SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
1
โลกและไทยเข้าสู่การเป็นนคราภิวัตน์
ท่านผู้มีเกียรติ ช่วง 3-4 ปีมานี้ โลกของเราเป็น “เมือง” มากกว่า “ชนบท” แล้ว เวลานี้ประชากร
ทั้งโลกที่อยู่ในเขตเมืองมากกว่าที่อยู่ในเขตชนบทแล้ว เป็นเวลาหลายพันปี หรืออาจจะเป็นหมื่นปีมาแล้ว
เริ่มตั้งแต่มีเมืองกับมีชนบทเกิดขึ้นด้วยกัน ตลอดเวลาเป็นหมื่นปีหรือหลายพันปีนี้ ชนบทมีประชากร
มากกว่าเมือง คาว่าเมืองในที่นี้ นับตั้งแต่เมืองใหญ่ เมืองกรุง นคร หรือเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็กก็
นับเป็นเมือง ซึ่งเคยมีประชากรน้อยกว่าชนบท แต่ 3-4 ปีมานี้เป็นครั้งแรกในโลกที่ประชากรในเมือง
มากกว่าในชนบทแล้ว ในไทยขณะนี้ เมืองกับชนบทก็น่าจะมีประชากรเท่าๆ กัน ที่ว่าเท่าๆ กัน ผมนับ
จากประชากรที่อยู่ใน กรุงเทพฯ อยู่ในเทศบาลนคร และอยู่ในเทศบาลเมือง กับประชากรที่อยู่ใน อบต.
อยู่ในเทศบาลตาบล จานวนใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริง เทศบาลตาบลและ อบต. ราวครึ่งหนึ่งก็อยู่กันแบบ
เป็นเมืองแล้ว ที่ว่าเป็นเมืองก็คือมีถนน มีไฟฟ้า มีน้าประปา มีค้าขาย มีโรงเรียน มีคนจบปริญญาตรี
อย่างน้อยที่สุดที่ละคน สาหรับท่านที่นับตัวชี้วัดที่ไม่เป็นทางการ เช่น เซเว่นอีเลเว่นที่หลายคนใช้อยู่
อบต. และเทศบาลตาบลเหล่านี้น่าจะมีสักครึ่งหนึ่ง คิดเป็นประมาณอีก 25 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น
อาจจะกล่าวได้ว่าประชากรเมืองของเรา เป็นจานวนประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของประเทศก็ว่าได้ และ
ตาบลและหมู่บ้านที่เรายังไม่เต็มใจที่จะเรียกว่าเมืองก็ไม่ใช่ชนบทอย่างเดิมแล้ว ไม่มีชนบทที่ล้าหลัง ไกล
ปืนเที่ยง ที่ผู้คนยังยากจนหรือยังเรียนหนังสือน้อยมากๆ เป็นเพียงที่อยู่ของคนชรากับเด็ก เวลานี้พื้นที่
แบบนี้มันน้อยลงไปเรื่อยๆ ถึงในชนบทที่มีคนเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ คนส่วนใหญ่ก็เป็น
ผู้ประกอบการหรือเป็นชนชั้นกลาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่มั่งมี หมิ่นเหม่อยู่ระหว่างยากจนกับพอเลี้ยง
ตัวเองได้ เป็นชนชั้นกลางระดับล่าง ในชนบทนั้นแทบไม่มีใครที่ไม่ทามาหากินจากการเกษตรโดยที่ไม่
รับจ้างเลย มีน้อยมากๆ สรุปคือประเทศไทยขณะนี้เป็นประเทศเมืองไปแล้ว เป็นอะไรที่เราไม่เคยเป็นมา
ก่อน เราเกิดมาเรามีชีวิตอยู่ เราแก่ในประเทศไทยที่ชนบทเป็นหลัก เป็นประเทศที่มีชนบทเป็นหลัก มี
เมืองไม่มากนัก มีเมือง จังหวัดไม่ใหญ่ เมืองใหญ่มีที่เดียวคือกรุงเทพ แต่ชนบทในไทยเวลานี้ก็ยังมี ยัง
เป็นพื้นฐานของสังคมไทยและยังสาคัญ เรายังต้องดูแลชนบท ผมขอย้า
1
ถอดความจาก ปาถกฐาเรื่อง นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ในงานเสวนา " เมือง กิน คน: นคราภิวัตน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะ
ของคนเมืองใหญ่” ที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 31 ตุลาคม 2560
2
กระบวนการการเกิดนคราภิวัตน์ในประเทศไทย
ประเทศไทยเวลานี้ผมคิดว่ามีกระบวนการที่ผมเรียกว่า “นคราภิวัตน์” คือ กาลังกลายเป็นเมือง
กาลังกลายเป็นนคร กาลังกลายเป็นมหานครที่เข้มข้นขึ้น หวังว่าจะประณีตขึ้น หวังว่าจะสวยงามขึ้น
หวังว่าจะประสานระหว่างใหม่-เก่าให้มากขึ้น หวังว่าจะประสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตกให้มากขึ้น
การปฏิรูปหรือการพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงของประเทศโดยเน้นแต่ประเทศ เน้นแต่ชาติ เน้นแต่
เศรษฐกิจรวมของประเทศอย่างเดียวน่าจะไม่พอ อันนี้คือความเคยชินเดิมของเรา เราจะต้องสนใจ
นคราภิวัตน์ให้มากขึ้นจากนี้ไป
นคราภิวัตน์ที่ผมพูดถึง อาจจะย้อนหลังไปเมื่อร้อยปีที่แล้วก็ได้ เมื่อเรานาประเทศเข้าสู่ความ
“อารยะ” มีเมืองเป็นศูนย์กลาง หรือหน่วยการปกครองในการบริหารประเทศ ต่อมาเมืองขยายตัวเพราะ
การซื้อขายสินค้าเกษตร เมืองกลายเป็นโกดัง เป็นร้านค้ารับซื้อ รับขายสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ไม้
ยางพารา ดีบุก เป็นต้น ต่อมายังขยายตัวอีกเพราะอุตสาหกรรม นี่เป็นเมืองในยุคที่ผมเติบโตขึ้นมา
กรุงเทพ ชลบุรี นครปฐม เติบโตจากภาคอุตสาหกรรมด้วย ภาคตะวันออก ภาคกลาง ใกล้ๆ ปริมณฑลก็
เติบโตด้วยภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ต่อมาอีกระยะหนึ่งนคราภิวัตน์ ขยับต่อไปอีก เพราะเกิดการ
ท่องเที่ยว เมืองหลายเมืองโตขึ้นมาเพราะการท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต สมุย พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย
ต่อมาคือเมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมา นคราภิวัตน์ เกิดคู่กับการกระจายอานาจการพัฒนาการปกครองส่วน
ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทอย่างมากในการปรับปรุงเมือง ผมอยากจะบอกด้วยว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องของชนบทเป็นหลัก แม้จะชื่อเรียกว่าเทศบาลตาบล แม้จะ
ชื่อว่า อบต. ก็ตาม ผมคิดว่าองค์กรการปกครองท้องถิ่น (อปท.) คือการทางานเมืองเป็นหลัก คนทาจะ
เข้าใจ หรือตระหนัก คิดเรื่องนคราภิวัตน์แค่ไหนยังบอกเต็มที่ไม่ได้ และล่าสุดนี้ผมคิดว่ากระแส
นคราภิวัตน์เกิดจากกระแสการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งผมได้พูดเอาไว้ช่วงต้นที่เกิดเมื่อ 10 -20 ปีที่ผ่านมา
ถ้าเทียบการท่องเที่ยวกับอาหาร ตอนนี้คงกลายเป็นอาหารจานหลักแล้วของเศรษฐกิจไทย ไม่ใช่เป็น
ของหวาน เศรษฐกิจไทยเวลานี้ รายได้ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นรายได้จากการท่องเที่ยว 8 เปอร์เซ็นต์ มา
จากภาคเกษตร 30 เปอร์เซ็นต์มาจากภาคอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่าภาคการท่องเที่ยวเป็นภาคที่
ใหญ่มาก ทาให้เราเกิดสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่าเมืองระดับโลก หรือ Global City อย่างน้อยที่สุดสักผมคิดว่า
เมืองไทยมีสัก 3-4 เมือง เช่น เมืองกรุงเทพ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่
เมืองของเราทั้งหมดรับแขกต่างประเทศปีละหลายสิบล้าน เมืองของเราโดยเฉพาะกรุงเทพ
รับแขกจากต่างประเทศปีละ 20 ล้าน กรุงเทพฯ เป็นนครที่มีคนเดินทางมาจากต่างประเทศมากที่สุดใน
โลก มากกว่าลอนดอน มากกว่า นิวยอร์ก มากกว่าสิงคโปร์ มากกว่าโตเกียว มากกว่าวอชิงตัน ดี.ซี แต่
ไม่ใช่มีแต่กรุงเทพ เรายังมีเมืองภูเก็ต และเมืองพัทยาซึ่งเป็นหนึ่งใน 25 เมืองที่สาคัญที่สุดของเอเชีย
3
แปซิฟิก อยู่ประมาณลาดับที่ 9 - 13 เป็นสองเมืองของ 25 เมืองแรกสุดของเอเชียและแปซิฟิกที่คน
ต่างประเทศเดินทางมามากที่สุด ส่วนเชียงใหม่ผมคิดว่าไม่ติดอยู่ใน 25 เมืองแรกของเอเชียแปซิฟิกก็
จริง แต่คงไม่เกินที่ 30 ผมก็จะอนุโลมเรียกเชียงใหม่เป็น Global City
ทบทวนการบริหารเมือง นคร มหานครของไทย : เมืองพัถนาจากส่วนกลาง
ท่านผู้มีเกียรติ เรามาดูวิธีที่เราบริหารเมือง นคร และมหานคร ที่เราคาดไม่ถึงว่าเราจะมี
นคราภิวัตน์ที่เบ่งบานขนาดนี้ มันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยที่เราคาดไม่ถึง เราไม่ได้วางแผน เรา
ไม่ได้ทามันอย่างเป็นระบบดีมากนัก เช่น ถ้าถามว่าหน่วยงานไหนของราชการที่สร้างเมืองมากที่สุด ผม
คิดว่าน่าจะกรมทางหลวงและน่าจะเป็นการรถไฟ น่าจะเป็นการท่าอากาศยาน น่าจะเป็นมหาวิทยาลัย
น่าจะเป็นนักท่องเที่ยว คือเมืองมันเกิดของมันเอง มันไม่ได้มีหน่วยงานไหน ไม่ได้มีกระทรวงเมือง ไม่ได้
มีกระทรวง Human Settlement แบบในต่างประเทศ ที่สร้างเมืองใหม่ สร้างอย่างมีแผน มีการวางผัง
เมืองอย่างดี เมืองของไทยไม่ได้เกิดแบบนั้นเลย แต่มันเกิดในแบบของเราคือวางแผนแต่ก็ไม่ได้ตามแผน
ไม่ได้วางแผนแต่ก็ได้ผล เราก็คิดว่าจะสร้างเมืองที่แรกจะสร้างให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม มันไม่ค่อยเกิด
มันกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวไปหมด การท่องเที่ยวตอนแรกก็ดูเหมือนไม่มีอนาคต แต่ตอนนี้โดยที่เรา
ไม่ได้ตั้งใจการท่องเที่ยวกลายเป็นอนาคตของเรา เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าอยู่เมืองไทยอย่าไปสนใจแต่
