SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
๑ 
พระพุทธศาสนากับการพัฒนาประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวพุทธ
โดย
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
๒ 
๑. สภาพการณ์และเหตุผล การพัฒนากระแสหลักในโลก ที่เรียกว่าอารยธรรมตะวันตก กําลัง
นําไปสู่การเสียสมดุลอย่างรุนแรง ทั้งในตัวมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในประเทศที่เรียกว่า
พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เกิดความเหลื่อมล้ําอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ความเหลื่อม
ล้ํานําไปสู่ปัญหาทางสุขภาพและสังคมนานัปการ ซึ่งรวมถึงสุขภาพจิต อายุขัย การตั้งครรภ์ใน
วัยรุ่น อาชญากรรม ยาเสพติด ความขัดแย้ง และความรุนแรง คนอเมริกันประมาณ ๑๐๐
ล้านคน ติดยาแก้ปวด และปีหนึ่งๆ เสียชีวิตจากใช้ยาแก้ปวดประเภทฝิ่น (Opioids) เกินขนาด
ประมาณ ๖๕,๐๐๐ คน สิ่งแวดล้อมเสียสมดุลจนเกิดสภาวะโลกร้อนอันนําไปสู่หายนะภัย
ต่างๆ ความรุนแรงมีทั้งชนิดโจ่งแจ้ง อันได้แก่ สงคราม และการก่อการร้าย และความรุนแรง
ชนิดเงียบ (Silent violence) เช่น ความยากจน และความอยุติธรรมทางสังคม ฯลฯ
โดยสรุปเป็นวิกฤตแห่งการอยู่รวมกันโดยสมดุล ทั้งระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับ
สิ่งแวดล้อม
จึงจําเป็นต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา
๒. กระบวนทัศน์พุทธเหมาะกับประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีพื้นฐานทางพุทธ อะไรที่ทํา
จากพื้นฐานที่มีและคุ้นเคยก็จะง่ายกว่าทําจากสิ่งที่ตนไม่มี ประเทศไทยมีโครงสร้างและ
สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาเต็มประเทศ อีกทั้งพุทธธรรมก็เป็นภูมิปัญญาสูงสุดและมีความเป็น
สากล ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่าพระตถาคตจะอุบัติหรือไม่อุบัติ ธรรมะก็มีอยู่แล้ว เป็นของ
กลาง เป็นธรรมชาติ เป็นเหตุเป็นผลตามธรรมชาติ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ใครๆ ก็ค้นพบกฎ
ธรรมชาตินี้ได้ จะรู้จักหรือไม่รู้จัก เรียกหรือไม่เรียกว่าพุทธก็ตาม พุทธธรรมจึงมีความเป็น
สากลเหมาะกับความร่วมมือในการพัฒนาอย่างกว้างขวาง
๓ 
๓. ความแตกต่างระหว่างรหัสพัฒนาตะวันตกกับรหัสพัฒนาพุทธ
ในทางชีววิทยา ดีเอ็นเอ เป็นรหัสพันธุกรรมที่กําหนดความเป็นไปของชีวิต โดยมีตัวอักษร
กลุ่มละ ๓ ที่เรียกว่า codon เป็นหน่วยพื้นฐาน เช่น AAA ATG TTT GTA…
ถ้าจะสรุป “รหัสการพัฒนา” จะเห็นความแตกต่างระหว่างแนวทางตะวันตกและแนวทาง
พุทธ ดังนี้
รหัสการพัฒนาตะวันตก = “ความรู้ อํานาจ โลภะ” = Greed
รหัสการพัฒนาทางพุทธ = “ปัญญา อิสรภาพ การอยู่ร่วมกัน” = Goodness
ตะวันตกมีความเข้มแข็งในการหาความรู้ ดังเช่นค้นพบวิทยาศาสตร์และนําไปสร้าง
เทคโนโลยี ทําให้มีอํานาจมากแล้วใช้อํานาจไปสนองความโลภ และนิยมว่าความโลภเป็นของดี
ดังที่พูดว่า “Greed is good” เพราะทําให้เกิดความเจริญ ไม่ว่าจะถกเถียงให้เหตุผลว่า
แนวทางนี้ดีอย่างไรๆ แต่ผลคือการเสียสมดุลอย่างรุนแรงบนโลกใบนี้ ดังที่กล่าวใน ๑.ข้างต้น
ในทางพุทธนั้นถือว่าอวิชชา เป็นต้นตอของความทุกข์หรือปัญหา เพราะฉะนั้นมนุษย์ควร
ต้องเข้าถึงวิชชา หรือปัญญา คือความจริงตามธรรมชาติ (ควรทําความเข้าใจว่า ปัญญาใหญ่
กว่าความรู้)
อิสรภาพ หมายถึงหลุดพ้นจากความบีบคั้น ตามปรกติมนุษย์ไม่มีอิสรภาพเพราะตกอยู่ใต้
ความบีบคั้น ซึ่งมี ๔ มิติ คือบีบคั้นทางกายหรือทางวัตถุ บีบคั้นทางจิต บีบคั้นทางสังคม บีบ
คั้นทางปัญญา (เพราะขาดปัญญา)
การบีบคั้นคือความทุกข์ อิสรภาพหรือการหลุดพ้นจากความบีบคั้นเป็นความสุข อิสรภาพ
เกิดจากปัญญา
การอยู่ร่วมกันด้วยดี (ด้วยปัญญาหรือด้วยการเรียนรู้) เป็นอุดมคติทางพุทธ ดังจะเห็นได้
ว่าคําสอนทางพุทธล้วนมุ่งไปสู่การอยู่ร่วมกันด้วยดีในทุกระดับ ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน
เมือง แว่นแคว้น โดยเน้นที่หน้าที่ของทุกฝ่ายที่พึงมีต่อกัน
การอยู่ร่วมกันด้วยดีคือสังคมสันติสุข หรือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล ระหว่างคนกับ
คน และระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อม
๔ 
๔. เป้าหมายและเส้นทางการพัฒนาแบบพุทธ
จากรหัสการพัฒนาที่กล่าวถึงในตอน ๓ ก็จะเข้าใจชัดเจนถึงเป้าหมายและเส้นทางการ
พัฒนาแนวพุทธ นั่นคือ
เป้าหมาย = ปัญญา อิสรภาพ การอยู่ร่วมกัน
ในทุกระดับ
เครื่องมือ = การศึกษาหรือการเรียนรู้
แต่การศึกษาแนวพุทธต่างจากการศึกษาแนวตะวันตก
แนวตะวันตกเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ซึ่งแยกส่วนไปอีกจากชีวิต เพื่อไปแข่งขัน จึงไปลงท้ายด้วย
การสร้างระเบิดปรมาณู
แนวทางพุทธนั้น การศึกษาเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ดังที่ว่าการศึกษาคือชีวิต ชีวิตคือการศึกษา ศึกษา
ให้เกิดปัญญาและอิสรภาพ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ถ้าเป็นไปตามนี้ก็จะเกิดสังคมสันติสุขในทุกๆ ระดับ
๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางพุทธ
ยุทธศาสตร์คือการคํานึงถึงสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงปัญหาอุปสรรค และ
ปัจจัยที่จะนําไปสู่ความสําเร็จ แล้วกําหนดแนวทางใหญ่ๆ ที่จะทําให้ชนะหรือประสบ
ความสําเร็จ ซึ่งขอเสนอดังนี้
กลุ่มปัญญาชนชาวพุทธซึ่งทําหน้าที่คลังปัญญา (Think Tank) ประกอบด้วยทั้งพระและ
ฆราวาสชาวพุทธที่เป็นนักคิดจํานวนหนึ่ง ซึ่งประชุมกันอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่อง อย่างไม่
เป็นทางการ ความไม่เป็นทางการทําให้มีอิสระและได้ผู้ที่มีความตั้งใจจริง แต่กลุ่มไม่เป็น
ทางการนี้ไม่เป็นปฎิปักษ์กับความเป็นทางการ ในทางตรงข้ามให้ความเคารพและมี
สัมพันธภาพที่ดีกับฝ่ายปกครองของคณะสงฆ์ กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธพบปะ
ปรึกษาหารือกันบ่อยๆ จะเกิดความคิดว่าควรทําอะไร และทําอย่างไร อย่างต่อเนื่อง เรื่อง
ใหญ่ๆ ที่ควรทําอาจมีได้ดังนี้
๕ 
(๑) การสื่อสารเพื่อสร้างความสุขฉับพลัน (Instant Happiness) ด้วยการพลิกวิธีคิด
สังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยคนที่มีความทุกข์และความเครียด จึงมีคนติดยาเสพติด ยาแก้ปวด
มีการฆ่าตัวตาย ดังที่ในสหรัฐอเมริกามีคนติดยาแก้ปวดประมาณ ๑๐๐ ล้านคน และตาย
เพราะใช้ยาเกินขนาดถึง ปีละประมาณ ๖๕,๐๐๐ คน นี้เป็นยอดภูเขาน้ําแข็งแห่งความ
ทุกข์ของคนปัจจุบัน
หากพุทธธรรมช่วยให้เขาพบความสุขฉับพลัน จะก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะอย่าง
ใหญ่หลวง เป็นจุดพลิกผันของแนวทางการพัฒนา
ความสุขฉับพลันเกิดจากการพลิกวิธีคิด
ในครั้งพุทธกาลเราจะเห็นผู้ที่พ้นทุกข์ฉับพลันด้วยการพลิกวิธีคิดด้วยการชี้แนะของ
พระพุทธองค์จํานวนมากมาย เช่น พระปัญจวัคคีย์ที่พลิกจากการคิดเชิงอัตตาเป็นอนัตตา
ชฎิล ๑,๐๐๐ ที่บูชาไฟพร้อมหัวหน้าอีก ๓ หลังจากได้ฟังอาทิตตปริยายสูตร ว่าไฟหรือ
ความร้อนเกิดจากอะไร หรือปริพาชกเล็บยาว (ฑีฆนขะ) หลานพระสารีบุตรพร้อมทั้งพระสา
รีบุตรที่ถ้ําสุกรขาตา กลางเขาคิชฌกูฏ ได้สดับทีฆนขสูตรทีเดียวพระสารีบุตรพ้นทุกข์ได้
ทันที ยังมีกรณีอื่นๆ อีกมาก แม้ในปัจจุบันที่เมื่อบุคคลได้ฟังการชี้แนะหรือพลิกความคิด
ขึ้นมาเองได้ แล้วเกิดความสุขฉับพลัน (Instant Happiness) การไปติดอยู่ในการคิดเรื่องไม่
จริงไม่สมเหตุสมผลทําให้เกิดความทุกข์ การผลิกความคิดคือการพลิกออกจากการติดอยู่ใน
ความไม่จริงไม่สมเหตุสมผลไปสู่ความจริงสมเหตุสมผล หรือจากอวิชชาไปสู่วิชชานั่นเอง
ควรทําโครงการ ความสุขฉับพลัน : มหัศจรรย์แห่งชีวิต
(Instant Happiness : The Miracle of Life)
เริ่มต้นโดยการวิจัย กรณีตัวอย่างการพลิกความคิดแล้วเกิดความสุขฉับพลัน ตั้งแต่
ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันทั้งในสังคมพุทธและสากล ตัวอย่างที่เป็นสากลตัวอย่างหนึ่งก็
คือ นาย Eckhart Tolle ชาวแคนาดา เป็นคนที่มีความทุกข์มากจนคิดจะฆ่าตัวตายอยู่
หลายครั้ง วันหนึ่งทุกข์มากจนทนไม่ไหว วันนี้จะต้องเอาแน่ เขากล่าวกับตัวเองว่า
“I cannot live with myself any longer” (ฉันไม่อาจมีชีวิตอยู่กับตัวเองได้อีกต่อไป)
แต่คําพูดนี้มันกระตุกให้เขาคิดว่า เอ๊ะ “ฉัน” กับ “ตัวเอง” นี่มันคนละคนหรืออย่างไร โดย
ไม่รู้ตัวเขาหลุดไปสู่สภาวะสุขอย่างฉับพลัน จะนั่งจะยืนที่ไหนก็มีความสุขทั้งเนื้อทั้งตัว เป็น
ความสุขอย่างลึกล้ําที่ถาวร นี่คือการกระตุกความคิดจากอัตตาไปสู่อนัตตา โทลเลอร์ได้
กลายเป็นครูสอนเรื่องความสุข และเขียนหนังสือชื่อ “The Power of Now” (พลังแห่ง
ปัจจุบันขณะ)
๖ 
การพลิกความคิดแล้วเกิดความสุขฉับพลันก็คือการเข้าถึงธรรมนั่นเอง แต่ไม่ได้เกิด
โดยการบรรยายธรรมแบบวิชาการหรือการสวดไปเรื่อยๆ โดยทั้งผู้สวดและผู้ฟังก็ไม่เข้าใจ
แต่เกิดจากให้หรือเกิดแง่คิดในจังหวะที่เหมาะและสอดคล้องกับการคิดที่ทําให้เกิดทุกข์
ในปัจจุบันสามารถวิจัยค้นคว้ากรณีตัวอย่างของคําพูด และการพลิกความคิดอัน
ก่อให้เกิดความสุขฉับพลันจากทั่วโลก ซึ่งจะได้ข้อมูลมหาศาลแล้วอาศัยศิลปินสร้างเป็นสื่อ
ความสุขฉับพลัน ที่มีเสน่ห์โดนใจสาธารณชน ในรูปต่างๆ ซึ่งรวมถึง
• โซเชียลมีเดีย
• ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
• ภาพยนตร์
ในยุทธศาสตร์นี้ต้องไปให้ถึงการสร้างภาพยนตร์ “Instant Happiness : The
Miracle of Life” ให้ได้ ถ้าสร้างได้ดีเป็นภาพยนตร์ที่ฮิต คนอยากดูชมกันทั้งประเทศและ
อาจจะทั่วโลกด้วย จะมีผลมหาศาลที่ช่วยสร้างความสุขให้มนุษยชาติ และการเข้าถึงธรรม
ถ้าเปรียบเทียบเป็นสงคราม นี่คือรถถังที่ตะลุยไปข้างหน้าถากทางให้พลังที่เคลื่อน
ตามมาทําได้ง่ายขึ้น นั่นคือยุทธศาสตร์อื่นๆ ของการพัฒนาแนวพุทธ
(๒) สร้าง “ผู้เชี่ยวชาญชีวิต” ที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุข
การศึกษาทุกวันนี้มุ่งสร้างผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ แต่เกือบไม่มีเลยที่สร้าง
“ผู้เชี่ยวชาญชีวิต” ที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุข ทั้งๆ ที่ชีวิตและทุกข์สุขเป็นเรื่องสําคัญ
ที่สุด โลกจึงเต็มไปด้วยคนมีความทุกข์ ฉะนั้นจึงควรมียุทธศาสตร์สร้างผู้เชี่ยวชาญผลิก
ทุกข์เป็นสุขจํานวนมาก โดยมีเป้าหมายที่
• พระสงฆ์ทั้งหมด
• ครูทั้งหมด
• ผู้ที่เป็นพ่อแม่
ถ้าทําได้จะมีผลกระทบไปถึงคนทั้งมวล
การศึกษาทุกวันนี้เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง จึงสร้างผู้เชี่ยวชาญเชิง
วิชาขึ้นมา ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญชีวิตและผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติ
๗ 
มีความเข้าใจผิดว่าการศึกษากับวิชาการเป็นเรื่องเดียวกัน วิชาการก็เป็นเรื่องของ
วิชาการและมีประโยชน์เชิงวิชาการ แต่การศึกษาควรเอาชีวิตเป็นตัวตั้งและเรียนรู้จากการ
ปฏิบัติจริง การศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้งทําได้ยากและได้ผลน้อย เช่น การเรียนภาษาไทย
หรืออังกฤษ ก็เน้นการเรียนไวยากรณ์ ซึ่งเป็นวิชาการ ซึ่งยาก ทําให้คนเกลียดการเรียน
ภาษาไทย และเรียนเท่าไหร่ก็พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่การเรียนพูดภาษาใดๆ เป็นเรื่อง
ง่ายสําหรับเด็กเล็ก เขามีความสุขในการหัดพูดและเรียนได้เร็ว เขาไม่ได้เรียนแบบเอา
ไวยากรณ์หรือวิชาการเป็นตัวตั้ง
ในการสร้างผู้เชี่ยวชาญชีวิตที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุข ต้องเริ่มต้นจากแสวงหา
ผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทําหลักสูตรขึ้น เป็น
การทดลองและพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นหลักสูตรปริญญาต้องระวังกฎระเบียบที่
ทางการวางกรอบไว้ ซึ่งทําให้เป็นการศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง
เมื่อสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญชีวิตที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุขที่เก่ง และมีจํานวน
พอสมควร ก็ทําการขยายตัวไปสู่พระสงฆ์และครู สําหรับผู้ที่เป็นพ่อแม่นั้นถ้าทําได้จะส่งผล
ไปถึงการเลี้ยงดูลูก และคนในชั่วอายุถัดไป แต่จะทําได้อย่างไรนั้นต้องขบคิด และเรียนรู้
จากการทดลองทํา การหาทางทําเรื่องยากแต่สําคัญให้สําเร็จ นั่นคืองานทางยุทธศาสตร์
(๓) ส่งเสริมการเจริญสติสําหรับคนทั้งมวล
ขณะนี้การเจริญสติแบบพุทธกําลังได้รับความนิยมขยายตัวมากขึ้นทั่วโลก เพราะผู้
ปฏิบัติได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าทําให้ทุกอย่างดีขึ้นหมด สุขภาพก็ดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง
สมองดีการเรียนรู้มีคุณภาพสูงขึ้น ความสัมพันธ์ดีขึ้นทั้งในครอบครัวและที่ทํางาน มีการ
วิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่ถึงผลของการเจริญสติ ซึ่งพบว่าทําให้ความดันลด สารสุข
เพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่สมองซึ่งสามารถเห็นได้จาก
brain imaging ฯลฯ
การเจริญสติจึงเป็นกระแสใหญ่ในโลก (Megatrend)
กลุ่มศึกษาพัฒนาแนวพุทธควรทํายุทธศาสตร์ส่งเสริมการเจริญสติสําหรับคนทั้ง
มวล ซึ่งอาจประกอบด้วย
๘ 
(๑) ทําวิจัย mapping ว่าขณะนี้มีการอบรมการเจริญสติที่ใดอย่างไร แล้วเผยแพร่ข้อมูล
(๒) ส่งเสริมการสร้างครูสอนเจริญสติให้มีจํานวนมาก ให้วัดทุกวัดสามารถสอนการเจริญสติ
(๓) ส่งเสริมการจัดการให้มีศูนย์สอนเจริญสติมากขึ้นทั่วโลก สําหรับในต่างประเทศ
สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการสอนแบบราคาถูก เพื่อให้มีทุนที่จะดําเนินการและ
ขยายตัว ในระบบของตะวันตกยาที่มีคุณภาพดีจะราคาแพงมาก แต่ในแนวทางแบบ
พุทธการเจริญสติเป็นของวิเศษสุด แต่ควรทําให้ราคาถูก
(๔) ส่งเสริมให้มีองค์กรเจริญสติ เช่น โรงเรียนเจริญสติ มหาวิทยาลัยเจริญสติ บริษัทเจริญ
สติ กรมกองเจริญสติ ฯลฯ องค์กรมีแรงจูงใจที่จะเป็นองค์กรแห่งการเจริญสติ เช่น ทํา
ให้คนในองค์กรมีความสุข ทะเลาะกันน้อยลง เจ็บป่วยน้อยลง มีวันลาป่วยและ
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลขององค์กรลดลง สมรรถนะขององค์กรสูงขึ้น
เนื่องจากการเจริญสติทําให้เกิด Happiness at Low Cost จึงพยากรณ์ได้ว่าใน
ที่สุดคนทั้งโลกจะเจริญสติ เมื่อคนจํานวนมากเจริญสติ เส้นทางการพัฒนาก็จะ
เปลี่ยนไป จากเส้นทางแห่งโลภจริตเป็นเส้นทางแห่ง ปัญญา – อิสรภาพ - การอยู่
ร่วมกัน อันเป็นอาริยพัฒนา
(๔)ส่งเสริมการจัดการให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
ประเทศไทยมีวัดประมาณ ๔๐,๐๐๐ วัด กระจายอยู่ทั่วประเทศ ประมาณตําบลละ
๕ วัด วัดมีสัญญลักษณ์ที่ทําให้คนนึกถึงธรรมได้ง่าย เช่น โบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป พระ
เจดีย์ เราควรสร้างเครื่องรับในจิตใจของผู้คน ให้เมื่อเห็นสัญญลักษณ์เหล่านี้ให้คิดถึงธรรม
ถ้ามีการจัดการดี วัดทุกวัดจะกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทั้ง ๔ มิติ คือ กาย จิต
สังคม และปัญญา
พูดถึงทางกายหรือกายภาพ ควรทํางานร่วมกับเครือข่ายองค์กรสถาปนิกเพื่อออกแบบ
ภูมิสถาปัตย์ให้วัดมีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น และมีสัญญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ
สําหรับบทบาทของวัดในการพัฒนา ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา ก็สามารถช่วยกันคิดได้
ในครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ และพระสงฆ์สาวกไม่ได้บริหารวัด แต่บริหารธรรม
อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้บริหารวัดเชตวัน นางวิสาขาบริหารวัดบุพพาราม พระเจ้าพิม
