SlideShare a Scribd company logo
1 of 624
Download to read offline
รีพับลิก ฉบับประชาชน จัดทĽำขึ้นเพื่อขอบคุณผู้ระดมทุน สนับสนุนการแปลกับโครงการวรรณกรรมไม่จĽำกัด
รีพับลิก 
Republic 
Πολιτεία 
เพลโต เขียน 
เวธัส โพธารามิก แปลจากภาษากรีกโบราณ 
จัดพิมพ์โดย 
โครงการวรรณกรรมไม่จĽำกัด
* ตัวเลขด้านข้าง คือเลขหน้าสเตฟานัส (Stephanus pagination) เป็นระบบอ้างอิงที่ใช้ในการอ่าน และแปลผลงานของเพลโตที่ Henricus Stephanus (Henri Estienne) จิตรกรชาวฝรั่งเศส-ผู้เชี่ยวชาญ ภาษากรีกจากศตวรรษที่ 16 เป็นผู้รวบรวมและจัดทĽำขึ้น
เพลโต : 7 
โสคราตีส2: ข้าฯ ลงไปเพเรอัส3มาเมื่อวานนี้กับกลาวคอน บุตรแห่งอริสตอน4 
เพราะต้องการร่วมสวดบูชาเทพีองค์ใหม่5กับเขาเสียหน่อย งานฉลองเทพีองค์นี้ 
เพิ่งเริ่มจัดกันเป็นหนแรก ข้าฯ จึงอยากรู้ว่าพวกเขาทĽำอะไรกันบ้าง อันที่จริง 
ตามทัศนะของข้าฯ แค่ขบวนแห่ของคนท้องถิ่นอย่างเดียวก็งดงามมากแล้วนะ 
แต่ปรากฏว่าขบวนแห่ของชาวธราเคียน6 นั้นก็โดดเด่นตระการตาไม่แพ้กัน 
หลังจากพวกเราได้ถวายคĽำบูชาและชมขบวนแห่กันครบหมดแล้ว เราทั้งสอง 
ก็เดินทางกลับ ระหว่างทางเผอิญได้พบกับโพเลมาร์คัส บุตรแห่งเคฟาลัส7 
เขามองเห็นพวกเราเดินอยู่ไกลๆ จึงสั่งทาสให้รีบวิ่งมาเรียกเรา บอกพวกเรา 
สองคนให้รอก่อน ทาสผู้นั้นตรงเข้ามาจับเสื้อคลุมของข้าฯ จากข้างหลัง แล้วแจ้ง 
โดยพลันว่า “นายท่านโพเลมาร์คัสประสงค์ให้ท่านทั้งสองหยุดรอเขาสักครู่” 
ข้าฯ จึงหันหลังกลับไปถามว่าเวลานี้เขาอยู่หนใด 
“นายท่านกĽำลังเดินตามมา” เขากล่าว “โปรดรอสักครู่เถิด” 
“ตกลง พวกเราจะรอ” กลาวคอนพูด 
ไม่ช้าโพเลมาร์คัสก็เดินมาถึง เขามาพร้อมกับอเดมันทัส พี่ชายของกลาวคอน 
นิเคราทัส บุตรแห่งนิคิอัส และคนอื่นๆ อีกจĽำนวนหนึ่งที่เพิ่งกลับจากการชม ขบวนแห่ก็อยู่ตรงนั้นด้วย 
เล่ม1 1 
[327a]* 
[327b] 
[327c]
8 : รีพับลิก 
“ข้าฯ เดาว่าพวกท่านคงกĽำลังจะเดินทางกลับบ้าน ใช่หรือไม่โสคราตีส?” 
โพเลมาร์คัสพูด 
“เดาได้ไม่เลวนี่” ข้าฯ พูด 
“แต่ว่า” เขากล่าว “พวกเรามีกันตั้งหลายคนนะ ท่านเห็นหรือเปล่า?” 
“ก็เห็นอยู่” 
“งั้นท่านก็ต้องล้มพวกเราทั้งหมดให้ได้เสียก่อน” เขาพูด “เพราะพวกเรา แข็งแกร่งกว่าท่าน หรือไม่อย่างนั้น ท่านก็ต้องอยู่ต่อกับพวกเราที่นี่”8 
“ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งมิใช่หรือ” ข้าฯ กล่าว “นั่นคือเราสองคนร่วมมือกัน 
โน้มน้าวพวกเจ้าให้ปล่อยเราไป?” 
“แต่ถ้าพวกเราปฏิเสธที่จะฟังล่ะ” เขาพูด “ท่านยังคิดว่าจะโน้มน้าวพวกเราได้ 
อยู่อีกหรือเปล่า?” 
“ก็ต้องไม่ได้อยู่แล้ว” กลาวคอนพูด 
“ถ้าเช่นนั้น พวกเราก็จะไม่ยอมฟังท่านพูด ท่านเตรียมใจไว้ก่อนได้เลย” 
พลันอเดมันทัสก็พูดแทรกขึ้นมา “พวกท่านไม่รู้หรอกหรือ ว่าจะมีการแข่ง 
วิ่งผลัดคบไฟในตอนคĽ่ำ? แข่งวิ่งผลัดคบเพลิงบนหลังม้า เพื่อถวายแด่องค์เทพี” 
“โอ้! บนหลังม้างั้นหรือ?” ข้าฯ พูด “แปลกใหม่ดีนี่ พวกเขาจะแข่งขันควบม้า 
และส่งคบเพลิงต่อกันเป็นทอดใช่ไหม?” 
“ใช่แล้ว” โพเลมาร์คัสกล่าว “นอกจากนั้นยังมีงานฉลองต่ออีกจนถึงเช้า 
เราจะเดินเที่ยวชมกันหลังมื้อคĽ่ำ ในงานจะต้องมีพวกคนหนุ่มไฟแรงให้พวกเรา ได้สนทนาแลกเปลี่ยนด้วยมากมายแน่ๆ งานฉลองนี้จึงควรค่าแก่การเยี่ยมชม อย่างยิ่ง พวกท่านอย่าเพิ่งกลับเลยน่า อยู่ต่อกับพวกเราเถอะ” 
กลาวคอนจึงกล่าวว่า “ดูเหมือนเราจĽำเป็นต้องอยู่ต่ออีกสักหน่อยนะ” 
“ดูท่าแล้ว เราคงต้องอยู่ต่อกันจริงๆ” ข้าฯ พูด 
ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงพากันเดินกลับไปยังบ้านของโพเลมาร์คัส และได้พบกับ 
น้องชายทั้งสองของเขา คือลิสิอัส9 กับยูธิเดมัส นอกจากนั้นยังมีธราซิมาคัส 
แห่งเมืองคาลซิดอน10 คาร์มันทิดีสแห่งไพอาเนีย และคเลโตฟอน บุตรแห่ง 
[328a] 
[328b]
เพลโต : 9 
อริสโตนิมัสก็อยู่ที่นั่นด้วย บิดาของโพเลมาร์คัส นามเคฟาลัส11 ก็อยู่ด้วยเช่นกัน 
ข้าฯ ไม่ได้เจอเขามาสักพักหนึ่งแล้ว และพบว่าเขาดูชราลงไปมาก เขานั่งอยู่บน 
เก้าอี้บุนวมตัวหนึ่ง บนศีรษะสวมมงกุฎร้อยดอกไม้จากพิธีบูชาที่ลานบูชา รอบๆ 
ตัวเขา มีเก้าอี้จĽำนวนหนึ่งจัดเรียงไว้เป็นรูปครึ่งวงกลม พวกเราจึงตรงเข้าไปนั่ง ใกล้ๆ และทันทีที่เห็นข้าฯ เคฟาลัสก็เอ่ยคĽำต้อนรับอย่างเป็นกันเอง จากนั้น 
จึงพูดกับข้าฯ ว่า 
“โสคราตีส ไยไม่เดินทางมาเยี่ยมพวกเราที่เพเรอัสให้บ่อยกว่านี้หน่อยเล่า 
นี่ถ้าข้าฯ ยังเดินเหินได้สะดวกเหมือนแต่ก่อนนะ ข้าฯ คงเป็นฝ่ายพาลูกพาหลาน 
ไปเยี่ยมเยือนเจ้าเองแล้ว แต่ก็อย่างที่เห็น เจ้านั่นแหละควรจะมาให้บ่อยกว่านี้ 
ข้าฯ อยากให้เจ้ารู้ไว้ว่า เมื่อความสุขสĽำราญทางกายได้หลุดโรยไปแล้วจากตัวข้าฯ 
ความปรารถนาและสุขสĽำราญในการสนทนาก็กลับเจริญงอกงามขึ้นมาแทนที่ ฉะนั้นแล้วเจ้ามาให้บ่อยหน่อยสิ มาอยู่เป็นเพื่อนเด็กๆ พวกนี้ก็ได้ พวกเรามัน 
คนกันเองทั้งนั้นแหละ” 
“ได้อยู่แล้วเคฟาลัส ข้าฯ ชอบสนทนาแลกเปลี่ยนกับคนเฒ่าคนแก่เสมอล่ะ” 
ข้าฯ พูด “เพราะตามทัศนะของข้าฯ คนชรานั้นเปรียบได้กับนักเดินทางไกล 
ผู้เคยผจญภัยบนเส้นทาง ซึ่งพวกเราทุกคนต้องเดินไปถึงสักวัน การสนทนากับ 
คนเฒ่าคนแก่ย่อมช่วยให้เราได้รู้ล่วงหน้าว่าเส้นทางสายนั้นขรุขระขนาดไหน 
ลาดชันเพียงใด และในเมื่อท่านได้ก้าวพ้นสิ่งที่พวกกวีเรียกว่า ‘ธรณีประตูแห่ง 
ความชรา’12 มาแล้ว ข้าฯ ก็ประสงค์จะขอคĽำชี้แนะจากท่านเสียหน่อย ข้าฯ อยากรู้ 
ว่าชีวิตในช่วงเวลาบั้นปลายนั้นมีความยากลĽำบากเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ท่านช่วย 
เฉลยให้ข้าฯ ทราบทีเถอะ” 
“ในนามแห่งซุส ข้าฯ จะตอบให้ว่าข้าฯ รู้สึกอย่างไร โสคราตีส” เขาพูด “ก็อย่าง 
สุภาษิตว่าไว้นั่นล่ะ – ‘คนรุ่นราวคราวเดียวกัน มักถูกดึงดูดเข้าหากันเสมอ’ – คนรุ่น 
ข้าฯ พอได้จับกลุ่มคุยกัน ส่วนมากก็มักบ่นถึงเรื่องความสุขสĽำราญที่ได้ทĽำหล่น 
หายไปเสีย ไม่ได้มีอย่างเหลือเฟือเหมือนตอนยังหนุ่มยังแน่นอีกแล้ว ทั้งเรื่องเพศ 
เรื่องสุรา เรื่องงานรื่นเริงต่างๆ นานา อันเคยได้สร้างความหรรษาให้ในวัยเยาว์ 
[328d] 
[328e] 
[329a] 
[c]
10 : รีพับลิก 
มันหายไปหมดสิ้น และพวกเขาก็มักรู้สึกเป็นทุกข์ รู้สึกแย่กับมัน รู้สึกแย่กับ 
ชีวิตสนุกสนานที่อันตรธานไป รู้สึกแย่กับชีวิตในปัจจุบันที่อยู่ๆ ไปก็เหมือนไร้ 
ซึ่งชีวิต และนอกจากนั้นก็ยังมีพวกที่โอดครวญกับเรื่องลูกหลานไม่ให้ความ 
เคารพตัวเองเท่าที่ควรอีกด้วย เรื่องพวกนี้นี่ล่ะ พวกคนแก่คนเฒ่าส่วนมาก 
จึงมักบอกว่าความชราคือต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง ถึงกระนั้น 
ตามทัศนะของข้าฯ ข้าฯ กลับไม่คิดว่าการกล่าวหาว่าร้ายความชราเช่นนี้จะ 
เป็นสิ่งถูกต้องนะโสคราตีส เพราะถ้าความชรามันเป็นเหตุแห่งความชั่วร้าย 
ดังว่าจริงๆ ข้าฯ และคนในวัยเดียวกับข้าฯ ทุกคน ก็ควรจะต้องรู้สึกทุกข์ร้อน 
ไปด้วยเหมือนกันหมดนะสิ แต่จากประสบการณ์ข้าฯ พบว่ามีคนชราจĽำนวนไม่ 
น้อยที่ไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดไปกับเรื่องบ้าบอพวกนี้เลยสักนิด หนึ่งในจĽำนวนนั้น 
ก็คือโซโฟคลีส13 ข้าฯ เคยเห็นคนถามกวีผู้นี้ว่า ‘โซโฟคลีส เรื่องเพศของท่าน 
เป็นอย่างไรบ้าง? ยังขึ้นเตียงกับผู้หญิงไหวอยู่หรือเปล่า?’ ‘ไม่จĽำเป็นต้องพูดถึง 
มันหรอกสหาย’ เขาตอบ ‘ข้าฯ รู้สึกโล่งใจเหลือเกินที่หลุดพ้นจากมันมาได้ 
รู้สึกเหมือนทาสที่เพิ่งหนีรอดจากนายผู้ป่าเถื่อนและชั่วร้ายมาได้ยังไงยังงั้น 
เลยล่ะ’ ข้าฯ ว่าโซโฟคลีสกล่าวเอาไว้ได้ดีทีเดียวนะ และข้าฯ ก็ยังคงคิดเช่นนั้น 
มาจนบัดนี้ ความชรานั้นนĽำสันติสุขมาให้ต่างหากเล่า มันช่วยปลดปล่อยเราจาก 
ความปรารถนาอันบ้าคลั่งทั้งปวง ทันทีที่ความโหยหาในสิ่งยั่วยุทั้งหลายคลาย 
กĽำลังลง เราก็จะเป็นอิสระจากบรรดานายทาสผู้บ้าคลั่ง ดังโซโฟคลีสได้กล่าวไว้ 
นั่นเอง ส่วนไอ้เรื่องที่ว่าลูกหลานไม่ให้ความเคารพนี่นะโสคราตีส ข้าฯ เห็นว่า 
สาเหตุจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ความชราหรอกนะ แต่เป็นเรื่องบุคลิกลักษณะของมนุษย์ 
แต่ละคนเสียมากกว่า คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบเรียบง่าย และอารมณ์ดีอยู่ 
เสมอนั้น มักไม่รู้สึกกดดันจากความชราเสียเท่าไรหรอก แต่ถ้าคนไหนใช้ชีวิต 
ตรงข้ามไปจากที่ว่านี้ ทั้งความชราทั้งลูกหลานก็จะกลายเป็นภาระที่ยากเกินจะ 
ทนทานไปในทันทีเช่นกัน” 
ข้าฯ รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เขาพูด และยังปรารถนาจะฟังต่อจึงยุให้เขาพูดต่อ 
ด้วยการกล่าวว่า “เคฟาลัส ข้าฯ ว่าคนหมู่มากคงไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านพูดมา 
[329b] 
[329c] 
[329d]
เพลโต : 11 
เสียเท่าไรหรอก พวกเขาย่อมมองว่าที่ท่านรับความชราได้นั้น ไม่น่าจะเกิดจาก 
บุคลิกลักษณะเสียกระมัง หากมันน่าจะมาจากความมั่งมีในทรัพย์สินเงินทอง ของท่านเสียมากกว่า เขาว่ากันว่าคนรวยย่อมมีเครื่องปลอบประโลมใจมากกว่า 
คนจนอยู่แล้วมิใช่หรือ?” 
“เป็นเช่นนั้นจริงๆ พวกเขาคงไม่เห็นด้วยกับข้าฯ หรอก” เขากล่าว “แต่สิ่งที่ 
พวกเขาพูดก็มีส่วนถูก แม้จะไม่ได้ถูกไปเสียทั้งหมดก็ตาม ข้าฯ ว่าในประเด็นนี้ 
คĽำพูดของเธมิสโทคลีส14น่าจะยังใช้การได้ดีอยู่นะ ครั้งหนึ่งเธมิสโทคลีสเคย 
ถูกชาวเซริฟัสคนหนึ่งค่อนขอดเอาว่า ชื่อเสียงอันโด่งดังของเขานั้นหาได้มาจาก 
ความสามารถของตนเองไม่ ทว่ามันมาจากเมืองที่เขาอยู่ต่างหาก เขาถึงได้มี 
ชื่อเสียงขึ้นมา เธมิสโทคลีสได้ฟังก็ตอบกลับไปว่า จริงอยู่ ถ้าเขาเป็นชาวเซริฟัส 
เขาก็คงไม่มีชื่อเสียงเหมือนเช่นทุกวันนี้ แต่ถึงอย่างไรต่อให้ชาวเซริฟัสผู้นั้น 
เปลี่ยนเป็นชาวเอเธนส์ เขาก็คงไม่อาจสร้างชื่อให้ตัวเองได้เช่นกัน15 ข้าฯ ว่าตรรกะนี้ 
ยังนĽำมาใช้กับกรณีของคนแก่ที่ไม่ได้รĽ่ำรวยและไม่อาจทนความชราของตน 
ได้ด้วย เพราะจริงอยู่ที่ว่า คนชราผู้ยากไร้นั้นถึงแม้จะพอใจในสิ่งที่มี แต่ก็คง 
ไม่สามารถจะใช้ชีวิตในวัยชราได้อย่างราบรื่นเท่าใดนัก กระนั้นคนชราผู้หนึ่ง 
ต่อให้เขามีเงินทองมากมาย แต่ถ้าไม่เคยพอใจในสิ่งที่มี ก็คงยากจะอารมณ์ดี 
อยู่เสมอด้วยเช่นกัน” 
“ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของท่านมาจากมรดกหรือเปล่าเคฟาลัส?” ข้าฯ กล่าว “หรือว่าท่านหามาได้ด้วยมือตัวเอง?” 
“ก็ต้องหามาได้ด้วยตัวเองสิโสคราตีส” เขาตอบ “ข้าฯ เป็นคนทĽำมาค้าขาย 
และฝีมือของข้าฯ ก็น่าจะอยู่กึ่งกลางระหว่างพ่อกับตา ชื่อของข้าฯ มาจากชื่อตา 
ตอนที่ตาได้รับมรดกมา ทรัพย์สินโดยรวมก็พอๆ กับข้าฯ ในเวลานี้แหละ แต่ถึง 
อย่างนั้น ตาก็ทĽำให้มันเพิ่มขึ้นมาได้อีกเป็นเท่าทวี แต่พอมาถึงรุ่นของลิซานิอัส 
พ่อของข้าฯ นี่ซิ ทรัพย์สินที่ได้ตกทอดมาจากตานั้นก็ร่อยหรอลงจนเหลือน้อย 
กว่าที่ข้าฯ มีเวลานี้เสียอีก สĽำหรับข้าฯ นะโสคราตีส ขอเพียงข้าฯ สามารถส่งทอด 
มรดกแก่ลูกหลานให้ได้มากกว่าจĽำนวนที่ได้รับมาสักเล็กน้อย ข้าฯ ก็คงนอน 
[329e] 
[330a] 
[330b]
12 : รีพับลิก 
ตายตาหลับแล้วล่ะ” 
“อืม อันที่จริง สาเหตุที่ข้าฯ ถามท่านเช่นนั้น” ข้าฯ พูด “เพราะดูเหมือนท่าน 
จะมิได้รักใคร่ในเงินทองเสียเท่าไร และคนส่วนใหญ่ที่ไม่จĽำเป็นต้องหาเงินเอง 
ก็มักมีลักษณะเช่นเดียวกับท่าน เท่าที่ข้าฯ เห็นมา คนที่ต้องสร้างความมั่งมีขึ้น 
ด้วยตัวเองนั้น มักจะยึดติดกับทรัพย์สมบัติมากกว่าคนที่ไม่ต้องสร้างเองอยู่ 
เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว เหมือนกวีที่หลงรักบทกลอนของตัวเอง หรือเหมือนบิดา 
ที่หลงรักบุตรนั่นล่ะ คนทĽำมาค้าขายที่สร้างความมั่งมีขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ย่อม มิได้รักเงินทองเพียงเพราะว่ามันนĽำไปใช้ประโยชน์ได้ เหมือนที่คนทั่วไปเข้าใจ 
กันเท่านั้น หากแต่พวกเขายังรักมันเพราะเป็นสิ่งซึ่งพวกเขาสร้างขึ้นมากับมือ 
อีกด้วย และนี่ก็คือสาเหตุที่ทĽำให้คนพวกนี้ไม่ค่อยน่าคบเสียเท่าไร เพราะพวกเขา 
มักไม่ยินดีสรรเสริญสิ่งใดนอกจากเงิน” 
“เป็นจริงตามนั้น” เขากล่าว 
“ก็แน่ล่ะ แต่ท่านช่วยตอบข้าฯ อีกสักเรื่องหนึ่งได้ไหม” ข้าฯ พูด “ท่านคิดว่า 
ความรĽ่ำรวยนั้นให้คุณความดีแก่ชีวิตท่านในด้านใดมากที่สุด?” 
“คĽำตอบของข้าฯ คงโน้มน้าวคนหมู่มากไม่ได้นะ” เขากล่าว “แต่เจ้ารู้อะไรไหม 
โสคราตีส คนเราพอเริ่มตระหนักได้ว่าจุดจบของชีวิตใกล้จะมาถึง ทั้งความกลัว 
ความวิตกกังวลต่างๆ นานาก็จะประเดประดังเข้ามาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน 
ช่วงเวลานี้ละ ทั้งตĽำนานของดินแดนฮาดีส16 ทั้งเรื่องราวของโทษทัณฑ์ซึ่งผู้ไร้ 
ความเที่ยงธรรมจักต้องได้รับในโลกหน้า และอีกสารพัดเรื่องราวที่ครั้งหนึ่ง 
พวกเขาเคยหัวเราะเยาะ สิ่งเหล่านี้จะแล่นตรงเข้ามากัดกร่อนจิตวิญญาณของ 
พวกเขาด้วยความกลัวว่ามันจะกลายเป็นจริงเข้าสักวัน และไม่ว่าเป็นเพราะ 
ความอ่อนไหวของวัยชรา หรือด้วยความหวาดกลัวแดนนรกที่เคลื่อนคล้อยใกล้ 
เข้ามาทุกขณะ หรือจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม คนเหล่านี้จะมีแต่ความตื่นตระหนก 
พวกเขาจะเริ่มหันมาสĽำรวจตัวเองว่า ชีวิตนี้เราเคยได้ก่อความไม่เที่ยงธรรม 
กับใครเอาไว้บ้างหรือเปล่าหนอ และถ้าบังเอิญพวกเขาพบความไม่เที่ยงธรรม 
ในชีวิตของตัวเองที่ผ่านมาเข้าล่ะก็ ฝันร้ายก็จะติดตามหลอกหลอนพวกเขาไป 
[330c] 
[330d] 
[330e]
เพลโต : 13 
ทุกคĽ่ำคืน พวกเขาจะสะดุ้งตื่นขึ้นยามวิกาลด้วยความหวาดหวั่น อย่างกับเด็ก 
ตัวเล็กๆ ยังไงยังงั้น วันๆ จะเอาแต่ตั้งตาคอยว่าเมื่อใดจะมีสิ่งชั่วร้ายเกิดขึ้น 
อีกบ้าง อย่างไรก็ตาม สĽำหรับคนที่ใช้ชีวิตเที่ยงธรรมมาโดยตลอด พวกเขาจะมี 
แต่ความหวังหวานชื่นแสนงดงามคอยยืนอยู่เคียงข้าง เป็นพยาบาลผู้ดูแล ยามแก่ชราอย่างที่พินดารัส17ได้รจนาไว้นั่นอย่างไร โอ้! กวีผู้นี้กล่าวไว้จับใจ 
มากทีเดียวนะโสคราตีส เขาว่าผู้ใดใช้ชีวิตเปี่ยมด้วยความเที่ยงธรรมและ 
สุทธิธรรม...18 
คนผู้นั้นย่อมมีความหวังหวานชื่นในหัวใจ 
เฝ้าอยู่เคียงข้างเป็นพยาบาลยามชรา 
ความหวังเอย เจ้าเป็นดั่งต้นหนคอยนĽำทาง 
ดวงวิญญาณในวังวนแห่งความเหนื่อยล้า19 
พินดารัสกล่าวไว้ได้เยี่ยมมาก เจ้าว่าไหม ความมั่งมีนั้นมอบคุณความดีให้แก่ 
ข้าฯ ตรงนี้ล่ะ ข้าฯ คิดว่าเงินทองนั้น มันสร้างประโยชน์สูงสุดให้ได้แต่เฉพาะกับคน 
ที่มีระเบียบเรียบง่าย พึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ความรĽ่ำรวยจะช่วยคุ้มครองให้เรา 
สามารถรอดพ้นจากการต้องโกหกคดโกง หรือลวงหลอกบุรุษอื่นๆ โดยที่เราไม่ 
เต็มใจได้ และนอกจากนี้ มันยังช่วยรักษาให้เราหายขาดจากอาการหวาดกลัว 
โลกหลังความตายด้วย เพราะเราจะไม่ติดหนี้สินเงินทองกับมนุษย์คนไหน และไม่ 
ติดค้างการถวายบูชากับเทพเจ้าองค์ใดอีก แน่นอนว่า เงินทองนั้นยังมีประโยชน์ 
อื่นๆ อีกมากมาย แต่เมื่อได้นĽำมาชั่งนĽ้ำหนักเปรียบเทียบกันดูแล้ว ข้าฯ เห็นว่า 
คุณประโยชน์ของความมั่งมี มันจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่ออยู่ในมือของบุรุษผู้มีความ 
เข้าใจเท่านั้นโสคราตีส” 
“ท่านพูดได้ยอดเยี่ยมมากเคฟาลัส” ข้าฯ พูด “เมื่อครู่ข้าฯ ได้ยินท่านพูดถึง 
ความเที่ยงธรรม20 ท่านบอกว่ามันหมายถึงการพูดแต่ความจริงตามที่เป็น และ 
ชดใช้ในสิ่งที่เราติดค้างใช่ไหม? แต่มันจะเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือเปล่า หรือ 
[331a] 
[331b] 
[331c]
14 : รีพับลิก 
บางครั้งเป็นความเที่ยงธรรม แต่บางคราก็ไร้ความเที่ยงธรรม? ข้าฯ หมายความ 
อย่างนี้นะ ยกตัวอย่างเช่น มีชายสติดีผู้หนึ่งให้เพื่อนของตนยืมอาวุธไปใช้ 
