SlideShare a Scribd company logo
1 of 34
Download to read offline
คูมือประกอบสื่อการสอน วิชาคณิตศาสตร
                    เรื่อง
           การนับและความนาจะเปน
               (เนือหาตอนที่ 7)
                   ้
               ความนาจะเปน 2

                      โดย
      ผูชวยศาสตราจารย ดร.ณัฐกาญจน ใจดี

      สื่อการสอนชุดนี้ เปนความรวมมือระหวาง
   คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กับ
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
               กระทรวงศึกษาธิการ
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
              สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                          สื่อการสอน เรื่อง การนับและความนาจะเปน

         สื่อการสอน เรื่อง การนับและความนาจะเปน มีจํานวนตอนทั้งหมดรวม 16 ตอน ซึ่งประกอบดวย

 1. บทนํา เรื่อง การนับและความนาจะเปน
 2. เนื้อหาตอนที่ 1 การนับเบื้องตน
                          - กฎเกณฑเบื้องตนเกียวกับการนับ
                                                  ่
                          - วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเสน(สิ่งของแตกตางกันทั้งหมด)
 3. เนื้อหาตอนที่ 2 การเรียงสับเปลี่ยน
                          - วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเสน (สิ่งของไมแตกตางกันทั้งหมด)
                          - วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม
 4. เนื้อหาตอนที่ 3 การจัดหมู
                          - วิธีจัดหมู
 5. เนื้อหาตอนที่ 4 ทฤษฎีบททวินาม
                          - ทฤษฎีบททวินาม
                          - ทฤษฎีบทอเนกนาม
 6. เนื้อหาตอนที่ 5 การทดลองสุม
                          - การทดลองสุม
                          - ปริภูมิตัวอยาง
                          - เหตุการณและความนาจะเปน
 7. เนื้อหาตอนที่ 6 ความนาจะเปน 1
                          - สมบัติพื้นฐานของความนาจะเปน
                          - การหาความนาจะเปนแบบงาย
 8. เนื้อหาตอนที่ 7 ความนาจะเปน 2
                          - การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ
                          - การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร
 9. แบบฝกหัด (พื้นฐาน 1)
10. แบบฝกหัด (พื้นฐาน 2)
11. แบบฝกหัด (ขันสูง)
                   ้
12. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง หลักการบวกและหลักการคูณสําหรับการนับ
13. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน
                                                    1
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
             สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


14. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง ทฤษฎีบททวินาม
15. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง ความนาจะเปน
16. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง การใสบอลลงกลอง

         คณะผูจัดทําหวังเปนอยางยิ่งวา สื่อการสอนชุดนี้จะเปนประโยชนตอการเรียนการสอนสําหรับ
 ครู และนักเรียนทุกโรงเรียนที่ใชสื่อชุดนี้รวมกับการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร เรื่อง การนับและ
 ความนาจะเปน นอกจากนี้หากทานสนใจสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตรในเรื่องอื่นๆที่คณะผูจัดทําได
 ดําเนินการไปแลว ทานสามารถดูชื่อเรื่อง และชื่อตอนไดจากรายชื่อสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตรทั้งหมด
 ในตอนทายของคูมือฉบับนี้




                                                   2
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
             สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


เรื่อง            การนับและความนาจะเปน (ความนาจะเปน 2)
หมวด              เนื้อหา
ตอนที่            7 (7/7)

หัวขอยอย       1. การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ
                 2. การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร

จุดประสงคการเรียนรู
    เพื่อใหผูเรียน
    1. สามารถหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชกฎการนับได
    2. สามารถหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอรได

ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
             
   ผูเรียนสามารถ
   1. อธิบายวิธีการหาและหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชกฎการนับได
   2. อธิบายวิธีการหาและหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอรได




                                                   3
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                             เนื้อหาในสื่อการสอน




                             เนื้อหาทั้งหมด




                                      4
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




   1. การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ




                                      5
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                  สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                              1. การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ

          ในหัวขอนี้เริ่มดวยการทบทวนการหาความนาจะเปนของเหตุการณในกรณีที่ปริภูมิตวอยางประกอบ
                                                                                     ั
ดวยสมาชิกทีมีโอกาสเกิดขึนไดเทา ๆ กัน ซึ่งในการหาความนาจะเปนของเหตุการณดังกลาว เราตองทราบ
              ่                 ้
จํานวนสมาชิกของปริภูมิตวอยางและจํานวนสมาชิกของเหตุการณทเี่ ราสนใจ ดังนั้นในสื่อการสอนตอนนี้ เราจะ
                              ั
เนนที่การหาจํานวนสมาชิกดังกลาว โดยใช
              1. กฎการนับ
              2. แผนภาพเวนน-ออยเลอร
          สําหรับในหัวขอนี้ เราจะศึกษาการหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับควบคูกับสมบัติของความนาจะ
เปน ซึ่งจะทําใหเราสามารถหาความนาจะเปนไดสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น




                                                        6
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                      สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




          เมื่อผูเรียนไดชมตัวอยางการหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับจากสื่อการสอนแลว                   ผูสอนควรให
ผูเรียนทําตัวอยางตอไปนี้เพิมเติมเพื่อเปนการฝกทักษะ
                               ่

ตัวอยาง สุมหยิบเสื้อ 3 ตัวจากตูเสื้อผาซึ่งมีเสื้อสีแดง 3 ตัว สีขาว 2 ตัว และสีน้ําเงิน 5 ตัว จงหาความนาจะเปนที่
สุมไดเสื้อครบทุกสี
วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณทสุมไดเสื้อครบทุกสี
                                                                ี่
           ดังนั้น
                                                 3  2   5
                                                   
                                       n( E )  1   1   1  30 1
                              P( E ) =        =                 =    =
                                       n( S )       10          120 4
                                                     
                                                    3




                                                            7
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                   สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


ตัวอยาง พจนานุกรมครบชุดมี 10 เลม มีหมายเลข 1 – 10 กํากับไว สุมหยิบหนังสือทีละเลมเรียงไวบนชั้นยาว
ตามลําดับที่หยิบได จนครบทั้งสิบเลม จงหาความนาจะเปนที่หนังสือหมายเลขตอเนื่องกันจะอยูติดกัน
                                                                                           
วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณทหนังสือหมายเลขตอเนื่องกันจะอยูตดกัน
                                                     ี่                                  ิ
        ดังนั้น                               หมายเลขจากนอยไปมาก และ
                                                     หมายเลขจากมากไปนอย
                                        n( E ) 2
                             P( E ) =         =
                                        n( S ) 10!


ตัวอยาง จัดคน 8 คน ซึ่งมีสายชล นทีและวารีรวมอยูดวย นั่งรับประทานอาหารรอบโตะกลม 8 ทีนั่ง จงหา
                                                                                     ่
ความนาจะเปนที่ทั้งสามคนไดนั่งติดกัน
วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณที่สายชล นทีและวารีไดนั่งติดกัน
        ดังนั้น
                                            n( E ) (6 − 1)!3! 1
                                 P( E ) =          =         =
                                            n( S )   (8 − 1)! 7


ตัวอยาง ในการเรียงสับเปลี่ยนตัวอักษรจากคําวา “MODEL” จงหาความนาจะเปนทีจะไดคาที่ข้นตนดวยสระ
                                                                            ่   ํ ึ
วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณทไดคําที่ขึ้นตนดวยสระ
                                                     ี่
                                            2   ×      4!

                              O หรือ E               จัด 4 ตัวที่เหลือ

        ดังนัน
             ้
                                          n( E ) 2!4! 2
                               P( E ) =          =    =
                                          n( S )   5!   5




       สําหรับตัวอยางตอไปนี้เปนเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งผูสอนควรสอดแทรกใหผูเรียนเห็นโทษของ
ยาเสพติดและแนะนําผูเรียนใหอยูหางจากยาเสพติด
                                




                                                          8
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                   สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




        หลังจากผูเรียนไดชม “ปญหาชวนคิด” ในสื่อการสอนแลว ผูสอนอาจใหผูเรียนชวยกันคิดหาคําตอบ
จากนั้นผูสอนจึงแสดงใหผูเรียนดู

ปญหาชวนคิด นักทองเที่ยวคนหนึ่งไดนายาเสพติด 4 เม็ด ใสไวในขวดที่มวิตามินอยู 20 เม็ด ถาเจาหนาทีดาน
                                           ํ                                  ี                      ่
ศุลกากรสุมหยิบมาตรวจ 3 เม็ด แลวนําไปวิเคราะห จงหาความนาจะเปนที่นักทองเที่ยวคนนี้จะถูกจับดวยขอหามี
ยาเสพติดไวในครอบครอง
วิธีทํา แบบที่ 1
        P(ถูกจับขอหามียาเสพติด)
        = P(สุมไดยาเสพติด 1 เม็ด หรือ สุมไดยาเสพติด 2 เม็ด หรือ สุมไดยาเสพติด 3 เม็ด)
        = P(สุมไดยาเสพติด 1 เม็ด) + P( สุมไดยาเสพติด 2 เม็ด) + P( สุมไดยาเสพติด 3 เม็ด)




                                                         9
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                   สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

       4   20   4  20   4   20 
                
        1 2          2 1         3 0
    =     +    +    
          24         24        24 
                               
         3          3         3
        760 120            4     884 221
    =          +      +       =         =
       2024 2024 2024 2024 506


    แบบที่ 2
    P(ถูกจับขอหามียาเสพติด)    = 1−    P(ไมถูกจับขอหามียาเสพติด)
                                =   1 − P(สุมไดวิตามินทังหมด)
                                                          ้
                                      4   20 
                                       
                                       0 3
                                = 1−    
                                         24 
                                         
                                        3
                                     1140 884 221
                                = 1−         =    =
                                     2024 2024 506
ขอสังเกต จากปญหาชวนคิดขางตน จะพบวาเมื่อเรานําสมบัติของความนาจะเปนทีวา สําหรับเหตุการณ E ใด ๆ
                                                                          ่

                                      P( E ′) = 1 − P( E )


มาชวยในการหาคําตอบ ทําใหการคํานวณมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น




                                                        10
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                                   แบบฝกหัดเพิ่มเติม
                       เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ

1. ในการเรียงสับเปลี่ยนตัวอักษรจากคําวา “GEOMETRY” จงหาความนาจะเปนที่ “E” ไมอยูตดกัน          ิ
2. สุมนักเรียน 3 คนจากนักเรียนทั้งหมด 8 คนที่มีสวนสูงตาง ๆ กัน จงหาความนาจะเปนที่จะสุมได
   นักเรียนที่มสวนสูงมากที่สุดรวมอยูดวย
               ี                      
3. ในการประกวดรองเพลงรอบสุดทาย มีผูเขารอบ 5 คน ผูเขารอบแตละคนตองรองเพลงเพียง 1 เพลง
   โดยเลือกจากเพลงทั้งหมด 8 เพลงที่กองประกวดจัดไว จงหาความนาจะเปนทีมีผูเขารอบอยางนอย 2 คน
                                                                                 ่
   เลือกรองเพลงเดียวกัน
4. สลากชุดหนึ่งมี 10 ใบ ซึ่งมีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 1 – 10 จงหาความนาจะเปนทีจะ    ่
   หยิบสลากพรอมกัน 3 ใบ โดยใหมแตมรวมกันเปน 9 และไมมีสลากใบใดมีหมายเลขสูงกวา 5
                                     ี
5. เรือนรับรองหลังหนึ่งมี 3 หอง หองแรกพักได 3 คน สวนอีก 2 หอง พักไดหองละ 2 คน ถามีแขก 7 คน
   เปนหญิง 3 คน ชาย 4 คน จะเดินทางมาพักโดยไมแจงเพศใหทราบลวงหนา จงหาความนาจะเปนที่
   เจาภาพจะจัดใหหญิง 3 คนไดพกอยูหองเดียวกัน
                                  ั 
6. นักทองเที่ยวคนหนึ่งไดนํายาเสพติด 4 เม็ด ใสไวในขวดทีมีวิตามินอยู 8 เม็ด ถาเจาหนาที่ดานศุลกากร
                                                           ่
   สุมหยิบมาตรวจ 5 เม็ด แลวนําไปวิเคราะห จงหาความนาจะเปนที่นกทองเที่ยวคนนี้จะถูกจับดวยขอหา
                                                                     ั
   มียาเสพติดไวในครอบครอง
7. กลองใบหนึ่งบรรจุสลาก 10 ใบ มีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 0 – 9 สุมสลาก 3 ใบจากกลอง
   ใบนี้พรอมกัน จงหาความนาจะเปนทีจะไดสลากทั้งหมายเลขคูและสลากหมายเลขคี่
                                         ่
8. นักเรียนกลุมหนึ่งประกอบดวยนักเรียนชาย 5 คนและนักเรียนหญิง 6 คน สุมนักเรียนกลุมนี้ 3 คนเพื่อ
   ตอบคําถามในชั้นเรียน จงหาความนาจะเปนทีจะสุมไดนักเรียนชายเพียง 1 คน
                                                ่




                                                     11
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
   สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




2. การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร




                                        12
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                   สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                        2. การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร

         ในหัวขอนี้ ผูเรียนจะไดศกษาเรื่อง “การหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร” โดยในสื่อ
                                   ึ
การสอน จะเริมดวยการทบทวนการหาจํานวนสมาชิกของเซตโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร ซึ่งเอกภพสัมพัทธ
             ่
ในเรื่องของเซตก็เปรียบไดกบปริภูมิตวอยางในเรื่องความนาจะเปนนันเอง และเซตใด ๆ ซึ่งเปนสับเซตของ
                               ั     ั                           ่
เอกภพสัมพัทธก็เปรียบไดกบเหตุการณซึ่งเปนสับเซตของปริภูมิตัวอยางในเรื่องความนาจะเปนไดเชนกัน ดังนัน
                             ั                                                                          ้
ในหัวขอนี้ เราจะนําแผนภาพเวนน-ออยเลอรมาชวยในการหาจํานวนสมาชิกของเหตุการณที่สนใจ เพื่อนําไปสู
การหาความนาจะเปนของเหตุการณนน ๆ     ั้




                                                        13
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                    สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




          เพื่อใหผูเรียนเขาใจเรื่องการหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอรไดดยิ่งขึ้น ผูสอนควรให
                                                                                      ี
ผูเรียนฝกทําตัวอยางตอไปนีเ้ พิ่มเติม

ตัวอยาง นักเรียนกลุมหนึ่งมี 150 คน ในจํานวนนี้พบวา มีนกเรียนที่ชอบเลนดนตรี 60 คน มีนกเรียนที่ชอบเลน
                                                         ั                              ั
กีฬา 70 คน และมีนักเรียนทีชอบเลนดนตรีและชอบเลนกีฬา 25 คน ถาสุมเลือกนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน แลว
                            ่
จงหาความนาจะเปนทีนกเรียนคนที่เลือกมาจะ
                      ่ ั
        1. ชอบเลนดนตรีหรือชอบเลนกีฬา
        2. ไมชอบเลนทั้งดนตรีและกีฬา
        3. ชอบเลนดนตรีแตไมชอบเลนกีฬา
วิธีทํา นําขอมูลที่โจทยกําหนดใหมาเขียนแผนภาพเวนน-ออยเลอร ไดดังนี้


                                   ดนตรี                                 กีฬา

                                            35         25           45


                                                               45
        ดังนั้น
            1. P(ชอบเลนกีฬา หรือ ชอบเลนดนตรี) = 35 + 25 + 45 = 105 =                  7
                                                                 150            150    10


                                                         14
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                      สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

                                                   45    3
              2. P(ไมชอบเลนทั้งดนตรีและกีฬา)         =
                                                       =
                                                  150 10
              3.   P(ชอบเลนดนตรีแตไมชอบเลนกีฬา) = 35 = 7
                                                      150 30


ตัวอยาง จากการสํารวจผูฟงเพลงของรายการวิทยุสถานีหนึ่งจํานวน 80 คน ปรากฏวา มีผูชอบฟงเพลงลูกทุง
                           
30 คน มีผูชอบฟงเพลงไทยสากล 45 คน และมีผูชอบฟงเพลงลูกทุงหรือเพลงไทยสากล 60 คน
        1. ถาสุมผูฟงเพลงกลุมนี้มาหนึงคน จงหาความนาจะเปนที่ผฟงที่สุมมา
                                         ่                        ู
             1.1 ชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล
             1.2 ไมชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล
        2. ถาสุมผูฟงเพลงกลุมนี้ซึ่งชอบฟงเพลงลูกทุงมา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่ผูฟงที่สุมมาไมชอบฟง
                                                       
             เพลงไทยสากล
วิธีทา ให x แทนจํานวนผูฟงเพลงที่ชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล
     ํ

                                        เพลงลูกทุง               เพลงไทยสากล

                                          30 − x         x         45 − x




                                                                              20

        1. เนื่องจากมีผูชอบฟงเพลงลูกทุงหรือเพลงไทยสากลจํานวน 60 คน ดังนั้น
                                      (30 − x) + x + (45 − x) = 60
                                                     x = 15
        1.1   P(ชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล) = 15 = 3
                                                       80 16
        1.2   P(ไมชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล) = 20 = 1
                                                          80 4




                                                             15
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                   สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย



                                                จํานวนคนที่ชอบฟงเพลง
                                                ลูกทุงแตไมชอบฟงเพลง
                                                ไทยสากล

       2. P(ไมชอบฟงเพลงไทยสากล) = 15 = 1
                                               30    2
                              จํานวนคนที่ชอบ
                              ฟงเพลงลูกทุง

       จากนั้น ในสื่อการสอนไดยกตัวอยางการหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร ซึ่งมีความ
ซับซอนยิ่งขึ้น ดังนี้




       จากนั้นผูสอนอาจใหผูเรียนฝกทําตัวอยางตอไปนี้เพิ่มเติม


                                                         16
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                       สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


ตัวอยาง จากการสํารวจผูชมการถายทอดการแขงขันกีฬาซีเกมสจานวน 200 คน ปรากฏวา มี 120 คนชอบชม
                                                                 ํ
ฟุตบอล มี 80 คนชอบชมวายน้ํา มี 70 คนชอบชมมวยสากล มี 30 คนที่ชอบชมกีฬาทั้งสามประเภท มี 50 คนที่
ชอบชมฟุตบอลและวายน้ํา มี 40 คนที่ชอบชมวายน้ําและมวยสากล และมี 40 คนที่ไมชมกีฬาทั้งสามประเภทนี้
ถาสุมผูชมกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่ผูชมทีสุมไดชอบชมฟุตบอลและมวยสากล
                                                       ่
วิธีทํา นําขอมูลที่โจทยกําหนดใหมาเขียนแผนภาพเวนน – ออยเลอร ไดดังนี้



                            ฟุตบอล                                             วายน้ํา
                                                         20
                                   120-(20+30+x)                         20
                                                         30
                                               x                   10

                                                   70 – (x+30+10)
                                      มวยสากล                                             40



เนื่องจากมี 40 คนที่ไมชมกีฬาทั้งสามประเภท ทําใหไดวา มี 160 คนที่ชมฟุตบอลหรือวายน้ําหรือมวยสากล
                                                     
ดังนั้น
               120 − (20 + 30 + x) + 20 + 20 + x + 30 + 10 + 70 − (x + 30 + 10) = 160
                                                                            x = 20
ทําใหไดวา
                                     P(ผูชมที่สุมไดชอบชมฟุตบอลและมวยสากล) = 20 = 1
                                                                                200 10


       สําหรับการหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร นอกจากเราจะใสจํานวนสมาชิกลงใน
อาณาบริเวณตาง ๆ ของแผนภาพเวนน-ออยเลอรดังที่ผูเรียนไดเห็นตัวอยางในสื่อการสอนแลวนั้น สมบัติของ
ความนาจะเปนที่วา
                 

                             ถา   A∩ B = ∅     แลว P( A ∪ B) = P( A) + P( B)

เมื่อ   A   และ B คือ เหตุการณใด ๆ

                                                              17
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                         สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


ทําใหเราสามารถใสคาความนาจะเปนลงในแผนภาพเวนน-ออยเลอรไดเชนกัน ซึ่งผูเรียนไดศึกษามาแลวในสื่อ
การสอนเรื่องการนับและความนาจะเปน เนื้อหาตอนที่ 6