พิสารบริหารวัดเวฬุวัน ในประเทศไทยทุกวันนี้การบริหารวัดตกเป็นภาระหนักของสมภาร
เจ้าวัด และวัดก็มีสิ่งก่อสร้างและศาสนวัตถุมากมาย วัดมีภาระหนักในการต้องหาเงินมา
บํารุงรักษาวัตถุที่มีมากมายของวัด การบอกบุญเรี่ยรายกลายเป็นภารกิจของสงฆ์ไป ทําให้
ดูไม่งามตามธรรม
๙ 
มีตัวอย่างเหมือนกันที่สมภารไม่ต้องบริหารวัด คือเมื่อท่านปัญญนันทภิกขุไปเป็น
เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์ที่เชียงใหม่ ท่านไม่ต้องบริหารวัด แต่บริหารธรรม เจ้าชื่น สิโรรส เป็น
ผู้บริหารวัด ที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ที่ไต้หวันซึ่งมีงานพัฒนามากมาย ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน
ไม่ต้องบริหารวัตถุปัจจัยและกิจกรรม ท่านบริหารแต่ธรรม มีนักธุรกิจที่มีศรัทธาสูงช่วย
บริหารอย่างเนี้ยบมาก
ควรจะมีผู้นําชุมชนและนักธุรกิจที่มีศรัทธาสูง เข้ามาช่วยพระจัดการวัดให้สามารถ
เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทั้งกาย จิต สังคม และปัญญา ให้พระมีเวลาไปอุทิศกับการบริหาร
ธรรมได้มากขึ้น ถ้าสามารถจัดการวัดได้ดีทั้ง ๔๐,๐๐๐ วัด จะเป็นอาริยพัฒนาที่ยิ่งใหญ่
(๕) ส่งเสริมยุทธศาสตร์สันติวิธี และสันติภาพ
ขณะนี้โลกเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรง ตั้งแต่ความขัดแย้งในวงเล็ก
เช่น ในครอบครัว ในองค์กร ในระหว่างพรรคการเมือง ระหว่างระบบเศรษฐกิจมหภาคกับ
คนจนและชุมชน การสื่อสารด้วยความเกลียดชัง สงคราม การก่อการร้ายสากล การสะสม
อาวุธนิวเคลียร์ การทําร้ายผู้บริสุทธิ์ การกราดยิงโดยไม่มีเหตุผล การระเบิดฆ่าตัวตายเพื่อ
ฆ่าผู้บริสุทธิ์จํานวนมาก เพื่อการต่อสู้ทางอุดมการณ์ หรือต่อสู้กับการกดขี่ เป็นความ
สุดโต่งของความขัดแย้งและความรุนแรง นี้อย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งคือการทําร้ายตนเอง เพราะความหมดหวังและการไม่มีทางออก เช่น
การฆ่าตัวตาย การติดยาเสพติด การติดยาแก้ปวด การตายจากการใช้ยาเกินขนาด เช่น คน
อเมริกันติดยาแก้ปวดประมาณ ๑๐๐ ล้านคน และถึงแก่ความตายเพราะยาแก้ปวดตระกูล
ฝิ่น (opiods) ประมาณ ๖๐,๐๐๐ - ๗๐,๐๐๐ คนต่อปี เป็นที่น่าสลดสังเวช นี้อีกอย่างหนึ่ง
พุทธศาสนาเป็นศาสนาเพื่อสันติวิธีและสันติภาพ ควรจะเข้ามาทํางานเชิง
ยุทธศาสตร์เรื่องสันติวิธีและสันติภาพ ที่ใช้คําว่ายุทธศาสตร์ในที่นี้ก็เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่อง
ยากสุดๆ พระจะไปสอนแบบใจเย็นๆ ไว้นะโยม คงจะไม่ได้ผล แต่ต้องทําความเข้าใจ
รากเหง้าของความขัดแย้งและความรุนแรง รวมทั้งกระบวนการที่จะคลายความรุนแรง ใน
การนี้ต้องมีผู้ศึกษาเรื่องสันติวิธี และสันติภาพอย่างลึก จนเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลก
ถ้ามหาวิทยาลัยพุทธทั้ง ๒ ทุ่มเท สร้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องสันติวิธีและสันติภาพระดับ
โลกได้จะเป็นกุศลยิ่งนัก
๑๐ 
(๖) กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธกับการพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการโดยเอาชุมชน
ท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง
พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน สร้างจากยอดไม่ได้เพราะจะพังลงๆ เนื่องจากไม่มี
ฐานรองรับ ฐานของประเทศคือชุมชนท้องถิ่น ที่ผ่านมาประเทศไทยพัฒนาประดุจสร้าง
พระเจดีย์จากยอด คืออะไรๆ ก็จะเอาแต่ข้างบน เศรษฐกิจเอาแต่ข้างบน การศึกษาก็จะ
เอาข้างบน การเมืองก็สนใจแต่ระดับชาติ ปล่อยหรือส่งเสริมให้ข้างบนทําลายให้ข้างล่าง
อ่อนแอและแตกสลาย
เนื่องจากข้างล่างคือชุมชนท้องถิ่นครอบคลุมทุกตารางนิ้วของประเทศ เป็นระบบ
การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ระหว่างคนกับคนและระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อม การอยู่
ร่วมกันอย่างสันติสมดุลคือศีลธรรม ข้างล่างเป็นที่อยู่ของศีลธรรม ในขณะที่ข้างบนเป็นที่อยู่
ของอํานาจ เงิน ความเป็นทางการ และรูปแบบ มายาคติ รวมทั้งมีความฉ้อฉลสูง เมื่อฐาน
พระเจดีย์หรือสังคมข้างล่างอ่อนแอล่มสลาย เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และศีลธรรม ก็
ล่มสลายด้วย ประเทศจึงวิกฤตและไม่พ้นวิกฤต ตราบที่ยังไม่สร้างพระเจดีย์จากฐาน
การพัฒนาแบบสร้างพระเจดีย์จากฐาน คือการพัฒนาอย่างบูรณาการโดยเอา
ชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง
การพัฒนาอย่างบูรณาการ คือการพัฒนาทุกเรื่อง คือ เศรษฐกิจ - จิตใจ - สังคม -
สิ่งแวดล้อม - วัฒนธรรม - สุขภาพ - การศึกษา - ประชาธิปไตย อย่างเชื่อมโยงอยู่ใน
กันและกัน ไม่ใช่การพัฒนาแบบแยกส่วนอย่างทุกวันนี้ เช่น เศรษฐกิจก็เอาเงินเป็นตัวตั้ง
การศึกษาก็เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ฯลฯ การพัฒนาแบบแยกส่วนจะนําไปสู่การเสียสมดุล และ
สภาวะวิกฤตเสมอ
การพัฒนาอย่างบูรณาการเพื่อนําไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล
ในการนี้ต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เอากรมเป็นตัวตั้งไม่ได้ เพราะกรมนั้นตั้งขึ้นเป็น
เรื่องๆ อย่างแยกส่วน เช่น กรมดิน กรมน้ํา กรมต้นไม้ ฯลฯ แยกกันเป็นกรมๆ ประเทศ
ไทยพัฒนาโดยเอากรมเป็นตัวตั้ง จึงพัฒนาอย่างบูรณาการไม่ได้
การพัฒนาอย่างบูรณาการต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง พื้นที่คือชุมชนท้องถิ่น หมู่บ้าน
เป็นชุมชนขนาดเล็ก หลายชุมชนรวมกันเป็นท้องถิ่น ตําบลคือท้องถิ่นขนาดเล็ก โดยเฉลี่ย
ประกอบด้วย ๑๐ หมู่บ้าน จังหวัดเป็นท้องถิ่นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ย
ประกอบด้วย ๑๐๐ ตําบล
๑๑ 
ในแต่ละจังหวัดควรมีการพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ โดยเอาชุมชนท้องถิ่นเป็น
ตัวตั้ง โดยมีหน่วยของการพัฒนาคือ ๑ : ๑๐๐ : ๑,๐๐๐ สัมพันธ์กัน ดังนี้
โดยมีประชาคมจังหวัดเป็นเครื่องมือระดับจังหวัด ประชาคมตําบลเป็นเครื่องมือ
ระดับตําบล สภาผู้นําชุมชน หรือองค์กรชุมชน เป็นเครื่องมือระดับหมู่บ้าน ทั้ง ๓ ระดับ
ทํางานสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ในทุกจังหวัดควรมี กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ อันประกอบด้วยทั้งพระและ
ฆราวาสรวมตัวกัน ศึกษาและพัฒนาและเข้าร่วมในการพัฒนาอย่างบูรณาการในเรื่องต่างๆ
ทั้งในระดับ หมู่บ้าน ระดับ ตําบล และระดับจังหวัด โดยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการ
ปฎิบัติ (Interactive learning through action) ในสถานการณ์จริง โดยกลุ่มนําหลักการ
ทางพุทธเข้าไปสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วม ในกระบวนนี้ทุกคนจะมีความสุขมาก เพราะมี
ความเสมอภาค ภราดรภาพ และสามัคคีธรรม ทุกคนจะฉลาดขึ้น และเกิดปัญญาร่วม ทํา
ให้ฝ่าความยากไปสู่ความสําเร็จ
เมื่อเกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ ก็จะเกิดชุมชนแห่งความสุข ตําบลแห่งความสุข และ
จังหวัดแห่งความสุข และในเมื่อทุกจังหวัดทําอย่างนี้ ทุกตําบลทําอย่างนี้ ทุกชุมชนทําอย่างนี้
ทั้งประเทศก็จะเกิดบูรณภาพและดุลภาพกลายเป็นประเทศแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล
สังคมในอุดมคติของชาวพุทธคือสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล ซึ่ง
สามารถเกิดขึ้นได้จากการพัฒนาอย่างบูรณาการ ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฎิบัติใน
สถานการณ์จริง
รหัสการพัฒนาแบบพุทธ คือ ปัญญา - อิสรภาพ - การอยู่ร่วมกัน ช่วยให้เกิดการ
เรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติและการพัฒนาอย่างบูรณาการได้ดีกว่า
รหัสพัฒนาตะวันตก อันคือ ความรู้ - อํานาจ - โลภะ ที่เน้นความเก่งและการ
แข่งขัน ซึ่งนําไปสู่โลกที่เสียสมดุลอย่างในปัจจุบัน
