SlideShare a Scribd company logo
1 of 31
Download to read offline
นครเชียงราย
มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ
สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
นครเชียงราย:
มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ
สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
นักวิจัยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง
ผู้เขียน : ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบารุง, มณฑิภรณ์ ปัญญา
ปก : มณฑิภรณ์ ปัญญา
รูปเล่ม : มณฑิภรณ์ ปัญญา
ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
(CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
3
มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ
สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
1. สภาพความเป็นเมืองของเทศบาลนครเชียงราย
เทศบาลนครเชียงราย ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองเชียงรายเมื่อปี พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ 10.2
ตารางกิโลเมตร กระทั่งได้รับการขยายเขตในปี พ.ศ. 2538 ทาให้มีพื้นที่เพิ่มจากเดิมอีก 6 เท่า เป็น
60.85 ตารางกิโลเมตร (38,031 ไร่) และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองเชียงรายเป็น
“เทศบาลนครเชียงราย” ในปี พ.ศ. 2547 โดยมีแนวเขตและแผนที่ตามเดิม ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด
และบางส่วนของตาบลต่างๆ รวม 4 ตาบล คือ ตาบลเวียง ตาบลรอบเวียง ตาบลริมกก และตาบลสัน
ทราย มีการตั้งถิ่นฐานของประชากร 64 ชุมชน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีแม่น้า
สาคัญคือแม่น้ากกและแม่น้ากรณ์ไหลผ่านตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ
เกษตรกรรม การท่องเที่ยวและการขนส่งทางน้า (ภาพที่ 1)
การใช้ที่ดินในเขตเทศบาลนครเชียงรายอยู่ในลักษณะผสมผสานปะปนกัน ที่ดินในย่านธุรกิจ
การค้าใจกลางเมือง (CBD) ที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักจะมีการใช้ประโยชน์อย่างหนาแน่น ส่วนมากจะ
เป็นธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ปะปนกับสถานที่ราชการและที่อยู่อาศัย (ภาพที่ 2) ส่วนการ
ใช้ที่ดินเพื่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรและที่ดินเพื่อการเกษตรจะอยู่รอบนอกของเขตเทศบาล โดยพื้นที่
เกษตรกรรม มีการเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้นรวม 12,638 ไร่ (ร้อยละ 33) รองลงมาคือพื้นที่
สาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และสถานที่อื่นๆ รวม 11,067 ไร่ (ร้อยละ 29) พื้นที่พักอาศัย อาคาร
สิ่งปลูกสร้าง 7,105 ไร่ (ร้อยละ 19) พื้นที่ประกอบการค้า 2,307 ไร่ (ร้อยละ 6) ส่วนที่เหลืออีกประมาณ
4,900 ไร่ (ร้อยละ 13) เป็นพื้นที่ว่างเปล่า
ภาพที่ 1 ที่ตั้งของเทศบาลนครเชียงราย
ที่มา : wikimapia.org
4
ภาพที่ 2 การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลนครเชียงรายปี พ.ศ. 2555
ที่มา : โครงการกาหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5
ตารางที่ 1 จานวนนักท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย จาแนกเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2560
หน่วย : คน
ปี พ.ศ. นักท่องเที่ยวชาว
ไทย
นักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติ
นักท่องเที่ยว
รวม
การเปลี่ยนแปลง
2555 2,231,702 520,078 2,751,780 -
2556 2,231,702 526,498 2,909,804 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.74
2557 2,351,184 517,824 2,869,008 ลดลง ร้อยละ 1.40
2558 2,521,249 557,727 3,078,976 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.32
2559 2,633,051 559,059 3,192,110 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.67
2560 2,848,911 593,251 3,442,162 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.83
ที่มา : สถิตินักท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ในด้านประชากร เทศบาลนครเชียงรายมีจานวนประชากรทั้งสิ้น 75,468 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30
กันยายน 2560) โดยเป็นประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จานวน 12,638 คน คิดเป็นร้อยละ 16.74 ของ
จานวนประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่แสดงถึงการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ “สังคมสูงวัย”1 ทั้งนี้ มี
ผู้สูงอายุที่ผ่านการประเมินกิจวัตรประจาวัน ADL (Barthel Activities of Daily Living หรือ ดัชนีบาร์เธล
เอดีแอล) ในปี 2559 จานวน 5,635 คน คิดเป็นร้อยละ 45 ของผู้สูงอายุทั้งหมด โดยแบ่งผู้สูงอายุ
ออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มติดสังคม 5,328 คน คิดเป็นร้อยละ 94.56 กลุ่มติดบ้าน 252 คน คิดเป็นร้อยละ
4.47 และกลุ่มติดเตียง 55 คน คิดเป็นร้อยละ 0.98
2. จุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย
เริ่มจากรัฐบาลกาหนดให้มีการเตรียมความพร้อมสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดการณ์
ว่าประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 25642 กอปรกับนโยบายของ
ผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายที่เล็งเห็นความสาคัญของการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ภายใต้แนวคิด “พัฒนาคนสู่การพัฒนาเมือง” (กล่อง
ที่ 1) จากนโยบายและแนวคิดดังกล่าว จึงได้ถ่ายทอดสู่โครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
โดยเริ่มต้นในปี 2559 แยกการดาเนินงานออกเป็น 2 ส่วนตามกลุ่มเป้าหมายของผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มติด
สังคม (ประมาณร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล) และกลุ่มติดบ้าน-ติดเตียง (ประมาณร้อยละ 5
ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล)
1 “สังคมสูงวัย” (Aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด
2 ขณะนี้สังคมโลกได้กลายเป็นสังคมสูงวัยแล้ว โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจานวน 901 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากร
ทั้งหมด ในประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16 โดยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และ
คาดว่าจะเป็น “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged
Society) ภายในปี พ.ศ. 2578 โดยประมาณการว่าจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของจานวนประชากรทั้งหมด
6
ในกลุ่มติดสังคม เทศบาลนครเชียงรายได้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย” เป็น
การศึกษาตามอัธยาศัย ภายใต้การบูรณาการงานของหน่วยงานภายในเทศบาล 3 ส่วนคือสานัก
การศึกษา กองสวัสดิการสังคม และกองการแพทย์ รวมถึงการบูรณาการหน่วยงานภายนอกและภาค
ประชาสังคม บริหารจัดการโดยภาคประชาชนจิตอาสา มีนางอุบลวรรณ แสนมหายักษ์ ดารงตาแหน่ง
ผู้อานวยการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย เปิดทาการสอนตั้งแต่วันจันทร์-วันเสาร์ มีหลักสูตร
ทั้งหมด 8 หลักสูตร รวม 14 รายวิชา ซึ่งเมื่อเรียนครบ 8 หลักสูตร (หลักสูตรละ 1 รายวิชา) จะได้รับ
ปัญญาบัตร
ผลการดาเนินงานที่ผ่านมา พบว่า มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงรายเปิดมาแล้ว 4 ภาคเรียน
เปิดรับนักศึกษารุ่นใหม่ทุกภาคเรียนรวม 4 รุ่น โดยในภาคเรียนที่ 1 (รุ่นที่ 1) มีนักศึกษาเข้าเรียนจานวน
345 คน ภาคเรียนที่ 2 (รุ่นที่ 2) จานวน 593 คน ภาคเรียนที่สาม (รุ่นที่ 3) จานวน 587 คน และภาค
เรียนที่ 4 (รุ่นที่ 4) จานวนประมาณ 500 คน (ตารางที่ 2) ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดการเรียนการสอนในภาค
เรียนที่ 4 และมีผู้สูงอายุที่สาเร็จการศึกษาเข้ารับใบปัญญาบัตรแล้ว 1 รุ่น (รุ่นที่ 1)
ตารางที่ 2 จานวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 – 4 (ปี พ.ศ. 2560 – 2562)
หน่วย : คน
รุ่นที่ จานวนนักศึกษา
ภาคเรียนที่ 1
จานวนนักศึกษา
ภาคเรียนที่ 2
จานวนนักศึกษา
ภาคเรียนที่ 3
จานวนนักศึกษา
ภาคเรียนที่ 4
1 340 340 340 สาเร็จการศึกษา
2 0 593 593 593
3 0 0 587 587
4 0 0 0 500 (ประมาณการ)
จานวนนักศึกษาสะสม 340 933 1,520 1,680 (ประมาณการ)
กล่องที่ 1 แนวคิดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยผู้บริหารเทศบาลนครเชียงราย “พัฒนาคนสู่การพัฒนาเมือง”
แนวคิด “พัฒนาคนสู่การพัฒนาเมือง” โดยเปลี่ยนจากภาระปัญหาเป็นคุณค่าและโอกาสเพื่อเติมเต็มให้แก่
เมือง หากเปรียบให้เห็นภาพว่านครเชียงรายคือครอบครัวใหญ่ที่ประชาชนทุกคนคือสมาชิกของครอบครัว เทศบาล
นครเชียงรายทาหน้าที่เป็นธุรการใหญ่ที่นาผู้คนให้มาพบเจอกันเพื่อร่วมกันพัฒนาเมือง อาศัยการทางานเป็นทีม การ
ทางานด้วยกัน เชื่อมั่นกัน โรงเรียนผู้สูงอายุแม้จะจัดตั้งขึ้นตามแนวคิดของโรงเรียนชีวิตหรือมหาวิทยาลัยชีวิตเพื่อเติม
เต็มชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เติมเต็มซึ่งกันและกัน แต่เทศบาลนครเชียงรายยังเล็งเห็นโอกาสในการนา
พลังของผู้สูงอายุมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงเมืองในฐานะจิตอาสาด้วย
ที่มา : ถอดความและเรียบเรียงจากคากล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย ในการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดการความรู้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562
7
จุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย เกิดจากแนวคิดของผู้บริหารเทศบาลร่วมกับ
ภาคีที่ขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา รวมถึงแกนนาภาคประชาชนที่ต้องการเปิดพื้นที่การทางานในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง จากนั้นจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะแพทยศาสตร์ คณะ
พยาบาลศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ อาทิ รองศาสตราจารย์
นายแพทย์สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา แพทย์อายุรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล
ด้านการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มาอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่เทศบาลในเรื่องการพัฒนาเพื่อรองรับ
สังคมผู้สูงอายุ นโยบายและแนวปฏิบัติในการทาโรงเรียนผู้สูงอายุ นับเป็นการจุดประกายให้ผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องเริ่มลงมือขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเทศบาลนครเชียงรายและแกนนา
ผู้สูงอายุจิตอาสาในพื้นที่ ร่วมกับตัวแทนผู้สูงอายุจากทั้ง 64 ชุมชน
เหตุที่ใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยวัยที่สาม” เนื่องจากได้รับแนวความคิดเรื่อง University of Third
Age (U3A) ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก โดยใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามาจัด
หลักสูตร ทั้งยังมีการจัดการเรียนการสอนที่ต่างจากโรงเรียนผู้สูงอายุ คือมีความเข้มข้นและจริงจัง
มากกว่า กอปรกับความต้องการตั้งชื่อให้ดึงดูดความสนใจ ด้วยทางเทศบาลนครเชียงรายคาดหวังว่า
มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะ ศักยภาพ คุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุในทุกด้านให้มีความเข้มแข็ง เป็นประโยชน์สูงสุด เกิดความรู้สึกมีคุณค่ามีศักดิ์ศรี มีกาลังใจใน
การดารงชีวิต
สาหรับกลุ่มติดบ้าน-ติดเตียง (ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง) เทศบาลนครเชียงรายได้จัดตั้ง “ศูนย์
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ” เป็นศูนย์กลางในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม
เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข รวมถึงได้รับการดูแลต่อเนื่อง
อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งที่มาเข้ารับบริการที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
อีกทั้งยังมีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากทีมหมอ
ครอบครัว โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้ช่วยเหลือดูแล
ผู้สูงอายุ (Care Giver) บริหารจัดการโดยภาคประชาชนจิตอาสา มีนางทองประกาย เผ่าวัฒนา เป็น
ประธานคณะกรรมการ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 จนถึงปัจจุบัน
3. การขับเคลื่อนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย
การดาเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุของเทศบาลนครเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
สร้างระบบและกลไกการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงรายที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย สามารถ
รองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเพื่อพัฒนานวัตกรรมการดูแล
ผู้สูงอายุ โดยใช้ทุนและศักยภาพของพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา มีรายละเอียดของการดาเนินงานดังนี้
3.1 มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย
เทศบาลนครเชียงรายดาเนินการขับเคลื่อนงานการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย
ภายใต้ฐานคิด 3 ประการคือ (1) การจัดการความรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยผู้สูงอายุภาค
8
ประชาชน (2) การถ่ายโอนความรู้จากผู้สูงอายุไปสู่คนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ และ (3) การ
จัดสาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมล้านนา เพื่อมุ่งสู่เมืองท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมและเมืองแห่งความสุข มีวัตถุสงค์เพื่อเป็นการศึกษาตามอัธยาศัยในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและ
เพิ่มศักดิ์ศรีและคุณค่าของผู้สูงอายุ และเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้มีองค์ความรู้ พึ่งตนเอง และเป็นเสาหลัก
ของสังคม โดยมีการดาเนินงานใน 4 ส่วน ประกอบด้วย การกาหนดโครงสร้างการบริหารจัดการ การ
พัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการทรัพยากร และการจัดการเรียนการสอน มีรายละเอียดดังนี้
1) การกาหนดโครงสร้างการบริหารจัดการ ดาเนินการภายใต้รูปแบบ “คณะกรรมการ
มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย” ประกอบด้วย บุคลากรจากเทศบาลนครเชียงราย 3
หน่วยงาน ได้แก่ สานักการศึกษา (การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย) กองสวัสดิการ
สังคม (การพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์) และกองการแพทย์ (เวชกรรมสังคม/การ
ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ) เห็นได้ว่าเป็นการออกแบบโครงสร้างให้หน่วยงานภายในเทศบาล
นครเชียงรายได้บูรณาการงานร่วมกัน โดยทาหน้าที่เป็นฝ่ายหนุนเสริมโครงสร้างในส่วน
ของภาคประชาชน ได้แก่ แกนนาผู้สูงอายุและแกนนาชุมชนจิตอาสา ซึ่งทาหน้าที่เป็นผู้
ขับเคลื่อนหลักเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยมีนางอุบลวรรณ แสนมหายักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน
การศึกษา เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยกรรมการจากภาคประชาชนอีก 15 คน
ประกอบด้วยหลายภาคส่วน อาทิ ผู้เกษียณอายุราชการ ประธานชุมชน อสม. อปพร. และ
ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้เข้ามาร่วมงานด้วยจิตอาสา ไม่มีเงินเดือน/เงิน
ประจาตาแหน่งใดๆ (ภาพที่ 3)
2) การพัฒนาหลักสูตร ดาเนินการภายใต้แนวคิด “การจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย” เน้น
การสร้างหลักสูตรที่ผู้สูงอายุหรือผู้เรียนกาหนดขึ้นเองตามความสนใจ โดยได้มีการระดม
ความคิดเห็นจากตัวแทนผู้สูงอายุจากชุมชนทั้ง 64 แห่ง เพื่อรวบรวมข้อมูลและความ
ต้องการต่างๆ จากนั้นจึงเชิญสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
มาจาแนกและจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อวางโครงสร้างหลักสูตร ได้ 8 หลักสูตร 8 รายวิชา มีปราชญ์
ชุมชนเข้ามาช่วยกาหนดเนื้อหาของหลักสูตรรายวิชา และระยะเวลา/จานวนชั่วโมงสอน โดย
มีคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านหลักสูตรและการสอน เป็นที่ปรึกษา ปัจจุบันเปิดสอนครบทั้ง
8 หลักสูตร โดยมีรายวิชาให้ผู้เรียนเลือกศึกษาเพิ่มมากขึ้นเป็น 14 รายวิชา มีรายละเอียด
ดังนี้
9
ภาพที่ 3 แผนผังคณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย
ที่มา : เว็บไซต์เทศบาลนครเชียงราย, www.chiangraicity.go.th
- หลักสูตรเทคโนโลยีและการสื่อสาร ประกอบด้วย วิชาคอมพิวเตอร์และการใช้มือถือ
วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจาวัน วิชาภาษาจีนเพื่อการทักทาย