เรื่องแผน กับเรื่องการวางแผน ต้องสนใจธรรมชาติที่เป็นจริงของสรรพสิ่งของกระบวนการที่เราทาอยู่
หมั่นสังเกต หมั่นปรับเปลี่ยนแผนไปเรื่อยๆ มีอะไรที่เราคาดไม่ถึงทาให้เราประหลาดใจอยู่มากเหลือกิน
เราบริหารเมืองไม่ใช่แบบนานาประเทศที่เขาอารยะ ในนานาประเทศที่อารยะ การบริหารเมือง
เป็นเรื่องของการปกครองส่วนท้องถิ่น เมืองของต่างประเทศเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมือง
วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองหลวงของอเมริกันก็จริง แต่รัฐบาลกลางไม่ได้เป็นคนดูแล คนที่ดูแลวอชิงตัน
ดี.ซี. คือเทศบาลวอชิงตัน ดี.ซี. ในนครปักกิ่งก็เช่นกัน รัฐบาลกลางของจีนไม่ได้ดูแล คนที่ดูแลปักกิ่งคือ
ผู้ว่าราชการของปักกิ่ง ซึ่งประเทศไทยเรามีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็จริง แต่ว่าท่านทาอะไรไม่ค่อย
ได้ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กรม กระทรวง อยู่เต็มกรุงเทพไปหมด
เราบริหารเมืองโดยใช้ราชการส่วนกลาง น่าจะเป็นหลัก แล้วมีราชการส่วนภูมิภาคลงมาช่วยทา
อะไรบ้าง ท้องถิ่นที่ผมพูดไปตั้งแต่ตอนต้นมีบทบาทน้อยในการสร้างเมือง นคราภิวัตน์ของเราเกิดโดย
ท้องถิ่นมีบทบาทน้อย แม้ว่าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ และผมคิดว่าจะมีบทบาทที่สาคัญ แต่ว่า
กล่าวโดยสรุป เราเติบโตด้วยส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นนั้นมีบทบาทเสริมเท่านั้น แต่
ประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าสาคัญในกระบวนนคราภิวัตน์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เราก็ไม่ได้คิดว่ามันจะเกิดขึ้น
เร็วขนาดนี้ คือ เรามีชาวเมืองที่ค่อยๆ มีสานึกว่าตนเองเป็นชาวเมือง เป็นเจ้าของเมือง หวงแหนเมือง
รักเมือง อยากจะ “สร้างบ้านแปงเมือง” ผมคิดว่าอันนี้เป็นอะไรที่น่าชื่นใจ และมันเกิดของมันเองเสียเป็น
ส่วนใหญ่ และเวลานี้นับวันจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
4
การปฏิรูปการเมือง : เมืองในฐานะหน่วยหลักในการพัถนาประเทศ
ถ้าพูดถึงนคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ประเด็นแรกที่ผมจะชวนคิด การพัฒนาการเมืองก็ดี
การปฏิรูปการเมืองก็ดี ต้องพยายามคิด พยายามทาให้มากขึ้น โดยให้เมือง นคร กรุง หรือพื้นที่มี
บทบาท มีความคิดริเริ่ม มีความสร้างสรรค์ให้มากขึ้น การพัฒนาประเทศของเรา การพัฒนาการเมือง
ของเรา การปฏิรูประบบราชการของเรา น้อยครั้งที่เราจะคิดจากพื้นที่ เราจะคิดจากกรมหรือกระทรวง
คิดจากลักษณะของงานเป็นหลัก เราต้องพยายามคิดเป็นพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น เราจะปฏิรูป จะพัฒนา
เมืองชายแดนอย่างไร เมืองชายแดนของไทยมีอะไรที่พิเศษและวิเศษมาก ไม่กี่ประเทศในโลกที่จะมีเมือง
ชายแดนใหญ่อยู่เกือบทุกภาค แล้วเป็นเมืองชายแดนที่ค้าขายชายแดนเยอะ ได้เปรียบดุลการค้าด้วยทุก
ภาค เช่น แม่สอด แม่สาย เชียงของ มุกดาหาร สะเดา ต่างๆ เหล่านี้ มันใหญ่จริงๆ ควรจะคิดว่าทา
อย่างไรให้เมืองชายแดนของเรามีความสามารถ มีความริเริ่ม มีความพยายามอะไรได้เป็นพิเศษที่จะทา
ให้เมืองชายแดนเติบโต และมีอะไรๆ หลายอย่างที่ลงตัวได้เองโดยไม่ต้องมาขึ้นกับกรม กระทรวงมาก
นัก แต่เรายังไม่ค่อยได้คิดตรงนี้ เพราะว่าวิธีคิดเดิมของเรานั้นทุกอย่างขึ้นอยู่กับกรม กระทรวง พื้นที่
เป็นเพียงภาคสนามของกรมและกระทรวง จังหวัดของเราก็เป็นเพียงภาคสนามของภูมิภาคและ
ส่วนกลาง แต่ตรงนี้เราก็ต้องยอมรับว่าถึงเราจะวิพากษ์วิจารณ์มันอย่างไร มันก็พาประเทศไทยมาได้ถึง
ขนาดนี้ ผมว่าถ้าแก้ไขปรับปรุงได้มันคงจะยิ่งดีกว่านี้ ฉะนั้น เรื่องนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผมขอฝากไว้ คือ
เรื่องเมืองชายแดน
อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องเมืองพิเศษกับการท่องเที่ยว ผมคิดว่าพัทยาก็ดี ภูเก็ตก็ดี สมุยก็ดี
เชียงใหม่ก็ดี เชียงรายก็ดี ถ้าปล่อยให้บริหารแบบที่ผ่านมาทุกวันนี้ ก็ยังพอทาอะไรได้ แต่ถ้าคิดว่าเราจะ
ทามาหากินกับการท่องเที่ยวให้มากขึ้นจริงๆ ก็น่าจะคิดว่าให้เมืองพิเศษให้ทาอะไรด้วยตนเองให้ได้
มากกว่านี้ ซึ่งก็มีวิธีคิดทาได้เยอะแยะ ถ้าเราไม่คิดเสียเลยมันก็ยังจะพอทาได้ แต่มันจะไม่โดดเด่น จะ
เหมือนกับใส่ใบพัดเพิ่มเข้าไปในเครื่องบินเรื่อยๆ แต่ไม่เปลี่ยนให้เป็นไอพ่นบ้าง ก็คงไปได้ไม่ไกลเท่าไร
คิดถึงเมือง เช่น เชียงคาน แม่สอด แม่สอด ซึ่งเมื่อสักครู่พูดถึงในฐานะเมืองชายแดน ตอนนี้พูด
ถึงในฐานะเมืองท่องเที่ยวด้วย แล้วก็พัทยา ภูเก็ต สมุย เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ฯลฯ ถ้าทาให้เมือง
เหล่านี้เป็นเมืองพิเศษเพิ่มเติมขึ้น เราจะมีคนที่สนใจเรื่องการพัฒนามากมายหลากหลายขึ้น ไม่ใช่มีแต่
รัฐมนตรี ไม่ใช่มีแต่รัฐบาล ไม่ใช่มีแต่ BOI ไม่ใช่มีแต่สภาพัฒน์ ฯ ซึ่งนับวันจะยิ่งงงกับอะไรๆ ในประเทศ
ไทยมากขึ้น เพราะว่ามันมีเมืองที่เกิดขึ้นเยอะแยะ การท่องเที่ยวของเรามันเกิดขึ้นโดยที่รัฐบาลไม่ได้
บริหาร ไม่ได้จัดการแก้ปัญหา อย่างเช่น เชียงคาน มันก็เกิดของมันเอง เชียงรายก็เกิดของเชียงรายเอง
คือเวลาที่เราเห็นผลที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น เราจะงงว่าเรามาไกลขนาดนี้ได้อย่างไร ทีนี้ถ้าเราไปดู
เหตุ โดยไปดูที่ระบบบริหารราชการแผ่นดินแบบปกตินั้น เราจะงงมากว่าเหตุกับผลมันไม่น่าจะไป
ด้วยกัน แล้วผมก็คิดว่ามันไม่ได้ไปด้วยกันเท่าไร ตัวที่เราคิดว่าเป็นเหตุมันก็เป็นเหตุพอสมควร แต่ไม่
มากนัก แต่เหตุที่มากจริงๆ คือคนไทย ซึ่งเก่ง ฉลาด มีไหวพริบ มีการเอาตัวรอดได้ดี และภาคเอกชน
5
ของเราซึ่งปรับตัวได้ดีเหลือเกิน แล้วก็วัฒนธรรมของเรา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ปรับตัวได้ตลอดเวลา แล้วก็
ไม่ท้อ เห็นอะไรก็ปรับตัวได้หมด ชาวบ้านนั้นรู้เรื่องการท่องเที่ยวก่อนรัฐบาล ชาวบ้านในภาคอีสานและ
ภาคเหนือรู้เรื่องบูรพาภิวัตน์ก่อนรัฐบาล ก่อนนักวิชาการเสียด้วยซ้า ชาวบ้านในภาคอีสานและ
ภาคเหนือรู้ว่ากาลังเกิดสังคมผู้สูงอายุในระดับโลกก่อนพวกเรามาก พวกเขาแต่งงานกับคนแก่ที่มาจาก
ยุโรปเยอะเหลือเกิน ก่อนพวกเรา จะคิดได้ว่าประชากรโลกกาลังเคลื่อนย้าย เนื่องจากสังคมผู้สูงอายุ
พลังสาคัญที่ไม่เป็นทางการ : “ปู้สร้างบ้านแปงเมือง”
ผมคิดว่า ถ้าจะคิดเรื่องสร้างบ้านสร้างเมืองนั้น มันจะต้องเชื่อมโยงกับพลังที่เป็นจริง ซึ่งมันอาจ
เป็นพลังที่ไม่เป็นทางการ ผมคิดว่าการบริหารอะไรที่เป็นทางการบ่อยครั้งจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก คิด
ว่าต้องไปหาอะไรที่ไม่เป็นทางการ แต่ได้ผล แล้วเราก็ใช้ตรงนั้นให้มากขึ้น
คุณหมอศิริวัฒน์ นั่งอยู่ตรงนี้ด้วย อย่าง อสม. นั้นผมว่าเป็นอะไรที่วิเศษมาก และในตอนต้นมัน
เกิดขึ้นมาเอง ซึ่งก็ดีมาก ดีจนกระทั่งเราเริ่มให้เงินเดือน อสม. พอรัฐบาลเริ่มลงไปช่วยทาให้เป็นทางการ
ผมว่า อสม. พลังลดลงไปเลย แต่สมัยที่เป็นแบบที่ชาวบ้านเขาช่วย ชาวบ้านเขาทาเอง ผมรู้สึกมันมีพลัง
เหลือเกิน และมีเกียรติเหลือเกิน เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเรื่องผู้สร้างบ้านแปงเมือง ชาวบ้านที่รักบ้านรัก
เมืองเอง ผมคิดว่านี่เป็นอะไรที่มีค่ามาก
ในขณะที่ความเป็นจริงเวลานี้ ในระดับประเทศ เรายังห่วงว่าหลังการเลือกตั้งบ้านเมืองจะเป็น
อย่างไร จะดีหรือจะร้าย จะเดินหน้าหรือจะถอยหลังอีกไหม ภาพโดยทั่วไปก็ยังไม่ถึงกับว่าแจ่มใส ส่วน
เศรษฐกิจของชาติ สภาพัฒน์ฯ ออกมาพูดเช้านี้ว่าจะโต 3.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ผมว่าโตอย่างไรก็น่าจะเกิน 4
เปอร์เซ็นต์ไม่มากนัก ซึ่งก็ถือว่าดีแล้ว แต่หากไม่มองเป็นประเทศ มองเป็นเมืองแทน ผมคิดว่าอนาคต
ค่อนข้างจะสดใส ระยะหลังผมไปดูเมืองนั่นเมืองนี่ของประเทศไทยอยู่เรื่อยๆ ผมว่ามันมีอนาคต ผมไป
อุดรธานีกลับมา ผมก็คิดในใจว่าอุดรสวยมาก อุดรงามมาก แล้วอุดรก็มีพละกาลังทางเศรษฐกิจสูงมาก
ทุกเช้าจะมีรถออกจากอุดรข้ามไปฝั่งลาวเต็มไปหมดแถวยาวเหยียด แล้วอุดรนี่ก็แผ่คลุมได้ถึงหนองคาย
ได้จนถึงเวียงจันทน์ ถ้ามองอุดร มันดีกว่าภาพที่ผมว่าเมื่อสักครู่ ไปดูที่น่านก็เห็นการเจริญเติบโต ไปดูที่
เชียงคานก็เห็นการเจริญเติบโต ไปดูที่แม่สอด ท่านครับ ไม่ทราบว่าพวกเราคุ้นกับความจริงใหม่ๆ