(๗) การจัดประชุมสมัชชาพุทธศาสนากับการพัฒนา
ควรมีการจัดประชุม สมัชชาพุทธศาสนากับการพัฒนา ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับชาติ
และเฉพาะประเด็น เพื่อรวบรวมประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาต่อยอด และ
พัฒนานโยบาย ในการนี้สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งมีประสบการณ์
มากกกว่าองค์กรอื่นอาจร่วมจัดด้วยได้
จังหวัด หมูบานตําบล
๑ ๑๐๐ ๑,๐๐๐
๑๒ 
(๘) การเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง เพื่อเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างทางสังคมด้วยสันติวิธี
ทุกวันนี้การทําการส่วนใหญ่ เป็นการใช้อํานาจจากบนลงล่างที่เรียกว่า top down
ทําให้เกิดโครงสร้างทางดิ่ง เป็นเสมือนแท่งอํานาจเป็นแท่งๆ
ในโครงสร้างทางดิ่ง จะคับแคบ บีบคั้น มีความทุกข์มาก มีการเรียนรู้น้อย แต่มี
พฤติกรรมเบี่ยงเบนมาก สังคมที่มีโครงสร้างทางดิ่งจะพัฒนาไปสู่สังคมสันติสุขได้ยาก
พระพุทธศาสนาไม่นิยมการใช้อํานาจ แต่นิยมการเรียนรู้ เพื่อลดอหังการ และ
มมังการ การพัฒนาแนวทางพุทธจึงเหมาะแก่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมจาก
สังคมอํานาจไปสู่สังคมปัญญา
“กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ” ที่กล่าวถึงตลอดมาในบทความนี้ กลุ่มศึกษา
และพัฒนาแนวพุทธเกิดจากการรวมตัวกันของพระและฆราวาสอย่างไม่เป็นทางการเป็น
กลุ่มๆ กลุ่มละประมาณ ๑๐ รูป / คน
ที่เน้นความไม่เป็นทางการก็เพราะ อะไรที่เป็นทางการจะเน้นที่รูปแบบ ข้อบังคับ
กฎ ระเบียบ และเป็นแนวดิ่ง ความไม่เป็นทางการทําให้มีความคล่องตัว แต่ไม่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อความเป็นทางการหรือต่อใคร เน้นที่ความสุภาพและเคารพคนอื่น และ
สัมพันธภาพด้วยการเรียนรู้ นั่นเป็นลักษณะของแนวทางพุทธ การไม่ยุ่งเรื่องอํานาจและ
ความไม่เป็นปฏิปักษ์ ทําให้ทุกรูปทุกคนมีความสะดวกใจและสบายใจที่จะรวมตัวร่วมคิด
ร่วมทํา แท้ที่จริงอปริหานิยธรรม หรือธรรมะเพื่อความเจริญถ่ายเดียวที่พระพุทธองค์ทรง
สั่งสอนเป็นอันมากเมื่อประทับบนเขาคิชฌกูฏเป็นครั้งสุดท้าย ก็คือธรรมะแห่งการรวมตัว
ร่วมคิดร่วมทํานั่นเอง
การเมือง ราชการ การศึกษา ธุรกิจ ศาสนา
โครงสรางทางดิ่ง หรือแทงอํานาจ
๑๓ 
ที่ว่ากลุ่มละประมาณ ๑๐ รูป / คนนั้น เพราะจํานวนนี้พอเหมาะที่จะรู้จักกันอย่างทั่วถึงและมี
จริตร่วมกันอย่างง่ายกลุ่ม๑๐จึงเป็นกลุ่มที่มีความสุขและสร้างสรรค์ถ้ารู้จักกันไม่ทั่วถึงก็ขาดพลังร่วม
กองทัพเจงกิสข่านที่เกรียงไกรนั้นจัดกองกําลังเป็นกลุ่มละ๑๐ กลุ่ม๑๐ สิบกลุ่มเป็น
กลุ่มร้อย กลุ่มร้อย ๑๐กลุ่ม เป็นกลุ่มพัน... ทหารของเขาไม่รู้หนังสือแต่สามารถสื่อสารรู้ถึง
กันหมด จึงผนึกกันเป็นกองทัพที่เกรียงไกร ชนะไปเกือบครึ่งโลก
“กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ” ซึ่งอาจจะประกอบด้วยพระล้วนๆ หรือฆราวาส
ล้วนๆ หรือร่วมกันก็ได้ จะเป็นกลุ่มที่มีความสุขและสร้างสรรค์อย่างยิ่ง เพราะร่วมกันศึกษา
และพัฒนาเรื่องดีๆ ที่กลุ่มสนใจ อย่างหลากหลาย และมีการเชื่อมโยง เป็นเครือข่ายระหว่าง
บุคคลและกลุ่ม เมื่อกลุ่มและเครือข่ายเกิดมากขึ้นๆ สังคมก็จะเปลี่ยนโครงสร้างจากสังคม
ทางดิ่งหรือสัมพันธภาพเชิงอํานาจ ไปเป็น สังคมเครือข่ายคล้ายสมอง ที่สัมพันธ์กันด้วย
ความเสมอภาค ภราดรภาพ และกัลยาณมิตรธรรม หรือสังคมเรียนรู้ ตามรูปข้างล่าง
สมองเป็นโครงสร้างที่วิจิตรที่สุดในจักรวาล และมีศักยภาพในการเรียนรู้สูงมาก
สังคมเครือข่ายคล้ายสมองก็เช่นเดียวกัน จะเป็นสังคมเรียนรู้ที่ขยายตัวขึ้นและเพิ่ม
คุณภาพขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการนี้ง่ายกว่าและมีความสุขกว่างานทางการเมือง เพราะ
การเมืองเป็นเรื่องอํานาจ แบ่งพรรคแบ่งพวก แย่งชิง มีความแตกแยก และบางครั้งก็
รุนแรง คนจึงร่วมด้วยได้น้อย แต่กระบวนการพัฒนาแนวพุทธที่กล่าวข้างต้น ใครๆ ก็ร่วม
ด้วยได้ เพราะไม่เกี่ยวกับการเมืองเรื่องอํานาจ แต่เกี่ยวกับไมตรีจิตและการพัฒนา ฉะนั้น
ถ้าชาวพุทธช่วยกันทําความเข้าใจ การพัฒนาแนวพุทธดังกล่าวเกิดขึ้นไม่ยาก
และต้องขอย้ําอีกครั้งว่าพุทธธรรม เป็นธรรมที่เป็นกลางตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว
พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสร้างขึ้นแต่ทรงค้นพบ ฉะนั้นใครๆ ก็มีสิทธิที่จะค้นพบ ไม่ว่าจะ
เรียกว่าพุทธหรือไม่ก็ตาม ธรรมจึงเป็นสากลที่สามารถร่วมกันได้ทั้งหมด
สังคมเครือขายคลายสมอง
= กลุมศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ
๑๔ 
สรุป
๑. ขณะนี้การพัฒนาตามอารยธรรมตะวันตก กําลังนําไปสู่การเสียสมดุลอย่างรุนแรง ทั้งในตัว
มนุษย์เอง ทางสังคม และทางสิ่งแวดล้อม จึงขัดแย้งรุนแรง และไม่ยั่งยืน ควรมีกระบวน
ทัศน์ใหม่ในการพัฒนา
๒. กระบวนทัศน์พุทธเหมาะกับประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีพื้นฐานทางพุทธ และพุทธ
ธรรมก็เป็นภูมิปัญญาสูงสุดเพื่อการพัฒนา
๓. รหัสพัฒนาตามแนวทางตะวันตก กับแนวทางพุทธแตกต่างกัน
รหัสพัฒนาตามแนวทางตะวันตก คือ “ความรู้ - อํานาจ - โลภะ”
รหัสพัฒนาตามแนวทางพุทธ คือ “ปัญญา - อิสรภาพ - การอยู่ร่วมกัน”
๔. เป้าหมายการพัฒนาแนวพุทธคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล
เครื่องมือการพัฒนาคือการศึกษาหรือการเรียนรู้ แต่การศึกษาแนวพุทธต่างจากแนว
ตะวันตก แนวตะวันตกเป็นการแยกส่วนจากชีวิต เอาวิชาเป็นตัวตั้ง โดยเน้นความเก่งเพื่อไป
แข่งขัน อันนําไปสู่การเสียสมดุล แต่การศึกษาแนวพุทธเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เพื่อปัญญา
อิสรภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล
๕. ควรคิดถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวพุทธ ไม่ใช่แบบบรรยายไปเรื่อยๆ (descriptive) การ
ทํางานเชิงยุทธศาสตร์ หมายถึงการคํานึงถึงสถานการณ์ความเป็นจริงซึ่งรวมถึงข้ออุปสรรค
ขัดข้อง และหาแนวทางใหญ่ๆ ที่จะเอาชนะหรือทําให้สําเร็จ
๖. ชาวพุทธทั้งพระและฆราวาสควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวพุทธ พบปะ
กันสม่ําเสมอเพื่อเป็นคลังสมอง (Think Tank) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
๗. เรื่องใหญ่ๆ ที่อาจขับเคลื่อน อาจมีดังต่อไปนี้
(๑) การสื่อสารเพื่อสร้างความสุขฉับพลัน (Instant Happiness) ซึ่งรวมถึงการทํา
ภาพยนต์ เรื่องนี้ที่ผู้คนอยากดูชมทั่วโลก
(๒) สร้างผู้เชี่ยวชาญชีวิต ที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุขจํานวนมาก
(๓) ส่งเสริมการเจริญสติสําหรับคนทั้งมวล
(๔) ส่งเสริมการจัดการให้วัดเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
(๕) ส่งเสริมยุทธศาสตร์สันติวิธีและสันติภาพ
๑๕ 
(๖) กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธกับการพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ โดยเอาชุมชน
ท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง
(๗) การจัดประชุมสมัชชาพุทธศาสนากับการพัฒนา
(๘) การเปิดพื้นที่ทางสังคมและทางปัญญาอย่างกว้างขวาง เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ทางสังคม จากสังคมแนวดิ่ง ป็นสังคมเครือข่ายคล้ายสมอง
กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธอันหลากหลาย ทํางานในประเด็นต่างๆ อย่างเชื่อมโยงกัน
ทั้งประเทศ โดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันในการปฎิบัติ (Interactive learning through action) ใน
สถานการณ์จริงเป็นเครื่องมือ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) อัน
ก่อให้เกิดปัญญา อิสรภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุลอันเป็นอุดมคติทางพุทธ
-----------------------------------------------

