำาบลและองค์การบริหารส่วนตำาบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๒.
  17. 17. 17 ด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และการ บริหารจัดการ นพรัตน์ คล่องสารา ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา ชุมชนเรื่อง “กระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นคอยรุตตั๊กวา เขต หนองจอก ”กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้ผลการวิจัย พบ ว่า๑) กระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามความคิดเห็นของ ประชาชน ในชุมชนคอยรุตตั๊กวาเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งในภาพรวม และรายด้านโดยเรียงลำาดับ รายด้าน ดังนี้ ด้านการดำาเนินงาน ด้านการ ศึกษาชุมชน ด้านการ ทบทวนเพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคด้านการพิจารณาวิธีดำาเนินงาน ด้านการวิเคราะห์ปัญหาชุมชน ด้านการวางแผนแก้ปัญหา ด้าน การติดตามประเมินผล และด้านการจัดลำาดับความต้องการของ ชุมชน ๒) ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ใน ชุมชนคอยรุตตั๊กวา เขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับ มากทั้งในภาพรวม และรายปัจจัยเรียงตามลำาดับรายปัจจัย ดังนี้ ความเป็นผู้นำาท้องถิ่น การรับรู้ข่าว สาร และความเป็นเครือญาติ จุรีรัตน์ ลอยมี ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพบ้านแม่กำาปอง กิ่งอำาเภอแม่ออน จังหวัด ”เชียงใหม่ในการเป็นหมู่บ้านสุขภาพดี พบว่าโครงสร้างทางสังคม ของชุมชนแม่กำาปองที่มีความสัมพันธ์กันในระดับครอบครัว การมี ทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนบุคคลทุนกลุ่ม/ องค์กรทุนเครือญาติและเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งในและนอกชุมชน ส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เพราะชุมชนได้ทุนเหล่านี้มาเป็น พื้นฐานในการเสริมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับชุมชน และ ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช, “กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้ เป็นชุมชนน่าอยู่: กรณีศึกษาบ้านสบยาบ อำาเภอเชียงแสน จังหวัด ”เชียงราย ,วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่ง เสริมสุขภาพ, (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๒), หน้า ง . นพรัตน์ คล่องสารา, “กระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นคอยรุตตั๊กวา เขตหนองจอก ”กรุงเทพมหานคร , วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, (มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, ๒๕๕๑), หน้า ค.
  18. 18. 18 ปัจจัยที่สำาคัญคือการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทำาให้ชุมชนเกิด การเรียนรู้ในการดำาเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนมีการรวมกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาและประสานความช่วยเหลือจาก ๔๑ ภายนอกชุมชน ชุมชนมีกลไกทางสังคมได้แก่ ผู้นำาสถาบันหลักในชุมชน องค์กร ชุมชนและภูมิปัญญาด้านต่างๆ สามารถสร้างอำานาจต่อรองกับ ภายนอกและชุมชนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ที่ เปลี่ยนแปลงไปของธรรมชาติและสังคมภายนอกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และยังคงรักษาความเป็นชุมชนได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง ยุภา พงษ์ภมร ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน เรื่อง “การดำาเนินงานพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำาบล หนองหญ้าไทร อำาเภอสากเหล็ก ”จังหวัดพิจิตร การศึกษาในครั้ง นี้พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การแก้ไขปัญหา ด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ไม่ดีนักและประชาชนต้องการให้มีการ ช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านนี้ ด้านการดำาเนินการพบว่า โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่ด้านเศรษฐกิจและสังคม ยังไม่เป็นที่พอใจเท่าที่ควร ด้านสังคมและวัฒนาธรรมส่วนใหญ่ เห็นว่ายังมีที่สันทนาการพักผ่อนและไว้สำาหรับทำากิจกรรมใน ชุมชนไม่เพียงพอ ด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่มีการจัดการให้ความรู้ เรื่องการดูแลและการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ดีพอ นัฐภาส์ การรินทร์ ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา ชุมชนเรื่อง “การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนา ชุมชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์” พบว่า การมีส่วน ร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมือง กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อ จุรีรัตน์ ลอยมี, “การพัฒนาศักยภาพบ้านแม่กำาปอง กิ่งอำาเภอแม่ออน ”จังหวัดเชียงใหม่ในการเป็นหมู่บ้านสุขภาพดี , วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, (มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, ๒๕๔๘), หน้า ง. ยุภา พงษ์ภมร, “การดำาเนินงานพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วน ตำาบลหนองหญ้าไทร อำาเภอสากเหล็ก ”จังหวัดพิจิตร ,รายงานการศึกษา อิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัย การปกครองส่วนท้องถิ่น(มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๓), หน้า ก .