แต่ต่อมา ชายผู้นี้เกิดเป็นบ้า และทวงอาวุธของตนคืนจากเพื่อน ข้าฯ ว่าเราทุกคน 
คงเห็นด้วยแน่ๆ ว่าเพื่อนของเขาย่อมไม่ควรคืนอาวุธให้แก่ชายเสียสติ และการ 
คืนอาวุธให้แก่เขาในกรณีนี้ก็ย่อมไม่ใช่ความเที่ยงธรรม นอกจากนั้น การพูดแต่ 
ความจริงตามที่เป็นเสียทั้งหมดกับชายผู้นี้ โดยไม่ปิดบังก็คงไม่ใช่สิ่งที่ควรทĽำ 
เช่นกันใช่ไหม?” 
“ใช่ ที่เจ้าว่ามาก็ถูก” เขาพูด 
“เมื่อเป็นเช่นนี้ คĽำจĽำกัดความ21ของความเที่ยงธรรมก็ย่อมไม่ใช่การพูดแต่ 
ความจริงตามที่เป็น และใช้คืนในสิ่งที่เราได้หยิบยืมมาเป็นแน่” 
“คĽำจĽำกัดความนั้นถูกต้องแน่นอน โสคราตีส!” โพเลมาร์คัสพูดแทรกขึ้น 
“ถ้าเราเชื่อในคĽำกล่าวของซิโมนิดีส22นะ” 
“โอ้! พอดีเลย” เคฟาลัสพูด “ข้าฯ ขอยกการสนทนาให้เจ้าต่อเลยแล้วกัน 
เพราะข้าฯ จะต้องไปดูแลงานพิธีต่อแล้ว” 
“แหม ก็ข้าฯ นั้นถือเป็นผู้สืบทอดทุกสิ่งอย่างจากท่านอยู่แล้วไม่ใช่หรือ?” 
โพเลมาร์คัสกล่าว 
“ใช่ ใช่ แน่อยู่แล้ว” เขาพูดพลางหัวเราะ จากนั้นจึงลุกเดินออกไปยังลาน พิธีบูชา 
“เอาล่ะ เจ้าเป็นผู้รับช่วงต่อการสนทนาสินะ งั้นก็ถึงตาเจ้าแล้ว” ข้าฯ กล่าว 
“ไหนบอกมาซิ ว่าซิโมนิดีสพูดถึงความเที่ยงธรรมเอาไว้ว่าอย่างไร อันที่เจ้าบอกว่า 
มันถูกต้องน่ะ?” 
“เขากล่าวว่า ความเที่ยงธรรมคือการจ่ายคืนทุกสิ่งที่เราติดค้าง”23 เขาตอบ 
“และในทัศนะของข้าฯ เขาก็อธิบายมันได้อย่างยอดเยี่ยม” 
“อืม การจะปฏิเสธคนอย่างซิโมนิดีสย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายเสียเท่าไร” ข้าฯ พูด 
“เพราะเขาเป็นถึงผู้มีปัญญาทัดเทียมเทพเจ้านี่นะ แต่พูดก็พูดเถอะ ที่เขาว่ามา 
นั่นน่ะมันหมายความว่าอะไรกันแน่? ข้าฯ เองก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรเหมือนกัน 
[331d] 
[331e]
เพลโต : 15 
บางทีเจ้าอาจจะเข้าใจมันดีกว่าข้าฯ ก็ได้นะโพเลมาร์คัส แต่ที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่ง 
แน่ๆ ก็คือเขาคงไม่ได้ตั้งใจให้มันหมายถึงสิ่งที่เราเพิ่งพูดกันไปเมื่อสักครู่ ที่ว่า 
ความเที่ยงธรรมคือการให้คืนในสิ่งที่เราขอยืมมา ถึงแม้ว่าคนที่ให้เรายืมจะกลาย 
เป็นคนเสียสติไปแล้วก็ตาม คงไม่ใช่ความหมายนี้แน่ แต่ถึงอย่างนั้น สิ่งของที่ 
คนเขาให้เรายืมมาก็ย่อมต้องเป็นสิ่งที่เราจะต้องใช้คืนอยู่ดีใช่ไหมล่ะ?” 
“ใช่” 
“แต่ก็แน่นอน ว่าถ้าเขามาทวงคืนตอนสติไม่ดี เราก็ไม่สมควรคืนให้เขา เหมือนกันใช่ไหม?” 
“ย่อมเป็นจริงตามนั้น” เขาพูด 
“ถ้าเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่า ตอนซิโมนิดีสบอกว่า ความเที่ยงธรรมคือการจ่ายคืน 
ทุกสิ่งที่เราติดค้างนั้น เขาก็น่าจะตั้งใจสื่อความหมายต่างไปจากนี้น่ะสิ” 
“ก็ต้องเป็นคนละความหมายกันอยู่แล้วล่ะ เทพซุสเป็นพยานได้เลย” เขากล่าว 
“เพราะซิโมนิดีสมองว่า เพื่อนกันย่อมมีพันธะติดค้างต้องมอบคุณความดีแก่กัน 
และกัน ไม่ใช่มอบความเลวร้ายให้กัน” 
“อ้อ! เป็นเช่นนั้นหรอกรึ” ข้าฯ พูด “งั้นสมมติว่าเรายืมทองคĽำของเพื่อนไปใช้ 
แล้วต่อมาพบว่า หากเรานĽำทองคĽำจĽำนวนนี้ไปคืน ผลร้ายบางประการก็จะเกิด 
แก่เขาได้ ในกรณีเช่นนี้ การไม่นĽำทองคĽำไปคืน ย่อมนับเป็นเรื่องสมควรอยู่ 
เจ้ากĽำลังจะบอกว่าซิโมนิดีสหมายความว่าอย่างนี้ใช่ไหม?” 
“ใช่แล้ว” 
“แล้วในกรณีของศัตรูล่ะ? เราควรชดใช้สิ่งที่เราติดค้างศัตรูด้วยหรือเปล่า?” 
“ควรต้องจ่ายสิ” เขาพูด “เราควรชดใช้สิ่งที่ติดค้างกับศัตรูด้วยเช่นกัน และข้าฯ 
ก็เห็นด้วยว่า สิ่งที่พวกศัตรูได้ชดใช้แก่กันอย่างสาสมนั้นก็มีอยู่เพียงอย่างเดียว 
คือการประทุษร้ายอย่างไรล่ะ” 
“ถ้าเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่า” ข้าฯ พูด “ซิโมนิดีสต้องการนิยามความเที่ยงธรรม 
ของตัวเองให้ฟังดูเป็นปริศนาตามแบบฉบับของพวกกวีนั่นเองสินะ เพราะไปๆ 
มาๆ ก็ดูราวกับว่าในความคิดของเขานั้น ความเที่ยงธรรมน่าจะหมายถึงการ 
[332a] 
[332b] 
[332c]
16 : รีพับลิก 
ให้ในสิ่งที่สาสม หรือในสิ่งที่สมควรแก่คนรอบๆ ตัวเสียมากกว่า และเขาก็เรียก 
เจ้าสิ่งนี้ว่า ‘สิ่งที่เราติดค้าง’” 
“โธ่เอ๋ย! ก็แล้วท่านคิดว่าเขาหมายความอย่างไรได้อีกล่ะ?” เขากล่าว 
“อ้อ! ในนามของเทพซุส” ข้าฯ พูด “งั้นเจ้าว่าเขาจะตอบอย่างไร หากมีคนถาม 
ว่า ‘ซิโมนิดีส ศิลปะเฉพาะทาง24ที่เรียกว่าการแพทย์นั้น ติดค้างอะไรต่อสิ่งใด 
หรือสมควรต้องให้ อะไร แก่ สิ่งใด ?’” 
“ก็ชัดเจนอยู่แล้วนี่” เขาพูด “มันก็สมควรต้องให้แด่ยารักษาโรค อาหาร และเครื่องดื่มเสริมสุขภาพร่างกายอย่างไรล่ะ” 
“แล้วศิลปะที่เรียกว่าการปรุงอาหารล่ะ มันสมควรต้องให้อะไรแก่สิ่งใด?” 
“ให้เครื่องปรุงแก่อาหาร” 
“งั้นถ้าเป็นศิลปะเฉพาะทางด้านความเที่ยงธรรมล่ะ? มันติดค้างอะไร 
ต่อใคร หรือสมควรต้องให้อะไรแก่ผู้ใด?” 
“ถ้าจะว่ากันตามที่ตอบๆ ไปเมื่อครู่นี้นะโสคราตีส” เขาพูด “ก็คงต้องบอกว่า 
มันให้ประโยชน์แก่สหาย และให้อันตรายแก่ศัตรู” 
“อ้อ! งั้นซิโมนิดีสก็มองว่าความเที่ยงธรรมหมายถึงการให้คุณความดีแก่ สหาย และให้ความฉิบหายแก่ศัตรูสินะ อย่างนั้นใช่ไหม?” 
“ใช่ ตามทัศนะของข้าฯ” 
“แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นเรื่องสุขภาพกับโรคภัยไข้เจ็บ เจ้าคิดว่าใครจะมอบ คุณความดีแก่มิตรสหายผู้เจ็บไข้ และให้ความฉิบหายให้แก่ศัตรูได้อย่างมี ประสิทธิภาพที่สุด?” 
“ก็แพทย์ไง” 
“แล้วถ้าทั้งสหายและศัตรู ต่างกĽำลังเผชิญภยันตรายท่ามกลางเกลียวคลื่นล่ะ? 
เจ้าคิดว่าใครจัดการเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด?” 
“ต้นหนเรือ” 
“แล้วถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความเที่ยงธรรมล่ะ? เจ้าคิดว่าในสถานการณ์ 
ลักษณะไหน และในหน้าที่แบบใด เขาจึงจะสร้างคุณประโยชน์แก่มิตรสหาย 
[332d] 
[332e]
เพลโต : 17 
และสร้างความฉิบหายแก่ศัตรูได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด?” 
“ก็คงเป็นในสถานการณ์สงคราม แล้วก็ทĽำหน้าที่สร้างกองทัพพันธมิตร กระมัง ตามทัศนะของข้าฯ นะ” 
“อืม แต่อย่างไรก็ดีนะโพเลมาร์คัส สĽำหรับคนที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไร แพทย์ ก็ไม่ได้มีประโยชน์ต่อพวกเขาเสียเท่าไหร่ จริงไหม?” 
“จริงตามนั้น” 
“และสĽำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการจะลงเรือ ต้นหนเรือก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน” 
“ใช่” 
“งั้นถ้าไม่ได้มีสงคราม ความเที่ยงธรรมก็ไร้ประโยชน์? อย่างนั้นหรือเปล่า?” 
“เฮ้ย! ดูเหมือนจะไม่ใช่แล้ว” 
“ความเที่ยงธรรมยังคงมีประโยชน์ แม้ในยามสงบใช่ไหม?” 
“ใช่ มันมีประโยชน์” 
“ศิลปะการกสิกรรมก็มีประโยชน์เหมือนกันใช่ไหม?” 
“ใช่” 
“และประโยชน์ที่ว่าคือการผลิตพืชผักผลไม้จากผืนดินใช่ไหม?” 
“ใช่” 
“ศิลปะการทĽำรองเท้าก็มีประโยชน์เช่นกันใช่ไหม?” 
“ใช่” 
“และประโยชน์ของมันก็คือการผลิตรองเท้า เจ้าเห็นว่าอย่างนั้นไหม?” 
“แน่นอน” 
“เอ้า! ถ้างั้น แล้วความเที่ยงธรรมล่ะ? มันมีประโยชน์อย่างไรบ้างในยามสงบ? 
มันให้ผลผลิตอะไรหรือ?” 
“มันก็ให้ประโยชน์ในการทĽำสัญญาต่างๆ ไงโสคราตีส” 
“หืม? สัญญาที่เจ้าว่า หมายถึงการจับมือเป็นหุ้นส่วนใช่ไหม?” 
“ใช่ ข้าฯ หมายถึงหุ้นส่วน” 
“ถ้างั้นระหว่างหุ้นส่วนที่เป็นคนเที่ยงธรรมกับหุ้นส่วนที่เป็นนักเล่นหมากรุก25 
[333a] 
[333b]
18 : รีพับลิก 
คนไหนมีประโยชน์และคุณความดีในเกมหมากรุกมากกว่ากัน?” 
“ก็ต้องนักเล่นหมากรุกสิ” 
“แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นเรื่องก่ออิฐฉาบปูนล่ะ คนเที่ยงธรรมมีคุณประโยชน์ มากกว่านายช่างผู้ชĽำนาญการก่ออิฐหรือเปล่า?” 
“เปล่าเลย” 
“งั้นในทĽำนองเดียวกัน หุ้นส่วนที่ชĽำนาญการดีดไลร์26ก็ย่อมต้องดีดตัวโน้ต 
ได้ดีกว่าหุ้นส่วนที่มีแต่ความเที่ยงธรรมใช่ไหม? เมื่อเป็นเช่นนี้ คนเที่ยงธรรมจะ 
ทĽำประโยชน์ได้มากกว่านักดีดไลร์หรือช่างก่ออิฐในด้านใดบ้างล่ะ?” 
“ดูเหมือนจะเป็นด้านการเงินนะ” 
“แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องการ ใช้ เงินแน่ๆ สหายโพเลมาร์คัส เพราะถ้าเจ้าต้องการ 
ร่วมทุนกับหุ้นส่วนเพื่อซื้อหรือขายม้า ข้าฯ ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ม้าก็น่าจะ 
เป็นหุ้นส่วนที่ดีกว่าใช่ไหม?” 
“ก็น่าจะใช่นะ” 
“และในทĽำนองเดียวกัน ถ้าเจ้าต้องการร่วมหุ้นซื้อเรือสักลĽำ ช่างต่อเรือ 
หรือไม่ก็ต้นหนน่าจะเป็นหุ้นส่วนที่ดีกว่า?” 
“ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” 
“ถ้าอย่างนั้น ยังมีการใช้เงินในลักษณะใดบ้าง ที่คนเที่ยงธรรมจะเป็นหุ้นส่วน 
ผู้มีประโยชน์มากกว่าบุคคลอื่น?” 
“คงเป็นการเก็บรักษาเงินไว้ในที่ปลอดภัยที่สุดกระมังโสคราตีส” 
“เจ้าหมายถึงในเวลาที่ไม่ต้องการนĽำเงินมาใช้ และวางทิ้งมันไว้เฉยๆ อย่างนั้น 
ใช่ไหม?” 
“ใช่แล้ว” 
“ถ้าอย่างนั้น ก็แปลว่าความเที่ยงธรรมจะมีประโยชน์ที่สุด ในเวลาที่เงินทอง 
ไร้ประโยชน์ที่สุด?” 
“ข้าฯ เกรงว่าคงเป็นอย่างนั้น” 
“งั้นถ้าเปลี่ยนจากเงินเป็นมีดตอนกิ่ง ในยามที่เจ้าเก็บรักษามันเอาไว้ ไม่ได้ 
[333d] 
[333c]
เพลโต : 19 
ใช้งาน ความเที่ยงธรรมก็จะมีประโยชน์ ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม แต่เมื่อใดก็ตาม 
เจ้าต้องการหยิบมีดเล่มนี้มาใช้ ตอนนั้นศิลปะด้านการตัดแต่งต้นไม้ก็จะมี 
ประโยชน์มากกว่าขึ้นมาทันใด ใช่หรือไม่?” 
“ก็น่าจะใช่” 
“งั้นในทĽำนองเดียวกัน เจ้าคงเห็นด้วยว่า เวลาเจ้าต้องการเก็บรักษาโล่ หรือ 
ไลร์ไว้ในที่ปลอดภัย และยังไม่อยากนĽำมันมาใช้ ตอนนั้นความเที่ยงธรรมจึงจะ 
มีประโยชน์ แต่ถ้าเจ้าต้องการจะนĽำพวกมันมาใช้เมื่อไร ศิลปะด้านการทหารกับ 
การดนตรีก็จะมีประโยชน์มากกว่า?” 
“นั่นย่อมเลี่ยงไม่ได้” 
“และสิ่งของอื่นๆ ก็เป็นเช่นนี้ใช่ไหม? ความเที่ยงธรรมจะไร้ประโยชน์ขึ้น มาทันใด หากสิ่งเหล่านั้นถูกนĽำมาใช้งาน แต่มันกลับจะมีประโยชน์ขึ้นมาใน บัดดล หากสิ่งเหล่านั้นถูกนĽำไปเก็บ?” 
“ก็คงอย่างนั้น” 
“ถ้าเป็นอย่างนี้นะสหาย ความเที่ยงธรรมก็ไม่ได้มีคุณค่าอะไรเท่าไรเลย 
เพราะมันจะมีประโยชน์ได้ในเวลาที่สิ่งอื่นๆ ไร้ประโยชน์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามที 
เจ้าลองมองมุมนี้ดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการชกมวย หรือศิลปะการต่อสู้อื่นใด 
ผู้เก่งกาจด้านการออกหมัดมากที่สุด ย่อมต้องเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ด้านการตั้งรับด้วย 
ถูกต้องไหม?” 
“แน่นอน” 
“และผู้เชี่ยวชาญการป้องกันโรคที่สุดย่อมต้องแพร่กระจายโรคเหล่านั้นได้ 
อย่างแนบเนียนที่สุดด้วย?” 
“อย่างน้อยก็ในทัศนะของข้าฯ ล่ะ” 
“และผู้มีความเป็นเลิศด้านการพิทักษ์ค่ายทัพก็ย่อมต้องรู้จักล้วงความลับ 
แผนการของข้าศึกและอื่นๆ ได้อย่างดีที่สุดด้วย?” 
“แน่นอน” 
“งั้นผู้พิทักษ์อันเก่งกาจ ก็ย่อมต้องเป็นหัวขโมยผู้ชĽ่ำชองชĽำนาญด้วยเช่นกัน?” 
[333e] 
[334a]
20 : รีพับลิก 
“ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” 
“และทĽำนองเดียวกัน หากคนผู้หนึ่งชĽำนาญด้านการเก็บรักษาเงิน เขาก็ต้อง 
เก่งกาจด้านการลักขโมยงัดแงะด้วย?” 
“ถ้าว่ากันตามตรรกะนี้ก็คงใช่” เขาพูด 
“ถ้าอย่างนั้นก็ดูเหมือนว่าคนเที่ยงธรรมคือโจรดีๆ นี่เองน่ะสิ หึ! เจ้าคงได้ 
ความคิดประเภทนี้มาจากโฮเมอร์แน่ๆ โฮเมอร์น่ะ สรรเสริญอาวโทลิคัส ผู้เป็นตา 
ของโอดิสซิอัส เขาบอกว่าอาวโทลิคัสนั้นมีความเก่งกาจเหนือคนทั้งปวง ‘ทั้งด้าน 
โจรกรรมและคĽำสบถ’27 เอาล่ะ งั้นทั้งเจ้า ทั้งโฮเมอร์ และทั้งซิโมนิดีส ต่างก็มีทัศนะ 
ตรงกันสินะว่า ความเที่ยงธรรมนั้นเป็นศิลปะด้านการลักขโมยแขนงหนึ่งซึ่ง 
สร้างประโยชน์แก่มิตรสหาย และสร้างความฉิบหายแก่ศัตรู เจ้าหมายความว่า 
อย่างนี้ใช่ไหม?” 
“เฮ้ย! ไม่ใช่ๆ เทพซุสเป็นพยานที” เขาพูด “เอาเป็นว่าข้าฯ ไม่รู้แล้วว่าสิ่งที่ 
ข้าฯ พูดๆ ไปมันหมายความว่าอย่างไรบ้าง ข้าฯ ไม่รู้แล้ว แต่ข้าฯ ก็ยังคงมีทัศนะ 
เช่นเดิมอยู่นะ ว่าความเที่ยงธรรมนั้นคือการให้ความช่วยเหลือแก่มิตรสหายและ 
ก่ออันตรายแก่ศัตรู” 
“พูดถึงมิตรสหาย คĽำว่ามิตรสหายของเจ้าหมายถึงคนที่ดูเหมือนจะดีต่อเรา 
หรือคนที่ดีต่อเราจริงๆ แต่เราอาจไม่รู้กันแน่? และความหมายของศัตรูก็ต้อง 
ถามในทĽำนองเดียวกันนี้ด้วย” 
“ข้าฯ ว่า” เขาพูด “เราย่อมรักคนที่เรา เชื่อ ว่าดีต่อเรา และเกลียดคนที่เรา 
พิจารณาแล้วว่าจะนĽำความเลวร้ายมาให้” 
“แต่มนุษย์ก็ทĽำพลาดในเรื่องทĽำนองนี้อยู่บ่อยๆ นะ คนจĽำนวนมากมักมี ทัศนคติว่าคนนั้นคนนี้ทĽำดีกับตน แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น และ ในทางกลับกันก็ด้วย พวกเขามักมองศัตรูพลาดไปเช่นกัน” 
“พวกเขาก็พลาดจริงๆ นั่นแหละ” 
“พอเป็นอย่างนี้ พวกเขาก็มักจะได้คนดีเป็นมาศัตรู และได้คนเลวมาเป็นมิตร 
ใช่ไหม?” 
[334c] 
[334b]
เพลโต : 21 
“ใช่” 
“และเมื่อเป็นเช่นนี้ ความเที่ยงธรรมก็จะกลายเป็นการสร้างประโยชน์แก่ คนเลวร้ายและสร้างฉิบหายแก่คนดีไปในทันทีใช่ไหม?” 
“ก็น่าจะใช่นะ” 
“แต่คนดีย่อมมีความเที่ยงธรรมเสมอ และจะไม่กระทĽำสิ่งที่ปราศจากความ 
เที่ยงธรรมเป็นอันขาด จริงไหม?” 
“จริงตามนั้น” 
“อ้าว! งั้นถ้าว่ากันตามตรรกะของเจ้า การสร้างความฉิบหายแก่ผู้ไม่เคย ก่อความไม่เที่ยงธรรมเลยนับเป็นการกระทĽำอันเที่ยงธรรมอย่างหนึ่งน่ะสิ?” 
“โอ๊ย! ใช่เสียทีไหนเล่าโสคราตีส” เขาพูด “ดูเหมือนตรรกะของข้าฯ จะยังไม่ 
ดีพอสินะ” 
“งั้นเอาอย่างนี้” ข้าฯ กล่าว “เจ้ามองว่า การก่ออันตรายแก่ผู้ไร้ความเที่ยงธรรม 
และมอบประโยชน์แก่ผู้เที่ยงธรรมนับเป็นความเที่ยงธรรมหรือไม่?” 
“อย่างน้อยมันก็ฟังดูเข้าท่ากว่าอันเมื่อครู่นี้” 
“ถ้าเช่นนั้นนะโพเลมาร์คัส สĽำหรับคนหมู่มาก28 – ซึ่งเป็นมนุษย์ผู้ทĽำผิดพลาด 
กันอยู่เสมอ – การก่ออันตรายแก่สหายที่ตนเห็นว่าเลวย่อมเป็นความเที่ยงธรรม 
และการสร้างประโยชน์แก่ศัตรูที่ตนเห็นว่าดีนั้นต้องเป็นความเที่ยงธรรมด้วย 
เป็นอย่างไรล่ะ ข้อสรุปนี้ตรงกันข้ามกับนิยามของซิโมนิดีสโดยสิ้นเชิงเลยทีเดียว” 
“เป็นเช่นนั้นจริงๆ นั่นแหละ” เขากล่าว “แต่ข้าฯ ว่า เราน่าจะกลับไปแก้นิยาม 
ของมิตรสหายกับศัตรูกันเสียใหม่นะ เพราะดูท่านิยามของมันจะยังคงไม่ถูกต้อง 
เสียเท่าไร” 
“เจ้าจะแก้มันว่าอย่างไรล่ะ โพเลมาร์คัส?” 
“เมื่อกี้เราบอกว่า มิตรสหายคือคนที่ ดูเหมือนว่า ดีต่อเราใช่ไหม?” 
“อืม แล้วเราควรจะเปลี่ยนมันเป็นอะไร?” ข้าฯ พูด 
“นอกจากจะดูเหมือนว่าดีแล้ว เขายังต้องดีจริงๆ ด้วย อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า 
สหาย” เขาพูด “ส่วนคนที่ดูเหมือนว่าดี แต่กลับไม่ได้ดีต่อเราจริงๆ นั้นเป็นได้ 
[334d] 
[334e]
22 : รีพับลิก 
แค่คนที่ ดูเหมือน จะเป็นสหายเท่านั้นเอง ไม่ใช่สหายจริงๆ หรอก และนิยามของ 
ศัตรูก็ทĽำนองเดียวกัน” 
“งั้นถ้าว่ากันด้วยตรรกะนี้ ก็ดูเหมือนว่า สหายย่อมต้องเป็นคนที่ดีต่อเราเสมอ 
และศัตรูก็ย่อมต้องเป็นคนที่ไม่เคยดีต่อเราเลยใช่ไหม?” 
“ใช่” 
“นั่นคือเจ้าต้องการจะปรับแก้นิยามของความเที่ยงธรรมที่เพิ่งว่ากันไปเมื่อ ครู่ – หยิบยื่นคุณความดีแก่มวลมิตรและส่งมอบความฉิบหายแก่ศัตรู – โดย 
ต้องการแก้ใหม่ว่า ความเที่ยงธรรมคือการหยิบยื่นคุณความดีแก่สหาย ที่ดี และ 
ส่งมอบอันตรายแก่ศัตรู ที่เลว อย่างนี้ใช่ไหม?” 
“ใช่เลย” เขาพูด “อย่างนี้ล่ะ ค่อยฟังดูเข้าท่าขึ้นมาหน่อย อย่างน้อยก็ตาม ทัศนะของข้าฯ นะ” 
“แล้วบุรุษผู้มีความเที่ยงธรรม” ข้าฯ กล่าว “ยังมีหน้าที่ต้องสร้างความฉิบหาย 
ให้แก่มนุษย์ผู้ใดบ้างหรือเปล่า?” 
