SlideShare a Scribd company logo
1 of 41
Download to read offline
Qualitative Research
               การวิจัยเชิงคุณภาพ

                            โดย
                พิชญ์สินี ชมภูคา 520252008
                พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ 520252009




                          นาเสนอ
          รองศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์




           รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษากระบวนวิชา
            090800 การวิจัยขั้นสูงเพื่อพัฒนาการศึกษา
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา
              คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
                           สิงหาคม 2552
คานา

           รายงานการ ศึกษาค้นคว้านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษากระบวน วิชา 090800 การวิจัย
ขั้นสูงเพื่อพัฒนาการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญาเอก สาขา วิชาการวิจัยและพั ฒนาการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
           คณะผู้จัดทาได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนให้ทาการศึกษา ค้นคว้า และนาเสนอ
เกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในประเด็นความหมาย ภูมิหลังความสาคัญ
ขั้นตอนกระบวนการวิจัย ข้อดี ข้อจากัด และคุณธรรมจริยธรรมทางการวิจัยเชิงคุณภาพ พร้อม
ทั้งตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพตามรูปแบบที่ปรากฏ ทั้งปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และรายงาน
วิจัยทั่วไป
           คณะผู้จัดทา ขอขอบพระคุณผู้เป็นเจ้าของแหล่งศึกษาค้นคว้าทุกแหล่งที่ได้ให้ แก่นความรู้
แนวคิด ที่ทุกท่านได้ตรากตรา เพียรศึกษา ค้นคว้าเพื่อถ่ายทอดเป็นวิทยาทานทางปัญญาแก่ผู้คน
ที่สนใจ
           นอกเหนืออื่นใด คณะผู้จัดทาได้รั บโอกาสให้ศึกษา ค้นคว้า นาเสนอ ผน วกกับข้อแนะนา
ที่จะเกิดขึ้นในชั้นเรียน จาก รองศาสตราจารย์ ดร .สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ อ าจารย์ผู้สอน จึง
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
           ในการศึกษาค้นคว้า นาเสนอครั้งนี้ อาจมีข้อบกพร่องอันเกิดจากความไม่เข้าใจอย่าง
ลึกซึ้ง หรือความไม่รอบคอบของคณะผู้จัดทา สิ่งที่เกิดขึ้นและมีอยู่นั้นคณะผู้จัดทาจึงขอ    น้อม
รับผิดชอบทุกสิ่งด้วยจิตสานึก


                                                พิชญ์สินี ชมภูคา 520252008
                                                พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ 520252009
สารบัญ
                                                                                  หน้า

1. ความหมาย                                                                         1
2. ลักษณะสาคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ (สุภางค์ จันทวานิช , 2548 : 13 - 14) ดังนี้     3
3. กระบวนทัศน์(PARADIGM) ในการวิจัยเชิงคุณภาพ                                       5
4. การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ                                                      6
5. การพิจารณาการวิจัยเชิงคุณภาพ                                                     17
6. รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ                                                         19
   6.1 การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ETHNOGRAPHIC STUDY)                            19
   6.2 การวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (PHENOMENOLOGY STUDY)                             24
   6.3 วิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (CASE STUDY APPROACH)                                  25
   6.4 การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (GROUNDED THEORY STUDY)                       29
   6.5 การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม (FOCUS GROUP STUDY)                                    32
7. เปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ                 34
8. จริยธรรมและจรรยาบรรณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ                                        35
บรรณานุกรม                                                                          38
การวิจัยเชิงคุณภาพ
                                    (Qualitative Research)

1. ความหมาย
          สุภางค์ จันทวานิช (2548) คือ การแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจาก
สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อม
วิธีการนี้จะสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล
นอกเหนือไปจากข้อมูลเชิงปริมาณมักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว ใช้การสังเกตแบบมี
ส่วนร่วมและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นวิธีการหลักในการเก็บข้อมู ล และเน้นการวิเคราะห์
ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
          ชาย โพธิสิตา (2549) เป็นการศึกษาโลกแห่งความเป็นจริง ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นไปตาม
ธรรมชาติ เปิดกว้างด้วยแนวการวิเคราะห์แบบอุปนัยให้ความสาคัญแก่การทาความเข้าใจอย่างเป็นองค์
รวม ภายในบริบทของสิ่งที่ศึกษาโดยนักวิจัยมีการติดต่อแบบมีส่วนร่วมโดยตรงกับประชากร
กลุ่มเป้าหมาย เพื่อมุ่งทาความเข้าใจพลวัตของปรากฏการณ์ ให้ความสาคัญแก่การศึกษาเฉพาะกรณี
ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เพราะมีการออกแบบการวิจัยที่ยึดหยุ่นได้ และมีตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือสาคัญใน
กระบวนการวิจัย
          ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ (2550) กล่าวว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หมายถึง
การวิจัยที่มุ่งทาความเข้าใจ ตีความ แ ละให้ความหมายแก่ปรากฏการณ์ทางสั งคมที่เกี่ยวข้องกับ
ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ เจตคติ พฤติกรรม และวัฒนธรรมของมนุษย์ โดยมีวิธีการเก็บ ข้อมูลหลาย ๆ
วิธีในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต นักวิจัยอาจแฝงตัวเองเข้าไปคลุกคลีอยู่กับ
ประชากรในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ต้องการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูล ไม่ เน้นการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่
เป็นตัวเลข แต่ให้ความสาคัญกับการตีความและสังเคราะห์ข้อค้นพบบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เก็บได้
แล้วนาเสนอข้อค้นพบในรูปแบบ การบรรยาย หรืออาจสร้างออกมาเป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายพฤติกรรม
ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ หรือปรากฏการณ์ทางสังคมได้ หรือช่วยสร้างสมมติฐานเพื่อใช้ประโยชน์ใน
การวิจัยต่อไป ตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ก        ารวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา การวิจัยเชิ     ง
ประวัติศาสตร์

        เกียรติสุดา ศรีสุข (2552) กล่าวว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่
มีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งอาจได้แก่ คุณลักษณะ พฤติกรรม สภาพการณ์ หรือ
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                            Qualitative Research   2



ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญของ
ผู้วิจัยในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างมากในการที่จะวิเคราะห์ ให้ความหมาย วิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่รวบรวม
ได้ ได้อย่างถูกต้อง ละเอียดลึกซึ้ง

           สุมิตร สุวรรณ (2552) เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจาก
สภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ สนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่า
กับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือ
ปรากฏการณ์โดยตรง มักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว ไม่เ น้นการใช้สถิติตัวเลขในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์
ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive)
           อารีย์วรรณ อ่วมตานี (2552) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดย
ธรรมชาติ (Naturalistic inquiry) ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ (Holistic perspective) ด้วย
ตัวผู้วิจัยเอง เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น โดยให้ความสาคัญ
กับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์ และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่ งแวดล้อมต่างๆ
รอบตัว เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุบนัย (Inductive analysis)
           John W.Creswell (1998 :15 อ้างใน ชาย โพธิสิตา, 2549: 25) เป็นกระบวนการค้นคว้าวิจัยเพื่อ
หาความเข้าใจบนพื้นฐานของระเบียบวิธีอันมีลักษณะเฉพาะที่มุ่งการค้นหาประเด็นปัญหาทางสังคม
หรือปัญหาของมนุษย์ในกระบวนการนี้ นักวิจัยสร้างภาพหรือข้อมูลที่ซับซ้อน เป็นองค์รวม วิเคราะห์
ข้อความ รายงานทัศนะของผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด และดาเนินการศึกษาในสถานการณ์ที่เป็น
ธรรมชาติ
           Patton (1985 อ้างใน Sharan B.Merriam :6) เป็นการวิจัยที่มุ่งทาความเข้าใจกับสถานการณ์ที่
เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของบริบทต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน
           Sharan B.Merriam (1988 : 6) เป็นการวิจัยที่สนใน ให้เกิดความเข้าใจ ในความหมายของ
โครงสร้างของมนุษย์ ในด้านความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ต่างๆ การวิจัยมุ่งอธิบายให้ความ
สนใจโดยตรงกับประสบการณ์ ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ประสบความ
เปลี่ยนแปลง
           สรุปได้ว่า วิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาสถานการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ โลกแห่งความ
เป็นจริง ในทุกมิติ มุ่งการค้นหาประเด็นปัญหาทางสังคม หรือปัญหาของมนุษย์ เพื่อหาความสัมพันธ์
ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อม มีการออกแบบการวิจัยที่ยึดหยุ่นได้ และมีตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือ
สาคัญในกระบวนการวิจัย ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเป็น
วิธีการหลักในการเก็บข้อมูล และเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้ างข้อสรุปแบบอุปนัย
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                             Qualitative Research   3




     2. ลักษณะสาคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ (สุภางค์ จันทวานิช , 2548 : 13 - 14) ดังนี้
           1) เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุมการศึกษา
ปรากฏการณ์สังคมจะต้องกระทาโดยศึกษาปรากฏการณ์นั้นจากแง่มุม หรือแนวคิดทฤษฎีที่มีความ
หลากหลายมากกว่ายึดแนวคิดอันใดอันหนึ่งเป็นหลัก นอกจากนั้น ไม่พิจาณาปรากฎการณ์อย่างเป็น
เสี่ยงเสี้ยว ด้านในด้านหนึ่ง
           2) เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก เพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของ
ปรากฏการณ์สังคมซึ่งมีความเป็นพลวัต
           3) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อให้เข้าใจความหมายของ
ปรากฏการณ์ มักมีการวิจัยสนาม (Field research) ไม่มีการควบคุมและทดลองในห้องปฏิบัติการ เพราะ
ทาให้ผู้วิจัยไม่เห็นปรากฎการณ์ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
           4) คานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย ด้วยเหตุที่การศึกษาปรากฏการณ์สังคมเป็น
การศึกษามนุษย์ จึงให้ความสาคัญและเคารพผู้ถูกวิจัยในฐานะเพื่อนมนุษย์ จะเข้าไปสัมผัส สร้างความ
สนิทสนมและความไว้เนื้อเชื่อใจ เข้าใจ ไม่มีแบ่งเขาแบ่งเรา ไม่นาข้อมูลของผู้ถูกวิจัยไปในทางที่เสื่อม
เสีย ไม่ฝืนใจเมื่อผู้ถูกวิจัยไม่เต็มใจตอบ นักวิจัยจะเข้าไปสัมผัสมากว่าจะใช้เครื่องมือวิจัยอื่นใดเป็น
สื่อกลาง
           5) ใช้การพรรณนาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย เป็นการนาข้อมูลรูปธรรมย่อยๆ หลายๆ กรณี
มาสรุปเป็นข้อสรุปเชิงนามธรรม โดยพิจารณาร่วมที่พบ จะเน้นการวิเคราะห์แบบอุปนัยมากกว่าใช้
สถิติตัวเลข
           6) เน้นปัจจัยหรือตัวแปรด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ความหมาย ในปรากฏการณ์สังคม
นักวิจัยเชิงคุณภาพเชื่อว่า องค์ประกอบด้านจิตใจ ความคิดและความหมาย คือสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง
พฤติการณ์มนุษย์และเป็นตัวกาหนดพฤติกรรมมนุษย์ที่แสดงออกมา

        ลักษณะเชิงกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ (ปรับปรุงจาก Patt, 1990:40 -41 อ้างในชาย
โพธิสิตา, 2549 : 46-47)
          ลักษณะ                                  กลยุทธ์ในการดาเนินการวิจัย
1. เป็นการศึกษาที่ทาใน     ศึกษาปรากฏการณ์ในขณะที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ ไม่มีการ
สถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ เปลี่ยนแปลง หรือควบคุมจากนักวิจัย เปิดกว้างสาหรับทุกอย่างที่อาจ
                           เกิดขึ้นในระหว่างการเก็บข้อมูล ไม่มีการกาหนดผลที่คาดไว้ล่วงหน้า
                           ไม่ว่าจะเป็นในรูปของสมมติฐานหรือตัวแปรตาม
2. เป็นการศึกษาที่อิงตรรกะ นักวิจัย “ดาดิ่ง” ลงสู่ข้อมูล ทั้งในทางลึกและทางกว้างทั้งในรายละเอียด
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                           Qualitative Research   4



        ลักษณะ                                     กลยุทธ์ในการดาเนินการวิจัย
แบบอุปนัย                    และเฉพาะเจาะจง เพื่อค้นหาประเภทรูปแบบ มิติ และความสัมพันธ์ต่อ
                             กันของส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันในปรากฏการณ์ที่ศึกษา เริ่มต้นด้วย
                             คาถามเพื่อการค้นหาแบบเปิดกว้าง มากกว่ามุ่งจะทดสอบสมมติฐาน
                             หรือทฤษฏี
3. มุ่งทาความเข้าใจอย่างเป็น มองปรากฏการณ์ที่ศึกษาทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวม เป็นระบบที่
องค์รวม                      ซับซ้อน และเป็นอะไรที่มากกว่าผลบวกของส่วนย่อยแต่ละส่วน มอง
                             ว่าส่วนย่อยต่างๆ อิงอาศัยซึ่งกันและกันไม่ลดระดับการทาความเข้าใจ
                             ปรากฏการณ์ที่ศึกษาลงมา เพียงแค่ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของตัว
                             แปรที่แยกกันเป็นส่วนๆ เท่านั้น ด้วยหลักการ การรวบรวมข้อมูลหลาย
                             มิติของปรากฏการณ์ที่ศึกษา เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์และเกิดความ
                             เข้าใจรอบด้าน ซึ่งหมายความว่าในเชิงการปฏิบัติผู้วิจัยต้องถือว่าแต่ละ
                             ส่วน แต่ละกรณีแต่ละเหตุการณ์ มีความสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับ
                             ส่วนอื่นๆ ชนิดที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่ วิธีการดังกล่าวต่างกับ
                             การวิจัยเชิงปริมาณที่แยกทาความเข้าใจเป็นส่วนๆ ในนามของตัวแปร
                             และตัวแปรสามารถกาหนดเป็นปริมาณได้ แล้วสร้างความสัมพันธ์ของ
                             ตัวแปรที่สามารถแสดงได้ทางสถิติ
4. ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็น เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์และแนวคิดส่วนบุคคลที่เป็น
หลัก                         รายละเอียดเชิงพรรณนา เจาะลึก และตรงประเด็น
5. ติดต่อแบบมีส่วนร่วม       นักวิจัยเข้าไปสัมผัสแบบมีส่วนร่วมโดยตรงกับประชากรหรือ
โดยตรงกับประชากร             ปรากฏการณ์ศึกษา นักวิจัยเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลที่สาคัญ
กลุ่มเป้าหมาย                ประสบการณ์ ทักษะ และวิจารณญาณส่วนตัวของนักวิจัยเป็นปัจจัย
                             สาคัญในการทาความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา
6. มุ่งทาความเข้าใจพลวัต     ทาความเข้าใจกระบวนการของสิ่งที่ศึกษา มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น
ของปรากฏการณ์ที่ศึกษา        สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กร หรือ
                             ในระดับวัฒนธรรม
7. ให้ความสาคัญแก่กรณีที่มี ถือว่าแต่ละกรณี (คน เหตุการณ์ ฯลฯ) มีความสาคัญในการทาการศึกษา
ลักษณะเฉพาะ                  เฉพาะกรณีอย่างดีในเบื้องต้น แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีเหล่านั้น
                             เพื่อทาความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งหมด คุณภาพของการศึกษาเฉพาะ
                             กรณีมีความสาคัญอย่างมาก
8. ให้ความสาคัญแก่บริบท ตีความข้อค้นพบบนพื้นฐานของบริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และ
ของสิ่งที่ศึกษา              เงื่อนไขของเวลาและสถานที่ มองว่าการนาข้อค้นพบไปปรับใช้ใน
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                                 Qualitative Research   5



