SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
บทความ 
ดร.ชัยโชค ไวภาษา วศ.36 
การใช้ Remote Sensing 
เพื่อการศึกษา พืช 
ผมเขียนย่อความฉบับนี้ขึ้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านชาวอินทาเนียได้เห็นถึงการ 
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อการ 
ศึกษาพืช เรื่องราวต่างๆ ในที่นี้เรียบเรียงขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงที่สั่งสมมา 
จากงานวิจยัตา่งๆ ท่ผี มไดท้ำมานานกวา่ 10 ป ีและโดยหนา้ท่กี รรมการตรวจงาน 
(Reviewer) ของวารสารชั้นนำในสายงาน Remote Sensing หลายฉบับ ทำให้ 
ผมมีโอกาสได้อ่านงานวิชาการในเรื่องนี้มามากพอสมควร จึงอยากจะนำเอา 
ประสบการณ์เหล่านี้มาเล่าสู่กันฟัง โดยผมพยายามไม่ใช้ภาษาทางวิชาการเพื่อ 
ให้ท่านผู้อ่านที่ไม่มีพื้นความรู้ทาง Remote Sensing สามารถทำความเข้าใจได้ 
โดยง่าย โดยจะเริ่มจากการช้แี จงให้เห็นถึงความสำคัญของพืชพอสังเขป ถัดมา 
ก็จะบอกว่าทำไม Remote Sensing จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับการศึกษา 
พืช หลังจากนั้นก็จะยกตัวอย่างการใช้งาน Remote Sensing ที่สำคัญๆ เพื่อให้ 
ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพที่ชัดเจน สุดท้ายก็จะสรุปประเด็นต่างๆ และให้แนวทาง 
ของการศึกษาและพัฒนาเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคต 
อินทาเนีย 76 
กันยายน - ตุลาคม 
ภาพพืชตระกูลถั่วที่มีความสำคัญแก่มนุษย์โลกมานานแสนนาน 
(เจ้าของภาพ www.asdi.com) 
ภาพแสดงการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล Multispectral Data 
ที่มีช่วงคลื่นกว้างดังแถบสีเทา และข้อมูล Hyperspectral Data 
ที่มีลักษณะต่อเนื่องดังเส้นสีดำ (เจ้าของภาพ Karin Schmidt) 
ภาพแสดงตัวอย่างการใช้เครื่องมือ 
เก็บข้อมูลพืชจากพื้นที่ศึกษา 
(เจ้าของภาพ www.asdi.com 
และ Coburn and Peddle)
INTANIA 
77 
September - October 
พืชเป็นสิ่งสำคัญของเราทุกคน 
เราทราบกันดีว่า พืชมีความสำคัญแก่พวกเรา 
เป็นอย่างมาก มันทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลัก 
ของระบบนิเวศที่เราอาศัยอยู่ ยังเป็นแหล่งอาหาร 
ที่สำคัญมากของมนุษย์ การทำความเข้าใจ 
เกี่ยวกับพืชในระดับมาตราส่วนต่างๆ (Scale) 
จึงเป็นสิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีพของเรา ตัวอย่าง 
ของการศึกษาพืชที่พบบ่อย ได้แก่ การศึกษาเพื่อ 
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในระดับแปลงปลูก 
การศึกษาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ในระดับ 
จังหวัด การศึกษาปฏิสัมพันธ์ของพืชกับภาวะ 
โลกร้อนในระดับทวีป แต่การศึกษาพืชไม่ว่าจะ 
เป็นระดับมาตราส่วนใดก็เป็นเรื่องที่ยากและ 
ซับซ้อน เนื่องจากพืชนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตาม 
เวลาและมักปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง 
การเก็บข้อมูลต่างๆ ของพืชจึงมีค่าใช้จ่ายสูง 
และใช้เวลานาน 
ทำไมต้องใช้ Remote Sensing เพื่อการศึกษา 
พืช 
ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า 
เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote 
Sensing) นนั้ เปน็เครอื่งมือท่ถี กูนำมาประยุกตใ์ช้ 
ในการศึกษาพืชและกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 
เรื่อยๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเทคโนโลยีนี้ช่วยลด 
ภาระในการเก็บข้อมูลภาคสนามลงเป็นอย่างมาก 
ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย (Cost- 
Effective) นอกจากนั้น เทคโนโลยีการสำรวจ 
จากระยะไกลในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงกล้อง 