“มีสิ” เขาพูด “เขาต้องทĽำลายล้างคนเลวและศัตรูของเขาไง” 
“เหรอ แล้วถ้าเราทĽำร้ายม้า ม้าตัวนั้นจะดีขึ้นหรือเลวลง?” 
“ก็ต้องเลวลงสิ” 
“เลวลงที่ว่านี่วัดด้วยความดีงาม29ของม้าหรือของหมาล่ะ?” 
“ของม้าสิ” 
“ในทĽำนองเดียวกัน ถ้าหมาโดนทĽำร้าย มันก็ย่อมต้องเลวลงเช่นเดียวกัน โดยวัดจากความดีงามของหมา ไม่ใช่ม้า?” 
“นั่นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้” 
“และเราก็พูดอะไรทĽำนองนี้กับมนุษย์ด้วยใช่หรือเปล่า สหาย? เมื่อคนผู้หนึ่ง 
ถูกทĽำร้าย เขาย่อมต้องแย่ลงโดยวัดจากความดีงามของมนุษย์” 
“ถูกต้อง” 
“ความเที่ยงธรรมก็เป็นความดีงามของมนุษย์ใช่ไหม?” 
“นี่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกเช่นกัน” 
[335b] 
[335c] 
[335a]
เพลโต : 23 
“สหายน้อย ถ้าเช่นนั้นยิ่งมนุษย์เราถูกทĽำร้ายมากเท่าไร เขาก็จะยิ่งมีความ เที่ยงธรรมน้อยลงมากเท่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้30อย่างนั้นสิ?” 
“ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” 
“อืม แล้วเจ้าว่านักดนตรีสามารถใช้ดนตรีทĽำให้คนคนหนึ่งมีความชĽำนาญ ทางดนตรีลดลงได้หรือเปล่า?” 
“ไม่ได้หรอก” 
“แล้วนักขี่ม้าล่ะ? พวกเขาสามารถใช้วิชาขี่ม้าทĽำให้คนที่ขี่ม้าเป็นกลายเป็น 
คนขี่ไม่เป็นได้หรือเปล่า?” 
“ก็ไม่ได้เหมือนกัน” 
“ถ้าอย่างนั้นคนที่มีความเที่ยงธรรมจะสามารถใช้ความเที่ยงธรรมของตน 
ทĽำให้ผู้อื่นกลายเป็นคนไร้ความเที่ยงธรรมได้หรือเปล่า? หรือพูดง่ายๆ คือ คนดี 
สามารถใช้ความดีงามของตนเปลี่ยนผู้อื่นให้กลายเป็นคนเลวได้หรือเปล่า?” 
“เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด” 
“อืม ความร้อนย่อมไม่มีหน้าที่ในการผลิตความเย็น เพราะฉะนั้นการผลิต 
ความเย็นเป็นหน้าที่ของสิ่งซึ่งตรงข้ามกับความร้อนใช่ไหม?” 
“ใช่” 
“ความแห้งก็ไม่มีหน้าที่ในการสร้างความชื้น เพราะการสร้างความชื้นนั้น เป็นหน้าที่ของสิ่งตรงข้ามใช่ไหม?” 
“แน่ล่ะ” 
“ในทĽำนองเดียวกัน ความดีก็ย่อมไม่มีหน้าที่ในการทĽำร้ายสิ่งใด การทĽำร้ายนั้น 
เป็นหน้าที่ของสิ่งตรงข้าม” 
“ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น” 
“และคนเที่ยงธรรมก็เป็นคนดี?” 
“แน่นอน” 
“ถ้าเป็นไปตามนี้นะโพเลมาร์คัส คนเที่ยงธรรมย่อมไม่มีหน้าที่ในการทĽำร้าย 
สหายหรือทĽำร้ายใครทั้งนั้นแหละ การทĽำร้ายผู้อื่นย่อมเป็นหน้าที่ของคน 
[335d]
24 : รีพับลิก 
ประเภทตรงข้าม นั่นก็คือคนไม่เที่ยงธรรม ถูกไหม?” 
“ตามทัศนะของข้าฯ โสคราตีส” เขากล่าว “ท่านพูดได้จริงตามที่มันเป็นมากๆ 
เลยทีเดียว” 
“งั้นต่อไปถ้ามีใครสักคนบอกเราว่า ความเที่ยงธรรมคือการจ่ายคืนทุกสิ่งที่ 
เราติดค้าง และบุรุษผู้มีความเที่ยงธรรมต้องสร้างประโยชน์แก่มิตรสหายและ หยิบยื่นความฉิบหายแก่ศัตรู คนผู้นี้ก็คงไม่ใช่ผู้มีปัญญาเสียเท่าไร นั่นไม่ใช่ 
ความจริงตามที่มันเป็น เพราะพวกเราได้พิสูจน์กันไปเรียบร้อยแล้วว่าการ ทĽำร้ายผู้อื่นนั้นไม่ใช่ความเที่ยงธรรมอย่างแน่นอน เจ้าเห็นด้วยไหม?” 
“อืม ข้าฯ เห็นด้วย” เขากล่าว 
“งั้นเจ้าก็ต้องร่วมมือกับข้าฯ” ข้าฯ พูด “ช่วยกันต่อกรกับพวกที่ชอบอ้าง 
ซิโมนิดีส บิอัส พิททาคัส31 หรือบรรดาบุรุษผู้มีปัญญาและจิตใจสูงลĽ้ำทั้งหลาย ที่เป็นผู้ให้คĽำจĽำกัดความผิดๆ พวกนี้” 
“ข้าฯ คนหนึ่งล่ะ” เขาพูด “พร้อมจะร่วมมือกับท่านในการต่อสู้ครั้งนี้เสมอ”32 
“เจ้ารู้ไหม” ข้าฯ กล่าว “ตามทัศนะของข้าฯ คĽำนิยามความเที่ยงธรรมดังกล่าว – 
ให้ประโยชน์แก่สหาย สร้างความฉิบหายแก่ศัตรู – สมควรจะตกเป็นของใคร?” 
“ใครล่ะ?” 
“ข้าฯ เห็นว่ามันควรเป็นของเพริอันดรัส หรือเพร์ดิคคัส ไม่ก็ของเซอรค์ซีส หรือ 
ของอิสเมนิอัสแห่งธีบส์33 หรือไม่งั้นก็น่าจะเป็นของบุรุษบ้าอĽำนาจคนอื่นๆ ที่มัก 
หลงคิดว่าตัวเองนั้นแกร่งกล้ากว่าใคร” 
“นั่นเป็นความจริงแท้ทีเดียว” เขาพูด 
“งั้นเอาล่ะ” ข้าฯ กล่าว “ในเมื่อชัดเจนแล้วว่าความเที่ยงธรรมและคน 
เที่ยงธรรมนั้นไม่ได้มีนิยามตามที่คนเหล่านี้ว่ามา ถ้าอย่างนั้นแล้ว มันคืออะไร 
กันแน่?” 
ขณะที่พวกเรากĽำลังพูดคุยกันอยู่ ธราซิมาคัสได้พยายามกล่าวแทรกขึ้นมา 
หลายครั้ง เพื่อจะเสนอตรรกะของเขาเข้ามากลางวงสนทนาแลกเปลี่ยนของ 
พวกเรา แต่ทุกครั้งคนนั่งข้างๆ ก็จะรั้งตัวเขาเอาไว้ก่อนอยู่เสมอ เพราะพวกเขา 
[335e] 
[336b] 
[336a]
เพลโต : 25 
อยากจะฟังการสนทนาของพวกเราให้จบเสียก่อน ทว่าหลังจากพวกเราเงียบลง 
ได้เพียงครู่เดียวเท่านั้น เขาก็ทนนิ่งอยู่ต่อไปไม่ไหว ดีดตัวผึงราวกับสัตว์ร้าย 
พร้อมพุ่งเข้าตะครุบเหยื่อ ปรี่ตรงเข้าใส่ด้วยท่าทีราวกับจะฉีกทึ้งพวกเราออก 
เป็นชิ้นๆ โพเลมาร์คัสกับข้าฯ ตกใจจนแทบทĽำอะไรไม่ถูก เมื่อได้ยินเสียงคĽำราม 
ของเขาดังขึ้นว่า 
“โสคราตีส! พวกท่านสองคนพูดอะไรไร้สาระกันอยู่ได้ตั้งนาน? ทĽำตัว อย่างกับพวกไร้สมอง ยอมกันไปยอมกันมาอยู่ได้! ถ้าท่านอยากจะรู้จริงๆ ว่า 
ความเที่ยงธรรมคืออะไร ท่านก็ควรจะเลิกใช้วิธีตั้งคĽำถาม แล้วหักล้างคĽำตอบ 
เสียที การทĽำอย่างนี้มันอาจตอบสนองต่อความรักในเกียรติยศของท่านได้ 
แต่ท่านก็รู้แก่ใจดีมิใช่หรือว่าการถามน่ะ มันง่ายกว่าการตอบ ไหนท่านลองตอบ 
คĽำถามตัวเองดูซิ บอกพวกเราทุกคนตรงนี้หน่อยซิ ว่าความเที่ยงธรรมมันคือ 
อะไร ไม่ใช่มัวแต่ไล่เรียงกันอยู่นั่น อ้อ! ท่านไม่ต้องบอกข้าฯ หรอกนะว่ามันคือ 
ความมีประโยชน์ ความจĽำเป็น การทĽำกĽำไร หรือความได้เปรียบของชีวิต ท่านจง 
บอกออกมาให้มันละเอียด และก็ชี้ให้ชัดลงไปเลยว่าท่านหมายถึงอะไรกันแน่ 
วิธีการไร้สาระของท่านน่ะข้าฯ รับไม่ได้!” 
คĽำพูดของเขาทĽำเอาข้าฯ ผงะ ขณะมองดูเขาตาไม่กะพริบ รู้สึกหวั่นกลัวอยู่บ้าง 
ตอนนั้นข้าฯ คิดว่า ถ้าไม่บังเอิญหันไปเห็นเขาเข้าก่อนที่เขาจะจ้องเขม็งมาทางนี้ 
ตัวข้าฯ คงต้องนิ่งอึ้งพูดอะไรไม่ออกเป็นแน่34 แต่ก็อย่างที่ว่านั่นล่ะ ข้าฯ หันไปเห็น 
เขาตั้งแต่การพูดคุยของเราเริ่มสร้างความรĽำคาญใจให้ ด้วยเหตุนี้ ข้าฯ จึงยังมีแรง 
อ้าปากตอบคĽำถาม ถึงแม้จะสั่นๆ อยู่บ้างเล็กน้อยก็ตาม 
“อย่าได้โกรธเคืองพวกเราเลย ธราซิมาคัส” ข้าฯ กล่าว “ถ้าตรรกะของข้าฯ กับ 
โพเลมาร์คัสมีการคิดพิจารณาอะไรที่ผิดพลาดไปบ้าง พวกเราก็ไม่ได้ตั้งใจหรอก 
ขนาดเวลาที่เราออกค้นหาขุมทอง เรายังไม่ยอมใครเลย เพราะถ้ายอมก็เท่ากับ 
เป็นการทĽำลายโอกาสอันโอชะของตนเอง แต่ความเที่ยงธรรมนั้นมีค่ามากกว่า ขุมทองอีกนะ เราจะยอมกันไปกันมาโดยสะเพร่าอย่างเจ้าว่าได้รึ พวกเราย่อม 
ต้องจริงจังในการค้นหาไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดอยู่แล้ว ขอเจ้าอย่าได้คิดอะไรไป 
[336c] 
[336e] 
[336d]
26 : รีพับลิก 
อย่างนั้นเลยสหาย ข้าฯ อยากให้เจ้ามองว่าพวกเราต่างหากที่ยังมีความสามารถ ไม่มากพอ ฉะนั้นคนเก่งอย่างเจ้าจึงสมควรจะสงสารพวกเราเสียมากกว่าจะมา 
โกรธเคืองกันนะ” 
เมื่อได้ยินดังนั้น เขาก็ส่งเสียงหัวเราะเยาะออกมาดังลั่น ก่อนจะกล่าวขึ้นว่า 
“โอ้ ในนามแห่งเฮราคลีส! นี่คือวาจาย้อนแย้งตามแบบฉบับโสคราตีสสินะ!35 
กะแล้วเชียว กะแล้วเชียว ข้าฯ เพิ่งจะบอกสหายพวกนี้อยู่หลัดๆ ว่าท่านต้อง ไม่ยอมตอบคĽำถามแน่ๆ เพราะเวลามีใครตั้งคĽำถามกับท่านทีไร ท่านก็จะเอา 
แต่พูดจาวกวนไปมา ใช้วาจาย้อนแย้งแทนที่จะให้คĽำตอบกันดีๆ” 
“นั่นเป็นเพราะเจ้าเป็นผู้มีปัญญาต่างหากเล่าสหายธราซิมาคัส” ข้าฯ พูด 
“หากเจ้าถามคนผู้หนึ่งว่า ‘เลขสิบสองนั้นมีค่าเท่าใดได้บ้าง’ แต่ก่อนที่เขาจะตอบ 
เจ้ากลับเตือนเขาล่วงหน้าอย่างรู้เท่าทันว่า ‘มนุษย์เอ๋ยมนุษย์ อย่าบอกนะว่า 
เจ้าจะตอบข้าฯ ว่าสองคูณหก สามคูณสี่ หกคูณสอง หรือสี่คูณสามน่ะ คĽำตอบ 
ไร้สาระพวกนี้ ข้าฯ รับไม่ได้หรอก’ เจ้าเองก็รู้ดีว่าเมื่อเจ้าตั้งกรอบเอาไว้ก่อนเช่นนี้ 
ก็คงจะไม่มีใครตอบอะไรเจ้าได้อีกแน่36 แต่ว่าถ้าคนผู้นั้นเกิดถามเจ้ากลับว่า 
‘เจ้าพูดอะไรน่ะ ธราซิมาคัส เจ้ากĽำลังจะบอกว่า ข้าฯ ไม่สามารถหยิบคĽำตอบ 
เหล่านั้นมาใช้ได้ ต่อให้ว่าหนึ่งนั้นเป็นคĽำตอบที่ถูกต้องก็ตามน่ะหรือ? โอ้! 
ช่างน่าทึ่งเสียจริง! นี่แสดงว่าเจ้าต้องการจะให้ข้าฯ ตอบคĽำตอบอื่นนอกเหนือไป 
จากความจริงตามที่เป็นสินะ? หรือว่าเจ้ากĽำลังพูดถึงสิ่งใดนอกเหนือไปจากนี้?’ 
เอาล่ะ ถ้าเจออย่างนี้เข้า เจ้าจะตอบว่าอะไร?” 
“ให้ตายสิ” เขาพูด “อย่างกับว่าทั้งสองกรณีนี้ มันมีอะไรคล้ายกันเสีย 
อย่างนั้นแหละ”37 
“ก็แล้วทĽำไมมันจะไม่คล้ายกันเล่า?” ข้าฯ กล่าว “หรือต่อให้สมมติว่ามันไม่มี 
อะไรคล้ายกัน แต่ถ้าไอ้คนที่ถูกถาม38เห็นว่ามันคล้ายล่ะ เจ้าคิดว่า เราจะห้ามเขา 
ไม่ให้ตอบในสิ่งที่เขาเห็นว่าถูกต้องได้หรือ ไม่ว่าเราจะอนุญาตหรือไม่ก็ตาม?” 
“โอ้! ท่านจะเอาอย่างนั้นเลยหรือ?” เขาพูด “ท่านจะหยิบเอาคĽำตอบที่ข้าฯ ห้ามไว้มาตอบอย่างนั้นหรือ?”39 
[337a] 
[337c] 
[337b]
เพลโต : 27 
“ก็ถ้าเกิดว่าหนึ่งในคĽำตอบพวกนั้นเป็นทัศนคติอันเกิดจากการพิจารณา อย่างถี่ถ้วนแล้ว” ข้าฯ พูด “ข้าฯ ก็ไม่เห็นว่ามันจะน่าประหลาดใจตรงไหนเลยนี่” 
“ได้! งั้นถ้าข้าฯ สามารถให้คĽำตอบเรื่องความเที่ยงธรรมที่ต่างออกไปจากของ 
พวกท่านได้และยังเป็นคĽำตอบที่ชัดเจนกว่าอีกด้วยล่ะ ถ้าข้าฯ ทĽำได้ ท่านคิดว่า 
ตนเองสมควรได้รับโทษอย่างไรจึงจะสาสม ขอให้ท่านว่ามา”40 
“การลงทัณฑ์ใดเล่าจะสาสมแก่ผู้ไม่รู้ได้มากไปกว่าการให้เขาได้เรียนจาก 
ผู้รู้” ข้าฯ พูด “แน่นอน ข้าฯ สมควรได้รับสิ่งนี้ล่ะ” 
“พูดพล่อยๆ เป็นคนเอาแต่ได้!” เขากล่าว “ไม่ได้หรอก นอกจากการได้เรียนรู้ 
แล้วท่านยังต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินด้วย” 
“มีเมื่อไรข้าฯ ก็จ่ายให้เมื่อนั้น” ข้าฯ พูด 
“เงินน่ะ เขาต้องมีอยู่แล้ว” กลาวคอนพูดแทรกขึ้น “ถ้าเป็นเรื่องเงินนะ ขอให้ 
บอกมาได้เลยธราซิมาคัส พวกเราจะเป็นคนจ่ายให้โสคราตีสเอง” 
“ให้ตายสิ เชื่อเขาเลย” ธราซิมาคัสพูด “ทีนี้โสคราตีสก็จะทĽำเหมือนเดิมได้อีก 
เขาจะไม่ยอมตอบคĽำถามใดๆ ทั้งสิ้น แต่พอมีใครโยนคĽำตอบมาให้สักข้อนะ เขาก็จะงัดเอาตรรกะของมันออกมา จากนั้นก็จะพูดจาหักล้างมันเสีย” 
“โธ่เอ๋ย! พ่อคนเก่ง” ข้าฯ พูด “คนเรามันจะตอบอะไรได้ล่ะ ถ้าไม่รู้คĽำตอบ 
หรือไม่ได้ต้องการจะอวดอ้างว่าตัวเองรู้ (แถมยังถูกชายไม่ธรรมดาบางคนห้าม 
ไม่ให้แสดงความคิดเห็นอีก)? การโยนให้เจ้าเป็นคนตอบ มันถึงได้ดูเหมาะสม 
กว่าไง เพราะเจ้าพูดออกมาเองว่าเจ้ารู้และพูดได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ช่วยสงเคราะห์ 
ข้าฯ ด้วยคĽำสอนของเจ้าหน่อยแล้วกันนะ กลาวคอนกับคนอื่นๆ จะได้ฟังด้วย 
อย่าหวงวิชานักเลย” 
ขณะข้าฯ พูดอยู่นั้น กลาวคอนและคนอื่นๆ ก็พากันร้องขอให้เขาช่วยอธิบาย มันออกมาเสียที เห็นได้ชัดว่าธราซิมาคัสคิดว่าตนเองถือคĽำตอบอันเลิศลĽ้ำไว้ 
ในมือ และเขาก็ปรารถนาจะพูดจนตัวสั่น เพื่อให้คนรอบข้างจะได้มีทัศนะอันดีต่อ 
ตัวเขา กระนั้นเขากลับแสร้งทĽำเป็นบีบบังคับให้ข้าฯ เป็นฝ่ายตอบออกมาก่อน 
อยู่นั่น มันจะได้ดูราวกับว่าตนเองนั้นได้รับชัยชนะหนนี้อย่างขาดลอย อย่างไร 
[337d] 
[337e] 
[338a]
28 : รีพับลิก 
ก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วเขาก็ยอมตอบตกลงและกล่าวว่า 
“อ๋อ! นี่คือระดับปัญญาของโสคราตีสสินะ ตัวเขาเองไม่ยินดีจะสอนสิ่งใด ต่อใครทั้งนั้น เอาแต่วิ่งแจ้นขอเรียนจากคนอื่นไปทั่ว แถมยังไม่เคยมีสĽำนึกจะ 
ขอบคุณใครอีก” 
“เรื่องว่าข้าฯ ไปขอเรียนจากผู้อื่นน่ะ เจ้าพูดจริงตามที่มันเป็น ธราซิมาคัส” ข้าฯ พูด “แต่ที่บอกว่าข้าฯ ไม่เคยสĽำนึกในบุญคุณใครน่ะ มันไม่ใช่เรื่องจริงเลย 
ข้าฯ ตอบแทนทุกคนด้วยทุกอย่างที่ข้าฯ มี แต่ในเมื่อข้าฯ ไม่มีเงินทองติดตัว 
ข้าฯ จึงทĽำได้แค่กล่าวคĽำสรรเสริญเท่านั้น ถ้าใครพูดได้ดี ข้าฯ ย่อมมีความประสงค์ 
จะมอบคĽำชื่นชมให้ เมื่อเจ้าแสดงคĽำตอบนั้นออกมาแล้วก็จะได้รู้เองนั่นล่ะ 
ข้าฯ หวังว่าเจ้าคงพูดได้ดีนะ” 
“ได้ งั้นก็ฟังให้ดีล่ะ” เขากล่าว “ข้าฯ ขอบอกเลยว่า ความเที่ยงธรรมนั้น ไม่ใช่ สิ่งอื่นใด นอกเหนือไปจากผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า...41 ว่าอย่างไร? 
ทĽำไมไม่สรรเสริญข้าฯ เสียหน่อยล่ะ? อ้อ! เดี๋ยวท่านก็คงจะหาเรื่องหลบเลี่ยงไป 
อยู่ดีสินะ” 
“อันดับแรกขอให้ข้าฯ ได้เข้าใจความหมายของเจ้าเสียก่อนซี เพราะข้าฯ ยัง 
ไม่เข้าใจอะไรเลย” ข้าฯ พูด “เจ้าบอกว่าผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า 
คือความเที่ยงธรรมอย่างนั้นใช่ไหม? เจ้าหมายความว่าอย่างไรล่ะ ธราซิมาคัส? 
สมมติว่าโพลิดามัส42แข็งแกร่งกว่าเรา และการได้บริโภคเนื้อสัตว์มากๆ เพื่อ 
เสริมสร้างกĽำลังร่างกายก็ถือเป็นผลประโยชน์ของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อสัตว์ 
ย่อมถือเป็นผลประโยชน์และเป็นความเที่ยงธรรมต่อพวกเราผู้อ่อนแอกว่า 
ด้วยหรือเปล่า?” 
“ท่านช่างน่ารังเกียจจริงๆ โสคราตีส” เขาพูด “ท่านเอาตรรกะของข้าฯ ไปวาง 
ไว้ในจุดที่จะให้ร้ายข้าฯ ได้มากที่สุด” 
“เปล่าเสียหน่อย พ่อคนเก่ง” ข้าฯ ว่า “ไหนเจ้าช่วยอธิบายความหมายของเจ้า 
ให้ชัดเจนทีซิ?” 
“ท่านไม่รู้รึยังไง ว่าเมืองบางเมืองนั้น43ถูกปกครองโดยทรราช แต่บางเมือง 
[338b] 
[338c] 
[338d]
เพลโต : 29 
ก็ประชาธิปไตย และบางเมืองก็อภิชนาธิปไตย?” 
“ใช่ ข้าฯ รู้” 
“และในแต่ละเมือง เหล่าผู้ถืออĽำนาจปกครองนั้นก็เป็นนายเหนือคนอื่น?” 
“ใช่” 
“และผู้ถืออĽำนาจปกครองย่อมต้องออกกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง 
ทั้งสิ้น ประชาธิปไตยย่อมออกกฎหมายเพื่อประชาธิปไตย ทุชนาธิปไตยย่อม 
ออกกฎหมายเพื่อทรราช และระบอบอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ พวกเขาทุกคน 
ย่อมต้องประกาศว่ากฎหมายของตน (นั่นก็คือผลประโยชน์ของตนเองนั้น) 
มีความเที่ยงธรรมต่อทุกๆ คนที่อยู่ใต้อาณัติ และแน่นอน พวกเขาย่อมคาดโทษ 
แก่ผู้ไม่ยอมปฏิบัติตาม โดยกล่าวว่าคนเหล่านี้เป็นพวกนอกกฎหมาย เป็นพวก 
ขาดความเที่ยงธรรม นี่ล่ะความเที่ยงธรรมมันเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าเมืองไหนๆ ก็เป็น 
อย่างนี้ มันคือผลประโยชน์ของผู้ถืออĽำนาจออกกฎ เพราะผู้ถืออĽำนาจออกกฎ 
ย่อมเป็นผู้แข็งแกร่งกว่าใครเสมอ และไม่ว่าใครหากรู้จักคิดด้วยตรรกะก็ย่อม 
ต้องได้ข้อสรุปเช่นนี้ ความเที่ยงธรรมนั้น เป็นเช่นเดียวกันหมดทุกที่ทุกสถาน 
มันคือผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า” 
“อืม ตอนนี้ข้าฯ เข้าใจความหมายของเจ้าแล้ว” ข้าฯ กล่าว “ข้าฯ คงต้องขอ 
พิจารณาเสียหน่อย ว่ามันเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ แต่ว่าก็ว่าเถอะธราซิมาคัส 
ขนาดเจ้าเองยังบอกว่าการเป็นคนเที่ยงธรรมนั้นคือผลประโยชน์อย่างหนึ่งเลย 
ไม่ใช่รึ แล้วทĽำไมเมื่อครู่เจ้ากลับห้ามไม่ให้ข้าฯ ตอบอะไรทĽำนองนี้ล่ะ แต่เอาเถอะ 
ยังไงเสียเจ้าก็เพิ่มคĽำว่า ‘แก่ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า’ เข้าไปด้วยนี่นะ” 
“ข้าฯ เติมเข้าไปนิดเดียวเท่านั้นแหละ” เขาพูด 
“มันนิดเดียวจริงหรือเปล่านั้นยังไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ คือเราต้องลองตรวจสอบ ความจริงของมันดูเสียหน่อย” ข้าฯ พูด “ข้าฯ เห็นด้วยนะว่าความเที่ยงธรรม เป็นสิ่งซึ่งจะนĽำผลประโยชน์มาให้ แต่เจ้ากลับเติมคĽำว่า ‘แก่ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า’ 
ต่อท้ายเข้าไปด้วยนี่สิ ข้าฯ ก็เลยชักไม่แน่ใจ เราคงต้องลองพิจารณามันดูแล้วล่ะ” 
“เอาสิ เอาเลย” เขากล่าว 
[338e] 
[339a] 
[339c]
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic
Republic