- หลักสูตรศาสนาและศาสนพิธี ประกอบด้วย การเรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ การทา
สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในงานมงคลและอวมงคล
- หลักสูตรศิลปวัฒนธรรมล้านนา ประกอบด้วย ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม
- หลักสูตรสุขภาพวัยที่สาม เป็นการเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติตนในการป้องกัน เฝ้าระวัง
โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และประคับประคองสุขภาพด้วยตนเอง และช่วยเหลือเพื่อน
ผู้สูงอายุ
10
- หลักสูตรสิ่งแวดล้อม (ภาพที่ 4)
- หลักสูตรการท่องเที่ยว เพื่อรู้อดีต ปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
- หลักสูตรเศรษฐกิจในครัวเรือน เป็นการเรียนรู้และการปฏิบัติวิถีชีวิตตามศาสตร์ของ
พระราชา
- หลักสูตรสังคมและความสุข ประกอบด้วย วิชา Line Dance ลีลาศ และราวงย้อนยุค
ภาพที่ 4 ตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร (ด้านสิ่งแวดล้อม)
3) การบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพยากรหลักในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย
งบประมาณ อาคารสถานที่ วิทยากรการจัดการเรียนรู้ และวัสดุอุปกรณ์การเรียน มี
รายละเอียดดังนี้
- งบประมาณ มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย กองทุน สปสช. และกองทุน
เงินบริจาค ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สาม เทศบาลนคร
เชียงรายได้รับการคัดเลือกจากสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติให้เป็น 1 ใน 6 เมืองนาร่อง “โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนของการพัฒนา
เมืองในอนาคต” (The Project for Promoting Sustainability in Future Cities of
Thailand : TFCP) โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการพัฒนาเมืองร่วมกับภาค
ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA (Japan International
11
Cooperation Agency) เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สามให้เป็นศูนย์กลาง
ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกด้าน
- อาคารสถานที่ ใช้สถานที่เดิมของศูนย์แสดงสินค้า OTOP ซึ่งปัจจุบันย้ายไปอยู่บริเวณ
ด้านหลังของอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ซึ่งเป็นทาเลที่เหมาะกับการค้ามากกว่า
โดยมีการปรับปรุงด้านโครงสร้างต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนและการจัด
กิจกรรม อาทิ การใช้โครงสร้างหลังคาขนาดใหญ่คลุมลานเปิดโล่งตอนกลางให้
กลายเป็นพื้นที่จัดกิจกรรม ปรับปรุงห้องจัดแสดงสินค้าขนาดเล็กกว่า 10 ห้องให้เป็น
ห้องเรียน ห้องประชุม ห้องทางาน ปรับปรุงห้องน้าให้เหมาะสมกับการใช้งานของ
ผู้สูงอายุ เป็นต้น (ภาพที่ 5)
- วิทยากรการจัดการเรียนรู้ มาจากทุกภาคส่วน ทั้งคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาใน
ระดับต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชุมชน ครูภูมิปัญญา นักวิจัย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน
ของรัฐ ทั้งจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการดูแลทุกหลักสูตร ปัจจุบัน
เทศบาลนครเชียงรายอุดหนุนเงินค่าจ้างวิทยากร ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการเรียนรู้ตาม
อัธยาศัยของสานักการศึกษา
- วัสดุอุปกรณ์การเรียน ในระยะแรก ประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ จึงต้องอาศัย
ความช่วยเหลือจากวิทยากรและชุมชน อาทิ วิทยากรนาเครื่องขยายเสียงมาเอง ขอยืม
เครื่องคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนเทศบาล และให้ผู้สูงอายุจัดหาเอง เช่น เครื่องดนตรี
ต่อมาได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก JICA เพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องมือ
โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ จึงมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น
4) การจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงรายเปิดทาการสอนปีละ 2 ภาค
เรียน ใช้เวลาเรียนภาคเรียนละ 4.5 เดือน ตั้งแต่วันจันทร์-วันเสาร์ (ตารางที่ 3) นักศึกษา
สามารถลงเรียนได้สูงสุดภาคเรียนละ 3 หลักสูตร (หลักสูตรละ 1 รายวิชา) กาหนดเวลา
เรียนรายวิชาละ 60 ชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา เมื่อเรียนครบ 8 หลักสูตร (8 รายวิชา) จะสาเร็จ
การศึกษา ได้รับใบปัญญาบัตรที่ลงนามโดย 4 ผู้แทนองค์กร ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินท
รวิโรฒ องครักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงราย และ
ผู้อานวยการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย โดยมีการกากับ ติดตามและประเมินผล
เพื่อพัฒนางาน นาไปสู่การขยายผลต่อไป
12
ภาพที่ 5 ตัวอย่างห้องเรียนและลานกิจกรรม
ตารางที่ 3 ตัวอย่างตารางเรียน ประจาปีการศึกษา 2560 (ภาคเรียนที่ 1)
วัน/เวลา 9.00 – 12.00 น. 13.00 – 16.00 น. เริ่มเรียน
จันทร์ ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว 15 พ.ค. 60
อังคาร สังคมความสุข (ไลน์แดนซ์) 16 พ.ค. 60
พุธ เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม
สุขภาพ (อาหาร)
17 พ.ค. 60
17 พ.ค. 60
7 มิ.ย. 60
พฤหัสบดี คอมพิวเตอร์ (กลุ่มที่ 1)
สุขภาพ (กู้ชีพ)
คอมพิวเตอร์ (กลุ่มที่ 2) 11 พ.ค. 60
8 มิ.ย. 60
ศุกร์ พุทธศาสนา
สุขภาพ (เต้า เต๋อ)
12 พ.ค. 60
9 มิ.ย. 60
เสาร์ วัฒนธรรม (สะล้อ-ซึง-ฟ้อนเจิง-ฟ้อน
เล็บ)
วัฒนธรรม
ลีลาส
13 พ.ค. 60
20 พ.ค. 60
อาทิตย์ วันหยุดมหาวิทยาลัย
ที่มา : ดัดแปลงจากภาพที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของเทศบาลนครเชียงราย, www.chiangraicity.go.th
3.2 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ
เทศบาลนครเชียงรายดาเนินการขับเคลื่อนงานการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้
พิการใน 3 ส่วน ได้แก่ การจัดรูปแบบการบริหารจัดการ การบริหารจัดการทรัพยากร และการให้บริการ
มีรายละเอียดดังนี้
1) การจัดรูปแบบการบริหารจัดการ ดาเนินการภายใต้รูปแบบ “คณะกรรมการศูนย์
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ” ประกอบด้วย บุคลากรจากเทศบาลนคร
13
เชียงราย 1 หน่วยงาน ได้แก่ กองการแพทย์ ทาหน้าที่วางแผน ติดตาม ประเมินผล เป็น
ศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่าย ประสานความร่วมมือ โดยมีภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานต่างๆ
เข้ามาร่วมดาเนินงาน ประกอบด้วย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตาบลในพื้นที่ และภาคประชาชน ได้แก่ แกนนาชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ อสม.
และจิตอาสา โดยมีนางทองประกาย เผ่าวัฒนา อดีตหัวหน้าฝ่ายพยาบาล โรงพยาบาล
เชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นประธานคณะกรรมการ
2) การบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพยากรหลักในการดาเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพ
ชีวิตฯ ประกอบด้วย งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ มี
รายละเอียดดังนี้
- งบประมาณในการดาเนินงานมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย สนับสนุน
งบประมาณจัดทาโครงการและกิจกรรม กองทุน สปสช. และกองทุนเงินบริจาค โดยมี
งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและองค์กรอื่นๆ อย่างเช่น การออกเยี่ยม
บ้านทาให้พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบางรายประสบปัญหาสภาพที่อยู่อาศัยไม่เอื้อ
ต่อการดารงชีวิต ทั้งห้องน้า ราวจับราวกั้น พื้นบ้านต่างระดับ ไม่มีประตูหน้าต่าง ขาด
แคลนกายอุปกรณ์ การดูแลของญาติที่ขาดทักษะและทอดทิ้ง เนื่องจากมีความ
จาเป็นต้องออกไปหารายได้ และอื่นๆ ทางเทศบาลจึงพยายามดึงภาคีเครือข่ายเข้ามา
ระดมให้ความช่วยเหลือ อาทิ สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด
เชียงราย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาหรับการช่วยเหลือเพื่อซ่อมแซมบ้านให้แก่
ผู้สูงอายุ การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้ประสบปัญหาทางสังคม และการกู้ยืมเงินเพื่อนาไป
ประกอบอาชีพ เป็นต้น
- อาคารสถานที่ ใช้สถานที่เดิมของศูนย์แสดงสินค้า OTOP ซึ่งเป็นที่เดียวกับ
มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย โดยมีการปรับปรุงห้องขนาดเล็ก 2 ห้อง สาหรับ
ให้บริการผู้สูงอายุและผู้พิการ (ภาพที่ 6)
- บุคลากร เทศบาลนครเชียงรายกาหนดกรอบบุคลากรเพิ่ม เพื่อให้การดาเนินงานมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ นักวิชาการ แพทย์แผนไทย พยาบาลวิชาชีพ ผู้นาชุมชน/
ชมรมผู้สูงอายุ ค้นหาข้อมูลผู้สูงอายุและผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือ
14
ภาพที่ 6 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย
- เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เทศบาลนครเชียงรายสนับสนุนการจัดตั้ง “ศูนย์กาย
อุปกรณ์” ควบคู่ไปกับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ โดยประชาสัมพันธ์ให้มีการระดม
เครื่องมือและอุปกรณ์ รับบริจาคและให้บริการกายอุปกรณ์ ประกอบด้วย รถเข็นนั่ง ไม้
เท้าสามขา ที่ค้ายัน เตียงลม เตียงปรับระดับได้ เก้าอี้อาบน้า ถังออกซิเจน เครื่องดูด
เสมหะ ชุดฝึกสมอง อุปกรณ์ฟื้นฟูข้อ เป็นต้น ทั้งแบบบริการในศูนย์ฯ บริการในชุมชน
สาธิตการใช้อุปกรณ์ที่ศูนย์ฯ และที่บ้าน รวมถึงให้บริการยืมอุปกรณ์ ปัจจุบันศูนย์กาย
อุปกรณ์มี 2 แห่ง ได้แก่ แห่งที่ 1 บริเวณศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และแห่งที่ 2 บริเวณ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลสันหนอง
3) การให้บริการ มีกระบวนการเริ่มจากการจัดทาแผน/โครงการกิจกรรม ดาเนินงานการ
ให้บริการ โดยจาแนกเป็น 2 ส่วน คือ การให้บริการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และศูนย์
กายอุปกรณ์ และการให้บริการตามโครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับ
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีการกากับ ติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนางาน นาไปสู่การ
ขยายผลต่อไป (ภาพที่ 7)
- การให้บริการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และศูนย์กายอุปกรณ์ ได้ดาเนินการ
ให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดบริการในช่วงเช้า ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ส่วนช่วงบ่ายจะ
เป็นการออกเยี่ยมบ้านร่วมกับ CM/ทีมพี่เลี้ยง (ตารางที่ 4) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ
อาทิ การจัดบริการรถรับ-ส่ง ผู้สูงอายุ รับปรึกษาปัญหาสุขภาพ ประสานเพื่อขอความ
ช่วยเหลือด้านต่างๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ
ดูแลผู้สูงอายุ เช่น ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จัดอบรม/จัดกิจกรรมเพื่อ
เตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองให้กับผู้ที่มีความเสี่ยง และจัดทาฐานข้อมูลผู้สูงอายุ
กลุ่มติดบ้าน-ติดเตียง (ระบบเวปไซต์ สปสช. เขต 1 กรมอนามัย) เป็นต้น
15
- การให้บริการตามโครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะ
พึ่งพิง ได้แก่ การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Long Term Care; LTC) มีการจัดทา Care Plan
สาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเฉพาะราย จากนั้นรวบรวม Care Plan เสนอต่อ
อนุกรรมการ LTC เพื่อผ่านความเห็นชอบ และแจ้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
ให้รับทราบผล อนุมัติเบิกจ่าย ทาบันทึกข้อตกลง ก่อนที่จะจัดบริการตาม Care Plan
และเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver)
ภาพที่ 7 ระบบและกระบวนการในการให้บริการของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย
ที่มา : กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย
4. ระบบและกลไกในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย
กลไกในการขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงรายเริ่มจาก
เทศบาลนครเชียงราย ที่มีนโยบายจากผู้บริหารมอบหมายแก่ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยมีการ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการดาเนินงานที่ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบ “คณะกรรมการ
ดาเนินงาน” เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานต่อไป โดยเทศบาลนครเชียงรายถอยออกมาเป็น
ผู้สนับสนุน/จัดหาทรัพยากรในการดาเนินงาน ได้แก่ งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร เครื่องมือและ
อุปกรณ์ต่างๆ
16
ตารางที่ 4 ตารางกิจกรรม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย
วัน/เวลา 8.30 – 12.00 น. 13.00 – 16.30 น.
จันทร์ แพทย์แผนไทย
นวดเพื่อรักษา ประคบสมุนไพร อบไอน้าสมุนไพร จ่ายยา
สมุนไพร
เยี่ยมบ้านร่วมกับ CM /
ทีมพี่เลี้ยง
อังคาร กิจกรรมให้ความรู้
การส่งเสริมและการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแล
พุธ แพทย์แผนไทย
นวดเพื่อรักษา ประคบสมุนไพร อบไอน้าสมุนไพร จ่ายยา
สมุนไพร
พฤหัสบดี กายภาพบาบัด
ฝึกการเคลื่อนไหว ฝึกการใช้อุปกรณ์ ฟื้นฟูสภาพ
ศุกร์ กิจกรรมบาบัด
ฝึกสมอง ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกพูด ฝึกการกลืน
ที่มา : ดัดแปลงจากภาพที่เผยแพร่ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย
ในกรณีของมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย (ภาพที่ 8) เริ่มต้นจากแนวคิด/นโยบายและการ
ดาเนินงานภายในองค์กรเทศบาลนครเชียงรายของสานักการศึกษา กองสวัสดิการสังคม และกอง
การแพทย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เป็นสถาบันการศึกษา ก่อนที่จะเริ่มค้นหาชักชวนผู้สูงอายุจิตอาสา
ปราชญ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญ และแกนนาในด้านต่างๆ มาร่วมกันจัดตั้งเป็น
“คณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย” เพื่อขับเคลื่อนระบบการดาเนินงาน โดยมีปัจจัย
นาเข้า (Input) คือ หลักสูตร และทรัพยากรหลักในการจัดการเรียนการสอน อันได้แก่ งบประมาณ
อาคารสถานที่ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในส่วนของกระบวนการ (Process) ได้แก่ การจัดการ
เรียนการสอน โดยมีผลลัพธ์ (Output) คือ ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย เกิดการพัฒนาคน เพื่อเป็นทุน
มนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมืองต่อไป (แสดงรายละเอียดของผลลัพธ์ความสาเร็จที่เกิดขึ้นในหัวข้อ
ที่ 6)
ในส่วนของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการก็มีความคล้ายคลึงกัน (ภาพที่ 9) โดย
เริ่มต้นจากแนวคิด/นโยบายและการดาเนินงานภายในองค์กรเทศบาลนครเชียงรายของกองการแพทย์
ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่
ก่อนที่จะเริ่มค้นหาชักชวนแกนนาชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ และจิตอาสา มาร่วมกันจัดตั้งเป็น
“คณะกรรมการศุนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ” เพื่อขับเคลื่อนระบบการดาเนินงาน โดยมี
ปัจจัยนาเข้า (Input) คือ ทรัพยากรหลักต่างๆ อันได้แก่ งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร และวัสดุ
อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเปิดให้บริการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และศูนย์กายอุปกรณ์ รวมถึงการ
ให้บริการตามโครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งเป็นส่วนของ
กระบวนการ (Process) โดยมีผลลัพธ์ (Output) คือ ผู้สูงอายุและผู้พิการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มี
17
คุณภาพชีวิตดีขึ้น (ประมาณร้อยละ 30-60 ของกลุ่มเป้าหมาย) เกิดการพัฒนาคน เพื่อเป็นทุนมนุษย์ที่มี
ศักยภาพในการพัฒนาเมืองต่อไป (แสดงรายละเอียดของผลลัพธ์ความสาเร็จที่เกิดขึ้นในหัวข้อที่ 6)
ทั้งนี้ สามารถสรุปรายละเอียดของระบบและกลไกในการขับเคลื่อนงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
ในเขตเทศบาลนครเชียงรายได้ดังภาพที่ 10
ภาพที่ 8 แผนภาพแสดงระบบและกลไกในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย
จากนโยบายรัฐบาลสู่การกาหนดนโยบายของผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายระดับนโยบาย
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
กลไก คณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย
ระดับปฏิบัติ
จุดเริ่มต้น : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับนโยบายและภาคประชาชน
เกิดความตระหนัก เห็นความสาคัญ นาไปสู่การร่วมคิดร่วมทา
ค้นหาพันธมิตร
ทุนมนุษย์/สร้างทีมงาน
ค้นหาข้อมูล/ความต้องการ
