SlideShare a Scribd company logo
1 of 27
Download to read offline
จัดทาโดย
นายอวิรุทธ์ อินอุ่นโชติ เลขที่ 7
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
เสนอ
คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี
จัดทาโดย
นายอวิรุทธ์ อินอุ่นโชติ เลขที่ 7
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
เสนอ
คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี
ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ไม่ปรากฏวันเดือนปีเกิด)
ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจารัชกาลที่ 4 แห่งสมัย
รัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการ
เขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล นับเป็นศิลปิน
ก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดาเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้า
ด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยา
ดารงราชานุภาพทรงยกย่องว่า ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัย
นั้น
ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับ
พุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราว
เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งหลุดพ้นมาเป็นงานในรูปแบบ
ปริศนาธรรม ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวคือการ วาดภาพธรรมชาติ
โดยเฉพาะต้นไม้และการควบคุมอารมณ์ของสีในภาพให้มีความกลมกลืน
และ เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพปริศนาธรรมที่
ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส
ชีวิตในวัยเด็กของขรัวอินโข่งไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด รวมทั้งปีที่เกิด
ทราบเพียงว่าขรัวอินโข่งเกิดที่ตาบลบางจาน อาเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชื่อเดิมว่า "อิน" เดินทางเข้ามาบวชเป็นสามเณรที่
กรุงเทพฯ แม้อายุเกินมากแล้วก็ยังไม่ยอมบวชพระจนถูกล้อเป็นเณรโค่ง
แต่ในที่สุดสามเณรอินจึงได้ยอมบวชเป็นพระที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)
ชื่อจึงสันนิษฐานกันว่ามาจากการถูกเรียกล้อว่า “อินโค่ง”
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรง
อธิบายว่า “โค่ง” กับ “โข่ง” แปลว่า “ใหญ่” ต่อมาโค่งเพี้ยนเป็น “โข่ง” จึง
เรียกกันว่า “อินโข่ง” ส่วนคาว่า “ขรัว” ได้มาหลังจาก “พระอินโข่ง” มี
พรรษาและทรงความรู้มากขึ้นจึงได้รับการเคารพนับถือเป็นพระอาจารย์
ซึ่งเจ้านายสมัยนั้นนิยมเรียกว่า “ขรัว” คนทั่วไปจึงเรียกพระภิกษุอินว่า
“ขรัวอินโข่ง” ถึงปัจจุบัน
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าขรัวอินโข่งเรียนการเขียนภาพอย่างเป็นงาน
เป็นการจากที่ใดและเมื่อใด โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยหนุ่ม เข้าใจกันว่า
อาศัยการมีพรสวรรค์และได้อาจได้หัดเขียนภาพแบบไทยกับช่างเขียนบาง
คนในสมัยนั้นจนเกิดความชานาญขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวดติวงศ์ทรงเล่าว่า ขรัวอินโข่งเป็นพระที่ชอบเก็บตัว
ไม่ค่อยยอมรับแขก มักชอบปิดกุฏิใส่กุญแจให้คนเห็นว่าไม่อยู่เพื่อใช้เวลา
ที่สงบทาสมาธิวางแนวเรื่องเพื่อใช้สาหรับเขียนภาพฝาผนังโบสถ์วิหารซึ่ง
ในสมัยแรกๆ ยังคงเป็นภาพปริศนาธรรมแบบไทย
จากการสันนิษฐานเช่นเดียวกันว่า อิทธิพลของตะวันตกที่เริ่มหลั่งไหลเข้า
มามากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จึงมีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเป็นแบบ
ตะวันตกมากขึ้นทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาการ ซึ่งรวมถึงรูปแบบศิลปะ
