SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
1
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจ
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย
Problems in Knowledge Management of Thai Third-Party Logistics (3PLs)
ปุญญภณ เทพประสิทธิ์ (Punyapon Tepprasit) 1
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ที่
มีต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs)
ของประเทศไทย และศึกษาระดับปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3
(Third-Party Logistics: 3PLs) โดยได้มุ่งศึกษากลุ่มตัวอย่างจากที่เป็นบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3
(Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทยจํานวน 389 บริษัท ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอาศัย
ความน่าจะเป็น แบบเชิงระบบ ผู้วิจัยได้ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การ
ถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ และเมื่อ
เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน บุคลากรที่รับหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาไม่ทราบข้อมูลของปัญหาที่ชัดเจน อีก
ทั้งยังพบว่าการตัดสินใจในองค์กรมีความล่าช้าเนื่องจากต้องรออํานาจการตัดสินใจจากผู้บริหารระดับสูง
เท่านั้น ด้านการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะสภาพแวดล้อมภายในขององค์กร ได้แก่ ทุนจดทะเบียน,
ประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ และจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้ปัญหาในการจัดการ
องค์ความรู้เกิดความแตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ขณะที่พบว่า องค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้
ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้, ด้านวัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ และด้านเทคโนโลยีการจัดการ
องค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party
Logistics: 3PLs) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
Abstract
The objectives of this research are 1) to study problems in knowledge management of Thai Third
party logistics (3PLs) and 2) to study influence of knowledge management key success factors on
problems in knowledge management for Thai 3PLs. The samples of the research are 389 companies
1
อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี
สารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
2
which came from probability sampling. According to the analysis, One Way ANOVA and Multiple
Regression have been used for the hypothesis testing.
The research findings indicate that the major problem in knowledge management of Thai 3PLs is
personnel problem since staffs are unable to work for multi-tasks. Decision making in organizations is
quite slow deal to the centralized management. In relation to the hypothesis testing, it is found that
differences of internal environments such as capital, type of logistics services and the amount of
employees have effected the differences of problems in knowledge management at 0.05 significant level
while The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) has influenced the problems in
knowledge management of Thai 3PLs at 0.05 significant level.
คําสําคัญ : การจัดการองค์ความรู้, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3
Key Words: Knowledge Management, Third Party Logistics (3PLs)
บทนํา
แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจ มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมา จากการค้าในปัจจุบันที่
กลายเป็นการค้าระหว่างประเทศ ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายทุน ฐานการผลิต และองค์ประกอบต่างๆ ไปยัง
ประเทศที่มีความเหมาะสม ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสําคัญ มีแรงงานที่เชี่ยวชาญ และมีโครงสร้าง
พื้นฐานที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นฐานการผลิตในการส่งออก อีกทั้งประเทศไทยมีภูมิศาสตร์เป็นจุด
ศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน อาทิ
มาเลเซีย, พม่า, ลาว และกัมพูชา อีกทั้งประเทศไทยได้มีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรี หรือความร่วมมือทาง
เศรษฐกิจกับหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เปรู, ญี่ปุ่น เป็นต้น (กรมเจรจาการค้าระหว่าง
ประเทศ, 2553) ส่งผลให้ธุรกิจที่ลงทุนในประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ข้อตกลงระหว่างกัน
จึงเป็นเป้ าหมายทางการลงทุนขององค์กรธุรกิจข้ามชาติ องค์กรที่เข้ามาดําเนินธุรกิจในประเทศไทยส่วน
ใหญ่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นกิจกรรมหลักขององค์กร ขณะที่กิจกรรมด้านอื่นองค์กรได้ทําการ
ถ่ายโอนกิจกรรมไปยังผู้ให้บริการภายนอก โดยเฉพาะกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ที่มีความสําคัญและต้องใช้
ความเชี่ยวชาญสูงกว่ากิจกรรมด้านอื่นๆ (Rushton & Walker, 2007) ประกอบไปด้วยกิจกรรม การขนส่ง
และการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้า, การจัดการคลังสินค้า, การดําเนินพิธีการศุลกากร, ตัวแทนส่งออก
และนําเข้า เป็นต้น (Power, Desouza & Bonifazi, 2006) ซึ่งองค์กรธุรกิจต่างๆ ได้เริ่มใช้บริการผู้
ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ในกิจกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น (Rushton & Walker,
2007) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน และยกระดับขีดความสามารถในการบริการลูกค้า
และความสามารถทางการแข่งขัน
3
ปริมาณความต้องการของตลาดที่มีต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) มี
แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics:
3PLs) อย่างต่อเนื่อง (Rushton & Walker, 2007) ขณะเดียวกันพบว่า ปัจจัยบางประเด็นมีความน่ากังวล และ
อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และอัตรากําไร ตลอดจนรูปแบบการดําเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3
(Third-Party Logistics: 3PL) คือ การเปิดเสรีทางด้านโลจิสติกส์ในปี 2013 (สํานักงานส่งเสริมการลงทุน,
2553) ภายใต้กรอบข้อตกลง AEC (ASEAN Economic Community: AEC) ที่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม
อาเซียนได้วางนโยบายร่วมกัน จะทําให้เกิดการแข่งขันทางการค้าแบบเสรีในภูมิภาคอาเซียน โดยธุรกิจผู้
ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) จากประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิภาคอาเซียน
เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย เป็นต้น จะสามารถเข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรีไร้ข้อจํากัดหรือข้อกีดกันทางการค้า
ทําให้ผู้ประกอบการของไทย นักวิชาการ และนักธุรกิจ (สํานักงานส่งเสริมการลงทุน, 2553) มากมายมีความ
กังวลว่าจะมีธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) จากประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพ
ทางการแข่งขันในระดับโลก เช่น เยอรมนี, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และจีน เป็นต้น จะเข้าไป
ดําเนินการจดทะเบียนยังตลาดสิงคโปร์ และใช้สิทธิพิเศษดังกล่าวในการเข้ามาตั้งบริษัท หรือฐานการ
ให้บริการในประเทศไทย ทําให้กลายเป็นคู่แข่งขันที่มีศักยภาพที่น่ากลัวต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3
(Third-Party Logistics: 3PLs) ของไทย ดังนั้นจึงจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถ
ทางการแข่งขันให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย
การพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันในอดีต มุ่งไปที่การเพิ่มทรัพยากรต่างๆ เช่น เครื่องจักร อาคาร
ที่ดิน ปัจจัยการผลิตหรือการบริการ อุปกรณ์สํานักงาน เป็นต้น ทรัพยากรประเภทดังกล่าวเมื่อมีการนํามาใช้
จะทําให้ทรัพยากรเสื่อมสภาพหรือหมดไป ซึ่งเป็นทรัพยากรหรือศักยภาพทางการแข่งขันที่ไม่ยั่งยืน เพราะ
ธุรกิจคู่แข่งสามารถครอบครองได้โดยการใช้เงินทุนในการจัดหา ขณะเดียวกันยังมีทรัพยากรอีกหนึ่ง
ประเภทที่มีค่ามหาศาลสําหรับองค์กร คือ ทรัพยากรความรู้ สามารถนําไปใช้สร้างประสิทธิภาพให้กับ
องค์กรได้อย่างต่อเนื่อง มีแต่ที่จะเพิ่มพูนมากขึ้นจากการศึกษาอย่างจริงจังและการใช้งานอย่างต่อเนื่อง จะทํา
ให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อต้องการ
ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้โดยการใช้เครื่องมือ The Knowledge
Management Assessment Tool (KMAT) ที่คิดค้นโดย American Productivity & Quality Center and Arthur
Andersen (1995) เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันให้กับผู้ให้บริการ โลจิ
สติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทยให้มีความพร้อมในการแข่งขันแบบเสรีทางการค้า
ในปี 2013
4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party
Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย
2. เพื่อศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ ที่มีต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ความรู้ ถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่า ซึ่งแตกต่างจากปัจจัยการผลิตอื่นๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่
เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลาซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) (Malhotra, 2005) ความรู้ได้
กลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สําคัญในการดําเนินธุรกิจให้มีความได้เปรียบอย่างมีศักยภาพที่ยั่งยืน ดังนั้นแนวคิด
และหลักการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) (Wiig, 2004) จึงมีบทบาทที่สําคัญอย่าง
ยิ่งสําหรับองค์กรในทุกระดับ
จากการค้นคว้าจะพบว่า ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท (Malhotra, 2005) คือ (1) ความรู้โดยนัยหรือความรู้
ที่มองเห็นไม่ชัดเจน (Tacit Knowledge) จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นทักษะหรือความรู้
เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์ ความเชื่อหรือความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน เช่น
การเรียนรู้, ฝึกอบรม เป็นต้น และ (2) ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการ (Explicit Knowledge) เป็น
ความรู้ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ เอกสารของ
องค์กร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ เป็นต้น (Wiig, 2004) ซึ่งการที่องค์กรจะสามารถดําเนินการจัดการ
องค์ความรู้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จะต้องมีการสนับสนุนให้เกิดขึ้นทั้งคู่
และต้องนําความรู้แบบ Tacit Knowledge มาทําการเรียบเรียง และทําการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ ทําให้
กลายเป็นความรู้แบบ Explicit Knowledge
เครื่องมือที่จะใช้ในการวัดผลกระบวนการจัดการองค์ความรู้ขององค์กรที่มีมาตรฐานและได้รับการ
ยอมรับคือ The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) เครื่องมือ KMAT (American
Productivity & Quality Center and Arthur Andersen, 1995) ถูกพัฒนาโดยศูนย์มาตรฐานและการเพิ่ม
ผลผลิตของสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (Arthur Anderson) ในปี 1995 มีวัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือองค์กรให้สามารถประเมินตนเองถึงจุดแข็ง จุดอ่อนในการจัดการด้านองค์ความรู้ โดยแบ่งเป็น
5 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 กระบวนการจัดการองค์ความรู้ (KM process)
ด้านที่ 2 ภาวะผู้นํา (Leadership)
ด้านที่ 3 วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ (KM Culture)
ด้านที่ 4 เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ (KM Technology)
5
ด้านที่ 5 การวัดผลการจัดการองค์ความรู้ (KM Measurement)
ซึ่งทางศูนย์มาตรฐานและการเพิ่มผลผลิตของสหรัฐอเมริกา และอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (American
Productivity & Quality Center and Arthur Andersen, 1995) ได้มีการสร้างแบบฟอร์มของคําถามที่เป็น
มาตรฐานและใช้ในการวัดการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ซึ่งได้ออกแบบไว้เป็นภาษาอังกฤษ ตาม
ภาษาสากล และได้รับการยอมรับในการนําไปใช้ประเมินองค์กรต่างๆ มากมายทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทย
พบว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่ถูกนําไปใช้ในหน่วยงานการศึกษาของราชการเป็นหลัก โดย
พบว่ายังไม่มีการนํามาพัฒนาเพื่อภาคเอกชนอย่างจริงจัง
นิยามศัพท์เฉพาะ
The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
องค์กรในเรื่องของการจัดการองค์ความรู้ หรือองค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน
ดังนี้กระบวนการจัดการองค์ความรู้, ภาวะผู้นํา, วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้, เทคโนโลยีการ
จัดการองค์ความรู้ และการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ คิดค้นโดยศูนย์มาตรฐานและการเพิ่มผลผลิตของ
สหรัฐอเมริกา และอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (Arthur Anderson) ในปี 1995 ซึ่งมีความเหมาะสมในการนําไปใช้
ออกแบบรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร
กระบวนการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง โครงสร้างการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ที่เป็น
แนวทางที่องค์กรวางไว้ในการดําเนินงานด้านการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร
ภาวะผู้นํา หมายถึง ความเป็นผู้นํา วิสัยทัศน์ และกล้าตัดสินใจของผู้บริหารขององค์กรที่จะมุ่งเน้น
ในการพัฒนาองค์ความรู้ขององค์กรให้เกิดขึ้น และนําไปสู่ความสําเร็จ
วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง ธรรมเนียมในการปฏิบัติในการจัดการองค์ความรู้
ขององค์กร องค์กรที่มีวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้ที่ดี จะต้องมีการสร้างธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว
โดยการปลูกฝังความรู้สึก และทัศนคติที่ดีต่อการจัดการองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กรอย่างสมํ่าเสมอ
และ สร้างให้กลายเป็นการปฏิบัติที่เป็นชีวิตประจําวัน
เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องมือบันทึกการสื่อสาร โปรแกรมปฏิบัติงานต่างๆ ทั้งหมด เป็นต้น ที่องค์กรใช้ในการดําเนินงาน
ประจําวัน ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลบันทึกลงในหน่วยความจําที่ออนไลน์ถึงกันทั้งองค์กร และสามารถดึง
ข้อมูลกลับมาใช้ระหว่างหน่วยงานได้โดยสะดวก และรวดเร็ว
6
การวัดผลการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง แนวทางหรือวิธีการในการประเมินผลของการจัดการองค์
ความรู้ขององค์กร โดยจะต้องมีการสร้างดัชนีชี้วัด และสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข เพื่อ
นําไปใช้ในการประเมินองค์กร และสร้างการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง ปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร
ทําให้องค์กรมีความยุ่งยากในการที่จะสร้างความสําเร็จในการจัดการองค์ความรู้ Wiig (2004) ได้แบ่งปัญหา
ในการจัดการองค์ความรู้ ออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านความเข้าใจในสถานการณ์ ด้านการตัดสินใจ และการ
ปรับปรุง ด้านการดําเนินการ และด้านการติดตามผล
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 หมายถึง ธุรกิจที่ให้บริการในการดําเนินงานกิจกรรมโลจิสติกส์ที่
ประกอบไปด้วย การขนส่งและการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้า, การจัดการคลังสินค้า, การดําเนินพิธีการ
ศุลกากร, ตัวแทนส่งออก และนําเข้า เป็นต้น
วิธีดําเนินการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ(SurveyResearch)โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร
ประชากรที่ทําการศึกษาวิจัย คือ บริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics:
3PLs) จํานวน 13,922 บริษัท (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2553)
1.2 กลุ่มตัวอย่าง
จากการคํานวณกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของ Taro Yamane (Zikmund, 2003) จะทําให้ได้กลุ่ม
ตัวอย่างจํานวน 389 บริษัท โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling)