ตัวอยาง ให   A   และ   B   แทนเหตุการณใด ๆ โดยที่ P( A) = 0.5, P( B) = 0.3 และ P( A ∪ B) = 0.6 จงหา
P( A ∩ B)
วิธีทํา นําขอมูลที่โจทยกําหนดใหมาเขียนแผนภาพเวนน-ออยเลอร ไดดังนี้



                                           A                                   B


                                               0.5 − x      x        0.3 − x




ดังนั้น                                          P( A ∪ B) = 0.6
                                 (0.5 − x) + x + (0.3 − x) = 0.6

                                                            x = 0.2
นั่นคือ                                           P( A ∩ B) = 0.2




                                                                18
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                               แบบฝกหัดเพิ่มเติม
               เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร

1. สอบถามครอบครัว 500 ครอบครัว พบวา 280 ครอบครัวมีรถจักรยานยนต 320 ครอบครัวมีโทรทัศน
   และ 150 ครอบครัวมีทั้งสองอยางนี้ สุมครอบครัวมา 1 ครอบครัวจากทั้งหมดนี้ จงหาความนาจะเปน
   ที่ครอบครัวที่สุมไดไมมทั้งสองอยางนี้
                            ี
2. จากการสํารวจนักเรียนจํานวน 200 คนเกียวกับกีฬาที่นกเรียนชอบ ปรากฏผลดังนี้
                                            ่        ั

                                  กีฬา                      จํานวนนักเรียน(คน)
                   ฟุตบอล                                          50
                   วายน้ํา                                        60
                   ปงปอง                                          75
                   ฟุตบอลและวายน้ํา                               15
                   ฟุตบอลและปงปอง                                 20
                   วายน้ําและปงปอง                               15
                   ฟุตบอล วายน้าและปงปอง
                                 ํ                                 10

   2.1 ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นักเรียนที่สุมไดชอบกีฬาวายน้ําและ
         ปงปองแตไมชอบฟุตบอล
   2.2 ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นักเรียนที่สุมไดไมชอบกีฬาทั้งสาม
         ประเภทนี้เลย
   2.3 ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้ซึ่งชอบวายน้ํามา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นกเรียนที่สมไดไมชอบทัง
                                                                              ั         ุ           ้
         ฟุตบอลและไมชอบทั้งปงปอง
3. ในการสอบถามนักเรียนจํานวน 50 คน ปรากฏวามีนักเรียนที่
                  ชอบวิชาเคมี 25 คน                 ชอบวิชาฟสิกส 20 คน
                  ชอบวิชาภาษาอังกฤษ 20 คน ชอบทั้งสามวิชา 10 คน
                  ชอบวิชาฟสิกสและภาษาอังกฤษ 12 คน
                  ชอบวิชาเคมีและฟสิกสแตไมชอบวิชาภาษาอังกฤษ 5 คน และ
                  ไมมีนักเรียนคนใดชอบวิชาเคมีและภาษาอังกฤษโดยไมชอบวิชาฟสิกส
   ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นักเรียนที่สมไดไมชอบวิชาใดวิชาหนึ่งเลยใน
                                                                      ุ
   สามวิชานี้
                                                     19
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
              สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


4. ให A และ B แทนเหตุการณใด ๆ โดยที่ P( A − B) = 0.2, P( B − A) = 0.3 และ P( A′ ∩ B′) = 0.3
   จงหา
   4.1 P( A ∩ B)
   4.2 P( A)
   4.3 P( B′)
5. ให A และ B แทนเหตุการณไมเกิดรวมกัน โดยที่ P( A′) = 0.7 และ P( A ∪ B) = 0.5 จงหา
   5.1 P( A′ ∪ B′)
   5.2 P( A′ ∪ B)
   5.3 P( A′ ∩ B)




                                                   20
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




             สรุปสาระสําคัญประจําตอน




                                     21
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                   สรุปสาระสําคัญประจําตอน




                                     22
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                  สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย



                                               เอกสารอางอิง

1.   สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. (2552). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร
     เลม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 – 6 กลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
     พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.

2.   สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. (2552). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร
     เลม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 – 6 กลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
     พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.




                                                       23
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




                    ภาคผนวกที่ 1
               แบบฝกหัด/เนื้อหาเพิ่มเติม




                                     24
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                       สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                                                       แบบฝกหัดระคน

1. กลองใบหนึ่งมีบัตร n ใบ ซึ่งมีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 1 จนถึง n (n ≥ 5) สุมหยิบบัตร 3 ใบ
   จากกลองใบนี้พรอมกัน ความนาจะเปนที่ไดบัตรใบหนึ่งเปนบัตรหมายเลข 5 และอีกสองใบเปนบัตร
   หมายเลขต่ากวา 5 มีคาเทากับขอใดตอไปนี้
            ํ          
                         6                                                         12
        1.                                                        2.
                  n(n − 1)(n − 2)                                            n(n − 1)(n − 2)
                        18                                                         36
        3.                                                        4.
                  n(n − 1)(n − 2)                                            n(n − 1)(n − 2)


2. มีลูกแกวสีแดง สีขาว สีเหลือง สีน้ําเงินและสีดําอยางละ 1 ลูก ถานําลูกแกวทั้ง 5 ลูกนี้มาเรียงอยางสุมเปน
   วงกลม ความนาจะเปนทีจะไดลูกแกวสีขาวอยูระหวางลูกแกวสีแดงและลูกแกวสีเหลืองมีคาเทากับขอใด
                           ่
   ตอไปนี้
                  1                                                          1
        1.                                                        2.
                  24                                                        12
                  1                                                         1
        3.                                                        4.
                  6                                                         3


3. กําหนดใหเซต A มีสมาชิก 4 ตัว และเซต B มีสมาชิก 5 ตัว ถาสรางฟงกชันจาก                    A   ไป   B   แลวความนาจะ
   เปนที่จะไดฟงกชนหนึ่งตอหนึ่งเทากับขอใดตอไปนี้
                     ั
                   24                                                       120
        1.                                                        2.
                  625                                                       625
                  24                                                        120
        3.                                                        4.
                 196                                                        196


4. กลองใบหนึ่งมีลูกบอลอยู 5 สี สีละ 4 ลูก สุมหยิบลูกบอล 3 ลูกพรอมกัน จงหาความนาจะเปนที่จะได
   ลูกบอลสีเหมือนกัน 2 ลูกเทานั้นเทากับขอใดตอไปนี้
                  8                                                          9
        1.                                                        2.
                 19                                                         19
                 10                                                         11
        3.                                                        4.
                 19                                                         19




                                                            25
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                      สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


5. เรือนรับรองหลังหนึ่งซึ่งมี 4 หอง ถามี 1 หองที่พักได 3 คน มี 2 หองที่พักไดหองละ 2 คน และมี 1 หองที่พก
                                                                                                              ั
   ได 1 คน ในการจัดหญิง 8 คน ซึ่งมีเอและออยรวมอยูดวย ใหพักที่เรือนรับรองหลังนี้ ความนาจะเปนทีเ่ อและ
                                                        
   ออยไดพกหองเดียวกันโดยไมมีผูอื่นพักดวยเทากับขอใดตอไปนี้
           ั
                 1                                                          1
        1.                                                       2.
                 28                                                        14
                 5                                                          1
        3.                                                       4.
                 28                                                         4


6. สลาก 20 ใบ มีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 1 – 20 สลากหมายเลข 1, 2, 3 และ 4 มีรางวัล 1000,
  500, 300 และ 200 บาท ตามลําดับ ชายคนหนึ่งสุมหยิบสลาก 2 ใบจากสลากทั้งหมด ความนาจะเปนที่เขาจะ
  ไดรับรางวัล 500 บาท มีคาเทากับขอใดตอไปนี้
                 17                                                        16
        1.                                                       2.
                 190                                                       190
                  2                                                         1
        3.                                                       4.
                 190                                                       190


7. สุมจํานวนเต็มซึ่งหารดวย 3 ลงตัวซึ่งมีคาอยูระหวาง 10 ถึง 200 มาหนึ่งจํานวน ความนาจะเปนทีจํานวนที่สุม
                                                                                                 ่
   มานี้จะหารดวย 7 ลงตัว เทากับขอใดตอไปนี้
                 1                                                          2
        1.                                                       2.
                 7                                                          7
                 3                                                          4
        3.                                                       4.
                 7                                                          7


8. ถาเขียนพจนทุกพจนของการกระจาย (a + b)10 เมื่อ a และ b เปนจํานวนจริง ซึง a ≠ b ลงบนสลากขนาด
                                                                                ่
   เทากัน สลากละหนึ่งพจน ใสสลากทั้งหมดนี้ลงในกลอง แลวสุมหยิบสลาก 1 ใบจากกลองใบนี้ ความนาจะ
  เปนที่จะไดสลากที่มีพจนซ่งมีสัมประสิทธิ์ทวินามเปน 252 เทากับขอใดตอไปนี้
                             ึ
                                                                           1
        1.       0                                               2.
                                                                           11
                  1                                                         2
        3.                                                       4.
                 10                                                        11




                                                           26
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                     สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


9. จากการสํารวจนักเรียนหองหนึ่ง ซึ่งแตละคนตองเรียนพิมพดด วายน้ํา หรือดนตรีอยางนอย 1 วิชา ปรากฏผล
                                                           ี
   ดังนี้
                                    วิชา                จํานวนนักเรียน(คน)
                      พิมพดีด                                   30
                      วายน้ํา                                   25
                      ดนตรี                                      20
                      พิมพดีดและวายน้ํา                        12
                      พิมพดีดและดนตรี                            8
                      วายน้ําและดนตรี                           10
                      พิมพดีด วายน้าและดนตรี
                                     ํ                            5

  ถาสุมเลือกนักเรียน 1 คนจากนักเรียนหองนี้ ความนาจะเปนทีนักเรียนที่สุมไดจะเรียนวายน้ําหรือดนตรีแตไม
                                                             ่
  เรียนพิมพดดมีคาเทากับขอใดตอไปนี้
              ี
                 1                                                         2
       1.                                                       2.
                11                                                        11
                1                                                          2
       3.                                                       4.
                5                                                          5