แบบตะวันตกจากทั้งยุโรปและอเมริกา เชื่อกันว่าขรัวอินโข่งเป็นศิลปินที่มี
ความคิดสร้างสรรค์ที่แหวกแนวจากรูปแบบประเพณีเดิมอยู่แล้ว จึงกล้ารับ
เทคนิคแบบตะวันตกมาประยุกต์ด้วยตนเอง
อย่างไรก็ดี ในระยะแรก ขรัวอินโข่งยังคงเขียนภาพจิตรกรรมไทยเป็นแบบ
ดั้งเดิม โดยเขียนภาพเกี่ยวกับชาดกและพระพุทธศาสนาเป็นภาพแบบ 2
มิติ เช่น ภาพยักษ์หน้าลิง ภาพวาดที่วัดมหาสมณารามและหอราชกรมานุ
สร
สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ ตรัสเล่าประทานหม่อมราชวงศ์สุมน
ชาติ สวัสดิกุลว่า "…เป็นช่างเขียนไทยคนแรกที่มีความรู้ไม่แต่เขียนได้ตาม
แบบโบราณเท่านั้น ยังเขียนได้ตามแบบฝรั่งสมัยใหม่ได้ด้วย เป็นการ
แสดงความก้าวหน้าในทางเขียนรูปของไทย รูปภาพต่าง ๆ ที่ขรัวอินโข่ง
เขียนนั้นมีเงา เป็นการเขียนที่มีชีวิตจิตใจผิดกับนักเขียนไทยคนอื่นๆ เคย
โปรดฯ ให้เขียนรูปต่างๆ เป็นฝรั่งๆ ไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารรูป
พวกนี้เป็นพวกแรกๆ ของขรัวอินโข่ง ต่อมาเขียนรูปพระนเรศวรชนช้างไว้
ในหอราชกรมานุสรหลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามฝีมือดีนัก "
(จากบทวรรณคดี ฉบับพฤศจิกายน 2495)
นอกจากนี้พระองค์ยังได้กล่าวถึงเทคนิคการเขียนภาพของขรัวอินโข่งว่า
"...ท่านเป็นช่างเขียนไทยที่คิดค้นหาวิธีเขียนภาพ
ให้มีชีวิตจิตใจ เขียนได้เหมือนของจริงและนิยม
ใช้สีหม่น ๆ เช่น สีน้าเงินปนเขียวเขียน ซึ่งถ้ามิได้
เป็นช่างฝีมือดีจริงแล้วก็หาอาจทาให้ภาพงดงามได้ด้วยสี 2 สีนี้ไม่และเป็น
คนแรกที่ได้เริ่มนาคตินิยมอันนี้มาเป็นศิลปะของไทย สมเด็จเจ้าฟ้ากรม
พระยานริศฯ ตรัสไว้ว่า "ความนิยมเขียนอย่างฝรั่งนั้น พระอาจารย์อินโข่ง
เป็นผู้นาขึ้นในรัชกาลที่ 4" (จากวารสารศิลปากรปีที่ 6 เล่ม 7 หน้า 55)
เพราะฉะนั้นจึงนับว่าพระอาจารย์อินโข่งเป็นจิตรกรเอกผู้หนึ่ง
น. ณ ปากน้า กล่าวถึงงานของขรัวอินโข่งว่า
"....ภาพต่าง ๆ ของขรัวอินโข่งเขียนไว้นุ่นนวล มี
ระยะใกล้ไกลถูกหลักเกณฑ์ทุกอย่างทั้งๆ ที่ขรัวอินโข่งไม่เคยเห็นภาพตัว
จริงของฝรั่งเลย นอกจากมโนภาพที่ฝันไปเท่านั้น เป็นประจักษ์พยานว่า
แม้คนไทยจะหันมาเขียนภาพเรียลลิสม์ (Realism) แบบฝรั่งก็สามารถเขียน
ได้ดีอย่างไม่มีที่ติ และไม่แพ้เขาเลย...."
อิทธิพลสาคัญอีกประการหนึ่งอาจเกิดจากความคุ้นเคยของขรัวอินโข่งที่มี
อยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดารงพระยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎระหว่างผนวชที่วัดราชาธิวาสวร
วิหาร สืบเนื่องจากการที่ได้ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังจนได้
ทรงตั้งธรรมยุตินิกายขึ้น ได้ทรงคิดแนวเรื่องปริศนาธรรมขึ้นแล้วโปรด
เกล้าให้ขรัวอินโข่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบ
อิทธิพลภาพเขียนแบบตะวันตกเชื่อกันว่าได้มาจากภาพพิมพ์ที่หมอสอน
ศาสนาหรือมิชชันนารีนามาจากต่างประเทศ รวมทั้งภาพของยุโรปที่ส่งมา
จาหน่ายแพร่หลายในเมืองไทยในสมัยนั้น ขรัวอินโข่งได้นามาพัฒนาและ
ประยุกต์ในงานจิตรกรรมไทยเป็นภาพทิวทัศน์แบบตะวันตกโดยใช้ตัว
ละครและสถานที่แบบตะวันตก เช่น ภาพปริศนาธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร
และวัดบรมนิวาส
งานจิตรกรรมไทยของขรัวอินโข่งในช่วงแรกยังคงเป็นแบบไทยดั้งเดิมดัง
ได้กล่าวมาแล้ว ในระยะหลังแม้จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมและศิลปะ
ตะวันตกโดยเฉพาะด้านการเขียนภาพหรือจิตรกรรม ซึ่งใช้วิธีการเขียน
ภาพแบบตะวันตกที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติทาให้เห็นภาพมี
ความลึกได้รับแสงไม่เท่ากันตามจริง แต่ภาพไทยที่เขียนแบบตะวันตกของ