More Related Content

What's hot

A abelhinha faz zum zum crianças
A abelhinha faz zum zum   criançasA abelhinha faz zum zum   crianças
A abelhinha faz zum zum criançasSamuel Oliveira
 
モブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtc
モブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtcモブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtc
モブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtcYahoo!デベロッパーネットワーク
 
certificado de conclusão licenciatura
certificado de conclusão licenciaturacertificado de conclusão licenciatura
certificado de conclusão licenciaturaPedro Nuno
 
Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger
Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger
Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger Charles Franklin
 
Elmer e o_ursinho_perdido
Elmer e o_ursinho_perdidoElmer e o_ursinho_perdido
Elmer e o_ursinho_perdidoguest60f0cc
 
Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)
Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)
Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)JulesWilkinson
 
Chegou a primavera
Chegou a primaveraChegou a primavera
Chegou a primaveraTeresa Ramos
 
O traseiro do rei
O traseiro do reiO traseiro do rei
O traseiro do reiFattima
 
Paidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdf
Paidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdfPaidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdf
Paidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdfVIEIRA RESENDE
 
O poder das metas para a realização dos sonhos
O poder das metas para a realização dos sonhosO poder das metas para a realização dos sonhos
O poder das metas para a realização dos sonhosRodolfo Gasparian
 
Livro eu nunca na vida comerei tomate
Livro eu nunca na vida comerei tomateLivro eu nunca na vida comerei tomate
Livro eu nunca na vida comerei tomateTeresa Ramos
 
O livro dos sentimentos
O livro dos sentimentosO livro dos sentimentos
O livro dos sentimentoselisecaetano1
 
O baile dos 3 porquinhos
O baile dos 3 porquinhosO baile dos 3 porquinhos
O baile dos 3 porquinhosMaria Pereira
 
DORMIR FORA DE CASA
DORMIR FORA DE CASADORMIR FORA DE CASA
DORMIR FORA DE CASAMarisa Seara
 

What's hot (20)

A abelhinha faz zum zum crianças
A abelhinha faz zum zum   criançasA abelhinha faz zum zum   crianças
A abelhinha faz zum zum crianças
 
คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์
คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์
คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์
 
モブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtc
モブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtcモブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtc
モブデザインによる多職種チームのコミュニケーション改善 #yjtc
 
Nao quero dormir!
Nao quero dormir!Nao quero dormir!
Nao quero dormir!
 