            ลักษณะ                                    กลยุทธ์ในการดาเนินการวิจัย
                                บริบทอื่นที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เจาะลึก เพราะอาจมีความ
                                เป็นไปได้น้อย
9. มีการออกแบบการวิจัยที่       ออกแบบการวิจัยแบบเปิดกว้างไว้สาหรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะ
ยึดหยุ่น                        เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถลงลึกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการออกแบบที่มี
                                โครงสร้างอย่างเข้มงวด ซึ่งจะไม่ให้โอกาสติดตาม เจาะลึก และค้นหา
                                สิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะเก็บข้อมูล
10. ใช้เครื่องมือในการวิจัย     ธรรมชาติของเครื่องมือสาหรับรวบรวมข้อมู ลเชิงคุณภาพ ไม่มี
หลากหลาย แต่นักวิจัยเป็น        โครงสร้างที่เคร่งครัด สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับ
เครื่องมือสาคัญที่สุดใน         แหล่งข้อมูลและสถานการณ์ จึงขึ้นอยู่กับนักวิจัยผู้ใช้วิธีการอย่างมาก
กระบวนการวิจัย                  นักวิจัยต้องแม่นในหลักการของเครื่องมือที่ใช้และมีทักษะในการใช้
                                วิธีการนั้นๆ อย่างเพียงพอ


3. กระบวนทัศน์(paradigm) ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
        กระบวนทัศน์ หมายถึง โลกทัศน์ คือแนวความคิดทั่วๆ ไป วิธีการที่คนใช้ในการทาความ
เข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงอันซับซ้อน เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในกระบวนการศึกษาอบรมของหมู่คนที่
ยึดถือและปฏิบัติตามโลกทัศน์นั้น กระบวนทัศน์จะบอกคนที่ยึดถือและปฏิบัติ ว่าอะไรสาคัญ อะไร
ถูกต้องและมีเหตุผล เป็นบรรทัดฐานที่ช่วยชี้ให้รู้ว่า ควรจะทาอะไร อย่างไร โดยไม่ต้องเสียเวลาไปถาม
หรือค้นหาคาตอบ ช่วยให้ทาอะไรไม่ต้องลังเล
        การวิจัยเชิงคุณภาพใช้กระบวนทัศน์ แบบปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) มีความเชื่อว่า
มนุษย์มีทั้งส่วนที่นาเสนอต่อสาธารณะอย่างเปิดเผย(Front Region)และมีทั้งส่วนที่ปกปิด
(Back Region) ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้ กระบวนทัศน์ แบบปฏิฐานนิยม (Postivism) ซึ่งความแตกต่าง
ตามมิติดังนี้


          มิติ                  ปฏิฐานนิยม(เชิงปริมาณ)                    ปรากฏการณ์นิยม(เชิงคุณภาพ)
ความเชื่อพื้นฐาน       - ความจริงเป็นโลกภายนอก และวัดได้ด้วย         - ความจริงทางสังคมสร้างขึ้นในความนึกคิด
                       วัตถุวิสัย (objective)                        ของมนุษย์และเป็นอัตตวิสัย (subjective)
                       - ผู้วิจัยเป็นอิสระแยกออกจากสิ่งที่ถูกวิจัย
                       - ความจริงเป็นเรื่องปราศจากค่านิยม
บทบาทนักวิจัย          -มุ่งประเด็นในสิ่งที่มีหลักฐานความจริง        - มุ่งประเด็นของความหมาย (Meaning)
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                                     Qualitative Research    6



          มิติ                  ปฏิฐานนิยม(เชิงปริมาณ)                      ปรากฏการณ์นิยม(เชิงคุณภาพ)
                       (Fact)                                         - พยายามเข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้น
                       - มองในพื้นฐานของเชิงเหตุและผล                 - มองภาพรวมทั้งสถานการณ์
                       - จับแยกสภาพความจริงให้เล็กพอเหมาะกับ          - ค่อยๆพัฒนาความคิดข้อสรุปจากข้อมูล
                       การศึกษา                                       รูปธรรม
                       - สร้างสมมุติฐานและทดสอบ
ระเบียบวิธีวิจัย       - ใช้วิธีการเชิงปริมาณ                         - ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ
                       - สร้างนิยามปฏิบัติการเพื่อวัดได้              - ใช้วิธีการหลายๆวิธีเพื่อสร้างแนวคิด
                       - ใช้กรอบทฤษฎีก่อนๆนา                          นานาประการเกี่ยวกับปรากฏการณ์
                       - ใช้เครื่องมือในการเก็บช้อมูล                 - ไม่ใช้ทฤษฎีนา ศึกษาจากปรากฎการณ์
                       - ใช้กลุ่มตัวอย่างมาก                          ธรรมชาติ
                       - สถานที่ทาวิจัยใช้ห้องทดลอง
ความน่าเชื่อถือ        - ความตรง(Validity)                            - ความเชื่อถือได้ (Credibility)
                         เครื่องมือที่ใช้วัด วัดในสิ่งที่ต้องการวัด     ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงและมีความรู้ความเข้าใจ
                       หรือไม่                                        ในความหมายต่างๆและข้อมูล
                       - ความเที่ยง (Reliability)                     - การพึ่งพากับเกณฑ์อื่นๆ (Dependability)
                          การวัดให้ผลตรงกันทุกครั้งหรือไม่ (โดยที่    การสังเกตสิ่งเดียวกัน โดยนักวิจัยหลายคน
                       ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ถูกวัด)           หลายโอกาส -ว่าสอดคล้องกันเพียงใด
                       - การสรุปผลอ้างอิง (Generaliability)           - การถ่ายโอนผลการวิจัย (Transferability)
                       โอกาสของรูปแบบที่ถูกสังเกตในกลุ่ม              ความคิดและทฤษฎีที่สร้างขึ้นจาก
                       ตัวอย่างสามารถนาไปใช้ อ้างกับประชากร           สถานการณ์หนึ่งๆ สามารถจะนาไปใช้กับ
                       ทั้งหมดได้มากน้อยเท่าใด                        สถานการณ์อื่นเพียงใด



4. การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ
                ออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แผนที่ทางความคิดของนักวิจัยที่จะบอกว่าในการทา
วิจัยเพื่อบรรลุถึงคาตอบที่เขาสนใจนั้น เขาต้องทาอะไรบ้าง จะทาอย่างไร จะทาอะไรก่อนหลัง และจะ
เกี่ยวข้องกับใครบ้าง แผนที่ทางความคิดนี้เหมือนกับแผนที่ของนักเดินทางตรงที่มันทาหน้าที่ให้
แนวทางในการทาวิจัยเพื่อไปให้ถึงคาตอบที่ต้องการเท่านั้น นักวิจัย (ซึ่งเปรียบเหมือนนักเดินทาง)
อาจจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทางานให้ต่างออกไปจากที่ออกแบบไว้แต่แรกก็ได้ ถ้าเห็นว่ามีเหตุผล
อันสมควร คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของแผนที่ทางความคิดสาหรับการทาวิจัยคือ แต่ละขั้นตอนแต่ละ
องค์ประกอบใน”แผนที่การวิจัย” (การออกแบบ) นี้ต่างก็มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ชนิดที่เมื่อมีการ
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                          Qualitative Research   7



ปรับเปลี่ยนในองค์ประกอบอันหนึ่งก็จะมีผลกระทบต่อองค์ประกอบที่เหลืออื่นๆ ไม่โดยตรงก็โดย
อ้อม
              ความแตกต่างระหว่างการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพต่างกับการวิจัยเชิงปริมาณ ตรงที่
ระดับความเข้มงวดในโครงสร้าง กล่าวคือ การวิจัยเชิงปริมาณแผนดาเนินการที่วางไว้จะมีความ
ยืดหยุ่นน้อยหรือไม่ยึดหยุ่นเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวความคิด การเลือกประชากรในการศึกษา วิธีที่ใช้
ในการเก็บข้อมูล หรือวิธีวิเคราะห์ข้อมูลก็ตาม เมื่อได้วางแผนในตอนเริ่มต้นดีแล้วจะดาเนินการ
ตามนั้นการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์แทนที่จะเป็นสิ่งดี อาจจะให้ผลในทางลบแก่การวิจัย
โดยรวม ดังนั้นลักษณะสาคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การมีโครงสร้างที่เข้มงวด แต่
การวิจัยเชิงคุณภาพจะออกแบบยึดหยุ่นได้ตามความจาเป็นในแทบทุกขั้นตอน แต่ต้องเกิ ดจากความ
จาเป็นจากหลักการหรือแนวคิดทฤษฏี ไม่ใช่ความจาเป็นตามความสะดวกของผู้ทาการวิจัย
              องค์ประกอบของการออกแบบการวิจัย Lincoln and Guba (1985 อ้างใน อ้างในชาย โพธิ
สิตา, 2549 : 108) ดังต่อไปนี้
                   ประเด็นสาคัญ (focus) ในการศึกษา ประเด็นสาคัญอาจได้แก่ ปัญหาเรื่องใดเรื่อง
                     หนึ่ง หรือเป็นประเด็นที่จะต้องประเมิน (ถ้าเป็นการวิจัยเพื่อประเมินผล) หรือ
                     ประเด็นเชิงนโยบายก็ได้
                   กระบวนทัศน์ที่เหมาะสมกับประเด็นสาคัญในการศึกษา หมายถึงการเลือกจุดยืน
                     ทางกระบวนทัศน์ว่าจะดาเนินการวิจัยด้วยกระบวนทัศน์แบบไหน จะเลือก
                     แบบปฏิฐานนิยมหรือแบบกระบวนทัศน์ทางเลือก
                   รูปแบบการทาวิจัยที่เหมาะสมกับทฤษฏีที่เลือกมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย
                   ประชากรเป้าหมายและสถานที่ที่จะเก็บข้อมูล
                   ขั้นตอนต่างๆ ในการเก็บข้อมูล
                   เครื่องมือในการเก็บข้อมูล
                   แผนการเก็บข้อมูลและวิธีการบันทึกข้อมูล
                   แผนการวิเคราะห์ข้อมูล
                   การจัดการทั่วไป เช่น ติดต่อกลุ่มเป้าหมายสาหรับการเก็บข้อมูล หาสถานที่พักใน
                     ภาคสนาม และวางแผนงานที่จะทาระหว่างเก็บข้อมูลในสนาม เป็นต้น




องค์ประกอบที่สาคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ Maxwell (ชาย โพธิสิตา)
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                             Qualitative Research   8




                      จุดมุ่งหมายและ                         กรอบแนวคิด
                       วัตถุประสงค์                            ทฤษฎี

                                          คาถาม
                                         ในการวิจัย


                       วิธีการวิจัย                         ความถูกต้อง
                                                            ตรงประเด็น

     1) คาถามในการวิจัย (research questions) หมายถึง สิ่งที่นักวิจัยต้องการรู้ หรือต้องการคาตอบ อัน
เป็นที่มาของการวิจัยเรื่องนั้น คาถามวิจัย เสมือนเป็นหัวใจของการออกแบบ ทาหน้าที่เป็นตัวกลางที่
เชื่อมโยงองค์ประกอบอื่น การตั้งคาถามสาหรับการวิจัย ไม่ว่าเป็นวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
อาจทาได้ 3 แบบตามลักษณะของคาตอบที่ต้องการ
         คาถามที่ยึดกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นหลัก รูปแบบคาถามมุ่งหาคาตอบเกี่ยวกับ
        กลุ่มเป้าหมายทั่วไป ซึ่งเหมาะกับการศึกษาตัวอย่างจานวนมากๆ หรือ กลุ่มเป้าหมายเจาะจง
        เหมาะกับการศึกษาตัวอย่างจานวนเล็ก เช่น การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study)
         คาถามที่บ่งนัยถึงข้อมูลที่ต้องการ รูปแบบของคาถามอาจบอกใบ้ถึงประเภทของข้อมูลว่า
        เป็นอะไร เจาะจงสาหรับข้อมูลเรื่องใด เรื่องหนึ่ง หรือ กว้างสาหรับข้อมูลทั่วๆ ไป ตัวอย่าง
        คาถามแบบเจาะจงข้อมูล เช่น “การประกอบอาชีพเป็นผู้ให้คาปรึกษาแก่หญิงที่ถูกกระทาความ
        รุนแรงทางเพศมาเป็นเวลานาน มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมทางเพศของนัก
        สังคมสงเคราะห์ที่ทางานนี้อย่างไร” คาถามนี้บ่งนัยว่า ข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ผลกระทบต่อ
        ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมทางเพศของนักสังคมสงเคราะห์ คาถามที่ไม่เจาะจง เช่น “การ
        คาปรึกษาแก่หญิงที่ถูกกระทาความรุนแรงทางเพศมาเป็นเวลานาน มีผลต่อนักสังคมสงเคราะห์
        ที่ทางานในด้านนี้หรือไม่ อย่างไร”
         คาถามแบบมุ่งเข้าใจสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือ ผลกระทบของปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ใน
        การในการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้คาถามประเภท “อย่างไร” และ “ทาไม” เช่น “ครอบครัวที่
        แตกแยกก่อให้เกิดผลทางลบต่อผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กอย่างไร”
2) จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา (purpose) หมายถึง เป้าหมายที่นักวิจัยต้องการจะ
บรรลุถึงในการวิจัยเรื่องนั้น สิ่งที่ต้องการจะทาในกระบวนการวิจัย อันจะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายที่
ต้องการนั้นได้ และทาหน้าที่กาหนดขอบเขต หรือ พื้นที่ ที่นักวิจัยจะต้องทางานว่าจะอยู่ในเรื่องและ
ประเด็นอะไร แบ่งเป็น 3 ประเภทตามลักษณะมูลเหตุที่มาของจุดมุ่งหมายนั้นๆ คือ
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                            Qualitative Research   9