โดยได้เลือกวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic random sampling) (Zikmund, 2003) ซึ่งเป็นการสุ่ม
ตัวอย่างจากหน่วยย่อยของประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แบบสุ่มเป็นช่วง ๆ โดยจะใช้หมายเลขของผู้
ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ที่ได้ระบุไว้ในรายชื่อของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
หมายเลข 1-13,922 มาทําการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ มีวิธีคํานวณดังนี้
ประชากรหารด้วยจํานวนกลุ่มตัวอย่าง (K = N/n)
K = 13,922/389
K = 35.78
สุ่มหมายเลข 1 ถึง K ในที่นี้คือการสุ่มหมายเลข 1- 35 ผลปรากฏว่าได้หมายเลข 9 ดังนั้นหมายเลข 9
จะเป็นเลขเริ่มต้น
7
3.1.2.3 วิธีการคํานวณหมายเลขต่อไป มีดังนี้
บริษัทที่ 2 9 + K = 9+35 = บริษัทหมายเลข 44
บริษัทที่ 3 9 + 2K = 9 + 2 (35) = บริษัทหมายเลข 79
บริษัทที่ 4 9 + 3K = 9 + 3 (35) = บริษัทหมายเลข 114
โดยผู้วิจัยดําเนินการคํานวณจนได้จํานวนกลุ่มตัวอย่างครบ 389 คน และได้ทําการเก็บ
ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจนครบ 389 บริษัท
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 การสร้างเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้ดําเนินการสร้างเครื่องมือซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามตามลําดับขั้น ดังต่อไปนี้
2.1.1 นําแบบสอบถามซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยส่งมอบให้กับผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน
เพื่อทําการตรวจสอบ และพิจารณาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง
ของข้อคําถาม (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยเลือกข้อคําถามที่มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
(Zikmund, 2003)
2.1.2 ผู้วิจัยได้ทําการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (Reliability Analysis) โดยการหาค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach Alpha: α) โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ ในตอนที่ 2 และ 3 เท่ากับ
0.963 และ 0.966 ตามลําดับ ผู้วิจัยได้ทําการทดสอบแบบรวมข้อคําถามของทั้งสองตอน พบว่า มีค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach Alpha: α) เท่ากับ 0.922
2.2 ลักษณะของเครื่องมือ
ตอนที่ 1 ลักษณะทั่วไปขององค์กร เช่น ทุนจดทะเบียน, จํานวนพนักงาน และ
ประสบการณ์ในการดําเนินงานขององค์กร และประเภทให้บริการด้านโลจิสติกส์ โดยแบบสอบถามเป็น
ลักษณะปลายปิด (Close form) มีระดับการวัดข้อมูลแบบมาตรวัดเรียงอันดับ (Ordinal Scale) และมาตรวัด
นามบัญญัติ (Nominal Scale)
ตอนที่ 2 องค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้โดย KMAT ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่
กระบวนการจัดการองค์ความรู้, ภาวะผู้นํา, วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้, เทคโนโลยีการจัดการ
องค์ความรู้ และการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ โดยแบบสอบถามมีลักษณะประเมินค่า 5 ระดับ (Likert
Scale) มีระดับการวัดข้อมูลแบบมาตรวัดเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
ตอนที่ 3 ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party
Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย โดยสร้างแบบสอบถามจากแนวคิดของ Karl Wiig (2004) และการ
สัมภาษณ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ซึ่งแบบสอบถามมีลักษณะประเมินค่า 5
ระดับ (Likert Scale) มีระดับการวัดข้อมูลแบบมาตรวัดเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
8
การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติเชิงพรรณนา ใช้วิเคราะห์เพื่อแจกแจงข้อมูลของแบบสอบถามในตอนที่ 1-3 โดยสถิติที่ใช้
ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency) เช่น การวัด
ค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดการกระจาย (Measures of Dispersion) เช่น การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation)
สถิติเชิงอนุมาน ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยจะใช้สถิติ One Way ANOVA ในการ
ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในเรื่องปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3
(Third-Party Logistics: 3PLs) กับลักษณะทั่วไปขององค์กร และใช้สถิติ Multiple Regression ในการ
ทดสอบหาอิทธิพลขององค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ 5 ด้าน ที่มีต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs)
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัย ด้านลักษณะทั่วไปขององค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทุนจดทะเบียน
มากกว่า 10 ล้านบาท - 20 ล้านบาท จํานวน 98 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 25.2 อันดับสอง คือ มากกว่า 30 ล้าน
บาท - 40 ล้านบาท จํานวน 76 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 19.5 และอันดับสามคือ ตํ่ากว่า 10 ล้านบาท จํานวน 74
บริษัท คิดเป็นร้อยละ 19.0
ด้านประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้บริการด้านการขนส่ง
จํานวน 269 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 69.2 อันดับสอง คือ ด้านการจัดการคลังสินค้า จํานวน 76 บริษัท คิดเป็น
ร้อยละ 19.5 และอันดับสาม คือ ด้านพิธีศุลกากร จํานวน 29 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 7.5
ด้านจํานวนพนักงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจํานวนพนักงาน 51 คน - 100 คน จํานวน 131
บริษัท คิดเป็นร้อยละ 33.7 อันดับสอง คือ 151 คน - 200 คน จํานวน 95 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 24.4 และ
อันดับสาม คือ 201 คน - 250 คน จํานวน 66 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17.0
ด้านประสบการณ์ในการดําเนินงานขององค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีประสบการณ์
มากกว่า 10 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จํานวน 112 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.8 อันดับสอง คือ มากกว่า 15 ปี แต่ไม่ถึง
20 ปี จํานวน 98 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 25.2 และอันดับสามคือ มากกว่า 25 ปี แต่ไม่ถึง 30 ปี จํานวน 83
บริษัท คิดเป็นร้อยละ 21.3
ผลการวิจัยองค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้ พบว่า
อันดับหนึ่ง คือ องค์กรมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนในการจัดการองค์ความรู้ ( x =
3.55, S.D. = 0.797) อันดับสอง คือ องค์กรมีการแสวงหาข้อมูล ความรู้จากแหล่งอื่น โดยเฉพาะจากองค์กรที่
มีการให้บริการคล้ายคลึงกัน ( x = 3.53, S.D. = 0.766) และอันดับสาม คือ องค์กรมีการถ่ายทอดการปฏิบัติที่
ดีเลิศ (Best Practices) อย่างเป็นระบบ รวมถึงการบันทึกเป็นเอกสาร และการจัดทําข้อสรุปบทเรียน และ
9
องค์กรเห็นคุณค่าของทักษะ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากรซึ่งเกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
และองค์กรสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะนั้นทั่วองค์กร ( x = 3.40, S.D. = 0.764 และ 0.996
ตามลําดับ)
ด้านภาวะผู้นํา พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ผู้บริหารตระหนักว่าความรู้เป็นสินทรัพย์ที่สามารถนําไปใช้
ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร และมีการจัดทํากลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อนําสินทรัพย์ความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ (x = 3.76, S.D. = 0.850) อันดับสอง คือ องค์กรได้เน้นการเรียนรู้ของบุคลากร เพื่อส่งเสริม Core
Competencies เดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งขึ้น และการพัฒนาให้เกิด Core Competencies ใหม่ ( x = 3.73, S.D. =
0.778) และอันดับสาม คือ การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ขององค์กร เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ที่
องค์กรใช้ประกอบในการพิจารณาในการประเมินผลและให้ผลตอบแทนบุคลากร ( x = 3.66, S.D. = 0.841)
ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ทุกคนในองค์กรถือว่า การ
เรียนรู้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคน ( x = 3.71, S.D. = 0.894) อันดับสอง คือ องค์กรส่งเสริมให้
บุคลากรเกิดการเรียนรู้ โดยการให้อิสระในการคิด และการทํางานรวมทั้งกระตุ้นให้พนักงานสร้างสรรค์สิ่ง
ใหม่ ( x = 3.62, S.D. = 0.849) และอันดับสาม คือ องค์กรตระหนักว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดการองค์
ความรู้ คือการสร้างหรือเพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( x = 3.58, S.D. = 0.730)
ด้านเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ เทคโนโลยีที่ใช้ช่วยให้ทุกคนในองค์กร
สื่อสารและเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงทั้งภายในและภายนอกองค์กร ( x = 3.82, S.D. = 0.889) อันดับสอง
คือ เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดคลังความรู้ขององค์กร ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ ( x = 3.81, S.D. =
0.918) และอันดับสาม คือ องค์กรกระตือรือร้นที่จะนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานทําการสื่อสารเชื่อมโยง
กันและประสานงานกันได้ดียิ่งขึ้นมาใช้ในองค์กร ( x = 3.66, S.D. = 0.947)
ด้านการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ องค์กรสามารถประเมินค่าผลการชี้วัด
ออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น สัดส่วนต้นทุน และองค์กรมีการจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วน
สําคัญที่ทําให้ฐานความรู้ขององค์กรเพิ่มพูน ( x = 3.48, S.D. = 0.862 และ 0.858 ตามลําดับ) อันดับสอง คือ
องค์กรมีวิธีการที่สามารถเชื่อมโยง การจัดการองค์ความรู้กับผลการดําเนินการที่สําคัญขององค์กร ( x =
3.35, S.D. = 0.742) และอันดับสาม คือ องค์กรมีการกําหนดดัชนีชี้วัดของการจัดการองค์ความรู้โดยเฉพาะ
(x = 3.33, S.D. = 0.795)
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs)
ด้านความเข้าใจในสถานการณ์ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ผู้ที่มารับช่วงต่อในการแก้ไขปัญหาไม่ทราบข้อมูลที่
แน่ชัดว่าปัญหานั้นเป็นมาอย่างไรและใช้เวลาในการสืบค้นข้อมูลปัญหาในระยะเวลานาน ( x = 3.60, S.D. =
0.839) อันดับสอง คือ บุคลากรด้านโลจิสติกส์ไม่ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจัดอยู่ในเรื่องใดหรือหมวดหมู่ใด
และใครต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ( x = 3.53, S.D. = 0.833) และอันดับสาม คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไข
ด้วยบุคลากรภายในแผนก บุคลากรในแผนกอื่นไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้( x = 3.37, S.D. = 0.934)
10
ด้านการตัดสินใจ และการปรับปรุง พบว่า อันดับหนึ่ง คือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องรอรับคําสั่งจาก
หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวในการตัดสินใจและสั่งการ ซึ่งไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง
(x = 3.46, S.D. = 1.005) อันดับสอง คือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น องค์กรไม่มีการนําข้อมูลที่ทันสมัยมาปรับปรุงใน
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ออกแบบไว้เป็นต้นแบบ (x = 3.40, S.D. = 0.985) และอันดับสาม คือ เมื่อเกิดปัญหา
ขึ้นพบว่า ใช้ระยะเวลานานถึงจะสามารถตัดสินใจ และคิดวิธีการในการแก้ไขปัญหาขึ้นมาได้สําเร็จ ( x =
3.38, S.D. = 0.997)
ด้านการดําเนินการ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ การดําเนินการแก้ไขปัญหาทุกครั้ง มีการบันทึกข้อมูล
เพียงบางครั้งเท่านั้น ซึ่งไม่ได้กระทําอย่างสมํ่าเสมอ ( x = 3.34, S.D. = 1.078) อันดับสอง คือ กลยุทธ์และ
วิธีการในการดําเนินงานไม่มีความชัดเจน และบ่อยครั้งที่พบว่าบุคลากรในองค์กรไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว
( x = 3.26, S.D. = 1.048) และอันดับสาม คือ การดําเนินการแก้ไขปัญหาในการทํางานที่เกิดขึ้น กระทําโดย
ไม่มีแบบแผนวิธีการที่เป็นต้นแบบที่ถูกกําหนดมาอย่างชัดเจน ( x = 3.23, S.D. = 1.102)
ด้านการติดตามผล พบว่า อันดับหนึ่ง คือ องค์กรไม่มีหน่วยงานหรือทีมประเมินผลงานที่ทําหน้าที่
ติดตามผลของการแก้ไขปัญหาในการทํางานอย่างชัดเจน ( x = 3.40, S.D. = 1.153) อันดับสอง คือ หลังการ
แก้ไขปัญหาไม่สามารถบอกได้ว่าการแก้ไขปัญหาประสบความสําเร็จในระดับใด หรือประสบความสําเร็จกี่
เปอร์เซ็นต์ ( x = 3.28, S.D. = 1.178) และอันดับสาม คือ ไม่มีการนําเทคโนโลยีเข้ามาบันทึกผลการแก้ไข
ตลอดจนนําไปใช้ประเมินระดับของการแก้ไขปัญหาว่าประสบความสําเร็จในระดับใด และเมื่อแก้ไขปัญหา
สําเร็จ องค์กรไม่สามารถนําผลนั้นไปใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์ หรือไม่มีการนําไปใช้เพื่อสร้างประโยชน์
ต่อไป ( x = 3.25, S.D. = 1.246)
ผลการทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานที่ 1 องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่
แตกต่างกัน
H0 : องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ไม่แตกต่าง
กัน
H1 : องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน
11
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามทุนจดทะเบียน
การทดสอบ
One Way ANOVA
แหล่งความ
แปรปรวน
SS df MS F Sig
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้
ขององค์กร
ระหว่างกลุ่ม 29.297 5 5.859 9.032 .000*
ภายในกลุ่ม 248.471 383 .649
รวม 277.767 388
*นัยสําคัญ
จากตารางที่ 1 พบว่า มีค่า F-test = 9.032 และมีค่า Sig. = 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่านัยสําคัญ 0.05 จึง
ปฏิเสธสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
สมมติฐานที่ 2 องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการ
จัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน
H0 : องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน
H1 : องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์
การทดสอบ
One Way ANOVA
แหล่งความ
แปรปรวน
SS df MS F Sig
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้
ขององค์กร
ระหว่างกลุ่ม 35.221 3 11.740 18.636 .000*
ภายในกลุ่ม 242.546 385 .630
รวม 277.767 388
*นัยสําคัญ
จากตารางที่ 2 พบว่า มีค่า F-test = 18.636 และมีค่า Sig. = 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่านัยสําคัญ 0.05 จึง
ปฏิเสธสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
12
สมมติฐานที่ 3 องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่
แตกต่างกัน
H0 : องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ไม่แตกต่าง
กัน
H1 : องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามจํานวนพนักงาน
การทดสอบ
One Way ANOVA
แหล่งความ
แปรปรวน
SS df MS F Sig
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้
ขององค์กร
ระหว่างกลุ่ม 45.020 5 9.004 14.817 .000*
ภายในกลุ่ม 232.748 383 .608
รวม 277.767 388
*นัยสําคัญ
จากตารางที่ 3 พบว่า มีค่า F-test = 14.817 และมีค่า Sig. = 0.000 ทั้งหมด ซึ่งมีค่าน้อยกว่านัยสําคัญ
0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการ
จัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
สมมติฐานที่ 4 องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการ
จัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน
H0 : องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน
H1 : องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามประสบการณ์ในการดําเนินงาน
การทดสอบ
One Way ANOVA
แหล่งความ
แปรปรวน
SS df MS F Sig
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้
ขององค์กร
ระหว่างกลุ่ม 6.677 4 1.669 2.365 .053
ภายในกลุ่ม 271.090 384 .706
รวม 277.767 388
*นัยสําคัญ
13
จากตารางที่ 4 พบว่า มีค่า F-test = 2.365 และมีค่า Sig. = 0.053 ซึ่งมีค่ามากกว่านัยสําคัญ 0.05 จึง
ยอมรับสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาใน
การจัดการองค์ความรู้ที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
สมมติฐานที่ 5 องค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ 5 ด้าน มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการ
องค์ความรู้ 
H0 : องค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ 5 ด้าน ไม่มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้