More Related Content

Similar to Sadsana

Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsThira Woratanarat
 
อาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดอาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดVorawut Wongumpornpinit
 
สุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptx
สุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptxสุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptx
สุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptxKritwarongTheychasir
 
วิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืน
วิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืนวิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืน
วิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืนUtai Sukviwatsirikul
 
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
 สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติกUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASE
คู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASEคู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASE
คู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASEUtai Sukviwatsirikul
 
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยgeekan
 
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)Jitjaree Lertwilaiwittaya
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 
ธรรมชาติบำบัด
ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติบำบัด
ธรรมชาติบำบัดVorramon1
 
ผลิตภัณฑ์พูดวันอังคาร
ผลิตภัณฑ์พูดวันอังคารผลิตภัณฑ์พูดวันอังคาร
ผลิตภัณฑ์พูดวันอังคารEASY ROOM
 
Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54
Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54
Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54Watcharapong Rintara
 
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29Ming Gub Yang
 
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพหน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพTerapong Piriyapan
 
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)Wan Ngamwongwan
 

Similar to Sadsana (20)

Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problems
 
อาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดอาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือด
 
สุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptx
สุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptxสุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptx
สุขศึกษา ม. 5 หน่วยที่ 7.pptx
 
วิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืน
วิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืนวิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืน
วิธีปฏิบัติตนให้มีอายุยืน
 
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
 สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
 
คู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASE
คู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASEคู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASE
คู่มือความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลทางจิตใจตามหลักการ EASE
 
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
 
155344bayer329
155344bayer329155344bayer329
155344bayer329
 
Handbook for hypertension
Handbook for hypertensionHandbook for hypertension
Handbook for hypertension
 
Clu5
Clu5Clu5
Clu5
 
Clu5
Clu5Clu5
Clu5
 
Drug
DrugDrug
Drug
 
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
ธรรมชาติบำบัด
ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติบำบัด
ธรรมชาติบำบัด
 
ผลิตภัณฑ์พูดวันอังคาร
ผลิตภัณฑ์พูดวันอังคารผลิตภัณฑ์พูดวันอังคาร
ผลิตภัณฑ์พูดวันอังคาร
 
Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54
Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54
Topic Chronic Illness ทิว 27 ก.ค. 54
 
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
 
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพหน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
 
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
 

More from Pattie Pattie

สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567Pattie Pattie
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินPattie Pattie
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรPattie Pattie
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชPattie Pattie
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...Pattie Pattie
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationPattie Pattie
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีPattie Pattie
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfPattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxPattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxPattie Pattie
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdfPattie Pattie
 

More from Pattie Pattie (20)

สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 
Nakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdfNakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdf
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
 