10. ให A และ B เปนเหตุการณใด ๆ โดยที่ P( A′ ∪ B) = 0.4, P( A ∩ B) = 0.2 และ P( B − A) = 0.1
    ขอใดตอไปนี้ถูกตอง
        1.     P ( A − B) = 0.9                      2.       P ( B′) = 0.3
        3.     P ( A′) = P( B) − P( A ∩ B)           4.       6 P(( A ∪ B)′) = P( A − B)




                                                          27
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




                         ภาคผนวกที่ 2
                        เฉลยแบบฝกหัด




                                     28
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                                                   เฉลยแบบฝกหัด
                               เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ
     3                                       3                                407
1.                                      2.                               3.
     4                                       8                                512
     1                                        1                               92
4.                                      5.                               6.
     60                                      35                               99
     5                                         5
7.                                      8.
     6                                        11



                                                   เฉลยแบบฝกหัด
                  เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร
      1
1.
     10
          1                      11                      2
2. 2.1                   2.2                    2.3
          40                     40                      3
     6
3.
     25
4. 4.1    0.2           4.2      0.4               4.3   0.5
5. 5.1    1             5.2     0.7                5.3   0.2


                                             เฉลยแบบฝกหัดระคน
 1. 4                          2. 3                   3. 2                     4. 1
 5. 2                          6. 1                   7. 1                     8. 2
9. 4                       10. 4




                                                         29
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย




       รายชื่อสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร
                  จํานวน 92 ตอน




                                     30
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                          สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                             รายชื่อสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร จํานวน 92 ตอน
                 เรื่อง                                                              ตอน
เซต                                      บทนํา เรื่อง เซต
                                         ความหมายของเซต
                                         เซตกําลังและการดําเนินการบนเซต
                                         เอกลักษณของการดําเนินการบนเซตและแผนภาพเวนน-ออยเลอร
                                         สื่อปฏิสัมพันธเรื่องแผนภาพเวนน-ออยเลอร
การใหเหตุผลและตรรกศาสตร                บทนํา เรื่อง การใหเหตุผลและตรรกศาสตร
                                         การใหเหตุผล
                                         ประพจนและการสมมูล
                                         สัจนิรันดรและการอางเหตุผล
                                         ประโยคเปดและวลีบงปริมาณ
                                         สื่อปฏิสัมพันธเรื่องหอคอยฮานอย
                                         สื่อปฏิสัมพันธเรื่องตารางคาความจริง
จํานวนจริง                               บทนํา เรื่อง จํานวนจริง
                                         สมบัติของจํานวนจริง
                                         การแยกตัวประกอบ
                                         ทฤษฏีบทตัวประกอบ
                                         สมการพหุนาม
                                         อสมการ
                                         เทคนิคการแกอสมการ
                                         คาสัมบูรณ
                                         การแกอสมการคาสัมบูรณ
                                         กราฟคาสัมบูรณ
                                         สื่อปฏิสัมพันธเรื่องชวงบนเสนจํานวน
                                         สื่อปฏิสัมพันธเรื่องสมการและอสมการพหุนาม
                                         สื่อปฏิสัมพันธเรื่องกราฟคาสัมบูรณ
ทฤษฎีจํานวนเบื้องตน                     บทนํา เรื่อง ทฤษฎีจํานวนเบื้องตน
                                         การหารลงตัวและจํานวนเฉพาะ
                                         ตัวหารรวมมากและตัวคูณรวมนอย
ความสัมพันธและฟงกชัน                  บทนํา เรื่อง ความสัมพันธและฟงกชน  ั
                                         ความสัมพันธ




                                                                   31
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                            สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


                  เรื่อง                                                              ตอน
ความสัมพันธและฟงกชัน                       โดเมนและเรนจ
                                              อินเวอรสของความสัมพันธและบทนิยามของฟงกชัน
                                              ฟงกชันเบื้องตน
                                              พีชคณิตของฟงกชน   ั
                                              อินเวอรสของฟงกชันและฟงกชันอินเวอรส
                                              ฟงกชันประกอบ
ฟงกชันชี้กําลังและฟงกชันลอการิทึม         บทนํา เรื่อง ฟงกชันชี้กําลังและฟงกชนลอการิทม
                                                                                     ั       ึ
                                              เลขยกกําลัง
                                              ฟงกชันชี้กําลังและฟงกชันลอการิทึม
                                              ลอการิทึม
                                              อสมการเลขชี้กําลัง
                                              อสมการลอการิทึม
ตรีโกณมิติ                                    บทนํา เรื่อง ตรีโกณมิติ
                                              อัตราสวนตรีโกณมิติ
                                              เอกลักษณของอัตราสวนตรีโกณมิติ และวงกลมหนึ่งหนวย
                                              ฟงกชันตรีโกณมิติ 1
                                              ฟงกชันตรีโกณมิติ 2
                                              ฟงกชันตรีโกณมิติ 3
                                              กฎของไซนและโคไซน
                                              กราฟของฟงกชันตรีโกณมิติ
                                              ฟงกชันตรีโกณมิติผกผัน
                                              สื่อปฏิสัมพันธเรื่องมุมบนวงกลมหนึ่งหนวย
                                              สื่อปฏิสัมพันธเรื่องกราฟของฟงกชันตรีโกณมิติ
                                              สื่อปฏิสัมพันธเรื่องกฎของไซนและกฎของโคไซน
กําหนดการเชิงเสน                             บทนํา เรื่อง กําหนดการเชิงเสน
                                              การสรางแบบจําลองทางคณิตศาสตร
                                              การหาคาสุดขีด
ลําดับและอนุกรม                               บทนํา เรื่อง ลําดับและอนุกรม
                                              ลําดับ
                                              การประยุกตลําดับเลขคณิตและเรขาคณิต
                                              ลิมิตของลําดับ
                                              ผลบวกยอย
                                              อนุกรม
                                              ทฤษฎีบทการลูเขาของอนุกรม




                                                                 32
คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง
                             สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย



                 เรื่อง                                                                  ตอน
การนับและความนาจะเปน                         บทนํา เรื่อง การนับและความนาจะเปน
                     .                         การนับเบื้องตน
                                               การเรียงสับเปลี่ยน
                                               การจัดหมู
                                               ทฤษฎีบททวินาม
                                               การทดลองสุม
                                               ความนาจะเปน 1
                                               ความนาจะเปน 2
สถิติและการวิเคราะหขอมูล                     บทนํา เรื่อง สถิติและการวิเคราะหขอมูล
                                               บทนํา เนื้อหา
                                               แนวโนมเขาสูสวนกลาง 1
                                               แนวโนมเขาสูสวนกลาง 2
                                               แนวโนมเขาสูสวนกลาง 3
                                               การกระจายของขอมูล
                                               การกระจายสัมบูรณ 1
                                               การกระจายสัมบูรณ 2
                                               การกระจายสัมบูรณ 3
                                               การกระจายสัมพัทธ
                                               คะแนนมาตรฐาน
                                               ความสัมพันธระหวางขอมูล 1
                                               ความสัมพันธระหวางขอมูล 2
                                               โปรแกรมการคํานวณทางสถิติ 1
                                               โปรแกรมการคํานวณทางสถิติ 2
โครงงานคณิตศาสตร                              การลงทุน SET50 โดยวิธีการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย
                                               ปญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส
                                               การถอดรากที่สาม
                                               เสนตรงลอมเสนโคง
                                               กระเบื้องที่ยืดหดได




                                                                    33

More Related Content

What's hot

สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมkand-2539
 
บทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
บทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัสบทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
บทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัสsawed kodnara
 
เฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูลเฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูลkrurutsamee
 
การแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาJintana Kujapan
 
แบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
แบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชันแบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
แบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชันphaephae
 
มัธยฐาน F
มัธยฐาน  Fมัธยฐาน  F
มัธยฐาน FBangon Suyana
 

What's hot (20)

สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอม
 
O-NET ม.6-สถิติ
O-NET ม.6-สถิติO-NET ม.6-สถิติ
O-NET ม.6-สถิติ
 
บทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
บทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัสบทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
บทที่ 2 ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
 
31 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่2_โดเมนและเรนจ์
31 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่2_โดเมนและเรนจ์31 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่2_โดเมนและเรนจ์
31 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ตอนที่2_โดเมนและเรนจ์
 
01 เซต บทนำ
01 เซต บทนำ01 เซต บทนำ
01 เซต บทนำ
 
65 การนับและความน่าจะเป็น บทนำ
65 การนับและความน่าจะเป็น บทนำ65 การนับและความน่าจะเป็น บทนำ
65 การนับและความน่าจะเป็น บทนำ
 
90 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่3_การถอดรากที่3
90 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่3_การถอดรากที่390 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่3_การถอดรากที่3
90 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่3_การถอดรากที่3
 
เฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูลเฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูล
 
58 ลำดับและอนุกรม บทนำ
58 ลำดับและอนุกรม บทนำ58 ลำดับและอนุกรม บทนำ
58 ลำดับและอนุกรม บทนำ
 
60 ลำดับและอนุกรม ตอนที่2_การประยุกต์ลำดับเลขคณิตและเรขาคณิต
60 ลำดับและอนุกรม ตอนที่2_การประยุกต์ลำดับเลขคณิตและเรขาคณิต60 ลำดับและอนุกรม ตอนที่2_การประยุกต์ลำดับเลขคณิตและเรขาคณิต
60 ลำดับและอนุกรม ตอนที่2_การประยุกต์ลำดับเลขคณิตและเรขาคณิต
 
การแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหา
 
28 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่2_ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย
28 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่2_ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย28 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่2_ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย
28 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่2_ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย
 
27 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่1_การหารลงตัวและจำนวนเฉพาะ
27 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่1_การหารลงตัวและจำนวนเฉพาะ27 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่1_การหารลงตัวและจำนวนเฉพาะ
27 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ตอนที่1_การหารลงตัวและจำนวนเฉพาะ
 
แบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
แบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชันแบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
แบบทดสอบ พร้อมเฉลย ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
 