ถ่ายภาพทางอากาศธรรมดาๆ อย่างที่เข้าใจกัน 
อีกต่อไป เทคโนโลยีในสาขานี้ได้พัฒนาไปไกล 
จากนั้นมาก การถ่ายภาพขาวดำจากเครื่องบิน 
หรือการถ่ายภาพหลายช่วงคลื่นจากดาวเทียม 
SPOT และ LANDSAT จึงไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง 
ของวิทยาการทางด้านนี้อีกต่อไปแล้ว สิ่งที่ 
เพิ่มเติมเข้ามาในยุคนี้ทำให้ประโยชน์ในด้านการ 
ใช้งานของวิทยาการแขนงนี้กว้างขึ้นไปอีกหลาย 
เท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง 
ที่ถูกติดตั้งไว้บนดาวเทียมซึ่งสามารถวนกลับมา 
ถ่ายภาพซ้ำจุดเดิมได้เรื่อยๆ ตามที่เราต้องการ 
ทำให้การติดตามความเปลี่ยนแปลงของพืช 
บนพื้นผิวโลกทำได้โดยง่ายและให้ความถูกต้อง 
สูง (ความถูกต้องระดับเซนติเมตร) หรือจะเป็น 
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเรดาร์ที่สามารถส่งสัญญาณ 
ทะลุก้อนเมฆเพื่อศึกษาพืชที่ปกคลุมพื้นที่เบื้องล่างได้แม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน 
และมีเมฆบังอยู่ก็ตาม หรือการนำเอาเทคโนโลยีแสงเลเซอร์มาประยุกต์ 
โดยยิงลำแสงใส่พื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมแล้วคำนวณค่าเวลาในการสะท้อน 
ให้กลายเป็นค่าความสูงของต้นไม้ หรือจะเป็นการผสมหลักการของเครื่องวัด 
Spectrometer เข้ากับกล้องถ่ายภาพ ซึ่งทำให้กล้องดังกล่าวสามารถขยาย 
รายละเอียดของข้อมูลการสะท้อนแสงได้มากกว่าชนิดดั้งเดิมเป็น 100 เท่าและ 
ใชใ้นการจำแนกพรรณไมท้่ปี กคลุมดินที่มคี วามซับซอ้นออกจากกันได ้เปน็ตน้ 
เพราะ Remote Sensing เก็บข้อมูลได้บ่อยครั้งเท่าที่เราต้องการ 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกลเพื่อการศึกษาพืช 
ที่พบโดยมากมักจะเป็นการนำเอาความสามารถในการวนกลับมาที่ตำแหน่ง 
เดิมของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ (Revisiting Ability) มาใช้ 
ในการเก็บข้อมูลต่างช่วงเวลาของพืช (Time Series) เนื่องจากพืชเป็นวัตถุ 
คลุมดินที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ตัวอย่างที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้ 
ภาพแสดงพฤติกรรมของพืชที่มีความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา 
(เจ้าของภาพ John R. Jensen) 
• การติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติตามฤดูกาล 
ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือการศึกษาภาพรวมของพืชในระดับทวีป โดยมี 
จุดมุ่งหมายอยู่ที่การค้นหาความจริงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน การศึกษา 
ประเภทนี้มักใช้ดาวเทียมสำรวจที่สามารถถ่ายภาพพื้นที่บริเวณกว้างแต่มี 
ลักษณะเป็น Hyperspectral Data ดาวเทียมประเภทนี้จะกลับมาถ่ายภาพ 
ท่ตี ำแหนง่เดิมซ้ำเปน็รายวัน ขอ้มูลความเปล่ยี นแปลงของพืชในหลายๆ ดา้น 
ก็จะถูกประมวลผลทางสถิติและบันทึกเพื่อใช้ในการพยากรณ์ผลจากภาวะ 
โลกร้อนที่แม่นยำขึ้นต่อไป 
• การประเมินความเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติ เทคโนโลยี 
Remote Sensing ช่วยเพิ่มความรวดเร็วของการรายงานความเสียหาย 
โดยการเปรียบเทียบสถานการณ์ก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์ได้อย่าง 
ทันท่วงที เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างเร็ว ตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งเกิด 
เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่ม เทคโนโลยี Remote Sensing ช่วยให้เราประเมิน 
สถานการณ์ความเสียหายได้ทันที ซึ่งเป็นข้อมูลที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง 
นำไปใช้เพื่อเข้าไปช่วยบรรเทาทุกข์ตามลำดับของความสูญเสีย หรือเมื่อเกิด
เหตุไฟป่าเราก็จะสามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง 