H1 : องค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ 5 ด้าน มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้
ตารางที่ 5 แสดงอิทธิพลของการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ที่มีต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้
Model B t Sig.
ค่าคงที่ (Constant) .779 5.605 .000
ด้านกระบวนการจัดการความรู้ -.084 -2.046 .041*
ด้านภาวะผู้นํา -.027 -.608 .543
ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ .836 39.111 .000*
ด้านเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ .091 2.491 .013*
ด้านการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ -.035 -1.209 .227
*นัยสําคัญ
Model Summary (R = .899, R Square = .808, Adjusted R Square = .806, Std. Error = .37313)
จากตารางที่ 5 พบว่า ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b1 = -0.087 มีค่า t = -2.046 มีค่า Sig.
เท่ากับ 0.041 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b1 ไม่เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์
ความรู้ขององค์กร ด้านกระบวนการจัดการความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับ
นัยสําคัญ 0.05
ด้านภาวะผู้นํา มีค่า b2 = -0.027 มีค่า t = -0.608 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.543 ซึ่งมีค่ามากกว่าค่านัยสําคัญ
0.05 สรุปได้ว่าค่า b2 เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ด้านภาวะผู้นํา ไม่มีอิทธิพล
ต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b3 = 0.836 มีค่า t = 39.111 มีค่า Sig. เท่ากับ
0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b3 ไม่เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้
14
ขององค์กร ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่
ระดับนัยสําคัญ 0.05
ด้านเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b4 = 0.091 มีค่า t = 2.491 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.013 ซึ่งมีค่า
น้อยกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b4 ไม่เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ด้าน
เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
ด้านการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b5 = -0.035 มีค่า t = -1.209 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.227 ซึ่งมีค่า
มากกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b5 เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ด้านการ
วัดผลการจัดการองค์ความรู้ ไม่มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
การอภิปรายผล
จากการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะทั่วไปขององค์กร พบว่า ทุนจดทะเบียน
ประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ และจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 สอดคล้องกับงานวิจัย และทฤษฎีการจัดการองค์ความรู้ของ Karl
Wiig (2004) และงานวิจัยของ MaÊrtensson (2000), Kreiner (2002) และ Malhotra (2005) ที่อธิบาย
สอดคล้องกันว่า สภาพแวดล้อมภายในขององค์กรเป็นปัจจัยตัวแปรสําคัญที่ทําให้ปัญหาในการจัดการองค์
ความรู้ขององค์กร มีลักษณะหรือรูปแบบของปัญหา และอุปสรรคที่แตกต่างกัน ในเรื่องของทุนจดทะเบียน
จะพบว่าในทฤษฎีการจัดการองค์ความรู้ เรื่องเงินทุน ถือเป็นสิ่งที่มีความสําคัญ เพราะองค์กรจะมีการจัดการ
องค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีเทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ทันสมัย สามารถปรับปรุงข้อมูล
ได้แบบทันทีทันใด (Real Time) เป็นตัวสนับสนุนการดําเนินงาน จากการที่องค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3
(Third-Party Logistics: 3PLs) ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีความละเอียดสูง ในการบริหารงานให้เกิด
ความเหมาะสมในเรื่องของ เวลา ปริมาณ และความถูกต้องแม่นยํา เป็นต้น (Rushton & Walker, 2007) จึง
จําเป็นที่จะต้องมีการสรรหาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาครอบครอง ดังนั้นองค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่สูง
กว่าองค์กรอื่นๆ จะมีศักยภาพในการครอบครองเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ การดําเนินงานด้านการจัดการ
องค์ความรู้จึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าองค์กรที่มีทุนจดทะเบียนตํ่ากว่า ที่มี
ข้อจํากัดในเรื่องของเงินทุนในการครอบครองเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ (Wiig, 2004) ซึ่งทําให้เกิดปัญหา
การจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน เรื่องประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ จะพบว่าการให้บริการใน
ประเภทต่างๆ ได้แก่ ด้านการขนส่ง ด้านการจัดการคลังสินค้า ด้านพิธีศุลกากร และด้านที่ปรึกษากิจกรรมโล
จิสติกส์ มีลักษณะงานที่แตกต่างกัน รูปแบบการดําเนินงาน หรือวิธีการ และกระบวนการจึงแตกต่างกัน
(Rushton & Walker, 2007) ทําให้ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้จึงแตกต่างกัน เป็นไปตามลักษณะของ
ประเภทงานดังกล่าว เรื่องจํานวนพนักงาน องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่มากกว่า จะพบว่าการดําเนินการ
จัดการเรื่ององค์ความรู้ ทั้งการถ่ายทอดความรู้ การประสานความรู้ หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ จะมีโอกาสที่
ประสบปัญหาที่มากกว่า เพราะบางครั้งปัจจัยแทรกซ้อนที่ทําให้ปัญหาเกิดขึ้น อาจเกิดจากตัวบุคคลที่เข้ามามี
15
ส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี หรือระบบการทํางานที่มีประสิทธิภาพอาจช่วยขจัด
ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ได้ในระดับหนึ่งแต่บางครั้งปัญหาก็อาจเกิดจากตัวบุคคลที่เป็นพนักงานหรือ
บุคลากรในองค์กรได้เช่นกัน
องค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ขององค์กรเรื่องกระบวนการจัดการองค์ความรู้ เรื่อง
วัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ และเรื่องเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการ
จัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของศูนย์มาตรฐานและการเพิ่มผลผลิตของ
สหรัฐอเมริกา และอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (American Productivity & Quality Center and Arthur Andersen,
1995) และ Wiig (2004) ที่อธิบายไว้ว่าไว้ในเรื่องเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้ (KMAT) คือเครื่องมือ
ในการประเมินองค์กรที่สําคัญ ที่จะทําให้รู้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กรสามารถทําให้องค์กรไปสู่
ความสําเร็จได้หรือไม่ และหากดําเนินการอย่างไม่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายขององค์กร โดย
เรื่องกระบวนการจัดการความรู้ ถือเป็นเรื่องที่สําคัญอันดับแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสําคัญ เพราะ
หมายถึงโครงสร้างการทํางานของการนํากลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้มาใช้ในการบริหารงานในองค์กร
หากดําเนินการอย่างไม่ถูกวิธี และไม่เหมาะสมต่อองค์กร จะสร้างความเสียหายให้กับองค์กรมากกว่า
ความสําเร็จที่จะได้รับ ส่งผลให้องค์กรต้องพบกับปัญหาจากความเสียหายดังกล่าว
เรื่องวัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ จะพบว่า Harvard Business School (2001) ได้กล่าวว่าการ
จัดการองค์ความรู้ขององค์กรที่จะทําให้องค์กรประสบความสําเร็จ มีเรื่องของวัฒนธรรมในการจัดการองค์
ความรู้เป็นประเด็นสําคัญ Harvard Business School (2001) อธิบายว่า องค์กรที่มีการสร้างวัฒนธรรมใน
เรื่องดังกล่าว ปลูกฝังให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันในชีวิตประจําวันตลอดการทํางาน ทําให้
องค์กรเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรประสบความสําเร็จการจัดการ
องค์ความรู้ขององค์กรในการนําไปใช้สร้างความสามารถทางการแข่งขันเชิงได้เปรียบได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ แต่หากองค์กรไม่มีการสร้างวัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ ขาดการปลูกฝังให้บุคลากร
ทุกคนทราบถึงความสําคัญ จะทําให้ไม่เกิดการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวในชีวิตประจําวัน จะส่งผลให้เกิดความ
ล้มเหลวและปัญหา หรืออุปสรรคในการที่พัฒนาแนวทางการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร
เรื่องเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ เทคโนโลยี ทฤษฎีของ Wiig (2004) และงานวิจัยของ
Malhotra (2005) อธิบายว่า ปัจจุบันการจัดการองค์ความรู้ที่สามารถเก็บรวบรวมองค์ความรู้ของทั้งองค์กร
และการนํากลับไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการนําไปใช้องค์กรจําเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีที่
ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสนับสนุน เช่น องค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-
Party Logistics: 3PLs) ที่เน้นการให้บริการด้านการขนส่ง จะต้องมีโปรแกรม เทคโนโลยีสนับสนุนในการ
ประมวลผลเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ต้องการ กับต้นทุนค่าใช้จ่าย
ซึ่งระบบเทคโนโลยีหรือโปรแกรมทั่วไปที่พัฒนาโดยบริษัทหรือองค์กรด้านเทคโนโลยี อาจไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการใช้งานที่หลากหลายขององค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics:
3PLs) ได้ทั้งหมด ทําให้บางองค์กรต้องมีการออกแบบ หรือนําเข้าเทคโนโลยี หรือโปรแกรมที่มี
16
ประสิทธิภาพในการทํางานมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Rushton & Walker, 2007) เพื่อทําให้การดําเนินงาน
ประสบความสําเร็จ และสามารถจัดเก็บองค์ความรู้ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะนํามาใช้ได้
ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ แต่หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม และไม่มีประสิทธิภาพต่อการ
ดําเนินงานขององค์กร ย่อมทําให้เกิดปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ให้กับองค์กร ไม่ต่างกับการทํางานบน
แผ่นกระดาษ ที่ผ่านไปหลายปี ความรู้นั้นจะสูญสลายไปตามกาลเวลาของการเสื่อมสภาพของกระดาษที่ใช้
งาน (Wiig, 2004) ซึ่งทําให้ไม่สามารถนํากลับมาพัฒนาแก้ไขการดําเนินงานให้กับองค์กรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
1. ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ด้านความเข้าใจในสถานการณ์ จะพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากใน
เรื่องที่ว่า ผู้ที่มารับช่วงต่อในการแก้ไขปัญหาไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดว่าปัญหานั้นเป็นมาอย่างไร และ
พนักงานไม่ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจัดอยู่ในเรื่องหมวดหมู่ใด และใครต้องเป็นผู้ดูแล ดังนั้นองค์กรควรที่จะ
มีการนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบันทึก จัดเก็บหมวดหมู่ของปัญหา ที่มาของปัญหา และผู้มีหน้าที่
รับผิดชอบต้องเป็นพนักงานระดับใด แผนกใด เป็นต้น และใช้รูปแบบการสืบค้นแบบคําสําคัญ (Key words)
เพื่อให้พนักงานทุกคนในองค์กรสามารถที่จะสืบค้นและทําความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีที่มาเป็น
อย่างไร และต้องประสานงานแก้ไขปัญหากับผู้ใด รวมถึงมีวิธีการในการแก้ไขอย่างไร ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อ
ลดปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว
2. ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ด้านการตัดสินใจและการปรับปรุง จะพบว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ต้องรอรับคําสั่งจากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวในการตัดสินใจและสั่งการ ซึ่งไม่สามารถ
ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีรูปแบบการบริหารจัดการแบบแนวตั้ง หรือบนลงล่าง ซึ่ง
บางครั้งการไม่ยืดหยุ่นนี้อาจทําให้การแก้ไขปัญหาไม่ทันการ และก่อให้เกิดปัญหาที่มากขึ้น ดังนั้นองค์กร
ควรออกแบบการจัดการในเรื่องนี้ให้มีความเหมาะสมที่มากขึ้น เช่น การฝึกฝนหรืออบรมให้พนักงานใน
องค์กรกล้าตัดสินใจด้วยตนอง อย่างมีเหตุและผล รวมไปถึงการออกแบบกระบวนการทํางานที่สร้างสรรค์
ให้พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรได้มีโอกาสตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบที่มากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างองค์
ความรู้ให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรได้ในระดับหนึ่ง ถือเป็นการกระจายอํานาจภายในองค์กร เพื่อให้
องค์กรสามารถปรับรูปแบบการบริหารจัดการให้มีศักยภาพและความพร้อมในการที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง
อย่างได้เปรียบและยั่งยืน รวมถึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้มีภาพลักษณ์แห่งความเป็นผู้นําของ
องค์กรที่มีการจัดการองค์ความรู้เป็นเลิศ
3. การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีการเลือกศึกษาบริษัทตัวอย่างจํานวน 2 บริษัท ที่
สามารถเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี และทําการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบ หรือแนวทางการ
จัดการองค์ความรู้ของทั้งสององค์กร รวมไปถึงประสิทธิผลหรือปัญหาอุปสรรคที่ได้รับ เพื่อให้ผลการศึกษา
มีความเข้มข้นในเนื้อหา และมีความสมบูรณ์มากขึ้น
17
บรรณานุกรม
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2553. รายละเอียด FTA รายประเทศไทย ออสเตรเลีย/[ออนไลน์]/ [9
สิงหาคม 2553]. Available from:/ www.thaifta.com/ThaiFTA/Home/FTAbyCountry/tabid/53/
ctl/detail/id/21/mid/480/usemastercontainer/true/Default.aspx
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. 2553. รายชื่อผู้ประกอบการให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 /[ออนไลน์]/ [25 มีนาคม 2553].
Available from:/ http://knowledgebase.dbd. go.th/dbd/FSA/filterCompany.a spx?
page=1&tsic=I&location=0%200%200
บูรชัย ศิริมหาสาคร. 2550. จัดการความรู้ สู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
วิชิต อู่อ้น และอํานาจ วังจีน. 2550. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS. พิมพ์ครั้งที่
1. กรุงเทพฯ: พรินท์แอทมี.
Alwis, R.S., & Hartmann, E. 2008. The use of tacit knowledge within innovative companies: knowledge
management in innovative enterprises. Journal of Knowledge Management. 12(1): 133-147.
American Productivity & Quality Center and Arthur Andersen. 1995. The Knowledge Management
Assessment Tool (KMAT) /[ออนไลน์]/ [19 สิงหาคม 2553]. Available
from:/www.impactalliance.org/file_download.php?location=S_U&filename...
Bornemann, M. 2003. An Illustrated Guide to Knowledge Management. Graz: Wissens management
Forum.
Harvard Business School . 2001. Harvard Business Review on Organizational Learning. Boston:
Harvard Business School Press
Hovland, I. 2003. Knowledge Management and Organizational Learning: An International
Development Perspective. London: Overseas Development Institute.
Kreiner, K. 2002. Tacit Knowledge Management: the role of artifacts. Journal of Knowledge
Management. 6(2): 112-123
MaÊrtensson, M. 2000. A critical review of Knowledge management as a management tool. Journal of
Knowledge Management. 4(3): 204-216.
Malhotra, Y. 2005. Integrating knowledge management technologies in organizational business processes:
getting real time enterprises to deliver real business performance. Journal of Knowledge
Management. 9(1): 7-28
18
Power, M.J., Desouza, K.C., Bonifazi, C. 2006. The Outsourcing Handbook How to Implement a
Successful Outsourcing Process. London: Kogan Page.
Rushton & Walker. 2007. International Logistics and Supply Chain Outsourcing. London: The
Chartered Institute of Logistics and Transportation.
Wiig, K.M. 2004. People-Focused Knowledge Management: How Effective Decision Making Leads
to Corporate Success. Oxford: Elsevier Butterworth-Heinemann.
Wiig, K.M. 1999. Knowledge Management:An Emerging Discipline Rooted in a Long History.
Texas: Knowledge Research Institute, Inc.
Zikmund, W.G. 2003. Business Research Methods. 7ed. California: Thomson South – Western.