จากตัวแทนผู้สูงอายุ 64 ชุมชน
ค้นหาวิธีการ
การอบรม/ศึกษาดูงาน
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
การจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย
ระบบ
การดาเนินงาน
การพัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการทรัพยากรภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
การจัดการเรียนการสอน
ผลลัพธ์ (ผลที่เกิดขึ้น) : ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย เกิดการพัฒนาคน
ผลกระทบ (ผลที่ตามมา) : ผู้สูงอายุเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมือง
การขยายผล
จัดตั้งศูนย์การ
เรียนรู้ผู้สูงอายุใน
ชุมชน 5 แห่ง
18
ภาพที่ 9 แผนภาพแสดงระบบและกลไกในการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ
เทศบาลนครเชียงราย
จากนโยบายรัฐบาลสู่การกาหนดนโยบายของผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายระดับนโยบาย
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
กลไก คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย
ระบบ
การดาเนินงาน
การบริหารจัดการ
ทรัพยากร
การให้บริการ
(ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ/LTC)
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
ระดับปฏิบัติ
จุดเริ่มต้น : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับนโยบายและภาคประชาชน
เกิดความตระหนัก เห็นความสาคัญ นาไปสู่การร่วมคิดร่วมทา
ค้นหาพันธมิตร
ทุนมนุษย์/สร้างทีมงาน
ค้นหา/จัดทาข้อมูลผู้สูงอายุ
ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ค้นหาวิธีการ
ศึกษาแนวปฏิบัติ
บูรณาการงานที่มีอยู่เดิม
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
การจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย
ผลลัพธ์ (ผลที่เกิดขึ้น) : ผู้สูงอายุและผู้พิการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (อยู่ระหว่างร้อยละ 30-60 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด)
ผลกระทบ (ผลที่ตามมา) : ผู้สูงอายุเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมือง
การขยายผล
การเยี่ยมบ้าน
ปรับปรุงสภาพ
บ้าน สร้างระบบ
อสค. และจัดตั้ง
ศูนย์ย่อยใน
ชุมชน 5 แห่ง
19
ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงระบบและกลไกในการขับเคลื่อนงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย
จากนโยบายรัฐบาลสู่การกาหนดนโยบายของผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายระดับนโยบาย
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
กลไก
คณะกรรมการศูนย์พัฒนา
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ
ระบบ
การดาเนินงาน
การพัฒนาหลักสูตร
การบริหารจัดการทรัพยากร
การบริหารจัดการทรัพยากร
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุน
เสริม
ระดับปฏิบัติ
จุดเริ่มต้น : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับนโยบายและภาคประชาชน
เกิดความตระหนัก เห็นความสาคัญ นาไปสู่การร่วมคิดร่วมทา
ค้นหาพันธมิตร
ทุนมนุษย์/สร้างทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เพื่อระบุปัญหา/ความต้องการ
ค้นหาวิธีการ
ที่เหมาะสมในการดาเนินงาน
ภาคีเครือข่าย
ให้การหนุนเสริม
ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
การขยายผล
ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม
“มหาวิทยาลัยวัยที่สาม”
ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง
“ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ”
คณะกรรมการ
มหาวิทยาลัยวัยที่สาม
การจัดการเรียน
การสอนตามหลักสูตร
การให้บริการ
(ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ/LTC)
ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตาม
อัธยาศัย เกิดการพัฒนาคน
ผลลัพธ์ : ผู้สูงอายุกลายเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมือง
การเชื่อมโยง
มหาวิทยาลัยวัยที่สาม
นครเชียงรายสู่ศูนย์การ
เรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน
5 แห่ง
การเชื่อมโยงศูนย์พัฒนาคุณภาพ
ชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการสู่ชุมชน
อาทิ การเยี่ยมบ้าน การปรับปรุง
สภาพบ้าน การสร้างระบบ อสค.
และจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพ
ชีวิตฯ ในชุมชน 5 แห่ง
20
5. การขยายผลการดาเนินงานเพื่อมุ่งสู่การดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและยั่งยืน
5.1 การเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงรายสู่ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน
1) จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน “ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน”
คือการขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมของมหาวิทยาลัยวัยที่สาม มีที่มาจากการประเมินผลการ
จัดการเรียนการสอนเมื่อจบภาคเรียนที่ 1 โดยความช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยราชภัฎ
เชียงราย พบว่า นักเรียนไม่สามารถมาเข้าเรียนได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมหาวิทยาลัยอยู่
ไกล เดินทางลาบาก เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง นาไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ไขด้วย
การขยายเครือข่ายออกไปในชุมชน มีลักษณะคล้ายกับการขยายวิทยาเขต เพื่อให้สะดวก
ต่อการเดินทาง โดยให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน 5 แห่ง ตามการแบ่งพื้นที่ใน
เขตเทศบาลนครเชียงรายออกเป็น 5 โซน (ภาพที่ 11) ดังนี้
ภาพที่ 11 การแบ่งพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงรายออกเป็น 5 โซน เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน
ที่มา : กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย
- ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 1 ใช้ศูนย์บริการการท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงราย
ภายในวัดดอยทอง ชุมชนดอยทอง เป็นที่ตั้ง สถานที่สาคัญ อาทิ ศาลากลางจังหวัด
เชียงราย วัดดอยทอง วัดงาเมือง วัดพระแก้ว วัดร่องเสือเต้น วัดห้วยปลากั้ง
- ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 2 ใช้วัดศรีบุญเรือง ชุมชนกองยาว เป็นที่ตั้ง สถานที่
สาคัญ อาทิ วัดศรีเกิด วัดเจ็ดยอด สวนตุงและโคม อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย
- ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 3 ใช้โรงเรียนเก่าบ้านทุ่งมน ชุมชนดอยสะเก็น เป็น
ที่ตั้ง สถานที่สาคัญ อาทิ วัดคีรีชัย พระธาตุดิยสะเก็น วัดฝั่งหมิ่น สวนดอกไม้งาม
21
- ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 4 ใช้วัดดอยพระบาท ชุมชนดอยพระบาท เป็นที่ตั้ง
สถานที่สาคัญ อาทิ วัดดอยเขาควาย จุดชมวิวเมืองเชียงราย สวนสาธารณะสนามปืน
เก่า
- ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 5 ใช้วัดเชียงยืน ชุมชนสันโค้งหลวง เป็นที่ตั้ง สถานที่
สาคัญ อาทิ วัดเชตุพน สวนสาธารณะหาดเชียงราย
2) เป้าหมายการดาเนินงาน
- ในระยะสั้น เกิดแหล่งเรียนรู้ที่ใช้เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนา
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน เกิดหลักสูตร/รายวิชาสาหรับผู้สูงอายุในโซนต่างๆ
ที่แตกต่างกันไปตามความสนใจของผู้เรียน ซึ่งอาจจะมีวิธีคิดที่แตกต่างจากผู้สูงอายุใน
เขตเมือง และตามบริบทเชิงพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้านทุนมนุษย์ ทุน
กายภาพ และทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่
- ในระยะยาว ผู้สูงอายุสามารถนาเอาจุดเด่นของแต่ละโซนที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วมา
จัดการเรียนรู้เพื่อนาสู่การพัฒนาอาชีพ ได้แก่ การทาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อจาหน่ายแก่
นักท่องเที่ยว โดยเทศบาลนครเชียงรายทาหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว ด้วยการ
จัดรถรางนานักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมสถานที่สาคัญในแต่ละโซน โดยมีผู้สูงอายุที่ผ่าน
การเรียนจากมหาวิทยาลัยวัยที่สามหรือศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นผู้นาชม คาดหวังว่า
นักท่องเที่ยวจะอุดหนุนสินค้าของผู้สูงอายุที่ผลิตขึ้น แม้กระทั่งผู้สูงอายุที่ผลิตสินค้าใน
บ้าน ไม่มีแหล่งจาหน่าย ก็สามารถนามาวางขายที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้ นับเป็นการสร้าง
งาน สร้างอาชีพ และจูงใจให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพของคนในเมือง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ
สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งยังสามารถถออกแบบการบริหารจัดการตนเองในรูปแบบ
ต่างๆ อาทิ มูลนิธิหรือสมาคม โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินจากเทศบาลหรือแหล่งทุนภายนอก
3) แนวทางการดาเนินงาน ภายใต้ “โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ สู่นครแห่ง
ความสุข” ซึ่งได้รับงบประมาณจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดระบบและกลไกการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย ที่
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ใช้ยุทธศาสตร์ “สูงวัยสร้าง
เมือง” กลยุทธ์ “5อ. 5ก.” ของ สสส. เป็นแนวทางในการดาเนินงาน โดย 5อ. ได้แก่ อาชีพ
อาหาร ออกกาลังกาย ออม และอาสาสร้างเมือง ส่วน 5ก. ได้แก่ การลดอุบัติเหตุ การพัฒนา
โรงเรียนผู้สูงอายุ การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ การดูแลต่อเนื่อง และกายอุปกรณ์
4) กลไกการดาเนินงาน อาศัย “คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ” แยกตามโซน ประจา
แต่ละศูนย์การเรียนรู้ฯ โดยเลือกกรรมการจากมหาวิทยาลัยวัยที่สามไปเป็นประธาน
คณะกรรมการ
5) ทรัพยากรหลักในการดาเนินงาน ประกอบด้วย งบประมาณ อาคารสถานที่ และบุคลากร
มีรายละเอียดดังนี้
22
- งบประมาณ ขอรับงบประมาณจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) สานักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สานัก 3) ในการดาเนินงานภายใต้กรอบ
ระยะเวลา 2 ปี (ตุลาคม 2560 - กันยายน 2562)
- อาคารสถานที่ ใช้ทุนทางกายภาพที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น วัด โรงเรียน เป็นที่ตั้งศูนย์
- บุคลากร ในส่วนของคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ฯ เน้นภาคประชาชน ได้แก่ แกนนา
ผู้สูงอายุ แกนนาชุมชน และจิตอาสา ส่วนวิทยากรจัดการเรียนรู้ เน้นปราชญ์ชุมชน และ
ผู้สูงอายุจิตอาสาในชุมชนที่สาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวัยที่สาม
6) กระบวนการดาเนินงาน การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ แต่ละแห่งอยู่ภายใต้รูปแบบ
เดียวกัน มีขั้นตอนวิธีการตามลาดับก่อนหลังคล้ายคลึงกัน รวม 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
- (1) จัดตั้ง “คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ” ประจาแต่ละโซน เพื่อเป็นกลไกใน
การขับเคลื่อนงาน ทั้งนี้ จานวนคณะกรรมการฯ ของแต่ละศูนย์อาจจะมีไม่เท่ากัน
พิจารณาตามความเหมาะสม
- (2) จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ ของแต่ละโซนอย่างเป็นทางการ ภายใต้กิจกรรม “การ
พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและเครือข่าย โดยน้อมนาศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง
พัฒนา สู่การปฏิบัติจริง” ภายในงานมีการจัดกิจกรรมย่อยต่างๆ ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน
ทั้ง 5 โซน (โซนละ 1 วัน รวม 5 วัน) อาทิ พิธีทาบันทึกข้อตกลงระหว่างเทศบาลนคร
เชียงราย คณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สาม คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ฯ กับภาคี
เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง การมอบนโยบายและบรรยายให้ความรู้ การคัดกรองและตรวจ
สุขภาพเบื้องต้น การจัดฐานเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การแสดงของ
ผู้สูงอายุ และตลาดนัดชุมชน เป็นต้น
- (3) จัดทาหลักสูตรการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการประชุมคณะกรรมการร่วมกับแกนนา
ผู้สูงอายุเพื่อระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนกเป็น 5 ด้านตามกลยุทธ์ 5อ. ได้แก่
อาชีพ อาหาร ออกกาลังกาย ออม อาสา จากนั้นจึงทาการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกเอา
จุดเด่น/เอกลักษณ์ของแต่ละโซนมาจัดทาเป็นหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ ที่มีการระบุ
เนื้อหากิจกรรม จานวนชั่วโมงเรียน และวิทยากร ส่งผลให้แต่ละศูนย์การเรียนรู้ฯ มี
รายวิชาและกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป
- (4) จัดกิจกรรมการเรียนรู้และประเมินผล ยืดหยุ่นตามบริบทพื้นที่และสังคมของแต่ละ
โซน กล่าวคือ ไม่ได้กาหนดชั่วโมงเรียนของแต่ละรายวิชาและตารางเรียนให้คงที่เหมือน
ที่มหาวิทยาลัยฯ ตารางเรียนปรับตามความเหมาะสม บางครั้งอาจจะเป็นการนัดหมาย
กันตามเวลาว่างที่ผู้เรียนหรือผู้สอนสะดวก ทั้งนี้ มีเพียงศูนย์การเรียนรู้ฯ โซนที่ 4 ที่ได้
เริ่มจัดการเรียนรู้ไปบ้างแล้ว จึงเป็นแห่งเดียวที่มีการประเมินผลเพื่อคืนข้อมูลกลับสู่
คณะกรรมการ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ต่อไป
23
- (5) นาผลประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มาพิจารณาเพื่อ
แสวงหาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี
ความเหมาะสมยิ่งขึ้น
7) การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 1
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 1 โดยการจัดทาแผนโครงสร้าง
หลักสูตรเริ่มจากการระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนกรายละเอียดเป็นรายชุมชน
ผลการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกจุดเด่น/เอกลักษณ์ของโซนมาจัดทาเป็นหลักสูตรและ
รายวิชา พบว่า มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นที่ตั้งของวัดห้วยปลากั้ง และ
วัดร่องเสือเต้น ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว รวมถึงมีพื้นที่เกษตรกรรมชาน
เมืองอยู่เป็นจานวนมาก
- ในเบื้องต้นจึงได้กาหนดโครงสร้างหลักสูตรไว้ 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการพัฒนา
อาชีพผู้สูงอายุ รายวิชาการประดิษฐ์ของที่ระลึกตุ๊กตาชนเผ่า เพื่อส่งจาหน่ายยังสถานที่
ท่องเที่ยวหลักในพื้นที่ และหลักสูตรด้านการเกษตร รายวิชาการทาปุ๋ยอินทรีย์และการ
ตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย ปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มจัดการเรียนรู้
8) การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 2
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 2 จานวน 20 คน จัดกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและเครือข่ายฯ ซึ่งรวมถึงพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ เมื่อวันที่
28 ตุลาคม 2561
- ปัจจุบันยังไม่มีแผนโครงสร้างหลักสูตร แต่ได้ระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนก
รายละเอียดเป็นรายชุมชน ผลการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกจุดเด่น/เอกลักษณ์ของโซนมา
จัดทาเป็นหลักสูตรและรายวิชา พบว่า มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะ
นาไปสู่การกาหนดโครงสร้างหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ต่อไป
9) การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 33
- มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 3 จัดกิจกรรมการพัฒนา
ศักยภาพผู้สูงอายุและเครือข่ายฯ ซึ่งรวมถึงพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ เมื่อวันที่ 9
กรกฎาคม 2561
- การจัดทาแผนโครงสร้างหลักสูตรเริ่มจากการระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนก
รายละเอียดเป็นรายชุมชน ผลการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกจุดเด่น/เอกลักษณ์ของโซนมา
จัดทาเป็นหลักสูตรและรายวิชา พบว่า มีจุดเด่นด้านเกษตรปลอดภัย เพื่อสนองตอบ
นโยบายเมืองปลอดภัย/อาหารปลอดภัยของเทศบาลนครเชียงราย ได้แก่ พืชสมุนไพร
ผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ รวมถึงด้านระบบนิเวศป่าดอยสะเก็น ตามโครงการ “คีรี
3 ที่มา : ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยายของผู้แทนประธานคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 3 ในการประชุมเชิง
ปฏิบัติการเพื่อการจัดการความรู้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา วันที่ 20
กุมภาพันธ์ 2562
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