            จุดม่งหมายส่วนตัวของนักวิจัย (personal purposes) หมายถึง แรงบันดาลใจส่วนตัวที่ทา
ให้นักวิจัยอยากทาเรื่องนั้น
            จุดมุ่งหมายเชิงปฏิบัติ (practical purposes) หมายถึง จุดมุ่งหมายที่ต้องการจะบรรลุถึง
อะไรสักอย่างเพื่อผลในทางปฏิบัติ เป็นความต้องการที่จะบรรลุถึงสิ่งที่จะมีผลต่อวงการใดวงการหนึ่ง
หรือต่อส่วนรวม ส่วนใหญ่เป็นนโยบายสาธารณะ เช่น มุ่งเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาบางอย่าง
(ซึ่งอาจจะเป็นทัศนะไม่ถูกต้องต่อผู้ติดเชื้อ HIV)
            จุดมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้าวิจัย (research purposes) เป็นจุดมุ่งหมายทางวิชาการ เพื่อทา
ความเข้าใจหรือหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์นั้นมีธรรมชาติเป็น
อย่างไร ทาไมสิ่งต่างๆ ในปรากฎการณ์นั้นจึงเป็นอย่างที่มันเป็นมีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลัง
3) แนวคิดทฤษฎีในการวิจัย บางทีเรียกว่า “กรอบแนวคิด” (conceptual framework) คือความเชื่อ หรือ
ข้อสรุปเบื้องต้นของนักวิจัยว่าสิ่งที่จะศึกษานั้นน่าจะเป็นอย่างไร ที่ มาของแนวคิดทฤษฏีมี
4 ทาง คือ
      ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวของนักวิจัย (experiential knowledge
      แนวคิดทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว (existing theories) ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
      การศึกษานาร่อง (pilot study)
      ความคิดสร้างสรรค์ (creative thoughts) แนวคิดดีๆ สาหรับการวิจัยบางครั้งเกิดจากความคิดที่
         มีลักษณะสร้างสรรค์ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน แต่เกิดจากการ “ลองคิดแปลกไปจากที่เคยคิด”
4) วิธีการวิจัย (method) คือ สิ่งที่เราจะลงมือทาจริงๆ ในการวิจัย วิธีการหลัก ๆ ของการวิจัยเชิง
         คุณภาพ มี 6 รูปแบบ คือ
              4.1 การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic study)
              4.2 การวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology study)
              4.3 การศึกษาเฉพาะกรณี ( Case study method)
              4.4 การวิจัยชีวประวัติบุคคล (Biographical study)
              4.5 การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded theory study)
              4.6 การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม (Focus group study)
         รายละเอียดของแต่ละรูปแบบ ศึกษาในหัวข้อต่อไป สาหรับประเด็นสาคัญที่กล่าวในที่นี้คือ
         สาหรับวิธีการ เลือกตัวอย่าง วิธีเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปพอสังเขปดังนี้
         4.1 การเลือกตัวอย่าง
              ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างหลักๆ อยู่ 2 แบบ คือ
              1) แบบสุ่มโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability sampling) ซึ่งได้ศึกษามาแล้ว
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                                Qualitative Research    10



              2) การเลือกตัวอย่างแบบยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก ซึ่งเป็นการเลือกแบบไม่มี
โครงสร้างที่เคร่งครัด มีขั้นตอนและวิธีดาเนินการที่ไม่ซับซ้อน จุดมุ่งหมายหลักของการเลือกตัวอย่าง
แบบนีไม่ใช่เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน แต่เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เหมาะสมกับแนวคิด
        ้
จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่ง การเลือกใครก็ตามเป็นผู้ให้ข้อมูลก็เพราะเขาเหล่านั้นมี
ข้อมูลจะบอกเราได้มากกมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิจัยของเรา เราเรียกคน เหล่านั้นว่า Key
informants เราเลือกสถานที่แห่งหนึ่งหรือหลายแห่งมาทาวิจัยเพราะเรามั่นใจสถานที่นั้นๆ มีอะไรที่เรา
จะได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องที่เราอยากรู่ เราเลือกเหตุการณ์หรือกระบวนการอัน ใดอันหนึ่งมา
ศึกษา เพราะมีหลักฐานมีหลักฐานให้เชื่อว่าเหตุการณ์หรือกระบวนการนั้นๆ มีอะไรหลายอย่างที่จะ
ทดสอบแนวความคิดในการวิจัยของเรา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เราสามารถอธิบายสิ่งที่เราเลือกได้ ทั้ง
ในทางแนวคิด ทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย
      กลุ่มตัวอย่างที่สนองจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ มี 15 ประเภท ได้แก่
                   (1) ตัวอย่างที่แสดงลักษณะสุดขั้ว ตัวอย่างประเภทนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคน หรือกรณีที่
ไม่ธรรมดา หรือมีอะไรที่พิเศษกว่ารายอื่น เช่น รายที่ประสบผลสาเร็จ หรือ ล้มเหลวมากเป็นพิเศษ
หรือ เช่น เด็กอัจฉริยะ
                   (2) ตัวอย่างที่มีประสบการณ์มาก คล้ายกับตัวอย่างประเภทแรก แต่ตัวอย่างนี้ไม่ใช่
พวกสุดขั้ว เป็นพวกที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์มากกว่าคนทั่วไป การวิจัยเชิงคุณภาพแบบมุ่ง
ตีความหมาย มักเลือกใช้ตัวอย่างประเภทนี้ เช่น ศึกษาการปรับตัวของคนที่ผ่านสงความมาอย่างโชก
โชน คนป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ทรมานมาเป็นเวลานาน เป็นต้น
                   (3) ตัวอย่างที่ครอบคลุมความหลากหลายในประชากรได้มากที่สุด จุดมุ่งหมายของ
การเลือกตัวอย่างประเภทนี้อยู่ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า เรื่องที่เป็นประเด็นของการวิจัย (เช่น
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เป็นต้น) มีความแตกต่างอย่างไรในกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างกัน
                   (4) ตัวอย่างที่มีลักษณะเหมือนกัน ในการเลือกตัวอย่างประเภทนี้ นักวิจัยจะมอง
เฉพาะรายที่มีลักษณะสาคัญบางประการร่วมกัน จุดมุ่งหมายก็เพื่อทาการศึกษาประชากรกลุ่มนั้นอย่าง
ลึกลง เช่น ในการศึกษาครอบครัว นักวิจัยอาจกาหนดเอาเฉพาะครอบครัวที่หัวหน้าเป็นหญิง เพื่อ
การศึกษาลงลึกลงไปในปัญหาและสถานการณ์ของครอบครัวที่มีหญิงเป็นหัวหน้าครัวเรือน เป็นต้น
                   (5) ตัวอย่างที่แสดงลักษณะสาคัญของประชากรทั้งหมด ลักษณะสาคัญในที่นี้
หมายถึง คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ประชากรในกลุ่มนั้นๆ มีเหมือนๆ กัน เช่น กร
รักษาทรวดทรงให้บอบบางอยู่เสมอเป็นลักษณะเด่นของนางแบบ เป็นต้น
                   (6) ตัวอย่างที่เป็นเกณฑ์สาหรับตัดสินกรณีอื่นๆ ตัวอย่างประเภทนี้มักมีลักษณะ
สาคัญบางอย่างที่ช่วยให้เราอนุมานเกี่ยวกับกรณีอื่นๆ ได้ ทานองว่า “ถ้าเรื่องนี้เป็นจริงสาหรับกลุ่ม
ประชากรนี้ กลุ่มอื่นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง” หรือ “ถ้ากลุ่มนี้มีปัญหาในเรื่องนี้กลุ่มอื่นๆ ก็น่าจะมีด้วย” เช่น
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                               Qualitative Research    11



ในการศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและการใช้วิธีการคุมกาเนิดในกลุ่ม
ตัวอย่างที่ยังเป็นโสด
                    (7) ตัวอย่างที่เลือกจากการแนะนาต่อๆ กันไป กลุ่มตัวอย่างประเภทนี้ถูกเลือกมาโดย
 ทางอ้อม คือ นักวิจัยไม่ได้ติดต่อกับประชากรเป้าหมายโดยตรงในเบื้องต้น ใช้กรณีที่นักวิจัยมีความรู้
 จากัดเกี่ยวกับประชากรที่ศึกษา รู้แต่เพียงว่าตนต้องการข้อมูลในเรื่องอะไรบ้างเท่านั้น อาจใช้วิ ธีถาม
 ใครก็ได้ที่คิดว่าน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล เช่น ถามว่า “ใครในตาบลนี้ที่มีความรู้เรื่อง... ดี
 บ้าง?” เมื่อได้ชื่อมาสักหนึ่งคน ก็ตามไปถามคนนั้นแบบเดียวกัน ต่อไปเรื่อยๆ ในจานวนนี้คนที่คนอื่น
 เอ่ยชื่อมากที่สุดมักจะมีจานวนมาก ซึ่งจะเป็นคนที่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าจะดีที่สุด
                    (8) ตัวอย่างที่ไม่เข้าเกณฑ์กาหนด เหตุผลของการเลือกตัวอย่างประเภทนี้ คือ
ต้องการที่จะศึกษาว่า เพราะเหตุใดหน่วยงานหรือองค์กรบางแห่งจึงไม่สามารถทางานได้ตามเกณฑ์ที่
กาหนดในเรื่องที่สาคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกณฑ์ที่ว่านั้น อาจเกี่ยวกั บการประกันคุณภาพ คือ เป็นตัวชี้วัด
ประสิทธิภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างแบบนี้มีประโยชน์ในการวิจัยเพื่อการติดตามและประเมินผล
                    (9) ตัวอย่างที่สนับสนุนและที่แย้งข้อค้นพบในการศึกษา หลังจากเก็บข้อมูลใน
ภาคสนามไประยะหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ นักวิจัยอาจเริ่ มได้คาตอบของสิ่งที่ต้องการค้นหา
บางอย่าง แต่คาตอบนั้นจะยังไม่เป็นที่มั่นใจจนกว่าจะได้ผ่านการยืนยัน หรือทดสอบ โดยข้อมูลจาก
กลุ่มตัวอย่างอื่นที่ต่างออกไป
                    (10) ตัวอย่างที่มีความสาคัญทางการเมือง ตัวอย่างประเภทนี้อาจเป็นสถานที่ หรือ
บุคคล ที่มีความสาคัญทางการเมือง
                    (11) ตัวอย่างเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี คุณสมบัติของตัวอย่างแบบนี้จะถูกกาหนดโดยทฤษฎี
 ที่ต้องการพิสูจน์ นักวิจัยจะมองหาบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เหมาะที่จะพิสูจน์ทฤษฎีเท่านั้น ที่ว่าเหมาะ
 หมายความว่าอาจเป็นตัวอย่างที่มายืนยันหรือท้าทายแนวความคิดในทฤษฎีนั้นหรือทั้ งสองอย่าง
                    (12) ตัวอย่างที่เจาะจงเลือกมาจากประชากรที่แบ่งเป็นช่วงชั้น (stratified) ใช้หลักการ
เดียวกับการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ แต่ไม่ได้มุ่งความหมายเป็นตัวแทน เนื่องจากกลุ่ม
ตัวอย่างมีขนาดเล็ก และเลือกตัวอย่างเอาตามความเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและคาถามในการวิจัย
                    (13) ตัวอย่างที่สุ่มมาจากประชากรที่เลือกมาอย่างเจาะจง กลุ่มที่เจาะจงเลือกมานั้น
ต้องเป็นกลุ่มที่แน่ใจว่ามีอะไรที่น่าสนใจมากสาหรับประเด็นที่ศึกษา และเป็นกลุ่มมี่แตกต่างกันใน
ลักษณะสาคัญ เช่น ในการศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ นักวิจัยอาจเจาะจงคนขับรถบรรทุกทางไกล
                    (14) ตัวอย่างที่เลือกแบบเฉพาะหน้า ในการเก็บข้อมูลภาคสนาม มีอยู่บ่อยๆ ที่
สถานการณ์เฉพาะหน้าทาให้นักวิจัยต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกตัวอย่างในระหว่างที่ทาการเก็บ
ข้อมูลอยู่นั้นเอง นักวิจัยจาเป็นต้องทาเช่นนั้นเพื่อประโยชน์จากโอกาสที่เกิ ดขึ้นขณะนั้นพอดี จึงกล่าว
ได้ว่าการเลือกตัวอย่างแบบนี้เป็นการเลือกตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า เป็นเรื่องปกติของการทาวิจัยเชิง
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                                Qualitative Research    12



คุณภาพ โอกาสเช่นนั้นอาจเป็นจังหวะที่บังเอิญเหตุการณ์ที่ข่ายสาหรับการทาวิจัยเกิดขึ้น นักวิจัยเลยถือ
โอกาสสังเกตเหตุการณ์ หรือสัมภาษณ์ผู้มีค วามรู้ที่ปรากฏตัวขึ้นพอดี ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ดีขึ้น
                  (15) ตัวอย่างที่เลือกตามความสะดวก เป็นการเลือกตัวอย่างชนิดที่ไม่ได้วางแผนไว้
ล่วงหน้าแต่อาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เป็นวิธีที่ง่ายแต่ไม่ใช่วิธีที่ดี วิธีนี้ควรเป็นวิธีสุดท้ายที่จะเลือก
และควรหลีกเลี่ยง เพราะการเลือกตัวอย่างวิธีนี้ไม่อาจจัดว่าเป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงที่ยึด
จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นหลักการสาคัญสาหรับการเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิง
คุณภาพ
         4.2 วิธีการเก็บข้อมูล
             ในการวิจัยเชิงคุณภาพมีวิธีการเก็บข้อมูลหลายแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของข้อมูล
ที่ต้องการและตามลักษณะของประชากรเป้าหมายในการเก็บข้อมูล จะใช้วิธีเดียวหรือหลายวิธีได้ ที่ใช้
กันเช่น การรวมรวมเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก(แบบไม่มีโครงสร้าง
เคร่งครัด) การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม และการสนทนากลุ่ม ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวการสนทนากลุ่ม ใน
รูปแบบการวิจัย โดยรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