More Related Content

Similar to ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)maluree
 
Post Thailand (Phitsanulok)
Post Thailand (Phitsanulok)Post Thailand (Phitsanulok)
Post Thailand (Phitsanulok)Ausda Sonngai
 
Chapter8
Chapter8Chapter8
Chapter8Yo Maru
 
1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศKrooIndy Csaru
 
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์Net Thanagon
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Kmโมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ KmSasichay Sritep
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) sasichay
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1Sasichay Sritep
 
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร Punyapon Tepprasit
 
Siam RegTech for Fintech Challenge
Siam RegTech for Fintech ChallengeSiam RegTech for Fintech Challenge
Siam RegTech for Fintech ChallengeTanat Tonguthaisri
 
2562 final-project 255555
2562 final-project 2555552562 final-project 255555
2562 final-project 255555Mai Lovelove
 
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0Sudpatapee Wiengsee
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดMaykin Likitboonyalit
 
งานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรมงานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรมSetthawut Ruangbun
 
งานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรมงานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรมSetthawut Ruangbun
 
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017IMC Institute
 

Similar to ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย (20)

Ch2-M1-Introduction to Information Technology
Ch2-M1-Introduction to Information TechnologyCh2-M1-Introduction to Information Technology
Ch2-M1-Introduction to Information Technology
 
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (พิษณุโลก)
 
Post Thailand (Phitsanulok)
Post Thailand (Phitsanulok)Post Thailand (Phitsanulok)
Post Thailand (Phitsanulok)
 
Chapter8
Chapter8Chapter8
Chapter8
 
HRM of TAT
HRM of TATHRM of TAT
HRM of TAT
 
1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Kmโมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ Km
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km)
 
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1
โมเดลและทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Km) 1
 
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
 
Siam RegTech for Fintech Challenge
Siam RegTech for Fintech ChallengeSiam RegTech for Fintech Challenge
Siam RegTech for Fintech Challenge
 
2562 final-project 255555
2562 final-project 2555552562 final-project 255555
2562 final-project 255555
 
HRM of TAT
HRM of TATHRM of TAT
HRM of TAT
 
Km16-17
Km16-17Km16-17
Km16-17
 
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
พัฒนาตนเองสู่ประเทศไทย 4.0
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
 
งานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรมงานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรม
 
งานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรมงานนำเสนอวิชานวัตกรรม
งานนำเสนอวิชานวัตกรรม
 
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
 

More from Punyapon Tepprasit

Food supply chain and Transportation
Food supply chain and TransportationFood supply chain and Transportation
Food supply chain and TransportationPunyapon Tepprasit
 
The influence of relationship quality between logistics service provider and ...
The influence of relationship quality between logistics service provider and ...The influence of relationship quality between logistics service provider and ...
The influence of relationship quality between logistics service provider and ...Punyapon Tepprasit
 
Strategic Human Resource Management
Strategic Human Resource Management Strategic Human Resource Management
Strategic Human Resource Management Punyapon Tepprasit
 
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...Punyapon Tepprasit
 
ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...
ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...
ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...Punyapon Tepprasit
 
ประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนPunyapon Tepprasit
 
Statistics for research by spss program
Statistics for research by spss programStatistics for research by spss program
Statistics for research by spss programPunyapon Tepprasit
 

More from Punyapon Tepprasit (8)

Food supply chain and Transportation
Food supply chain and TransportationFood supply chain and Transportation
Food supply chain and Transportation
 
The influence of relationship quality between logistics service provider and ...
The influence of relationship quality between logistics service provider and ...The influence of relationship quality between logistics service provider and ...
The influence of relationship quality between logistics service provider and ...
 