ต่อไปนี้หรือเปล่า แม่สอดเวลานี้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวของชาวย่างกุ้ง โรงแรมที่แม่สอดซึ่งค่อนข้างจะ
แพงนั้นก็คนจากย่างกุ้งมาพัก ร้านอาหารที่แพงๆ หรูๆ ก็คนจากย่างกุ้งมาทาน ห้างสรรพสินค้าของแม่
สอดนั้นก็มีชาวย่างกุ้งนี่แหละมาซื้อเป็นหลัก โรงพยาบาลของแม่สอดก็คนจากย่างกุ้งนั่นแหละมารักษา
ตัว ถ้าผมมองประเทศไทย ผมไม่ค่อยเห็นอะไรมากนัก เห็น ไม่ใช่ไม่เห็น แต่ไม่มากนัก แต่ว่าถ้ามองแม่
สอดผมว่ามันสูงกว่ามองประเทศไทย ผมคิดว่าเมืองของเรามันแอบโต ขโมยเบิกบาน ขโมยสร้างสรรค์
ถ้าเราดูประเทศไทยนั้นมันสิ่งเหล่านี้ไม่น่าจะไปได้มาก แต่ว่าเมืองนั้นมันไปของมันเองได้ ประเทศไทย
6
นั้นมันขโมยโต ขโมยเบิกบาน ขโมยสร้างสรรค์ โดยเมืองต่างๆ ที่ผมกล่าวถึงเมื่อสักครู่มันนาพาประเทศ
ในทางปฏิบัติ
เมืองต่างๆ ประเทศที่เป็นทางการนั้นจะต้องนาพาเมือง นคร มหานคร แต่ว่าเมือง นคร มหา
นคร ที่ไม่เป็นทางการนั้นนาประเทศ นายกเทศมนตรี นายก อบจ. เราหลายแห่ง เก่งระดับประเทศ เก่ง
ระดับโลก เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าในการปฏิรูปการเมือง นคราภิวัตน์ก็เป็นความหวัง เป็นพลัง เป็น
เจ้าของการพัฒนาและปฏิรูปที่สาคัญ
กระบวนการรักบ้านหรือ “ฮักบ้าน” ถ้าออกเสียงแบบเหนือกับอีสาน กระบวนการ “สร้างบ้านแปง
เมือง” หรือกระบวนการร่วมแรงร่วมใจสร้างบ้านสร้างเมืองของเรา มันจะช่วยเสริมสร้างจิตใจ มันจะทาให้
มีความหวัง จะยกระดับความเป็นจิตอาสา ทาคนให้เป็นคนของเมืองจริงๆ ถ้ากล่าวในแง่การปฏิรูปการ
พัฒนาการเมืองก็จะคล้ายๆ กับที่พวกกรีกโบราณเรียกว่า เป็น Self-Government Democracy คือเป็น
ประชาธิปไตยที่ประชาชนชาวเมืองปกครองตนเองมากขึ้น
ในการสร้างบ้านแปงเมืองนี้ ผมคิดว่าต้องใช้ชุมชน ใช้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทา ผลักดัน
การกระจายอานาจ ผลักดันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พัฒนายิ่งขึ้น ในการกระจายอานาจและการ
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่ได้ทาเพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง แต่จะทาเพื่อจะให้สิ่งเหล่านี้เป็นพลัง
ไปเสริมกับกระบวนการสร้างบ้านสร้างเมืองของประชาชนเอง ทาให้เกิดเป็นเศรษฐกิจ เกิดเป็นรายได้
เกิดเป็นวัฒนธรรม เกิดเป็นความภาคภูมิใจของชาติของประเทศ
ในระหว่างนี้ที่เรายังใช้ส่วนกลางส่วนภูมิภาคมาช่วยเรามากไม่ได้ เราก็ยังต้องใช้ท้องถิ่น ซึ่ง
ท้องถิ่นก็จะใกล้ชิดกับชาวเมืองมากหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้า ท้องถิ่นก็จะเป็นพลังที่สาคัญ แต่ว่าไม่ใช่
ท้องถิ่นเพียงอย่างเดียวที่ทาเรื่องเมือง ต้องประสานร่วมมือกับผู้สร้างบ้านแปงเมือง ผู้ที่รักท้องถิ่น ผู้ที่
ปรารถนาดีกับท้องถิ่น ผู้ที่มีเมืองเป็นหัวใจ ผู้ที่รู้ประวัติศาสตร์เมือง ผู้ที่รักเมือง ผู้ที่เป็นคนของเมือง
จริงๆ เป็นพลเมือง เราจะต้องทาให้เมือง นคร กรุง เป็นบ้านของเรา เราต้องรู้สึกดื่มด่ากับเมือง นคร
และกรุงให้มากขึ้น ให้เป็นครอบครัวใหญ่ของเรา สร้างการเมืองใหม่ การเมืองของเราเอง ซึ่งเราอาจ
เรียกว่า การเมืองภาคประชาชนก็ได้ แต่ผมคิดว่าเราควรจะเรียกมันว่า การเมืองของเมือง นคร และกรุง
อันเกิดจากความรักความภาคภูมิใจในเมือง ในนคร ในกรุงของเราจริงๆ
หัวใจของการปฏิรูป คือ การสร้าง “เมืองนิยม”
ในความเห็นของผม คนไทยเป็นคนของชาติ เรามีชาตินิยมเกือบจะอย่างเดียว เรารักชาติ ใน
เงื่อนไขที่ดี ถ้ามีคนบอกให้ทาอะไรเพื่อชาติ เราจะทา หลายชีวิตจบลงก็เพราะความรักชาติ แต่สิ่งที่เรา
ขาดไป คือ ความรักที่มีต่อเมือง นคร และกรุง ทาไมเราไม่ค่อยมี ก็เพราะว่าไม่มีประวัติศาสตร์ของเมือง
ไม่มีประวัติศาสตร์ของนคร รวมทั้งไม่มีประวัติศาสตร์ของภาค ก็เลยทาให้พลังนี้ยังไม่เข้มแข็ง การที่เรา
ขาดสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าประวัติศาสตร์ที่เราเรียนมีแต่ประวัติศาสตร์ชาติ และเราก็คิดเอาง่ายๆ
7
ว่า เมื่อมันมีประวัติศาสตร์ชาติแล้ว ท้องถิ่น เมือง นคร หรือกรุงมันก็อยู่ในประวัติศาสตร์นั้น แต่มันอยู่
แบบไม่เต็มที่ ไม่สมบูรณ์ และมันไม่ได้อยู่แบบที่ทาให้เมือง นคร กรุงเป็นศูนย์กลางของความภาคภูมิใจ
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่านคราภิวัตน์กับการปฏิรูป ส่วนหนึ่งต้องคิดว่า ต้องทาอย่างไรให้หน่วย
(Unit) ในการคิดของเราไม่จากัดแค่เพียงชาติหรือประเทศ หรือบ้านเมืองที่หมายถึงชาติ หรือเศรษฐกิจที่
หมายถึงเศรษฐกิจชาติอย่างเดียว จะต้องสนใจเมือง นคร ให้มากขึ้น จะต้องสร้างเมืองนิยม จะต้องสร้าง
ประวัติศาสตร์เมือง จะต้องสร้างความภูมิใจ จะต้องเชิดชูเมืองให้มากกว่านี้ มันจะต้องมี “ใจของเมือง”
มันจะมีแต่แค่เพียงวงเวียน มีแต่ไฟฟ้า มีแต่สวนสาธารณะ มีแต่โรงพยาบาล มีแต่โรงเรียน แค่นั้นไม่พอ
จะต้องมี “ใจของเมือง” ด้วย
ผมอยากจะสรุปว่า การปฏิรูป ถ้าคิดแบบฝรั่งก็คิดได้ และแบบที่เราทาในเวลานี้ก็คล้อยๆ ไปใน
แบบที่ฝรั่งคิด คือ Top-down รัฐเป็นคนนา ผู้นาเป็นคนทาและเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนตามแผน
ตามยุทธศาสตร์ แต่ผมก็อยากจะให้เสริมการคิดเรื่องการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงแบบไทยหรือแบบ
ตะวันออก ซึ่งมันจะต้องเปลี่ยนจากภายใน (Inner Revolution) ด้วย เป็นการปฏิรูปจากภายในด้วย ถ้า
เราไม่มีจิตใจที่ดีงาม เราจะปฏิรูป เราจะปฏิวัติ เราจะเปลี่ยนแปลงอะไรภายนอกที่ดีงามด้วยก็ไม่เต็มที่
เพราะฉะนั้น เราจะต้องสร้างจากภายในใจของเราออกมาด้วย จากจิตที่ทาให้บริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่จะทาได้
และก็เป็นจิตที่เข้มงวดตัวเองด้วย ผ่อนปรนผู้อื่น เข้มงวดตัวเอง
ถ้าเราไม่มีจิตใจที่ดีงาม เราจะปฏิรูปภายนอกให้ดีขึ้นได้ไม่ดีนัก ต้องเริ่มจากจิตจากภายใน จิตที่
บริสุทธิ์ก่อน เข้มงวดกับตัวเอง ผ่อนปรนกับผู้อื่น ปัญหาบางอย่างนั้นอย่าลืมมองว่าตัวเราเองเป็นต้นเหตุ
ของปัญหาด้วย เช่น ถ้าเราอยากให้สิ่งแวดล้อมดี เราต้องไม่ทิ้งขยะเสียเอง ไม่เกี่ยงรอให้คนอื่นทา
เท่านั้น อันนี้เราต้องเติมเข้าไปในการปฏิรูปการพัฒนา ด้วยว่าต้องมาจากในใจ หรือมี Inner Revolution
ในเรื่องเมือง เราก็หล่อหลอมกันไปเป็นจิตใจของเมือง ชาวเมือง ชาวนคร ชาวกรุง เริ่มทาจากตัวเอง
ขยายไปที่ครอบครัว ชุมชน และเมือง ขยันพัฒนาสร้างบ้านแปงมือง ทาให้ถิ่นที่เราอยู่ ถิ่นที่เราทางาน
พัฒนาขึ้น เจริญขึ้น ถ้าทาแบบนี้ได้ เมือง นคร มหานคร จะกลายเป็นหน่วยสาคัญของการปฏิรูป
ประเทศในภาพรวมได้ ไม่ใช่แค่หน่วยงานราชการ
ช่วงถาม – ตอบ
คาถาม ถามอาจารย์ในเรื่องเขตปกครองพิเศษ ในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ คนในพื้นที่อยากให้มี
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการ แต่ส่วนกลางยังไม่ตอบรับ อาจารย์คิดเห็นอย่างไร แล้วอย่างในทางสาธารณสุข
มีกรณีโรงพยาบาลบ้านแพ้วที่ท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการเอง เกิดการกระจายอานาจ แต่รัฐบาลไม่ว่าจะ
8
มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ไม่สนับสนุนทั้งสิ้น แล้วถ้าการกระจายอานาจเราเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ความ
พร้อมเป็นบางจุดก่อน แล้วค่อย ๆ ขยายไปทั่วประเทศจะดีหรือไม่
คาตอบ
ต้องก้าวข้ามกรมมาธิปไตย
วิธีที่เราบริหารประเทศมาโดยตลอด อาจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช ซึ่งเป็นอาจารย์อาวุโสของ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นมานานแล้วว่า ประเทศไทยของเราถูกปกครอง
แบบกรมมาธิปไตย คือใช้กรมปกครองประเทศ ข้าราชการเป็นข้าราชการของของกรม สมมุติว่ามี
ข้าราชการย้ายจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็คือการย้ายจากกรมหนึ่งไปอี
กรมหนึ่ง ไม่ใช่การย้ายจากการสังกัดจังหวัดหนึ่งไปสังกัดอีกจังหวัดหนึ่ง เราไม่มีข้าราชการภูมิภาคที่
แท้จริง ถ้าเป็นข้าราชการภูมิภาคต้องเป็นข้าราชการที่ขึ้นกับจังหวัด แต่เราไม่มีข้าราชการของจังหวัด
ส่วนข้าราชการที่จัดหวัดคือคนของกรมที่ส่งมา ผู้ว่าราชการจังหวัดคือคนของสานักงานปลัดกระทรง