มัธยฐาน F
มัธยฐาน  Fมัธยฐาน  F
มัธยฐาน F
 
07 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่1_การให้เหตุผล
07 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่1_การให้เหตุผล07 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่1_การให้เหตุผล
07 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่1_การให้เหตุผล
 
69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม
69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม
69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม
 
50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
50 ตรีโกณมิติ ตอนที่7_กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
 
09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
09 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่3_สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
 
57 submath
57 submath57 submath
57 submath
 

Similar to 72 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่7_ความน่าจะเป็น2

Similar to 72 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่7_ความน่าจะเป็น2 (20)

61 ลำดับและอนุกรม ตอนที่3_ลิมิตของลำดับ
61 ลำดับและอนุกรม ตอนที่3_ลิมิตของลำดับ61 ลำดับและอนุกรม ตอนที่3_ลิมิตของลำดับ
61 ลำดับและอนุกรม ตอนที่3_ลิมิตของลำดับ
 
67 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่2_การเรียงสับเปลี่ยน
67 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่2_การเรียงสับเปลี่ยน67 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่2_การเรียงสับเปลี่ยน
67 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่2_การเรียงสับเปลี่ยน
 
84 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่11_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล1
84 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่11_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล184 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่11_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล1
84 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่11_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล1
 
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
 
59 ลำดับและอนุกรม ตอนที่1_ลำดับ
59 ลำดับและอนุกรม ตอนที่1_ลำดับ59 ลำดับและอนุกรม ตอนที่1_ลำดับ
59 ลำดับและอนุกรม ตอนที่1_ลำดับ
 
13 จำนวนจริง บทนำ
13 จำนวนจริง บทนำ13 จำนวนจริง บทนำ
13 จำนวนจริง บทนำ
 
62 ลำดับและอนุกรม ตอนที่4_ผลบวกย่อย
62 ลำดับและอนุกรม ตอนที่4_ผลบวกย่อย62 ลำดับและอนุกรม ตอนที่4_ผลบวกย่อย
62 ลำดับและอนุกรม ตอนที่4_ผลบวกย่อย
 
20 จำนวนจริง ตอนที่7_ค่าสัมบูรณ์
20 จำนวนจริง ตอนที่7_ค่าสัมบูรณ์20 จำนวนจริง ตอนที่7_ค่าสัมบูรณ์
20 จำนวนจริง ตอนที่7_ค่าสัมบูรณ์
 
10 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่4_ประโยคเปิดและวลีบ่งปริมาณ
10 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่4_ประโยคเปิดและวลีบ่งปริมาณ10 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่4_ประโยคเปิดและวลีบ่งปริมาณ
10 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่4_ประโยคเปิดและวลีบ่งปริมาณ
 
63 ลำดับและอนุกรม ตอนที่5_อนุกรม
63 ลำดับและอนุกรม ตอนที่5_อนุกรม63 ลำดับและอนุกรม ตอนที่5_อนุกรม
63 ลำดับและอนุกรม ตอนที่5_อนุกรม
 
กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาสมการของนักเรียนระดับชั้นม.3
 กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาสมการของนักเรียนระดับชั้นม.3 กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาสมการของนักเรียนระดับชั้นม.3
กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาสมการของนักเรียนระดับชั้นม.3
 
21 จำนวนจริง ตอนที่8_การแก้อสมการค่าสัมบูรณ์
21 จำนวนจริง ตอนที่8_การแก้อสมการค่าสัมบูรณ์21 จำนวนจริง ตอนที่8_การแก้อสมการค่าสัมบูรณ์
21 จำนวนจริง ตอนที่8_การแก้อสมการค่าสัมบูรณ์
 
85 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่12_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล2
85 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่12_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล285 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่12_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล2
85 สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่12_ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล2
 
Add m1-1-chapter1
Add m1-1-chapter1Add m1-1-chapter1
Add m1-1-chapter1
 
26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ
26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ
26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ
 
R wichuta
R wichutaR wichuta
R wichuta
 
89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส
89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส
89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส
 
บทที่ 1
บทที่ 1 บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1 บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1 (1)
บทที่ 1 (1)บทที่ 1 (1)
บทที่ 1 (1)
 

More from กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนอุตรดิตถ์

More from กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนอุตรดิตถ์ (20)