Strategic Human Resource Management
Strategic Human Resource Management Strategic Human Resource Management
Strategic Human Resource Management
 
Mgt 4203 1 sep2013
Mgt 4203 1 sep2013Mgt 4203 1 sep2013
Mgt 4203 1 sep2013
 
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่ตลาดป...
 
ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...
ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...
ผลกระทบของความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลียต่อการดำเนินกลยุทธ์การตลาด กรณีศึ...
 
ประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประสิทธิผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
 
Statistics for research by spss program
Statistics for research by spss programStatistics for research by spss program
Statistics for research by spss program
 

ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย

  • 1. 1 ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 ของประเทศไทย Problems in Knowledge Management of Thai Third-Party Logistics (3PLs) ปุญญภณ เทพประสิทธิ์ (Punyapon Tepprasit) 1 บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ที่ มีต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย และศึกษาระดับปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) โดยได้มุ่งศึกษากลุ่มตัวอย่างจากที่เป็นบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทยจํานวน 389 บริษัท ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอาศัย ความน่าจะเป็น แบบเชิงระบบ ผู้วิจัยได้ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ และเมื่อ เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน บุคลากรที่รับหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาไม่ทราบข้อมูลของปัญหาที่ชัดเจน อีก ทั้งยังพบว่าการตัดสินใจในองค์กรมีความล่าช้าเนื่องจากต้องรออํานาจการตัดสินใจจากผู้บริหารระดับสูง เท่านั้น ด้านการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะสภาพแวดล้อมภายในขององค์กร ได้แก่ ทุนจดทะเบียน, ประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ และจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้ปัญหาในการจัดการ องค์ความรู้เกิดความแตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ขณะที่พบว่า องค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้, ด้านวัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ และด้านเทคโนโลยีการจัดการ องค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 Abstract The objectives of this research are 1) to study problems in knowledge management of Thai Third party logistics (3PLs) and 2) to study influence of knowledge management key success factors on problems in knowledge management for Thai 3PLs. The samples of the research are 389 companies 1 อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี สารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
  • 2. 2 which came from probability sampling. According to the analysis, One Way ANOVA and Multiple Regression have been used for the hypothesis testing. The research findings indicate that the major problem in knowledge management of Thai 3PLs is personnel problem since staffs are unable to work for multi-tasks. Decision making in organizations is quite slow deal to the centralized management. In relation to the hypothesis testing, it is found that differences of internal environments such as capital, type of logistics services and the amount of employees have effected the differences of problems in knowledge management at 0.05 significant level while The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) has influenced the problems in knowledge management of Thai 3PLs at 0.05 significant level. คําสําคัญ : การจัดการองค์ความรู้, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 Key Words: Knowledge Management, Third Party Logistics (3PLs) บทนํา แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจ มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมา จากการค้าในปัจจุบันที่ กลายเป็นการค้าระหว่างประเทศ ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายทุน ฐานการผลิต และองค์ประกอบต่างๆ ไปยัง ประเทศที่มีความเหมาะสม ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสําคัญ มีแรงงานที่เชี่ยวชาญ และมีโครงสร้าง พื้นฐานที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นฐานการผลิตในการส่งออก อีกทั้งประเทศไทยมีภูมิศาสตร์เป็นจุด ศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน อาทิ มาเลเซีย, พม่า, ลาว และกัมพูชา อีกทั้งประเทศไทยได้มีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรี หรือความร่วมมือทาง เศรษฐกิจกับหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เปรู, ญี่ปุ่น เป็นต้น (กรมเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศ, 2553) ส่งผลให้ธุรกิจที่ลงทุนในประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ข้อตกลงระหว่างกัน จึงเป็นเป้ าหมายทางการลงทุนขององค์กรธุรกิจข้ามชาติ องค์กรที่เข้ามาดําเนินธุรกิจในประเทศไทยส่วน ใหญ่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นกิจกรรมหลักขององค์กร ขณะที่กิจกรรมด้านอื่นองค์กรได้ทําการ ถ่ายโอนกิจกรรมไปยังผู้ให้บริการภายนอก โดยเฉพาะกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ที่มีความสําคัญและต้องใช้ ความเชี่ยวชาญสูงกว่ากิจกรรมด้านอื่นๆ (Rushton & Walker, 2007) ประกอบไปด้วยกิจกรรม การขนส่ง และการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้า, การจัดการคลังสินค้า, การดําเนินพิธีการศุลกากร, ตัวแทนส่งออก และนําเข้า เป็นต้น (Power, Desouza & Bonifazi, 2006) ซึ่งองค์กรธุรกิจต่างๆ ได้เริ่มใช้บริการผู้ ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ในกิจกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น (Rushton & Walker, 2007) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน และยกระดับขีดความสามารถในการบริการลูกค้า และความสามารถทางการแข่งขัน
  • 3. 3 ปริมาณความต้องการของตลาดที่มีต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) มี แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) อย่างต่อเนื่อง (Rushton & Walker, 2007) ขณะเดียวกันพบว่า ปัจจัยบางประเด็นมีความน่ากังวล และ อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และอัตรากําไร ตลอดจนรูปแบบการดําเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PL) คือ การเปิดเสรีทางด้านโลจิสติกส์ในปี 2013 (สํานักงานส่งเสริมการลงทุน, 2553) ภายใต้กรอบข้อตกลง AEC (ASEAN Economic Community: AEC) ที่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม อาเซียนได้วางนโยบายร่วมกัน จะทําให้เกิดการแข่งขันทางการค้าแบบเสรีในภูมิภาคอาเซียน โดยธุรกิจผู้ ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) จากประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิภาคอาเซียน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย เป็นต้น จะสามารถเข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรีไร้ข้อจํากัดหรือข้อกีดกันทางการค้า ทําให้ผู้ประกอบการของไทย นักวิชาการ และนักธุรกิจ (สํานักงานส่งเสริมการลงทุน, 2553) มากมายมีความ กังวลว่าจะมีธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) จากประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพ ทางการแข่งขันในระดับโลก เช่น เยอรมนี, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และจีน เป็นต้น จะเข้าไป ดําเนินการจดทะเบียนยังตลาดสิงคโปร์ และใช้สิทธิพิเศษดังกล่าวในการเข้ามาตั้งบริษัท หรือฐานการ ให้บริการในประเทศไทย ทําให้กลายเป็นคู่แข่งขันที่มีศักยภาพที่น่ากลัวต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของไทย ดังนั้นจึงจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถ ทางการแข่งขันให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย การพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันในอดีต มุ่งไปที่การเพิ่มทรัพยากรต่างๆ เช่น เครื่องจักร อาคาร ที่ดิน ปัจจัยการผลิตหรือการบริการ อุปกรณ์สํานักงาน เป็นต้น ทรัพยากรประเภทดังกล่าวเมื่อมีการนํามาใช้ จะทําให้ทรัพยากรเสื่อมสภาพหรือหมดไป ซึ่งเป็นทรัพยากรหรือศักยภาพทางการแข่งขันที่ไม่ยั่งยืน เพราะ ธุรกิจคู่แข่งสามารถครอบครองได้โดยการใช้เงินทุนในการจัดหา ขณะเดียวกันยังมีทรัพยากรอีกหนึ่ง ประเภทที่มีค่ามหาศาลสําหรับองค์กร คือ ทรัพยากรความรู้ สามารถนําไปใช้สร้างประสิทธิภาพให้กับ องค์กรได้อย่างต่อเนื่อง มีแต่ที่จะเพิ่มพูนมากขึ้นจากการศึกษาอย่างจริงจังและการใช้งานอย่างต่อเนื่อง จะทํา ให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อต้องการ ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้โดยการใช้เครื่องมือ The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) ที่คิดค้นโดย American Productivity & Quality Center and Arthur Andersen (1995) เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันให้กับผู้ให้บริการ โลจิ สติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทยให้มีความพร้อมในการแข่งขันแบบเสรีทางการค้า ในปี 2013
  • 4. 4 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลขององค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ ที่มีต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความรู้ ถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่า ซึ่งแตกต่างจากปัจจัยการผลิตอื่นๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่ เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลาซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) (Malhotra, 2005) ความรู้ได้ กลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สําคัญในการดําเนินธุรกิจให้มีความได้เปรียบอย่างมีศักยภาพที่ยั่งยืน ดังนั้นแนวคิด และหลักการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) (Wiig, 2004) จึงมีบทบาทที่สําคัญอย่าง ยิ่งสําหรับองค์กรในทุกระดับ จากการค้นคว้าจะพบว่า ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท (Malhotra, 2005) คือ (1) ความรู้โดยนัยหรือความรู้ ที่มองเห็นไม่ชัดเจน (Tacit Knowledge) จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นทักษะหรือความรู้ เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์ ความเชื่อหรือความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน เช่น การเรียนรู้, ฝึกอบรม เป็นต้น และ (2) ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการ (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ เอกสารของ องค์กร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ เป็นต้น (Wiig, 2004) ซึ่งการที่องค์กรจะสามารถดําเนินการจัดการ องค์ความรู้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จะต้องมีการสนับสนุนให้เกิดขึ้นทั้งคู่ และต้องนําความรู้แบบ Tacit Knowledge มาทําการเรียบเรียง และทําการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ ทําให้ กลายเป็นความรู้แบบ Explicit Knowledge เครื่องมือที่จะใช้ในการวัดผลกระบวนการจัดการองค์ความรู้ขององค์กรที่มีมาตรฐานและได้รับการ ยอมรับคือ The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) เครื่องมือ KMAT (American Productivity & Quality Center and Arthur Andersen, 1995) ถูกพัฒนาโดยศูนย์มาตรฐานและการเพิ่ม ผลผลิตของสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (Arthur Anderson) ในปี 1995 มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือองค์กรให้สามารถประเมินตนเองถึงจุดแข็ง จุดอ่อนในการจัดการด้านองค์ความรู้ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 กระบวนการจัดการองค์ความรู้ (KM process) ด้านที่ 2 ภาวะผู้นํา (Leadership) ด้านที่ 3 วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ (KM Culture) ด้านที่ 4 เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ (KM Technology)