                 (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เป็นการรวบรวมขั้นแรกเมื่อเริ่มทาการวิจัย โดย
นักวิจัยจะต้องศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด เพื่อนามาประกอบการวิจัย การศึกษาเอกสารจะช่วย
ในการกาหนดประเด็นและตัวแปรที่จะศึกษา กาหนดแนวคิดนา รวมทั้งนามาใช้ในการวิเคราะห์ ถ้าไม่
ทาการศึกษาจากเอกสาร

                (2) การสังเกต (Observation) การสังเกตในวิจัยเชิงคุณภาพมี 2 แบบ คือ
                   (2.1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participation observation) คือ การสังเกตที่ผู้สังเกต
เข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ศึกษา มีการกระทากิจกรรมด้วยกันจนกระทั่งเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและ
ความหมายที่คนเหล่านั้นให้ต่อปรากฎการณ์ทางสังคมที่ผู้วิจัยศึกษา ซึ่งเมื่อสังเกตแล้วจะต้องมีการ
ซักถามและการจดบันทึกข้อมูล (notetaking) ด้วย
                  (2.2) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation) คือ การสังเกตที่ผู้
สังเกตไม่ได้เข้าไปใช้ชีวิตร่วมหรือกิจกรรมกับกลุ่มคนที่ศึกษา        โดยไม่ต้องการให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึก
รบกวนเพราะอาจทาให้พฤติกรรมผิดไปจากปกติได้ ซึ่งอาจใช้ในระยะแรกของการวิจัยแล้วใช้การ
สังเกตแบบมีส่วนร่วมในระยะหลัง
การสังเกตโดยปกติมีสิ่งที่ต้องสังเกตอยู่ 6 ประการ ได้แก่
1. การกระทา คือ การใช้ชีวิตประจาวัน การรับประทานอาหาร การปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ในชีวิตประจาวัน
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                           Qualitative Research   13



2. แบบแผนการกระทา คือ การกระทาหรือพฤติกรรมที่เป็นกระบวนการ มีขั้นตอนจนเป็นแบบแผน
ชี้ให้เห็นสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของสมาชิก
3. ความหมาย คือ การให้ความหมายของการกระทาหรือแบบแผนพฤติกรรมนั้น
4. ความสัมพันธ์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชนหรือสังคมนั้น
5. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิก คือ การที่บุคคลยอมร่วมมือในกิจกกรมนั้น ๆ
6. สภาพสังคม คือ ภาพรวมทุกแง่ทุกมุมที่สามารถประเมินได้
         (3) การสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์เป็นการเจาะลึกประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจ อาจใช้
สัมภาษณ์เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ มีหลายประเภท อาจแบ่งได้ดังนี้
              (3.1) การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (formal interview) หรือการสัมภาษณ์แบบมี
โครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้เตรียมคาถามและข้อกาหนดไว้แน่นอนตายตัว โดยปกติ
นักวิจัยเชิงคุณภาพมักจะไม่ใช้วิธีการนี้เป็นหลัก เพราะไม่ได้ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งและครอบคลุม
เพียงพอโดยเฉพาะในแง่ของวัฒนธรรม ความหมายและความรู้สึกนึกคิด
              (3.2) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) มักจะใช้ควบคู่ไปกับการ
สังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม โดยเตรียมคาถามกว้าง ๆ
มาล่วงหน้า การสัมภาษณ์แบบนี้อาจแบ่งออกได้อีก คือ การสัมภาษณ์โดยเปิดกว้า งไม่จากัดคาตอบ
การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (indepth interview) การตะล่อมกล่อมเกลา (probe) เป็นการซักถามที่ล้วง
เอาส่วนลึกของความคิดออกมา และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (key informant interview) โดย
กาหนดตัวผู้ตอบบางคนแบบเจาะจงเพราะมีข้อมูลที่ดี ลึกซึ้ง กว้างขว างเป็นพิเศษ รวมถึงการเงี่ยหูฟัง
(eavesdropping) จากคาสนทนาของผู้อื่นโดยผู้วิจัยไม่ต้องตั้งคาถามเองก็เป็นเทคนิคของการวิจัยเชิง
คุณภาพอีกอย่างหนึ่ง ตลอดจนการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) โดยการจัดกลุ่มสนทนา
ประมาณ 8 - 12 คน ที่มีคุณลักษณะบางประการคล้ายคลึงกัน
              ในการสัมภาษณ์มีขั้นตอนที่สาคัญ คือ การแนะนาตัว การสร้างความสัมพันธ์ การบันทึก
คาตอบ การใช้ภาษา ตลอดจนเวลาและสถานที่ที่ใช้สัมภาษณ์

        การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในการวิจัยเชิงคุณภาพ          นอกจากจะใช้วิธีการสังเกตและ
สัมภาษณ์แล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ประยุกต์มาจากวิธีสังเกตและสัมภาษณ์ เช่น เทคนิค Life History
Collection และเทคนิค Focus Group Discussions

      (1) Life History Collection เป็นเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพที่
พัฒนามาจากการสัมภาษณ์ การทา Life History Collection แตกต่างจากการทาอัตชีวประวัติที่จะเล่าไป
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                                Qualitative Research    14



อย่างอิสระตามเวลา ตามลาดับเหตุการณ์ แต่จะมีประเด็นที่น่าสนใจในแต่ละกรณีศึกษา ที่ศึกษาแล้วเรา
ก็เข้าไปสัมภาษณ์พูดคุยในเรื่องต่าง ๆ เข้าไปศึกษาหลาย ๆ กรณีศึกษา ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าเวลาน้อยจะศึกษา
โดยเลือกจาก key informant ซึ่งจะมีกี่คนก็ได้ การให้เขาเล่านั้นในรอบแรกจะให้เขาเล่าให้ฟัง นักวิจัยจะ
ฟังอย่างเดียว เมื่อผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมงจึงค่อยตะล่อมเข้าเรื่อง และประเด็นที่ต้องการ ( โดย
สัมภาษณ์และใช้วิธีบันทึกเทปไว้ ) แล้วเอาสิ่งที่บันทึกไว้ทั้งหมด มาสรุปเป็นประเด็นที่สาคัญ
บรรยากาศของการใช้เทคนิคนี้ต้องไม่เป็นทางการมากที่สุด เป็นธรรมชาติมากที่สุด

         (2) Focus Group Discussions เป็นเทคนิคซึ่งประยุกต์มาจากการสัมภาษณ์ ที่นิยมนามาใช้ใน
การวิจัยเชิงคุณภาพ มักเป็นการสัมภาษณ์ในประเด็นเกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงหรือเรื่องทั่ว ๆ ไป
จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายขนาดของกลุ่มมักจะมีประมาณ 5-6 คน เพราะถ้ากลุ่มเล็ก
เกินไป จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย แต่ถ้ากลุ่มใหญ่เกินไปก็อาจจะกระทาได้ไม่ทั่วถึง
ประเด็นที่อภิปรายจึงมักมีจานวนไม่มากเกินไป ผู้ดาเนินการ ( moderator) จะมีบทบาทสาคัญในการ
กระตุ้นให้คนในกลุ่มพูดในประเด็นที่กาหนด ข้อสาคัญคือ กลุ่มที่เราเลือกทา Focus Group Discussions
ควรทราบเรื่องนั้นจริง ๆ สถานภาพของสมาชิกในกลุ่มน่าจะใกล้เคียงกัน ผู้ดาเนินการควรปล่อยให้กลุ่ม
สรุปประเด็นของการสัมภาษณ์ หรือยืนยันในข้อมูลที่ให้ก่อนการจบการสนทนา

          4.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
          การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการ นาข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาเก็บให้เป็นระบบระเบียบ ให้
ความหมายกับข้อมูล จัดหมวดหมู ความหมายของข้อมูล วิเคราะห์และสรุปรวบรวมความหมาย ซึ่ง
ก่อนวิเคราะห์ ควรมี การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ                  เรียกว่ า “การ
ตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation)”ุ(Denzinุ1970)ุโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
      (1) การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) จะเน้นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจาก
แหล่งต่างๆ นั้นมีความเหมือนกันหรือไม่ ซึ่งถ้าทุกแหล่งข้อมูลพบว่าได้ข้ อค้นพบมาเหมือนกัน แสดง
ว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง
      (2) การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (investigator triangulation) จะเน้นการตรวจสอบจากผู้วิจัย
หรือผู้เก็บข้อมูลต่างคนกันว่าได้ค้นพบที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งถ้าผู้วิจัยหรือผู้เ ก็บข้อมูล
ทุกคนพบว่าข้อค้นพบที่ได้มามีความเหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง
     (3) การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation) จะเน้นการตรวจสอบว่าถ้ามีการใช้
ทฤษฎีที่หลากหลายแล้ว ข้อมูลที่ได้มาเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ถ้าผู้วิจั ยพบว่าไม่ว่าจะนา
ทฤษฎีใดมาใช้ ได้ข้อค้นพบที่เหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง
การวิจัยเชิงคุณภาพ                                                               Qualitative Research    15



          การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ดาเนินการ
          - จัดระบบสิ่งที่ผู้วิจัยได้เห็นได้ยินและได้อ่าน เพื่อให้เข้าใจความหมายในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ใน
การจัดการกับข้อมูล นักวิ จัยใช้วิธีบรรยาย อธิบายตั้งสมมติฐาน สร้างทฤษฎี และเชื่อมโยงสิ่งที่ศึกษา
ไปยังเรื่องอื่นๆ ในการที่จะทาเช่นนั้น ได้นักวิจัยจะต้องจัดประเภท สังเคราะห์ ค้นหาแบบแผน และ
ตีความข้อมูลที่รวบรวมมา
          - การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ใช่ขั้นสุดท้ายของกระบวนการวิจัย และไม่ได้เป็นขั้ นตอนหนึ่งที่แยก
ออกมาจากขั้นตอนอื่นๆ ในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนักวิจัยจึงต้องวิเคราะห์ข้อมูลตลอดทุก
ขั้นตอนของการวิจัย และต้องวิเคราะห์ย้อนกลับไปกลับมาหลายครั้งจนกว่า จะได้สิ่งที่ต้องการศึกษา
ครบถ้วนจนสามารถนาเสนอผลการวิจัยได้
          การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการนาข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
เช่น แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ มาทาการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคุณภาพ มีเทคนิคที่สาคัญ ดังนี้
     1) การจาแนกและจัดระบบข้อมูล (Typology and Taxonomy)เป็นการนาข้อมูลที ได้นามาจาแนก
และจัดหมวดหมู่ออกให้เป็นระบบ เช่น ข้อมูลหมวดบุคลากร ข้อมูลหมวดงบประมาณ ข้อมูลหมวด
วัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลหมวดงบประมาณ เป็นต้น
    2) การวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) เป็นการนาข้อมูลทีได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
มาวิเคราะห์เพื่อหาบทสรุปร่วมกันของเรื่องนั้น
     3) การเปรียบเทียบเหตุการณ์ (Constant Comparison) เป็นการนาข้อมูลที่ได้มาไปเทียบเคียงหรือ
เปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่น เพื่อหาความเหมือนและความแตกต่างกันที่เกิดขึ้น เช่น เปรียบเทียบ
หน่วยงานหนึ่งกับอีกหน่วยงานหนึ่งที่ประสบผลสาเร็จทางการบริหาร เป็นต้น
    4) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) เป็นการนาข้อมูลทีได้มาทาการวิเคราะห์
ออกให้เห็นเป็นส่วนๆ เช่น วิเคราะห์การบริหารงานขององค์การออกเป็น 7 หมวด ตามกรอบของ
PMQA เป็นต้น
     5) การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) เป็นการนาเอกสารหรือหลักฐานต่างๆ มา
วิเคราะห์ให้เห็นว่า มุ่งพรรณนาและอธิบายปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้น เช่น วิเคราะห์การปกครองสมัย พ .ศ.
2475 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
    6) การวิเคราะห์สาเหตุและผล (Cause and Effect Analysis) เป็นการนาข้อมูลทีได้มาวิเ คราะห์ให้
เห็นว่าจากผลมาจากเหตุ คือ วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ย้อนกลับมาให้เห็นว่าเกิดมาจากเหตุปัจจัย
ใดบ้าง หรือวิเคราะห์เหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์จากเหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์ให้เห็นว่าเมื่อเหตุนี้
เกิดขึ้น ได้นาไปสู่ผลที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research
023 qualitative research

More Related Content

What's hot

รูปแบบการวิจัย
รูปแบบการวิจัยรูปแบบการวิจัย
รูปแบบการวิจัยRamkhamhaeng University
 
9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัย9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัยguest9e1b8
 
การวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้นการวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้นอรุณศรี
 
เครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพ
เครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพเครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพ
เครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพAimy Blythe
 
การเขียนรายงานการวิจัย1
การเขียนรายงานการวิจัย1การเขียนรายงานการวิจัย1
การเขียนรายงานการวิจัย1Prachyanun Nilsook
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนPrachyanun Nilsook
 
ระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยKero On Sweet
 
สถิติสำหรับการวิจัย
สถิติสำหรับการวิจัยสถิติสำหรับการวิจัย
สถิติสำหรับการวิจัยธีรวัฒน์
 
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)Marine Meas
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยอรุณศรี
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8Narut Keatnima
 
การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์GolFy Faint Smile
 

What's hot (20)

รูปแบบการวิจัย
รูปแบบการวิจัยรูปแบบการวิจัย
รูปแบบการวิจัย
 
9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัย9 รูปแบบการวิจัย
9 รูปแบบการวิจัย
 
2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
 
การวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้นการวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้น
 
เครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพ
เครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพเครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพ
เครื่องมือการวิชัยเชิงคุณภาพ
 
ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัยตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
ตัวแปรและสมมติฐานการวิจัย
 
การเขียนรายงานการวิจัย1
การเขียนรายงานการวิจัย1การเขียนรายงานการวิจัย1
การเขียนรายงานการวิจัย1
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
 
3.การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
3.การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)3.การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
3.การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
 
ระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
 
สถิติสำหรับการวิจัย
สถิติสำหรับการวิจัยสถิติสำหรับการวิจัย
สถิติสำหรับการวิจัย
 
5 การประเมินโครงการ 5
5 การประเมินโครงการ 55 การประเมินโครงการ 5
5 การประเมินโครงการ 5
 