More Related Content

What's hot

การสร้างรูปเรขาคณิต
การสร้างรูปเรขาคณิตการสร้างรูปเรขาคณิต
การสร้างรูปเรขาคณิตพัน พัน
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Bai'mon Chankaew
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นโครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นอนุชา โคยะทา
 
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวMint NutniCha
 
โครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสาโครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสาNattarika Wonkumdang
 
ชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอล
ชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอลชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอล
ชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอลDome Lonelydog
 
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายนโครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายนWithyou shop
 
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพการเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพYaowaluck Promdee
 
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้NU
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกFah Philip
 
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...พิทักษ์ ทวี
 
โครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้น
โครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้นโครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้น
โครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้นAopja
 
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้าสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้าGamonros
 
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาNontaporn Pilawut
 
การอ่าน PISA
การอ่าน PISAการอ่าน PISA
การอ่าน PISAPatcha Linsay
 

What's hot (20)

การสร้างรูปเรขาคณิต
การสร้างรูปเรขาคณิตการสร้างรูปเรขาคณิต
การสร้างรูปเรขาคณิต
 
เอกสารแนะนำการเขียนบรรณานุกรม
เอกสารแนะนำการเขียนบรรณานุกรมเอกสารแนะนำการเขียนบรรณานุกรม
เอกสารแนะนำการเขียนบรรณานุกรม
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
หน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมืองหน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมือง
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นโครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
 
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
 
โครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสาโครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสา
 
ชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอล
ชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอลชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอล
ชุดฝึกทักษะกีฬาเรื่องการยิงประตูและการป้องกันประตูกีฬาแฮนด์บอล
 
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายนโครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
 
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพการเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
 
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
 
แบบรายงานการวิจัย (ว สอศ.-3)
แบบรายงานการวิจัย (ว สอศ.-3)แบบรายงานการวิจัย (ว สอศ.-3)
แบบรายงานการวิจัย (ว สอศ.-3)
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
 
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
โครงงานเรขาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เ...
 
โครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้น
โครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้นโครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้น
โครงสร้างรายวิชา สาระการงานอาชีพ ม ต้น
 
โครงงานคอม สตรอเบอร์รี่(strawberry)
โครงงานคอม สตรอเบอร์รี่(strawberry)โครงงานคอม สตรอเบอร์รี่(strawberry)
โครงงานคอม สตรอเบอร์รี่(strawberry)
 
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้าสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
 
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผนพัฒนาตนเองตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
 
Is3 สายใยสู่สูงวัย
Is3 สายใยสู่สูงวัยIs3 สายใยสู่สูงวัย
Is3 สายใยสู่สูงวัย
 
การอ่าน PISA
การอ่าน PISAการอ่าน PISA
การอ่าน PISA
 

Similar to นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...
สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...
สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...solarcell2
 
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีนิรุทธิ์ อุทาทิพย์
 
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...oryornoi
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์JeeraJaree Srithai
 
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554Utai Sukviwatsirikul
 
ajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdf
ajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdfajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdf
ajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdfSPEEDREFER
 

Similar to นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว (20)

V 282
V 282V 282
V 282
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...
สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...
สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา-256-1ฉบับปรับปรุ...
 
Computer
ComputerComputer
Computer
 
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
 
Asa kilantham
Asa kilanthamAsa kilantham
Asa kilantham
 
No8 february2013
No8 february2013No8 february2013
No8 february2013
 
113
113113
113
 
PLC project sep2020
PLC project sep2020PLC project sep2020
PLC project sep2020
 
No7 january2013
No7 january2013No7 january2013
No7 january2013
 
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงก...
 
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
คุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์
 
Sathiti 2560
Sathiti 2560Sathiti 2560
Sathiti 2560
 
1 ตอน1 sar55
1 ตอน1 sar551 ตอน1 sar55
1 ตอน1 sar55
 
V 285
V 285V 285
V 285
 
Presentation การประชุมสัมมนา ก.ต.ป.น.
Presentation การประชุมสัมมนา ก.ต.ป.น.Presentation การประชุมสัมมนา ก.ต.ป.น.
Presentation การประชุมสัมมนา ก.ต.ป.น.
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
 
แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.
 
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
รายงานประจําปี. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554
 
ajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdf
ajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdfajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdf
ajcph_manager,+{$userGroup},+draft5_620501_ประเสริฐ_VCV.pdf
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 

นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

  • 3. ผู้เขียน : ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์ บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบารุง, มณฑิภรณ์ ปัญญา ปก : มณฑิภรณ์ ปัญญา รูปเล่ม : มณฑิภรณ์ ปัญญา ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. 3 มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 1. สภาพความเป็นเมืองของเทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนครเชียงราย ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองเชียงรายเมื่อปี พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ 10.2 ตารางกิโลเมตร กระทั่งได้รับการขยายเขตในปี พ.ศ. 2538 ทาให้มีพื้นที่เพิ่มจากเดิมอีก 6 เท่า เป็น 60.85 ตารางกิโลเมตร (38,031 ไร่) และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองเชียงรายเป็น “เทศบาลนครเชียงราย” ในปี พ.ศ. 2547 โดยมีแนวเขตและแผนที่ตามเดิม ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด และบางส่วนของตาบลต่างๆ รวม 4 ตาบล คือ ตาบลเวียง ตาบลรอบเวียง ตาบลริมกก และตาบลสัน ทราย มีการตั้งถิ่นฐานของประชากร 64 ชุมชน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีแม่น้า สาคัญคือแม่น้ากกและแม่น้ากรณ์ไหลผ่านตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ เกษตรกรรม การท่องเที่ยวและการขนส่งทางน้า (ภาพที่ 1) การใช้ที่ดินในเขตเทศบาลนครเชียงรายอยู่ในลักษณะผสมผสานปะปนกัน ที่ดินในย่านธุรกิจ การค้าใจกลางเมือง (CBD) ที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักจะมีการใช้ประโยชน์อย่างหนาแน่น ส่วนมากจะ เป็นธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ปะปนกับสถานที่ราชการและที่อยู่อาศัย (ภาพที่ 2) ส่วนการ ใช้ที่ดินเพื่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรและที่ดินเพื่อการเกษตรจะอยู่รอบนอกของเขตเทศบาล โดยพื้นที่ เกษตรกรรม มีการเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้นรวม 12,638 ไร่ (ร้อยละ 33) รองลงมาคือพื้นที่ สาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และสถานที่อื่นๆ รวม 11,067 ไร่ (ร้อยละ 29) พื้นที่พักอาศัย อาคาร สิ่งปลูกสร้าง 7,105 ไร่ (ร้อยละ 19) พื้นที่ประกอบการค้า 2,307 ไร่ (ร้อยละ 6) ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 4,900 ไร่ (ร้อยละ 13) เป็นพื้นที่ว่างเปล่า ภาพที่ 1 ที่ตั้งของเทศบาลนครเชียงราย ที่มา : wikimapia.org
  • 5. 4 ภาพที่ 2 การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลนครเชียงรายปี พ.ศ. 2555 ที่มา : โครงการกาหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า สานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 6. 5 ตารางที่ 1 จานวนนักท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย จาแนกเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2560 หน่วย : คน ปี พ.ศ. นักท่องเที่ยวชาว ไทย นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยว รวม การเปลี่ยนแปลง 2555 2,231,702 520,078 2,751,780 - 2556 2,231,702 526,498 2,909,804 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.74 2557 2,351,184 517,824 2,869,008 ลดลง ร้อยละ 1.40 2558 2,521,249 557,727 3,078,976 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.32 2559 2,633,051 559,059 3,192,110 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.67 2560 2,848,911 593,251 3,442,162 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.83 ที่มา : สถิตินักท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในด้านประชากร เทศบาลนครเชียงรายมีจานวนประชากรทั้งสิ้น 75,468 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2560) โดยเป็นประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จานวน 12,638 คน คิดเป็นร้อยละ 16.74 ของ จานวนประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่แสดงถึงการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ “สังคมสูงวัย”1 ทั้งนี้ มี ผู้สูงอายุที่ผ่านการประเมินกิจวัตรประจาวัน ADL (Barthel Activities of Daily Living หรือ ดัชนีบาร์เธล เอดีแอล) ในปี 2559 จานวน 5,635 คน คิดเป็นร้อยละ 45 ของผู้สูงอายุทั้งหมด โดยแบ่งผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มติดสังคม 5,328 คน คิดเป็นร้อยละ 94.56 กลุ่มติดบ้าน 252 คน คิดเป็นร้อยละ 4.47 และกลุ่มติดเตียง 55 คน คิดเป็นร้อยละ 0.98 2. จุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย เริ่มจากรัฐบาลกาหนดให้มีการเตรียมความพร้อมสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดการณ์ ว่าประเทศไทยจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 25642 กอปรกับนโยบายของ ผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายที่เล็งเห็นความสาคัญของการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ภายใต้แนวคิด “พัฒนาคนสู่การพัฒนาเมือง” (กล่อง ที่ 1) จากนโยบายและแนวคิดดังกล่าว จึงได้ถ่ายทอดสู่โครงการและกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มต้นในปี 2559 แยกการดาเนินงานออกเป็น 2 ส่วนตามกลุ่มเป้าหมายของผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มติด สังคม (ประมาณร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล) และกลุ่มติดบ้าน-ติดเตียง (ประมาณร้อยละ 5 ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล) 1 “สังคมสูงวัย” (Aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด 2 ขณะนี้สังคมโลกได้กลายเป็นสังคมสูงวัยแล้ว โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจานวน 901 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากร ทั้งหมด ในประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16 โดยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และ คาดว่าจะเป็น “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ภายในปี พ.ศ. 2578 โดยประมาณการว่าจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของจานวนประชากรทั้งหมด
  • 7. 6 ในกลุ่มติดสังคม เทศบาลนครเชียงรายได้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย” เป็น การศึกษาตามอัธยาศัย ภายใต้การบูรณาการงานของหน่วยงานภายในเทศบาล 3 ส่วนคือสานัก การศึกษา กองสวัสดิการสังคม และกองการแพทย์ รวมถึงการบูรณาการหน่วยงานภายนอกและภาค ประชาสังคม บริหารจัดการโดยภาคประชาชนจิตอาสา มีนางอุบลวรรณ แสนมหายักษ์ ดารงตาแหน่ง ผู้อานวยการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย เปิดทาการสอนตั้งแต่วันจันทร์-วันเสาร์ มีหลักสูตร ทั้งหมด 8 หลักสูตร รวม 14 รายวิชา ซึ่งเมื่อเรียนครบ 8 หลักสูตร (หลักสูตรละ 1 รายวิชา) จะได้รับ ปัญญาบัตร ผลการดาเนินงานที่ผ่านมา พบว่า มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงรายเปิดมาแล้ว 4 ภาคเรียน เปิดรับนักศึกษารุ่นใหม่ทุกภาคเรียนรวม 4 รุ่น โดยในภาคเรียนที่ 1 (รุ่นที่ 1) มีนักศึกษาเข้าเรียนจานวน 345 คน ภาคเรียนที่ 2 (รุ่นที่ 2) จานวน 593 คน ภาคเรียนที่สาม (รุ่นที่ 3) จานวน 587 คน และภาค เรียนที่ 4 (รุ่นที่ 4) จานวนประมาณ 500 คน (ตารางที่ 2) ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดการเรียนการสอนในภาค เรียนที่ 4 และมีผู้สูงอายุที่สาเร็จการศึกษาเข้ารับใบปัญญาบัตรแล้ว 1 รุ่น (รุ่นที่ 1) ตารางที่ 2 จานวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 – 4 (ปี พ.ศ. 2560 – 2562) หน่วย : คน รุ่นที่ จานวนนักศึกษา ภาคเรียนที่ 1 จานวนนักศึกษา ภาคเรียนที่ 2 จานวนนักศึกษา ภาคเรียนที่ 3 จานวนนักศึกษา ภาคเรียนที่ 4 1 340 340 340 สาเร็จการศึกษา 2 0 593 593 593 3 0 0 587 587 4 0 0 0 500 (ประมาณการ) จานวนนักศึกษาสะสม 340 933 1,520 1,680 (ประมาณการ) กล่องที่ 1 แนวคิดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยผู้บริหารเทศบาลนครเชียงราย “พัฒนาคนสู่การพัฒนาเมือง” แนวคิด “พัฒนาคนสู่การพัฒนาเมือง” โดยเปลี่ยนจากภาระปัญหาเป็นคุณค่าและโอกาสเพื่อเติมเต็มให้แก่ เมือง หากเปรียบให้เห็นภาพว่านครเชียงรายคือครอบครัวใหญ่ที่ประชาชนทุกคนคือสมาชิกของครอบครัว เทศบาล นครเชียงรายทาหน้าที่เป็นธุรการใหญ่ที่นาผู้คนให้มาพบเจอกันเพื่อร่วมกันพัฒนาเมือง อาศัยการทางานเป็นทีม การ ทางานด้วยกัน เชื่อมั่นกัน โรงเรียนผู้สูงอายุแม้จะจัดตั้งขึ้นตามแนวคิดของโรงเรียนชีวิตหรือมหาวิทยาลัยชีวิตเพื่อเติม เต็มชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เติมเต็มซึ่งกันและกัน แต่เทศบาลนครเชียงรายยังเล็งเห็นโอกาสในการนา พลังของผู้สูงอายุมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงเมืองในฐานะจิตอาสาด้วย ที่มา : ถอดความและเรียบเรียงจากคากล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย ในการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดการความรู้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562
  • 8. 7 จุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย เกิดจากแนวคิดของผู้บริหารเทศบาลร่วมกับ ภาคีที่ขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา รวมถึงแกนนาภาคประชาชนที่ต้องการเปิดพื้นที่การทางานในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง จากนั้นจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะแพทยศาสตร์ คณะ พยาบาลศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ อาทิ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา แพทย์อายุรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล ด้านการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มาอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่เทศบาลในเรื่องการพัฒนาเพื่อรองรับ สังคมผู้สูงอายุ นโยบายและแนวปฏิบัติในการทาโรงเรียนผู้สูงอายุ นับเป็นการจุดประกายให้ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องเริ่มลงมือขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเทศบาลนครเชียงรายและแกนนา ผู้สูงอายุจิตอาสาในพื้นที่ ร่วมกับตัวแทนผู้สูงอายุจากทั้ง 64 ชุมชน เหตุที่ใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยวัยที่สาม” เนื่องจากได้รับแนวความคิดเรื่อง University of Third Age (U3A) ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก โดยใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามาจัด หลักสูตร ทั้งยังมีการจัดการเรียนการสอนที่ต่างจากโรงเรียนผู้สูงอายุ คือมีความเข้มข้นและจริงจัง มากกว่า กอปรกับความต้องการตั้งชื่อให้ดึงดูดความสนใจ ด้วยทางเทศบาลนครเชียงรายคาดหวังว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะ ศักยภาพ คุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุในทุกด้านให้มีความเข้มแข็ง เป็นประโยชน์สูงสุด เกิดความรู้สึกมีคุณค่ามีศักดิ์ศรี มีกาลังใจใน การดารงชีวิต สาหรับกลุ่มติดบ้าน-ติดเตียง (ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง) เทศบาลนครเชียงรายได้จัดตั้ง “ศูนย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ” เป็นศูนย์กลางในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข รวมถึงได้รับการดูแลต่อเนื่อง อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งที่มาเข้ารับบริการที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อีกทั้งยังมีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากทีมหมอ ครอบครัว โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้ช่วยเหลือดูแล ผู้สูงอายุ (Care Giver) บริหารจัดการโดยภาคประชาชนจิตอาสา มีนางทองประกาย เผ่าวัฒนา เป็น ประธานคณะกรรมการ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 จนถึงปัจจุบัน 3. การขับเคลื่อนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย การดาเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุของเทศบาลนครเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างระบบและกลไกการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงรายที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย สามารถ รองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเพื่อพัฒนานวัตกรรมการดูแล ผู้สูงอายุ โดยใช้ทุนและศักยภาพของพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา มีรายละเอียดของการดาเนินงานดังนี้ 3.1 มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย เทศบาลนครเชียงรายดาเนินการขับเคลื่อนงานการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย ภายใต้ฐานคิด 3 ประการคือ (1) การจัดการความรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยผู้สูงอายุภาค
  • 9. 8 ประชาชน (2) การถ่ายโอนความรู้จากผู้สูงอายุไปสู่คนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ และ (3) การ จัดสาระการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมล้านนา เพื่อมุ่งสู่เมืองท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมและเมืองแห่งความสุข มีวัตถุสงค์เพื่อเป็นการศึกษาตามอัธยาศัยในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและ เพิ่มศักดิ์ศรีและคุณค่าของผู้สูงอายุ และเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้มีองค์ความรู้ พึ่งตนเอง และเป็นเสาหลัก ของสังคม โดยมีการดาเนินงานใน 4 ส่วน ประกอบด้วย การกาหนดโครงสร้างการบริหารจัดการ การ พัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการทรัพยากร และการจัดการเรียนการสอน มีรายละเอียดดังนี้ 1) การกาหนดโครงสร้างการบริหารจัดการ ดาเนินการภายใต้รูปแบบ “คณะกรรมการ มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย” ประกอบด้วย บุคลากรจากเทศบาลนครเชียงราย 3 หน่วยงาน ได้แก่ สานักการศึกษา (การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย) กองสวัสดิการ สังคม (การพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์) และกองการแพทย์ (เวชกรรมสังคม/การ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ) เห็นได้ว่าเป็นการออกแบบโครงสร้างให้หน่วยงานภายในเทศบาล นครเชียงรายได้บูรณาการงานร่วมกัน โดยทาหน้าที่เป็นฝ่ายหนุนเสริมโครงสร้างในส่วน ของภาคประชาชน ได้แก่ แกนนาผู้สูงอายุและแกนนาชุมชนจิตอาสา ซึ่งทาหน้าที่เป็นผู้ ขับเคลื่อนหลักเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยมีนางอุบลวรรณ แสนมหายักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน การศึกษา เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยกรรมการจากภาคประชาชนอีก 15 คน ประกอบด้วยหลายภาคส่วน อาทิ ผู้เกษียณอายุราชการ ประธานชุมชน อสม. อปพร. และ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้เข้ามาร่วมงานด้วยจิตอาสา ไม่มีเงินเดือน/เงิน ประจาตาแหน่งใดๆ (ภาพที่ 3) 2) การพัฒนาหลักสูตร ดาเนินการภายใต้แนวคิด “การจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย” เน้น การสร้างหลักสูตรที่ผู้สูงอายุหรือผู้เรียนกาหนดขึ้นเองตามความสนใจ โดยได้มีการระดม ความคิดเห็นจากตัวแทนผู้สูงอายุจากชุมชนทั้ง 64 แห่ง เพื่อรวบรวมข้อมูลและความ ต้องการต่างๆ จากนั้นจึงเชิญสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย มาจาแนกและจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อวางโครงสร้างหลักสูตร ได้ 8 หลักสูตร 8 รายวิชา มีปราชญ์ ชุมชนเข้ามาช่วยกาหนดเนื้อหาของหลักสูตรรายวิชา และระยะเวลา/จานวนชั่วโมงสอน โดย มีคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านหลักสูตรและการสอน เป็นที่ปรึกษา ปัจจุบันเปิดสอนครบทั้ง 8 หลักสูตร โดยมีรายวิชาให้ผู้เรียนเลือกศึกษาเพิ่มมากขึ้นเป็น 14 รายวิชา มีรายละเอียด ดังนี้
  • 10. 9 ภาพที่ 3 แผนผังคณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย ที่มา : เว็บไซต์เทศบาลนครเชียงราย, www.chiangraicity.go.th - หลักสูตรเทคโนโลยีและการสื่อสาร ประกอบด้วย วิชาคอมพิวเตอร์และการใช้มือถือ วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจาวัน วิชาภาษาจีนเพื่อการทักทาย - หลักสูตรศาสนาและศาสนพิธี ประกอบด้วย การเรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ การทา สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในงานมงคลและอวมงคล - หลักสูตรศิลปวัฒนธรรมล้านนา ประกอบด้วย ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม - หลักสูตรสุขภาพวัยที่สาม เป็นการเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติตนในการป้องกัน เฝ้าระวัง โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และประคับประคองสุขภาพด้วยตนเอง และช่วยเหลือเพื่อน ผู้สูงอายุ