  • 5. 5 ด้านที่ 5 การวัดผลการจัดการองค์ความรู้ (KM Measurement) ซึ่งทางศูนย์มาตรฐานและการเพิ่มผลผลิตของสหรัฐอเมริกา และอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (American Productivity & Quality Center and Arthur Andersen, 1995) ได้มีการสร้างแบบฟอร์มของคําถามที่เป็น มาตรฐานและใช้ในการวัดการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ซึ่งได้ออกแบบไว้เป็นภาษาอังกฤษ ตาม ภาษาสากล และได้รับการยอมรับในการนําไปใช้ประเมินองค์กรต่างๆ มากมายทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทย พบว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่ถูกนําไปใช้ในหน่วยงานการศึกษาของราชการเป็นหลัก โดย พบว่ายังไม่มีการนํามาพัฒนาเพื่อภาคเอกชนอย่างจริงจัง นิยามศัพท์เฉพาะ The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน องค์กรในเรื่องของการจัดการองค์ความรู้ หรือองค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้กระบวนการจัดการองค์ความรู้, ภาวะผู้นํา, วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้, เทคโนโลยีการ จัดการองค์ความรู้ และการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ คิดค้นโดยศูนย์มาตรฐานและการเพิ่มผลผลิตของ สหรัฐอเมริกา และอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (Arthur Anderson) ในปี 1995 ซึ่งมีความเหมาะสมในการนําไปใช้ ออกแบบรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร กระบวนการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง โครงสร้างการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ที่เป็น แนวทางที่องค์กรวางไว้ในการดําเนินงานด้านการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ภาวะผู้นํา หมายถึง ความเป็นผู้นํา วิสัยทัศน์ และกล้าตัดสินใจของผู้บริหารขององค์กรที่จะมุ่งเน้น ในการพัฒนาองค์ความรู้ขององค์กรให้เกิดขึ้น และนําไปสู่ความสําเร็จ วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง ธรรมเนียมในการปฏิบัติในการจัดการองค์ความรู้ ขององค์กร องค์กรที่มีวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้ที่ดี จะต้องมีการสร้างธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว โดยการปลูกฝังความรู้สึก และทัศนคติที่ดีต่อการจัดการองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กรอย่างสมํ่าเสมอ และ สร้างให้กลายเป็นการปฏิบัติที่เป็นชีวิตประจําวัน เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือบันทึกการสื่อสาร โปรแกรมปฏิบัติงานต่างๆ ทั้งหมด เป็นต้น ที่องค์กรใช้ในการดําเนินงาน ประจําวัน ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลบันทึกลงในหน่วยความจําที่ออนไลน์ถึงกันทั้งองค์กร และสามารถดึง ข้อมูลกลับมาใช้ระหว่างหน่วยงานได้โดยสะดวก และรวดเร็ว
  • 6. 6 การวัดผลการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง แนวทางหรือวิธีการในการประเมินผลของการจัดการองค์ ความรู้ขององค์กร โดยจะต้องมีการสร้างดัชนีชี้วัด และสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข เพื่อ นําไปใช้ในการประเมินองค์กร และสร้างการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ หมายถึง ปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ทําให้องค์กรมีความยุ่งยากในการที่จะสร้างความสําเร็จในการจัดการองค์ความรู้ Wiig (2004) ได้แบ่งปัญหา ในการจัดการองค์ความรู้ ออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านความเข้าใจในสถานการณ์ ด้านการตัดสินใจ และการ ปรับปรุง ด้านการดําเนินการ และด้านการติดตามผล ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 หมายถึง ธุรกิจที่ให้บริการในการดําเนินงานกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ ประกอบไปด้วย การขนส่งและการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้า, การจัดการคลังสินค้า, การดําเนินพิธีการ ศุลกากร, ตัวแทนส่งออก และนําเข้า เป็นต้น วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ(SurveyResearch)โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร ประชากรที่ทําการศึกษาวิจัย คือ บริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) จํานวน 13,922 บริษัท (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2553) 1.2 กลุ่มตัวอย่าง จากการคํานวณกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของ Taro Yamane (Zikmund, 2003) จะทําให้ได้กลุ่ม ตัวอย่างจํานวน 389 บริษัท โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling) โดยได้เลือกวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic random sampling) (Zikmund, 2003) ซึ่งเป็นการสุ่ม ตัวอย่างจากหน่วยย่อยของประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แบบสุ่มเป็นช่วง ๆ โดยจะใช้หมายเลขของผู้ ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ที่ได้ระบุไว้ในรายชื่อของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หมายเลข 1-13,922 มาทําการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ มีวิธีคํานวณดังนี้ ประชากรหารด้วยจํานวนกลุ่มตัวอย่าง (K = N/n) K = 13,922/389 K = 35.78 สุ่มหมายเลข 1 ถึง K ในที่นี้คือการสุ่มหมายเลข 1- 35 ผลปรากฏว่าได้หมายเลข 9 ดังนั้นหมายเลข 9 จะเป็นเลขเริ่มต้น
  • 7. 7 3.1.2.3 วิธีการคํานวณหมายเลขต่อไป มีดังนี้ บริษัทที่ 2 9 + K = 9+35 = บริษัทหมายเลข 44 บริษัทที่ 3 9 + 2K = 9 + 2 (35) = บริษัทหมายเลข 79 บริษัทที่ 4 9 + 3K = 9 + 3 (35) = บริษัทหมายเลข 114 โดยผู้วิจัยดําเนินการคํานวณจนได้จํานวนกลุ่มตัวอย่างครบ 389 คน และได้ทําการเก็บ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจนครบ 389 บริษัท 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.1 การสร้างเครื่องมือ ผู้วิจัยได้ดําเนินการสร้างเครื่องมือซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามตามลําดับขั้น ดังต่อไปนี้ 2.1.1 นําแบบสอบถามซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยส่งมอบให้กับผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน เพื่อทําการตรวจสอบ และพิจารณาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ของข้อคําถาม (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยเลือกข้อคําถามที่มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป (Zikmund, 2003) 2.1.2 ผู้วิจัยได้ทําการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (Reliability Analysis) โดยการหาค่า สัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach Alpha: α) โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ ในตอนที่ 2 และ 3 เท่ากับ 0.963 และ 0.966 ตามลําดับ ผู้วิจัยได้ทําการทดสอบแบบรวมข้อคําถามของทั้งสองตอน พบว่า มีค่า สัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach Alpha: α) เท่ากับ 0.922 2.2 ลักษณะของเครื่องมือ ตอนที่ 1 ลักษณะทั่วไปขององค์กร เช่น ทุนจดทะเบียน, จํานวนพนักงาน และ ประสบการณ์ในการดําเนินงานขององค์กร และประเภทให้บริการด้านโลจิสติกส์ โดยแบบสอบถามเป็น ลักษณะปลายปิด (Close form) มีระดับการวัดข้อมูลแบบมาตรวัดเรียงอันดับ (Ordinal Scale) และมาตรวัด นามบัญญัติ (Nominal Scale) ตอนที่ 2 องค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้โดย KMAT ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ กระบวนการจัดการองค์ความรู้, ภาวะผู้นํา, วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้, เทคโนโลยีการจัดการ องค์ความรู้ และการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ โดยแบบสอบถามมีลักษณะประเมินค่า 5 ระดับ (Likert Scale) มีระดับการวัดข้อมูลแบบมาตรวัดเรียงอันดับ (Ordinal Scale) ตอนที่ 3 ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ของประเทศไทย โดยสร้างแบบสอบถามจากแนวคิดของ Karl Wiig (2004) และการ สัมภาษณ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ซึ่งแบบสอบถามมีลักษณะประเมินค่า 5 ระดับ (Likert Scale) มีระดับการวัดข้อมูลแบบมาตรวัดเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
  • 8. 8 การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ใช้วิเคราะห์เพื่อแจกแจงข้อมูลของแบบสอบถามในตอนที่ 1-3 โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency) เช่น การวัด ค่าเฉลี่ย (Mean) และการวัดการกระจาย (Measures of Dispersion) เช่น การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติเชิงอนุมาน ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยจะใช้สถิติ One Way ANOVA ในการ ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในเรื่องปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) กับลักษณะทั่วไปขององค์กร และใช้สถิติ Multiple Regression ในการ ทดสอบหาอิทธิพลขององค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ 5 ด้าน ที่มีต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัย ด้านลักษณะทั่วไปขององค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทุนจดทะเบียน มากกว่า 10 ล้านบาท - 20 ล้านบาท จํานวน 98 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 25.2 อันดับสอง คือ มากกว่า 30 ล้าน บาท - 40 ล้านบาท จํานวน 76 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 19.5 และอันดับสามคือ ตํ่ากว่า 10 ล้านบาท จํานวน 74 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 19.0 ด้านประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้บริการด้านการขนส่ง จํานวน 269 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 69.2 อันดับสอง คือ ด้านการจัดการคลังสินค้า จํานวน 76 บริษัท คิดเป็น ร้อยละ 19.5 และอันดับสาม คือ ด้านพิธีศุลกากร จํานวน 29 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 7.5 ด้านจํานวนพนักงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจํานวนพนักงาน 51 คน - 100 คน จํานวน 131 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 33.7 อันดับสอง คือ 151 คน - 200 คน จํานวน 95 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 24.4 และ อันดับสาม คือ 201 คน - 250 คน จํานวน 66 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 17.0 ด้านประสบการณ์ในการดําเนินงานขององค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีประสบการณ์ มากกว่า 10 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จํานวน 112 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 28.8 อันดับสอง คือ มากกว่า 15 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี จํานวน 98 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 25.2 และอันดับสามคือ มากกว่า 25 ปี แต่ไม่ถึง 30 ปี จํานวน 83 บริษัท คิดเป็นร้อยละ 21.3 ผลการวิจัยองค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ องค์กรมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนในการจัดการองค์ความรู้ ( x = 3.55, S.D. = 0.797) อันดับสอง คือ องค์กรมีการแสวงหาข้อมูล ความรู้จากแหล่งอื่น โดยเฉพาะจากองค์กรที่ มีการให้บริการคล้ายคลึงกัน ( x = 3.53, S.D. = 0.766) และอันดับสาม คือ องค์กรมีการถ่ายทอดการปฏิบัติที่ ดีเลิศ (Best Practices) อย่างเป็นระบบ รวมถึงการบันทึกเป็นเอกสาร และการจัดทําข้อสรุปบทเรียน และ