  19. 19. 19 พิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำาดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาตำ่าสุด ได้แก่ ด้านการมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำาเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการ ประเมินผล ซึ่งคณะกรรมการชุมชนได้มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ เทศบาล ควรมีการประชาสัมพันธ์ในการจัดทำาแผนพัฒนาเทศบาล โดยประกาศเสียงตามสาย เพื่อเชิญชวนให้ประชาชน เข้าร่วมจัด ทำาแผน ควรมีการรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ก่อนมีการลงมติ และควรเปิดโอกาสกว้างให้ประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดซื้อจัดจ้าง จากเอกสารและงานวิจัยดังกล่าวจึงอาจสรุปได้ว่า การ พัฒนาชุมชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงการพัฒนาในเรื่องของปากท้อง ของชุมชนเท่านั้นแต่ยังเป็นการพัฒนาในเรื่องอื่นๆ อีกด้วยไม่ว่า จะเป็นในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งในบางชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ มีปัญหาและมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีเท่าที่ควร สังคม และวัฒนธรรมก็เช่นกันหากยังไม่มีการพัฒนาการที่ชุมชนจะก้าว ไปข้างหน้าจะเป็นไปด้วยความยากลำาบาก ซึ่งการพัฒนาชุมชน นั้นจะต้องมีการพัฒนาในหลายๆเรื่อง หลายๆด้านด้วยกัน เพราะ ในแต่ละชุมชนมักจะมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขแตกต่างกันไป ดังนั้น การที่ชุมชนจะพัฒนาไปในทางที่ดีได้จึงจะต้องมีการแก้ไขปัญหา และพัฒนาในหลายๆเรื่อง หลายๆด้านเพื่อที่จะทำาให้ความเป็นอยู่ ของชุมชนมีฐานะที่ดีขึ้น ๗.๒ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ ประชุม โพธิ์ทักษิณ ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับแผน ยุทธศาสตร์เรื่อง “แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำาบลตากแดด อำาเภอเมือง ”จังหวัดชุมพร นัฐภาส์ การรินทร์, “การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการ พัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ”จังหวัดกาฬสินธุ์ , วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาราชภัฏ มหาสารคาม, ๒๕๕๓), หน้า ก.
  20. 20. 20 ในการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของ อบต.ตากแดด มีทั้งที่เป็นสถานที่สำาคัญและวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นทุกหมู่บ้านรวม ๙ หมู่บ้าน และพบประเด็น ปัญหาที่รวบรวมได้ ๑๐ ประเด็นปัญหาในการวางแผนท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมของ อบต.ตากแดด อำาเภอเมือง จังหวัดชุมพร ได้มี การวิเคราะห์ SWOT และกำาหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “เป็นหน่วยงาน จัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารจัดการที่ดีที่สุดของจังหวัดชุมพร โดยมีพันธกิจดังนี้ ๑)พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวให้สวยงาม ปลอดภัย และสืบสาน วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ๒)มีการบริหารจัดการที่ดี ๓)ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว เป้าหมาย เป็น แหล่งท่องเที่ยวระดับสากล และได้กำาหนดยุทธศาสตร์ในการ พัฒนาไว้ ๔ องค์ประกอบ คือ ด้านทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว ๒ ยุทธศาสตร์ ด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว ๓ ยุทธศาสตร์ ด้าน การจัดการ ๕ ยุทธศาสตร์ และด้านการมีส่วนร่วม ๓ ยุทธศาสตร์ ประสงค์ รตนะ ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ เรื่อง “การดำาเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาล ตำาบลหาดคำา อำาเภอเมืองหนองคาย ”จังหวัดหนองคาย ตามความ ”คิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ด้านคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ ด้านชุมชนและสังคม อยู่ในระดับที่ดี ส่วนด้านการเมือง การ บริหาร และการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น และด้านโรคงสร้างพื้น ฐานอยู่ในระดับพอใช้ และในด้านโครงสร้างพื้นฐานควรที่จะ ดำาเนินการพัฒนาให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกหมู่บ้าน เทศบาล ควรที่จะจัดสรรงบประมาณสำาหรับพัฒนาผู้ด้อยโอกาสและและผู้ พิการ เทศบาลควรมีกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนในเขตพื้นที่ ประชุม โพธิ์ทักษิณ, “แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำาบลตากแดด อำาเภอเมือง ”จังหวัดชุมพร , รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, (วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๑), หน้า ก.
  21. 21. 21 เทศบาลควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำาเนินงานของ เทศบาลอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกด้าน ไพฑูรย์ อินทพิบูลย์ ทำาการศึกษาเกี่ยวกับแผน ยุทธศาสตร์เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตาม แผนยุทธศาสตร์ ”ของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ๑. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตาม แผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ในด้านการร่วมรับรู้ และด้านการร่วมปฏิบัติการและดำาเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ในขณะที่การมีส่วนร่วมในด้านการร่วมคิดตัดสินใจ และการติดตามและประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อ พิจารณาภาพรวมของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกด้านพบ ว่า อยู่ในระดับปานกลาง ๒.ระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้าน ประชาชน ด้านผู้นำา และด้านข้าราชการและพนักงานของรัฐ กับ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ ของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ๓.การมี ส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ของ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ด้านการร่วมรับรู้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัย สำาคัญทางสถิติกับเพศ อายุ ระดับรายได้ และตำาแหน่งในชุมชน สำาหรับการมีส่วนร่วมด้านการร่วมคิดตัดสินใจ พบว่ามีความ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติกับอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และตำาแหน่งในชุมชน ส่วนการมีส่วนร่วมด้านการร่วมปฏิบัติการ หรือดำาเนินงาน พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติกับ เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ และตำาแหน่งในชุมชน สำาหรับการมี ส่วนร่วมด้านการติดตามและประเมินผล พบว่ามีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติกับอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับราย ได้ และตำาแหน่งในชุมชน ๔.ปัจจัยด้านประชาชนมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตามแผน ประสงค์ รตนะ, “การดำาเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของ เทศบาลตำาบลหาดคำา อำาเภอเมืองหนองคาย จังหวัด ”หนองคาย ,วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, ๒๕๕๕), หน้า ก.