มหาดไทย นายอาเภอและปลัดจังหวัดคือคนของกรมการปกครอง เราปกครองโดยไม่ได้ยึดพื้นที่เป็น
หลัก พื้นที่เป็นเพียงภาคสนามของกรม ทาให้เราไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ มีแต่คนของกรม เวลาเกิดน้า
ท่วมจึงแก้ไม่ได้เพราะไม่รู้ข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ ไม่รู้ว่าเส้นทางน้าเป็นอย่าไร ปัญหาอย่างหนึ่งคือผู้ว่า
ย้ายบ่อย บางจังหวัดนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดเฉลี่ยอยู่ในตาแหน่งเพียงปีเดียวหรือไม่ถึงปี จะพัฒนา
จังหวัดได้อย่างไร ฉะนั้นเลยทาได้แต่เรื่องประจา พัฒนาอะไรไม่ได้นัก
หนึ่งในทางออก : การเลือกตั้งปู้ว่าราชการจังหวัด
อันที่จริงวิธีแก้ปัญหามีหลายวิธี เช่น ถ้าเรายังรักษารูปแบบการปกครองจังหวัดแบบทุกวันนี้ก็
ต้องตั้งกติกาว่าผู้ว่าราชการจังหวัดต้องอยู่ในตาแหน่งสองหรือสามปี ถ้าเปลี่ยนไปเป็นเลือกตั้งผู้ว่า
ราชการจังหวัด แม้จะมีข้ออ่อนอยู่บ้าง แต่ข้อดีของการเลือกตั้งคือผู้ว่าราชการจังหวัดจะอยู่ครบเทอมสี่ปี
ผู้ว่าราชการจังหวัดประเทศไหนที่พัฒนาแล้วก็ต้องมีความต่อเนื่องในการทางานทั้งนั้น เรื่องผู้ว่าราชการ
จังหวัดจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ต้องถกเถียงกันต่อไป หากใครสนใจเรื่องนี้ก็ได้พูดถึงไว้แล้วใน
หนังสือเอนกทรรศน์ หากสนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถอ่านได้ ส่วนถ้าจะทาจริง ๆ มีโอกาสทาได้
แค่ไหนนั้น เราอาจจะเลือกบางจังหวัดมาทาก่อนก็เป็นความคิดที่ดี
ถ้าจะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจริงๆ มีโอกาสทาได้ไหม แล้วก็อย่างที่คุณหมอ
ศิริวัฒน์พูด เราอาจจะเลือกบางจังหวัดมาทาก่อนก็ได้ แต่อาจจะมีข้าราชการที่ไม่พอใจ ซึ่งเราอาจอธิบาย
ให้เขาฟังว่าถ้าเป็นข้าราชการเกษียณแล้ว ก็สามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าถ้าเราจะ
ไปฟังความพอใจหรือไม่พอใจส่วนบุคคลก็คงไม่ได้ แต่ก็อย่าประมาท เมืองไทยจะทาอย่างที่คุณหมอ
9
ศิริวัฒน์เสนอนั้น ไม่ง่าย ทั้งนี้ เงื่อนไขที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็อย่าเพิ่งไปท้อใจว่าทาอะไรไม่ได้เลย ยังพอ
ทาอะไรได้ก็ต้องทาไป
ข้าราชการควรเป็นคนของเมืองหรือนครนั้น
หากมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง จะทาอย่างไรให้พื้นที่เป็นหน่วยหลักในการพัฒนามากที่สุด โดย
ไม่พูดเรื่องการกระจายอานาจ เพราะประเทศไทยไม่ได้ใช้พื้นที่เป็นหน่วยหลักในการทางาน แต่ให้
อานาจการทางานแก่กรม ที่มีคนมาเล่าให้ผมฟังคือ เมื่อพาณิชย์จังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัดไปจัด
งานแสดงนิทรรศการที่ต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่จัดงานไปถึง กลับไม่ค่อยรู้จักคนในจังหวัดนั้นๆ เลย
เพราะส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพ ส่วนเจ้าหน้าที่พาณิชย์จังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัดก็มีไม่กี่คน ซึ่ง
ปกติพวกเขาก็ไม่ค่อยได้ไปติดต่อกับผู้คนในพื้นที่ ถ้าจะส่งเสริมธุรกิจและเศรษฐกิจในต่างจังหวัด ผมคิด
ว่าให้คนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ทาดีกว่า เพียงทาได้เท่านี้ บ้านเมืองก็จะเดินไปข้างหน้าได้ไม่น้อย เช่น ให้
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ. นายกเทศมนตรีทา ผมว่าก็จะเปลี่ยนสภาพไปเยอะ เพราะเขารู้เรื่อง
พื้นที่มากกว่าพวกเรา
ถ้าทาตามแผนที่หลายคนคิด ข้าราชการจะหลุดจากกรมและถูกโอนไปคนละจังหวัดหมด ก็อาจ
ไม่ค่อยพอใจ รู้สึกว้าเหว่ว่าจะไปอยู่ได้อย่างไร ออกจากกรมแล้วไปอยู่กับจังหวัด แต่ว่าในประเทศจีน
เวลาที่บอกว่าเป็นข้าราชการของมณฑล ก็คือเป็นคนของมณฑลจริงๆ บอกว่าเป็นข้าราชการของเมือง
นคร ก็เป็นคนของเมืองนครจริงๆ พวกเขาก็จะเจริญเติบโตในระบบพื้นที่ของเขา ประเทศจีนมี 2 ระบบ
คือ (1) ระบบกรม กระทรวง และ (2) ระบบพื้นที่ แล้วก็พื้นที่ของจีนเป็นอะไรที่สาคัญกว่ากรม กระทรวง
ดังนั้น เราจึงเห็นผู้นาของจีนหลาย 10 ปีที่ผ่านมานี้ มาจากการเป็นผู้ว่าการมณฑลกับผู้ว่าการมหานคร
ไม่มีใครที่เป็นอธิบดีหรือว่าเป็นรัฐมนตรีมาก่อน แล้วถึงมาเป็นหมายเลข 1 หมายเลข 2 ที่ขึ้นมาทา
หน้าที่ปกครองประเทศ พื้นที่และประชากรทั้งหมด พวกเขาต้องได้รับการฝึกมาจากการเป็นผู้บริหาร
หรือผู้ปกครองพื้นที่และประชากรขนาดย่อม แต่ขนาดย่อมของจีน มันก็มีคน 80 - 100 ล้านคน
ถ้าเนรมิตได้ตามใจผม ผมอยากจะเชิญนายกเทศมนตรี นายก อบจ. ที่เก่งๆ หลายคนมาทางาน
ระดับชาติ เพราะเขาฝึกมาเยอะมาก นี่ก็เป็นอะไรบางอย่างที่พวกเราไม่ค่อยเข้าใจ สิ่งที่เราสอนกัน เช่น
วิชา Public Administration ก็เกี่ยวกับงานของกรม อย่างตอนที่ผมไปเรียนที่อเมริกา วิชาวิเคราะห์
นโยบาย ไปเรียนรวมกับเพื่อนฝรั่ง หลังจากที่อาจารย์พูดเรื่องทฤษฎีทั่วไป ก็บอกว่าอาทิตย์หน้าจะพูด
เรื่องนโยบายสาธารณสุขกับนโยบายการศึกษา ขอให้ทุกคนทากรณีที่เกี่ยวกับประเทศของตัวเองมา
กรณีของฝรั่งทุกคน นโยบายสาธารณสุขหมายถึงนโยบายของมณฑล นโยบายของเมือง นโยบาย
การศึกษาก็เป็นของเมืองและมลรัฐ ถามว่าประเทศไม่มีนโยบายเหรอ มีแต่นิดเดียว เพราะประเทศไม่ได้
ทาเรื่องเหล่านี้ มลรัฐกับเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ เรื่องการศึกษา เรื่องสาธารณสุข รวมทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีด้วย ผมก็งงว่าทาไมประเทศเขาถึงแปลก พอเขามาฟังเรื่องของผมก็งง ว่าทาไมประเทศ
10
นี้แปลก คือทุกอย่าง รัฐบาลทาหมด ตั้งแต่นโยบายสาธารณสุข นโยบายอุดมศึกษา ไปจนถึงนโยบาย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่ใช่แค่เฉพาะของฝรั่งเท่านั้น มีครั้งหนึ่งที่ผมไปดูงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ญี่ปุ่น เขาทาดี
เหลือเกิน มีห้อง Lab ที่วัดค่ามลพิษต่างๆ ทั่วโยโกฮามา รายงานถึงกันหมด ชุมชนใดที่มีค่ามลพิษมาก
ก็จะสั่งปิดหรือสั่งหยุด ลดงานของโรงงานลง เพื่อลดมลพิษ ผมก็ดูเพลิน และทุกคนที่ไปกับผมก็ดูเพลิน
คนที่ไปดูกับผมมาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เยอะ เราก็ไปคิดว่านี่เป็นงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ถึง
ได้ดูทันสมัยขนาดนั้น แต่จริงๆ แล้วมันเป็นงานของเทศบาลนครโยโกฮามา เพราะฉะนั้น เวลาที่คนพูด
เรื่องปฏิรูป เรื่องพัฒนา เรื่องพื้นที่มาเล่าให้ฟัง ก็อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด ผมคิดว่าประเทศ
เราเองก็แปลกประหลาดที่พัฒนาโดยใช้แต่รัฐบาลทา ไม่ค่อยเหมือนประเทศใดในโลก อย่างไรก็ตาม เรา
ก็คงต้องทากันต่อไป
11
แนะนาหนังสือ การพัถนาเมืองและท้องถิ่นไทย
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ
ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ ศ.เดชา บุญค้า
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
12
แนะนาวารสารพัถนาเมืองออนไลน์ (FURD Cities Monitor)
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
อ่านและดาวน์โหลดฟรี ที่เว็บ furd-rsu.org
- วารสารการพัฒนาเมือง Vol.1 ว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมของเมือง และนาเสนอการพัฒนาระบบและ
กลไกพัฒนาเมืองของลาปาง
- วารสารการพัฒนาเมือง Vol.2 ว่าด้วยแนวคิดการพัฒนาเมือง Placemaking และนาเสนอเมือง
สายบุรี เป็นตัวอย่างเมืองที่พัฒนาเมืองแบบ Placemaking
- วารสารการพัฒนาเมือง Vol.3 ว่าด้วยแนวคิด มุมมอง และตัวอย่างการขับเคลื่อนสู่การเป็น
สมาร์ทซิตี้ทั้งในไทยและต่างประเทศ
- วารสารการพัฒนาเมือง Vol.4 ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาเมืองหางโจว ประเทศจีน ที่สามารถรักษา
สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้
- วารสารการพัฒนาเมือง Vol.5 ว่าด้วยแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ที่ใช้วัฒนธรรมของเมืองเป็นหัวใจ
สาคัญในการสร้างเศรษฐกิจเมือง
Vol.1 Vol.2 Vol.3
Vol.4 Vol.5

More Related Content

More from FURD_RSU

เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)FURD_RSU
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
 

นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)

  • 1.