เป็นรายวันและสามารถวางแผนควบคุมเพลิงได้อย่างทันท่วงที 
• การติดตามความเปลี่ยนแปลงของพืชที่เกิดขึ้นจาก 
ฝีมือของมนุษย์ การประเมินผลผลิตทางการเกษตรและการ 
พยากรณ์ผลผลิตล่วงหน้าเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เนื่องจาก 
พืชเศรษฐกิจบางอย่างมีราคาที่แกว่งตัว ไม่แน่นอน เทคโนโลยี 
Remote Sensing ช่วยให้ข้อมูลผลผลิตที่ชัดเจนขึ้น ทำให้ 
รัฐบาลสามารถหามาตรการบริหารจัดการราคาผลผลิตทาง 
การเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ตัวอย่างอื่นที่ผมได้มี 
โอกาสร่วมทำการวิจัยด้วย เช่น การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง 
ของค่าการสะท้อนแสงเพื่อหาพื้นที่ทิ้งร้างทางการเกษตร 
ผลการศึกษานี้สามารถนำไปช่วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ 
บริหารพื้นที่ทำการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เช่น 
การออกมาตรการภาษีที่ดินหากเกษตรกรไม่ใช้พื้นที่ทำกิน 
อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 
อินทาเนีย 78 
กันยายน - ตุลาคม 
ทางการเกษตร ตัวอย่างการใช้งานทางด้านการบริหารจัดการ 
ปา่ไม ้กค็อื การทำแผนท่ปี า่ดิบชนื้และปา่ชายเลนที่โดยปกติแล้ว 
เปน็เรอื่งท่ยี งุ่ยาก โดยอาจใชเ้วลาเปน็ปใีนการเก็บขอ้มูลภาคสนาม 
ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเป็นอย่างมาก และบางครั้ง 
ก็ได้ข้อมูลไม่ครบเนื่องจากพื้นที่ป่ารกทึบบางแห่งนั้นไม่สามารถ 
เข้าถึงได้ด้วยการเดินสำรวจ รายงานท่พี บและประสบการณ์ตรง 
ของผู้เขียนสามารถยืนยันได้ว่า เทคโนโลยี Remote Sensing นั้น 
ช่วยให้เราสามารถทำงานยุ่งยากดังกล่าวให้เสร็จลุล่วงได้ภายใน 
เวลาไมก่่เี ดือนเทา่นนั้ สว่นตัวอยา่งการใชง้านทางดา้นการเกษตร 
ก็มีมากมาย เช่น การจำแนกแผนที่การใช้ที่ดินเพื่อใช้ในการ 
บริหารจัดการพื้นที่ทำกินทางการเกษตร ทำให้สามารถตรวจสอบ 
ได้อย่างรวดเร็วว่าพื้นที่เกษตรกรรมที่สนใจนั้นกำลังปลูกพืช 
ชนิดใดอยู่ 
ภาพแสดงความสามารถของเทคโนโลยี Remote Sensing 
ในการติดตามความเปลี่ยนแปลงของพืชที่ถูกทำลายด้วยฝีมือของมนุษย์ 
ในบริเวณพื้นที่รอยต่อระหว่างนากุ้งกับป่าชายเลน 
(เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา) 
เพราะ Remote Sensing ให้ความถูกต้องสูง 
การศึกษาพืชด้วยการใช้เทคโนโลยีการสำรวจจาก 
ระยะไกลที่นิยมมากคือการทำแผนที่พรรณไม้ ซึ่งการใช้กล้อง 
ถ่ายภาพความละเอียดสูงร่วมกับการใช้เทคนิคของเครื่องวัด 
ประเภท Spectrometer หรือที่เราเรียกด้วยชื่อใหม่ว่า High-resolution 
Technology และ Hyperspectral Technology นั้น 
ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าให้ความถูกต้องในการจำแนกสูงกว่า 
การใช้วิธีการจำแนกแบบดั้งเดิมมาก โดยมีรายงานออกมาแสดง 
ให้เห็นถึงความสามารถในการจำแนกพรรณไม้ในระดับ Species 
Level แผนที่ Species Map เหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากแก่ 
การศึกษาระบบนิเวศของพืชและการบริหารจัดการผลผลิต 
ภาพแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากของการทำงานสำรวจภาคสนาม 
ในพื้นที่ป่าชายเลน (เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา) 
ภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ป่าชายเลน แหลมตะลุมพุก 
ปากพนัง นครศรีธรรมราช (เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา)
INTANIA 
79 
September - October 
บทส่งท้าย 
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะสามารถทำให้ท่านผู้อ่าน 
ชาวอินทาเนียเห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของเทคโนโลยี Remote Sensing 
ในการศึกษาพืชได้อย่างชัดเจน ความหลากหลายของการใช้งานนั้น 
แปรผันโดยตรงกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า 
ในอนาคตอันใกล้เมื่อเทคโนโลยีของ Remote Sensing พัฒนาต่อไปอีกก็จะ 
ยิ่งเห็นการศึกษาพืชด้วยเทคโนโลยี Remote Sensing ที่ยิ่งมีประสิทธิภาพ 
สูงขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาวิธีการประมวลผลแบบใหม่ที่ดีขึ้นเพื่อให้ 
สอดคล้องกับการใช้ข้อมูลสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจาก 
ปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตามมาเป็นเงาตามตัว สุดท้ายนี้ผู้เขียนยังหวัง 
อีกด้วยว่า ท่านผู้อ่านจะมองเห็นถึงความสามารถของเทคโนโลยีการสำรวจ 
จากระยะไกลและเกิดประกายความคิดพร้อมกับความรู้สึก “คันไม้ คันมือ” 
ทีจะนำเอาเทคโนโลยีชนิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในงานของท่านให้ได้ประโยชน์่ 
สูงสุดต่อไป 
เพราะข้อมูล Remote Sensing เหมาะกับการ 
สร้างแบบจำลองของพืช 
การใช้ Remote Sensing ที่นิยมทำกันมาก 
อีกอย่างหนึ่งก็คือการสร้างแบบจำลองหาความ 
สัมพันธ์ระหว่างพืชกับข้อมูลที่ได้จาก Remote 
Sensing การศึกษาประเภทนี้ให้ผลลัพธ์จำพวก 
แผนที่ชีวมวล (Biomass Map) หรือแผนที่ความ 
หนาแน่นของใบ (LAI Map) ประโยชน์ที่เห็น 
ได้ชัดคือการนำไปติดตามผลผลิตทางการเกษตร 
หรือพยากรณ์ผลผลิตล่วงหน้า นอกจากนี้ วิธีการ 
ดังกล่าวยังสามารถนำไปใช้ติดตามผลของ 
โครงการปลูกป่าต่างๆ ว่า ป่าปลูกเจริญเติบโตดี 
ตามเปา้หมายหรือไม ่นอกจากนี้ การใชเ้ครอื่งมือ 
ประเภท Laser Scanner ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องบิน 
ก็เป็นที่นิยมใช้ในการศึกษาประเภทนี้เช่นกัน 
เพราะให้ข้อมูล Ready-to-use ออกมาเป็น 
แบบจำลอง 3 มิติ แต่ก็ควรจะคำนึงถึงค่าใช้จ่าย 
ในการใช้ข้อมูลประเภทนี้ เพราะจะมีต้นทุน 
ของการใช้เครื่องบินเข้ามาอยู่ในบัญชีงบประมาณ 
ด้วย 
เพราะ Remote Sensing เก็บข้อมูลได้ทุกเวลาทุกภาวะอากาศ 
การใช้ข้อมูลประเภทเรดาร์ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เนื่องจากประเทศที่อยู่ 
ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก เช่น ประเทศไทย มักจะมีเมฆปกคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ 
สามารถเก็บข้อมูลได้ด้วยวิธีการทาง Remote Sensing ที่กล่าวไว้ข้างต้น 
ข้อได้เปรียบของคลื่นเรดาร์คือ เรดาร์นั้นมีความยาวช่วงคลื่นในระดับเมตร 
ทำให้มันสามารถทะลุเมฆฝนลงไปเก็บข้อมูลการสะท้อนพลังงานของพื้นผิว 
โลกได้อย่างสบาย แม้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลการสะท้อนของเรดาร์จะทำได้ 
ยากกว่าการใช้วิธีการอื่นๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เรดาร์ก็เป็นทางออกที่ดี 
ที่สุดหากเราจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลของพืชในเวลาที่มีเมฆฝนปกคลุม 
ในปัจจุบันพบว่าความต้องการเรดาร์ใช้งานทางด้านการบริหารจัดการป่าไม้ 
มีมากกว่าการใช้งานทางด้านการเกษตร ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่ 
ข้อมูลเรดาร์นั้นวิเคราะห์ได้ยากและความถูกต้องในการคำนวณค่าความ 
สัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของพืชยังมีค่าน้อยกว่าวิธีการอื่นๆ ที่กล่าว 
ไปแล้วก่อนหน้านี้ 
ภาพแสดง Spectral Signatures ของพืชชายเลน 
ที่พบบ่อยในประเทศไทย 16 ชนิด 
(เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา) 
(เจ้าของภาพ www.asdi.com) 
สนใจติชมหรือสอบถามเรื่องราวเพิ่มเติมจากผู้เขียนได้โดยตรงที่ ดร.ชัยโชค ไวภาษา ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ 
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ chaichoke@hotmail.com หรือ vaiphasa@alumni.itc.nl