certificado de conclusão licenciatura
certificado de conclusão licenciaturacertificado de conclusão licenciatura
certificado de conclusão licenciatura
 
Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger
Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger
Livro Sinais e símbolos de Adrian Frutiger
 
Elmer e o_ursinho_perdido
Elmer e o_ursinho_perdidoElmer e o_ursinho_perdido
Elmer e o_ursinho_perdido
 
Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)
Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)
Supernatural 10.23 Brother's Keeper Script (Production Draft)
 
Chegou a primavera
Chegou a primaveraChegou a primavera
Chegou a primavera
 
O traseiro do rei
O traseiro do reiO traseiro do rei
O traseiro do rei
 
Paidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdf
Paidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdfPaidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdf
Paidéia - A Formação do Homem Grego - Werner Jaeger.pdf
 
O poder das metas para a realização dos sonhos
O poder das metas para a realização dos sonhosO poder das metas para a realização dos sonhos
O poder das metas para a realização dos sonhos
 
หลักปฏิบัติพิจารณาบัตรสนเท่น์
หลักปฏิบัติพิจารณาบัตรสนเท่น์หลักปฏิบัติพิจารณาบัตรสนเท่น์
หลักปฏิบัติพิจารณาบัตรสนเท่น์
 
Livro eu nunca na vida comerei tomate
Livro eu nunca na vida comerei tomateLivro eu nunca na vida comerei tomate
Livro eu nunca na vida comerei tomate
 
Bona metodo
Bona metodoBona metodo
Bona metodo
 
O livro dos sentimentos
O livro dos sentimentosO livro dos sentimentos
O livro dos sentimentos
 
O sonho da mariana
O sonho da marianaO sonho da mariana
O sonho da mariana
 
HỒ SƠ NĂNG LỰC SUẤT ĂN CÔNG NGHIỆP
HỒ SƠ NĂNG LỰC SUẤT ĂN CÔNG NGHIỆPHỒ SƠ NĂNG LỰC SUẤT ĂN CÔNG NGHIỆP
HỒ SƠ NĂNG LỰC SUẤT ĂN CÔNG NGHIỆP
 
O baile dos 3 porquinhos
O baile dos 3 porquinhosO baile dos 3 porquinhos
O baile dos 3 porquinhos
 
DORMIR FORA DE CASA
DORMIR FORA DE CASADORMIR FORA DE CASA
DORMIR FORA DE CASA
 

More from siep

คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]siep
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]siep
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]siep
 
Trello Manual
Trello ManualTrello Manual
Trello Manualsiep
 
Trello Manual
Trello ManualTrello Manual
Trello Manualsiep
 
Burma trade and investment handbook
Burma trade and investment handbookBurma trade and investment handbook
Burma trade and investment handbooksiep
 
การจัดการภาครัฐสมัยใหม่
การจัดการภาครัฐสมัยใหม่การจัดการภาครัฐสมัยใหม่
การจัดการภาครัฐสมัยใหม่siep
 
4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่น
4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่น4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่น
4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่นsiep
 
การจัดการความรู้ 2
การจัดการความรู้ 2การจัดการความรู้ 2
การจัดการความรู้ 2siep
 
การจัดการความรู้ 1
การจัดการความรู้ 1การจัดการความรู้ 1
การจัดการความรู้ 1siep
 
D00000000056 106
D00000000056 106D00000000056 106
D00000000056 106siep
 
D00000000056 105
D00000000056 105D00000000056 105
D00000000056 105siep
 
ตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวาตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวาsiep
 
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนsiep
 
01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลา
01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลา01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลา
01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลาsiep
 
Public marketing
Public marketingPublic marketing
Public marketingsiep
 
Public marketing
Public marketingPublic marketing
Public marketingsiep
 

More from siep (17)

คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคบริการ]
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการค้า]
 
Trello Manual
Trello ManualTrello Manual
Trello Manual
 
Trello Manual
Trello ManualTrello Manual
Trello Manual
 
Burma trade and investment handbook
Burma trade and investment handbookBurma trade and investment handbook
Burma trade and investment handbook
 
การจัดการภาครัฐสมัยใหม่
การจัดการภาครัฐสมัยใหม่การจัดการภาครัฐสมัยใหม่
การจัดการภาครัฐสมัยใหม่
 
4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่น
4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่น4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่น
4บทเรียนการตลาด เพื่อการบริหารจัดการท้องถิ่น
 
การจัดการความรู้ 2
การจัดการความรู้ 2การจัดการความรู้ 2
การจัดการความรู้ 2
 
การจัดการความรู้ 1
การจัดการความรู้ 1การจัดการความรู้ 1
การจัดการความรู้ 1
 
D00000000056 106
D00000000056 106D00000000056 106
D00000000056 106
 
D00000000056 105
D00000000056 105D00000000056 105
D00000000056 105
 
ตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวาตลาดน้ำอัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวา
 
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
บทบาทของ อปท. กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
 
01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลา
01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลา01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลา
01 24-54 รายงานเทศบาลนครยะลา
 