  • 2.
  • 3. 1 โลกและไทยเข้าสู่การเป็นนคราภิวัตน์ ท่านผู้มีเกียรติ ช่วง 3-4 ปีมานี้ โลกของเราเป็น “เมือง” มากกว่า “ชนบท” แล้ว เวลานี้ประชากร ทั้งโลกที่อยู่ในเขตเมืองมากกว่าที่อยู่ในเขตชนบทแล้ว เป็นเวลาหลายพันปี หรืออาจจะเป็นหมื่นปีมาแล้ว เริ่มตั้งแต่มีเมืองกับมีชนบทเกิดขึ้นด้วยกัน ตลอดเวลาเป็นหมื่นปีหรือหลายพันปีนี้ ชนบทมีประชากร มากกว่าเมือง คาว่าเมืองในที่นี้ นับตั้งแต่เมืองใหญ่ เมืองกรุง นคร หรือเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็กก็ นับเป็นเมือง ซึ่งเคยมีประชากรน้อยกว่าชนบท แต่ 3-4 ปีมานี้เป็นครั้งแรกในโลกที่ประชากรในเมือง มากกว่าในชนบทแล้ว ในไทยขณะนี้ เมืองกับชนบทก็น่าจะมีประชากรเท่าๆ กัน ที่ว่าเท่าๆ กัน ผมนับ จากประชากรที่อยู่ใน กรุงเทพฯ อยู่ในเทศบาลนคร และอยู่ในเทศบาลเมือง กับประชากรที่อยู่ใน อบต. อยู่ในเทศบาลตาบล จานวนใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริง เทศบาลตาบลและ อบต. ราวครึ่งหนึ่งก็อยู่กันแบบ เป็นเมืองแล้ว ที่ว่าเป็นเมืองก็คือมีถนน มีไฟฟ้า มีน้าประปา มีค้าขาย มีโรงเรียน มีคนจบปริญญาตรี อย่างน้อยที่สุดที่ละคน สาหรับท่านที่นับตัวชี้วัดที่ไม่เป็นทางการ เช่น เซเว่นอีเลเว่นที่หลายคนใช้อยู่ อบต. และเทศบาลตาบลเหล่านี้น่าจะมีสักครึ่งหนึ่ง คิดเป็นประมาณอีก 25 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าประชากรเมืองของเรา เป็นจานวนประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของประเทศก็ว่าได้ และ ตาบลและหมู่บ้านที่เรายังไม่เต็มใจที่จะเรียกว่าเมืองก็ไม่ใช่ชนบทอย่างเดิมแล้ว ไม่มีชนบทที่ล้าหลัง ไกล ปืนเที่ยง ที่ผู้คนยังยากจนหรือยังเรียนหนังสือน้อยมากๆ เป็นเพียงที่อยู่ของคนชรากับเด็ก เวลานี้พื้นที่ แบบนี้มันน้อยลงไปเรื่อยๆ ถึงในชนบทที่มีคนเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ คนส่วนใหญ่ก็เป็น ผู้ประกอบการหรือเป็นชนชั้นกลาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่มั่งมี หมิ่นเหม่อยู่ระหว่างยากจนกับพอเลี้ยง ตัวเองได้ เป็นชนชั้นกลางระดับล่าง ในชนบทนั้นแทบไม่มีใครที่ไม่ทามาหากินจากการเกษตรโดยที่ไม่ รับจ้างเลย มีน้อยมากๆ สรุปคือประเทศไทยขณะนี้เป็นประเทศเมืองไปแล้ว เป็นอะไรที่เราไม่เคยเป็นมา ก่อน เราเกิดมาเรามีชีวิตอยู่ เราแก่ในประเทศไทยที่ชนบทเป็นหลัก เป็นประเทศที่มีชนบทเป็นหลัก มี เมืองไม่มากนัก มีเมือง จังหวัดไม่ใหญ่ เมืองใหญ่มีที่เดียวคือกรุงเทพ แต่ชนบทในไทยเวลานี้ก็ยังมี ยัง เป็นพื้นฐานของสังคมไทยและยังสาคัญ เรายังต้องดูแลชนบท ผมขอย้า 1 ถอดความจาก ปาถกฐาเรื่อง นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ในงานเสวนา " เมือง กิน คน: นคราภิวัตน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะ ของคนเมืองใหญ่” ที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 31 ตุลาคม 2560
  • 4. 2 กระบวนการการเกิดนคราภิวัตน์ในประเทศไทย ประเทศไทยเวลานี้ผมคิดว่ามีกระบวนการที่ผมเรียกว่า “นคราภิวัตน์” คือ กาลังกลายเป็นเมือง กาลังกลายเป็นนคร กาลังกลายเป็นมหานครที่เข้มข้นขึ้น หวังว่าจะประณีตขึ้น หวังว่าจะสวยงามขึ้น หวังว่าจะประสานระหว่างใหม่-เก่าให้มากขึ้น หวังว่าจะประสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตกให้มากขึ้น การปฏิรูปหรือการพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงของประเทศโดยเน้นแต่ประเทศ เน้นแต่ชาติ เน้นแต่ เศรษฐกิจรวมของประเทศอย่างเดียวน่าจะไม่พอ อันนี้คือความเคยชินเดิมของเรา เราจะต้องสนใจ นคราภิวัตน์ให้มากขึ้นจากนี้ไป นคราภิวัตน์ที่ผมพูดถึง อาจจะย้อนหลังไปเมื่อร้อยปีที่แล้วก็ได้ เมื่อเรานาประเทศเข้าสู่ความ “อารยะ” มีเมืองเป็นศูนย์กลาง หรือหน่วยการปกครองในการบริหารประเทศ ต่อมาเมืองขยายตัวเพราะ การซื้อขายสินค้าเกษตร เมืองกลายเป็นโกดัง เป็นร้านค้ารับซื้อ รับขายสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ไม้ ยางพารา ดีบุก เป็นต้น ต่อมายังขยายตัวอีกเพราะอุตสาหกรรม นี่เป็นเมืองในยุคที่ผมเติบโตขึ้นมา กรุงเทพ ชลบุรี นครปฐม เติบโตจากภาคอุตสาหกรรมด้วย ภาคตะวันออก ภาคกลาง ใกล้ๆ ปริมณฑลก็ เติบโตด้วยภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ต่อมาอีกระยะหนึ่งนคราภิวัตน์ ขยับต่อไปอีก เพราะเกิดการ ท่องเที่ยว เมืองหลายเมืองโตขึ้นมาเพราะการท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต สมุย พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย ต่อมาคือเมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมา นคราภิวัตน์ เกิดคู่กับการกระจายอานาจการพัฒนาการปกครองส่วน ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทอย่างมากในการปรับปรุงเมือง ผมอยากจะบอกด้วยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องของชนบทเป็นหลัก แม้จะชื่อเรียกว่าเทศบาลตาบล แม้จะ ชื่อว่า อบต. ก็ตาม ผมคิดว่าองค์กรการปกครองท้องถิ่น (อปท.) คือการทางานเมืองเป็นหลัก คนทาจะ เข้าใจ หรือตระหนัก คิดเรื่องนคราภิวัตน์แค่ไหนยังบอกเต็มที่ไม่ได้ และล่าสุดนี้ผมคิดว่ากระแส นคราภิวัตน์เกิดจากกระแสการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งผมได้พูดเอาไว้ช่วงต้นที่เกิดเมื่อ 10 -20 ปีที่ผ่านมา ถ้าเทียบการท่องเที่ยวกับอาหาร ตอนนี้คงกลายเป็นอาหารจานหลักแล้วของเศรษฐกิจไทย ไม่ใช่เป็น ของหวาน เศรษฐกิจไทยเวลานี้ รายได้ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นรายได้จากการท่องเที่ยว 8 เปอร์เซ็นต์ มา จากภาคเกษตร 30 เปอร์เซ็นต์มาจากภาคอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่าภาคการท่องเที่ยวเป็นภาคที่ ใหญ่มาก ทาให้เราเกิดสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่าเมืองระดับโลก หรือ Global City อย่างน้อยที่สุดสักผมคิดว่า เมืองไทยมีสัก 3-4 เมือง เช่น เมืองกรุงเทพ ภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ เมืองของเราทั้งหมดรับแขกต่างประเทศปีละหลายสิบล้าน เมืองของเราโดยเฉพาะกรุงเทพ รับแขกจากต่างประเทศปีละ 20 ล้าน กรุงเทพฯ เป็นนครที่มีคนเดินทางมาจากต่างประเทศมากที่สุดใน โลก มากกว่าลอนดอน มากกว่า นิวยอร์ก มากกว่าสิงคโปร์ มากกว่าโตเกียว มากกว่าวอชิงตัน ดี.ซี แต่ ไม่ใช่มีแต่กรุงเทพ เรายังมีเมืองภูเก็ต และเมืองพัทยาซึ่งเป็นหนึ่งใน 25 เมืองที่สาคัญที่สุดของเอเชีย
  • 5. 3 แปซิฟิก อยู่ประมาณลาดับที่ 9 - 13 เป็นสองเมืองของ 25 เมืองแรกสุดของเอเชียและแปซิฟิกที่คน ต่างประเทศเดินทางมามากที่สุด ส่วนเชียงใหม่ผมคิดว่าไม่ติดอยู่ใน 25 เมืองแรกของเอเชียแปซิฟิกก็ จริง แต่คงไม่เกินที่ 30 ผมก็จะอนุโลมเรียกเชียงใหม่เป็น Global City ทบทวนการบริหารเมือง นคร มหานครของไทย : เมืองพัถนาจากส่วนกลาง ท่านผู้มีเกียรติ เรามาดูวิธีที่เราบริหารเมือง นคร และมหานคร ที่เราคาดไม่ถึงว่าเราจะมี นคราภิวัตน์ที่เบ่งบานขนาดนี้ มันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยที่เราคาดไม่ถึง เราไม่ได้วางแผน เรา ไม่ได้ทามันอย่างเป็นระบบดีมากนัก เช่น ถ้าถามว่าหน่วยงานไหนของราชการที่สร้างเมืองมากที่สุด ผม คิดว่าน่าจะกรมทางหลวงและน่าจะเป็นการรถไฟ น่าจะเป็นการท่าอากาศยาน น่าจะเป็นมหาวิทยาลัย น่าจะเป็นนักท่องเที่ยว คือเมืองมันเกิดของมันเอง มันไม่ได้มีหน่วยงานไหน ไม่ได้มีกระทรวงเมือง ไม่ได้ มีกระทรวง Human Settlement แบบในต่างประเทศ ที่สร้างเมืองใหม่ สร้างอย่างมีแผน มีการวางผัง เมืองอย่างดี เมืองของไทยไม่ได้เกิดแบบนั้นเลย แต่มันเกิดในแบบของเราคือวางแผนแต่ก็ไม่ได้ตามแผน ไม่ได้วางแผนแต่ก็ได้ผล เราก็คิดว่าจะสร้างเมืองที่แรกจะสร้างให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม มันไม่ค่อยเกิด มันกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวไปหมด การท่องเที่ยวตอนแรกก็ดูเหมือนไม่มีอนาคต แต่ตอนนี้โดยที่เรา ไม่ได้ตั้งใจการท่องเที่ยวกลายเป็นอนาคตของเรา เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าอยู่เมืองไทยอย่าไปสนใจแต่ เรื่องแผน กับเรื่องการวางแผน ต้องสนใจธรรมชาติที่เป็นจริงของสรรพสิ่งของกระบวนการที่เราทาอยู่ หมั่นสังเกต หมั่นปรับเปลี่ยนแผนไปเรื่อยๆ มีอะไรที่เราคาดไม่ถึงทาให้เราประหลาดใจอยู่มากเหลือกิน เราบริหารเมืองไม่ใช่แบบนานาประเทศที่เขาอารยะ ในนานาประเทศที่อารยะ การบริหารเมือง เป็นเรื่องของการปกครองส่วนท้องถิ่น เมืองของต่างประเทศเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมือง วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองหลวงของอเมริกันก็จริง แต่รัฐบาลกลางไม่ได้เป็นคนดูแล คนที่ดูแลวอชิงตัน ดี.