ขรัวอินโข่งก็ยังคงลักษณะไทยไว้ได้โดยยังคงแสดงลักษณะท่าทางและ
ความอ่อนช้อยที่เน้นท่าพิเศษแบบไทยดังปรากฏในภาพเขียนแบบไทย
นอกจากนั้น น. ณ ปากน้าก็ยังได้อธิบายเปรียบเทียบงานของขรัวอินโข่ง
กับช่างเขียนมีชื่อชาวตะวันตกไว้อย่างน่า สนใจว่า
"....ภาพหนึ่งเป็นภาพชีวิตในหมู่บ้าน ผู้คนกาลังตักบาตรในตอนเช้า ไกล
ออกไปมีกระท่อม ซึ่งปลูกบนเนินใต้ต้นไม้ กลางทุ่งที่เจิ่งไปด้วยน้า แสดง
ถึงชีวิตที่สงบสันติ ชาวนาที่ขยันขันแข็งกาลังไถนาอยู่ นับว่าเป็นชีวิตที่
ผาสุกน่าชื่นชม ถัดหมู่บ้านนี้ไปไม่ไกลนักมีอีกหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งในภาพ
แสดงให้เห็นความชุลมุนวุ่นวาย มีคนกลุ่มหนึ่งกาลังรุมตีกัน และบางคนก็
ไล่ตีพระซึ่งวิ่งหนีทิ้งตาลปัตร ล้มลุกคลุกคลานการเขียนด้วยวิธีนี้ทาให้นึก
ถึง ยอชโต ศิลปินของอิตาลี ซึ่งเน้นถึงปรัชญาของชีวิต เปรียบให้เห็น
ความดี ความเลว ให้เป็นคติธรรมที่ดีแก่คน ทั่ว ๆ ไป..."
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เรื่องเดียวกัน
กล่าวถึงลักษณะเฉพาะในการเขียนภาพของขรัวอินโข่งไว้เช่นเดียวกันว่า
“......ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรหัวก้าวหน้า ผู้พัฒนาแนวทางจิตรกรรมไทย
แบบประเพณี สร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังในแนวความคิดใหม่ โดย
นาเอารูปแบบจิตรกรรมตะวันตกที่เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ ผู้คน การ
แต่งกาย ตึกรามบ้านเมือง ทิวทัศน์ การใช้สี แสงเงา บรรยากาศที่ให้
ความรู้สึกในระยะและความลึกมาใช้อย่างสอดคล้องกับเรื่องที่ได้
แสดงออกเกี่ยวกับคติและปริศนาธรรม...”
กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งผนวชที่วัด
ราชาธิวาสวรวิหาร ได้ทรงคิดแนวเรื่องปริศนาธรรมขึ้นแล้วโปรดเกล้าให้
ขรัวอินโข่งเป็นผู้เขียนภาพประกอบดังกล่าว พิสิฐ เจริญวงศ์ กล่าวถึงภาพ
ปริศนาธรรมของขรัวอินโข่งไว้ในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยเล่ม 2
ของราชบัณฑิตยสถาน (2545) ไว้ว่า
“ภาพปริศนาธรรมเป็นภาพที่คนชมต้องใช้ความคิดแปลความหมายให้
ออก ไม่เหมือนภาพพุทธประวัติหรือชาดกต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชน
ส่วนมากเข้าใจเรื่องอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ภาพวาดบนผนังเหนือประตู
หน้าต่างในพระอุโบสถวัดวัดบวรนิเวศวิหารทั้ง 16 ตอน ตอนแข่งม้าซึ่ง
แสดงอาคารในสนามแบบตะวันตก รวมทั้งผู้ชมและผู้ขี่เป็นชาวตะวันตก
หมายถึงพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นสารถีที่สามารถ เปรียบพระธรรมดังอุบาย
ที่ใชฝึกม้า และพระสงฆ์เป็นเสมือนมาที่ฝึกมาดีแล้ว”
ขรัวอินโข่งมีผลงานมากมาย แต่ยังไม่ปรากฏโดยชัดเจนว่ามีผู้ใด้จัดรวม
รวมเป็นเอกสารไว้อย่างเป็นระบบมีหมายเลขกากับเฉพาะและครบถ้วน
พิสิฐ (2545) กล่าวไว้ว่ามีบันทึกผลงานเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานได้แก่
 ภาพที่เก็บรักษาไว้ที่ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ
 ในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน
 ต้นร่างสมุดภาพ เป็นสมุดไทยสีขาว 2 เล่มเก็บรักษาไว้
 ในห้องเลขที่ 15 (มุขท้ายพระที่นั่งพรหเมศรธาดา)
 ภาพเขียนคือพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 หนึ่งภาพ
 ภาพพระบฏมหาชาติ (เขียนค้าง) 5 ภาพ
 ภาพเรื่องพระอภัยมณีตอนศรีสุวรรณชมสวน 1 ภาพ
 พิพิธภัณฑ์หอศิลปแห่งชาติ
 ภาพวาดสีฝุ่น 5 ภาพ
 ภาพวาดในพระอุโบสถวัดบวรวิหาร
 ภาพวาดที่เสาและภาพวาดเหนือช่องหน้าต่าง เป็นภาพปริศนาธรรม
ส่วนภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจวัตรของ
พระสงฆ์ หรือเทศกาลงานบุญเนื่องในพุทธศาสนา ที่เสาพระอุโบสถ