Public marketing
Public marketingPublic marketing
Public marketing
 
Public marketing
Public marketingPublic marketing
Public marketing
 

Republic

  • 1.
  • 2.
  • 3. รีพับลิก ฉบับประชาชน จัดทĽำขึ้นเพื่อขอบคุณผู้ระดมทุน สนับสนุนการแปลกับโครงการวรรณกรรมไม่จĽำกัด
  • 4.
  • 5. รีพับลิก Republic Πολιτεία เพลโต เขียน เวธัส โพธารามิก แปลจากภาษากรีกโบราณ จัดพิมพ์โดย โครงการวรรณกรรมไม่จĽำกัด
  • 6. * ตัวเลขด้านข้าง คือเลขหน้าสเตฟานัส (Stephanus pagination) เป็นระบบอ้างอิงที่ใช้ในการอ่าน และแปลผลงานของเพลโตที่ Henricus Stephanus (Henri Estienne) จิตรกรชาวฝรั่งเศส-ผู้เชี่ยวชาญ ภาษากรีกจากศตวรรษที่ 16 เป็นผู้รวบรวมและจัดทĽำขึ้น
  • 7. เพลโต : 7 โสคราตีส2: ข้าฯ ลงไปเพเรอัส3มาเมื่อวานนี้กับกลาวคอน บุตรแห่งอริสตอน4 เพราะต้องการร่วมสวดบูชาเทพีองค์ใหม่5กับเขาเสียหน่อย งานฉลองเทพีองค์นี้ เพิ่งเริ่มจัดกันเป็นหนแรก ข้าฯ จึงอยากรู้ว่าพวกเขาทĽำอะไรกันบ้าง อันที่จริง ตามทัศนะของข้าฯ แค่ขบวนแห่ของคนท้องถิ่นอย่างเดียวก็งดงามมากแล้วนะ แต่ปรากฏว่าขบวนแห่ของชาวธราเคียน6 นั้นก็โดดเด่นตระการตาไม่แพ้กัน หลังจากพวกเราได้ถวายคĽำบูชาและชมขบวนแห่กันครบหมดแล้ว เราทั้งสอง ก็เดินทางกลับ ระหว่างทางเผอิญได้พบกับโพเลมาร์คัส บุตรแห่งเคฟาลัส7 เขามองเห็นพวกเราเดินอยู่ไกลๆ จึงสั่งทาสให้รีบวิ่งมาเรียกเรา บอกพวกเรา สองคนให้รอก่อน ทาสผู้นั้นตรงเข้ามาจับเสื้อคลุมของข้าฯ จากข้างหลัง แล้วแจ้ง โดยพลันว่า “นายท่านโพเลมาร์คัสประสงค์ให้ท่านทั้งสองหยุดรอเขาสักครู่” ข้าฯ จึงหันหลังกลับไปถามว่าเวลานี้เขาอยู่หนใด “นายท่านกĽำลังเดินตามมา” เขากล่าว “โปรดรอสักครู่เถิด” “ตกลง พวกเราจะรอ” กลาวคอนพูด ไม่ช้าโพเลมาร์คัสก็เดินมาถึง เขามาพร้อมกับอเดมันทัส พี่ชายของกลาวคอน นิเคราทัส บุตรแห่งนิคิอัส และคนอื่นๆ อีกจĽำนวนหนึ่งที่เพิ่งกลับจากการชม ขบวนแห่ก็อยู่ตรงนั้นด้วย เล่ม1 1 [327a]* [327b] [327c]
  • 8. 8 : รีพับลิก “ข้าฯ เดาว่าพวกท่านคงกĽำลังจะเดินทางกลับบ้าน ใช่หรือไม่โสคราตีส?” โพเลมาร์คัสพูด “เดาได้ไม่เลวนี่” ข้าฯ พูด “แต่ว่า” เขากล่าว “พวกเรามีกันตั้งหลายคนนะ ท่านเห็นหรือเปล่า?” “ก็เห็นอยู่” “งั้นท่านก็ต้องล้มพวกเราทั้งหมดให้ได้เสียก่อน” เขาพูด “เพราะพวกเรา แข็งแกร่งกว่าท่าน หรือไม่อย่างนั้น ท่านก็ต้องอยู่ต่อกับพวกเราที่นี่”8 “ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งมิใช่หรือ” ข้าฯ กล่าว “นั่นคือเราสองคนร่วมมือกัน โน้มน้าวพวกเจ้าให้ปล่อยเราไป?” “แต่ถ้าพวกเราปฏิเสธที่จะฟังล่ะ” เขาพูด “ท่านยังคิดว่าจะโน้มน้าวพวกเราได้ อยู่อีกหรือเปล่า?” “ก็ต้องไม่ได้อยู่แล้ว” กลาวคอนพูด “ถ้าเช่นนั้น พวกเราก็จะไม่ยอมฟังท่านพูด ท่านเตรียมใจไว้ก่อนได้เลย” พลันอเดมันทัสก็พูดแทรกขึ้นมา “พวกท่านไม่รู้หรอกหรือ ว่าจะมีการแข่ง วิ่งผลัดคบไฟในตอนคĽ่ำ? แข่งวิ่งผลัดคบเพลิงบนหลังม้า เพื่อถวายแด่องค์เทพี” “โอ้! บนหลังม้างั้นหรือ?” ข้าฯ พูด “แปลกใหม่ดีนี่ พวกเขาจะแข่งขันควบม้า และส่งคบเพลิงต่อกันเป็นทอดใช่ไหม?” “ใช่แล้ว” โพเลมาร์คัสกล่าว “นอกจากนั้นยังมีงานฉลองต่ออีกจนถึงเช้า เราจะเดินเที่ยวชมกันหลังมื้อคĽ่ำ ในงานจะต้องมีพวกคนหนุ่มไฟแรงให้พวกเรา ได้สนทนาแลกเปลี่ยนด้วยมากมายแน่ๆ งานฉลองนี้จึงควรค่าแก่การเยี่ยมชม อย่างยิ่ง พวกท่านอย่าเพิ่งกลับเลยน่า อยู่ต่อกับพวกเราเถอะ” กลาวคอนจึงกล่าวว่า “ดูเหมือนเราจĽำเป็นต้องอยู่ต่ออีกสักหน่อยนะ” “ดูท่าแล้ว เราคงต้องอยู่ต่อกันจริงๆ” ข้าฯ พูด ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงพากันเดินกลับไปยังบ้านของโพเลมาร์คัส และได้พบกับ น้องชายทั้งสองของเขา คือลิสิอัส9 กับยูธิเดมัส นอกจากนั้นยังมีธราซิมาคัส แห่งเมืองคาลซิดอน10 คาร์มันทิดีสแห่งไพอาเนีย และคเลโตฟอน บุตรแห่ง [328a] [328b]
  • 9. เพลโต : 9 อริสโตนิมัสก็อยู่ที่นั่นด้วย บิดาของโพเลมาร์คัส นามเคฟาลัส11 ก็อยู่ด้วยเช่นกัน ข้าฯ ไม่ได้เจอเขามาสักพักหนึ่งแล้ว และพบว่าเขาดูชราลงไปมาก เขานั่งอยู่บน เก้าอี้บุนวมตัวหนึ่ง บนศีรษะสวมมงกุฎร้อยดอกไม้จากพิธีบูชาที่ลานบูชา รอบๆ ตัวเขา มีเก้าอี้จĽำนวนหนึ่งจัดเรียงไว้เป็นรูปครึ่งวงกลม พวกเราจึงตรงเข้าไปนั่ง ใกล้ๆ และทันทีที่เห็นข้าฯ เคฟาลัสก็เอ่ยคĽำต้อนรับอย่างเป็นกันเอง จากนั้น จึงพูดกับข้าฯ ว่า “โสคราตีส ไยไม่เดินทางมาเยี่ยมพวกเราที่เพเรอัสให้บ่อยกว่านี้หน่อยเล่า นี่ถ้าข้าฯ ยังเดินเหินได้สะดวกเหมือนแต่ก่อนนะ ข้าฯ คงเป็นฝ่ายพาลูกพาหลาน ไปเยี่ยมเยือนเจ้าเองแล้ว แต่ก็อย่างที่เห็น เจ้านั่นแหละควรจะมาให้บ่อยกว่านี้ ข้าฯ อยากให้เจ้ารู้ไว้ว่า เมื่อความสุขสĽำราญทางกายได้หลุดโรยไปแล้วจากตัวข้าฯ ความปรารถนาและสุขสĽำราญในการสนทนาก็กลับเจริญงอกงามขึ้นมาแทนที่ ฉะนั้นแล้วเจ้ามาให้บ่อยหน่อยสิ มาอยู่เป็นเพื่อนเด็กๆ พวกนี้ก็ได้ พวกเรามัน คนกันเองทั้งนั้นแหละ” “ได้อยู่แล้วเคฟาลัส ข้าฯ ชอบสนทนาแลกเปลี่ยนกับคนเฒ่าคนแก่เสมอล่ะ” ข้าฯ พูด “เพราะตามทัศนะของข้าฯ คนชรานั้นเปรียบได้กับนักเดินทางไกล ผู้เคยผจญภัยบนเส้นทาง ซึ่งพวกเราทุกคนต้องเดินไปถึงสักวัน การสนทนากับ คนเฒ่าคนแก่ย่อมช่วยให้เราได้รู้ล่วงหน้าว่าเส้นทางสายนั้นขรุขระขนาดไหน ลาดชันเพียงใด และในเมื่อท่านได้ก้าวพ้นสิ่งที่พวกกวีเรียกว่า ‘ธรณีประตูแห่ง ความชรา’12 มาแล้ว ข้าฯ ก็ประสงค์จะขอคĽำชี้แนะจากท่านเสียหน่อย ข้าฯ อยากรู้ ว่าชีวิตในช่วงเวลาบั้นปลายนั้นมีความยากลĽำบากเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ท่านช่วย เฉลยให้ข้าฯ ทราบทีเถอะ” “ในนามแห่งซุส ข้าฯ จะตอบให้ว่าข้าฯ รู้สึกอย่างไร โสคราตีส” เขาพูด “ก็อย่าง สุภาษิตว่าไว้นั่นล่ะ – ‘คนรุ่นราวคราวเดียวกัน มักถูกดึงดูดเข้าหากันเสมอ’ – คนรุ่น ข้าฯ พอได้จับกลุ่มคุยกัน ส่วนมากก็มักบ่นถึงเรื่องความสุขสĽำราญที่ได้ทĽำหล่น หายไปเสีย ไม่ได้มีอย่างเหลือเฟือเหมือนตอนยังหนุ่มยังแน่นอีกแล้ว ทั้งเรื่องเพศ เรื่องสุรา เรื่องงานรื่นเริงต่างๆ นานา อันเคยได้สร้างความหรรษาให้ในวัยเยาว์ [328d] [328e] [329a] [c]
  • 10. 10 : รีพับลิก มันหายไปหมดสิ้น และพวกเขาก็มักรู้สึกเป็นทุกข์ รู้สึกแย่กับมัน รู้สึกแย่กับ ชีวิตสนุกสนานที่อันตรธานไป รู้สึกแย่กับชีวิตในปัจจุบันที่อยู่ๆ ไปก็เหมือนไร้ ซึ่งชีวิต และนอกจากนั้นก็ยังมีพวกที่โอดครวญกับเรื่องลูกหลานไม่ให้ความ เคารพตัวเองเท่าที่ควรอีกด้วย เรื่องพวกนี้นี่ล่ะ พวกคนแก่คนเฒ่าส่วนมาก จึงมักบอกว่าความชราคือต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง ถึงกระนั้น ตามทัศนะของข้าฯ ข้าฯ กลับไม่คิดว่าการกล่าวหาว่าร้ายความชราเช่นนี้จะ เป็นสิ่งถูกต้องนะโสคราตีส เพราะถ้าความชรามันเป็นเหตุแห่งความชั่วร้าย ดังว่าจริงๆ ข้าฯ และคนในวัยเดียวกับข้าฯ ทุกคน ก็ควรจะต้องรู้สึกทุกข์ร้อน ไปด้วยเหมือนกันหมดนะสิ แต่จากประสบการณ์ข้าฯ พบว่ามีคนชราจĽำนวนไม่ น้อยที่ไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดไปกับเรื่องบ้าบอพวกนี้เลยสักนิด หนึ่งในจĽำนวนนั้น ก็คือโซโฟคลีส13 ข้าฯ เคยเห็นคนถามกวีผู้นี้ว่า ‘โซโฟคลีส เรื่องเพศของท่าน เป็นอย่างไรบ้าง? ยังขึ้นเตียงกับผู้หญิงไหวอยู่หรือเปล่า?’ ‘ไม่จĽำเป็นต้องพูดถึง มันหรอกสหาย’ เขาตอบ ‘ข้าฯ รู้สึกโล่งใจเหลือเกินที่หลุดพ้นจากมันมาได้ รู้สึกเหมือนทาสที่เพิ่งหนีรอดจากนายผู้ป่าเถื่อนและชั่วร้ายมาได้ยังไงยังงั้น เลยล่ะ’ ข้าฯ ว่าโซโฟคลีสกล่าวเอาไว้ได้ดีทีเดียวนะ และข้าฯ ก็ยังคงคิดเช่นนั้น มาจนบัดนี้ ความชรานั้นนĽำสันติสุขมาให้ต่างหากเล่า มันช่วยปลดปล่อยเราจาก ความปรารถนาอันบ้าคลั่งทั้งปวง ทันทีที่ความโหยหาในสิ่งยั่วยุทั้งหลายคลาย กĽำลังลง เราก็จะเป็นอิสระจากบรรดานายทาสผู้บ้าคลั่ง ดังโซโฟคลีสได้กล่าวไว้ นั่นเอง ส่วนไอ้เรื่องที่ว่าลูกหลานไม่ให้ความเคารพนี่นะโสคราตีส ข้าฯ เห็นว่า สาเหตุจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ความชราหรอกนะ แต่เป็นเรื่องบุคลิกลักษณะของมนุษย์ แต่ละคนเสียมากกว่า คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบเรียบง่าย และอารมณ์ดีอยู่ เสมอนั้น มักไม่รู้สึกกดดันจากความชราเสียเท่าไรหรอก แต่ถ้าคนไหนใช้ชีวิต ตรงข้ามไปจากที่ว่านี้ ทั้งความชราทั้งลูกหลานก็จะกลายเป็นภาระที่ยากเกินจะ ทนทานไปในทันทีเช่นกัน” ข้าฯ รู้สึกชื่นชมในสิ่งที่เขาพูด และยังปรารถนาจะฟังต่อจึงยุให้เขาพูดต่อ ด้วยการกล่าวว่า “เคฟาลัส ข้าฯ ว่าคนหมู่มากคงไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านพูดมา [329b] [329c] [329d]
  • 11. เพลโต : 11 เสียเท่าไรหรอก พวกเขาย่อมมองว่าที่ท่านรับความชราได้นั้น ไม่น่าจะเกิดจาก บุคลิกลักษณะเสียกระมัง หากมันน่าจะมาจากความมั่งมีในทรัพย์สินเงินทอง ของท่านเสียมากกว่า เขาว่ากันว่าคนรวยย่อมมีเครื่องปลอบประโลมใจมากกว่า คนจนอยู่แล้วมิใช่หรือ?” “เป็นเช่นนั้นจริงๆ พวกเขาคงไม่เห็นด้วยกับข้าฯ หรอก” เขากล่าว “แต่สิ่งที่ พวกเขาพูดก็มีส่วนถูก แม้จะไม่ได้ถูกไปเสียทั้งหมดก็ตาม ข้าฯ ว่าในประเด็นนี้ คĽำพูดของเธมิสโทคลีส14น่าจะยังใช้การได้ดีอยู่นะ ครั้งหนึ่งเธมิสโทคลีสเคย ถูกชาวเซริฟัสคนหนึ่งค่อนขอดเอาว่า ชื่อเสียงอันโด่งดังของเขานั้นหาได้มาจาก ความสามารถของตนเองไม่ ทว่ามันมาจากเมืองที่เขาอยู่ต่างหาก เขาถึงได้มี ชื่อเสียงขึ้นมา เธมิสโทคลีสได้ฟังก็ตอบกลับไปว่า จริงอยู่ ถ้าเขาเป็นชาวเซริฟัส เขาก็คงไม่มีชื่อเสียงเหมือนเช่นทุกวันนี้ แต่ถึงอย่างไรต่อให้ชาวเซริฟัสผู้นั้น เปลี่ยนเป็นชาวเอเธนส์ เขาก็คงไม่อาจสร้างชื่อให้ตัวเองได้เช่นกัน15 ข้าฯ ว่าตรรกะนี้ ยังนĽำมาใช้กับกรณีของคนแก่ที่ไม่ได้รĽ่ำรวยและไม่อาจทนความชราของตน ได้ด้วย เพราะจริงอยู่ที่ว่า คนชราผู้ยากไร้นั้นถึงแม้จะพอใจในสิ่งที่มี แต่ก็คง ไม่สามารถจะใช้ชีวิตในวัยชราได้อย่างราบรื่นเท่าใดนัก กระนั้นคนชราผู้หนึ่ง ต่อให้เขามีเงินทองมากมาย แต่ถ้าไม่เคยพอใจในสิ่งที่มี ก็คงยากจะอารมณ์ดี อยู่เสมอด้วยเช่นกัน” “ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของท่านมาจากมรดกหรือเปล่าเคฟาลัส?” ข้าฯ กล่าว “หรือว่าท่านหามาได้ด้วยมือตัวเอง?” “ก็ต้องหามาได้ด้วยตัวเองสิโสคราตีส” เขาตอบ “ข้าฯ เป็นคนทĽำมาค้าขาย และฝีมือของข้าฯ ก็น่าจะอยู่กึ่งกลางระหว่างพ่อกับตา ชื่อของข้าฯ มาจากชื่อตา ตอนที่ตาได้รับมรดกมา ทรัพย์สินโดยรวมก็พอๆ กับข้าฯ ในเวลานี้แหละ แต่ถึง อย่างนั้น ตาก็ทĽำให้มันเพิ่มขึ้นมาได้อีกเป็นเท่าทวี แต่พอมาถึงรุ่นของลิซานิอัส พ่อของข้าฯ นี่ซิ ทรัพย์สินที่ได้ตกทอดมาจากตานั้นก็ร่อยหรอลงจนเหลือน้อย กว่าที่ข้าฯ มีเวลานี้เสียอีก สĽำหรับข้าฯ นะโสคราตีส ขอเพียงข้าฯ สามารถส่งทอด มรดกแก่ลูกหลานให้ได้มากกว่าจĽำนวนที่ได้รับมาสักเล็กน้อย ข้าฯ ก็คงนอน [329e] [330a] [330b]
  • 12. 12 : รีพับลิก ตายตาหลับแล้วล่ะ” “อืม อันที่จริง สาเหตุที่ข้าฯ ถามท่านเช่นนั้น” ข้าฯ พูด “เพราะดูเหมือนท่าน จะมิได้รักใคร่ในเงินทองเสียเท่าไร และคนส่วนใหญ่ที่ไม่จĽำเป็นต้องหาเงินเอง ก็มักมีลักษณะเช่นเดียวกับท่าน เท่าที่ข้าฯ เห็นมา คนที่ต้องสร้างความมั่งมีขึ้น ด้วยตัวเองนั้น มักจะยึดติดกับทรัพย์สมบัติมากกว่าคนที่ไม่ต้องสร้างเองอยู่ เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว เหมือนกวีที่หลงรักบทกลอนของตัวเอง หรือเหมือนบิดา ที่หลงรักบุตรนั่นล่ะ คนทĽำมาค้าขายที่สร้างความมั่งมีขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ย่อม มิได้รักเงินทองเพียงเพราะว่ามันนĽำไปใช้ประโยชน์ได้ เหมือนที่คนทั่วไปเข้าใจ กันเท่านั้น หากแต่พวกเขายังรักมันเพราะเป็นสิ่งซึ่งพวกเขาสร้างขึ้นมากับมือ อีกด้วย และนี่ก็คือสาเหตุที่ทĽำให้คนพวกนี้ไม่ค่อยน่าคบเสียเท่าไร เพราะพวกเขา มักไม่ยินดีสรรเสริญสิ่งใดนอกจากเงิน” “เป็นจริงตามนั้น” เขากล่าว “ก็แน่ล่ะ แต่ท่านช่วยตอบข้าฯ อีกสักเรื่องหนึ่งได้ไหม” ข้าฯ พูด “ท่านคิดว่า ความรĽ่ำรวยนั้นให้คุณความดีแก่ชีวิตท่านในด้านใดมากที่สุด?” “คĽำตอบของข้าฯ คงโน้มน้าวคนหมู่มากไม่ได้นะ” เขากล่าว “แต่เจ้ารู้อะไรไหม โสคราตีส คนเราพอเริ่มตระหนักได้ว่าจุดจบของชีวิตใกล้จะมาถึง ทั้งความกลัว ความวิตกกังวลต่างๆ นานาก็จะประเดประดังเข้ามาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ช่วงเวลานี้ละ ทั้งตĽำนานของดินแดนฮาดีส16 ทั้งเรื่องราวของโทษทัณฑ์ซึ่งผู้ไร้ ความเที่ยงธรรมจักต้องได้รับในโลกหน้า และอีกสารพัดเรื่องราวที่ครั้งหนึ่ง พวกเขาเคยหัวเราะเยาะ สิ่งเหล่านี้จะแล่นตรงเข้ามากัดกร่อนจิตวิญญาณของ พวกเขาด้วยความกลัวว่ามันจะกลายเป็นจริงเข้าสักวัน และไม่ว่าเป็นเพราะ ความอ่อนไหวของวัยชรา หรือด้วยความหวาดกลัวแดนนรกที่เคลื่อนคล้อยใกล้ เข้ามาทุกขณะ หรือจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม คนเหล่านี้จะมีแต่ความตื่นตระหนก พวกเขาจะเริ่มหันมาสĽำรวจตัวเองว่า ชีวิตนี้เราเคยได้ก่อความไม่เที่ยงธรรม กับใครเอาไว้บ้างหรือเปล่าหนอ และถ้าบังเอิญพวกเขาพบความไม่เที่ยงธรรม ในชีวิตของตัวเองที่ผ่านมาเข้าล่ะก็ ฝันร้ายก็จะติดตามหลอกหลอนพวกเขาไป [330c] [330d] [330e]
  • 13. เพลโต : 13 ทุกคĽ่ำคืน พวกเขาจะสะดุ้งตื่นขึ้นยามวิกาลด้วยความหวาดหวั่น อย่างกับเด็ก ตัวเล็กๆ ยังไงยังงั้น วันๆ จะเอาแต่ตั้งตาคอยว่าเมื่อใดจะมีสิ่งชั่วร้ายเกิดขึ้น อีกบ้าง อย่างไรก็ตาม สĽำหรับคนที่ใช้ชีวิตเที่ยงธรรมมาโดยตลอด พวกเขาจะมี แต่ความหวังหวานชื่นแสนงดงามคอยยืนอยู่เคียงข้าง เป็นพยาบาลผู้ดูแล ยามแก่ชราอย่างที่พินดารัส17ได้รจนาไว้นั่นอย่างไร โอ้! กวีผู้นี้กล่าวไว้จับใจ มากทีเดียวนะโสคราตีส เขาว่าผู้ใดใช้ชีวิตเปี่ยมด้วยความเที่ยงธรรมและ สุทธิธรรม...18 คนผู้นั้นย่อมมีความหวังหวานชื่นในหัวใจ เฝ้าอยู่เคียงข้างเป็นพยาบาลยามชรา ความหวังเอย เจ้าเป็นดั่งต้นหนคอยนĽำทาง ดวงวิญญาณในวังวนแห่งความเหนื่อยล้า19 พินดารัสกล่าวไว้ได้เยี่ยมมาก เจ้าว่าไหม ความมั่งมีนั้นมอบคุณความดีให้แก่ ข้าฯ ตรงนี้ล่ะ ข้าฯ คิดว่าเงินทองนั้น มันสร้างประโยชน์สูงสุดให้ได้แต่เฉพาะกับคน ที่มีระเบียบเรียบง่าย พึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ความรĽ่ำรวยจะช่วยคุ้มครองให้เรา สามารถรอดพ้นจากการต้องโกหกคดโกง หรือลวงหลอกบุรุษอื่นๆ โดยที่เราไม่ เต็มใจได้ และนอกจากนี้ มันยังช่วยรักษาให้เราหายขาดจากอาการหวาดกลัว โลกหลังความตายด้วย เพราะเราจะไม่ติดหนี้สินเงินทองกับมนุษย์คนไหน และไม่ ติดค้างการถวายบูชากับเทพเจ้าองค์ใดอีก แน่นอนว่า เงินทองนั้นยังมีประโยชน์ อื่นๆ อีกมากมาย แต่เมื่อได้นĽำมาชั่งนĽ้ำหนักเปรียบเทียบกันดูแล้ว ข้าฯ เห็นว่า คุณประโยชน์ของความมั่งมี มันจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่ออยู่ในมือของบุรุษผู้มีความ เข้าใจเท่านั้นโสคราตีส” “ท่านพูดได้ยอดเยี่ยมมากเคฟาลัส” ข้าฯ พูด “เมื่อครู่ข้าฯ ได้ยินท่านพูดถึง ความเที่ยงธรรม20 ท่านบอกว่ามันหมายถึงการพูดแต่ความจริงตามที่เป็น และ ชดใช้ในสิ่งที่เราติดค้างใช่ไหม? แต่มันจะเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือเปล่า หรือ [331a] [331b] [331c]