ซี. คือเทศบาลวอชิงตัน ดี.ซี. ในนครปักกิ่งก็เช่นกัน รัฐบาลกลางของจีนไม่ได้ดูแล คนที่ดูแลปักกิ่งคือ ผู้ว่าราชการของปักกิ่ง ซึ่งประเทศไทยเรามีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็จริง แต่ว่าท่านทาอะไรไม่ค่อย ได้ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กรม กระทรวง อยู่เต็มกรุงเทพไปหมด เราบริหารเมืองโดยใช้ราชการส่วนกลาง น่าจะเป็นหลัก แล้วมีราชการส่วนภูมิภาคลงมาช่วยทา อะไรบ้าง ท้องถิ่นที่ผมพูดไปตั้งแต่ตอนต้นมีบทบาทน้อยในการสร้างเมือง นคราภิวัตน์ของเราเกิดโดย ท้องถิ่นมีบทบาทน้อย แม้ว่าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ และผมคิดว่าจะมีบทบาทที่สาคัญ แต่ว่า กล่าวโดยสรุป เราเติบโตด้วยส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นนั้นมีบทบาทเสริมเท่านั้น แต่ ประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าสาคัญในกระบวนนคราภิวัตน์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เราก็ไม่ได้คิดว่ามันจะเกิดขึ้น เร็วขนาดนี้ คือ เรามีชาวเมืองที่ค่อยๆ มีสานึกว่าตนเองเป็นชาวเมือง เป็นเจ้าของเมือง หวงแหนเมือง รักเมือง อยากจะ “สร้างบ้านแปงเมือง” ผมคิดว่าอันนี้เป็นอะไรที่น่าชื่นใจ และมันเกิดของมันเองเสียเป็น ส่วนใหญ่ และเวลานี้นับวันจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
  • 6. 4 การปฏิรูปการเมือง : เมืองในฐานะหน่วยหลักในการพัถนาประเทศ ถ้าพูดถึงนคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ประเด็นแรกที่ผมจะชวนคิด การพัฒนาการเมืองก็ดี การปฏิรูปการเมืองก็ดี ต้องพยายามคิด พยายามทาให้มากขึ้น โดยให้เมือง นคร กรุง หรือพื้นที่มี บทบาท มีความคิดริเริ่ม มีความสร้างสรรค์ให้มากขึ้น การพัฒนาประเทศของเรา การพัฒนาการเมือง ของเรา การปฏิรูประบบราชการของเรา น้อยครั้งที่เราจะคิดจากพื้นที่ เราจะคิดจากกรมหรือกระทรวง คิดจากลักษณะของงานเป็นหลัก เราต้องพยายามคิดเป็นพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น เราจะปฏิรูป จะพัฒนา เมืองชายแดนอย่างไร เมืองชายแดนของไทยมีอะไรที่พิเศษและวิเศษมาก ไม่กี่ประเทศในโลกที่จะมีเมือง ชายแดนใหญ่อยู่เกือบทุกภาค แล้วเป็นเมืองชายแดนที่ค้าขายชายแดนเยอะ ได้เปรียบดุลการค้าด้วยทุก ภาค เช่น แม่สอด แม่สาย เชียงของ มุกดาหาร สะเดา ต่างๆ เหล่านี้ มันใหญ่จริงๆ ควรจะคิดว่าทา อย่างไรให้เมืองชายแดนของเรามีความสามารถ มีความริเริ่ม มีความพยายามอะไรได้เป็นพิเศษที่จะทา ให้เมืองชายแดนเติบโต และมีอะไรๆ หลายอย่างที่ลงตัวได้เองโดยไม่ต้องมาขึ้นกับกรม กระทรวงมาก นัก แต่เรายังไม่ค่อยได้คิดตรงนี้ เพราะว่าวิธีคิดเดิมของเรานั้นทุกอย่างขึ้นอยู่กับกรม กระทรวง พื้นที่ เป็นเพียงภาคสนามของกรมและกระทรวง จังหวัดของเราก็เป็นเพียงภาคสนามของภูมิภาคและ ส่วนกลาง แต่ตรงนี้เราก็ต้องยอมรับว่าถึงเราจะวิพากษ์วิจารณ์มันอย่างไร มันก็พาประเทศไทยมาได้ถึง ขนาดนี้ ผมว่าถ้าแก้ไขปรับปรุงได้มันคงจะยิ่งดีกว่านี้ ฉะนั้น เรื่องนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผมขอฝากไว้ คือ เรื่องเมืองชายแดน อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องเมืองพิเศษกับการท่องเที่ยว ผมคิดว่าพัทยาก็ดี ภูเก็ตก็ดี สมุยก็ดี เชียงใหม่ก็ดี เชียงรายก็ดี ถ้าปล่อยให้บริหารแบบที่ผ่านมาทุกวันนี้ ก็ยังพอทาอะไรได้ แต่ถ้าคิดว่าเราจะ ทามาหากินกับการท่องเที่ยวให้มากขึ้นจริงๆ ก็น่าจะคิดว่าให้เมืองพิเศษให้ทาอะไรด้วยตนเองให้ได้ มากกว่านี้ ซึ่งก็มีวิธีคิดทาได้เยอะแยะ ถ้าเราไม่คิดเสียเลยมันก็ยังจะพอทาได้ แต่มันจะไม่โดดเด่น จะ เหมือนกับใส่ใบพัดเพิ่มเข้าไปในเครื่องบินเรื่อยๆ แต่ไม่เปลี่ยนให้เป็นไอพ่นบ้าง ก็คงไปได้ไม่ไกลเท่าไร คิดถึงเมือง เช่น เชียงคาน แม่สอด แม่สอด ซึ่งเมื่อสักครู่พูดถึงในฐานะเมืองชายแดน ตอนนี้พูด ถึงในฐานะเมืองท่องเที่ยวด้วย แล้วก็พัทยา ภูเก็ต สมุย เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ฯลฯ ถ้าทาให้เมือง เหล่านี้เป็นเมืองพิเศษเพิ่มเติมขึ้น เราจะมีคนที่สนใจเรื่องการพัฒนามากมายหลากหลายขึ้น ไม่ใช่มีแต่ รัฐมนตรี ไม่ใช่มีแต่รัฐบาล ไม่ใช่มีแต่ BOI ไม่ใช่มีแต่สภาพัฒน์ ฯ ซึ่งนับวันจะยิ่งงงกับอะไรๆ ในประเทศ ไทยมากขึ้น เพราะว่ามันมีเมืองที่เกิดขึ้นเยอะแยะ การท่องเที่ยวของเรามันเกิดขึ้นโดยที่รัฐบาลไม่ได้ บริหาร ไม่ได้จัดการแก้ปัญหา อย่างเช่น เชียงคาน มันก็เกิดของมันเอง เชียงรายก็เกิดของเชียงรายเอง คือเวลาที่เราเห็นผลที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น เราจะงงว่าเรามาไกลขนาดนี้ได้อย่างไร ทีนี้ถ้าเราไปดู เหตุ โดยไปดูที่ระบบบริหารราชการแผ่นดินแบบปกตินั้น เราจะงงมากว่าเหตุกับผลมันไม่น่าจะไป ด้วยกัน แล้วผมก็คิดว่ามันไม่ได้ไปด้วยกันเท่าไร ตัวที่เราคิดว่าเป็นเหตุมันก็เป็นเหตุพอสมควร แต่ไม่ มากนัก แต่เหตุที่มากจริงๆ คือคนไทย ซึ่งเก่ง ฉลาด มีไหวพริบ มีการเอาตัวรอดได้ดี และภาคเอกชน
  • 7. 5 ของเราซึ่งปรับตัวได้ดีเหลือเกิน แล้วก็วัฒนธรรมของเรา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ปรับตัวได้ตลอดเวลา แล้วก็ ไม่ท้อ เห็นอะไรก็ปรับตัวได้หมด ชาวบ้านนั้นรู้เรื่องการท่องเที่ยวก่อนรัฐบาล ชาวบ้านในภาคอีสานและ ภาคเหนือรู้เรื่องบูรพาภิวัตน์ก่อนรัฐบาล ก่อนนักวิชาการเสียด้วยซ้า ชาวบ้านในภาคอีสานและ ภาคเหนือรู้ว่ากาลังเกิดสังคมผู้สูงอายุในระดับโลกก่อนพวกเรามาก พวกเขาแต่งงานกับคนแก่ที่มาจาก ยุโรปเยอะเหลือเกิน ก่อนพวกเรา จะคิดได้ว่าประชากรโลกกาลังเคลื่อนย้าย เนื่องจากสังคมผู้สูงอายุ พลังสาคัญที่ไม่เป็นทางการ : “ปู้สร้างบ้านแปงเมือง” ผมคิดว่า ถ้าจะคิดเรื่องสร้างบ้านสร้างเมืองนั้น มันจะต้องเชื่อมโยงกับพลังที่เป็นจริง ซึ่งมันอาจ เป็นพลังที่ไม่เป็นทางการ ผมคิดว่าการบริหารอะไรที่เป็นทางการบ่อยครั้งจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก คิด ว่าต้องไปหาอะไรที่ไม่เป็นทางการ แต่ได้ผล แล้วเราก็ใช้ตรงนั้นให้มากขึ้น คุณหมอศิริวัฒน์ นั่งอยู่ตรงนี้ด้วย อย่าง อสม. นั้นผมว่าเป็นอะไรที่วิเศษมาก และในตอนต้นมัน เกิดขึ้นมาเอง ซึ่งก็ดีมาก ดีจนกระทั่งเราเริ่มให้เงินเดือน อสม. พอรัฐบาลเริ่มลงไปช่วยทาให้เป็นทางการ ผมว่า อสม. พลังลดลงไปเลย แต่สมัยที่เป็นแบบที่ชาวบ้านเขาช่วย ชาวบ้านเขาทาเอง ผมรู้สึกมันมีพลัง เหลือเกิน และมีเกียรติเหลือเกิน เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเรื่องผู้สร้างบ้านแปงเมือง ชาวบ้านที่รักบ้านรัก เมืองเอง ผมคิดว่านี่เป็นอะไรที่มีค่ามาก ในขณะที่ความเป็นจริงเวลานี้ ในระดับประเทศ เรายังห่วงว่าหลังการเลือกตั้งบ้านเมืองจะเป็น อย่างไร จะดีหรือจะร้าย จะเดินหน้าหรือจะถอยหลังอีกไหม ภาพโดยทั่วไปก็ยังไม่ถึงกับว่าแจ่มใส ส่วน เศรษฐกิจของชาติ สภาพัฒน์ฯ ออกมาพูดเช้านี้ว่าจะโต 3.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ผมว่าโตอย่างไรก็น่าจะเกิน 4 เปอร์เซ็นต์ไม่มากนัก ซึ่งก็ถือว่าดีแล้ว แต่หากไม่มองเป็นประเทศ มองเป็นเมืองแทน ผมคิดว่าอนาคต ค่อนข้างจะสดใส ระยะหลังผมไปดูเมืองนั่นเมืองนี่ของประเทศไทยอยู่เรื่อยๆ ผมว่ามันมีอนาคต ผมไป อุดรธานีกลับมา ผมก็คิดในใจว่าอุดรสวยมาก อุดรงามมาก แล้วอุดรก็มีพละกาลังทางเศรษฐกิจสูงมาก ทุกเช้าจะมีรถออกจากอุดรข้ามไปฝั่งลาวเต็มไปหมดแถวยาวเหยียด แล้วอุดรนี่ก็แผ่คลุมได้ถึงหนองคาย ได้จนถึงเวียงจันทน์ ถ้ามองอุดร มันดีกว่าภาพที่ผมว่าเมื่อสักครู่ ไปดูที่น่านก็เห็นการเจริญเติบโต ไปดูที่ เชียงคานก็เห็นการเจริญเติบโต ไปดูที่แม่สอด ท่านครับ ไม่ทราบว่าพวกเราคุ้นกับความจริงใหม่ๆ ต่อไปนี้หรือเปล่า แม่สอดเวลานี้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวของชาวย่างกุ้ง โรงแรมที่แม่สอดซึ่งค่อนข้างจะ แพงนั้นก็คนจากย่างกุ้งมาพัก ร้านอาหารที่แพงๆ หรูๆ ก็คนจากย่างกุ้งมาทาน ห้างสรรพสินค้าของแม่ สอดนั้นก็มีชาวย่างกุ้งนี่แหละมาซื้อเป็นหลัก โรงพยาบาลของแม่สอดก็คนจากย่างกุ้งนั่นแหละมารักษา ตัว ถ้าผมมองประเทศไทย ผมไม่ค่อยเห็นอะไรมากนัก เห็น ไม่ใช่ไม่เห็น แต่ไม่มากนัก แต่ว่าถ้ามองแม่ สอดผมว่ามันสูงกว่ามองประเทศไทย ผมคิดว่าเมืองของเรามันแอบโต ขโมยเบิกบาน ขโมยสร้างสรรค์ ถ้าเราดูประเทศไทยนั้นมันสิ่งเหล่านี้ไม่น่าจะไปได้มาก แต่ว่าเมืองนั้นมันไปของมันเองได้ ประเทศไทย
