Successfully reported this slideshow.
Your SlideShare is downloading. ×

แผนการจัดการเรียนรู้ที่-1-ล่าสุด-แยกสาร.pdf

Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
Ad
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบของสสาร คว...
5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมวันหยุดสุดหรรษา โดยมีการให้คะแนนสะสมเป็นราย...
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่า สาร...
Advertisement

Check these out next

1 of 5 Ad

More Related Content

Similar to แผนการจัดการเรียนรู้ที่-1-ล่าสุด-แยกสาร.pdf (17)

Recently uploaded (20)

Advertisement

แผนการจัดการเรียนรู้ที่-1-ล่าสุด-แยกสาร.pdf

  1. 1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับ โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวชี้วัด ว 2.1 ป.6/1 อธิบายและเปรียบเทียบการแยกสารผสมโดยการหยิบออก การร่อน การใช้แม่เหล็ก ดึงดูด การรินออก การกรอง และการตกตะกอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งระบุวิธีแก้ปัญหา ในชีวิตประจำาวันเกี่ยวกับการแยกสาร 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1 ความรู้ (K) นักเรียนสามารถจำแนกสารโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดได้ 2.2 ทักษะ (P) นักเรียนเกิดทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การทดลอง การจัดกระทำ สื่อความหมายข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป 2.3 เจตคติ (A) นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน 3. สาระสำคัญ สารผสมประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกัน วิธีการที่เหมาะสมในการแยกสารผสมขึ้นอยู่กับลักษณะ และสมบัติของสารที่ผสมกัน การหยิบออกและการร่อนเป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบเป็นของแข็งกับ ของแข็งที่มีขนาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน การใช้แม่เหล็กดึงดูดเป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบของสารชนิด หนึ่งเป็นสารแม่เหล็ก การรินออก การกรอง หรือการตกตะกอนเป็นวิธีการแยกสารผสมที่มีองค์ประกอบเป็นของแข็งที่ ไม่ละลายในของเหลว การแยกสารด้วยวิธีต่างๆ เป็นวิธีการแยกสารที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4. สาระการเรียนรู้ การแยกสาร สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ว16101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การแยกสาร เวลา 50 นาที
  2. 2. 5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมวันหยุดสุดหรรษา โดยมีการให้คะแนนสะสมเป็นรายกลุ่ม เพื่อเก็บคะแนน กลุ่มที่ได้ คะแนนมากที่สุด 3 ลำดับแรกจะได้รับรางวัลจากครูผู้สอน 5.2 ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน (flipped classroom) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) (1) ครูตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจให้แก่นักเรียน เช่น – ข้าวสารที่เก็บไว้นานจะมีตัวมอดอยู่ในข้าวสาร เรามีวิธีแยกมอดออกจากข้าวสารได้อย่างไร (แนวคำตอบ แยกด้วย วิธีการหยิบออก) – การจำแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์มีหลักการอย่างไร (แนวคำตอบ สังเกตด้วยตาว่ามองเห็นเนื้อสารเป็นเนื้อ เดียวกันหรือไม่) (2) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า เมื่อใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์จะ จำแนกสารผสมได้เป็น 2 ประเภท คือ สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (1) ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องการจำแนกสาร โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สารผสมประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกัน เราสามารถจำแนกสารผสมเป็น 2 ประเภทได้ คือ สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม โดยใช้ลักษณะ ของเนื้อสารเป็นเกณฑ์ (2) ครูแบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 – 6 คน เพื่อสังเกตลักษณะและสมบัติวิเคราะห์ วิธีการแยกสารและแยกสารผสมที่มี องค์ประกอบเป็นของแข็งกับของแข็ง ดังนี้ ลูกปัด แป้ง น้ำตาลทราย และผงตะไบเหล็ก จากนั้น ให้นักเรียนวิเคราะห์ และออกแบบวิธีการแยกสารที่เหมาะสมกับสารผสมดังกล่าว แล้วให้นักเรียนทำการแยกสารผสมหลังจากนั้นให้ นักเรียนบันทึกผลที่สังเกตลงในตารางบันทึกผล ตัวอย่างตารางบันทึกผลการสังเกต สารผสม ลักษณะและสมบัติ ของสารผสม วิธีการแยกสาร อุปกรณ์ที่ใช้แยก ผลการแยกสาร ลูกปัดผสมกับ น้ำตาลทราย แป้งและ ผงตะไบเหล็ก 1.......................... 2.......................... 3.......................... 1.......................... 2.......................... 3.......................... 1.......................... 2.......................... 3.......................... (3) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาสให้ นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหาในขณะทำกิจกรรม
  3. 3. 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่า สารในชีวิตประจำวันมีสารผสม หลายชนิดที่มีลักษณะเนื้อสารแตกต่างกัน ซึ่งจำแนกได้เป็นสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม 4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) ครูอธิบายเรื่องน่ารู้ เรื่อง สารละลาย ให้นักเรียนเข้าใจว่า ตัวละลายมีขนาดเล็กมากทำให้เมื่อตัวละลายผสมกับในตัว ทำละลายแล้ว เราจึงมองเห็นสารละลายเป็นเนื้อเดียว 5) ขั้นประเมิน (Evaluation) (1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมี ข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ (2) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ (3) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน 5.3 ขั้นสรุป 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการจำแนกสาร โดยบันทึกผลลงในใบบันทึกผลการทดลอง 2) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคำถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คำถาม เพื่อนำมาอภิปรายร่วมกัน ในห้องเรียนครั้งต่อไป 6. สื่อการเรียนรู้ 1. ใบกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ จำแนกสารผสมในชีวิตประจำวัน 2. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3. ชุดกิจกรรมวันหยุดสุดหรรษา 4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน 7. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและ จิต วิทยาศาสตร์ (A) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 1. ซักถามความรู้เรื่องการจำแนก สาร 2. ตรวจชิ้นงานหรือภาระงานของ กิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน 1. ประเมินเจตคติทาวิทยาศาสตร์ เป็นรายบุคคลโดยการสังเกตและ ใช้แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 2. ประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เป็นรายบุคคลโดยการสังเกตและ ใช้แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 1. ประเมินทักษะการคิดโดย การสังเกตการทำงานกลุ่ม 2. ประเมินพฤติกรรมในการ ปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มโดยการสังเกต การทำงานกลุ่ม
  4. 4. 8. บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ 8.1 สรุปผลหลังการจัดการเรียนรู้ 1. นักเรียนจำนวน..................คน ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้......................คน คิดเป็นร้อยละ.................. ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้..................คน คิดเป็นร้อยละ.................. นักเรียนที่ไม่ผ่าน มีดังนี้ 1............................................................ 2............................................................ 3............................................................ 4............................................................ 5............................................................ 6............................................................ แนวทางแก้ไขนักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ ......................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................... 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ (K) ......................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................ 3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P) ......................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................ 4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A) ......................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................... 8.2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 8.3 ข้อเสนอแนะ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ.................................................. (.................................................) ตำแหน่ง.....................................
  5. 5. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.6 ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ได้ทำการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ................................................................แล้วมีความเห็นดังนี้ 1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่  ดีมาก  ดี  พอใช้  ควรปรับปรุง 2. การจัดกิจกรรมได้นำเอากระบวนการเรียนรู้  เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม  ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป 3. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่  นำไปใช้ได้จริง  ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้ 4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................. (.................................................)

×