  • 9. 9 องค์กรเห็นคุณค่าของทักษะ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากรซึ่งเกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล และองค์กรสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะนั้นทั่วองค์กร ( x = 3.40, S.D. = 0.764 และ 0.996 ตามลําดับ) ด้านภาวะผู้นํา พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ผู้บริหารตระหนักว่าความรู้เป็นสินทรัพย์ที่สามารถนําไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร และมีการจัดทํากลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อนําสินทรัพย์ความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ (x = 3.76, S.D. = 0.850) อันดับสอง คือ องค์กรได้เน้นการเรียนรู้ของบุคลากร เพื่อส่งเสริม Core Competencies เดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งขึ้น และการพัฒนาให้เกิด Core Competencies ใหม่ ( x = 3.73, S.D. = 0.778) และอันดับสาม คือ การมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ขององค์กร เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ที่ องค์กรใช้ประกอบในการพิจารณาในการประเมินผลและให้ผลตอบแทนบุคลากร ( x = 3.66, S.D. = 0.841) ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ทุกคนในองค์กรถือว่า การ เรียนรู้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคน ( x = 3.71, S.D. = 0.894) อันดับสอง คือ องค์กรส่งเสริมให้ บุคลากรเกิดการเรียนรู้ โดยการให้อิสระในการคิด และการทํางานรวมทั้งกระตุ้นให้พนักงานสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่ ( x = 3.62, S.D. = 0.849) และอันดับสาม คือ องค์กรตระหนักว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดการองค์ ความรู้ คือการสร้างหรือเพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( x = 3.58, S.D. = 0.730) ด้านเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ เทคโนโลยีที่ใช้ช่วยให้ทุกคนในองค์กร สื่อสารและเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึงทั้งภายในและภายนอกองค์กร ( x = 3.82, S.D. = 0.889) อันดับสอง คือ เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดคลังความรู้ขององค์กร ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ ( x = 3.81, S.D. = 0.918) และอันดับสาม คือ องค์กรกระตือรือร้นที่จะนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานทําการสื่อสารเชื่อมโยง กันและประสานงานกันได้ดียิ่งขึ้นมาใช้ในองค์กร ( x = 3.66, S.D. = 0.947) ด้านการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ องค์กรสามารถประเมินค่าผลการชี้วัด ออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น สัดส่วนต้นทุน และองค์กรมีการจัดสรรทรัพยากรให้กับกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วน สําคัญที่ทําให้ฐานความรู้ขององค์กรเพิ่มพูน ( x = 3.48, S.D. = 0.862 และ 0.858 ตามลําดับ) อันดับสอง คือ องค์กรมีวิธีการที่สามารถเชื่อมโยง การจัดการองค์ความรู้กับผลการดําเนินการที่สําคัญขององค์กร ( x = 3.35, S.D. = 0.742) และอันดับสาม คือ องค์กรมีการกําหนดดัชนีชี้วัดของการจัดการองค์ความรู้โดยเฉพาะ (x = 3.33, S.D. = 0.795) ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ด้านความเข้าใจในสถานการณ์ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ผู้ที่มารับช่วงต่อในการแก้ไขปัญหาไม่ทราบข้อมูลที่ แน่ชัดว่าปัญหานั้นเป็นมาอย่างไรและใช้เวลาในการสืบค้นข้อมูลปัญหาในระยะเวลานาน ( x = 3.60, S.D. = 0.839) อันดับสอง คือ บุคลากรด้านโลจิสติกส์ไม่ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจัดอยู่ในเรื่องใดหรือหมวดหมู่ใด และใครต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ( x = 3.53, S.D. = 0.833) และอันดับสาม คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไข ด้วยบุคลากรภายในแผนก บุคลากรในแผนกอื่นไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้( x = 3.37, S.D. = 0.934)
  • 10. 10 ด้านการตัดสินใจ และการปรับปรุง พบว่า อันดับหนึ่ง คือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องรอรับคําสั่งจาก หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวในการตัดสินใจและสั่งการ ซึ่งไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง (x = 3.46, S.D. = 1.005) อันดับสอง คือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น องค์กรไม่มีการนําข้อมูลที่ทันสมัยมาปรับปรุงใน วิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ออกแบบไว้เป็นต้นแบบ (x = 3.40, S.D. = 0.985) และอันดับสาม คือ เมื่อเกิดปัญหา ขึ้นพบว่า ใช้ระยะเวลานานถึงจะสามารถตัดสินใจ และคิดวิธีการในการแก้ไขปัญหาขึ้นมาได้สําเร็จ ( x = 3.38, S.D. = 0.997) ด้านการดําเนินการ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ การดําเนินการแก้ไขปัญหาทุกครั้ง มีการบันทึกข้อมูล เพียงบางครั้งเท่านั้น ซึ่งไม่ได้กระทําอย่างสมํ่าเสมอ ( x = 3.34, S.D. = 1.078) อันดับสอง คือ กลยุทธ์และ วิธีการในการดําเนินงานไม่มีความชัดเจน และบ่อยครั้งที่พบว่าบุคลากรในองค์กรไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว ( x = 3.26, S.D. = 1.048) และอันดับสาม คือ การดําเนินการแก้ไขปัญหาในการทํางานที่เกิดขึ้น กระทําโดย ไม่มีแบบแผนวิธีการที่เป็นต้นแบบที่ถูกกําหนดมาอย่างชัดเจน ( x = 3.23, S.D. = 1.102) ด้านการติดตามผล พบว่า อันดับหนึ่ง คือ องค์กรไม่มีหน่วยงานหรือทีมประเมินผลงานที่ทําหน้าที่ ติดตามผลของการแก้ไขปัญหาในการทํางานอย่างชัดเจน ( x = 3.40, S.D. = 1.153) อันดับสอง คือ หลังการ แก้ไขปัญหาไม่สามารถบอกได้ว่าการแก้ไขปัญหาประสบความสําเร็จในระดับใด หรือประสบความสําเร็จกี่ เปอร์เซ็นต์ ( x = 3.28, S.D. = 1.178) และอันดับสาม คือ ไม่มีการนําเทคโนโลยีเข้ามาบันทึกผลการแก้ไข ตลอดจนนําไปใช้ประเมินระดับของการแก้ไขปัญหาว่าประสบความสําเร็จในระดับใด และเมื่อแก้ไขปัญหา สําเร็จ องค์กรไม่สามารถนําผลนั้นไปใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์ หรือไม่มีการนําไปใช้เพื่อสร้างประโยชน์ ต่อไป ( x = 3.25, S.D. = 1.246) ผลการทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานที่ 1 องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ แตกต่างกัน H0 : องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ไม่แตกต่าง กัน H1 : องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน
  • 11. 11 ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามทุนจดทะเบียน การทดสอบ One Way ANOVA แหล่งความ แปรปรวน SS df MS F Sig ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ ขององค์กร ระหว่างกลุ่ม 29.297 5 5.859 9.032 .000* ภายในกลุ่ม 248.471 383 .649 รวม 277.767 388 *นัยสําคัญ จากตารางที่ 1 พบว่า มีค่า F-test = 9.032 และมีค่า Sig. = 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่านัยสําคัญ 0.05 จึง ปฏิเสธสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 สมมติฐานที่ 2 องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการ จัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน H0 : องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน H1 : องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ที่แตกต่างกัน ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ การทดสอบ One Way ANOVA แหล่งความ แปรปรวน SS df MS F Sig ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ ขององค์กร ระหว่างกลุ่ม 35.221 3 11.740 18.636 .000* ภายในกลุ่ม 242.546 385 .630 รวม 277.767 388 *นัยสําคัญ จากตารางที่ 2 พบว่า มีค่า F-test = 18.636 และมีค่า Sig. = 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่านัยสําคัญ 0.05 จึง ปฏิเสธสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
  • 12. 12 สมมติฐานที่ 3 องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ แตกต่างกัน H0 : องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ไม่แตกต่าง กัน H1 : องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามจํานวนพนักงาน การทดสอบ One Way ANOVA แหล่งความ แปรปรวน SS df MS F Sig ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ ขององค์กร ระหว่างกลุ่ม 45.020 5 9.004 14.817 .000* ภายในกลุ่ม 232.748 383 .608 รวม 277.767 388 *นัยสําคัญ จากตารางที่ 3 พบว่า มีค่า F-test = 14.817 และมีค่า Sig. = 0.000 ทั้งหมด ซึ่งมีค่าน้อยกว่านัยสําคัญ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการ จัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 สมมติฐานที่ 4 องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการ จัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน H0 : องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ที่ไม่แตกต่างกัน H1 : องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ที่แตกต่างกัน ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจําแนกตามประสบการณ์ในการดําเนินงาน การทดสอบ One Way ANOVA แหล่งความ แปรปรวน SS df MS F Sig ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ ขององค์กร ระหว่างกลุ่ม 6.677 4 1.669 2.365 .053 ภายในกลุ่ม 271.090 384 .706 รวม 277.767 388 *นัยสําคัญ
  • 13. 13 จากตารางที่ 4 พบว่า มีค่า F-test = 2.365 และมีค่า Sig. = 0.053 ซึ่งมีค่ามากกว่านัยสําคัญ 0.05 จึง ยอมรับสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า องค์กรที่มีประสบการณ์ในการดําเนินงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาใน การจัดการองค์ความรู้ที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 สมมติฐานที่ 5 องค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ 5 ด้าน มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการ องค์ความรู้  H0 : องค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ 5 ด้าน ไม่มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ H1 : องค์ประกอบของการจัดการองค์กรความรู้ 5 ด้าน มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ ตารางที่ 5 แสดงอิทธิพลของการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ที่มีต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ Model B t Sig. ค่าคงที่ (Constant) .779 5.605 .000 ด้านกระบวนการจัดการความรู้ -.084 -2.046 .041* ด้านภาวะผู้นํา -.027 -.608 .543 ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ .836 39.111 .000* ด้านเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ .091 2.491 .013* ด้านการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ -.035 -1.209 .227 *นัยสําคัญ Model Summary (R = .899, R Square = .808, Adjusted R Square = .806, Std. Error = .37313) จากตารางที่ 5 พบว่า ด้านกระบวนการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b1 = -0.087 มีค่า t = -2.046 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.041 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b1 ไม่เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ ความรู้ขององค์กร ด้านกระบวนการจัดการความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับ นัยสําคัญ 0.05 ด้านภาวะผู้นํา มีค่า b2 = -0.027 มีค่า t = -0.608 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.543 ซึ่งมีค่ามากกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b2 เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ด้านภาวะผู้นํา ไม่มีอิทธิพล ต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b3 = 0.836 มีค่า t = 39.111 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b3 ไม่เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้
  • 14. 14 ขององค์กร ด้านวัฒนธรรมในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ ระดับนัยสําคัญ 0.05 ด้านเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b4 = 0.091 มีค่า t = 2.491 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.013 ซึ่งมีค่า น้อยกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b4 ไม่เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ด้าน เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ด้านการวัดผลการจัดการองค์ความรู้ มีค่า b5 = -0.035 มีค่า t = -1.209 มีค่า Sig. เท่ากับ 0.227 ซึ่งมีค่า มากกว่าค่านัยสําคัญ 0.05 สรุปได้ว่าค่า b5 เท่ากับ 0 หรือสรุปได้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ด้านการ วัดผลการจัดการองค์ความรู้ ไม่มีอิทธิพลต่อปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 การอภิปรายผล จากการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยด้านลักษณะทั่วไปขององค์กร พบว่า ทุนจดทะเบียน ประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ และจํานวนพนักงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 สอดคล้องกับงานวิจัย และทฤษฎีการจัดการองค์ความรู้ของ Karl Wiig (2004) และงานวิจัยของ MaÊrtensson (2000), Kreiner (2002) และ Malhotra (2005) ที่อธิบาย สอดคล้องกันว่า สภาพแวดล้อมภายในขององค์กรเป็นปัจจัยตัวแปรสําคัญที่ทําให้ปัญหาในการจัดการองค์ ความรู้ขององค์กร มีลักษณะหรือรูปแบบของปัญหา และอุปสรรคที่แตกต่างกัน ในเรื่องของทุนจดทะเบียน จะพบว่าในทฤษฎีการจัดการองค์ความรู้ เรื่องเงินทุน ถือเป็นสิ่งที่มีความสําคัญ เพราะองค์กรจะมีการจัดการ องค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีเทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ทันสมัย สามารถปรับปรุงข้อมูล ได้แบบทันทีทันใด (Real Time) เป็นตัวสนับสนุนการดําเนินงาน จากการที่องค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีความละเอียดสูง ในการบริหารงานให้เกิด ความเหมาะสมในเรื่องของ เวลา ปริมาณ และความถูกต้องแม่นยํา เป็นต้น (Rushton & Walker, 2007) จึง จําเป็นที่จะต้องมีการสรรหาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาครอบครอง ดังนั้นองค์กรที่มีทุนจดทะเบียนที่สูง กว่าองค์กรอื่นๆ จะมีศักยภาพในการครอบครองเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ การดําเนินงานด้านการจัดการ องค์ความรู้จึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าองค์กรที่มีทุนจดทะเบียนตํ่ากว่า ที่มี ข้อจํากัดในเรื่องของเงินทุนในการครอบครองเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ (Wiig, 2004) ซึ่งทําให้เกิดปัญหา การจัดการองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน เรื่องประเภทการให้บริการด้านโลจิสติกส์ จะพบว่าการให้บริการใน ประเภทต่างๆ ได้แก่ ด้านการขนส่ง ด้านการจัดการคลังสินค้า ด้านพิธีศุลกากร และด้านที่ปรึกษากิจกรรมโล จิสติกส์ มีลักษณะงานที่แตกต่างกัน รูปแบบการดําเนินงาน หรือวิธีการ และกระบวนการจึงแตกต่างกัน (Rushton & Walker, 2007) ทําให้ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้จึงแตกต่างกัน เป็นไปตามลักษณะของ ประเภทงานดังกล่าว เรื่องจํานวนพนักงาน องค์กรที่มีจํานวนพนักงานที่มากกว่า จะพบว่าการดําเนินการ จัดการเรื่ององค์ความรู้ ทั้งการถ่ายทอดความรู้ การประสานความรู้ หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ จะมีโอกาสที่ ประสบปัญหาที่มากกว่า เพราะบางครั้งปัจจัยแทรกซ้อนที่ทําให้ปัญหาเกิดขึ้น อาจเกิดจากตัวบุคคลที่เข้ามามี