  • 8. 6 นั้นมันขโมยโต ขโมยเบิกบาน ขโมยสร้างสรรค์ โดยเมืองต่างๆ ที่ผมกล่าวถึงเมื่อสักครู่มันนาพาประเทศ ในทางปฏิบัติ เมืองต่างๆ ประเทศที่เป็นทางการนั้นจะต้องนาพาเมือง นคร มหานคร แต่ว่าเมือง นคร มหา นคร ที่ไม่เป็นทางการนั้นนาประเทศ นายกเทศมนตรี นายก อบจ. เราหลายแห่ง เก่งระดับประเทศ เก่ง ระดับโลก เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าในการปฏิรูปการเมือง นคราภิวัตน์ก็เป็นความหวัง เป็นพลัง เป็น เจ้าของการพัฒนาและปฏิรูปที่สาคัญ กระบวนการรักบ้านหรือ “ฮักบ้าน” ถ้าออกเสียงแบบเหนือกับอีสาน กระบวนการ “สร้างบ้านแปง เมือง” หรือกระบวนการร่วมแรงร่วมใจสร้างบ้านสร้างเมืองของเรา มันจะช่วยเสริมสร้างจิตใจ มันจะทาให้ มีความหวัง จะยกระดับความเป็นจิตอาสา ทาคนให้เป็นคนของเมืองจริงๆ ถ้ากล่าวในแง่การปฏิรูปการ พัฒนาการเมืองก็จะคล้ายๆ กับที่พวกกรีกโบราณเรียกว่า เป็น Self-Government Democracy คือเป็น ประชาธิปไตยที่ประชาชนชาวเมืองปกครองตนเองมากขึ้น ในการสร้างบ้านแปงเมืองนี้ ผมคิดว่าต้องใช้ชุมชน ใช้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทา ผลักดัน การกระจายอานาจ ผลักดันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พัฒนายิ่งขึ้น ในการกระจายอานาจและการ ปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่ได้ทาเพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง แต่จะทาเพื่อจะให้สิ่งเหล่านี้เป็นพลัง ไปเสริมกับกระบวนการสร้างบ้านสร้างเมืองของประชาชนเอง ทาให้เกิดเป็นเศรษฐกิจ เกิดเป็นรายได้ เกิดเป็นวัฒนธรรม เกิดเป็นความภาคภูมิใจของชาติของประเทศ ในระหว่างนี้ที่เรายังใช้ส่วนกลางส่วนภูมิภาคมาช่วยเรามากไม่ได้ เราก็ยังต้องใช้ท้องถิ่น ซึ่ง ท้องถิ่นก็จะใกล้ชิดกับชาวเมืองมากหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้า ท้องถิ่นก็จะเป็นพลังที่สาคัญ แต่ว่าไม่ใช่ ท้องถิ่นเพียงอย่างเดียวที่ทาเรื่องเมือง ต้องประสานร่วมมือกับผู้สร้างบ้านแปงเมือง ผู้ที่รักท้องถิ่น ผู้ที่ ปรารถนาดีกับท้องถิ่น ผู้ที่มีเมืองเป็นหัวใจ ผู้ที่รู้ประวัติศาสตร์เมือง ผู้ที่รักเมือง ผู้ที่เป็นคนของเมือง จริงๆ เป็นพลเมือง เราจะต้องทาให้เมือง นคร กรุง เป็นบ้านของเรา เราต้องรู้สึกดื่มด่ากับเมือง นคร และกรุงให้มากขึ้น ให้เป็นครอบครัวใหญ่ของเรา สร้างการเมืองใหม่ การเมืองของเราเอง ซึ่งเราอาจ เรียกว่า การเมืองภาคประชาชนก็ได้ แต่ผมคิดว่าเราควรจะเรียกมันว่า การเมืองของเมือง นคร และกรุง อันเกิดจากความรักความภาคภูมิใจในเมือง ในนคร ในกรุงของเราจริงๆ หัวใจของการปฏิรูป คือ การสร้าง “เมืองนิยม” ในความเห็นของผม คนไทยเป็นคนของชาติ เรามีชาตินิยมเกือบจะอย่างเดียว เรารักชาติ ใน เงื่อนไขที่ดี ถ้ามีคนบอกให้ทาอะไรเพื่อชาติ เราจะทา หลายชีวิตจบลงก็เพราะความรักชาติ แต่สิ่งที่เรา ขาดไป คือ ความรักที่มีต่อเมือง นคร และกรุง ทาไมเราไม่ค่อยมี ก็เพราะว่าไม่มีประวัติศาสตร์ของเมือง ไม่มีประวัติศาสตร์ของนคร รวมทั้งไม่มีประวัติศาสตร์ของภาค ก็เลยทาให้พลังนี้ยังไม่เข้มแข็ง การที่เรา ขาดสิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าประวัติศาสตร์ที่เราเรียนมีแต่ประวัติศาสตร์ชาติ และเราก็คิดเอาง่ายๆ
  • 9. 7 ว่า เมื่อมันมีประวัติศาสตร์ชาติแล้ว ท้องถิ่น เมือง นคร หรือกรุงมันก็อยู่ในประวัติศาสตร์นั้น แต่มันอยู่ แบบไม่เต็มที่ ไม่สมบูรณ์ และมันไม่ได้อยู่แบบที่ทาให้เมือง นคร กรุงเป็นศูนย์กลางของความภาคภูมิใจ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่านคราภิวัตน์กับการปฏิรูป ส่วนหนึ่งต้องคิดว่า ต้องทาอย่างไรให้หน่วย (Unit) ในการคิดของเราไม่จากัดแค่เพียงชาติหรือประเทศ หรือบ้านเมืองที่หมายถึงชาติ หรือเศรษฐกิจที่ หมายถึงเศรษฐกิจชาติอย่างเดียว จะต้องสนใจเมือง นคร ให้มากขึ้น จะต้องสร้างเมืองนิยม จะต้องสร้าง ประวัติศาสตร์เมือง จะต้องสร้างความภูมิใจ จะต้องเชิดชูเมืองให้มากกว่านี้ มันจะต้องมี “ใจของเมือง” มันจะมีแต่แค่เพียงวงเวียน มีแต่ไฟฟ้า มีแต่สวนสาธารณะ มีแต่โรงพยาบาล มีแต่โรงเรียน แค่นั้นไม่พอ จะต้องมี “ใจของเมือง” ด้วย ผมอยากจะสรุปว่า การปฏิรูป ถ้าคิดแบบฝรั่งก็คิดได้ และแบบที่เราทาในเวลานี้ก็คล้อยๆ ไปใน แบบที่ฝรั่งคิด คือ Top-down รัฐเป็นคนนา ผู้นาเป็นคนทาและเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนตามแผน ตามยุทธศาสตร์ แต่ผมก็อยากจะให้เสริมการคิดเรื่องการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงแบบไทยหรือแบบ ตะวันออก ซึ่งมันจะต้องเปลี่ยนจากภายใน (Inner Revolution) ด้วย เป็นการปฏิรูปจากภายในด้วย ถ้า เราไม่มีจิตใจที่ดีงาม เราจะปฏิรูป เราจะปฏิวัติ เราจะเปลี่ยนแปลงอะไรภายนอกที่ดีงามด้วยก็ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้น เราจะต้องสร้างจากภายในใจของเราออกมาด้วย จากจิตที่ทาให้บริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่จะทาได้ และก็เป็นจิตที่เข้มงวดตัวเองด้วย ผ่อนปรนผู้อื่น เข้มงวดตัวเอง ถ้าเราไม่มีจิตใจที่ดีงาม เราจะปฏิรูปภายนอกให้ดีขึ้นได้ไม่ดีนัก ต้องเริ่มจากจิตจากภายใน จิตที่ บริสุทธิ์ก่อน เข้มงวดกับตัวเอง ผ่อนปรนกับผู้อื่น ปัญหาบางอย่างนั้นอย่าลืมมองว่าตัวเราเองเป็นต้นเหตุ ของปัญหาด้วย เช่น ถ้าเราอยากให้สิ่งแวดล้อมดี เราต้องไม่ทิ้งขยะเสียเอง ไม่เกี่ยงรอให้คนอื่นทา เท่านั้น อันนี้เราต้องเติมเข้าไปในการปฏิรูปการพัฒนา ด้วยว่าต้องมาจากในใจ หรือมี Inner Revolution ในเรื่องเมือง เราก็หล่อหลอมกันไปเป็นจิตใจของเมือง ชาวเมือง ชาวนคร ชาวกรุง เริ่มทาจากตัวเอง ขยายไปที่ครอบครัว ชุมชน และเมือง ขยันพัฒนาสร้างบ้านแปงมือง ทาให้ถิ่นที่เราอยู่ ถิ่นที่เราทางาน พัฒนาขึ้น เจริญขึ้น ถ้าทาแบบนี้ได้ เมือง นคร มหานคร จะกลายเป็นหน่วยสาคัญของการปฏิรูป ประเทศในภาพรวมได้ ไม่ใช่แค่หน่วยงานราชการ ช่วงถาม – ตอบ คาถาม ถามอาจารย์ในเรื่องเขตปกครองพิเศษ ในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ คนในพื้นที่อยากให้มี การเลือกตั้งผู้ว่าราชการ แต่ส่วนกลางยังไม่ตอบรับ อาจารย์คิดเห็นอย่างไร แล้วอย่างในทางสาธารณสุข มีกรณีโรงพยาบาลบ้านแพ้วที่ท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการเอง เกิดการกระจายอานาจ แต่รัฐบาลไม่ว่าจะ