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
บทที่๑ ความรู้เบืองต้นของการวิจัย (Research)
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 
ทำวิจัยไปทำไม
ทำวิจัยไปทำไมทำวิจัยไปทำไม
ทำวิจัยไปทำไม
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
 
ppt
pptppt
ppt
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
Mt research
Mt researchMt research
Mt research
 
การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
 

Viewers also liked

สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรองสถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรองดา ดาลี่
 
การเปินแบบย่อยและแบบรวม
การเปินแบบย่อยและแบบรวมการเปินแบบย่อยและแบบรวม
การเปินแบบย่อยและแบบรวมTupPee Zhouyongfang
 
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยbenjama
 
การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวมการประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวมTupPee Zhouyongfang
 
วิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไรวิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไรrujirapyo1
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสสำเร็จ นางสีคุณ
 

Viewers also liked (9)

สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรองสถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
สถิติเบื้องต้นกลุ่ม 2 สำรอง
 
การเปินแบบย่อยและแบบรวม
การเปินแบบย่อยและแบบรวมการเปินแบบย่อยและแบบรวม
การเปินแบบย่อยและแบบรวม
 
Aect standard 5_research
Aect standard 5_researchAect standard 5_research
Aect standard 5_research
 
Objectives
ObjectivesObjectives
Objectives
 
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
 
การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวมการประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
 
Communty diagnosis
Communty diagnosisCommunty diagnosis
Communty diagnosis
 
วิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไรวิจัยคืออะไร
วิจัยคืออะไร
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
 

Similar to 023 qualitative research

วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยChamada Rinzine
 
Pptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนPptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนUraiwan Bunnuang
 
Qualitative research - Somruethai
Qualitative research - SomruethaiQualitative research - Somruethai
Qualitative research - SomruethaiKomnBhundarak
 
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยการวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยsudaphud
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนsalinkarn sampim
 
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณประพันธ์ เวารัมย์
 
การประเมินสถานศึกษา
การประเมินสถานศึกษาการประเมินสถานศึกษา
การประเมินสถานศึกษาCha-am Chattraphon
 
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณบทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณKobwit Piriyawat
 
Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25
Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25
Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25Borwornsom Leerapan
 
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนNampeung Kero
 
บทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพ
บทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพบทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพ
บทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพrubtumproject.com
 
07 final exam
07 final exam07 final exam
07 final examKruBeeKa
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54นู๋หนึ่ง nooneung
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนวyutict
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,Itnanut Nunkaew
 

Similar to 023 qualitative research (20)

023 qualitative research
023 qualitative research023 qualitative research
023 qualitative research
 
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
 
Pptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนPptวิชาเทคโน
Pptวิชาเทคโน
 
maisooree
maisooreemaisooree
maisooree
 
Qualitative research - Somruethai
Qualitative research - SomruethaiQualitative research - Somruethai
Qualitative research - Somruethai
 
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยการวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
 
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
 
Quanti & Quali study 2014.1.20
Quanti & Quali study 2014.1.20Quanti & Quali study 2014.1.20
Quanti & Quali study 2014.1.20
 
Cognitive tools - 201704 - Cognitive Weapon
Cognitive tools - 201704 - Cognitive WeaponCognitive tools - 201704 - Cognitive Weapon
Cognitive tools - 201704 - Cognitive Weapon
 
การประเมินสถานศึกษา
การประเมินสถานศึกษาการประเมินสถานศึกษา
การประเมินสถานศึกษา
 
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณบทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
 
Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25
Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25
Complimentary Roles of Quantitative & Qualitative Research Methods 2015.2.25
 
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
 
บทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพ
บทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพบทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพ
บทที่ 3 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกและการวาดภาพ
 
07 final exam
07 final exam07 final exam
07 final exam
 
PPT อ.สกลชัย
PPT อ.สกลชัยPPT อ.สกลชัย
PPT อ.สกลชัย
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry method)ยาศาสตร์,
 