  • 15. 15 ส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยี หรือระบบการทํางานที่มีประสิทธิภาพอาจช่วยขจัด ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ได้ในระดับหนึ่งแต่บางครั้งปัญหาก็อาจเกิดจากตัวบุคคลที่เป็นพนักงานหรือ บุคลากรในองค์กรได้เช่นกัน องค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ขององค์กรเรื่องกระบวนการจัดการองค์ความรู้ เรื่อง วัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ และเรื่องเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ มีอิทธิพลต่อปัญหาในการ จัดการองค์ความรู้ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของศูนย์มาตรฐานและการเพิ่มผลผลิตของ สหรัฐอเมริกา และอาเธอร์ แอนเดอร์สัน (American Productivity & Quality Center and Arthur Andersen, 1995) และ Wiig (2004) ที่อธิบายไว้ว่าไว้ในเรื่องเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้ (KMAT) คือเครื่องมือ ในการประเมินองค์กรที่สําคัญ ที่จะทําให้รู้ว่าการจัดการองค์ความรู้ขององค์กรสามารถทําให้องค์กรไปสู่ ความสําเร็จได้หรือไม่ และหากดําเนินการอย่างไม่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายขององค์กร โดย เรื่องกระบวนการจัดการความรู้ ถือเป็นเรื่องที่สําคัญอันดับแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสําคัญ เพราะ หมายถึงโครงสร้างการทํางานของการนํากลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้มาใช้ในการบริหารงานในองค์กร หากดําเนินการอย่างไม่ถูกวิธี และไม่เหมาะสมต่อองค์กร จะสร้างความเสียหายให้กับองค์กรมากกว่า ความสําเร็จที่จะได้รับ ส่งผลให้องค์กรต้องพบกับปัญหาจากความเสียหายดังกล่าว เรื่องวัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ จะพบว่า Harvard Business School (2001) ได้กล่าวว่าการ จัดการองค์ความรู้ขององค์กรที่จะทําให้องค์กรประสบความสําเร็จ มีเรื่องของวัฒนธรรมในการจัดการองค์ ความรู้เป็นประเด็นสําคัญ Harvard Business School (2001) อธิบายว่า องค์กรที่มีการสร้างวัฒนธรรมใน เรื่องดังกล่าว ปลูกฝังให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันในชีวิตประจําวันตลอดการทํางาน ทําให้ องค์กรเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรประสบความสําเร็จการจัดการ องค์ความรู้ขององค์กรในการนําไปใช้สร้างความสามารถทางการแข่งขันเชิงได้เปรียบได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แต่หากองค์กรไม่มีการสร้างวัฒนธรรมในการจัดการองค์ความรู้ ขาดการปลูกฝังให้บุคลากร ทุกคนทราบถึงความสําคัญ จะทําให้ไม่เกิดการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวในชีวิตประจําวัน จะส่งผลให้เกิดความ ล้มเหลวและปัญหา หรืออุปสรรคในการที่พัฒนาแนวทางการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร เรื่องเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ เทคโนโลยี ทฤษฎีของ Wiig (2004) และงานวิจัยของ Malhotra (2005) อธิบายว่า ปัจจุบันการจัดการองค์ความรู้ที่สามารถเก็บรวบรวมองค์ความรู้ของทั้งองค์กร และการนํากลับไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการนําไปใช้องค์กรจําเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีที่ ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสนับสนุน เช่น องค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third- Party Logistics: 3PLs) ที่เน้นการให้บริการด้านการขนส่ง จะต้องมีโปรแกรม เทคโนโลยีสนับสนุนในการ ประมวลผลเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ต้องการ กับต้นทุนค่าใช้จ่าย ซึ่งระบบเทคโนโลยีหรือโปรแกรมทั่วไปที่พัฒนาโดยบริษัทหรือองค์กรด้านเทคโนโลยี อาจไม่สามารถ ตอบสนองความต้องการใช้งานที่หลากหลายขององค์กรผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 (Third-Party Logistics: 3PLs) ได้ทั้งหมด ทําให้บางองค์กรต้องมีการออกแบบ หรือนําเข้าเทคโนโลยี หรือโปรแกรมที่มี
  • 16. 16 ประสิทธิภาพในการทํางานมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Rushton & Walker, 2007) เพื่อทําให้การดําเนินงาน ประสบความสําเร็จ และสามารถจัดเก็บองค์ความรู้ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะนํามาใช้ได้ ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ แต่หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม และไม่มีประสิทธิภาพต่อการ ดําเนินงานขององค์กร ย่อมทําให้เกิดปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ให้กับองค์กร ไม่ต่างกับการทํางานบน แผ่นกระดาษ ที่ผ่านไปหลายปี ความรู้นั้นจะสูญสลายไปตามกาลเวลาของการเสื่อมสภาพของกระดาษที่ใช้ งาน (Wiig, 2004) ซึ่งทําให้ไม่สามารถนํากลับมาพัฒนาแก้ไขการดําเนินงานให้กับองค์กรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ 1. ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ด้านความเข้าใจในสถานการณ์ จะพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากใน เรื่องที่ว่า ผู้ที่มารับช่วงต่อในการแก้ไขปัญหาไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดว่าปัญหานั้นเป็นมาอย่างไร และ พนักงานไม่ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจัดอยู่ในเรื่องหมวดหมู่ใด และใครต้องเป็นผู้ดูแล ดังนั้นองค์กรควรที่จะ มีการนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบันทึก จัดเก็บหมวดหมู่ของปัญหา ที่มาของปัญหา และผู้มีหน้าที่ รับผิดชอบต้องเป็นพนักงานระดับใด แผนกใด เป็นต้น และใช้รูปแบบการสืบค้นแบบคําสําคัญ (Key words) เพื่อให้พนักงานทุกคนในองค์กรสามารถที่จะสืบค้นและทําความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีที่มาเป็น อย่างไร และต้องประสานงานแก้ไขปัญหากับผู้ใด รวมถึงมีวิธีการในการแก้ไขอย่างไร ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อ ลดปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว 2. ปัญหาในการจัดการองค์ความรู้ด้านการตัดสินใจและการปรับปรุง จะพบว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องรอรับคําสั่งจากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวในการตัดสินใจและสั่งการ ซึ่งไม่สามารถ ตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แสดงให้เห็นว่าองค์กรมีรูปแบบการบริหารจัดการแบบแนวตั้ง หรือบนลงล่าง ซึ่ง บางครั้งการไม่ยืดหยุ่นนี้อาจทําให้การแก้ไขปัญหาไม่ทันการ และก่อให้เกิดปัญหาที่มากขึ้น ดังนั้นองค์กร ควรออกแบบการจัดการในเรื่องนี้ให้มีความเหมาะสมที่มากขึ้น เช่น การฝึกฝนหรืออบรมให้พนักงานใน องค์กรกล้าตัดสินใจด้วยตนอง อย่างมีเหตุและผล รวมไปถึงการออกแบบกระบวนการทํางานที่สร้างสรรค์ ให้พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรได้มีโอกาสตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบที่มากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างองค์ ความรู้ให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรได้ในระดับหนึ่ง ถือเป็นการกระจายอํานาจภายในองค์กร เพื่อให้ องค์กรสามารถปรับรูปแบบการบริหารจัดการให้มีศักยภาพและความพร้อมในการที่จะแข่งขันกับคู่แข่ง อย่างได้เปรียบและยั่งยืน รวมถึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้มีภาพลักษณ์แห่งความเป็นผู้นําของ องค์กรที่มีการจัดการองค์ความรู้เป็นเลิศ 3. การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีการเลือกศึกษาบริษัทตัวอย่างจํานวน 2 บริษัท ที่ สามารถเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี และทําการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบ หรือแนวทางการ จัดการองค์ความรู้ของทั้งสององค์กร รวมไปถึงประสิทธิผลหรือปัญหาอุปสรรคที่ได้รับ เพื่อให้ผลการศึกษา มีความเข้มข้นในเนื้อหา และมีความสมบูรณ์มากขึ้น
  • 17. 17 บรรณานุกรม กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2553. รายละเอียด FTA รายประเทศไทย ออสเตรเลีย/[ออนไลน์]/ [9 สิงหาคม 2553]. Available from:/ www.thaifta.com/ThaiFTA/Home/FTAbyCountry/tabid/53/ ctl/detail/id/21/mid/480/usemastercontainer/true/Default.aspx กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. 2553. รายชื่อผู้ประกอบการให้บริการโลจิสติกส์ที่ 3 /[ออนไลน์]/ [25 มีนาคม 2553]. Available from:/ http://knowledgebase.dbd. go.th/dbd/FSA/filterCompany.a spx? page=1&tsic=I&location=0%200%200 บูรชัย ศิริมหาสาคร. 2550. จัดการความรู้ สู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แสงดาว. วิชิต อู่อ้น และอํานาจ วังจีน. 2550. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พรินท์แอทมี. Alwis, R.S., & Hartmann, E. 2008. The use of tacit knowledge within innovative companies: knowledge management in innovative enterprises. Journal of Knowledge Management. 12(1): 133-147. American Productivity & Quality Center and Arthur Andersen. 1995. The Knowledge Management Assessment Tool (KMAT) /[ออนไลน์]/ [19 สิงหาคม 2553]. Available from:/www.impactalliance.org/file_download.php?location=S_U&filename... Bornemann, M. 2003. An Illustrated Guide to Knowledge Management. Graz: Wissens management Forum. Harvard Business School . 2001. Harvard Business Review on Organizational Learning. Boston: Harvard Business School Press Hovland, I. 2003. Knowledge Management and Organizational Learning: An International Development Perspective. London: Overseas Development Institute. Kreiner, K. 2002. Tacit Knowledge Management: the role of artifacts. Journal of Knowledge Management. 6(2): 112-123 MaÊrtensson, M. 2000. A critical review of Knowledge management as a management tool. Journal of Knowledge Management. 4(3): 204-216. Malhotra, Y. 2005. Integrating knowledge management technologies in organizational business processes: getting real time enterprises to deliver real business performance. Journal of Knowledge Management. 9(1): 7-28
  • 18. 18 Power, M.J., Desouza, K.C., Bonifazi, C. 2006. The Outsourcing Handbook How to Implement a Successful Outsourcing Process. London: Kogan Page. Rushton & Walker. 2007. International Logistics and Supply Chain Outsourcing. London: The Chartered Institute of Logistics and Transportation. Wiig, K.M. 2004. People-Focused Knowledge Management: How Effective Decision Making Leads to Corporate Success. Oxford: Elsevier Butterworth-Heinemann. Wiig, K.M. 1999. Knowledge Management:An Emerging Discipline Rooted in a Long History. Texas: Knowledge Research Institute, Inc. Zikmund, W.G. 2003. Business Research Methods. 7ed. California: Thomson South – Western.