  • 14. 14 : รีพับลิก บางครั้งเป็นความเที่ยงธรรม แต่บางคราก็ไร้ความเที่ยงธรรม? ข้าฯ หมายความ อย่างนี้นะ ยกตัวอย่างเช่น มีชายสติดีผู้หนึ่งให้เพื่อนของตนยืมอาวุธไปใช้ แต่ต่อมา ชายผู้นี้เกิดเป็นบ้า และทวงอาวุธของตนคืนจากเพื่อน ข้าฯ ว่าเราทุกคน คงเห็นด้วยแน่ๆ ว่าเพื่อนของเขาย่อมไม่ควรคืนอาวุธให้แก่ชายเสียสติ และการ คืนอาวุธให้แก่เขาในกรณีนี้ก็ย่อมไม่ใช่ความเที่ยงธรรม นอกจากนั้น การพูดแต่ ความจริงตามที่เป็นเสียทั้งหมดกับชายผู้นี้ โดยไม่ปิดบังก็คงไม่ใช่สิ่งที่ควรทĽำ เช่นกันใช่ไหม?” “ใช่ ที่เจ้าว่ามาก็ถูก” เขาพูด “เมื่อเป็นเช่นนี้ คĽำจĽำกัดความ21ของความเที่ยงธรรมก็ย่อมไม่ใช่การพูดแต่ ความจริงตามที่เป็น และใช้คืนในสิ่งที่เราได้หยิบยืมมาเป็นแน่” “คĽำจĽำกัดความนั้นถูกต้องแน่นอน โสคราตีส!” โพเลมาร์คัสพูดแทรกขึ้น “ถ้าเราเชื่อในคĽำกล่าวของซิโมนิดีส22นะ” “โอ้! พอดีเลย” เคฟาลัสพูด “ข้าฯ ขอยกการสนทนาให้เจ้าต่อเลยแล้วกัน เพราะข้าฯ จะต้องไปดูแลงานพิธีต่อแล้ว” “แหม ก็ข้าฯ นั้นถือเป็นผู้สืบทอดทุกสิ่งอย่างจากท่านอยู่แล้วไม่ใช่หรือ?” โพเลมาร์คัสกล่าว “ใช่ ใช่ แน่อยู่แล้ว” เขาพูดพลางหัวเราะ จากนั้นจึงลุกเดินออกไปยังลาน พิธีบูชา “เอาล่ะ เจ้าเป็นผู้รับช่วงต่อการสนทนาสินะ งั้นก็ถึงตาเจ้าแล้ว” ข้าฯ กล่าว “ไหนบอกมาซิ ว่าซิโมนิดีสพูดถึงความเที่ยงธรรมเอาไว้ว่าอย่างไร อันที่เจ้าบอกว่า มันถูกต้องน่ะ?” “เขากล่าวว่า ความเที่ยงธรรมคือการจ่ายคืนทุกสิ่งที่เราติดค้าง”23 เขาตอบ “และในทัศนะของข้าฯ เขาก็อธิบายมันได้อย่างยอดเยี่ยม” “อืม การจะปฏิเสธคนอย่างซิโมนิดีสย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายเสียเท่าไร” ข้าฯ พูด “เพราะเขาเป็นถึงผู้มีปัญญาทัดเทียมเทพเจ้านี่นะ แต่พูดก็พูดเถอะ ที่เขาว่ามา นั่นน่ะมันหมายความว่าอะไรกันแน่? ข้าฯ เองก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรเหมือนกัน [331d] [331e]
  • 15. เพลโต : 15 บางทีเจ้าอาจจะเข้าใจมันดีกว่าข้าฯ ก็ได้นะโพเลมาร์คัส แต่ที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่ง แน่ๆ ก็คือเขาคงไม่ได้ตั้งใจให้มันหมายถึงสิ่งที่เราเพิ่งพูดกันไปเมื่อสักครู่ ที่ว่า ความเที่ยงธรรมคือการให้คืนในสิ่งที่เราขอยืมมา ถึงแม้ว่าคนที่ให้เรายืมจะกลาย เป็นคนเสียสติไปแล้วก็ตาม คงไม่ใช่ความหมายนี้แน่ แต่ถึงอย่างนั้น สิ่งของที่ คนเขาให้เรายืมมาก็ย่อมต้องเป็นสิ่งที่เราจะต้องใช้คืนอยู่ดีใช่ไหมล่ะ?” “ใช่” “แต่ก็แน่นอน ว่าถ้าเขามาทวงคืนตอนสติไม่ดี เราก็ไม่สมควรคืนให้เขา เหมือนกันใช่ไหม?” “ย่อมเป็นจริงตามนั้น” เขาพูด “ถ้าเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่า ตอนซิโมนิดีสบอกว่า ความเที่ยงธรรมคือการจ่ายคืน ทุกสิ่งที่เราติดค้างนั้น เขาก็น่าจะตั้งใจสื่อความหมายต่างไปจากนี้น่ะสิ” “ก็ต้องเป็นคนละความหมายกันอยู่แล้วล่ะ เทพซุสเป็นพยานได้เลย” เขากล่าว “เพราะซิโมนิดีสมองว่า เพื่อนกันย่อมมีพันธะติดค้างต้องมอบคุณความดีแก่กัน และกัน ไม่ใช่มอบความเลวร้ายให้กัน” “อ้อ! เป็นเช่นนั้นหรอกรึ” ข้าฯ พูด “งั้นสมมติว่าเรายืมทองคĽำของเพื่อนไปใช้ แล้วต่อมาพบว่า หากเรานĽำทองคĽำจĽำนวนนี้ไปคืน ผลร้ายบางประการก็จะเกิด แก่เขาได้ ในกรณีเช่นนี้ การไม่นĽำทองคĽำไปคืน ย่อมนับเป็นเรื่องสมควรอยู่ เจ้ากĽำลังจะบอกว่าซิโมนิดีสหมายความว่าอย่างนี้ใช่ไหม?” “ใช่แล้ว” “แล้วในกรณีของศัตรูล่ะ? เราควรชดใช้สิ่งที่เราติดค้างศัตรูด้วยหรือเปล่า?” “ควรต้องจ่ายสิ” เขาพูด “เราควรชดใช้สิ่งที่ติดค้างกับศัตรูด้วยเช่นกัน และข้าฯ ก็เห็นด้วยว่า สิ่งที่พวกศัตรูได้ชดใช้แก่กันอย่างสาสมนั้นก็มีอยู่เพียงอย่างเดียว คือการประทุษร้ายอย่างไรล่ะ” “ถ้าเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่า” ข้าฯ พูด “ซิโมนิดีสต้องการนิยามความเที่ยงธรรม ของตัวเองให้ฟังดูเป็นปริศนาตามแบบฉบับของพวกกวีนั่นเองสินะ เพราะไปๆ มาๆ ก็ดูราวกับว่าในความคิดของเขานั้น ความเที่ยงธรรมน่าจะหมายถึงการ [332a] [332b] [332c]
  • 16. 16 : รีพับลิก ให้ในสิ่งที่สาสม หรือในสิ่งที่สมควรแก่คนรอบๆ ตัวเสียมากกว่า และเขาก็เรียก เจ้าสิ่งนี้ว่า ‘สิ่งที่เราติดค้าง’” “โธ่เอ๋ย! ก็แล้วท่านคิดว่าเขาหมายความอย่างไรได้อีกล่ะ?” เขากล่าว “อ้อ! ในนามของเทพซุส” ข้าฯ พูด “งั้นเจ้าว่าเขาจะตอบอย่างไร หากมีคนถาม ว่า ‘ซิโมนิดีส ศิลปะเฉพาะทาง24ที่เรียกว่าการแพทย์นั้น ติดค้างอะไรต่อสิ่งใด หรือสมควรต้องให้ อะไร แก่ สิ่งใด ?’” “ก็ชัดเจนอยู่แล้วนี่” เขาพูด “มันก็สมควรต้องให้แด่ยารักษาโรค อาหาร และเครื่องดื่มเสริมสุขภาพร่างกายอย่างไรล่ะ” “แล้วศิลปะที่เรียกว่าการปรุงอาหารล่ะ มันสมควรต้องให้อะไรแก่สิ่งใด?” “ให้เครื่องปรุงแก่อาหาร” “งั้นถ้าเป็นศิลปะเฉพาะทางด้านความเที่ยงธรรมล่ะ? มันติดค้างอะไร ต่อใคร หรือสมควรต้องให้อะไรแก่ผู้ใด?” “ถ้าจะว่ากันตามที่ตอบๆ ไปเมื่อครู่นี้นะโสคราตีส” เขาพูด “ก็คงต้องบอกว่า มันให้ประโยชน์แก่สหาย และให้อันตรายแก่ศัตรู” “อ้อ! งั้นซิโมนิดีสก็มองว่าความเที่ยงธรรมหมายถึงการให้คุณความดีแก่ สหาย และให้ความฉิบหายแก่ศัตรูสินะ อย่างนั้นใช่ไหม?” “ใช่ ตามทัศนะของข้าฯ” “แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นเรื่องสุขภาพกับโรคภัยไข้เจ็บ เจ้าคิดว่าใครจะมอบ คุณความดีแก่มิตรสหายผู้เจ็บไข้ และให้ความฉิบหายให้แก่ศัตรูได้อย่างมี ประสิทธิภาพที่สุด?” “ก็แพทย์ไง” “แล้วถ้าทั้งสหายและศัตรู ต่างกĽำลังเผชิญภยันตรายท่ามกลางเกลียวคลื่นล่ะ? เจ้าคิดว่าใครจัดการเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด?” “ต้นหนเรือ” “แล้วถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความเที่ยงธรรมล่ะ? เจ้าคิดว่าในสถานการณ์ ลักษณะไหน และในหน้าที่แบบใด เขาจึงจะสร้างคุณประโยชน์แก่มิตรสหาย [332d] [332e]
  • 17. เพลโต : 17 และสร้างความฉิบหายแก่ศัตรูได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด?” “ก็คงเป็นในสถานการณ์สงคราม แล้วก็ทĽำหน้าที่สร้างกองทัพพันธมิตร กระมัง ตามทัศนะของข้าฯ นะ” “อืม แต่อย่างไรก็ดีนะโพเลมาร์คัส สĽำหรับคนที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไร แพทย์ ก็ไม่ได้มีประโยชน์ต่อพวกเขาเสียเท่าไหร่ จริงไหม?” “จริงตามนั้น” “และสĽำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการจะลงเรือ ต้นหนเรือก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน” “ใช่” “งั้นถ้าไม่ได้มีสงคราม ความเที่ยงธรรมก็ไร้ประโยชน์? อย่างนั้นหรือเปล่า?” “เฮ้ย! ดูเหมือนจะไม่ใช่แล้ว” “ความเที่ยงธรรมยังคงมีประโยชน์ แม้ในยามสงบใช่ไหม?” “ใช่ มันมีประโยชน์” “ศิลปะการกสิกรรมก็มีประโยชน์เหมือนกันใช่ไหม?” “ใช่” “และประโยชน์ที่ว่าคือการผลิตพืชผักผลไม้จากผืนดินใช่ไหม?” “ใช่” “ศิลปะการทĽำรองเท้าก็มีประโยชน์เช่นกันใช่ไหม?” “ใช่” “และประโยชน์ของมันก็คือการผลิตรองเท้า เจ้าเห็นว่าอย่างนั้นไหม?” “แน่นอน” “เอ้า! ถ้างั้น แล้วความเที่ยงธรรมล่ะ? มันมีประโยชน์อย่างไรบ้างในยามสงบ? มันให้ผลผลิตอะไรหรือ?” “มันก็ให้ประโยชน์ในการทĽำสัญญาต่างๆ ไงโสคราตีส” “หืม? สัญญาที่เจ้าว่า หมายถึงการจับมือเป็นหุ้นส่วนใช่ไหม?” “ใช่ ข้าฯ หมายถึงหุ้นส่วน” “ถ้างั้นระหว่างหุ้นส่วนที่เป็นคนเที่ยงธรรมกับหุ้นส่วนที่เป็นนักเล่นหมากรุก25 [333a] [333b]
  • 18. 18 : รีพับลิก คนไหนมีประโยชน์และคุณความดีในเกมหมากรุกมากกว่ากัน?” “ก็ต้องนักเล่นหมากรุกสิ” “แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นเรื่องก่ออิฐฉาบปูนล่ะ คนเที่ยงธรรมมีคุณประโยชน์ มากกว่านายช่างผู้ชĽำนาญการก่ออิฐหรือเปล่า?” “เปล่าเลย” “งั้นในทĽำนองเดียวกัน หุ้นส่วนที่ชĽำนาญการดีดไลร์26ก็ย่อมต้องดีดตัวโน้ต ได้ดีกว่าหุ้นส่วนที่มีแต่ความเที่ยงธรรมใช่ไหม? เมื่อเป็นเช่นนี้ คนเที่ยงธรรมจะ ทĽำประโยชน์ได้มากกว่านักดีดไลร์หรือช่างก่ออิฐในด้านใดบ้างล่ะ?” “ดูเหมือนจะเป็นด้านการเงินนะ” “แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องการ ใช้ เงินแน่ๆ สหายโพเลมาร์คัส เพราะถ้าเจ้าต้องการ ร่วมทุนกับหุ้นส่วนเพื่อซื้อหรือขายม้า ข้าฯ ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ม้าก็น่าจะ เป็นหุ้นส่วนที่ดีกว่าใช่ไหม?” “ก็น่าจะใช่นะ” “และในทĽำนองเดียวกัน ถ้าเจ้าต้องการร่วมหุ้นซื้อเรือสักลĽำ ช่างต่อเรือ หรือไม่ก็ต้นหนน่าจะเป็นหุ้นส่วนที่ดีกว่า?” “ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” “ถ้าอย่างนั้น ยังมีการใช้เงินในลักษณะใดบ้าง ที่คนเที่ยงธรรมจะเป็นหุ้นส่วน ผู้มีประโยชน์มากกว่าบุคคลอื่น?” “คงเป็นการเก็บรักษาเงินไว้ในที่ปลอดภัยที่สุดกระมังโสคราตีส” “เจ้าหมายถึงในเวลาที่ไม่ต้องการนĽำเงินมาใช้ และวางทิ้งมันไว้เฉยๆ อย่างนั้น ใช่ไหม?” “ใช่แล้ว” “ถ้าอย่างนั้น ก็แปลว่าความเที่ยงธรรมจะมีประโยชน์ที่สุด ในเวลาที่เงินทอง ไร้ประโยชน์ที่สุด?” “ข้าฯ เกรงว่าคงเป็นอย่างนั้น” “งั้นถ้าเปลี่ยนจากเงินเป็นมีดตอนกิ่ง ในยามที่เจ้าเก็บรักษามันเอาไว้ ไม่ได้ [333d] [333c]
  • 19. เพลโต : 19 ใช้งาน ความเที่ยงธรรมก็จะมีประโยชน์ ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม แต่เมื่อใดก็ตาม เจ้าต้องการหยิบมีดเล่มนี้มาใช้ ตอนนั้นศิลปะด้านการตัดแต่งต้นไม้ก็จะมี ประโยชน์มากกว่าขึ้นมาทันใด ใช่หรือไม่?” “ก็น่าจะใช่” “งั้นในทĽำนองเดียวกัน เจ้าคงเห็นด้วยว่า เวลาเจ้าต้องการเก็บรักษาโล่ หรือ ไลร์ไว้ในที่ปลอดภัย และยังไม่อยากนĽำมันมาใช้ ตอนนั้นความเที่ยงธรรมจึงจะ มีประโยชน์ แต่ถ้าเจ้าต้องการจะนĽำพวกมันมาใช้เมื่อไร ศิลปะด้านการทหารกับ การดนตรีก็จะมีประโยชน์มากกว่า?” “นั่นย่อมเลี่ยงไม่ได้” “และสิ่งของอื่นๆ ก็เป็นเช่นนี้ใช่ไหม? ความเที่ยงธรรมจะไร้ประโยชน์ขึ้น มาทันใด หากสิ่งเหล่านั้นถูกนĽำมาใช้งาน แต่มันกลับจะมีประโยชน์ขึ้นมาใน บัดดล หากสิ่งเหล่านั้นถูกนĽำไปเก็บ?” “ก็คงอย่างนั้น” “ถ้าเป็นอย่างนี้นะสหาย ความเที่ยงธรรมก็ไม่ได้มีคุณค่าอะไรเท่าไรเลย เพราะมันจะมีประโยชน์ได้ในเวลาที่สิ่งอื่นๆ ไร้ประโยชน์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามที เจ้าลองมองมุมนี้ดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการชกมวย หรือศิลปะการต่อสู้อื่นใด ผู้เก่งกาจด้านการออกหมัดมากที่สุด ย่อมต้องเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ด้านการตั้งรับด้วย ถูกต้องไหม?” “แน่นอน” “และผู้เชี่ยวชาญการป้องกันโรคที่สุดย่อมต้องแพร่กระจายโรคเหล่านั้นได้ อย่างแนบเนียนที่สุดด้วย?” “อย่างน้อยก็ในทัศนะของข้าฯ ล่ะ” “และผู้มีความเป็นเลิศด้านการพิทักษ์ค่ายทัพก็ย่อมต้องรู้จักล้วงความลับ แผนการของข้าศึกและอื่นๆ ได้อย่างดีที่สุดด้วย?” “แน่นอน” “งั้นผู้พิทักษ์อันเก่งกาจ ก็ย่อมต้องเป็นหัวขโมยผู้ชĽ่ำชองชĽำนาญด้วยเช่นกัน?” [333e] [334a]
  • 20. 20 : รีพับลิก “ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” “และทĽำนองเดียวกัน หากคนผู้หนึ่งชĽำนาญด้านการเก็บรักษาเงิน เขาก็ต้อง เก่งกาจด้านการลักขโมยงัดแงะด้วย?” “ถ้าว่ากันตามตรรกะนี้ก็คงใช่” เขาพูด “ถ้าอย่างนั้นก็ดูเหมือนว่าคนเที่ยงธรรมคือโจรดีๆ นี่เองน่ะสิ หึ! เจ้าคงได้ ความคิดประเภทนี้มาจากโฮเมอร์แน่ๆ โฮเมอร์น่ะ สรรเสริญอาวโทลิคัส ผู้เป็นตา ของโอดิสซิอัส เขาบอกว่าอาวโทลิคัสนั้นมีความเก่งกาจเหนือคนทั้งปวง ‘ทั้งด้าน โจรกรรมและคĽำสบถ’27 เอาล่ะ งั้นทั้งเจ้า ทั้งโฮเมอร์ และทั้งซิโมนิดีส ต่างก็มีทัศนะ ตรงกันสินะว่า ความเที่ยงธรรมนั้นเป็นศิลปะด้านการลักขโมยแขนงหนึ่งซึ่ง สร้างประโยชน์แก่มิตรสหาย และสร้างความฉิบหายแก่ศัตรู เจ้าหมายความว่า อย่างนี้ใช่ไหม?” “เฮ้ย! ไม่ใช่ๆ เทพซุสเป็นพยานที” เขาพูด “เอาเป็นว่าข้าฯ ไม่รู้แล้วว่าสิ่งที่ ข้าฯ พูดๆ ไปมันหมายความว่าอย่างไรบ้าง ข้าฯ ไม่รู้แล้ว แต่ข้าฯ ก็ยังคงมีทัศนะ เช่นเดิมอยู่นะ ว่าความเที่ยงธรรมนั้นคือการให้ความช่วยเหลือแก่มิตรสหายและ ก่ออันตรายแก่ศัตรู” “พูดถึงมิตรสหาย คĽำว่ามิตรสหายของเจ้าหมายถึงคนที่ดูเหมือนจะดีต่อเรา หรือคนที่ดีต่อเราจริงๆ แต่เราอาจไม่รู้กันแน่? และความหมายของศัตรูก็ต้อง ถามในทĽำนองเดียวกันนี้ด้วย” “ข้าฯ ว่า” เขาพูด “เราย่อมรักคนที่เรา เชื่อ ว่าดีต่อเรา และเกลียดคนที่เรา พิจารณาแล้วว่าจะนĽำความเลวร้ายมาให้” “แต่มนุษย์ก็ทĽำพลาดในเรื่องทĽำนองนี้อยู่บ่อยๆ นะ คนจĽำนวนมากมักมี ทัศนคติว่าคนนั้นคนนี้ทĽำดีกับตน แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น และ ในทางกลับกันก็ด้วย พวกเขามักมองศัตรูพลาดไปเช่นกัน” “พวกเขาก็พลาดจริงๆ นั่นแหละ” “พอเป็นอย่างนี้ พวกเขาก็มักจะได้คนดีเป็นมาศัตรู และได้คนเลวมาเป็นมิตร ใช่ไหม?” [334c] [334b]
  • 21. เพลโต : 21 “ใช่” “และเมื่อเป็นเช่นนี้ ความเที่ยงธรรมก็จะกลายเป็นการสร้างประโยชน์แก่ คนเลวร้ายและสร้างฉิบหายแก่คนดีไปในทันทีใช่ไหม?” “ก็น่าจะใช่นะ” “แต่คนดีย่อมมีความเที่ยงธรรมเสมอ และจะไม่กระทĽำสิ่งที่ปราศจากความ เที่ยงธรรมเป็นอันขาด จริงไหม?” “จริงตามนั้น” “อ้าว! งั้นถ้าว่ากันตามตรรกะของเจ้า การสร้างความฉิบหายแก่ผู้ไม่เคย ก่อความไม่เที่ยงธรรมเลยนับเป็นการกระทĽำอันเที่ยงธรรมอย่างหนึ่งน่ะสิ?” “โอ๊ย! ใช่เสียทีไหนเล่าโสคราตีส” เขาพูด “ดูเหมือนตรรกะของข้าฯ จะยังไม่ ดีพอสินะ” “งั้นเอาอย่างนี้” ข้าฯ กล่าว “เจ้ามองว่า การก่ออันตรายแก่ผู้ไร้ความเที่ยงธรรม และมอบประโยชน์แก่ผู้เที่ยงธรรมนับเป็นความเที่ยงธรรมหรือไม่?” “อย่างน้อยมันก็ฟังดูเข้าท่ากว่าอันเมื่อครู่นี้” “ถ้าเช่นนั้นนะโพเลมาร์คัส สĽำหรับคนหมู่มาก28 – ซึ่งเป็นมนุษย์ผู้ทĽำผิดพลาด กันอยู่เสมอ – การก่ออันตรายแก่สหายที่ตนเห็นว่าเลวย่อมเป็นความเที่ยงธรรม และการสร้างประโยชน์แก่ศัตรูที่ตนเห็นว่าดีนั้นต้องเป็นความเที่ยงธรรมด้วย เป็นอย่างไรล่ะ ข้อสรุปนี้ตรงกันข้ามกับนิยามของซิโมนิดีสโดยสิ้นเชิงเลยทีเดียว” “เป็นเช่นนั้นจริงๆ นั่นแหละ” เขากล่าว “แต่ข้าฯ ว่า เราน่าจะกลับไปแก้นิยาม ของมิตรสหายกับศัตรูกันเสียใหม่นะ เพราะดูท่านิยามของมันจะยังคงไม่ถูกต้อง เสียเท่าไร” “เจ้าจะแก้มันว่าอย่างไรล่ะ โพเลมาร์คัส?” “เมื่อกี้เราบอกว่า มิตรสหายคือคนที่ ดูเหมือนว่า ดีต่อเราใช่ไหม?” “อืม แล้วเราควรจะเปลี่ยนมันเป็นอะไร?” ข้าฯ พูด “นอกจากจะดูเหมือนว่าดีแล้ว เขายังต้องดีจริงๆ ด้วย อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า สหาย” เขาพูด “ส่วนคนที่ดูเหมือนว่าดี แต่กลับไม่ได้ดีต่อเราจริงๆ นั้นเป็นได้ [334d] [334e]