023 qualitative research

  • 1. Qualitative Research การวิจัยเชิงคุณภาพ โดย พิชญ์สินี ชมภูคา 520252008 พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ 520252009 นาเสนอ รองศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษากระบวนวิชา 090800 การวิจัยขั้นสูงเพื่อพัฒนาการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิงหาคม 2552
  • 2. คานา รายงานการ ศึกษาค้นคว้านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษากระบวน วิชา 090800 การวิจัย ขั้นสูงเพื่อพัฒนาการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญาเอก สาขา วิชาการวิจัยและพั ฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 คณะผู้จัดทาได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนให้ทาการศึกษา ค้นคว้า และนาเสนอ เกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในประเด็นความหมาย ภูมิหลังความสาคัญ ขั้นตอนกระบวนการวิจัย ข้อดี ข้อจากัด และคุณธรรมจริยธรรมทางการวิจัยเชิงคุณภาพ พร้อม ทั้งตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพตามรูปแบบที่ปรากฏ ทั้งปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และรายงาน วิจัยทั่วไป คณะผู้จัดทา ขอขอบพระคุณผู้เป็นเจ้าของแหล่งศึกษาค้นคว้าทุกแหล่งที่ได้ให้ แก่นความรู้ แนวคิด ที่ทุกท่านได้ตรากตรา เพียรศึกษา ค้นคว้าเพื่อถ่ายทอดเป็นวิทยาทานทางปัญญาแก่ผู้คน ที่สนใจ นอกเหนืออื่นใด คณะผู้จัดทาได้รั บโอกาสให้ศึกษา ค้นคว้า นาเสนอ ผน วกกับข้อแนะนา ที่จะเกิดขึ้นในชั้นเรียน จาก รองศาสตราจารย์ ดร .สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ อ าจารย์ผู้สอน จึง ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ในการศึกษาค้นคว้า นาเสนอครั้งนี้ อาจมีข้อบกพร่องอันเกิดจากความไม่เข้าใจอย่าง ลึกซึ้ง หรือความไม่รอบคอบของคณะผู้จัดทา สิ่งที่เกิดขึ้นและมีอยู่นั้นคณะผู้จัดทาจึงขอ น้อม รับผิดชอบทุกสิ่งด้วยจิตสานึก พิชญ์สินี ชมภูคา 520252008 พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ 520252009
  • 3. สารบัญ หน้า 1. ความหมาย 1 2. ลักษณะสาคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ (สุภางค์ จันทวานิช , 2548 : 13 - 14) ดังนี้ 3 3. กระบวนทัศน์(PARADIGM) ในการวิจัยเชิงคุณภาพ 5 4. การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ 6 5. การพิจารณาการวิจัยเชิงคุณภาพ 17 6. รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ 19 6.1 การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ETHNOGRAPHIC STUDY) 19 6.2 การวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (PHENOMENOLOGY STUDY) 24 6.3 วิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (CASE STUDY APPROACH) 25 6.4 การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (GROUNDED THEORY STUDY) 29 6.5 การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม (FOCUS GROUP STUDY) 32 7. เปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ 34 8. จริยธรรมและจรรยาบรรณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ 35 บรรณานุกรม 38
  • 4. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) 1. ความหมาย สุภางค์ จันทวานิช (2548) คือ การแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจาก สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อม วิธีการนี้จะสนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล นอกเหนือไปจากข้อมูลเชิงปริมาณมักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว ใช้การสังเกตแบบมี ส่วนร่วมและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นวิธีการหลักในการเก็บข้อมู ล และเน้นการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ชาย โพธิสิตา (2549) เป็นการศึกษาโลกแห่งความเป็นจริง ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นไปตาม ธรรมชาติ เปิดกว้างด้วยแนวการวิเคราะห์แบบอุปนัยให้ความสาคัญแก่การทาความเข้าใจอย่างเป็นองค์ รวม ภายในบริบทของสิ่งที่ศึกษาโดยนักวิจัยมีการติดต่อแบบมีส่วนร่วมโดยตรงกับประชากร กลุ่มเป้าหมาย เพื่อมุ่งทาความเข้าใจพลวัตของปรากฏการณ์ ให้ความสาคัญแก่การศึกษาเฉพาะกรณี ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เพราะมีการออกแบบการวิจัยที่ยึดหยุ่นได้ และมีตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือสาคัญใน กระบวนการวิจัย ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ (2550) กล่าวว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หมายถึง การวิจัยที่มุ่งทาความเข้าใจ ตีความ แ ละให้ความหมายแก่ปรากฏการณ์ทางสั งคมที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ เจตคติ พฤติกรรม และวัฒนธรรมของมนุษย์ โดยมีวิธีการเก็บ ข้อมูลหลาย ๆ วิธีในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต นักวิจัยอาจแฝงตัวเองเข้าไปคลุกคลีอยู่กับ ประชากรในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ต้องการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูล ไม่ เน้นการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ เป็นตัวเลข แต่ให้ความสาคัญกับการตีความและสังเคราะห์ข้อค้นพบบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เก็บได้ แล้วนาเสนอข้อค้นพบในรูปแบบ การบรรยาย หรืออาจสร้างออกมาเป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายพฤติกรรม ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ หรือปรากฏการณ์ทางสังคมได้ หรือช่วยสร้างสมมติฐานเพื่อใช้ประโยชน์ใน การวิจัยต่อไป ตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ก ารวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา การวิจัยเชิ ง ประวัติศาสตร์ เกียรติสุดา ศรีสุข (2552) กล่าวว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่ มีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งอาจได้แก่ คุณลักษณะ พฤติกรรม สภาพการณ์ หรือ
  • 5. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 2 ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญของ ผู้วิจัยในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างมากในการที่จะวิเคราะห์ ให้ความหมาย วิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลที่รวบรวม ได้ ได้อย่างถูกต้อง ละเอียดลึกซึ้ง สุมิตร สุวรรณ (2552) เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจาก สภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ สนใจข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่า กับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือ ปรากฏการณ์โดยตรง มักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว ไม่เ น้นการใช้สถิติตัวเลขในการ วิเคราะห์ข้อมูล ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) อารีย์วรรณ อ่วมตานี (2552) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดย ธรรมชาติ (Naturalistic inquiry) ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ (Holistic perspective) ด้วย ตัวผู้วิจัยเอง เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น โดยให้ความสาคัญ กับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์ และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่ งแวดล้อมต่างๆ รอบตัว เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุบนัย (Inductive analysis) John W.Creswell (1998 :15 อ้างใน ชาย โพธิสิตา, 2549: 25) เป็นกระบวนการค้นคว้าวิจัยเพื่อ หาความเข้าใจบนพื้นฐานของระเบียบวิธีอันมีลักษณะเฉพาะที่มุ่งการค้นหาประเด็นปัญหาทางสังคม หรือปัญหาของมนุษย์ในกระบวนการนี้ นักวิจัยสร้างภาพหรือข้อมูลที่ซับซ้อน เป็นองค์รวม วิเคราะห์ ข้อความ รายงานทัศนะของผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด และดาเนินการศึกษาในสถานการณ์ที่เป็น ธรรมชาติ Patton (1985 อ้างใน Sharan B.Merriam :6) เป็นการวิจัยที่มุ่งทาความเข้าใจกับสถานการณ์ที่ เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของบริบทต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน Sharan B.Merriam (1988 : 6) เป็นการวิจัยที่สนใน ให้เกิดความเข้าใจ ในความหมายของ โครงสร้างของมนุษย์ ในด้านความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ต่างๆ การวิจัยมุ่งอธิบายให้ความ สนใจโดยตรงกับประสบการณ์ ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ประสบความ เปลี่ยนแปลง สรุปได้ว่า วิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาสถานการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ โลกแห่งความ เป็นจริง ในทุกมิติ มุ่งการค้นหาประเด็นปัญหาทางสังคม หรือปัญหาของมนุษย์ เพื่อหาความสัมพันธ์ ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อม มีการออกแบบการวิจัยที่ยึดหยุ่นได้ และมีตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือ สาคัญในกระบวนการวิจัย ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเป็น วิธีการหลักในการเก็บข้อมูล และเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้ างข้อสรุปแบบอุปนัย
  • 6. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 3 2. ลักษณะสาคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ (สุภางค์ จันทวานิช , 2548 : 13 - 14) ดังนี้ 1) เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุมการศึกษา ปรากฏการณ์สังคมจะต้องกระทาโดยศึกษาปรากฏการณ์นั้นจากแง่มุม หรือแนวคิดทฤษฎีที่มีความ หลากหลายมากกว่ายึดแนวคิดอันใดอันหนึ่งเป็นหลัก นอกจากนั้น ไม่พิจาณาปรากฎการณ์อย่างเป็น เสี่ยงเสี้ยว ด้านในด้านหนึ่ง 2) เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก เพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของ ปรากฏการณ์สังคมซึ่งมีความเป็นพลวัต 3) ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อให้เข้าใจความหมายของ ปรากฏการณ์ มักมีการวิจัยสนาม (Field research) ไม่มีการควบคุมและทดลองในห้องปฏิบัติการ เพราะ ทาให้ผู้วิจัยไม่เห็นปรากฎการณ์ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม 4) คานึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย ด้วยเหตุที่การศึกษาปรากฏการณ์สังคมเป็น การศึกษามนุษย์ จึงให้ความสาคัญและเคารพผู้ถูกวิจัยในฐานะเพื่อนมนุษย์ จะเข้าไปสัมผัส สร้างความ สนิทสนมและความไว้เนื้อเชื่อใจ เข้าใจ ไม่มีแบ่งเขาแบ่งเรา ไม่นาข้อมูลของผู้ถูกวิจัยไปในทางที่เสื่อม เสีย ไม่ฝืนใจเมื่อผู้ถูกวิจัยไม่เต็มใจตอบ นักวิจัยจะเข้าไปสัมผัสมากว่าจะใช้เครื่องมือวิจัยอื่นใดเป็น สื่อกลาง 5) ใช้การพรรณนาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย เป็นการนาข้อมูลรูปธรรมย่อยๆ หลายๆ กรณี มาสรุปเป็นข้อสรุปเชิงนามธรรม โดยพิจารณาร่วมที่พบ จะเน้นการวิเคราะห์แบบอุปนัยมากกว่าใช้ สถิติตัวเลข 6) เน้นปัจจัยหรือตัวแปรด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ความหมาย ในปรากฏการณ์สังคม นักวิจัยเชิงคุณภาพเชื่อว่า องค์ประกอบด้านจิตใจ ความคิดและความหมาย คือสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง พฤติการณ์มนุษย์และเป็นตัวกาหนดพฤติกรรมมนุษย์ที่แสดงออกมา ลักษณะเชิงกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ (ปรับปรุงจาก Patt, 1990:40 -41 อ้างในชาย โพธิสิตา, 2549 : 46-47) ลักษณะ กลยุทธ์ในการดาเนินการวิจัย 1. เป็นการศึกษาที่ทาใน ศึกษาปรากฏการณ์ในขณะที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ ไม่มีการ สถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ เปลี่ยนแปลง หรือควบคุมจากนักวิจัย เปิดกว้างสาหรับทุกอย่างที่อาจ เกิดขึ้นในระหว่างการเก็บข้อมูล ไม่มีการกาหนดผลที่คาดไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นในรูปของสมมติฐานหรือตัวแปรตาม 2. เป็นการศึกษาที่อิงตรรกะ นักวิจัย “ดาดิ่ง” ลงสู่ข้อมูล ทั้งในทางลึกและทางกว้างทั้งในรายละเอียด
  • 7. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 4 ลักษณะ กลยุทธ์ในการดาเนินการวิจัย แบบอุปนัย และเฉพาะเจาะจง เพื่อค้นหาประเภทรูปแบบ มิติ และความสัมพันธ์ต่อ กันของส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันในปรากฏการณ์ที่ศึกษา เริ่มต้นด้วย คาถามเพื่อการค้นหาแบบเปิดกว้าง มากกว่ามุ่งจะทดสอบสมมติฐาน หรือทฤษฏี 3. มุ่งทาความเข้าใจอย่างเป็น มองปรากฏการณ์ที่ศึกษาทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวม เป็นระบบที่ องค์รวม ซับซ้อน และเป็นอะไรที่มากกว่าผลบวกของส่วนย่อยแต่ละส่วน มอง ว่าส่วนย่อยต่างๆ อิงอาศัยซึ่งกันและกันไม่ลดระดับการทาความเข้าใจ ปรากฏการณ์ที่ศึกษาลงมา เพียงแค่ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของตัว แปรที่แยกกันเป็นส่วนๆ เท่านั้น ด้วยหลักการ การรวบรวมข้อมูลหลาย มิติของปรากฏการณ์ที่ศึกษา เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์และเกิดความ เข้าใจรอบด้าน ซึ่งหมายความว่าในเชิงการปฏิบัติผู้วิจัยต้องถือว่าแต่ละ ส่วน แต่ละกรณีแต่ละเหตุการณ์ มีความสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับ ส่วนอื่นๆ ชนิดที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่ วิธีการดังกล่าวต่างกับ การวิจัยเชิงปริมาณที่แยกทาความเข้าใจเป็นส่วนๆ ในนามของตัวแปร และตัวแปรสามารถกาหนดเป็นปริมาณได้ แล้วสร้างความสัมพันธ์ของ ตัวแปรที่สามารถแสดงได้ทางสถิติ 4. ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็น เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์และแนวคิดส่วนบุคคลที่เป็น หลัก รายละเอียดเชิงพรรณนา เจาะลึก และตรงประเด็น 5. ติดต่อแบบมีส่วนร่วม นักวิจัยเข้าไปสัมผัสแบบมีส่วนร่วมโดยตรงกับประชากรหรือ โดยตรงกับประชากร ปรากฏการณ์ศึกษา นักวิจัยเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลที่สาคัญ กลุ่มเป้าหมาย ประสบการณ์ ทักษะ และวิจารณญาณส่วนตัวของนักวิจัยเป็นปัจจัย สาคัญในการทาความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา 6. มุ่งทาความเข้าใจพลวัต ทาความเข้าใจกระบวนการของสิ่งที่ศึกษา มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น ของปรากฏการณ์ที่ศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กร หรือ ในระดับวัฒนธรรม 7. ให้ความสาคัญแก่กรณีที่มี ถือว่าแต่ละกรณี (คน เหตุการณ์ ฯลฯ) มีความสาคัญในการทาการศึกษา ลักษณะเฉพาะ เฉพาะกรณีอย่างดีในเบื้องต้น แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีเหล่านั้น เพื่อทาความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งหมด คุณภาพของการศึกษาเฉพาะ กรณีมีความสาคัญอย่างมาก 8. ให้ความสาคัญแก่บริบท ตีความข้อค้นพบบนพื้นฐานของบริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และ ของสิ่งที่ศึกษา เงื่อนไขของเวลาและสถานที่ มองว่าการนาข้อค้นพบไปปรับใช้ใน