More Related Content

Viewers also liked

งานการท่องเที่ยว
งานการท่องเที่ยวงานการท่องเที่ยว
งานการท่องเที่ยวTharapat
 
Family characters1
Family characters1Family characters1
Family characters1LPRU
 
บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301
บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301
บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301creaminiie
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งPichamon Sudecha
 
บทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผลบทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผลGuntima NaLove
 
презентация потанин м.м. 21.05.2015 1
презентация потанин м.м. 21.05.2015 1презентация потанин м.м. 21.05.2015 1
презентация потанин м.м. 21.05.2015 1Николай Стрелов
 
Examen bimestral
Examen bimestralExamen bimestral
Examen bimestralMonica-MC
 
10 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/16
10 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/1610 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/16
10 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/16Millennium Systems International
 
Social media presentation
Social media presentationSocial media presentation
Social media presentationamy348
 
Eng1023 library instruction_sp2016
Eng1023 library instruction_sp2016Eng1023 library instruction_sp2016
Eng1023 library instruction_sp2016Susan Whitmer
 
Bebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumii
Bebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumiiBebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumii
Bebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumiiFani Rarinca
 
Untitled Presentation
Untitled PresentationUntitled Presentation
Untitled PresentationEmilLiu
 

Viewers also liked (17)

งานการท่องเที่ยว
งานการท่องเที่ยวงานการท่องเที่ยว
งานการท่องเที่ยว
 
Family characters1
Family characters1Family characters1
Family characters1
 
Vegetation Index
Vegetation IndexVegetation Index
Vegetation Index
 
บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301
บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301
บทที่1 Vegetation Index นายวิศวะ เลาห์กิติกูล_3301
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
 
บทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผลบทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผล
 
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 
презентация потанин м.м. 21.05.2015 1
презентация потанин м.м. 21.05.2015 1презентация потанин м.м. 21.05.2015 1
презентация потанин м.м. 21.05.2015 1
 
How to Manage Your Business in a Mobile World - 3/7/16
How to Manage Your Business in a Mobile World - 3/7/16How to Manage Your Business in a Mobile World - 3/7/16
How to Manage Your Business in a Mobile World - 3/7/16
 
Examen bimestral
Examen bimestralExamen bimestral
Examen bimestral
 
10 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/16
10 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/1610 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/16
10 Millennium Features You Probably Didn't Know About - 5/23/16
 
Social media presentation
Social media presentationSocial media presentation
Social media presentation
 
Eng1023 library instruction_sp2016
Eng1023 library instruction_sp2016Eng1023 library instruction_sp2016
Eng1023 library instruction_sp2016
 
Bebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumii
Bebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumiiBebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumii
Bebelusii nu cauta scurtaturi si nu tin cont de gura lumii
 
Sandbach Santa Route
Sandbach Santa RouteSandbach Santa Route
Sandbach Santa Route
 
Untitled Presentation
Untitled PresentationUntitled Presentation
Untitled Presentation
 
Busqueda en fama
Busqueda en famaBusqueda en fama
Busqueda en fama
 

การใช้ Remote Sensing เพื่อการศึกษาพืช

  • 1. บทความ ดร.ชัยโชค ไวภาษา วศ.36 การใช้ Remote Sensing เพื่อการศึกษา พืช ผมเขียนย่อความฉบับนี้ขึ้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านชาวอินทาเนียได้เห็นถึงการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อการ ศึกษาพืช เรื่องราวต่างๆ ในที่นี้เรียบเรียงขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงที่สั่งสมมา จากงานวิจยัตา่งๆ ท่ผี มไดท้ำมานานกวา่ 10 ป ีและโดยหนา้ท่กี รรมการตรวจงาน (Reviewer) ของวารสารชั้นนำในสายงาน Remote Sensing หลายฉบับ ทำให้ ผมมีโอกาสได้อ่านงานวิชาการในเรื่องนี้มามากพอสมควร จึงอยากจะนำเอา ประสบการณ์เหล่านี้มาเล่าสู่กันฟัง โดยผมพยายามไม่ใช้ภาษาทางวิชาการเพื่อ ให้ท่านผู้อ่านที่ไม่มีพื้นความรู้ทาง Remote Sensing สามารถทำความเข้าใจได้ โดยง่าย โดยจะเริ่มจากการช้แี จงให้เห็นถึงความสำคัญของพืชพอสังเขป ถัดมา ก็จะบอกว่าทำไม Remote Sensing จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับการศึกษา พืช หลังจากนั้นก็จะยกตัวอย่างการใช้งาน Remote Sensing ที่สำคัญๆ เพื่อให้ ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพที่ชัดเจน สุดท้ายก็จะสรุปประเด็นต่างๆ และให้แนวทาง ของการศึกษาและพัฒนาเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคต อินทาเนีย 76 กันยายน - ตุลาคม ภาพพืชตระกูลถั่วที่มีความสำคัญแก่มนุษย์โลกมานานแสนนาน (เจ้าของภาพ www.asdi.com) ภาพแสดงการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล Multispectral Data ที่มีช่วงคลื่นกว้างดังแถบสีเทา และข้อมูล Hyperspectral Data ที่มีลักษณะต่อเนื่องดังเส้นสีดำ (เจ้าของภาพ Karin Schmidt) ภาพแสดงตัวอย่างการใช้เครื่องมือ เก็บข้อมูลพืชจากพื้นที่ศึกษา (เจ้าของภาพ www.asdi.com และ Coburn and Peddle)
  • 2. INTANIA 77 September - October พืชเป็นสิ่งสำคัญของเราทุกคน เราทราบกันดีว่า พืชมีความสำคัญแก่พวกเรา เป็นอย่างมาก มันทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลัก ของระบบนิเวศที่เราอาศัยอยู่ ยังเป็นแหล่งอาหาร ที่สำคัญมากของมนุษย์ การทำความเข้าใจ เกี่ยวกับพืชในระดับมาตราส่วนต่างๆ (Scale) จึงเป็นสิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีพของเรา ตัวอย่าง ของการศึกษาพืชที่พบบ่อย ได้แก่ การศึกษาเพื่อ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในระดับแปลงปลูก การศึกษาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ในระดับ จังหวัด การศึกษาปฏิสัมพันธ์ของพืชกับภาวะ โลกร้อนในระดับทวีป แต่การศึกษาพืชไม่ว่าจะ เป็นระดับมาตราส่วนใดก็เป็นเรื่องที่ยากและ ซับซ้อน เนื่องจากพืชนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตาม เวลาและมักปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง การเก็บข้อมูลต่างๆ ของพืชจึงมีค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลานาน ทำไมต้องใช้ Remote Sensing เพื่อการศึกษา พืช ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) นนั้ เปน็เครอื่งมือท่ถี กูนำมาประยุกตใ์ช้ ในการศึกษาพืชและกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเทคโนโลยีนี้ช่วยลด ภาระในการเก็บข้อมูลภาคสนามลงเป็นอย่างมาก ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย (Cost- Effective) นอกจากนั้น เทคโนโลยีการสำรวจ จากระยะไกลในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงกล้อง ถ่ายภาพทางอากาศธรรมดาๆ อย่างที่เข้าใจกัน อีกต่อไป เทคโนโลยีในสาขานี้ได้พัฒนาไปไกล จากนั้นมาก การถ่ายภาพขาวดำจากเครื่องบิน หรือการถ่ายภาพหลายช่วงคลื่นจากดาวเทียม SPOT และ LANDSAT จึงไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ของวิทยาการทางด้านนี้อีกต่อไปแล้ว สิ่งที่ เพิ่มเติมเข้ามาในยุคนี้ทำให้ประโยชน์ในด้านการ ใช้งานของวิทยาการแขนงนี้กว้างขึ้นไปอีกหลาย เท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง ที่ถูกติดตั้งไว้บนดาวเทียมซึ่งสามารถวนกลับมา ถ่ายภาพซ้ำจุดเดิมได้เรื่อยๆ ตามที่เราต้องการ ทำให้การติดตามความเปลี่ยนแปลงของพืช บนพื้นผิวโลกทำได้โดยง่ายและให้ความถูกต้อง สูง (ความถูกต้องระดับเซนติเมตร) หรือจะเป็น อุปกรณ์ส่งสัญญาณเรดาร์ที่สามารถส่งสัญญาณ ทะลุก้อนเมฆเพื่อศึกษาพืชที่ปกคลุมพื้นที่เบื้องล่างได้แม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน และมีเมฆบังอยู่ก็ตาม หรือการนำเอาเทคโนโลยีแสงเลเซอร์มาประยุกต์ โดยยิงลำแสงใส่พื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมแล้วคำนวณค่าเวลาในการสะท้อน ให้กลายเป็นค่าความสูงของต้นไม้ หรือจะเป็นการผสมหลักการของเครื่องวัด