  • 22. 22 : รีพับลิก แค่คนที่ ดูเหมือน จะเป็นสหายเท่านั้นเอง ไม่ใช่สหายจริงๆ หรอก และนิยามของ ศัตรูก็ทĽำนองเดียวกัน” “งั้นถ้าว่ากันด้วยตรรกะนี้ ก็ดูเหมือนว่า สหายย่อมต้องเป็นคนที่ดีต่อเราเสมอ และศัตรูก็ย่อมต้องเป็นคนที่ไม่เคยดีต่อเราเลยใช่ไหม?” “ใช่” “นั่นคือเจ้าต้องการจะปรับแก้นิยามของความเที่ยงธรรมที่เพิ่งว่ากันไปเมื่อ ครู่ – หยิบยื่นคุณความดีแก่มวลมิตรและส่งมอบความฉิบหายแก่ศัตรู – โดย ต้องการแก้ใหม่ว่า ความเที่ยงธรรมคือการหยิบยื่นคุณความดีแก่สหาย ที่ดี และ ส่งมอบอันตรายแก่ศัตรู ที่เลว อย่างนี้ใช่ไหม?” “ใช่เลย” เขาพูด “อย่างนี้ล่ะ ค่อยฟังดูเข้าท่าขึ้นมาหน่อย อย่างน้อยก็ตาม ทัศนะของข้าฯ นะ” “แล้วบุรุษผู้มีความเที่ยงธรรม” ข้าฯ กล่าว “ยังมีหน้าที่ต้องสร้างความฉิบหาย ให้แก่มนุษย์ผู้ใดบ้างหรือเปล่า?” “มีสิ” เขาพูด “เขาต้องทĽำลายล้างคนเลวและศัตรูของเขาไง” “เหรอ แล้วถ้าเราทĽำร้ายม้า ม้าตัวนั้นจะดีขึ้นหรือเลวลง?” “ก็ต้องเลวลงสิ” “เลวลงที่ว่านี่วัดด้วยความดีงาม29ของม้าหรือของหมาล่ะ?” “ของม้าสิ” “ในทĽำนองเดียวกัน ถ้าหมาโดนทĽำร้าย มันก็ย่อมต้องเลวลงเช่นเดียวกัน โดยวัดจากความดีงามของหมา ไม่ใช่ม้า?” “นั่นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้” “และเราก็พูดอะไรทĽำนองนี้กับมนุษย์ด้วยใช่หรือเปล่า สหาย? เมื่อคนผู้หนึ่ง ถูกทĽำร้าย เขาย่อมต้องแย่ลงโดยวัดจากความดีงามของมนุษย์” “ถูกต้อง” “ความเที่ยงธรรมก็เป็นความดีงามของมนุษย์ใช่ไหม?” “นี่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกเช่นกัน” [335b] [335c] [335a]
  • 23. เพลโต : 23 “สหายน้อย ถ้าเช่นนั้นยิ่งมนุษย์เราถูกทĽำร้ายมากเท่าไร เขาก็จะยิ่งมีความ เที่ยงธรรมน้อยลงมากเท่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้30อย่างนั้นสิ?” “ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” “อืม แล้วเจ้าว่านักดนตรีสามารถใช้ดนตรีทĽำให้คนคนหนึ่งมีความชĽำนาญ ทางดนตรีลดลงได้หรือเปล่า?” “ไม่ได้หรอก” “แล้วนักขี่ม้าล่ะ? พวกเขาสามารถใช้วิชาขี่ม้าทĽำให้คนที่ขี่ม้าเป็นกลายเป็น คนขี่ไม่เป็นได้หรือเปล่า?” “ก็ไม่ได้เหมือนกัน” “ถ้าอย่างนั้นคนที่มีความเที่ยงธรรมจะสามารถใช้ความเที่ยงธรรมของตน ทĽำให้ผู้อื่นกลายเป็นคนไร้ความเที่ยงธรรมได้หรือเปล่า? หรือพูดง่ายๆ คือ คนดี สามารถใช้ความดีงามของตนเปลี่ยนผู้อื่นให้กลายเป็นคนเลวได้หรือเปล่า?” “เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด” “อืม ความร้อนย่อมไม่มีหน้าที่ในการผลิตความเย็น เพราะฉะนั้นการผลิต ความเย็นเป็นหน้าที่ของสิ่งซึ่งตรงข้ามกับความร้อนใช่ไหม?” “ใช่” “ความแห้งก็ไม่มีหน้าที่ในการสร้างความชื้น เพราะการสร้างความชื้นนั้น เป็นหน้าที่ของสิ่งตรงข้ามใช่ไหม?” “แน่ล่ะ” “ในทĽำนองเดียวกัน ความดีก็ย่อมไม่มีหน้าที่ในการทĽำร้ายสิ่งใด การทĽำร้ายนั้น เป็นหน้าที่ของสิ่งตรงข้าม” “ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น” “และคนเที่ยงธรรมก็เป็นคนดี?” “แน่นอน” “ถ้าเป็นไปตามนี้นะโพเลมาร์คัส คนเที่ยงธรรมย่อมไม่มีหน้าที่ในการทĽำร้าย สหายหรือทĽำร้ายใครทั้งนั้นแหละ การทĽำร้ายผู้อื่นย่อมเป็นหน้าที่ของคน [335d]
  • 24. 24 : รีพับลิก ประเภทตรงข้าม นั่นก็คือคนไม่เที่ยงธรรม ถูกไหม?” “ตามทัศนะของข้าฯ โสคราตีส” เขากล่าว “ท่านพูดได้จริงตามที่มันเป็นมากๆ เลยทีเดียว” “งั้นต่อไปถ้ามีใครสักคนบอกเราว่า ความเที่ยงธรรมคือการจ่ายคืนทุกสิ่งที่ เราติดค้าง และบุรุษผู้มีความเที่ยงธรรมต้องสร้างประโยชน์แก่มิตรสหายและ หยิบยื่นความฉิบหายแก่ศัตรู คนผู้นี้ก็คงไม่ใช่ผู้มีปัญญาเสียเท่าไร นั่นไม่ใช่ ความจริงตามที่มันเป็น เพราะพวกเราได้พิสูจน์กันไปเรียบร้อยแล้วว่าการ ทĽำร้ายผู้อื่นนั้นไม่ใช่ความเที่ยงธรรมอย่างแน่นอน เจ้าเห็นด้วยไหม?” “อืม ข้าฯ เห็นด้วย” เขากล่าว “งั้นเจ้าก็ต้องร่วมมือกับข้าฯ” ข้าฯ พูด “ช่วยกันต่อกรกับพวกที่ชอบอ้าง ซิโมนิดีส บิอัส พิททาคัส31 หรือบรรดาบุรุษผู้มีปัญญาและจิตใจสูงลĽ้ำทั้งหลาย ที่เป็นผู้ให้คĽำจĽำกัดความผิดๆ พวกนี้” “ข้าฯ คนหนึ่งล่ะ” เขาพูด “พร้อมจะร่วมมือกับท่านในการต่อสู้ครั้งนี้เสมอ”32 “เจ้ารู้ไหม” ข้าฯ กล่าว “ตามทัศนะของข้าฯ คĽำนิยามความเที่ยงธรรมดังกล่าว – ให้ประโยชน์แก่สหาย สร้างความฉิบหายแก่ศัตรู – สมควรจะตกเป็นของใคร?” “ใครล่ะ?” “ข้าฯ เห็นว่ามันควรเป็นของเพริอันดรัส หรือเพร์ดิคคัส ไม่ก็ของเซอรค์ซีส หรือ ของอิสเมนิอัสแห่งธีบส์33 หรือไม่งั้นก็น่าจะเป็นของบุรุษบ้าอĽำนาจคนอื่นๆ ที่มัก หลงคิดว่าตัวเองนั้นแกร่งกล้ากว่าใคร” “นั่นเป็นความจริงแท้ทีเดียว” เขาพูด “งั้นเอาล่ะ” ข้าฯ กล่าว “ในเมื่อชัดเจนแล้วว่าความเที่ยงธรรมและคน เที่ยงธรรมนั้นไม่ได้มีนิยามตามที่คนเหล่านี้ว่ามา ถ้าอย่างนั้นแล้ว มันคืออะไร กันแน่?” ขณะที่พวกเรากĽำลังพูดคุยกันอยู่ ธราซิมาคัสได้พยายามกล่าวแทรกขึ้นมา หลายครั้ง เพื่อจะเสนอตรรกะของเขาเข้ามากลางวงสนทนาแลกเปลี่ยนของ พวกเรา แต่ทุกครั้งคนนั่งข้างๆ ก็จะรั้งตัวเขาเอาไว้ก่อนอยู่เสมอ เพราะพวกเขา [335e] [336b] [336a]
  • 25. เพลโต : 25 อยากจะฟังการสนทนาของพวกเราให้จบเสียก่อน ทว่าหลังจากพวกเราเงียบลง ได้เพียงครู่เดียวเท่านั้น เขาก็ทนนิ่งอยู่ต่อไปไม่ไหว ดีดตัวผึงราวกับสัตว์ร้าย พร้อมพุ่งเข้าตะครุบเหยื่อ ปรี่ตรงเข้าใส่ด้วยท่าทีราวกับจะฉีกทึ้งพวกเราออก เป็นชิ้นๆ โพเลมาร์คัสกับข้าฯ ตกใจจนแทบทĽำอะไรไม่ถูก เมื่อได้ยินเสียงคĽำราม ของเขาดังขึ้นว่า “โสคราตีส! พวกท่านสองคนพูดอะไรไร้สาระกันอยู่ได้ตั้งนาน? ทĽำตัว อย่างกับพวกไร้สมอง ยอมกันไปยอมกันมาอยู่ได้! ถ้าท่านอยากจะรู้จริงๆ ว่า ความเที่ยงธรรมคืออะไร ท่านก็ควรจะเลิกใช้วิธีตั้งคĽำถาม แล้วหักล้างคĽำตอบ เสียที การทĽำอย่างนี้มันอาจตอบสนองต่อความรักในเกียรติยศของท่านได้ แต่ท่านก็รู้แก่ใจดีมิใช่หรือว่าการถามน่ะ มันง่ายกว่าการตอบ ไหนท่านลองตอบ คĽำถามตัวเองดูซิ บอกพวกเราทุกคนตรงนี้หน่อยซิ ว่าความเที่ยงธรรมมันคือ อะไร ไม่ใช่มัวแต่ไล่เรียงกันอยู่นั่น อ้อ! ท่านไม่ต้องบอกข้าฯ หรอกนะว่ามันคือ ความมีประโยชน์ ความจĽำเป็น การทĽำกĽำไร หรือความได้เปรียบของชีวิต ท่านจง บอกออกมาให้มันละเอียด และก็ชี้ให้ชัดลงไปเลยว่าท่านหมายถึงอะไรกันแน่ วิธีการไร้สาระของท่านน่ะข้าฯ รับไม่ได้!” คĽำพูดของเขาทĽำเอาข้าฯ ผงะ ขณะมองดูเขาตาไม่กะพริบ รู้สึกหวั่นกลัวอยู่บ้าง ตอนนั้นข้าฯ คิดว่า ถ้าไม่บังเอิญหันไปเห็นเขาเข้าก่อนที่เขาจะจ้องเขม็งมาทางนี้ ตัวข้าฯ คงต้องนิ่งอึ้งพูดอะไรไม่ออกเป็นแน่34 แต่ก็อย่างที่ว่านั่นล่ะ ข้าฯ หันไปเห็น เขาตั้งแต่การพูดคุยของเราเริ่มสร้างความรĽำคาญใจให้ ด้วยเหตุนี้ ข้าฯ จึงยังมีแรง อ้าปากตอบคĽำถาม ถึงแม้จะสั่นๆ อยู่บ้างเล็กน้อยก็ตาม “อย่าได้โกรธเคืองพวกเราเลย ธราซิมาคัส” ข้าฯ กล่าว “ถ้าตรรกะของข้าฯ กับ โพเลมาร์คัสมีการคิดพิจารณาอะไรที่ผิดพลาดไปบ้าง พวกเราก็ไม่ได้ตั้งใจหรอก ขนาดเวลาที่เราออกค้นหาขุมทอง เรายังไม่ยอมใครเลย เพราะถ้ายอมก็เท่ากับ เป็นการทĽำลายโอกาสอันโอชะของตนเอง แต่ความเที่ยงธรรมนั้นมีค่ามากกว่า ขุมทองอีกนะ เราจะยอมกันไปกันมาโดยสะเพร่าอย่างเจ้าว่าได้รึ พวกเราย่อม ต้องจริงจังในการค้นหาไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดอยู่แล้ว ขอเจ้าอย่าได้คิดอะไรไป [336c] [336e] [336d]
  • 26. 26 : รีพับลิก อย่างนั้นเลยสหาย ข้าฯ อยากให้เจ้ามองว่าพวกเราต่างหากที่ยังมีความสามารถ ไม่มากพอ ฉะนั้นคนเก่งอย่างเจ้าจึงสมควรจะสงสารพวกเราเสียมากกว่าจะมา โกรธเคืองกันนะ” เมื่อได้ยินดังนั้น เขาก็ส่งเสียงหัวเราะเยาะออกมาดังลั่น ก่อนจะกล่าวขึ้นว่า “โอ้ ในนามแห่งเฮราคลีส! นี่คือวาจาย้อนแย้งตามแบบฉบับโสคราตีสสินะ!35 กะแล้วเชียว กะแล้วเชียว ข้าฯ เพิ่งจะบอกสหายพวกนี้อยู่หลัดๆ ว่าท่านต้อง ไม่ยอมตอบคĽำถามแน่ๆ เพราะเวลามีใครตั้งคĽำถามกับท่านทีไร ท่านก็จะเอา แต่พูดจาวกวนไปมา ใช้วาจาย้อนแย้งแทนที่จะให้คĽำตอบกันดีๆ” “นั่นเป็นเพราะเจ้าเป็นผู้มีปัญญาต่างหากเล่าสหายธราซิมาคัส” ข้าฯ พูด “หากเจ้าถามคนผู้หนึ่งว่า ‘เลขสิบสองนั้นมีค่าเท่าใดได้บ้าง’ แต่ก่อนที่เขาจะตอบ เจ้ากลับเตือนเขาล่วงหน้าอย่างรู้เท่าทันว่า ‘มนุษย์เอ๋ยมนุษย์ อย่าบอกนะว่า เจ้าจะตอบข้าฯ ว่าสองคูณหก สามคูณสี่ หกคูณสอง หรือสี่คูณสามน่ะ คĽำตอบ ไร้สาระพวกนี้ ข้าฯ รับไม่ได้หรอก’ เจ้าเองก็รู้ดีว่าเมื่อเจ้าตั้งกรอบเอาไว้ก่อนเช่นนี้ ก็คงจะไม่มีใครตอบอะไรเจ้าได้อีกแน่36 แต่ว่าถ้าคนผู้นั้นเกิดถามเจ้ากลับว่า ‘เจ้าพูดอะไรน่ะ ธราซิมาคัส เจ้ากĽำลังจะบอกว่า ข้าฯ ไม่สามารถหยิบคĽำตอบ เหล่านั้นมาใช้ได้ ต่อให้ว่าหนึ่งนั้นเป็นคĽำตอบที่ถูกต้องก็ตามน่ะหรือ? โอ้! ช่างน่าทึ่งเสียจริง! นี่แสดงว่าเจ้าต้องการจะให้ข้าฯ ตอบคĽำตอบอื่นนอกเหนือไป จากความจริงตามที่เป็นสินะ? หรือว่าเจ้ากĽำลังพูดถึงสิ่งใดนอกเหนือไปจากนี้?’ เอาล่ะ ถ้าเจออย่างนี้เข้า เจ้าจะตอบว่าอะไร?” “ให้ตายสิ” เขาพูด “อย่างกับว่าทั้งสองกรณีนี้ มันมีอะไรคล้ายกันเสีย อย่างนั้นแหละ”37 “ก็แล้วทĽำไมมันจะไม่คล้ายกันเล่า?” ข้าฯ กล่าว “หรือต่อให้สมมติว่ามันไม่มี อะไรคล้ายกัน แต่ถ้าไอ้คนที่ถูกถาม38เห็นว่ามันคล้ายล่ะ เจ้าคิดว่า เราจะห้ามเขา ไม่ให้ตอบในสิ่งที่เขาเห็นว่าถูกต้องได้หรือ ไม่ว่าเราจะอนุญาตหรือไม่ก็ตาม?” “โอ้! ท่านจะเอาอย่างนั้นเลยหรือ?” เขาพูด “ท่านจะหยิบเอาคĽำตอบที่ข้าฯ ห้ามไว้มาตอบอย่างนั้นหรือ?”39 [337a] [337c] [337b]
  • 27. เพลโต : 27 “ก็ถ้าเกิดว่าหนึ่งในคĽำตอบพวกนั้นเป็นทัศนคติอันเกิดจากการพิจารณา อย่างถี่ถ้วนแล้ว” ข้าฯ พูด “ข้าฯ ก็ไม่เห็นว่ามันจะน่าประหลาดใจตรงไหนเลยนี่” “ได้! งั้นถ้าข้าฯ สามารถให้คĽำตอบเรื่องความเที่ยงธรรมที่ต่างออกไปจากของ พวกท่านได้และยังเป็นคĽำตอบที่ชัดเจนกว่าอีกด้วยล่ะ ถ้าข้าฯ ทĽำได้ ท่านคิดว่า ตนเองสมควรได้รับโทษอย่างไรจึงจะสาสม ขอให้ท่านว่ามา”40 “การลงทัณฑ์ใดเล่าจะสาสมแก่ผู้ไม่รู้ได้มากไปกว่าการให้เขาได้เรียนจาก ผู้รู้” ข้าฯ พูด “แน่นอน ข้าฯ สมควรได้รับสิ่งนี้ล่ะ” “พูดพล่อยๆ เป็นคนเอาแต่ได้!” เขากล่าว “ไม่ได้หรอก นอกจากการได้เรียนรู้ แล้วท่านยังต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินด้วย” “มีเมื่อไรข้าฯ ก็จ่ายให้เมื่อนั้น” ข้าฯ พูด “เงินน่ะ เขาต้องมีอยู่แล้ว” กลาวคอนพูดแทรกขึ้น “ถ้าเป็นเรื่องเงินนะ ขอให้ บอกมาได้เลยธราซิมาคัส พวกเราจะเป็นคนจ่ายให้โสคราตีสเอง” “ให้ตายสิ เชื่อเขาเลย” ธราซิมาคัสพูด “ทีนี้โสคราตีสก็จะทĽำเหมือนเดิมได้อีก เขาจะไม่ยอมตอบคĽำถามใดๆ ทั้งสิ้น แต่พอมีใครโยนคĽำตอบมาให้สักข้อนะ เขาก็จะงัดเอาตรรกะของมันออกมา จากนั้นก็จะพูดจาหักล้างมันเสีย” “โธ่เอ๋ย! พ่อคนเก่ง” ข้าฯ พูด “คนเรามันจะตอบอะไรได้ล่ะ ถ้าไม่รู้คĽำตอบ หรือไม่ได้ต้องการจะอวดอ้างว่าตัวเองรู้ (แถมยังถูกชายไม่ธรรมดาบางคนห้าม ไม่ให้แสดงความคิดเห็นอีก)? การโยนให้เจ้าเป็นคนตอบ มันถึงได้ดูเหมาะสม กว่าไง เพราะเจ้าพูดออกมาเองว่าเจ้ารู้และพูดได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ช่วยสงเคราะห์ ข้าฯ ด้วยคĽำสอนของเจ้าหน่อยแล้วกันนะ กลาวคอนกับคนอื่นๆ จะได้ฟังด้วย อย่าหวงวิชานักเลย” ขณะข้าฯ พูดอยู่นั้น กลาวคอนและคนอื่นๆ ก็พากันร้องขอให้เขาช่วยอธิบาย มันออกมาเสียที เห็นได้ชัดว่าธราซิมาคัสคิดว่าตนเองถือคĽำตอบอันเลิศลĽ้ำไว้ ในมือ และเขาก็ปรารถนาจะพูดจนตัวสั่น เพื่อให้คนรอบข้างจะได้มีทัศนะอันดีต่อ ตัวเขา กระนั้นเขากลับแสร้งทĽำเป็นบีบบังคับให้ข้าฯ เป็นฝ่ายตอบออกมาก่อน อยู่นั่น มันจะได้ดูราวกับว่าตนเองนั้นได้รับชัยชนะหนนี้อย่างขาดลอย อย่างไร [337d] [337e] [338a]
  • 28. 28 : รีพับลิก ก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วเขาก็ยอมตอบตกลงและกล่าวว่า “อ๋อ! นี่คือระดับปัญญาของโสคราตีสสินะ ตัวเขาเองไม่ยินดีจะสอนสิ่งใด ต่อใครทั้งนั้น เอาแต่วิ่งแจ้นขอเรียนจากคนอื่นไปทั่ว แถมยังไม่เคยมีสĽำนึกจะ ขอบคุณใครอีก” “เรื่องว่าข้าฯ ไปขอเรียนจากผู้อื่นน่ะ เจ้าพูดจริงตามที่มันเป็น ธราซิมาคัส” ข้าฯ พูด “แต่ที่บอกว่าข้าฯ ไม่เคยสĽำนึกในบุญคุณใครน่ะ มันไม่ใช่เรื่องจริงเลย ข้าฯ ตอบแทนทุกคนด้วยทุกอย่างที่ข้าฯ มี แต่ในเมื่อข้าฯ ไม่มีเงินทองติดตัว ข้าฯ จึงทĽำได้แค่กล่าวคĽำสรรเสริญเท่านั้น ถ้าใครพูดได้ดี ข้าฯ ย่อมมีความประสงค์ จะมอบคĽำชื่นชมให้ เมื่อเจ้าแสดงคĽำตอบนั้นออกมาแล้วก็จะได้รู้เองนั่นล่ะ ข้าฯ หวังว่าเจ้าคงพูดได้ดีนะ” “ได้ งั้นก็ฟังให้ดีล่ะ” เขากล่าว “ข้าฯ ขอบอกเลยว่า ความเที่ยงธรรมนั้น ไม่ใช่ สิ่งอื่นใด นอกเหนือไปจากผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า...41 ว่าอย่างไร? ทĽำไมไม่สรรเสริญข้าฯ เสียหน่อยล่ะ? อ้อ! เดี๋ยวท่านก็คงจะหาเรื่องหลบเลี่ยงไป อยู่ดีสินะ” “อันดับแรกขอให้ข้าฯ ได้เข้าใจความหมายของเจ้าเสียก่อนซี เพราะข้าฯ ยัง ไม่เข้าใจอะไรเลย” ข้าฯ พูด “เจ้าบอกว่าผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า คือความเที่ยงธรรมอย่างนั้นใช่ไหม? เจ้าหมายความว่าอย่างไรล่ะ ธราซิมาคัส? สมมติว่าโพลิดามัส42แข็งแกร่งกว่าเรา และการได้บริโภคเนื้อสัตว์มากๆ เพื่อ เสริมสร้างกĽำลังร่างกายก็ถือเป็นผลประโยชน์ของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อสัตว์ ย่อมถือเป็นผลประโยชน์และเป็นความเที่ยงธรรมต่อพวกเราผู้อ่อนแอกว่า ด้วยหรือเปล่า?” “ท่านช่างน่ารังเกียจจริงๆ โสคราตีส” เขาพูด “ท่านเอาตรรกะของข้าฯ ไปวาง ไว้ในจุดที่จะให้ร้ายข้าฯ ได้มากที่สุด” “เปล่าเสียหน่อย พ่อคนเก่ง” ข้าฯ ว่า “ไหนเจ้าช่วยอธิบายความหมายของเจ้า ให้ชัดเจนทีซิ?” “ท่านไม่รู้รึยังไง ว่าเมืองบางเมืองนั้น43ถูกปกครองโดยทรราช แต่บางเมือง [338b] [338c] [338d]
  • 29. เพลโต : 29 ก็ประชาธิปไตย และบางเมืองก็อภิชนาธิปไตย?” “ใช่ ข้าฯ รู้” “และในแต่ละเมือง เหล่าผู้ถืออĽำนาจปกครองนั้นก็เป็นนายเหนือคนอื่น?” “ใช่” “และผู้ถืออĽำนาจปกครองย่อมต้องออกกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ทั้งสิ้น ประชาธิปไตยย่อมออกกฎหมายเพื่อประชาธิปไตย ทุชนาธิปไตยย่อม ออกกฎหมายเพื่อทรราช และระบอบอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ พวกเขาทุกคน ย่อมต้องประกาศว่ากฎหมายของตน (นั่นก็คือผลประโยชน์ของตนเองนั้น) มีความเที่ยงธรรมต่อทุกๆ คนที่อยู่ใต้อาณัติ และแน่นอน พวกเขาย่อมคาดโทษ แก่ผู้ไม่ยอมปฏิบัติตาม โดยกล่าวว่าคนเหล่านี้เป็นพวกนอกกฎหมาย เป็นพวก ขาดความเที่ยงธรรม นี่ล่ะความเที่ยงธรรมมันเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าเมืองไหนๆ ก็เป็น อย่างนี้ มันคือผลประโยชน์ของผู้ถืออĽำนาจออกกฎ เพราะผู้ถืออĽำนาจออกกฎ ย่อมเป็นผู้แข็งแกร่งกว่าใครเสมอ และไม่ว่าใครหากรู้จักคิดด้วยตรรกะก็ย่อม ต้องได้ข้อสรุปเช่นนี้ ความเที่ยงธรรมนั้น เป็นเช่นเดียวกันหมดทุกที่ทุกสถาน มันคือผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า” “อืม ตอนนี้ข้าฯ เข้าใจความหมายของเจ้าแล้ว” ข้าฯ กล่าว “ข้าฯ คงต้องขอ พิจารณาเสียหน่อย ว่ามันเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ แต่ว่าก็ว่าเถอะธราซิมาคัส ขนาดเจ้าเองยังบอกว่าการเป็นคนเที่ยงธรรมนั้นคือผลประโยชน์อย่างหนึ่งเลย ไม่ใช่รึ แล้วทĽำไมเมื่อครู่เจ้ากลับห้ามไม่ให้ข้าฯ ตอบอะไรทĽำนองนี้ล่ะ แต่เอาเถอะ ยังไงเสียเจ้าก็เพิ่มคĽำว่า ‘แก่ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า’ เข้าไปด้วยนี่นะ” “ข้าฯ เติมเข้าไปนิดเดียวเท่านั้นแหละ” เขาพูด “มันนิดเดียวจริงหรือเปล่านั้นยังไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ คือเราต้องลองตรวจสอบ ความจริงของมันดูเสียหน่อย” ข้าฯ พูด “ข้าฯ เห็นด้วยนะว่าความเที่ยงธรรม เป็นสิ่งซึ่งจะนĽำผลประโยชน์มาให้ แต่เจ้ากลับเติมคĽำว่า ‘แก่ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า’ ต่อท้ายเข้าไปด้วยนี่สิ ข้าฯ ก็เลยชักไม่แน่ใจ เราคงต้องลองพิจารณามันดูแล้วล่ะ” “เอาสิ เอาเลย” เขากล่าว [338e] [339a] [339c]