  • 8. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 5 ลักษณะ กลยุทธ์ในการดาเนินการวิจัย บริบทอื่นที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เจาะลึก เพราะอาจมีความ เป็นไปได้น้อย 9. มีการออกแบบการวิจัยที่ ออกแบบการวิจัยแบบเปิดกว้างไว้สาหรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะ ยึดหยุ่น เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถลงลึกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการออกแบบที่มี โครงสร้างอย่างเข้มงวด ซึ่งจะไม่ให้โอกาสติดตาม เจาะลึก และค้นหา สิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะเก็บข้อมูล 10. ใช้เครื่องมือในการวิจัย ธรรมชาติของเครื่องมือสาหรับรวบรวมข้อมู ลเชิงคุณภาพ ไม่มี หลากหลาย แต่นักวิจัยเป็น โครงสร้างที่เคร่งครัด สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับ เครื่องมือสาคัญที่สุดใน แหล่งข้อมูลและสถานการณ์ จึงขึ้นอยู่กับนักวิจัยผู้ใช้วิธีการอย่างมาก กระบวนการวิจัย นักวิจัยต้องแม่นในหลักการของเครื่องมือที่ใช้และมีทักษะในการใช้ วิธีการนั้นๆ อย่างเพียงพอ 3. กระบวนทัศน์(paradigm) ในการวิจัยเชิงคุณภาพ กระบวนทัศน์ หมายถึง โลกทัศน์ คือแนวความคิดทั่วๆ ไป วิธีการที่คนใช้ในการทาความ เข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงอันซับซ้อน เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในกระบวนการศึกษาอบรมของหมู่คนที่ ยึดถือและปฏิบัติตามโลกทัศน์นั้น กระบวนทัศน์จะบอกคนที่ยึดถือและปฏิบัติ ว่าอะไรสาคัญ อะไร ถูกต้องและมีเหตุผล เป็นบรรทัดฐานที่ช่วยชี้ให้รู้ว่า ควรจะทาอะไร อย่างไร โดยไม่ต้องเสียเวลาไปถาม หรือค้นหาคาตอบ ช่วยให้ทาอะไรไม่ต้องลังเล การวิจัยเชิงคุณภาพใช้กระบวนทัศน์ แบบปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) มีความเชื่อว่า มนุษย์มีทั้งส่วนที่นาเสนอต่อสาธารณะอย่างเปิดเผย(Front Region)และมีทั้งส่วนที่ปกปิด (Back Region) ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้ กระบวนทัศน์ แบบปฏิฐานนิยม (Postivism) ซึ่งความแตกต่าง ตามมิติดังนี้ มิติ ปฏิฐานนิยม(เชิงปริมาณ) ปรากฏการณ์นิยม(เชิงคุณภาพ) ความเชื่อพื้นฐาน - ความจริงเป็นโลกภายนอก และวัดได้ด้วย - ความจริงทางสังคมสร้างขึ้นในความนึกคิด วัตถุวิสัย (objective) ของมนุษย์และเป็นอัตตวิสัย (subjective) - ผู้วิจัยเป็นอิสระแยกออกจากสิ่งที่ถูกวิจัย - ความจริงเป็นเรื่องปราศจากค่านิยม บทบาทนักวิจัย -มุ่งประเด็นในสิ่งที่มีหลักฐานความจริง - มุ่งประเด็นของความหมาย (Meaning)
  • 9. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 6 มิติ ปฏิฐานนิยม(เชิงปริมาณ) ปรากฏการณ์นิยม(เชิงคุณภาพ) (Fact) - พยายามเข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้น - มองในพื้นฐานของเชิงเหตุและผล - มองภาพรวมทั้งสถานการณ์ - จับแยกสภาพความจริงให้เล็กพอเหมาะกับ - ค่อยๆพัฒนาความคิดข้อสรุปจากข้อมูล การศึกษา รูปธรรม - สร้างสมมุติฐานและทดสอบ ระเบียบวิธีวิจัย - ใช้วิธีการเชิงปริมาณ - ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ - สร้างนิยามปฏิบัติการเพื่อวัดได้ - ใช้วิธีการหลายๆวิธีเพื่อสร้างแนวคิด - ใช้กรอบทฤษฎีก่อนๆนา นานาประการเกี่ยวกับปรากฏการณ์ - ใช้เครื่องมือในการเก็บช้อมูล - ไม่ใช้ทฤษฎีนา ศึกษาจากปรากฎการณ์ - ใช้กลุ่มตัวอย่างมาก ธรรมชาติ - สถานที่ทาวิจัยใช้ห้องทดลอง ความน่าเชื่อถือ - ความตรง(Validity) - ความเชื่อถือได้ (Credibility) เครื่องมือที่ใช้วัด วัดในสิ่งที่ต้องการวัด ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงและมีความรู้ความเข้าใจ หรือไม่ ในความหมายต่างๆและข้อมูล - ความเที่ยง (Reliability) - การพึ่งพากับเกณฑ์อื่นๆ (Dependability) การวัดให้ผลตรงกันทุกครั้งหรือไม่ (โดยที่ การสังเกตสิ่งเดียวกัน โดยนักวิจัยหลายคน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ถูกวัด) หลายโอกาส -ว่าสอดคล้องกันเพียงใด - การสรุปผลอ้างอิง (Generaliability) - การถ่ายโอนผลการวิจัย (Transferability) โอกาสของรูปแบบที่ถูกสังเกตในกลุ่ม ความคิดและทฤษฎีที่สร้างขึ้นจาก ตัวอย่างสามารถนาไปใช้ อ้างกับประชากร สถานการณ์หนึ่งๆ สามารถจะนาไปใช้กับ ทั้งหมดได้มากน้อยเท่าใด สถานการณ์อื่นเพียงใด 4. การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แผนที่ทางความคิดของนักวิจัยที่จะบอกว่าในการทา วิจัยเพื่อบรรลุถึงคาตอบที่เขาสนใจนั้น เขาต้องทาอะไรบ้าง จะทาอย่างไร จะทาอะไรก่อนหลัง และจะ เกี่ยวข้องกับใครบ้าง แผนที่ทางความคิดนี้เหมือนกับแผนที่ของนักเดินทางตรงที่มันทาหน้าที่ให้ แนวทางในการทาวิจัยเพื่อไปให้ถึงคาตอบที่ต้องการเท่านั้น นักวิจัย (ซึ่งเปรียบเหมือนนักเดินทาง) อาจจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทางานให้ต่างออกไปจากที่ออกแบบไว้แต่แรกก็ได้ ถ้าเห็นว่ามีเหตุผล อันสมควร คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของแผนที่ทางความคิดสาหรับการทาวิจัยคือ แต่ละขั้นตอนแต่ละ องค์ประกอบใน”แผนที่การวิจัย” (การออกแบบ) นี้ต่างก็มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ชนิดที่เมื่อมีการ
  • 10. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 7 ปรับเปลี่ยนในองค์ประกอบอันหนึ่งก็จะมีผลกระทบต่อองค์ประกอบที่เหลืออื่นๆ ไม่โดยตรงก็โดย อ้อม ความแตกต่างระหว่างการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพต่างกับการวิจัยเชิงปริมาณ ตรงที่ ระดับความเข้มงวดในโครงสร้าง กล่าวคือ การวิจัยเชิงปริมาณแผนดาเนินการที่วางไว้จะมีความ ยืดหยุ่นน้อยหรือไม่ยึดหยุ่นเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวความคิด การเลือกประชากรในการศึกษา วิธีที่ใช้ ในการเก็บข้อมูล หรือวิธีวิเคราะห์ข้อมูลก็ตาม เมื่อได้วางแผนในตอนเริ่มต้นดีแล้วจะดาเนินการ ตามนั้นการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์แทนที่จะเป็นสิ่งดี อาจจะให้ผลในทางลบแก่การวิจัย โดยรวม ดังนั้นลักษณะสาคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การมีโครงสร้างที่เข้มงวด แต่ การวิจัยเชิงคุณภาพจะออกแบบยึดหยุ่นได้ตามความจาเป็นในแทบทุกขั้นตอน แต่ต้องเกิ ดจากความ จาเป็นจากหลักการหรือแนวคิดทฤษฏี ไม่ใช่ความจาเป็นตามความสะดวกของผู้ทาการวิจัย องค์ประกอบของการออกแบบการวิจัย Lincoln and Guba (1985 อ้างใน อ้างในชาย โพธิ สิตา, 2549 : 108) ดังต่อไปนี้  ประเด็นสาคัญ (focus) ในการศึกษา ประเด็นสาคัญอาจได้แก่ ปัญหาเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง หรือเป็นประเด็นที่จะต้องประเมิน (ถ้าเป็นการวิจัยเพื่อประเมินผล) หรือ ประเด็นเชิงนโยบายก็ได้  กระบวนทัศน์ที่เหมาะสมกับประเด็นสาคัญในการศึกษา หมายถึงการเลือกจุดยืน ทางกระบวนทัศน์ว่าจะดาเนินการวิจัยด้วยกระบวนทัศน์แบบไหน จะเลือก แบบปฏิฐานนิยมหรือแบบกระบวนทัศน์ทางเลือก  รูปแบบการทาวิจัยที่เหมาะสมกับทฤษฏีที่เลือกมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย  ประชากรเป้าหมายและสถานที่ที่จะเก็บข้อมูล  ขั้นตอนต่างๆ ในการเก็บข้อมูล  เครื่องมือในการเก็บข้อมูล  แผนการเก็บข้อมูลและวิธีการบันทึกข้อมูล  แผนการวิเคราะห์ข้อมูล  การจัดการทั่วไป เช่น ติดต่อกลุ่มเป้าหมายสาหรับการเก็บข้อมูล หาสถานที่พักใน ภาคสนาม และวางแผนงานที่จะทาระหว่างเก็บข้อมูลในสนาม เป็นต้น องค์ประกอบที่สาคัญของการออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ Maxwell (ชาย โพธิสิตา)
  • 11. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 8 จุดมุ่งหมายและ กรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ ทฤษฎี คาถาม ในการวิจัย วิธีการวิจัย ความถูกต้อง ตรงประเด็น 1) คาถามในการวิจัย (research questions) หมายถึง สิ่งที่นักวิจัยต้องการรู้ หรือต้องการคาตอบ อัน เป็นที่มาของการวิจัยเรื่องนั้น คาถามวิจัย เสมือนเป็นหัวใจของการออกแบบ ทาหน้าที่เป็นตัวกลางที่ เชื่อมโยงองค์ประกอบอื่น การตั้งคาถามสาหรับการวิจัย ไม่ว่าเป็นวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ อาจทาได้ 3 แบบตามลักษณะของคาตอบที่ต้องการ  คาถามที่ยึดกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นหลัก รูปแบบคาถามมุ่งหาคาตอบเกี่ยวกับ กลุ่มเป้าหมายทั่วไป ซึ่งเหมาะกับการศึกษาตัวอย่างจานวนมากๆ หรือ กลุ่มเป้าหมายเจาะจง เหมาะกับการศึกษาตัวอย่างจานวนเล็ก เช่น การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study)  คาถามที่บ่งนัยถึงข้อมูลที่ต้องการ รูปแบบของคาถามอาจบอกใบ้ถึงประเภทของข้อมูลว่า เป็นอะไร เจาะจงสาหรับข้อมูลเรื่องใด เรื่องหนึ่ง หรือ กว้างสาหรับข้อมูลทั่วๆ ไป ตัวอย่าง คาถามแบบเจาะจงข้อมูล เช่น “การประกอบอาชีพเป็นผู้ให้คาปรึกษาแก่หญิงที่ถูกกระทาความ รุนแรงทางเพศมาเป็นเวลานาน มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมทางเพศของนัก สังคมสงเคราะห์ที่ทางานนี้อย่างไร” คาถามนี้บ่งนัยว่า ข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ผลกระทบต่อ ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมทางเพศของนักสังคมสงเคราะห์ คาถามที่ไม่เจาะจง เช่น “การ คาปรึกษาแก่หญิงที่ถูกกระทาความรุนแรงทางเพศมาเป็นเวลานาน มีผลต่อนักสังคมสงเคราะห์ ที่ทางานในด้านนี้หรือไม่ อย่างไร”  คาถามแบบมุ่งเข้าใจสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือ ผลกระทบของปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ใน การในการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้คาถามประเภท “อย่างไร” และ “ทาไม” เช่น “ครอบครัวที่ แตกแยกก่อให้เกิดผลทางลบต่อผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กอย่างไร” 2) จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา (purpose) หมายถึง เป้าหมายที่นักวิจัยต้องการจะ บรรลุถึงในการวิจัยเรื่องนั้น สิ่งที่ต้องการจะทาในกระบวนการวิจัย อันจะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ ต้องการนั้นได้ และทาหน้าที่กาหนดขอบเขต หรือ พื้นที่ ที่นักวิจัยจะต้องทางานว่าจะอยู่ในเรื่องและ ประเด็นอะไร แบ่งเป็น 3 ประเภทตามลักษณะมูลเหตุที่มาของจุดมุ่งหมายนั้นๆ คือ
  • 12. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 9  จุดม่งหมายส่วนตัวของนักวิจัย (personal purposes) หมายถึง แรงบันดาลใจส่วนตัวที่ทา ให้นักวิจัยอยากทาเรื่องนั้น  จุดมุ่งหมายเชิงปฏิบัติ (practical purposes) หมายถึง จุดมุ่งหมายที่ต้องการจะบรรลุถึง อะไรสักอย่างเพื่อผลในทางปฏิบัติ เป็นความต้องการที่จะบรรลุถึงสิ่งที่จะมีผลต่อวงการใดวงการหนึ่ง หรือต่อส่วนรวม ส่วนใหญ่เป็นนโยบายสาธารณะ เช่น มุ่งเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาบางอย่าง (ซึ่งอาจจะเป็นทัศนะไม่ถูกต้องต่อผู้ติดเชื้อ HIV)  จุดมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้าวิจัย (research purposes) เป็นจุดมุ่งหมายทางวิชาการ เพื่อทา ความเข้าใจหรือหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์นั้นมีธรรมชาติเป็น อย่างไร ทาไมสิ่งต่างๆ ในปรากฎการณ์นั้นจึงเป็นอย่างที่มันเป็นมีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลัง 3) แนวคิดทฤษฎีในการวิจัย บางทีเรียกว่า “กรอบแนวคิด” (conceptual framework) คือความเชื่อ หรือ ข้อสรุปเบื้องต้นของนักวิจัยว่าสิ่งที่จะศึกษานั้นน่าจะเป็นอย่างไร ที่ มาของแนวคิดทฤษฏีมี 4 ทาง คือ  ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวของนักวิจัย (experiential knowledge  แนวคิดทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว (existing theories) ได้จากการทบทวนวรรณกรรม  การศึกษานาร่อง (pilot study)  ความคิดสร้างสรรค์ (creative thoughts) แนวคิดดีๆ สาหรับการวิจัยบางครั้งเกิดจากความคิดที่ มีลักษณะสร้างสรรค์ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน แต่เกิดจากการ “ลองคิดแปลกไปจากที่เคยคิด” 4) วิธีการวิจัย (method) คือ สิ่งที่เราจะลงมือทาจริงๆ ในการวิจัย วิธีการหลัก ๆ ของการวิจัยเชิง คุณภาพ มี 6 รูปแบบ คือ 4.1 การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic study) 4.2 การวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology study) 4.3 การศึกษาเฉพาะกรณี ( Case study method) 4.4 การวิจัยชีวประวัติบุคคล (Biographical study) 4.5 การวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded theory study) 4.6 การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม (Focus group study) รายละเอียดของแต่ละรูปแบบ ศึกษาในหัวข้อต่อไป สาหรับประเด็นสาคัญที่กล่าวในที่นี้คือ สาหรับวิธีการ เลือกตัวอย่าง วิธีเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปพอสังเขปดังนี้ 4.1 การเลือกตัวอย่าง ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์มีวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างหลักๆ อยู่ 2 แบบ คือ 1) แบบสุ่มโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability sampling) ซึ่งได้ศึกษามาแล้ว
  • 13. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 10 2) การเลือกตัวอย่างแบบยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก ซึ่งเป็นการเลือกแบบไม่มี โครงสร้างที่เคร่งครัด มีขั้นตอนและวิธีดาเนินการที่ไม่ซับซ้อน จุดมุ่งหมายหลักของการเลือกตัวอย่าง แบบนีไม่ใช่เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน แต่เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เหมาะสมกับแนวคิด ้ จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่ง การเลือกใครก็ตามเป็นผู้ให้ข้อมูลก็เพราะเขาเหล่านั้นมี ข้อมูลจะบอกเราได้มากกมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิจัยของเรา เราเรียกคน เหล่านั้นว่า Key informants เราเลือกสถานที่แห่งหนึ่งหรือหลายแห่งมาทาวิจัยเพราะเรามั่นใจสถานที่นั้นๆ มีอะไรที่เรา จะได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องที่เราอยากรู่ เราเลือกเหตุการณ์หรือกระบวนการอัน ใดอันหนึ่งมา ศึกษา เพราะมีหลักฐานมีหลักฐานให้เชื่อว่าเหตุการณ์หรือกระบวนการนั้นๆ มีอะไรหลายอย่างที่จะ ทดสอบแนวความคิดในการวิจัยของเรา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เราสามารถอธิบายสิ่งที่เราเลือกได้ ทั้ง ในทางแนวคิด ทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่สนองจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ มี 15 ประเภท ได้แก่ (1) ตัวอย่างที่แสดงลักษณะสุดขั้ว ตัวอย่างประเภทนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคน หรือกรณีที่ ไม่ธรรมดา หรือมีอะไรที่พิเศษกว่ารายอื่น เช่น รายที่ประสบผลสาเร็จ หรือ ล้มเหลวมากเป็นพิเศษ หรือ เช่น เด็กอัจฉริยะ (2) ตัวอย่างที่มีประสบการณ์มาก คล้ายกับตัวอย่างประเภทแรก แต่ตัวอย่างนี้ไม่ใช่ พวกสุดขั้ว เป็นพวกที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์มากกว่าคนทั่วไป การวิจัยเชิงคุณภาพแบบมุ่ง ตีความหมาย มักเลือกใช้ตัวอย่างประเภทนี้ เช่น ศึกษาการปรับตัวของคนที่ผ่านสงความมาอย่างโชก โชน คนป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่ทรมานมาเป็นเวลานาน เป็นต้น (3) ตัวอย่างที่ครอบคลุมความหลากหลายในประชากรได้มากที่สุด จุดมุ่งหมายของ การเลือกตัวอย่างประเภทนี้อยู่ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า เรื่องที่เป็นประเด็นของการวิจัย (เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เป็นต้น) มีความแตกต่างอย่างไรในกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างกัน (4) ตัวอย่างที่มีลักษณะเหมือนกัน ในการเลือกตัวอย่างประเภทนี้ นักวิจัยจะมอง เฉพาะรายที่มีลักษณะสาคัญบางประการร่วมกัน จุดมุ่งหมายก็เพื่อทาการศึกษาประชากรกลุ่มนั้นอย่าง ลึกลง เช่น ในการศึกษาครอบครัว นักวิจัยอาจกาหนดเอาเฉพาะครอบครัวที่หัวหน้าเป็นหญิง เพื่อ การศึกษาลงลึกลงไปในปัญหาและสถานการณ์ของครอบครัวที่มีหญิงเป็นหัวหน้าครัวเรือน เป็นต้น (5) ตัวอย่างที่แสดงลักษณะสาคัญของประชากรทั้งหมด ลักษณะสาคัญในที่นี้ หมายถึง คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ประชากรในกลุ่มนั้นๆ มีเหมือนๆ กัน เช่น กร รักษาทรวดทรงให้บอบบางอยู่เสมอเป็นลักษณะเด่นของนางแบบ เป็นต้น (6) ตัวอย่างที่เป็นเกณฑ์สาหรับตัดสินกรณีอื่นๆ ตัวอย่างประเภทนี้มักมีลักษณะ สาคัญบางอย่างที่ช่วยให้เราอนุมานเกี่ยวกับกรณีอื่นๆ ได้ ทานองว่า “ถ้าเรื่องนี้เป็นจริงสาหรับกลุ่ม ประชากรนี้ กลุ่มอื่นๆ ก็ไม่ต้องพูดถึง” หรือ “ถ้ากลุ่มนี้มีปัญหาในเรื่องนี้กลุ่มอื่นๆ ก็น่าจะมีด้วย” เช่น