Sadsana

  • 2. ๒  ๑. สภาพการณ์และเหตุผล การพัฒนากระแสหลักในโลก ที่เรียกว่าอารยธรรมตะวันตก กําลัง นําไปสู่การเสียสมดุลอย่างรุนแรง ทั้งในตัวมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในประเทศที่เรียกว่า พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เกิดความเหลื่อมล้ําอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ความเหลื่อม ล้ํานําไปสู่ปัญหาทางสุขภาพและสังคมนานัปการ ซึ่งรวมถึงสุขภาพจิต อายุขัย การตั้งครรภ์ใน วัยรุ่น อาชญากรรม ยาเสพติด ความขัดแย้ง และความรุนแรง คนอเมริกันประมาณ ๑๐๐ ล้านคน ติดยาแก้ปวด และปีหนึ่งๆ เสียชีวิตจากใช้ยาแก้ปวดประเภทฝิ่น (Opioids) เกินขนาด ประมาณ ๖๕,๐๐๐ คน สิ่งแวดล้อมเสียสมดุลจนเกิดสภาวะโลกร้อนอันนําไปสู่หายนะภัย ต่างๆ ความรุนแรงมีทั้งชนิดโจ่งแจ้ง อันได้แก่ สงคราม และการก่อการร้าย และความรุนแรง ชนิดเงียบ (Silent violence) เช่น ความยากจน และความอยุติธรรมทางสังคม ฯลฯ โดยสรุปเป็นวิกฤตแห่งการอยู่รวมกันโดยสมดุล ทั้งระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับ สิ่งแวดล้อม จึงจําเป็นต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา ๒. กระบวนทัศน์พุทธเหมาะกับประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีพื้นฐานทางพุทธ อะไรที่ทํา จากพื้นฐานที่มีและคุ้นเคยก็จะง่ายกว่าทําจากสิ่งที่ตนไม่มี ประเทศไทยมีโครงสร้างและ สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาเต็มประเทศ อีกทั้งพุทธธรรมก็เป็นภูมิปัญญาสูงสุดและมีความเป็น สากล ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่าพระตถาคตจะอุบัติหรือไม่อุบัติ ธรรมะก็มีอยู่แล้ว เป็นของ กลาง เป็นธรรมชาติ เป็นเหตุเป็นผลตามธรรมชาติ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ใครๆ ก็ค้นพบกฎ ธรรมชาตินี้ได้ จะรู้จักหรือไม่รู้จัก เรียกหรือไม่เรียกว่าพุทธก็ตาม พุทธธรรมจึงมีความเป็น สากลเหมาะกับความร่วมมือในการพัฒนาอย่างกว้างขวาง
  • 3. ๓  ๓. ความแตกต่างระหว่างรหัสพัฒนาตะวันตกกับรหัสพัฒนาพุทธ ในทางชีววิทยา ดีเอ็นเอ เป็นรหัสพันธุกรรมที่กําหนดความเป็นไปของชีวิต โดยมีตัวอักษร กลุ่มละ ๓ ที่เรียกว่า codon เป็นหน่วยพื้นฐาน เช่น AAA ATG TTT GTA… ถ้าจะสรุป “รหัสการพัฒนา” จะเห็นความแตกต่างระหว่างแนวทางตะวันตกและแนวทาง พุทธ ดังนี้ รหัสการพัฒนาตะวันตก = “ความรู้ อํานาจ โลภะ” = Greed รหัสการพัฒนาทางพุทธ = “ปัญญา อิสรภาพ การอยู่ร่วมกัน” = Goodness ตะวันตกมีความเข้มแข็งในการหาความรู้ ดังเช่นค้นพบวิทยาศาสตร์และนําไปสร้าง เทคโนโลยี ทําให้มีอํานาจมากแล้วใช้อํานาจไปสนองความโลภ และนิยมว่าความโลภเป็นของดี ดังที่พูดว่า “Greed is good” เพราะทําให้เกิดความเจริญ ไม่ว่าจะถกเถียงให้เหตุผลว่า แนวทางนี้ดีอย่างไรๆ แต่ผลคือการเสียสมดุลอย่างรุนแรงบนโลกใบนี้ ดังที่กล่าวใน ๑.ข้างต้น ในทางพุทธนั้นถือว่าอวิชชา เป็นต้นตอของความทุกข์หรือปัญหา เพราะฉะนั้นมนุษย์ควร ต้องเข้าถึงวิชชา หรือปัญญา คือความจริงตามธรรมชาติ (ควรทําความเข้าใจว่า ปัญญาใหญ่ กว่าความรู้) อิสรภาพ หมายถึงหลุดพ้นจากความบีบคั้น ตามปรกติมนุษย์ไม่มีอิสรภาพเพราะตกอยู่ใต้ ความบีบคั้น ซึ่งมี ๔ มิติ คือบีบคั้นทางกายหรือทางวัตถุ บีบคั้นทางจิต บีบคั้นทางสังคม บีบ คั้นทางปัญญา (เพราะขาดปัญญา) การบีบคั้นคือความทุกข์ อิสรภาพหรือการหลุดพ้นจากความบีบคั้นเป็นความสุข อิสรภาพ เกิดจากปัญญา การอยู่ร่วมกันด้วยดี (ด้วยปัญญาหรือด้วยการเรียนรู้) เป็นอุดมคติทางพุทธ ดังจะเห็นได้ ว่าคําสอนทางพุทธล้วนมุ่งไปสู่การอยู่ร่วมกันด้วยดีในทุกระดับ ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน เมือง แว่นแคว้น โดยเน้นที่หน้าที่ของทุกฝ่ายที่พึงมีต่อกัน การอยู่ร่วมกันด้วยดีคือสังคมสันติสุข หรือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล ระหว่างคนกับ คน และระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อม
  • 4. ๔  ๔. เป้าหมายและเส้นทางการพัฒนาแบบพุทธ จากรหัสการพัฒนาที่กล่าวถึงในตอน ๓ ก็จะเข้าใจชัดเจนถึงเป้าหมายและเส้นทางการ พัฒนาแนวพุทธ นั่นคือ เป้าหมาย = ปัญญา อิสรภาพ การอยู่ร่วมกัน ในทุกระดับ เครื่องมือ = การศึกษาหรือการเรียนรู้ แต่การศึกษาแนวพุทธต่างจากการศึกษาแนวตะวันตก แนวตะวันตกเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ซึ่งแยกส่วนไปอีกจากชีวิต เพื่อไปแข่งขัน จึงไปลงท้ายด้วย การสร้างระเบิดปรมาณู แนวทางพุทธนั้น การศึกษาเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ดังที่ว่าการศึกษาคือชีวิต ชีวิตคือการศึกษา ศึกษา ให้เกิดปัญญาและอิสรภาพ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ถ้าเป็นไปตามนี้ก็จะเกิดสังคมสันติสุขในทุกๆ ระดับ ๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวทางพุทธ ยุทธศาสตร์คือการคํานึงถึงสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงปัญหาอุปสรรค และ ปัจจัยที่จะนําไปสู่ความสําเร็จ แล้วกําหนดแนวทางใหญ่ๆ ที่จะทําให้ชนะหรือประสบ ความสําเร็จ ซึ่งขอเสนอดังนี้ กลุ่มปัญญาชนชาวพุทธซึ่งทําหน้าที่คลังปัญญา (Think Tank) ประกอบด้วยทั้งพระและ ฆราวาสชาวพุทธที่เป็นนักคิดจํานวนหนึ่ง ซึ่งประชุมกันอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่อง อย่างไม่ เป็นทางการ ความไม่เป็นทางการทําให้มีอิสระและได้ผู้ที่มีความตั้งใจจริง แต่กลุ่มไม่เป็น ทางการนี้ไม่เป็นปฎิปักษ์กับความเป็นทางการ ในทางตรงข้ามให้ความเคารพและมี สัมพันธภาพที่ดีกับฝ่ายปกครองของคณะสงฆ์ กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธพบปะ ปรึกษาหารือกันบ่อยๆ จะเกิดความคิดว่าควรทําอะไร และทําอย่างไร อย่างต่อเนื่อง เรื่อง ใหญ่ๆ ที่ควรทําอาจมีได้ดังนี้
  • 5. ๕  (๑) การสื่อสารเพื่อสร้างความสุขฉับพลัน (Instant Happiness) ด้วยการพลิกวิธีคิด สังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยคนที่มีความทุกข์และความเครียด จึงมีคนติดยาเสพติด ยาแก้ปวด มีการฆ่าตัวตาย ดังที่ในสหรัฐอเมริกามีคนติดยาแก้ปวดประมาณ ๑๐๐ ล้านคน และตาย เพราะใช้ยาเกินขนาดถึง ปีละประมาณ ๖๕,๐๐๐ คน นี้เป็นยอดภูเขาน้ําแข็งแห่งความ ทุกข์ของคนปัจจุบัน หากพุทธธรรมช่วยให้เขาพบความสุขฉับพลัน จะก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะอย่าง ใหญ่หลวง เป็นจุดพลิกผันของแนวทางการพัฒนา ความสุขฉับพลันเกิดจากการพลิกวิธีคิด ในครั้งพุทธกาลเราจะเห็นผู้ที่พ้นทุกข์ฉับพลันด้วยการพลิกวิธีคิดด้วยการชี้แนะของ พระพุทธองค์จํานวนมากมาย เช่น พระปัญจวัคคีย์ที่พลิกจากการคิดเชิงอัตตาเป็นอนัตตา ชฎิล ๑,๐๐๐ ที่บูชาไฟพร้อมหัวหน้าอีก ๓ หลังจากได้ฟังอาทิตตปริยายสูตร ว่าไฟหรือ ความร้อนเกิดจากอะไร หรือปริพาชกเล็บยาว (ฑีฆนขะ) หลานพระสารีบุตรพร้อมทั้งพระสา รีบุตรที่ถ้ําสุกรขาตา กลางเขาคิชฌกูฏ ได้สดับทีฆนขสูตรทีเดียวพระสารีบุตรพ้นทุกข์ได้ ทันที ยังมีกรณีอื่นๆ อีกมาก แม้ในปัจจุบันที่เมื่อบุคคลได้ฟังการชี้แนะหรือพลิกความคิด ขึ้นมาเองได้ แล้วเกิดความสุขฉับพลัน (Instant Happiness) การไปติดอยู่ในการคิดเรื่องไม่ จริงไม่สมเหตุสมผลทําให้เกิดความทุกข์ การผลิกความคิดคือการพลิกออกจากการติดอยู่ใน ความไม่จริงไม่สมเหตุสมผลไปสู่ความจริงสมเหตุสมผล หรือจากอวิชชาไปสู่วิชชานั่นเอง ควรทําโครงการ ความสุขฉับพลัน : มหัศจรรย์แห่งชีวิต (Instant Happiness : The Miracle of Life) เริ่มต้นโดยการวิจัย กรณีตัวอย่างการพลิกความคิดแล้วเกิดความสุขฉับพลัน ตั้งแต่ ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันทั้งในสังคมพุทธและสากล ตัวอย่างที่เป็นสากลตัวอย่างหนึ่งก็ คือ นาย Eckhart Tolle ชาวแคนาดา เป็นคนที่มีความทุกข์มากจนคิดจะฆ่าตัวตายอยู่ หลายครั้ง วันหนึ่งทุกข์มากจนทนไม่ไหว วันนี้จะต้องเอาแน่ เขากล่าวกับตัวเองว่า “I cannot live with myself any longer” (ฉันไม่อาจมีชีวิตอยู่กับตัวเองได้อีกต่อไป) แต่คําพูดนี้มันกระตุกให้เขาคิดว่า เอ๊ะ “ฉัน” กับ “ตัวเอง” นี่มันคนละคนหรืออย่างไร โดย ไม่รู้ตัวเขาหลุดไปสู่สภาวะสุขอย่างฉับพลัน จะนั่งจะยืนที่ไหนก็มีความสุขทั้งเนื้อทั้งตัว เป็น ความสุขอย่างลึกล้ําที่ถาวร นี่คือการกระตุกความคิดจากอัตตาไปสู่อนัตตา โทลเลอร์ได้ กลายเป็นครูสอนเรื่องความสุข และเขียนหนังสือชื่อ “The Power of Now” (พลังแห่ง ปัจจุบันขณะ)
  • 6. ๖  การพลิกความคิดแล้วเกิดความสุขฉับพลันก็คือการเข้าถึงธรรมนั่นเอง แต่ไม่ได้เกิด โดยการบรรยายธรรมแบบวิชาการหรือการสวดไปเรื่อยๆ โดยทั้งผู้สวดและผู้ฟังก็ไม่เข้าใจ แต่เกิดจากให้หรือเกิดแง่คิดในจังหวะที่เหมาะและสอดคล้องกับการคิดที่ทําให้เกิดทุกข์ ในปัจจุบันสามารถวิจัยค้นคว้ากรณีตัวอย่างของคําพูด และการพลิกความคิดอัน ก่อให้เกิดความสุขฉับพลันจากทั่วโลก ซึ่งจะได้ข้อมูลมหาศาลแล้วอาศัยศิลปินสร้างเป็นสื่อ ความสุขฉับพลัน ที่มีเสน่ห์โดนใจสาธารณชน ในรูปต่างๆ ซึ่งรวมถึง • โซเชียลมีเดีย • ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) • ภาพยนตร์ ในยุทธศาสตร์นี้ต้องไปให้ถึงการสร้างภาพยนตร์ “Instant Happiness : The Miracle of Life” ให้ได้ ถ้าสร้างได้ดีเป็นภาพยนตร์ที่ฮิต คนอยากดูชมกันทั้งประเทศและ อาจจะทั่วโลกด้วย จะมีผลมหาศาลที่ช่วยสร้างความสุขให้มนุษยชาติ และการเข้าถึงธรรม ถ้าเปรียบเทียบเป็นสงคราม นี่คือรถถังที่ตะลุยไปข้างหน้าถากทางให้พลังที่เคลื่อน ตามมาทําได้ง่ายขึ้น นั่นคือยุทธศาสตร์อื่นๆ ของการพัฒนาแนวพุทธ (๒) สร้าง “ผู้เชี่ยวชาญชีวิต” ที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุข การศึกษาทุกวันนี้มุ่งสร้างผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ แต่เกือบไม่มีเลยที่สร้าง “ผู้เชี่ยวชาญชีวิต” ที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุข ทั้งๆ ที่ชีวิตและทุกข์สุขเป็นเรื่องสําคัญ ที่สุด โลกจึงเต็มไปด้วยคนมีความทุกข์ ฉะนั้นจึงควรมียุทธศาสตร์สร้างผู้เชี่ยวชาญผลิก ทุกข์เป็นสุขจํานวนมาก โดยมีเป้าหมายที่ • พระสงฆ์ทั้งหมด • ครูทั้งหมด • ผู้ที่เป็นพ่อแม่ ถ้าทําได้จะมีผลกระทบไปถึงคนทั้งมวล การศึกษาทุกวันนี้เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง จึงสร้างผู้เชี่ยวชาญเชิง วิชาขึ้นมา ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญชีวิตและผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติ
  • 7. ๗  มีความเข้าใจผิดว่าการศึกษากับวิชาการเป็นเรื่องเดียวกัน วิชาการก็เป็นเรื่องของ วิชาการและมีประโยชน์เชิงวิชาการ แต่การศึกษาควรเอาชีวิตเป็นตัวตั้งและเรียนรู้จากการ ปฏิบัติจริง การศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้งทําได้ยากและได้ผลน้อย เช่น การเรียนภาษาไทย หรืออังกฤษ ก็เน้นการเรียนไวยากรณ์ ซึ่งเป็นวิชาการ ซึ่งยาก ทําให้คนเกลียดการเรียน ภาษาไทย และเรียนเท่าไหร่ก็พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่การเรียนพูดภาษาใดๆ เป็นเรื่อง ง่ายสําหรับเด็กเล็ก เขามีความสุขในการหัดพูดและเรียนได้เร็ว เขาไม่ได้เรียนแบบเอา ไวยากรณ์หรือวิชาการเป็นตัวตั้ง ในการสร้างผู้เชี่ยวชาญชีวิตที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุข ต้องเริ่มต้นจากแสวงหา ผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทําหลักสูตรขึ้น เป็น การทดลองและพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นหลักสูตรปริญญาต้องระวังกฎระเบียบที่ ทางการวางกรอบไว้ ซึ่งทําให้เป็นการศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง เมื่อสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญชีวิตที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุขที่เก่ง และมีจํานวน พอสมควร ก็ทําการขยายตัวไปสู่พระสงฆ์และครู สําหรับผู้ที่เป็นพ่อแม่นั้นถ้าทําได้จะส่งผล ไปถึงการเลี้ยงดูลูก และคนในชั่วอายุถัดไป แต่จะทําได้อย่างไรนั้นต้องขบคิด และเรียนรู้ จากการทดลองทํา การหาทางทําเรื่องยากแต่สําคัญให้สําเร็จ นั่นคืองานทางยุทธศาสตร์ (๓) ส่งเสริมการเจริญสติสําหรับคนทั้งมวล ขณะนี้การเจริญสติแบบพุทธกําลังได้รับความนิยมขยายตัวมากขึ้นทั่วโลก เพราะผู้ ปฏิบัติได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าทําให้ทุกอย่างดีขึ้นหมด สุขภาพก็ดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง สมองดีการเรียนรู้มีคุณภาพสูงขึ้น ความสัมพันธ์ดีขึ้นทั้งในครอบครัวและที่ทํางาน มีการ วิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่ถึงผลของการเจริญสติ ซึ่งพบว่าทําให้ความดันลด สารสุข เพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่สมองซึ่งสามารถเห็นได้จาก brain imaging ฯลฯ การเจริญสติจึงเป็นกระแสใหญ่ในโลก (Megatrend) กลุ่มศึกษาพัฒนาแนวพุทธควรทํายุทธศาสตร์ส่งเสริมการเจริญสติสําหรับคนทั้ง มวล ซึ่งอาจประกอบด้วย
  • 8. ๘  (๑) ทําวิจัย mapping ว่าขณะนี้มีการอบรมการเจริญสติที่ใดอย่างไร แล้วเผยแพร่ข้อมูล (๒) ส่งเสริมการสร้างครูสอนเจริญสติให้มีจํานวนมาก ให้วัดทุกวัดสามารถสอนการเจริญสติ (๓) ส่งเสริมการจัดการให้มีศูนย์สอนเจริญสติมากขึ้นทั่วโลก สําหรับในต่างประเทศ สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการสอนแบบราคาถูก เพื่อให้มีทุนที่จะดําเนินการและ ขยายตัว ในระบบของตะวันตกยาที่มีคุณภาพดีจะราคาแพงมาก แต่ในแนวทางแบบ พุทธการเจริญสติเป็นของวิเศษสุด แต่ควรทําให้ราคาถูก (๔) ส่งเสริมให้มีองค์กรเจริญสติ เช่น โรงเรียนเจริญสติ มหาวิทยาลัยเจริญสติ บริษัทเจริญ สติ กรมกองเจริญสติ ฯลฯ องค์กรมีแรงจูงใจที่จะเป็นองค์กรแห่งการเจริญสติ เช่น ทํา ให้คนในองค์กรมีความสุข ทะเลาะกันน้อยลง เจ็บป่วยน้อยลง มีวันลาป่วยและ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลขององค์กรลดลง สมรรถนะขององค์กรสูงขึ้น เนื่องจากการเจริญสติทําให้เกิด Happiness at Low Cost จึงพยากรณ์ได้ว่าใน ที่สุดคนทั้งโลกจะเจริญสติ เมื่อคนจํานวนมากเจริญสติ เส้นทางการพัฒนาก็จะ เปลี่ยนไป จากเส้นทางแห่งโลภจริตเป็นเส้นทางแห่ง ปัญญา – อิสรภาพ - การอยู่ ร่วมกัน อันเป็นอาริยพัฒนา (๔)ส่งเสริมการจัดการให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ประเทศไทยมีวัดประมาณ ๔๐,๐๐๐ วัด กระจายอยู่ทั่วประเทศ ประมาณตําบลละ ๕ วัด วัดมีสัญญลักษณ์ที่ทําให้คนนึกถึงธรรมได้ง่าย เช่น โบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป พระ เจดีย์ เราควรสร้างเครื่องรับในจิตใจของผู้คน ให้เมื่อเห็นสัญญลักษณ์เหล่านี้ให้คิดถึงธรรม ถ้ามีการจัดการดี วัดทุกวัดจะกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทั้ง ๔ มิติ คือ กาย จิต สังคม และปัญญา พูดถึงทางกายหรือกายภาพ ควรทํางานร่วมกับเครือข่ายองค์กรสถาปนิกเพื่อออกแบบ ภูมิสถาปัตย์ให้วัดมีความสวยงาม สะอาด ร่มรื่น และมีสัญญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ สําหรับบทบาทของวัดในการพัฒนา ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา ก็สามารถช่วยกันคิดได้ ในครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ และพระสงฆ์สาวกไม่ได้บริหารวัด แต่บริหารธรรม อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้บริหารวัดเชตวัน นางวิสาขาบริหารวัดบุพพาราม พระเจ้าพิม พิสารบริหารวัดเวฬุวัน ในประเทศไทยทุกวันนี้การบริหารวัดตกเป็นภาระหนักของสมภาร เจ้าวัด และวัดก็มีสิ่งก่อสร้างและศาสนวัตถุมากมาย วัดมีภาระหนักในการต้องหาเงินมา บํารุงรักษาวัตถุที่มีมากมายของวัด การบอกบุญเรี่ยรายกลายเป็นภารกิจของสงฆ์ไป ทําให้ ดูไม่งามตามธรรม
  • 9. ๙  มีตัวอย่างเหมือนกันที่สมภารไม่ต้องบริหารวัด คือเมื่อท่านปัญญนันทภิกขุไปเป็น เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์ที่เชียงใหม่ ท่านไม่ต้องบริหารวัด แต่บริหารธรรม เจ้าชื่น สิโรรส เป็น ผู้บริหารวัด ที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ที่ไต้หวันซึ่งมีงานพัฒนามากมาย ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ไม่ต้องบริหารวัตถุปัจจัยและกิจกรรม ท่านบริหารแต่ธรรม มีนักธุรกิจที่มีศรัทธาสูงช่วย บริหารอย่างเนี้ยบมาก ควรจะมีผู้นําชุมชนและนักธุรกิจที่มีศรัทธาสูง เข้ามาช่วยพระจัดการวัดให้สามารถ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทั้งกาย จิต สังคม และปัญญา ให้พระมีเวลาไปอุทิศกับการบริหาร ธรรมได้มากขึ้น ถ้าสามารถจัดการวัดได้ดีทั้ง ๔๐,๐๐๐ วัด จะเป็นอาริยพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ (๕) ส่งเสริมยุทธศาสตร์สันติวิธี และสันติภาพ ขณะนี้โลกเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรง ตั้งแต่ความขัดแย้งในวงเล็ก เช่น ในครอบครัว ในองค์กร ในระหว่างพรรคการเมือง ระหว่างระบบเศรษฐกิจมหภาคกับ คนจนและชุมชน การสื่อสารด้วยความเกลียดชัง สงคราม การก่อการร้ายสากล การสะสม อาวุธนิวเคลียร์ การทําร้ายผู้บริสุทธิ์ การกราดยิงโดยไม่มีเหตุผล การระเบิดฆ่าตัวตายเพื่อ ฆ่าผู้บริสุทธิ์จํานวนมาก เพื่อการต่อสู้ทางอุดมการณ์ หรือต่อสู้กับการกดขี่ เป็นความ สุดโต่งของความขัดแย้งและความรุนแรง นี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งคือการทําร้ายตนเอง เพราะความหมดหวังและการไม่มีทางออก เช่น การฆ่าตัวตาย การติดยาเสพติด การติดยาแก้ปวด การตายจากการใช้ยาเกินขนาด เช่น คน อเมริกันติดยาแก้ปวดประมาณ ๑๐๐ ล้านคน และถึงแก่ความตายเพราะยาแก้ปวดตระกูล ฝิ่น (opiods) ประมาณ ๖๐,๐๐๐ - ๗๐,๐๐๐ คนต่อปี เป็นที่น่าสลดสังเวช นี้อีกอย่างหนึ่ง พุทธศาสนาเป็นศาสนาเพื่อสันติวิธีและสันติภาพ ควรจะเข้ามาทํางานเชิง ยุทธศาสตร์เรื่องสันติวิธีและสันติภาพ ที่ใช้คําว่ายุทธศาสตร์ในที่นี้ก็เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่อง ยากสุดๆ พระจะไปสอนแบบใจเย็นๆ ไว้นะโยม คงจะไม่ได้ผล แต่ต้องทําความเข้าใจ รากเหง้าของความขัดแย้งและความรุนแรง รวมทั้งกระบวนการที่จะคลายความรุนแรง ใน การนี้ต้องมีผู้ศึกษาเรื่องสันติวิธี และสันติภาพอย่างลึก จนเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ถ้ามหาวิทยาลัยพุทธทั้ง ๒ ทุ่มเท สร้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องสันติวิธีและสันติภาพระดับ โลกได้จะเป็นกุศลยิ่งนัก
  • 10. ๑๐  (๖) กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธกับการพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการโดยเอาชุมชน ท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน สร้างจากยอดไม่ได้เพราะจะพังลงๆ เนื่องจากไม่มี ฐานรองรับ ฐานของประเทศคือชุมชนท้องถิ่น ที่ผ่านมาประเทศไทยพัฒนาประดุจสร้าง พระเจดีย์จากยอด คืออะไรๆ ก็จะเอาแต่ข้างบน เศรษฐกิจเอาแต่ข้างบน การศึกษาก็จะ เอาข้างบน การเมืองก็สนใจแต่ระดับชาติ ปล่อยหรือส่งเสริมให้ข้างบนทําลายให้ข้างล่าง อ่อนแอและแตกสลาย เนื่องจากข้างล่างคือชุมชนท้องถิ่นครอบคลุมทุกตารางนิ้วของประเทศ เป็นระบบ การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ระหว่างคนกับคนและระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อม การอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสมดุลคือศีลธรรม ข้างล่างเป็นที่อยู่ของศีลธรรม ในขณะที่ข้างบนเป็นที่อยู่ ของอํานาจ เงิน ความเป็นทางการ และรูปแบบ มายาคติ รวมทั้งมีความฉ้อฉลสูง เมื่อฐาน พระเจดีย์หรือสังคมข้างล่างอ่อนแอล่มสลาย เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และศีลธรรม ก็ ล่มสลายด้วย ประเทศจึงวิกฤตและไม่พ้นวิกฤต ตราบที่ยังไม่สร้างพระเจดีย์จากฐาน การพัฒนาแบบสร้างพระเจดีย์จากฐาน คือการพัฒนาอย่างบูรณาการโดยเอา ชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง การพัฒนาอย่างบูรณาการ คือการพัฒนาทุกเรื่อง คือ เศรษฐกิจ - จิตใจ - สังคม - สิ่งแวดล้อม - วัฒนธรรม - สุขภาพ - การศึกษา - ประชาธิปไตย อย่างเชื่อมโยงอยู่ใน กันและกัน ไม่ใช่การพัฒนาแบบแยกส่วนอย่างทุกวันนี้ เช่น เศรษฐกิจก็เอาเงินเป็นตัวตั้ง การศึกษาก็เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ฯลฯ การพัฒนาแบบแยกส่วนจะนําไปสู่การเสียสมดุล และ สภาวะวิกฤตเสมอ การพัฒนาอย่างบูรณาการเพื่อนําไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล ในการนี้ต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เอากรมเป็นตัวตั้งไม่ได้ เพราะกรมนั้นตั้งขึ้นเป็น เรื่องๆ อย่างแยกส่วน เช่น กรมดิน กรมน้ํา กรมต้นไม้ ฯลฯ แยกกันเป็นกรมๆ ประเทศ ไทยพัฒนาโดยเอากรมเป็นตัวตั้ง จึงพัฒนาอย่างบูรณาการไม่ได้ การพัฒนาอย่างบูรณาการต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง พื้นที่คือชุมชนท้องถิ่น หมู่บ้าน เป็นชุมชนขนาดเล็ก หลายชุมชนรวมกันเป็นท้องถิ่น ตําบลคือท้องถิ่นขนาดเล็ก โดยเฉลี่ย ประกอบด้วย ๑๐ หมู่บ้าน จังหวัดเป็นท้องถิ่นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ย ประกอบด้วย ๑๐๐ ตําบล