  • 10. 8 มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ไม่สนับสนุนทั้งสิ้น แล้วถ้าการกระจายอานาจเราเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ความ พร้อมเป็นบางจุดก่อน แล้วค่อย ๆ ขยายไปทั่วประเทศจะดีหรือไม่ คาตอบ ต้องก้าวข้ามกรมมาธิปไตย วิธีที่เราบริหารประเทศมาโดยตลอด อาจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช ซึ่งเป็นอาจารย์อาวุโสของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นมานานแล้วว่า ประเทศไทยของเราถูกปกครอง แบบกรมมาธิปไตย คือใช้กรมปกครองประเทศ ข้าราชการเป็นข้าราชการของของกรม สมมุติว่ามี ข้าราชการย้ายจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็คือการย้ายจากกรมหนึ่งไปอี กรมหนึ่ง ไม่ใช่การย้ายจากการสังกัดจังหวัดหนึ่งไปสังกัดอีกจังหวัดหนึ่ง เราไม่มีข้าราชการภูมิภาคที่ แท้จริง ถ้าเป็นข้าราชการภูมิภาคต้องเป็นข้าราชการที่ขึ้นกับจังหวัด แต่เราไม่มีข้าราชการของจังหวัด ส่วนข้าราชการที่จัดหวัดคือคนของกรมที่ส่งมา ผู้ว่าราชการจังหวัดคือคนของสานักงานปลัดกระทรง มหาดไทย นายอาเภอและปลัดจังหวัดคือคนของกรมการปกครอง เราปกครองโดยไม่ได้ยึดพื้นที่เป็น หลัก พื้นที่เป็นเพียงภาคสนามของกรม ทาให้เราไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่ มีแต่คนของกรม เวลาเกิดน้า ท่วมจึงแก้ไม่ได้เพราะไม่รู้ข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ ไม่รู้ว่าเส้นทางน้าเป็นอย่าไร ปัญหาอย่างหนึ่งคือผู้ว่า ย้ายบ่อย บางจังหวัดนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดเฉลี่ยอยู่ในตาแหน่งเพียงปีเดียวหรือไม่ถึงปี จะพัฒนา จังหวัดได้อย่างไร ฉะนั้นเลยทาได้แต่เรื่องประจา พัฒนาอะไรไม่ได้นัก หนึ่งในทางออก : การเลือกตั้งปู้ว่าราชการจังหวัด อันที่จริงวิธีแก้ปัญหามีหลายวิธี เช่น ถ้าเรายังรักษารูปแบบการปกครองจังหวัดแบบทุกวันนี้ก็ ต้องตั้งกติกาว่าผู้ว่าราชการจังหวัดต้องอยู่ในตาแหน่งสองหรือสามปี ถ้าเปลี่ยนไปเป็นเลือกตั้งผู้ว่า ราชการจังหวัด แม้จะมีข้ออ่อนอยู่บ้าง แต่ข้อดีของการเลือกตั้งคือผู้ว่าราชการจังหวัดจะอยู่ครบเทอมสี่ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดประเทศไหนที่พัฒนาแล้วก็ต้องมีความต่อเนื่องในการทางานทั้งนั้น เรื่องผู้ว่าราชการ จังหวัดจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ต้องถกเถียงกันต่อไป หากใครสนใจเรื่องนี้ก็ได้พูดถึงไว้แล้วใน หนังสือเอนกทรรศน์ หากสนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถอ่านได้ ส่วนถ้าจะทาจริง ๆ มีโอกาสทาได้ แค่ไหนนั้น เราอาจจะเลือกบางจังหวัดมาทาก่อนก็เป็นความคิดที่ดี ถ้าจะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจริงๆ มีโอกาสทาได้ไหม แล้วก็อย่างที่คุณหมอ ศิริวัฒน์พูด เราอาจจะเลือกบางจังหวัดมาทาก่อนก็ได้ แต่อาจจะมีข้าราชการที่ไม่พอใจ ซึ่งเราอาจอธิบาย ให้เขาฟังว่าถ้าเป็นข้าราชการเกษียณแล้ว ก็สามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าถ้าเราจะ ไปฟังความพอใจหรือไม่พอใจส่วนบุคคลก็คงไม่ได้ แต่ก็อย่าประมาท เมืองไทยจะทาอย่างที่คุณหมอ
  • 11. 9 ศิริวัฒน์เสนอนั้น ไม่ง่าย ทั้งนี้ เงื่อนไขที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็อย่าเพิ่งไปท้อใจว่าทาอะไรไม่ได้เลย ยังพอ ทาอะไรได้ก็ต้องทาไป ข้าราชการควรเป็นคนของเมืองหรือนครนั้น หากมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง จะทาอย่างไรให้พื้นที่เป็นหน่วยหลักในการพัฒนามากที่สุด โดย ไม่พูดเรื่องการกระจายอานาจ เพราะประเทศไทยไม่ได้ใช้พื้นที่เป็นหน่วยหลักในการทางาน แต่ให้ อานาจการทางานแก่กรม ที่มีคนมาเล่าให้ผมฟังคือ เมื่อพาณิชย์จังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัดไปจัด งานแสดงนิทรรศการที่ต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่จัดงานไปถึง กลับไม่ค่อยรู้จักคนในจังหวัดนั้นๆ เลย เพราะส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพ ส่วนเจ้าหน้าที่พาณิชย์จังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัดก็มีไม่กี่คน ซึ่ง ปกติพวกเขาก็ไม่ค่อยได้ไปติดต่อกับผู้คนในพื้นที่ ถ้าจะส่งเสริมธุรกิจและเศรษฐกิจในต่างจังหวัด ผมคิด ว่าให้คนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ทาดีกว่า เพียงทาได้เท่านี้ บ้านเมืองก็จะเดินไปข้างหน้าได้ไม่น้อย เช่น ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ. นายกเทศมนตรีทา ผมว่าก็จะเปลี่ยนสภาพไปเยอะ เพราะเขารู้เรื่อง พื้นที่มากกว่าพวกเรา ถ้าทาตามแผนที่หลายคนคิด ข้าราชการจะหลุดจากกรมและถูกโอนไปคนละจังหวัดหมด ก็อาจ ไม่ค่อยพอใจ รู้สึกว้าเหว่ว่าจะไปอยู่ได้อย่างไร ออกจากกรมแล้วไปอยู่กับจังหวัด แต่ว่าในประเทศจีน เวลาที่บอกว่าเป็นข้าราชการของมณฑล ก็คือเป็นคนของมณฑลจริงๆ บอกว่าเป็นข้าราชการของเมือง นคร ก็เป็นคนของเมืองนครจริงๆ พวกเขาก็จะเจริญเติบโตในระบบพื้นที่ของเขา ประเทศจีนมี 2 ระบบ คือ (1) ระบบกรม กระทรวง และ (2) ระบบพื้นที่ แล้วก็พื้นที่ของจีนเป็นอะไรที่สาคัญกว่ากรม กระทรวง ดังนั้น เราจึงเห็นผู้นาของจีนหลาย 10 ปีที่ผ่านมานี้ มาจากการเป็นผู้ว่าการมณฑลกับผู้ว่าการมหานคร ไม่มีใครที่เป็นอธิบดีหรือว่าเป็นรัฐมนตรีมาก่อน แล้วถึงมาเป็นหมายเลข 1 หมายเลข 2 ที่ขึ้นมาทา หน้าที่ปกครองประเทศ พื้นที่และประชากรทั้งหมด พวกเขาต้องได้รับการฝึกมาจากการเป็นผู้บริหาร หรือผู้ปกครองพื้นที่และประชากรขนาดย่อม แต่ขนาดย่อมของจีน มันก็มีคน 80 - 100 ล้านคน ถ้าเนรมิตได้ตามใจผม ผมอยากจะเชิญนายกเทศมนตรี นายก อบจ. ที่เก่งๆ หลายคนมาทางาน ระดับชาติ เพราะเขาฝึกมาเยอะมาก นี่ก็เป็นอะไรบางอย่างที่พวกเราไม่ค่อยเข้าใจ สิ่งที่เราสอนกัน เช่น วิชา Public Administration ก็เกี่ยวกับงานของกรม อย่างตอนที่ผมไปเรียนที่อเมริกา วิชาวิเคราะห์ นโยบาย ไปเรียนรวมกับเพื่อนฝรั่ง หลังจากที่อาจารย์พูดเรื่องทฤษฎีทั่วไป ก็บอกว่าอาทิตย์หน้าจะพูด เรื่องนโยบายสาธารณสุขกับนโยบายการศึกษา ขอให้ทุกคนทากรณีที่เกี่ยวกับประเทศของตัวเองมา กรณีของฝรั่งทุกคน นโยบายสาธารณสุขหมายถึงนโยบายของมณฑล นโยบายของเมือง นโยบาย การศึกษาก็เป็นของเมืองและมลรัฐ ถามว่าประเทศไม่มีนโยบายเหรอ มีแต่นิดเดียว เพราะประเทศไม่ได้ ทาเรื่องเหล่านี้ มลรัฐกับเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ เรื่องการศึกษา เรื่องสาธารณสุข รวมทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วย ผมก็งงว่าทาไมประเทศเขาถึงแปลก พอเขามาฟังเรื่องของผมก็งง ว่าทาไมประเทศ
  • 12. 10 นี้แปลก คือทุกอย่าง รัฐบาลทาหมด ตั้งแต่นโยบายสาธารณสุข นโยบายอุดมศึกษา ไปจนถึงนโยบาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่เฉพาะของฝรั่งเท่านั้น มีครั้งหนึ่งที่ผมไปดูงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ญี่ปุ่น เขาทาดี เหลือเกิน มีห้อง Lab ที่วัดค่ามลพิษต่างๆ ทั่วโยโกฮามา รายงานถึงกันหมด ชุมชนใดที่มีค่ามลพิษมาก ก็จะสั่งปิดหรือสั่งหยุด ลดงานของโรงงานลง เพื่อลดมลพิษ ผมก็ดูเพลิน และทุกคนที่ไปกับผมก็ดูเพลิน คนที่ไปดูกับผมมาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เยอะ เราก็ไปคิดว่านี่เป็นงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ถึง ได้ดูทันสมัยขนาดนั้น แต่จริงๆ แล้วมันเป็นงานของเทศบาลนครโยโกฮามา เพราะฉะนั้น เวลาที่คนพูด เรื่องปฏิรูป เรื่องพัฒนา เรื่องพื้นที่มาเล่าให้ฟัง ก็อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด ผมคิดว่าประเทศ เราเองก็แปลกประหลาดที่พัฒนาโดยใช้แต่รัฐบาลทา ไม่ค่อยเหมือนประเทศใดในโลก อย่างไรก็ตาม เรา ก็คงต้องทากันต่อไป
  • 13. 11 แนะนาหนังสือ การพัถนาเมืองและท้องถิ่นไทย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ ศ.เดชา บุญค้า ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
  • 14. 12 แนะนาวารสารพัถนาเมืองออนไลน์ (FURD Cities Monitor) ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต อ่านและดาวน์โหลดฟรี ที่เว็บ furd-rsu.org - วารสารการพัฒนาเมือง Vol.1 ว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมของเมือง และนาเสนอการพัฒนาระบบและ กลไกพัฒนาเมืองของลาปาง - วารสารการพัฒนาเมือง Vol.2 ว่าด้วยแนวคิดการพัฒนาเมือง Placemaking และนาเสนอเมือง สายบุรี เป็นตัวอย่างเมืองที่พัฒนาเมืองแบบ Placemaking - วารสารการพัฒนาเมือง Vol.3 ว่าด้วยแนวคิด มุมมอง และตัวอย่างการขับเคลื่อนสู่การเป็น สมาร์ทซิตี้ทั้งในไทยและต่างประเทศ - วารสารการพัฒนาเมือง Vol.4 ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาเมืองหางโจว ประเทศจีน ที่สามารถรักษา สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ - วารสารการพัฒนาเมือง Vol.5 ว่าด้วยแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ที่ใช้วัฒนธรรมของเมืองเป็นหัวใจ สาคัญในการสร้างเศรษฐกิจเมือง Vol.1 Vol.2 Vol.3 Vol.4 Vol.5