Basic m2-2-chapter1
Basic m2-2-chapter1Basic m2-2-chapter1
Basic m2-2-chapter1
 
Basic m5-2-chapter3
Basic m5-2-chapter3Basic m5-2-chapter3
Basic m5-2-chapter3
 
Basic m5-2-chapter2
Basic m5-2-chapter2Basic m5-2-chapter2
Basic m5-2-chapter2
 
Basic m5-2-link
Basic m5-2-linkBasic m5-2-link
Basic m5-2-link
 
Basic m5-1-link
Basic m5-1-linkBasic m5-1-link
Basic m5-1-link
 
Basic m5-1-chapter1
Basic m5-1-chapter1Basic m5-1-chapter1
Basic m5-1-chapter1
 
Basic m5-1-chapter2
Basic m5-1-chapter2Basic m5-1-chapter2
Basic m5-1-chapter2
 
Basic m5-2-chapter1
Basic m5-2-chapter1Basic m5-2-chapter1
Basic m5-2-chapter1
 
Basic m4-2-link
Basic m4-2-linkBasic m4-2-link
Basic m4-2-link
 
Basic m4-2-chapter2
Basic m4-2-chapter2Basic m4-2-chapter2
Basic m4-2-chapter2
 
Basic m4-1-link
Basic m4-1-linkBasic m4-1-link
Basic m4-1-link
 
Basic m4-2-chapter1
Basic m4-2-chapter1Basic m4-2-chapter1
Basic m4-2-chapter1
 
Basic m4-1-chapter2
Basic m4-1-chapter2Basic m4-1-chapter2
Basic m4-1-chapter2
 
Basic m4-1-chapter3
Basic m4-1-chapter3Basic m4-1-chapter3
Basic m4-1-chapter3
 
Basic m4-1-chapter4
Basic m4-1-chapter4Basic m4-1-chapter4
Basic m4-1-chapter4
 
Basic m3-2-chapter2
Basic m3-2-chapter2Basic m3-2-chapter2
Basic m3-2-chapter2
 
Basic m3-2-link
Basic m3-2-linkBasic m3-2-link
Basic m3-2-link
 
Basic m4-1-chapter1
Basic m4-1-chapter1Basic m4-1-chapter1
Basic m4-1-chapter1
 
Basic m3-2-chapter4
Basic m3-2-chapter4Basic m3-2-chapter4
Basic m3-2-chapter4
 
Basic m3-2-chapter3
Basic m3-2-chapter3Basic m3-2-chapter3
Basic m3-2-chapter3
 

72 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่7_ความน่าจะเป็น2

  • 1. คูมือประกอบสื่อการสอน วิชาคณิตศาสตร เรื่อง การนับและความนาจะเปน (เนือหาตอนที่ 7) ้ ความนาจะเปน 2 โดย ผูชวยศาสตราจารย ดร.ณัฐกาญจน ใจดี สื่อการสอนชุดนี้ เปนความรวมมือระหวาง คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กับ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สื่อการสอน เรื่อง การนับและความนาจะเปน สื่อการสอน เรื่อง การนับและความนาจะเปน มีจํานวนตอนทั้งหมดรวม 16 ตอน ซึ่งประกอบดวย 1. บทนํา เรื่อง การนับและความนาจะเปน 2. เนื้อหาตอนที่ 1 การนับเบื้องตน - กฎเกณฑเบื้องตนเกียวกับการนับ ่ - วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเสน(สิ่งของแตกตางกันทั้งหมด) 3. เนื้อหาตอนที่ 2 การเรียงสับเปลี่ยน - วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงเสน (สิ่งของไมแตกตางกันทั้งหมด) - วิธีเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม 4. เนื้อหาตอนที่ 3 การจัดหมู - วิธีจัดหมู 5. เนื้อหาตอนที่ 4 ทฤษฎีบททวินาม - ทฤษฎีบททวินาม - ทฤษฎีบทอเนกนาม 6. เนื้อหาตอนที่ 5 การทดลองสุม - การทดลองสุม - ปริภูมิตัวอยาง - เหตุการณและความนาจะเปน 7. เนื้อหาตอนที่ 6 ความนาจะเปน 1 - สมบัติพื้นฐานของความนาจะเปน - การหาความนาจะเปนแบบงาย 8. เนื้อหาตอนที่ 7 ความนาจะเปน 2 - การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ - การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร 9. แบบฝกหัด (พื้นฐาน 1) 10. แบบฝกหัด (พื้นฐาน 2) 11. แบบฝกหัด (ขันสูง) ้ 12. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง หลักการบวกและหลักการคูณสําหรับการนับ 13. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน 1
  • 3. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 14. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง ทฤษฎีบททวินาม 15. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง ความนาจะเปน 16. สื่อปฏิสัมพันธ เรื่อง การใสบอลลงกลอง คณะผูจัดทําหวังเปนอยางยิ่งวา สื่อการสอนชุดนี้จะเปนประโยชนตอการเรียนการสอนสําหรับ ครู และนักเรียนทุกโรงเรียนที่ใชสื่อชุดนี้รวมกับการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร เรื่อง การนับและ ความนาจะเปน นอกจากนี้หากทานสนใจสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตรในเรื่องอื่นๆที่คณะผูจัดทําได ดําเนินการไปแลว ทานสามารถดูชื่อเรื่อง และชื่อตอนไดจากรายชื่อสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตรทั้งหมด ในตอนทายของคูมือฉบับนี้ 2
  • 4. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เรื่อง การนับและความนาจะเปน (ความนาจะเปน 2) หมวด เนื้อหา ตอนที่ 7 (7/7) หัวขอยอย 1. การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ 2. การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร จุดประสงคการเรียนรู เพื่อใหผูเรียน 1. สามารถหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชกฎการนับได 2. สามารถหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอรได ผลการเรียนรูที่คาดหวัง  ผูเรียนสามารถ 1. อธิบายวิธีการหาและหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชกฎการนับได 2. อธิบายวิธีการหาและหาความนาจะเปนของเหตุการณโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอรได 3
  • 5. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เนื้อหาในสื่อการสอน เนื้อหาทั้งหมด 4
  • 6. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 1. การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ 5
  • 7. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 1. การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ ในหัวขอนี้เริ่มดวยการทบทวนการหาความนาจะเปนของเหตุการณในกรณีที่ปริภูมิตวอยางประกอบ ั ดวยสมาชิกทีมีโอกาสเกิดขึนไดเทา ๆ กัน ซึ่งในการหาความนาจะเปนของเหตุการณดังกลาว เราตองทราบ ่ ้ จํานวนสมาชิกของปริภูมิตวอยางและจํานวนสมาชิกของเหตุการณทเี่ ราสนใจ ดังนั้นในสื่อการสอนตอนนี้ เราจะ ั เนนที่การหาจํานวนสมาชิกดังกลาว โดยใช 1. กฎการนับ 2. แผนภาพเวนน-ออยเลอร สําหรับในหัวขอนี้ เราจะศึกษาการหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับควบคูกับสมบัติของความนาจะ เปน ซึ่งจะทําใหเราสามารถหาความนาจะเปนไดสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 6
  • 8. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมื่อผูเรียนไดชมตัวอยางการหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับจากสื่อการสอนแลว ผูสอนควรให ผูเรียนทําตัวอยางตอไปนี้เพิมเติมเพื่อเปนการฝกทักษะ ่ ตัวอยาง สุมหยิบเสื้อ 3 ตัวจากตูเสื้อผาซึ่งมีเสื้อสีแดง 3 ตัว สีขาว 2 ตัว และสีน้ําเงิน 5 ตัว จงหาความนาจะเปนที่ สุมไดเสื้อครบทุกสี วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณทสุมไดเสื้อครบทุกสี ี่ ดังนั้น  3  2   5     n( E )  1   1   1  30 1 P( E ) = = = = n( S ) 10  120 4   3 7
  • 9. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตัวอยาง พจนานุกรมครบชุดมี 10 เลม มีหมายเลข 1 – 10 กํากับไว สุมหยิบหนังสือทีละเลมเรียงไวบนชั้นยาว ตามลําดับที่หยิบได จนครบทั้งสิบเลม จงหาความนาจะเปนที่หนังสือหมายเลขตอเนื่องกันจะอยูติดกัน  วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณทหนังสือหมายเลขตอเนื่องกันจะอยูตดกัน ี่ ิ ดังนั้น หมายเลขจากนอยไปมาก และ หมายเลขจากมากไปนอย n( E ) 2 P( E ) = = n( S ) 10! ตัวอยาง จัดคน 8 คน ซึ่งมีสายชล นทีและวารีรวมอยูดวย นั่งรับประทานอาหารรอบโตะกลม 8 ทีนั่ง จงหา  ่ ความนาจะเปนที่ทั้งสามคนไดนั่งติดกัน วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณที่สายชล นทีและวารีไดนั่งติดกัน ดังนั้น n( E ) (6 − 1)!3! 1 P( E ) = = = n( S ) (8 − 1)! 7 ตัวอยาง ในการเรียงสับเปลี่ยนตัวอักษรจากคําวา “MODEL” จงหาความนาจะเปนทีจะไดคาที่ข้นตนดวยสระ ่ ํ ึ วิธีทํา ให S แทนปริภูมิตัวอยาง และ E แทนเหตุการณทไดคําที่ขึ้นตนดวยสระ ี่ 2 × 4! O หรือ E จัด 4 ตัวที่เหลือ ดังนัน ้ n( E ) 2!4! 2 P( E ) = = = n( S ) 5! 5 สําหรับตัวอยางตอไปนี้เปนเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งผูสอนควรสอดแทรกใหผูเรียนเห็นโทษของ ยาเสพติดและแนะนําผูเรียนใหอยูหางจากยาเสพติด  8
  • 10. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย หลังจากผูเรียนไดชม “ปญหาชวนคิด” ในสื่อการสอนแลว ผูสอนอาจใหผูเรียนชวยกันคิดหาคําตอบ จากนั้นผูสอนจึงแสดงใหผูเรียนดู ปญหาชวนคิด นักทองเที่ยวคนหนึ่งไดนายาเสพติด 4 เม็ด ใสไวในขวดที่มวิตามินอยู 20 เม็ด ถาเจาหนาทีดาน ํ ี ่ ศุลกากรสุมหยิบมาตรวจ 3 เม็ด แลวนําไปวิเคราะห จงหาความนาจะเปนที่นักทองเที่ยวคนนี้จะถูกจับดวยขอหามี ยาเสพติดไวในครอบครอง วิธีทํา แบบที่ 1 P(ถูกจับขอหามียาเสพติด) = P(สุมไดยาเสพติด 1 เม็ด หรือ สุมไดยาเสพติด 2 เม็ด หรือ สุมไดยาเสพติด 3 เม็ด) = P(สุมไดยาเสพติด 1 เม็ด) + P( สุมไดยาเสพติด 2 เม็ด) + P( สุมไดยาเสพติด 3 เม็ด) 9