  • 11. 10 - หลักสูตรสิ่งแวดล้อม (ภาพที่ 4) - หลักสูตรการท่องเที่ยว เพื่อรู้อดีต ปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต - หลักสูตรเศรษฐกิจในครัวเรือน เป็นการเรียนรู้และการปฏิบัติวิถีชีวิตตามศาสตร์ของ พระราชา - หลักสูตรสังคมและความสุข ประกอบด้วย วิชา Line Dance ลีลาศ และราวงย้อนยุค ภาพที่ 4 ตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตร (ด้านสิ่งแวดล้อม) 3) การบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพยากรหลักในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย งบประมาณ อาคารสถานที่ วิทยากรการจัดการเรียนรู้ และวัสดุอุปกรณ์การเรียน มี รายละเอียดดังนี้ - งบประมาณ มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย กองทุน สปสช. และกองทุน เงินบริจาค ทั้งนี้ ในช่วงเริ่มต้นของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สาม เทศบาลนคร เชียงรายได้รับการคัดเลือกจากสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติให้เป็น 1 ใน 6 เมืองนาร่อง “โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนของการพัฒนา เมืองในอนาคต” (The Project for Promoting Sustainability in Future Cities of Thailand : TFCP) โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการพัฒนาเมืองร่วมกับภาค ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA (Japan International
  • 12. 11 Cooperation Agency) เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สามให้เป็นศูนย์กลาง ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกด้าน - อาคารสถานที่ ใช้สถานที่เดิมของศูนย์แสดงสินค้า OTOP ซึ่งปัจจุบันย้ายไปอยู่บริเวณ ด้านหลังของอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ซึ่งเป็นทาเลที่เหมาะกับการค้ามากกว่า โดยมีการปรับปรุงด้านโครงสร้างต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนและการจัด กิจกรรม อาทิ การใช้โครงสร้างหลังคาขนาดใหญ่คลุมลานเปิดโล่งตอนกลางให้ กลายเป็นพื้นที่จัดกิจกรรม ปรับปรุงห้องจัดแสดงสินค้าขนาดเล็กกว่า 10 ห้องให้เป็น ห้องเรียน ห้องประชุม ห้องทางาน ปรับปรุงห้องน้าให้เหมาะสมกับการใช้งานของ ผู้สูงอายุ เป็นต้น (ภาพที่ 5) - วิทยากรการจัดการเรียนรู้ มาจากทุกภาคส่วน ทั้งคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาใน ระดับต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชุมชน ครูภูมิปัญญา นักวิจัย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน ของรัฐ ทั้งจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการดูแลทุกหลักสูตร ปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงรายอุดหนุนเงินค่าจ้างวิทยากร ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการเรียนรู้ตาม อัธยาศัยของสานักการศึกษา - วัสดุอุปกรณ์การเรียน ในระยะแรก ประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ จึงต้องอาศัย ความช่วยเหลือจากวิทยากรและชุมชน อาทิ วิทยากรนาเครื่องขยายเสียงมาเอง ขอยืม เครื่องคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนเทศบาล และให้ผู้สูงอายุจัดหาเอง เช่น เครื่องดนตรี ต่อมาได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก JICA เพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องมือ โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ จึงมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น 4) การจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงรายเปิดทาการสอนปีละ 2 ภาค เรียน ใช้เวลาเรียนภาคเรียนละ 4.5 เดือน ตั้งแต่วันจันทร์-วันเสาร์ (ตารางที่ 3) นักศึกษา สามารถลงเรียนได้สูงสุดภาคเรียนละ 3 หลักสูตร (หลักสูตรละ 1 รายวิชา) กาหนดเวลา เรียนรายวิชาละ 60 ชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา เมื่อเรียนครบ 8 หลักสูตร (8 รายวิชา) จะสาเร็จ การศึกษา ได้รับใบปัญญาบัตรที่ลงนามโดย 4 ผู้แทนองค์กร ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินท รวิโรฒ องครักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงราย และ ผู้อานวยการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย โดยมีการกากับ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนางาน นาไปสู่การขยายผลต่อไป
  • 13. 12 ภาพที่ 5 ตัวอย่างห้องเรียนและลานกิจกรรม ตารางที่ 3 ตัวอย่างตารางเรียน ประจาปีการศึกษา 2560 (ภาคเรียนที่ 1) วัน/เวลา 9.00 – 12.00 น. 13.00 – 16.00 น. เริ่มเรียน จันทร์ ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว 15 พ.ค. 60 อังคาร สังคมความสุข (ไลน์แดนซ์) 16 พ.ค. 60 พุธ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ (อาหาร) 17 พ.ค. 60 17 พ.ค. 60 7 มิ.ย. 60 พฤหัสบดี คอมพิวเตอร์ (กลุ่มที่ 1) สุขภาพ (กู้ชีพ) คอมพิวเตอร์ (กลุ่มที่ 2) 11 พ.ค. 60 8 มิ.ย. 60 ศุกร์ พุทธศาสนา สุขภาพ (เต้า เต๋อ) 12 พ.ค. 60 9 มิ.ย. 60 เสาร์ วัฒนธรรม (สะล้อ-ซึง-ฟ้อนเจิง-ฟ้อน เล็บ) วัฒนธรรม ลีลาส 13 พ.ค. 60 20 พ.ค. 60 อาทิตย์ วันหยุดมหาวิทยาลัย ที่มา : ดัดแปลงจากภาพที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของเทศบาลนครเชียงราย, www.chiangraicity.go.th 3.2 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงรายดาเนินการขับเคลื่อนงานการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ พิการใน 3 ส่วน ได้แก่ การจัดรูปแบบการบริหารจัดการ การบริหารจัดการทรัพยากร และการให้บริการ มีรายละเอียดดังนี้ 1) การจัดรูปแบบการบริหารจัดการ ดาเนินการภายใต้รูปแบบ “คณะกรรมการศูนย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ” ประกอบด้วย บุคลากรจากเทศบาลนคร
  • 14. 13 เชียงราย 1 หน่วยงาน ได้แก่ กองการแพทย์ ทาหน้าที่วางแผน ติดตาม ประเมินผล เป็น ศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่าย ประสานความร่วมมือ โดยมีภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาร่วมดาเนินงาน ประกอบด้วย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตาบลในพื้นที่ และภาคประชาชน ได้แก่ แกนนาชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ อสม. และจิตอาสา โดยมีนางทองประกาย เผ่าวัฒนา อดีตหัวหน้าฝ่ายพยาบาล โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นประธานคณะกรรมการ 2) การบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพยากรหลักในการดาเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพ ชีวิตฯ ประกอบด้วย งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ มี รายละเอียดดังนี้ - งบประมาณในการดาเนินงานมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย สนับสนุน งบประมาณจัดทาโครงการและกิจกรรม กองทุน สปสช. และกองทุนเงินบริจาค โดยมี งบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและองค์กรอื่นๆ อย่างเช่น การออกเยี่ยม บ้านทาให้พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบางรายประสบปัญหาสภาพที่อยู่อาศัยไม่เอื้อ ต่อการดารงชีวิต ทั้งห้องน้า ราวจับราวกั้น พื้นบ้านต่างระดับ ไม่มีประตูหน้าต่าง ขาด แคลนกายอุปกรณ์ การดูแลของญาติที่ขาดทักษะและทอดทิ้ง เนื่องจากมีความ จาเป็นต้องออกไปหารายได้ และอื่นๆ ทางเทศบาลจึงพยายามดึงภาคีเครือข่ายเข้ามา ระดมให้ความช่วยเหลือ อาทิ สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด เชียงราย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาหรับการช่วยเหลือเพื่อซ่อมแซมบ้านให้แก่ ผู้สูงอายุ การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้ประสบปัญหาทางสังคม และการกู้ยืมเงินเพื่อนาไป ประกอบอาชีพ เป็นต้น - อาคารสถานที่ ใช้สถานที่เดิมของศูนย์แสดงสินค้า OTOP ซึ่งเป็นที่เดียวกับ มหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย โดยมีการปรับปรุงห้องขนาดเล็ก 2 ห้อง สาหรับ ให้บริการผู้สูงอายุและผู้พิการ (ภาพที่ 6) - บุคลากร เทศบาลนครเชียงรายกาหนดกรอบบุคลากรเพิ่ม เพื่อให้การดาเนินงานมี ประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ นักวิชาการ แพทย์แผนไทย พยาบาลวิชาชีพ ผู้นาชุมชน/ ชมรมผู้สูงอายุ ค้นหาข้อมูลผู้สูงอายุและผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือ
  • 15. 14 ภาพที่ 6 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย - เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เทศบาลนครเชียงรายสนับสนุนการจัดตั้ง “ศูนย์กาย อุปกรณ์” ควบคู่ไปกับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ โดยประชาสัมพันธ์ให้มีการระดม เครื่องมือและอุปกรณ์ รับบริจาคและให้บริการกายอุปกรณ์ ประกอบด้วย รถเข็นนั่ง ไม้ เท้าสามขา ที่ค้ายัน เตียงลม เตียงปรับระดับได้ เก้าอี้อาบน้า ถังออกซิเจน เครื่องดูด เสมหะ ชุดฝึกสมอง อุปกรณ์ฟื้นฟูข้อ เป็นต้น ทั้งแบบบริการในศูนย์ฯ บริการในชุมชน สาธิตการใช้อุปกรณ์ที่ศูนย์ฯ และที่บ้าน รวมถึงให้บริการยืมอุปกรณ์ ปัจจุบันศูนย์กาย อุปกรณ์มี 2 แห่ง ได้แก่ แห่งที่ 1 บริเวณศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และแห่งที่ 2 บริเวณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลสันหนอง 3) การให้บริการ มีกระบวนการเริ่มจากการจัดทาแผน/โครงการกิจกรรม ดาเนินงานการ ให้บริการ โดยจาแนกเป็น 2 ส่วน คือ การให้บริการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และศูนย์ กายอุปกรณ์ และการให้บริการตามโครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีการกากับ ติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนางาน นาไปสู่การ ขยายผลต่อไป (ภาพที่ 7) - การให้บริการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และศูนย์กายอุปกรณ์ ได้ดาเนินการ ให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดบริการในช่วงเช้า ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ส่วนช่วงบ่ายจะ เป็นการออกเยี่ยมบ้านร่วมกับ CM/ทีมพี่เลี้ยง (ตารางที่ 4) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การจัดบริการรถรับ-ส่ง ผู้สูงอายุ รับปรึกษาปัญหาสุขภาพ ประสานเพื่อขอความ ช่วยเหลือด้านต่างๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ ดูแลผู้สูงอายุ เช่น ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จัดอบรม/จัดกิจกรรมเพื่อ เตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองให้กับผู้ที่มีความเสี่ยง และจัดทาฐานข้อมูลผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้าน-ติดเตียง (ระบบเวปไซต์ สปสช. เขต 1 กรมอนามัย) เป็นต้น
  • 16. 15 - การให้บริการตามโครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิง ได้แก่ การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Long Term Care; LTC) มีการจัดทา Care Plan สาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเฉพาะราย จากนั้นรวบรวม Care Plan เสนอต่อ อนุกรรมการ LTC เพื่อผ่านความเห็นชอบ และแจ้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ ให้รับทราบผล อนุมัติเบิกจ่าย ทาบันทึกข้อตกลง ก่อนที่จะจัดบริการตาม Care Plan และเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ภาพที่ 7 ระบบและกระบวนการในการให้บริการของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย ที่มา : กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย 4. ระบบและกลไกในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย กลไกในการขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงรายเริ่มจาก เทศบาลนครเชียงราย ที่มีนโยบายจากผู้บริหารมอบหมายแก่ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยมีการ ปรับเปลี่ยนกระบวนการดาเนินงานที่ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบ “คณะกรรมการ ดาเนินงาน” เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานต่อไป โดยเทศบาลนครเชียงรายถอยออกมาเป็น ผู้สนับสนุน/จัดหาทรัพยากรในการดาเนินงาน ได้แก่ งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร เครื่องมือและ อุปกรณ์ต่างๆ
  • 17. 16 ตารางที่ 4 ตารางกิจกรรม ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย วัน/เวลา 8.30 – 12.00 น. 13.00 – 16.30 น. จันทร์ แพทย์แผนไทย นวดเพื่อรักษา ประคบสมุนไพร อบไอน้าสมุนไพร จ่ายยา สมุนไพร เยี่ยมบ้านร่วมกับ CM / ทีมพี่เลี้ยง อังคาร กิจกรรมให้ความรู้ การส่งเสริมและการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแล พุธ แพทย์แผนไทย นวดเพื่อรักษา ประคบสมุนไพร อบไอน้าสมุนไพร จ่ายยา สมุนไพร พฤหัสบดี กายภาพบาบัด ฝึกการเคลื่อนไหว ฝึกการใช้อุปกรณ์ ฟื้นฟูสภาพ ศุกร์ กิจกรรมบาบัด ฝึกสมอง ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกพูด ฝึกการกลืน ที่มา : ดัดแปลงจากภาพที่เผยแพร่ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย ในกรณีของมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย (ภาพที่ 8) เริ่มต้นจากแนวคิด/นโยบายและการ ดาเนินงานภายในองค์กรเทศบาลนครเชียงรายของสานักการศึกษา กองสวัสดิการสังคม และกอง การแพทย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เป็นสถาบันการศึกษา ก่อนที่จะเริ่มค้นหาชักชวนผู้สูงอายุจิตอาสา ปราชญ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญ และแกนนาในด้านต่างๆ มาร่วมกันจัดตั้งเป็น “คณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย” เพื่อขับเคลื่อนระบบการดาเนินงาน โดยมีปัจจัย นาเข้า (Input) คือ หลักสูตร และทรัพยากรหลักในการจัดการเรียนการสอน อันได้แก่ งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในส่วนของกระบวนการ (Process) ได้แก่ การจัดการ เรียนการสอน โดยมีผลลัพธ์ (Output) คือ ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย เกิดการพัฒนาคน เพื่อเป็นทุน มนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมืองต่อไป (แสดงรายละเอียดของผลลัพธ์ความสาเร็จที่เกิดขึ้นในหัวข้อ ที่ 6) ในส่วนของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการก็มีความคล้ายคลึงกัน (ภาพที่ 9) โดย เริ่มต้นจากแนวคิด/นโยบายและการดาเนินงานภายในองค์กรเทศบาลนครเชียงรายของกองการแพทย์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ก่อนที่จะเริ่มค้นหาชักชวนแกนนาชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ และจิตอาสา มาร่วมกันจัดตั้งเป็น “คณะกรรมการศุนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ” เพื่อขับเคลื่อนระบบการดาเนินงาน โดยมี ปัจจัยนาเข้า (Input) คือ ทรัพยากรหลักต่างๆ อันได้แก่ งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเปิดให้บริการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ และศูนย์กายอุปกรณ์ รวมถึงการ ให้บริการตามโครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งเป็นส่วนของ กระบวนการ (Process) โดยมีผลลัพธ์ (Output) คือ ผู้สูงอายุและผู้พิการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มี
  • 18. 17 คุณภาพชีวิตดีขึ้น (ประมาณร้อยละ 30-60 ของกลุ่มเป้าหมาย) เกิดการพัฒนาคน เพื่อเป็นทุนมนุษย์ที่มี ศักยภาพในการพัฒนาเมืองต่อไป (แสดงรายละเอียดของผลลัพธ์ความสาเร็จที่เกิดขึ้นในหัวข้อที่ 6) ทั้งนี้ สามารถสรุปรายละเอียดของระบบและกลไกในการขับเคลื่อนงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครเชียงรายได้ดังภาพที่ 10 ภาพที่ 8 แผนภาพแสดงระบบและกลไกในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย จากนโยบายรัฐบาลสู่การกาหนดนโยบายของผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายระดับนโยบาย ภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม กลไก คณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย ระดับปฏิบัติ จุดเริ่มต้น : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับนโยบายและภาคประชาชน เกิดความตระหนัก เห็นความสาคัญ นาไปสู่การร่วมคิดร่วมทา ค้นหาพันธมิตร ทุนมนุษย์/สร้างทีมงาน ค้นหาข้อมูล/ความต้องการ จากตัวแทนผู้สูงอายุ 64 ชุมชน ค้นหาวิธีการ การอบรม/ศึกษาดูงาน ภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม การจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย ระบบ การดาเนินงาน การพัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการทรัพยากรภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม การจัดการเรียนการสอน ผลลัพธ์ (ผลที่เกิดขึ้น) : ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตามอัธยาศัย เกิดการพัฒนาคน ผลกระทบ (ผลที่ตามมา) : ผู้สูงอายุเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมือง การขยายผล จัดตั้งศูนย์การ เรียนรู้ผู้สูงอายุใน ชุมชน 5 แห่ง
  • 19. 18 ภาพที่ 9 แผนภาพแสดงระบบและกลไกในการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย จากนโยบายรัฐบาลสู่การกาหนดนโยบายของผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายระดับนโยบาย ภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม กลไก คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย ระบบ การดาเนินงาน การบริหารจัดการ ทรัพยากร การให้บริการ (ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ/LTC) ภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม ระดับปฏิบัติ จุดเริ่มต้น : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับนโยบายและภาคประชาชน เกิดความตระหนัก เห็นความสาคัญ นาไปสู่การร่วมคิดร่วมทา ค้นหาพันธมิตร ทุนมนุษย์/สร้างทีมงาน ค้นหา/จัดทาข้อมูลผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ค้นหาวิธีการ ศึกษาแนวปฏิบัติ บูรณาการงานที่มีอยู่เดิม ภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม การจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลนครเชียงราย ผลลัพธ์ (ผลที่เกิดขึ้น) : ผู้สูงอายุและผู้พิการช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (อยู่ระหว่างร้อยละ 30-60 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด) ผลกระทบ (ผลที่ตามมา) : ผู้สูงอายุเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมือง การขยายผล การเยี่ยมบ้าน ปรับปรุงสภาพ บ้าน สร้างระบบ อสค. และจัดตั้ง ศูนย์ย่อยใน ชุมชน 5 แห่ง
  • 20. 19 ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงระบบและกลไกในการขับเคลื่อนงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย จากนโยบายรัฐบาลสู่การกาหนดนโยบายของผู้บริหารเทศบาลนครเชียงรายระดับนโยบาย ภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม กลไก คณะกรรมการศูนย์พัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ ระบบ การดาเนินงาน การพัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการทรัพยากร การบริหารจัดการทรัพยากร ภาคีเครือข่าย ให้การหนุน เสริม ระดับปฏิบัติ จุดเริ่มต้น : ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับนโยบายและภาคประชาชน เกิดความตระหนัก เห็นความสาคัญ นาไปสู่การร่วมคิดร่วมทา ค้นหาพันธมิตร ทุนมนุษย์/สร้างทีมงาน ค้นหาข้อมูล เพื่อระบุปัญหา/ความต้องการ ค้นหาวิธีการ ที่เหมาะสมในการดาเนินงาน ภาคีเครือข่าย ให้การหนุนเสริม ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การขยายผล ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม “มหาวิทยาลัยวัยที่สาม” ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง “ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ” คณะกรรมการ มหาวิทยาลัยวัยที่สาม การจัดการเรียน การสอนตามหลักสูตร การให้บริการ (ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ/LTC) ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตาม อัธยาศัย เกิดการพัฒนาคน ผลลัพธ์ : ผู้สูงอายุกลายเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเมือง การเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยวัยที่สาม นครเชียงรายสู่ศูนย์การ เรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน 5 แห่ง การเชื่อมโยงศูนย์พัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการสู่ชุมชน อาทิ การเยี่ยมบ้าน การปรับปรุง สภาพบ้าน การสร้างระบบ อสค. และจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพ ชีวิตฯ ในชุมชน 5 แห่ง
  • 21. 20 5. การขยายผลการดาเนินงานเพื่อมุ่งสู่การดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงและยั่งยืน 5.1 การเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงรายสู่ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน 1) จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน “ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน” คือการขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมของมหาวิทยาลัยวัยที่สาม มีที่มาจากการประเมินผลการ จัดการเรียนการสอนเมื่อจบภาคเรียนที่ 1 โดยความช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงราย พบว่า นักเรียนไม่สามารถมาเข้าเรียนได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมหาวิทยาลัยอยู่ ไกล เดินทางลาบาก เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง นาไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ไขด้วย การขยายเครือข่ายออกไปในชุมชน มีลักษณะคล้ายกับการขยายวิทยาเขต เพื่อให้สะดวก ต่อการเดินทาง โดยให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน 5 แห่ง ตามการแบ่งพื้นที่ใน เขตเทศบาลนครเชียงรายออกเป็น 5 โซน (ภาพที่ 11) ดังนี้ ภาพที่ 11 การแบ่งพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงรายออกเป็น 5 โซน เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุในชุมชน ที่มา : กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย - ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 1 ใช้ศูนย์บริการการท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงราย ภายในวัดดอยทอง ชุมชนดอยทอง เป็นที่ตั้ง สถานที่สาคัญ อาทิ ศาลากลางจังหวัด เชียงราย วัดดอยทอง วัดงาเมือง วัดพระแก้ว วัดร่องเสือเต้น วัดห้วยปลากั้ง - ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 2 ใช้วัดศรีบุญเรือง ชุมชนกองยาว เป็นที่ตั้ง สถานที่ สาคัญ อาทิ วัดศรีเกิด วัดเจ็ดยอด สวนตุงและโคม อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย - ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 3 ใช้โรงเรียนเก่าบ้านทุ่งมน ชุมชนดอยสะเก็น เป็น ที่ตั้ง สถานที่สาคัญ อาทิ วัดคีรีชัย พระธาตุดิยสะเก็น วัดฝั่งหมิ่น สวนดอกไม้งาม
  • 22. 21 - ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 4 ใช้วัดดอยพระบาท ชุมชนดอยพระบาท เป็นที่ตั้ง สถานที่สาคัญ อาทิ วัดดอยเขาควาย จุดชมวิวเมืองเชียงราย สวนสาธารณะสนามปืน เก่า - ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 5 ใช้วัดเชียงยืน ชุมชนสันโค้งหลวง เป็นที่ตั้ง สถานที่ สาคัญ อาทิ วัดเชตุพน สวนสาธารณะหาดเชียงราย 2) เป้าหมายการดาเนินงาน - ในระยะสั้น เกิดแหล่งเรียนรู้ที่ใช้เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน เกิดหลักสูตร/รายวิชาสาหรับผู้สูงอายุในโซนต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามความสนใจของผู้เรียน ซึ่งอาจจะมีวิธีคิดที่แตกต่างจากผู้สูงอายุใน เขตเมือง และตามบริบทเชิงพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้านทุนมนุษย์ ทุน กายภาพ และทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ - ในระยะยาว ผู้สูงอายุสามารถนาเอาจุดเด่นของแต่ละโซนที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วมา จัดการเรียนรู้เพื่อนาสู่การพัฒนาอาชีพ ได้แก่ การทาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อจาหน่ายแก่ นักท่องเที่ยว โดยเทศบาลนครเชียงรายทาหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว ด้วยการ จัดรถรางนานักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมสถานที่สาคัญในแต่ละโซน โดยมีผู้สูงอายุที่ผ่าน การเรียนจากมหาวิทยาลัยวัยที่สามหรือศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นผู้นาชม คาดหวังว่า นักท่องเที่ยวจะอุดหนุนสินค้าของผู้สูงอายุที่ผลิตขึ้น แม้กระทั่งผู้สูงอายุที่ผลิตสินค้าใน บ้าน ไม่มีแหล่งจาหน่าย ก็สามารถนามาวางขายที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้ นับเป็นการสร้าง งาน สร้างอาชีพ และจูงใจให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพของคนในเมือง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งยังสามารถถออกแบบการบริหารจัดการตนเองในรูปแบบ ต่างๆ อาทิ มูลนิธิหรือสมาคม โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินจากเทศบาลหรือแหล่งทุนภายนอก 3) แนวทางการดาเนินงาน ภายใต้ “โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ สู่นครแห่ง ความสุข” ซึ่งได้รับงบประมาณจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดระบบและกลไกการดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเชียงราย ที่ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ใช้ยุทธศาสตร์ “สูงวัยสร้าง เมือง” กลยุทธ์ “5อ. 5ก.” ของ สสส. เป็นแนวทางในการดาเนินงาน โดย 5อ. ได้แก่ อาชีพ อาหาร ออกกาลังกาย ออม และอาสาสร้างเมือง ส่วน 5ก. ได้แก่ การลดอุบัติเหตุ การพัฒนา โรงเรียนผู้สูงอายุ การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ การดูแลต่อเนื่อง และกายอุปกรณ์ 4) กลไกการดาเนินงาน อาศัย “คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ” แยกตามโซน ประจา แต่ละศูนย์การเรียนรู้ฯ โดยเลือกกรรมการจากมหาวิทยาลัยวัยที่สามไปเป็นประธาน คณะกรรมการ 5) ทรัพยากรหลักในการดาเนินงาน ประกอบด้วย งบประมาณ อาคารสถานที่ และบุคลากร มีรายละเอียดดังนี้
  • 23. 22 - งบประมาณ ขอรับงบประมาณจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สานัก 3) ในการดาเนินงานภายใต้กรอบ ระยะเวลา 2 ปี (ตุลาคม 2560 - กันยายน 2562) - อาคารสถานที่ ใช้ทุนทางกายภาพที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น วัด โรงเรียน เป็นที่ตั้งศูนย์ - บุคลากร ในส่วนของคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ฯ เน้นภาคประชาชน ได้แก่ แกนนา ผู้สูงอายุ แกนนาชุมชน และจิตอาสา ส่วนวิทยากรจัดการเรียนรู้ เน้นปราชญ์ชุมชน และ ผู้สูงอายุจิตอาสาในชุมชนที่สาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวัยที่สาม 6) กระบวนการดาเนินงาน การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ แต่ละแห่งอยู่ภายใต้รูปแบบ เดียวกัน มีขั้นตอนวิธีการตามลาดับก่อนหลังคล้ายคลึงกัน รวม 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ - (1) จัดตั้ง “คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ” ประจาแต่ละโซน เพื่อเป็นกลไกใน การขับเคลื่อนงาน ทั้งนี้ จานวนคณะกรรมการฯ ของแต่ละศูนย์อาจจะมีไม่เท่ากัน พิจารณาตามความเหมาะสม - (2) จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ ของแต่ละโซนอย่างเป็นทางการ ภายใต้กิจกรรม “การ พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและเครือข่าย โดยน้อมนาศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา สู่การปฏิบัติจริง” ภายในงานมีการจัดกิจกรรมย่อยต่างๆ ที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ทั้ง 5 โซน (โซนละ 1 วัน รวม 5 วัน) อาทิ พิธีทาบันทึกข้อตกลงระหว่างเทศบาลนคร เชียงราย คณะกรรมการมหาวิทยาลัยวัยที่สาม คณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ฯ กับภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง การมอบนโยบายและบรรยายให้ความรู้ การคัดกรองและตรวจ สุขภาพเบื้องต้น การจัดฐานเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การแสดงของ ผู้สูงอายุ และตลาดนัดชุมชน เป็นต้น - (3) จัดทาหลักสูตรการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการประชุมคณะกรรมการร่วมกับแกนนา ผู้สูงอายุเพื่อระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนกเป็น 5 ด้านตามกลยุทธ์ 5อ. ได้แก่ อาชีพ อาหาร ออกกาลังกาย ออม อาสา จากนั้นจึงทาการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกเอา จุดเด่น/เอกลักษณ์ของแต่ละโซนมาจัดทาเป็นหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ ที่มีการระบุ เนื้อหากิจกรรม จานวนชั่วโมงเรียน และวิทยากร ส่งผลให้แต่ละศูนย์การเรียนรู้ฯ มี รายวิชาและกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป - (4) จัดกิจกรรมการเรียนรู้และประเมินผล ยืดหยุ่นตามบริบทพื้นที่และสังคมของแต่ละ โซน กล่าวคือ ไม่ได้กาหนดชั่วโมงเรียนของแต่ละรายวิชาและตารางเรียนให้คงที่เหมือน ที่มหาวิทยาลัยฯ ตารางเรียนปรับตามความเหมาะสม บางครั้งอาจจะเป็นการนัดหมาย กันตามเวลาว่างที่ผู้เรียนหรือผู้สอนสะดวก ทั้งนี้ มีเพียงศูนย์การเรียนรู้ฯ โซนที่ 4 ที่ได้ เริ่มจัดการเรียนรู้ไปบ้างแล้ว จึงเป็นแห่งเดียวที่มีการประเมินผลเพื่อคืนข้อมูลกลับสู่ คณะกรรมการ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ต่อไป
  • 24. 23 - (5) นาผลประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มาพิจารณาเพื่อ แสวงหาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี ความเหมาะสมยิ่งขึ้น 7) การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 1 - มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 1 โดยการจัดทาแผนโครงสร้าง หลักสูตรเริ่มจากการระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนกรายละเอียดเป็นรายชุมชน ผลการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกจุดเด่น/เอกลักษณ์ของโซนมาจัดทาเป็นหลักสูตรและ รายวิชา พบว่า มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นที่ตั้งของวัดห้วยปลากั้ง และ วัดร่องเสือเต้น ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว รวมถึงมีพื้นที่เกษตรกรรมชาน เมืองอยู่เป็นจานวนมาก - ในเบื้องต้นจึงได้กาหนดโครงสร้างหลักสูตรไว้ 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการพัฒนา อาชีพผู้สูงอายุ รายวิชาการประดิษฐ์ของที่ระลึกตุ๊กตาชนเผ่า เพื่อส่งจาหน่ายยังสถานที่ ท่องเที่ยวหลักในพื้นที่ และหลักสูตรด้านการเกษตร รายวิชาการทาปุ๋ยอินทรีย์และการ ตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย ปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มจัดการเรียนรู้ 8) การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 2 - มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 2 จานวน 20 คน จัดกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและเครือข่ายฯ ซึ่งรวมถึงพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2561 - ปัจจุบันยังไม่มีแผนโครงสร้างหลักสูตร แต่ได้ระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนก รายละเอียดเป็นรายชุมชน ผลการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกจุดเด่น/เอกลักษณ์ของโซนมา จัดทาเป็นหลักสูตรและรายวิชา พบว่า มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะ นาไปสู่การกาหนดโครงสร้างหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ต่อไป 9) การดาเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ โซนที่ 33 - มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 3 จัดกิจกรรมการพัฒนา ศักยภาพผู้สูงอายุและเครือข่ายฯ ซึ่งรวมถึงพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 - การจัดทาแผนโครงสร้างหลักสูตรเริ่มจากการระบุทุนในการพัฒนาของโซน จาแนก รายละเอียดเป็นรายชุมชน ผลการวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกจุดเด่น/เอกลักษณ์ของโซนมา จัดทาเป็นหลักสูตรและรายวิชา พบว่า มีจุดเด่นด้านเกษตรปลอดภัย เพื่อสนองตอบ นโยบายเมืองปลอดภัย/อาหารปลอดภัยของเทศบาลนครเชียงราย ได้แก่ พืชสมุนไพร ผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ รวมถึงด้านระบบนิเวศป่าดอยสะเก็น ตามโครงการ “คีรี 3 ที่มา : ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยายของผู้แทนประธานคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุโซนที่ 3 ในการประชุมเชิง ปฏิบัติการเพื่อการจัดการความรู้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562