ซึ่งระบายพื้นเสาเป็นสีต่าง ๆ แสดงปริศนาธรรม อันเปรียบด้วยน้าใจ
คน 6 ประเภทที่เรียก ฉฬาภิชาติ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
 ภาพเขียนประกอบสุภาษิตคาพังเพยในพระอุโบสถ ทางซ้ายมือเป็น
ภาพเขียนเรื่อง อลีนวิตชาดก (เรื่องพระยาเผือก) และภาพสุภาษิตต่าง ๆ
ที่บานหน้าต่างพระอุโบสถ
 ภาพวาดพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในหอราชกรมานุสรและหอ
ราชพงศานุสร (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นหอพระขนาบพระ
อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ข้างละห้อง หอพระหลังนี้เป็นหลัง
ข้างเหนือ เป็นที่ไว้พระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งทรงพระราชอุทิศถวาย
พระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า
 ภาพวาดในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
 ภาพวาดในพระอุโบสถวัดมหาสมณาราม เพชรบุรีเมื่อรัชกาลที่ 4
โปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดมหาสมณารามแล้ว ก็โปรดฯ ให้ขรัวอินโข่ง
วาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง นับเป็นภาพวาดแห่งเดียวในเมืองเพชรบุรี
ภาพการไปนมัสการพระพุทธบาท
 ภาพการไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ทางพุทธศาสนา
 ภาพนมัสการพระปฐมเจดีย์
 ภาพนมัสการพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
 ภาพพระนครคีรี เพชรบุรี
 ภาพพระพุทธโฆษาจารย์แปลคัมภีร์ที่ลังกาและ
 ภาพทวารบาลในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
 ภาพผนังและภาพเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพปริศนาธรรม
 ภาพวาดระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพประเพณีทางพุทธศาสนาของคน
ไทย
 ภาพวาดที่มณฑปพระพุทธบาท วัดพระงามอยุธยา ภาพส่วนใหญ่ ณ
ที่นี้ มีลักษณะเป็นภาพไทยผสมเทคนิคการเขียนธรรมชาติแบบยุโรป
ซึ่งเป็นภาพอันให้อารมณ์ประทับใจ (งานชิ้นเยี่ยมที่สุดชิ้นหนึ่งของ
จิตรกรขรัวอินโข่ง)
 เรื่องพุทธประวัติบนผนังภายในมณฑปเหนือซุ้มโค้ง
โดยปกติแล้ว ขรัวอินโข่งผู้เป็นจิตกรคนสาคัญแห่งยุคย่อมต้องมีลูก
ศิษย์ที่เป็นลูกมือช่วยวาดภาพเป็นจานวนไม่น้อย จึงสันนิษฐานว่าขรัวอิน
โข่งน่าจะมีศิษย์จานวนมาก แต่ที่ได้เป็นจิตรกรมีชื่อเสียงเด่นได้รับการ
บันทึกไว้มีคนเดียว คือ
พระครูกสิณสังวร วัดทองนพคุณ
ไม่มีผู้ใดทราบว่าชีวิตในบั้นปลายของขรัวอินโข่งเป็นอย่างไร และวัน
มรณภาพเป็นวันเดือนปีใด เมื่ออายุเท่าใดและโดยสาเหตุใด แต่เชื่อกันว่า
ครองสมณเพศตลอดชีวิต แต่เชื่อแน่ว่ามรณภาพในสมัยรัชกาลที่ 4
เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับชีวิตและงานของขรัวอินโข่งเลย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่หวังว่างานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับศิลปินคนสาคัญยิ่ง
ท่านหนึ่งของชาติในภายหน้าอาจให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ได้
 http://th.wikipedia.org/wiki

More Related Content

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุดงานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุดSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุดงานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
งานกลางภาค นางสาวอภิชญา บุญโกมุด
 
ส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนตส่งPptขึ้นเนต
ส่งPptขึ้นเนต
 
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจรจอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร
 

ประวัติ ขรัวอินโข่ง แก้ไขเสร็จ