  • 11. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  4   20   4  20   4   20             1 2 2 1 3 0 =     +    +      24   24   24        3 3 3 760 120 4 884 221 = + + = = 2024 2024 2024 2024 506 แบบที่ 2 P(ถูกจับขอหามียาเสพติด) = 1− P(ไมถูกจับขอหามียาเสพติด) = 1 − P(สุมไดวิตามินทังหมด) ้  4   20     0 3 = 1−      24    3 1140 884 221 = 1− = = 2024 2024 506 ขอสังเกต จากปญหาชวนคิดขางตน จะพบวาเมื่อเรานําสมบัติของความนาจะเปนทีวา สําหรับเหตุการณ E ใด ๆ ่ P( E ′) = 1 − P( E ) มาชวยในการหาคําตอบ ทําใหการคํานวณมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 10
  • 12. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แบบฝกหัดเพิ่มเติม เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ 1. ในการเรียงสับเปลี่ยนตัวอักษรจากคําวา “GEOMETRY” จงหาความนาจะเปนที่ “E” ไมอยูตดกัน ิ 2. สุมนักเรียน 3 คนจากนักเรียนทั้งหมด 8 คนที่มีสวนสูงตาง ๆ กัน จงหาความนาจะเปนที่จะสุมได นักเรียนที่มสวนสูงมากที่สุดรวมอยูดวย ี   3. ในการประกวดรองเพลงรอบสุดทาย มีผูเขารอบ 5 คน ผูเขารอบแตละคนตองรองเพลงเพียง 1 เพลง โดยเลือกจากเพลงทั้งหมด 8 เพลงที่กองประกวดจัดไว จงหาความนาจะเปนทีมีผูเขารอบอยางนอย 2 คน ่ เลือกรองเพลงเดียวกัน 4. สลากชุดหนึ่งมี 10 ใบ ซึ่งมีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 1 – 10 จงหาความนาจะเปนทีจะ ่ หยิบสลากพรอมกัน 3 ใบ โดยใหมแตมรวมกันเปน 9 และไมมีสลากใบใดมีหมายเลขสูงกวา 5 ี 5. เรือนรับรองหลังหนึ่งมี 3 หอง หองแรกพักได 3 คน สวนอีก 2 หอง พักไดหองละ 2 คน ถามีแขก 7 คน เปนหญิง 3 คน ชาย 4 คน จะเดินทางมาพักโดยไมแจงเพศใหทราบลวงหนา จงหาความนาจะเปนที่ เจาภาพจะจัดใหหญิง 3 คนไดพกอยูหองเดียวกัน ั  6. นักทองเที่ยวคนหนึ่งไดนํายาเสพติด 4 เม็ด ใสไวในขวดทีมีวิตามินอยู 8 เม็ด ถาเจาหนาที่ดานศุลกากร ่ สุมหยิบมาตรวจ 5 เม็ด แลวนําไปวิเคราะห จงหาความนาจะเปนที่นกทองเที่ยวคนนี้จะถูกจับดวยขอหา ั มียาเสพติดไวในครอบครอง 7. กลองใบหนึ่งบรรจุสลาก 10 ใบ มีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 0 – 9 สุมสลาก 3 ใบจากกลอง ใบนี้พรอมกัน จงหาความนาจะเปนทีจะไดสลากทั้งหมายเลขคูและสลากหมายเลขคี่ ่ 8. นักเรียนกลุมหนึ่งประกอบดวยนักเรียนชาย 5 คนและนักเรียนหญิง 6 คน สุมนักเรียนกลุมนี้ 3 คนเพื่อ ตอบคําถามในชั้นเรียน จงหาความนาจะเปนทีจะสุมไดนักเรียนชายเพียง 1 คน ่ 11
  • 13. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2. การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร 12
  • 14. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2. การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร ในหัวขอนี้ ผูเรียนจะไดศกษาเรื่อง “การหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร” โดยในสื่อ ึ การสอน จะเริมดวยการทบทวนการหาจํานวนสมาชิกของเซตโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร ซึ่งเอกภพสัมพัทธ ่ ในเรื่องของเซตก็เปรียบไดกบปริภูมิตวอยางในเรื่องความนาจะเปนนันเอง และเซตใด ๆ ซึ่งเปนสับเซตของ ั ั ่ เอกภพสัมพัทธก็เปรียบไดกบเหตุการณซึ่งเปนสับเซตของปริภูมิตัวอยางในเรื่องความนาจะเปนไดเชนกัน ดังนัน ั ้ ในหัวขอนี้ เราจะนําแผนภาพเวนน-ออยเลอรมาชวยในการหาจํานวนสมาชิกของเหตุการณที่สนใจ เพื่อนําไปสู การหาความนาจะเปนของเหตุการณนน ๆ ั้ 13
  • 15. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เพื่อใหผูเรียนเขาใจเรื่องการหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอรไดดยิ่งขึ้น ผูสอนควรให ี ผูเรียนฝกทําตัวอยางตอไปนีเ้ พิ่มเติม ตัวอยาง นักเรียนกลุมหนึ่งมี 150 คน ในจํานวนนี้พบวา มีนกเรียนที่ชอบเลนดนตรี 60 คน มีนกเรียนที่ชอบเลน ั ั กีฬา 70 คน และมีนักเรียนทีชอบเลนดนตรีและชอบเลนกีฬา 25 คน ถาสุมเลือกนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน แลว ่ จงหาความนาจะเปนทีนกเรียนคนที่เลือกมาจะ ่ ั 1. ชอบเลนดนตรีหรือชอบเลนกีฬา 2. ไมชอบเลนทั้งดนตรีและกีฬา 3. ชอบเลนดนตรีแตไมชอบเลนกีฬา วิธีทํา นําขอมูลที่โจทยกําหนดใหมาเขียนแผนภาพเวนน-ออยเลอร ไดดังนี้ ดนตรี กีฬา 35 25 45 45 ดังนั้น 1. P(ชอบเลนกีฬา หรือ ชอบเลนดนตรี) = 35 + 25 + 45 = 105 = 7 150 150 10 14
  • 16. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 45 3 2. P(ไมชอบเลนทั้งดนตรีและกีฬา) = = 150 10 3. P(ชอบเลนดนตรีแตไมชอบเลนกีฬา) = 35 = 7 150 30 ตัวอยาง จากการสํารวจผูฟงเพลงของรายการวิทยุสถานีหนึ่งจํานวน 80 คน ปรากฏวา มีผูชอบฟงเพลงลูกทุง  30 คน มีผูชอบฟงเพลงไทยสากล 45 คน และมีผูชอบฟงเพลงลูกทุงหรือเพลงไทยสากล 60 คน 1. ถาสุมผูฟงเพลงกลุมนี้มาหนึงคน จงหาความนาจะเปนที่ผฟงที่สุมมา  ่ ู 1.1 ชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล 1.2 ไมชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล 2. ถาสุมผูฟงเพลงกลุมนี้ซึ่งชอบฟงเพลงลูกทุงมา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่ผูฟงที่สุมมาไมชอบฟง  เพลงไทยสากล วิธีทา ให x แทนจํานวนผูฟงเพลงที่ชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล ํ เพลงลูกทุง เพลงไทยสากล 30 − x x 45 − x 20 1. เนื่องจากมีผูชอบฟงเพลงลูกทุงหรือเพลงไทยสากลจํานวน 60 คน ดังนั้น (30 − x) + x + (45 − x) = 60 x = 15 1.1 P(ชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล) = 15 = 3 80 16 1.2 P(ไมชอบฟงทั้งเพลงลูกทุงและเพลงไทยสากล) = 20 = 1 80 4 15
  • 17. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จํานวนคนที่ชอบฟงเพลง ลูกทุงแตไมชอบฟงเพลง ไทยสากล 2. P(ไมชอบฟงเพลงไทยสากล) = 15 = 1 30 2 จํานวนคนที่ชอบ ฟงเพลงลูกทุง จากนั้น ในสื่อการสอนไดยกตัวอยางการหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร ซึ่งมีความ ซับซอนยิ่งขึ้น ดังนี้ จากนั้นผูสอนอาจใหผูเรียนฝกทําตัวอยางตอไปนี้เพิ่มเติม 16
  • 18. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตัวอยาง จากการสํารวจผูชมการถายทอดการแขงขันกีฬาซีเกมสจานวน 200 คน ปรากฏวา มี 120 คนชอบชม ํ ฟุตบอล มี 80 คนชอบชมวายน้ํา มี 70 คนชอบชมมวยสากล มี 30 คนที่ชอบชมกีฬาทั้งสามประเภท มี 50 คนที่ ชอบชมฟุตบอลและวายน้ํา มี 40 คนที่ชอบชมวายน้ําและมวยสากล และมี 40 คนที่ไมชมกีฬาทั้งสามประเภทนี้ ถาสุมผูชมกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่ผูชมทีสุมไดชอบชมฟุตบอลและมวยสากล ่ วิธีทํา นําขอมูลที่โจทยกําหนดใหมาเขียนแผนภาพเวนน – ออยเลอร ไดดังนี้ ฟุตบอล วายน้ํา 20 120-(20+30+x) 20 30 x 10 70 – (x+30+10) มวยสากล 40 เนื่องจากมี 40 คนที่ไมชมกีฬาทั้งสามประเภท ทําใหไดวา มี 160 คนที่ชมฟุตบอลหรือวายน้ําหรือมวยสากล  ดังนั้น 120 − (20 + 30 + x) + 20 + 20 + x + 30 + 10 + 70 − (x + 30 + 10) = 160 x = 20 ทําใหไดวา  P(ผูชมที่สุมไดชอบชมฟุตบอลและมวยสากล) = 20 = 1 200 10 สําหรับการหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร นอกจากเราจะใสจํานวนสมาชิกลงใน อาณาบริเวณตาง ๆ ของแผนภาพเวนน-ออยเลอรดังที่ผูเรียนไดเห็นตัวอยางในสื่อการสอนแลวนั้น สมบัติของ ความนาจะเปนที่วา  ถา A∩ B = ∅ แลว P( A ∪ B) = P( A) + P( B) เมื่อ A และ B คือ เหตุการณใด ๆ 17
  • 19. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทําใหเราสามารถใสคาความนาจะเปนลงในแผนภาพเวนน-ออยเลอรไดเชนกัน ซึ่งผูเรียนไดศึกษามาแลวในสื่อ การสอนเรื่องการนับและความนาจะเปน เนื้อหาตอนที่ 6 ตัวอยาง ให A และ B แทนเหตุการณใด ๆ โดยที่ P( A) = 0.5, P( B) = 0.3 และ P( A ∪ B) = 0.6 จงหา P( A ∩ B) วิธีทํา นําขอมูลที่โจทยกําหนดใหมาเขียนแผนภาพเวนน-ออยเลอร ไดดังนี้ A B 0.5 − x x 0.3 − x ดังนั้น P( A ∪ B) = 0.6 (0.5 − x) + x + (0.3 − x) = 0.6 x = 0.2 นั่นคือ P( A ∩ B) = 0.2 18
  • 20. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แบบฝกหัดเพิ่มเติม เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยแผนภาพเวนน-ออยเลอร 1. สอบถามครอบครัว 500 ครอบครัว พบวา 280 ครอบครัวมีรถจักรยานยนต 320 ครอบครัวมีโทรทัศน และ 150 ครอบครัวมีทั้งสองอยางนี้ สุมครอบครัวมา 1 ครอบครัวจากทั้งหมดนี้ จงหาความนาจะเปน ที่ครอบครัวที่สุมไดไมมทั้งสองอยางนี้ ี 2. จากการสํารวจนักเรียนจํานวน 200 คนเกียวกับกีฬาที่นกเรียนชอบ ปรากฏผลดังนี้ ่ ั กีฬา จํานวนนักเรียน(คน) ฟุตบอล 50 วายน้ํา 60 ปงปอง 75 ฟุตบอลและวายน้ํา 15 ฟุตบอลและปงปอง 20 วายน้ําและปงปอง 15 ฟุตบอล วายน้าและปงปอง ํ 10 2.1 ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นักเรียนที่สุมไดชอบกีฬาวายน้ําและ ปงปองแตไมชอบฟุตบอล 2.2 ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นักเรียนที่สุมไดไมชอบกีฬาทั้งสาม ประเภทนี้เลย 2.3 ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้ซึ่งชอบวายน้ํามา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นกเรียนที่สมไดไมชอบทัง ั ุ ้ ฟุตบอลและไมชอบทั้งปงปอง 3. ในการสอบถามนักเรียนจํานวน 50 คน ปรากฏวามีนักเรียนที่ ชอบวิชาเคมี 25 คน ชอบวิชาฟสิกส 20 คน ชอบวิชาภาษาอังกฤษ 20 คน ชอบทั้งสามวิชา 10 คน ชอบวิชาฟสิกสและภาษาอังกฤษ 12 คน ชอบวิชาเคมีและฟสิกสแตไมชอบวิชาภาษาอังกฤษ 5 คน และ ไมมีนักเรียนคนใดชอบวิชาเคมีและภาษาอังกฤษโดยไมชอบวิชาฟสิกส ถาสุมนักเรียนจากกลุมนี้มา 1 คน จงหาความนาจะเปนที่นักเรียนที่สมไดไมชอบวิชาใดวิชาหนึ่งเลยใน ุ สามวิชานี้ 19