Spectrometer เข้ากับกล้องถ่ายภาพ ซึ่งทำให้กล้องดังกล่าวสามารถขยาย รายละเอียดของข้อมูลการสะท้อนแสงได้มากกว่าชนิดดั้งเดิมเป็น 100 เท่าและ ใชใ้นการจำแนกพรรณไมท้่ปี กคลุมดินที่มคี วามซับซอ้นออกจากกันได ้เปน็ตน้ เพราะ Remote Sensing เก็บข้อมูลได้บ่อยครั้งเท่าที่เราต้องการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกลเพื่อการศึกษาพืช ที่พบโดยมากมักจะเป็นการนำเอาความสามารถในการวนกลับมาที่ตำแหน่ง เดิมของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ (Revisiting Ability) มาใช้ ในการเก็บข้อมูลต่างช่วงเวลาของพืช (Time Series) เนื่องจากพืชเป็นวัตถุ คลุมดินที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ตัวอย่างที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้ ภาพแสดงพฤติกรรมของพืชที่มีความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา (เจ้าของภาพ John R. Jensen) • การติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติตามฤดูกาล ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือการศึกษาภาพรวมของพืชในระดับทวีป โดยมี จุดมุ่งหมายอยู่ที่การค้นหาความจริงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน การศึกษา ประเภทนี้มักใช้ดาวเทียมสำรวจที่สามารถถ่ายภาพพื้นที่บริเวณกว้างแต่มี ลักษณะเป็น Hyperspectral Data ดาวเทียมประเภทนี้จะกลับมาถ่ายภาพ ท่ตี ำแหนง่เดิมซ้ำเปน็รายวัน ขอ้มูลความเปล่ยี นแปลงของพืชในหลายๆ ดา้น ก็จะถูกประมวลผลทางสถิติและบันทึกเพื่อใช้ในการพยากรณ์ผลจากภาวะ โลกร้อนที่แม่นยำขึ้นต่อไป • การประเมินความเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติ เทคโนโลยี Remote Sensing ช่วยเพิ่มความรวดเร็วของการรายงานความเสียหาย โดยการเปรียบเทียบสถานการณ์ก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์ได้อย่าง ทันท่วงที เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างเร็ว ตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งเกิด เหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่ม เทคโนโลยี Remote Sensing ช่วยให้เราประเมิน สถานการณ์ความเสียหายได้ทันที ซึ่งเป็นข้อมูลที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง นำไปใช้เพื่อเข้าไปช่วยบรรเทาทุกข์ตามลำดับของความสูญเสีย หรือเมื่อเกิด
  • 3. เหตุไฟป่าเราก็จะสามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นรายวันและสามารถวางแผนควบคุมเพลิงได้อย่างทันท่วงที • การติดตามความเปลี่ยนแปลงของพืชที่เกิดขึ้นจาก ฝีมือของมนุษย์ การประเมินผลผลิตทางการเกษตรและการ พยากรณ์ผลผลิตล่วงหน้าเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เนื่องจาก พืชเศรษฐกิจบางอย่างมีราคาที่แกว่งตัว ไม่แน่นอน เทคโนโลยี Remote Sensing ช่วยให้ข้อมูลผลผลิตที่ชัดเจนขึ้น ทำให้ รัฐบาลสามารถหามาตรการบริหารจัดการราคาผลผลิตทาง การเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ตัวอย่างอื่นที่ผมได้มี โอกาสร่วมทำการวิจัยด้วย เช่น การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง ของค่าการสะท้อนแสงเพื่อหาพื้นที่ทิ้งร้างทางการเกษตร ผลการศึกษานี้สามารถนำไปช่วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ บริหารพื้นที่ทำการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ เช่น การออกมาตรการภาษีที่ดินหากเกษตรกรไม่ใช้พื้นที่ทำกิน อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น อินทาเนีย 78 กันยายน - ตุลาคม ทางการเกษตร ตัวอย่างการใช้งานทางด้านการบริหารจัดการ ปา่ไม ้กค็อื การทำแผนท่ปี า่ดิบชนื้และปา่ชายเลนที่โดยปกติแล้ว เปน็เรอื่งท่ยี งุ่ยาก โดยอาจใชเ้วลาเปน็ปใีนการเก็บขอ้มูลภาคสนาม ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเป็นอย่างมาก และบางครั้ง ก็ได้ข้อมูลไม่ครบเนื่องจากพื้นที่ป่ารกทึบบางแห่งนั้นไม่สามารถ เข้าถึงได้ด้วยการเดินสำรวจ รายงานท่พี บและประสบการณ์ตรง ของผู้เขียนสามารถยืนยันได้ว่า เทคโนโลยี Remote Sensing นั้น ช่วยให้เราสามารถทำงานยุ่งยากดังกล่าวให้เสร็จลุล่วงได้ภายใน เวลาไมก่่เี ดือนเทา่นนั้ สว่นตัวอยา่งการใชง้านทางดา้นการเกษตร ก็มีมากมาย เช่น การจำแนกแผนที่การใช้ที่ดินเพื่อใช้ในการ บริหารจัดการพื้นที่ทำกินทางการเกษตร ทำให้สามารถตรวจสอบ ได้อย่างรวดเร็วว่าพื้นที่เกษตรกรรมที่สนใจนั้นกำลังปลูกพืช ชนิดใดอยู่ ภาพแสดงความสามารถของเทคโนโลยี Remote Sensing ในการติดตามความเปลี่ยนแปลงของพืชที่ถูกทำลายด้วยฝีมือของมนุษย์ ในบริเวณพื้นที่รอยต่อระหว่างนากุ้งกับป่าชายเลน (เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา) เพราะ Remote Sensing ให้ความถูกต้องสูง การศึกษาพืชด้วยการใช้เทคโนโลยีการสำรวจจาก ระยะไกลที่นิยมมากคือการทำแผนที่พรรณไม้ ซึ่งการใช้กล้อง ถ่ายภาพความละเอียดสูงร่วมกับการใช้เทคนิคของเครื่องวัด ประเภท Spectrometer หรือที่เราเรียกด้วยชื่อใหม่ว่า High-resolution Technology และ Hyperspectral Technology นั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าให้ความถูกต้องในการจำแนกสูงกว่า การใช้วิธีการจำแนกแบบดั้งเดิมมาก โดยมีรายงานออกมาแสดง ให้เห็นถึงความสามารถในการจำแนกพรรณไม้ในระดับ Species Level แผนที่ Species Map เหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากแก่ การศึกษาระบบนิเวศของพืชและการบริหารจัดการผลผลิต ภาพแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากของการทำงานสำรวจภาคสนาม ในพื้นที่ป่าชายเลน (เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา) ภาพถ่ายดาวเทียมของพื้นที่ป่าชายเลน แหลมตะลุมพุก ปากพนัง นครศรีธรรมราช (เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา)
  • 4. INTANIA 79 September - October บทส่งท้าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะสามารถทำให้ท่านผู้อ่าน ชาวอินทาเนียเห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของเทคโนโลยี Remote Sensing ในการศึกษาพืชได้อย่างชัดเจน ความหลากหลายของการใช้งานนั้น แปรผันโดยตรงกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในอนาคตอันใกล้เมื่อเทคโนโลยีของ Remote Sensing พัฒนาต่อไปอีกก็จะ ยิ่งเห็นการศึกษาพืชด้วยเทคโนโลยี Remote Sensing ที่ยิ่งมีประสิทธิภาพ สูงขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาวิธีการประมวลผลแบบใหม่ที่ดีขึ้นเพื่อให้ สอดคล้องกับการใช้ข้อมูลสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจาก ปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตามมาเป็นเงาตามตัว สุดท้ายนี้ผู้เขียนยังหวัง อีกด้วยว่า ท่านผู้อ่านจะมองเห็นถึงความสามารถของเทคโนโลยีการสำรวจ จากระยะไกลและเกิดประกายความคิดพร้อมกับความรู้สึก “คันไม้ คันมือ” ทีจะนำเอาเทคโนโลยีชนิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในงานของท่านให้ได้ประโยชน์่ สูงสุดต่อไป เพราะข้อมูล Remote Sensing เหมาะกับการ สร้างแบบจำลองของพืช การใช้ Remote Sensing ที่นิยมทำกันมาก อีกอย่างหนึ่งก็คือการสร้างแบบจำลองหาความ สัมพันธ์ระหว่างพืชกับข้อมูลที่ได้จาก Remote Sensing การศึกษาประเภทนี้ให้ผลลัพธ์จำพวก แผนที่ชีวมวล (Biomass Map) หรือแผนที่ความ หนาแน่นของใบ (LAI Map) ประโยชน์ที่เห็น ได้ชัดคือการนำไปติดตามผลผลิตทางการเกษตร หรือพยากรณ์ผลผลิตล่วงหน้า นอกจากนี้ วิธีการ ดังกล่าวยังสามารถนำไปใช้ติดตามผลของ โครงการปลูกป่าต่างๆ ว่า ป่าปลูกเจริญเติบโตดี ตามเปา้หมายหรือไม ่นอกจากนี้ การใชเ้ครอื่งมือ ประเภท Laser Scanner ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องบิน ก็เป็นที่นิยมใช้ในการศึกษาประเภทนี้เช่นกัน เพราะให้ข้อมูล Ready-to-use ออกมาเป็น แบบจำลอง 3 มิติ แต่ก็ควรจะคำนึงถึงค่าใช้จ่าย ในการใช้ข้อมูลประเภทนี้ เพราะจะมีต้นทุน ของการใช้เครื่องบินเข้ามาอยู่ในบัญชีงบประมาณ ด้วย เพราะ Remote Sensing เก็บข้อมูลได้ทุกเวลาทุกภาวะอากาศ การใช้ข้อมูลประเภทเรดาร์ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เนื่องจากประเทศที่อยู่ ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก เช่น ประเทศไทย มักจะมีเมฆปกคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ สามารถเก็บข้อมูลได้ด้วยวิธีการทาง Remote Sensing ที่กล่าวไว้ข้างต้น ข้อได้เปรียบของคลื่นเรดาร์คือ เรดาร์นั้นมีความยาวช่วงคลื่นในระดับเมตร ทำให้มันสามารถทะลุเมฆฝนลงไปเก็บข้อมูลการสะท้อนพลังงานของพื้นผิว โลกได้อย่างสบาย แม้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลการสะท้อนของเรดาร์จะทำได้ ยากกว่าการใช้วิธีการอื่นๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เรดาร์ก็เป็นทางออกที่ดี ที่สุดหากเราจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลของพืชในเวลาที่มีเมฆฝนปกคลุม ในปัจจุบันพบว่าความต้องการเรดาร์ใช้งานทางด้านการบริหารจัดการป่าไม้ มีมากกว่าการใช้งานทางด้านการเกษตร ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่ ข้อมูลเรดาร์นั้นวิเคราะห์ได้ยากและความถูกต้องในการคำนวณค่าความ สัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของพืชยังมีค่าน้อยกว่าวิธีการอื่นๆ ที่กล่าว ไปแล้วก่อนหน้านี้ ภาพแสดง Spectral Signatures ของพืชชายเลน ที่พบบ่อยในประเทศไทย 16 ชนิด (เจ้าของภาพ ชัยโชค ไวภาษา) (เจ้าของภาพ www.asdi.com) สนใจติชมหรือสอบถามเรื่องราวเพิ่มเติมจากผู้เขียนได้โดยตรงที่ ดร.ชัยโชค ไวภาษา ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ chaichoke@hotmail.com หรือ vaiphasa@alumni.itc.nl