  • 11. ๑๑  ในแต่ละจังหวัดควรมีการพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ โดยเอาชุมชนท้องถิ่นเป็น ตัวตั้ง โดยมีหน่วยของการพัฒนาคือ ๑ : ๑๐๐ : ๑,๐๐๐ สัมพันธ์กัน ดังนี้ โดยมีประชาคมจังหวัดเป็นเครื่องมือระดับจังหวัด ประชาคมตําบลเป็นเครื่องมือ ระดับตําบล สภาผู้นําชุมชน หรือองค์กรชุมชน เป็นเครื่องมือระดับหมู่บ้าน ทั้ง ๓ ระดับ ทํางานสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในทุกจังหวัดควรมี กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ อันประกอบด้วยทั้งพระและ ฆราวาสรวมตัวกัน ศึกษาและพัฒนาและเข้าร่วมในการพัฒนาอย่างบูรณาการในเรื่องต่างๆ ทั้งในระดับ หมู่บ้าน ระดับ ตําบล และระดับจังหวัด โดยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการ ปฎิบัติ (Interactive learning through action) ในสถานการณ์จริง โดยกลุ่มนําหลักการ ทางพุทธเข้าไปสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วม ในกระบวนนี้ทุกคนจะมีความสุขมาก เพราะมี ความเสมอภาค ภราดรภาพ และสามัคคีธรรม ทุกคนจะฉลาดขึ้น และเกิดปัญญาร่วม ทํา ให้ฝ่าความยากไปสู่ความสําเร็จ เมื่อเกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ ก็จะเกิดชุมชนแห่งความสุข ตําบลแห่งความสุข และ จังหวัดแห่งความสุข และในเมื่อทุกจังหวัดทําอย่างนี้ ทุกตําบลทําอย่างนี้ ทุกชุมชนทําอย่างนี้ ทั้งประเทศก็จะเกิดบูรณภาพและดุลภาพกลายเป็นประเทศแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล สังคมในอุดมคติของชาวพุทธคือสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล ซึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้จากการพัฒนาอย่างบูรณาการ ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฎิบัติใน สถานการณ์จริง รหัสการพัฒนาแบบพุทธ คือ ปัญญา - อิสรภาพ - การอยู่ร่วมกัน ช่วยให้เกิดการ เรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติและการพัฒนาอย่างบูรณาการได้ดีกว่า รหัสพัฒนาตะวันตก อันคือ ความรู้ - อํานาจ - โลภะ ที่เน้นความเก่งและการ แข่งขัน ซึ่งนําไปสู่โลกที่เสียสมดุลอย่างในปัจจุบัน (๗) การจัดประชุมสมัชชาพุทธศาสนากับการพัฒนา ควรมีการจัดประชุม สมัชชาพุทธศาสนากับการพัฒนา ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับชาติ และเฉพาะประเด็น เพื่อรวบรวมประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาต่อยอด และ พัฒนานโยบาย ในการนี้สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งมีประสบการณ์ มากกกว่าองค์กรอื่นอาจร่วมจัดด้วยได้ จังหวัด หมูบานตําบล ๑ ๑๐๐ ๑,๐๐๐
  • 12. ๑๒  (๘) การเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง เพื่อเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางสังคมด้วยสันติวิธี ทุกวันนี้การทําการส่วนใหญ่ เป็นการใช้อํานาจจากบนลงล่างที่เรียกว่า top down ทําให้เกิดโครงสร้างทางดิ่ง เป็นเสมือนแท่งอํานาจเป็นแท่งๆ ในโครงสร้างทางดิ่ง จะคับแคบ บีบคั้น มีความทุกข์มาก มีการเรียนรู้น้อย แต่มี พฤติกรรมเบี่ยงเบนมาก สังคมที่มีโครงสร้างทางดิ่งจะพัฒนาไปสู่สังคมสันติสุขได้ยาก พระพุทธศาสนาไม่นิยมการใช้อํานาจ แต่นิยมการเรียนรู้ เพื่อลดอหังการ และ มมังการ การพัฒนาแนวทางพุทธจึงเหมาะแก่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมจาก สังคมอํานาจไปสู่สังคมปัญญา “กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ” ที่กล่าวถึงตลอดมาในบทความนี้ กลุ่มศึกษา และพัฒนาแนวพุทธเกิดจากการรวมตัวกันของพระและฆราวาสอย่างไม่เป็นทางการเป็น กลุ่มๆ กลุ่มละประมาณ ๑๐ รูป / คน ที่เน้นความไม่เป็นทางการก็เพราะ อะไรที่เป็นทางการจะเน้นที่รูปแบบ ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ และเป็นแนวดิ่ง ความไม่เป็นทางการทําให้มีความคล่องตัว แต่ไม่เป็น ปฏิปักษ์ต่อความเป็นทางการหรือต่อใคร เน้นที่ความสุภาพและเคารพคนอื่น และ สัมพันธภาพด้วยการเรียนรู้ นั่นเป็นลักษณะของแนวทางพุทธ การไม่ยุ่งเรื่องอํานาจและ ความไม่เป็นปฏิปักษ์ ทําให้ทุกรูปทุกคนมีความสะดวกใจและสบายใจที่จะรวมตัวร่วมคิด ร่วมทํา แท้ที่จริงอปริหานิยธรรม หรือธรรมะเพื่อความเจริญถ่ายเดียวที่พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนเป็นอันมากเมื่อประทับบนเขาคิชฌกูฏเป็นครั้งสุดท้าย ก็คือธรรมะแห่งการรวมตัว ร่วมคิดร่วมทํานั่นเอง การเมือง ราชการ การศึกษา ธุรกิจ ศาสนา โครงสรางทางดิ่ง หรือแทงอํานาจ
  • 13. ๑๓  ที่ว่ากลุ่มละประมาณ ๑๐ รูป / คนนั้น เพราะจํานวนนี้พอเหมาะที่จะรู้จักกันอย่างทั่วถึงและมี จริตร่วมกันอย่างง่ายกลุ่ม๑๐จึงเป็นกลุ่มที่มีความสุขและสร้างสรรค์ถ้ารู้จักกันไม่ทั่วถึงก็ขาดพลังร่วม กองทัพเจงกิสข่านที่เกรียงไกรนั้นจัดกองกําลังเป็นกลุ่มละ๑๐ กลุ่ม๑๐ สิบกลุ่มเป็น กลุ่มร้อย กลุ่มร้อย ๑๐กลุ่ม เป็นกลุ่มพัน... ทหารของเขาไม่รู้หนังสือแต่สามารถสื่อสารรู้ถึง กันหมด จึงผนึกกันเป็นกองทัพที่เกรียงไกร ชนะไปเกือบครึ่งโลก “กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ” ซึ่งอาจจะประกอบด้วยพระล้วนๆ หรือฆราวาส ล้วนๆ หรือร่วมกันก็ได้ จะเป็นกลุ่มที่มีความสุขและสร้างสรรค์อย่างยิ่ง เพราะร่วมกันศึกษา และพัฒนาเรื่องดีๆ ที่กลุ่มสนใจ อย่างหลากหลาย และมีการเชื่อมโยง เป็นเครือข่ายระหว่าง บุคคลและกลุ่ม เมื่อกลุ่มและเครือข่ายเกิดมากขึ้นๆ สังคมก็จะเปลี่ยนโครงสร้างจากสังคม ทางดิ่งหรือสัมพันธภาพเชิงอํานาจ ไปเป็น สังคมเครือข่ายคล้ายสมอง ที่สัมพันธ์กันด้วย ความเสมอภาค ภราดรภาพ และกัลยาณมิตรธรรม หรือสังคมเรียนรู้ ตามรูปข้างล่าง สมองเป็นโครงสร้างที่วิจิตรที่สุดในจักรวาล และมีศักยภาพในการเรียนรู้สูงมาก สังคมเครือข่ายคล้ายสมองก็เช่นเดียวกัน จะเป็นสังคมเรียนรู้ที่ขยายตัวขึ้นและเพิ่ม คุณภาพขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการนี้ง่ายกว่าและมีความสุขกว่างานทางการเมือง เพราะ การเมืองเป็นเรื่องอํานาจ แบ่งพรรคแบ่งพวก แย่งชิง มีความแตกแยก และบางครั้งก็ รุนแรง คนจึงร่วมด้วยได้น้อย แต่กระบวนการพัฒนาแนวพุทธที่กล่าวข้างต้น ใครๆ ก็ร่วม ด้วยได้ เพราะไม่เกี่ยวกับการเมืองเรื่องอํานาจ แต่เกี่ยวกับไมตรีจิตและการพัฒนา ฉะนั้น ถ้าชาวพุทธช่วยกันทําความเข้าใจ การพัฒนาแนวพุทธดังกล่าวเกิดขึ้นไม่ยาก และต้องขอย้ําอีกครั้งว่าพุทธธรรม เป็นธรรมที่เป็นกลางตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสร้างขึ้นแต่ทรงค้นพบ ฉะนั้นใครๆ ก็มีสิทธิที่จะค้นพบ ไม่ว่าจะ เรียกว่าพุทธหรือไม่ก็ตาม ธรรมจึงเป็นสากลที่สามารถร่วมกันได้ทั้งหมด สังคมเครือขายคลายสมอง = กลุมศึกษาและพัฒนาแนวพุทธ
  • 14. ๑๔  สรุป ๑. ขณะนี้การพัฒนาตามอารยธรรมตะวันตก กําลังนําไปสู่การเสียสมดุลอย่างรุนแรง ทั้งในตัว มนุษย์เอง ทางสังคม และทางสิ่งแวดล้อม จึงขัดแย้งรุนแรง และไม่ยั่งยืน ควรมีกระบวน ทัศน์ใหม่ในการพัฒนา ๒. กระบวนทัศน์พุทธเหมาะกับประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีพื้นฐานทางพุทธ และพุทธ ธรรมก็เป็นภูมิปัญญาสูงสุดเพื่อการพัฒนา ๓. รหัสพัฒนาตามแนวทางตะวันตก กับแนวทางพุทธแตกต่างกัน รหัสพัฒนาตามแนวทางตะวันตก คือ “ความรู้ - อํานาจ - โลภะ” รหัสพัฒนาตามแนวทางพุทธ คือ “ปัญญา - อิสรภาพ - การอยู่ร่วมกัน” ๔. เป้าหมายการพัฒนาแนวพุทธคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล เครื่องมือการพัฒนาคือการศึกษาหรือการเรียนรู้ แต่การศึกษาแนวพุทธต่างจากแนว ตะวันตก แนวตะวันตกเป็นการแยกส่วนจากชีวิต เอาวิชาเป็นตัวตั้ง โดยเน้นความเก่งเพื่อไป แข่งขัน อันนําไปสู่การเสียสมดุล แต่การศึกษาแนวพุทธเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง เพื่อปัญญา อิสรภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุล ๕. ควรคิดถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวพุทธ ไม่ใช่แบบบรรยายไปเรื่อยๆ (descriptive) การ ทํางานเชิงยุทธศาสตร์ หมายถึงการคํานึงถึงสถานการณ์ความเป็นจริงซึ่งรวมถึงข้ออุปสรรค ขัดข้อง และหาแนวทางใหญ่ๆ ที่จะเอาชนะหรือทําให้สําเร็จ ๖. ชาวพุทธทั้งพระและฆราวาสควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวพุทธ พบปะ กันสม่ําเสมอเพื่อเป็นคลังสมอง (Think Tank) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ๗. เรื่องใหญ่ๆ ที่อาจขับเคลื่อน อาจมีดังต่อไปนี้ (๑) การสื่อสารเพื่อสร้างความสุขฉับพลัน (Instant Happiness) ซึ่งรวมถึงการทํา ภาพยนต์ เรื่องนี้ที่ผู้คนอยากดูชมทั่วโลก (๒) สร้างผู้เชี่ยวชาญชีวิต ที่สามารถพลิกทุกข์เป็นสุขจํานวนมาก (๓) ส่งเสริมการเจริญสติสําหรับคนทั้งมวล (๔) ส่งเสริมการจัดการให้วัดเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา (๕) ส่งเสริมยุทธศาสตร์สันติวิธีและสันติภาพ
  • 15. ๑๕  (๖) กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธกับการพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ โดยเอาชุมชน ท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง (๗) การจัดประชุมสมัชชาพุทธศาสนากับการพัฒนา (๘) การเปิดพื้นที่ทางสังคมและทางปัญญาอย่างกว้างขวาง เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทางสังคม จากสังคมแนวดิ่ง ป็นสังคมเครือข่ายคล้ายสมอง กลุ่มศึกษาและพัฒนาแนวพุทธอันหลากหลาย ทํางานในประเด็นต่างๆ อย่างเชื่อมโยงกัน ทั้งประเทศ โดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันในการปฎิบัติ (Interactive learning through action) ใน สถานการณ์จริงเป็นเครื่องมือ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) อัน ก่อให้เกิดปัญญา อิสรภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมดุลอันเป็นอุดมคติทางพุทธ -----------------------------------------------