  • 21. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 4. ให A และ B แทนเหตุการณใด ๆ โดยที่ P( A − B) = 0.2, P( B − A) = 0.3 และ P( A′ ∩ B′) = 0.3 จงหา 4.1 P( A ∩ B) 4.2 P( A) 4.3 P( B′) 5. ให A และ B แทนเหตุการณไมเกิดรวมกัน โดยที่ P( A′) = 0.7 และ P( A ∪ B) = 0.5 จงหา 5.1 P( A′ ∪ B′) 5.2 P( A′ ∪ B) 5.3 P( A′ ∩ B) 20
  • 24. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เอกสารอางอิง 1. สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. (2552). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร เลม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 – 6 กลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ. 2. สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. (2552). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร เลม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 – 6 กลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ. 23
  • 25. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ภาคผนวกที่ 1 แบบฝกหัด/เนื้อหาเพิ่มเติม 24
  • 26. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แบบฝกหัดระคน 1. กลองใบหนึ่งมีบัตร n ใบ ซึ่งมีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 1 จนถึง n (n ≥ 5) สุมหยิบบัตร 3 ใบ จากกลองใบนี้พรอมกัน ความนาจะเปนที่ไดบัตรใบหนึ่งเปนบัตรหมายเลข 5 และอีกสองใบเปนบัตร หมายเลขต่ากวา 5 มีคาเทากับขอใดตอไปนี้ ํ  6 12 1. 2. n(n − 1)(n − 2) n(n − 1)(n − 2) 18 36 3. 4. n(n − 1)(n − 2) n(n − 1)(n − 2) 2. มีลูกแกวสีแดง สีขาว สีเหลือง สีน้ําเงินและสีดําอยางละ 1 ลูก ถานําลูกแกวทั้ง 5 ลูกนี้มาเรียงอยางสุมเปน วงกลม ความนาจะเปนทีจะไดลูกแกวสีขาวอยูระหวางลูกแกวสีแดงและลูกแกวสีเหลืองมีคาเทากับขอใด ่ ตอไปนี้ 1 1 1. 2. 24 12 1 1 3. 4. 6 3 3. กําหนดใหเซต A มีสมาชิก 4 ตัว และเซต B มีสมาชิก 5 ตัว ถาสรางฟงกชันจาก A ไป B แลวความนาจะ เปนที่จะไดฟงกชนหนึ่งตอหนึ่งเทากับขอใดตอไปนี้ ั 24 120 1. 2. 625 625 24 120 3. 4. 196 196 4. กลองใบหนึ่งมีลูกบอลอยู 5 สี สีละ 4 ลูก สุมหยิบลูกบอล 3 ลูกพรอมกัน จงหาความนาจะเปนที่จะได ลูกบอลสีเหมือนกัน 2 ลูกเทานั้นเทากับขอใดตอไปนี้ 8 9 1. 2. 19 19 10 11 3. 4. 19 19 25
  • 27. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 5. เรือนรับรองหลังหนึ่งซึ่งมี 4 หอง ถามี 1 หองที่พักได 3 คน มี 2 หองที่พักไดหองละ 2 คน และมี 1 หองที่พก ั ได 1 คน ในการจัดหญิง 8 คน ซึ่งมีเอและออยรวมอยูดวย ใหพักที่เรือนรับรองหลังนี้ ความนาจะเปนทีเ่ อและ  ออยไดพกหองเดียวกันโดยไมมีผูอื่นพักดวยเทากับขอใดตอไปนี้ ั 1 1 1. 2. 28 14 5 1 3. 4. 28 4 6. สลาก 20 ใบ มีหมายเลขกํากับไวโดยไมซ้ํากัน เริ่มจาก 1 – 20 สลากหมายเลข 1, 2, 3 และ 4 มีรางวัล 1000, 500, 300 และ 200 บาท ตามลําดับ ชายคนหนึ่งสุมหยิบสลาก 2 ใบจากสลากทั้งหมด ความนาจะเปนที่เขาจะ ไดรับรางวัล 500 บาท มีคาเทากับขอใดตอไปนี้ 17 16 1. 2. 190 190 2 1 3. 4. 190 190 7. สุมจํานวนเต็มซึ่งหารดวย 3 ลงตัวซึ่งมีคาอยูระหวาง 10 ถึง 200 มาหนึ่งจํานวน ความนาจะเปนทีจํานวนที่สุม ่ มานี้จะหารดวย 7 ลงตัว เทากับขอใดตอไปนี้ 1 2 1. 2. 7 7 3 4 3. 4. 7 7 8. ถาเขียนพจนทุกพจนของการกระจาย (a + b)10 เมื่อ a และ b เปนจํานวนจริง ซึง a ≠ b ลงบนสลากขนาด ่ เทากัน สลากละหนึ่งพจน ใสสลากทั้งหมดนี้ลงในกลอง แลวสุมหยิบสลาก 1 ใบจากกลองใบนี้ ความนาจะ เปนที่จะไดสลากที่มีพจนซ่งมีสัมประสิทธิ์ทวินามเปน 252 เทากับขอใดตอไปนี้ ึ 1 1. 0 2. 11 1 2 3. 4. 10 11 26
  • 28. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 9. จากการสํารวจนักเรียนหองหนึ่ง ซึ่งแตละคนตองเรียนพิมพดด วายน้ํา หรือดนตรีอยางนอย 1 วิชา ปรากฏผล ี ดังนี้ วิชา จํานวนนักเรียน(คน) พิมพดีด 30 วายน้ํา 25 ดนตรี 20 พิมพดีดและวายน้ํา 12 พิมพดีดและดนตรี 8 วายน้ําและดนตรี 10 พิมพดีด วายน้าและดนตรี ํ 5 ถาสุมเลือกนักเรียน 1 คนจากนักเรียนหองนี้ ความนาจะเปนทีนักเรียนที่สุมไดจะเรียนวายน้ําหรือดนตรีแตไม ่ เรียนพิมพดดมีคาเทากับขอใดตอไปนี้ ี 1 2 1. 2. 11 11 1 2 3. 4. 5 5 10. ให A และ B เปนเหตุการณใด ๆ โดยที่ P( A′ ∪ B) = 0.4, P( A ∩ B) = 0.2 และ P( B − A) = 0.1 ขอใดตอไปนี้ถูกตอง 1. P ( A − B) = 0.9 2. P ( B′) = 0.3 3. P ( A′) = P( B) − P( A ∩ B) 4. 6 P(( A ∪ B)′) = P( A − B) 27
  • 29. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ภาคผนวกที่ 2 เฉลยแบบฝกหัด 28
  • 30. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เฉลยแบบฝกหัด เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยใชกฎการนับ 3 3 407 1. 2. 3. 4 8 512 1 1 92 4. 5. 6. 60 35 99 5 5 7. 8. 6 11 เฉลยแบบฝกหัด เรื่อง การหาความนาจะเปนโดยใชแผนภาพเวนน-ออยเลอร 1 1. 10 1 11 2 2. 2.1 2.2 2.3 40 40 3 6 3. 25 4. 4.1 0.2 4.2 0.4 4.3 0.5 5. 5.1 1 5.2 0.7 5.3 0.2 เฉลยแบบฝกหัดระคน 1. 4 2. 3 3. 2 4. 1 5. 2 6. 1 7. 1 8. 2 9. 4 10. 4 29
  • 31. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย รายชื่อสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร จํานวน 92 ตอน 30
  • 32. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย รายชื่อสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร จํานวน 92 ตอน เรื่อง ตอน เซต บทนํา เรื่อง เซต ความหมายของเซต เซตกําลังและการดําเนินการบนเซต เอกลักษณของการดําเนินการบนเซตและแผนภาพเวนน-ออยเลอร สื่อปฏิสัมพันธเรื่องแผนภาพเวนน-ออยเลอร การใหเหตุผลและตรรกศาสตร บทนํา เรื่อง การใหเหตุผลและตรรกศาสตร การใหเหตุผล ประพจนและการสมมูล สัจนิรันดรและการอางเหตุผล ประโยคเปดและวลีบงปริมาณ สื่อปฏิสัมพันธเรื่องหอคอยฮานอย สื่อปฏิสัมพันธเรื่องตารางคาความจริง จํานวนจริง บทนํา เรื่อง จํานวนจริง สมบัติของจํานวนจริง การแยกตัวประกอบ ทฤษฏีบทตัวประกอบ สมการพหุนาม อสมการ เทคนิคการแกอสมการ คาสัมบูรณ การแกอสมการคาสัมบูรณ กราฟคาสัมบูรณ สื่อปฏิสัมพันธเรื่องชวงบนเสนจํานวน สื่อปฏิสัมพันธเรื่องสมการและอสมการพหุนาม สื่อปฏิสัมพันธเรื่องกราฟคาสัมบูรณ ทฤษฎีจํานวนเบื้องตน บทนํา เรื่อง ทฤษฎีจํานวนเบื้องตน การหารลงตัวและจํานวนเฉพาะ ตัวหารรวมมากและตัวคูณรวมนอย ความสัมพันธและฟงกชัน บทนํา เรื่อง ความสัมพันธและฟงกชน ั ความสัมพันธ 31
  • 33. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เรื่อง ตอน ความสัมพันธและฟงกชัน โดเมนและเรนจ อินเวอรสของความสัมพันธและบทนิยามของฟงกชัน ฟงกชันเบื้องตน พีชคณิตของฟงกชน ั อินเวอรสของฟงกชันและฟงกชันอินเวอรส ฟงกชันประกอบ ฟงกชันชี้กําลังและฟงกชันลอการิทึม บทนํา เรื่อง ฟงกชันชี้กําลังและฟงกชนลอการิทม ั ึ เลขยกกําลัง ฟงกชันชี้กําลังและฟงกชันลอการิทึม ลอการิทึม อสมการเลขชี้กําลัง อสมการลอการิทึม ตรีโกณมิติ บทนํา เรื่อง ตรีโกณมิติ อัตราสวนตรีโกณมิติ เอกลักษณของอัตราสวนตรีโกณมิติ และวงกลมหนึ่งหนวย ฟงกชันตรีโกณมิติ 1 ฟงกชันตรีโกณมิติ 2 ฟงกชันตรีโกณมิติ 3 กฎของไซนและโคไซน กราฟของฟงกชันตรีโกณมิติ ฟงกชันตรีโกณมิติผกผัน สื่อปฏิสัมพันธเรื่องมุมบนวงกลมหนึ่งหนวย สื่อปฏิสัมพันธเรื่องกราฟของฟงกชันตรีโกณมิติ สื่อปฏิสัมพันธเรื่องกฎของไซนและกฎของโคไซน กําหนดการเชิงเสน บทนํา เรื่อง กําหนดการเชิงเสน การสรางแบบจําลองทางคณิตศาสตร การหาคาสุดขีด ลําดับและอนุกรม บทนํา เรื่อง ลําดับและอนุกรม ลําดับ การประยุกตลําดับเลขคณิตและเรขาคณิต ลิมิตของลําดับ ผลบวกยอย อนุกรม ทฤษฎีบทการลูเขาของอนุกรม 32
  • 34. คูมือสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร โดยความรวมมือระหวาง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เรื่อง ตอน การนับและความนาจะเปน บทนํา เรื่อง การนับและความนาจะเปน . การนับเบื้องตน การเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู ทฤษฎีบททวินาม การทดลองสุม ความนาจะเปน 1 ความนาจะเปน 2 สถิติและการวิเคราะหขอมูล บทนํา เรื่อง สถิติและการวิเคราะหขอมูล บทนํา เนื้อหา แนวโนมเขาสูสวนกลาง 1 แนวโนมเขาสูสวนกลาง 2 แนวโนมเขาสูสวนกลาง 3 การกระจายของขอมูล การกระจายสัมบูรณ 1 การกระจายสัมบูรณ 2 การกระจายสัมบูรณ 3 การกระจายสัมพัทธ คะแนนมาตรฐาน ความสัมพันธระหวางขอมูล 1 ความสัมพันธระหวางขอมูล 2 โปรแกรมการคํานวณทางสถิติ 1 โปรแกรมการคํานวณทางสถิติ 2 โครงงานคณิตศาสตร การลงทุน SET50 โดยวิธีการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ปญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส การถอดรากที่สาม เสนตรงลอมเสนโคง กระเบื้องที่ยืดหดได 33