  22. 22. 22 ยุทธศาสตร์ของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ด้านการร่วมรับรู้ ด้านการ ร่วมคิดตัดสินใจด้านการร่วมปฏิบัติการหรือดำาเนินงาน และด้าน การติดตามและประเมินผล นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยด้านข้าราชการ และพนักงานของรัฐมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการมีส่วนร่วมด้าน การติดตามและประเมินผล วิบูล พุฒทอง ทำาการวิจัยเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์เรื่อง “แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเทือกเขาพระ-เขาสูง อำาเภอหนองบัว ”จังหวัดนครสวรรค์ ในการวิจัยครั้งนี้พบว่า ปัญหาแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเทือกเขาพระ-เขาสูง อำาเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปาน กลาง ในการวางแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเทือกเขา พระ-เขาสูง อำาเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ได้กำาหนดวิสัย ทัศน์ไว้ว่า เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ชุมชนมีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการที่ดีที่สุดในจังหวัดนครสวรรค์โดยมีพันธกิจดังนี้ ๑)พัฒนาสถานที่ท่องเที่ยงให้สวยงาม ๒)มีการบริหารจัดการที่ดี ๓)ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว เป้าหมาย เพื่อเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวและได้กำาหนดยุทธศาสตร์ในการ พัฒนาไว้ ๔ องค์ประกอบคือ ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้าน กิจกรรมและกระบวนการ และด้านการมีส่วนร่วม พรสุณี หงษ์ลอย ทำาการศึกษาเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ เรื่อง “การบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ ราชการไทย ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในจังหวัด ”นครปฐม การศึกษาในครั้งนี้พบว่า การบริหารงานตามแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ไพฑูรย์ อินทพิบูลย์, “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตาม แผนยุทธศาสตร์ ”ของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ , วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคม เมืองและชนบท (มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, ๒๕๕๐), หน้า ก. วิบูล พุฒทอง, “แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเทือกเขา พระ-เขาสูง อำาเภอหนองบัว ”จังหวัดนครสวรรค์ ,วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, (มหาวิทยาลัยราชภัฎ นครสวรรค์, ๒๕๔๘), หน้า ฆ.
  23. 23. 23 ของสถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของสถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับมาก และการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาระบบราชการไทยมีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาใน จังหวัดนครปฐม จากงานวิจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แผนยุทธศาสตร์นั้นมี ความสำาคัญอย่างมากในการที่จะทำาให้หน่วยงานหรือองค์การ ต่างๆ มีการขับเคลื่อนและพัฒนาตัวเองไปทางที่ดีและยังเป็นการ ปรับปรุงรูปแบบของการทำางานให้มีความหลากหลายมากขึ้น ๗.๓ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลตำาบล (ทต.) กรรณิการ์ เครือฟู ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับองค์การ บริหารส่วนตำาบลเรื่อง “การประเมินผลการจัดทำาแผนพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำาบลทาปลาดุก อำาเภอแม่ทา ”จังหวัดลำาพูน ผลการศึกษา พบว่าผู้นำาชุมชนในตำาบลทาปลาดุก มีความรู้ ความ เข้าใจ ในการจัดทำาแผนพัฒนาในระดับ มาก ส่วนการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดทำาแผนพัฒนา อยู่ในระดับน้อยด้าน ปัญหาและอุปสรรค ที่พบ ผู้นำาชุมชน ส่วนใหญ่เห็นว่าแนวคิด เกี่ยวกับการจัดทำาแผนพัฒนาเป็นไปตามนโยบายการจัดทำาแผน พัฒนาและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในด้านความ ชัดเจนของนโยบาย ความชัดเจนของผู้ปฏิบัติงาน การนำานโยบาย ไปปฏิบัติ และการติดต่อประสานงาน การดำาเนินการในแต่ละ กิจกรรมชัดเจนทุกขั้นตอน ในการจัดทำาแผนพัฒนา พรสุณี หงส์ลอย, “การบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบราชการไทย ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในจังหวัด ”นครปฐม ,วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการ ศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร, ๒๕๕๐,) หน้า ง. กรรณิการ์ เครือฟู, “การประเมินผลการจัดทำาแผนพัฒนาองค์การ บริหาร ส่วนตำาบลทาปลาดุก อำาเภอแม่ทา ”จังหวัดลำาพูน , วิทยานิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ,(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๑), หน้า ง.

×