  • 14. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 11 ในการศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและการใช้วิธีการคุมกาเนิดในกลุ่ม ตัวอย่างที่ยังเป็นโสด (7) ตัวอย่างที่เลือกจากการแนะนาต่อๆ กันไป กลุ่มตัวอย่างประเภทนี้ถูกเลือกมาโดย ทางอ้อม คือ นักวิจัยไม่ได้ติดต่อกับประชากรเป้าหมายโดยตรงในเบื้องต้น ใช้กรณีที่นักวิจัยมีความรู้ จากัดเกี่ยวกับประชากรที่ศึกษา รู้แต่เพียงว่าตนต้องการข้อมูลในเรื่องอะไรบ้างเท่านั้น อาจใช้วิ ธีถาม ใครก็ได้ที่คิดว่าน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล เช่น ถามว่า “ใครในตาบลนี้ที่มีความรู้เรื่อง... ดี บ้าง?” เมื่อได้ชื่อมาสักหนึ่งคน ก็ตามไปถามคนนั้นแบบเดียวกัน ต่อไปเรื่อยๆ ในจานวนนี้คนที่คนอื่น เอ่ยชื่อมากที่สุดมักจะมีจานวนมาก ซึ่งจะเป็นคนที่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าจะดีที่สุด (8) ตัวอย่างที่ไม่เข้าเกณฑ์กาหนด เหตุผลของการเลือกตัวอย่างประเภทนี้ คือ ต้องการที่จะศึกษาว่า เพราะเหตุใดหน่วยงานหรือองค์กรบางแห่งจึงไม่สามารถทางานได้ตามเกณฑ์ที่ กาหนดในเรื่องที่สาคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกณฑ์ที่ว่านั้น อาจเกี่ยวกั บการประกันคุณภาพ คือ เป็นตัวชี้วัด ประสิทธิภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างแบบนี้มีประโยชน์ในการวิจัยเพื่อการติดตามและประเมินผล (9) ตัวอย่างที่สนับสนุนและที่แย้งข้อค้นพบในการศึกษา หลังจากเก็บข้อมูลใน ภาคสนามไประยะหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ นักวิจัยอาจเริ่ มได้คาตอบของสิ่งที่ต้องการค้นหา บางอย่าง แต่คาตอบนั้นจะยังไม่เป็นที่มั่นใจจนกว่าจะได้ผ่านการยืนยัน หรือทดสอบ โดยข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างอื่นที่ต่างออกไป (10) ตัวอย่างที่มีความสาคัญทางการเมือง ตัวอย่างประเภทนี้อาจเป็นสถานที่ หรือ บุคคล ที่มีความสาคัญทางการเมือง (11) ตัวอย่างเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี คุณสมบัติของตัวอย่างแบบนี้จะถูกกาหนดโดยทฤษฎี ที่ต้องการพิสูจน์ นักวิจัยจะมองหาบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เหมาะที่จะพิสูจน์ทฤษฎีเท่านั้น ที่ว่าเหมาะ หมายความว่าอาจเป็นตัวอย่างที่มายืนยันหรือท้าทายแนวความคิดในทฤษฎีนั้นหรือทั้ งสองอย่าง (12) ตัวอย่างที่เจาะจงเลือกมาจากประชากรที่แบ่งเป็นช่วงชั้น (stratified) ใช้หลักการ เดียวกับการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ แต่ไม่ได้มุ่งความหมายเป็นตัวแทน เนื่องจากกลุ่ม ตัวอย่างมีขนาดเล็ก และเลือกตัวอย่างเอาตามความเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและคาถามในการวิจัย (13) ตัวอย่างที่สุ่มมาจากประชากรที่เลือกมาอย่างเจาะจง กลุ่มที่เจาะจงเลือกมานั้น ต้องเป็นกลุ่มที่แน่ใจว่ามีอะไรที่น่าสนใจมากสาหรับประเด็นที่ศึกษา และเป็นกลุ่มมี่แตกต่างกันใน ลักษณะสาคัญ เช่น ในการศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ นักวิจัยอาจเจาะจงคนขับรถบรรทุกทางไกล (14) ตัวอย่างที่เลือกแบบเฉพาะหน้า ในการเก็บข้อมูลภาคสนาม มีอยู่บ่อยๆ ที่ สถานการณ์เฉพาะหน้าทาให้นักวิจัยต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกตัวอย่างในระหว่างที่ทาการเก็บ ข้อมูลอยู่นั้นเอง นักวิจัยจาเป็นต้องทาเช่นนั้นเพื่อประโยชน์จากโอกาสที่เกิ ดขึ้นขณะนั้นพอดี จึงกล่าว ได้ว่าการเลือกตัวอย่างแบบนี้เป็นการเลือกตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า เป็นเรื่องปกติของการทาวิจัยเชิง
  • 15. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 12 คุณภาพ โอกาสเช่นนั้นอาจเป็นจังหวะที่บังเอิญเหตุการณ์ที่ข่ายสาหรับการทาวิจัยเกิดขึ้น นักวิจัยเลยถือ โอกาสสังเกตเหตุการณ์ หรือสัมภาษณ์ผู้มีค วามรู้ที่ปรากฏตัวขึ้นพอดี ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ดีขึ้น (15) ตัวอย่างที่เลือกตามความสะดวก เป็นการเลือกตัวอย่างชนิดที่ไม่ได้วางแผนไว้ ล่วงหน้าแต่อาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เป็นวิธีที่ง่ายแต่ไม่ใช่วิธีที่ดี วิธีนี้ควรเป็นวิธีสุดท้ายที่จะเลือก และควรหลีกเลี่ยง เพราะการเลือกตัวอย่างวิธีนี้ไม่อาจจัดว่าเป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงที่ยึด จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นหลักการสาคัญสาหรับการเลือกตัวอย่างในการวิจัยเชิง คุณภาพ 4.2 วิธีการเก็บข้อมูล ในการวิจัยเชิงคุณภาพมีวิธีการเก็บข้อมูลหลายแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของข้อมูล ที่ต้องการและตามลักษณะของประชากรเป้าหมายในการเก็บข้อมูล จะใช้วิธีเดียวหรือหลายวิธีได้ ที่ใช้ กันเช่น การรวมรวมเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก(แบบไม่มีโครงสร้าง เคร่งครัด) การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม และการสนทนากลุ่ม ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวการสนทนากลุ่ม ใน รูปแบบการวิจัย โดยรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เป็นการรวบรวมขั้นแรกเมื่อเริ่มทาการวิจัย โดย นักวิจัยจะต้องศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด เพื่อนามาประกอบการวิจัย การศึกษาเอกสารจะช่วย ในการกาหนดประเด็นและตัวแปรที่จะศึกษา กาหนดแนวคิดนา รวมทั้งนามาใช้ในการวิเคราะห์ ถ้าไม่ ทาการศึกษาจากเอกสาร (2) การสังเกต (Observation) การสังเกตในวิจัยเชิงคุณภาพมี 2 แบบ คือ (2.1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participation observation) คือ การสังเกตที่ผู้สังเกต เข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ศึกษา มีการกระทากิจกรรมด้วยกันจนกระทั่งเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและ ความหมายที่คนเหล่านั้นให้ต่อปรากฎการณ์ทางสังคมที่ผู้วิจัยศึกษา ซึ่งเมื่อสังเกตแล้วจะต้องมีการ ซักถามและการจดบันทึกข้อมูล (notetaking) ด้วย (2.2) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation) คือ การสังเกตที่ผู้ สังเกตไม่ได้เข้าไปใช้ชีวิตร่วมหรือกิจกรรมกับกลุ่มคนที่ศึกษา โดยไม่ต้องการให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึก รบกวนเพราะอาจทาให้พฤติกรรมผิดไปจากปกติได้ ซึ่งอาจใช้ในระยะแรกของการวิจัยแล้วใช้การ สังเกตแบบมีส่วนร่วมในระยะหลัง การสังเกตโดยปกติมีสิ่งที่ต้องสังเกตอยู่ 6 ประการ ได้แก่ 1. การกระทา คือ การใช้ชีวิตประจาวัน การรับประทานอาหาร การปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ในชีวิตประจาวัน
  • 16. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 13 2. แบบแผนการกระทา คือ การกระทาหรือพฤติกรรมที่เป็นกระบวนการ มีขั้นตอนจนเป็นแบบแผน ชี้ให้เห็นสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของสมาชิก 3. ความหมาย คือ การให้ความหมายของการกระทาหรือแบบแผนพฤติกรรมนั้น 4. ความสัมพันธ์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชนหรือสังคมนั้น 5. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิก คือ การที่บุคคลยอมร่วมมือในกิจกกรมนั้น ๆ 6. สภาพสังคม คือ ภาพรวมทุกแง่ทุกมุมที่สามารถประเมินได้ (3) การสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์เป็นการเจาะลึกประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจ อาจใช้ สัมภาษณ์เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ มีหลายประเภท อาจแบ่งได้ดังนี้ (3.1) การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (formal interview) หรือการสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้เตรียมคาถามและข้อกาหนดไว้แน่นอนตายตัว โดยปกติ นักวิจัยเชิงคุณภาพมักจะไม่ใช้วิธีการนี้เป็นหลัก เพราะไม่ได้ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งและครอบคลุม เพียงพอโดยเฉพาะในแง่ของวัฒนธรรม ความหมายและความรู้สึกนึกคิด (3.2) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) มักจะใช้ควบคู่ไปกับการ สังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม โดยเตรียมคาถามกว้าง ๆ มาล่วงหน้า การสัมภาษณ์แบบนี้อาจแบ่งออกได้อีก คือ การสัมภาษณ์โดยเปิดกว้า งไม่จากัดคาตอบ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (indepth interview) การตะล่อมกล่อมเกลา (probe) เป็นการซักถามที่ล้วง เอาส่วนลึกของความคิดออกมา และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (key informant interview) โดย กาหนดตัวผู้ตอบบางคนแบบเจาะจงเพราะมีข้อมูลที่ดี ลึกซึ้ง กว้างขว างเป็นพิเศษ รวมถึงการเงี่ยหูฟัง (eavesdropping) จากคาสนทนาของผู้อื่นโดยผู้วิจัยไม่ต้องตั้งคาถามเองก็เป็นเทคนิคของการวิจัยเชิง คุณภาพอีกอย่างหนึ่ง ตลอดจนการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) โดยการจัดกลุ่มสนทนา ประมาณ 8 - 12 คน ที่มีคุณลักษณะบางประการคล้ายคลึงกัน ในการสัมภาษณ์มีขั้นตอนที่สาคัญ คือ การแนะนาตัว การสร้างความสัมพันธ์ การบันทึก คาตอบ การใช้ภาษา ตลอดจนเวลาและสถานที่ที่ใช้สัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในการวิจัยเชิงคุณภาพ นอกจากจะใช้วิธีการสังเกตและ สัมภาษณ์แล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ประยุกต์มาจากวิธีสังเกตและสัมภาษณ์ เช่น เทคนิค Life History Collection และเทคนิค Focus Group Discussions (1) Life History Collection เป็นเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพที่ พัฒนามาจากการสัมภาษณ์ การทา Life History Collection แตกต่างจากการทาอัตชีวประวัติที่จะเล่าไป
  • 17. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 14 อย่างอิสระตามเวลา ตามลาดับเหตุการณ์ แต่จะมีประเด็นที่น่าสนใจในแต่ละกรณีศึกษา ที่ศึกษาแล้วเรา ก็เข้าไปสัมภาษณ์พูดคุยในเรื่องต่าง ๆ เข้าไปศึกษาหลาย ๆ กรณีศึกษา ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าเวลาน้อยจะศึกษา โดยเลือกจาก key informant ซึ่งจะมีกี่คนก็ได้ การให้เขาเล่านั้นในรอบแรกจะให้เขาเล่าให้ฟัง นักวิจัยจะ ฟังอย่างเดียว เมื่อผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมงจึงค่อยตะล่อมเข้าเรื่อง และประเด็นที่ต้องการ ( โดย สัมภาษณ์และใช้วิธีบันทึกเทปไว้ ) แล้วเอาสิ่งที่บันทึกไว้ทั้งหมด มาสรุปเป็นประเด็นที่สาคัญ บรรยากาศของการใช้เทคนิคนี้ต้องไม่เป็นทางการมากที่สุด เป็นธรรมชาติมากที่สุด (2) Focus Group Discussions เป็นเทคนิคซึ่งประยุกต์มาจากการสัมภาษณ์ ที่นิยมนามาใช้ใน การวิจัยเชิงคุณภาพ มักเป็นการสัมภาษณ์ในประเด็นเกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงหรือเรื่องทั่ว ๆ ไป จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายขนาดของกลุ่มมักจะมีประมาณ 5-6 คน เพราะถ้ากลุ่มเล็ก เกินไป จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย แต่ถ้ากลุ่มใหญ่เกินไปก็อาจจะกระทาได้ไม่ทั่วถึง ประเด็นที่อภิปรายจึงมักมีจานวนไม่มากเกินไป ผู้ดาเนินการ ( moderator) จะมีบทบาทสาคัญในการ กระตุ้นให้คนในกลุ่มพูดในประเด็นที่กาหนด ข้อสาคัญคือ กลุ่มที่เราเลือกทา Focus Group Discussions ควรทราบเรื่องนั้นจริง ๆ สถานภาพของสมาชิกในกลุ่มน่าจะใกล้เคียงกัน ผู้ดาเนินการควรปล่อยให้กลุ่ม สรุปประเด็นของการสัมภาษณ์ หรือยืนยันในข้อมูลที่ให้ก่อนการจบการสนทนา 4.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการ นาข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาเก็บให้เป็นระบบระเบียบ ให้ ความหมายกับข้อมูล จัดหมวดหมู ความหมายของข้อมูล วิเคราะห์และสรุปรวบรวมความหมาย ซึ่ง ก่อนวิเคราะห์ ควรมี การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ เรียกว่ า “การ ตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation)”ุ(Denzinุ1970)ุโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) จะเน้นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจาก แหล่งต่างๆ นั้นมีความเหมือนกันหรือไม่ ซึ่งถ้าทุกแหล่งข้อมูลพบว่าได้ข้ อค้นพบมาเหมือนกัน แสดง ว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง (2) การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (investigator triangulation) จะเน้นการตรวจสอบจากผู้วิจัย หรือผู้เก็บข้อมูลต่างคนกันว่าได้ค้นพบที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งถ้าผู้วิจัยหรือผู้เ ก็บข้อมูล ทุกคนพบว่าข้อค้นพบที่ได้มามีความเหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง (3) การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation) จะเน้นการตรวจสอบว่าถ้ามีการใช้ ทฤษฎีที่หลากหลายแล้ว ข้อมูลที่ได้มาเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ถ้าผู้วิจั ยพบว่าไม่ว่าจะนา ทฤษฎีใดมาใช้ ได้ข้อค้นพบที่เหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง
  • 18. การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research 15 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ดาเนินการ - จัดระบบสิ่งที่ผู้วิจัยได้เห็นได้ยินและได้อ่าน เพื่อให้เข้าใจความหมายในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ใน การจัดการกับข้อมูล นักวิ จัยใช้วิธีบรรยาย อธิบายตั้งสมมติฐาน สร้างทฤษฎี และเชื่อมโยงสิ่งที่ศึกษา ไปยังเรื่องอื่นๆ ในการที่จะทาเช่นนั้น ได้นักวิจัยจะต้องจัดประเภท สังเคราะห์ ค้นหาแบบแผน และ ตีความข้อมูลที่รวบรวมมา - การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ใช่ขั้นสุดท้ายของกระบวนการวิจัย และไม่ได้เป็นขั้ นตอนหนึ่งที่แยก ออกมาจากขั้นตอนอื่นๆ ในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนักวิจัยจึงต้องวิเคราะห์ข้อมูลตลอดทุก ขั้นตอนของการวิจัย และต้องวิเคราะห์ย้อนกลับไปกลับมาหลายครั้งจนกว่า จะได้สิ่งที่ต้องการศึกษา ครบถ้วนจนสามารถนาเสนอผลการวิจัยได้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการนาข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ มาทาการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ มีเทคนิคที่สาคัญ ดังนี้ 1) การจาแนกและจัดระบบข้อมูล (Typology and Taxonomy)เป็นการนาข้อมูลที ได้นามาจาแนก และจัดหมวดหมู่ออกให้เป็นระบบ เช่น ข้อมูลหมวดบุคลากร ข้อมูลหมวดงบประมาณ ข้อมูลหมวด วัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลหมวดงบประมาณ เป็นต้น 2) การวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) เป็นการนาข้อมูลทีได้จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มาวิเคราะห์เพื่อหาบทสรุปร่วมกันของเรื่องนั้น 3) การเปรียบเทียบเหตุการณ์ (Constant Comparison) เป็นการนาข้อมูลที่ได้มาไปเทียบเคียงหรือ เปรียบเทียบกับเหตุการณ์อื่น เพื่อหาความเหมือนและความแตกต่างกันที่เกิดขึ้น เช่น เปรียบเทียบ หน่วยงานหนึ่งกับอีกหน่วยงานหนึ่งที่ประสบผลสาเร็จทางการบริหาร เป็นต้น 4) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Componential Analysis) เป็นการนาข้อมูลทีได้มาทาการวิเคราะห์ ออกให้เห็นเป็นส่วนๆ เช่น วิเคราะห์การบริหารงานขององค์การออกเป็น 7 หมวด ตามกรอบของ PMQA เป็นต้น 5) การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) เป็นการนาเอกสารหรือหลักฐานต่างๆ มา วิเคราะห์ให้เห็นว่า มุ่งพรรณนาและอธิบายปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้น เช่น วิเคราะห์การปกครองสมัย พ .ศ. 2475 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น 6) การวิเคราะห์สาเหตุและผล (Cause and Effect Analysis) เป็นการนาข้อมูลทีได้มาวิเ คราะห์ให้ เห็นว่าจากผลมาจากเหตุ คือ วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น ย้อนกลับมาให้เห็นว่าเกิดมาจากเหตุปัจจัย ใดบ้าง หรือวิเคราะห์เหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์จากเหตุไปหาผล คือ วิเคราะห์ให้เห็นว่าเมื่อเหตุนี้ เกิดขึ้น ได้นาไปสู่ผลที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง